ข้อหารือ
ถาม
บริษัทตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรม ตกลงขายสินค้าโดยบริษัทจะส่งสินค้าไปเก็บ ไว้ในคลังที่ใกล้ที่สุดกับโรงงานของลูกค้า และเก็บไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยตกลงทำสัญญาซื้อขาย ดังนี้
1. บริษัทฯ จะส่งสินค้าไปเก็บไว้ในสถานที่เก็บสินค้า (สาขาที่ 2, 3 และ 4) เพื่อรอการขาย
2. เมื่อลูกค้าต้องการใช้สินค้าลูกค้าจะนำของออกจากสถานที่เก็บสินค้าไปใช้ได้โดยลูกค้าจะต้องส่งรายงานการเบิกของออกไปใช้ ให้กับบริษัทฯ ทราบ และบริษัทฯ ตกลงกับลูกค้าว่า เมื่อลูกค้านำของออกจากที่เก็บสินค้าจะถือเป็นการขายสินค้า บริษัทฯจะออกใบอินวอยซ์ ให้กับลูกค้า
3. ผู้ที่ดูแลสินค้าของบริษัทฯ ณ สถานที่เก็บสินค้าไม่ใช่พนักงานของบริษัทฯ เมื่อลูกค้าจะเบิกสินค้าไปก็ไม่ต้องขออนุมัติ หรือแจ้ง บริษัทฯ ทราบ ลูกค้าสามารถเบิกสินค้าไปใช้ได้ทันที แต่ถ้าสินค้าเกิดความเสียหาย เช่น จากไฟไหม้ หรือน้ำท่วม บริษัทฯยังคงต้องรับผิด ในความเสียหายนั้น เนื่องจากสินค้ายังคงเป็นของบริษัทฯ
จึงขอทราบว่า
1. สาขาที่ 1 เป็นสถานที่ผลิตสินค้าเมื่อผลิตเสร็จจะส่งสินค้าไปเก็บไว้ยังสถานที่เก็บสินค้าสาขาที่ 2, 3 และ 4 การโอนย้ายไป สถานที่เก็บสินค้าไม่ถือเป็นการจำหน่าย จ่าย โอนที่จะต้องออกใบกำกับภาษีใช่หรือไม่
2. การส่งสินค้าจากสำนักงานใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ) ไปยังสาขา โดยให้บริษัทฯ ลูกค้าเป็นผู้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าต่อศุลกากร โดยระบุ Ship to เป็นชื่อลูกค้าซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถใช้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีอากรขาเข้า แต่ทางบริษัทฯ และลูกค้าตกลงว่า สินค้าดังกล่าวยังเป็นของบริษัทฯ อยู่และจะออกใบกำกับภาษีต่อเมื่อลูกค้าได้เบิกเอาสินค้าไปใช้บริษัทฯ จะกระทำได้หรือไม่
3. บริษัทฯ จะส่งสินค้าจากสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ) ไปให้ลูกค้าที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเช่นเดียวกัน (แต่อยู่คนละเขต) โดยบริษัทฯ ตกลงว่ายังไม่ถือเป็นการขายสินค้าจนกว่าลูกค้าจะได้นำสินค้าไปใช้ตามสัญญาดังกล่าว จะถือเป็นการขายทันทีที่ผ่านพิธีการศุลกากรหรือไม่
ตอบ
1. กรณีบริษัทฯ ส่งสินค้าไปเก็บไว้ในโรงงานของลูกค้า ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการของบริษัทฯ ตามมาตรา 77/1(20) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
2. กรณีบริษัทฯ ส่งสินค้าจากสำนักงานใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกไปให้ลูกค้าโดยลูกค้าเป็นผู้กระทำพิธีการ นำเข้าต่อศุลกากรจึงเป็นการขายสินค้าให้ลูกค้าในราชอาณาจักรโดยมิใช่เพื่อส่งออกและได้กระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ลูกค้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะผู้นำเข้าตามมาตรา 82(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าวหากลูกค้ามิใช่ผู้ประกอบการในเขต อุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร บริษัทฯ ไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวอีก เนื่องจากมูลค่าของสินค้าดังกล่าว ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่า ของฐานภาษ ีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
3. กรณีบริษัทฯส่งสินค้าจากสำนักงานใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ให้ลูกค้าซึ่งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (แต่ละเขต) ถือเป็นการขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกไม่ว่าจะอยู่ใน เขตอุตสาหกรรมส่งออกเดียวกันหรือไม่ ให้ใช้อ้ตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 96)ฯ ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542
(กค 0811/พ./3895 ลว. 25 เมษายน 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-
ถาม
บริษัทตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรม ตกลงขายสินค้าโดยบริษัทจะส่งสินค้าไปเก็บ ไว้ในคลังที่ใกล้ที่สุดกับโรงงานของลูกค้า และเก็บไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยตกลงทำสัญญาซื้อขาย ดังนี้
1. บริษัทฯ จะส่งสินค้าไปเก็บไว้ในสถานที่เก็บสินค้า (สาขาที่ 2, 3 และ 4) เพื่อรอการขาย
2. เมื่อลูกค้าต้องการใช้สินค้าลูกค้าจะนำของออกจากสถานที่เก็บสินค้าไปใช้ได้โดยลูกค้าจะต้องส่งรายงานการเบิกของออกไปใช้ ให้กับบริษัทฯ ทราบ และบริษัทฯ ตกลงกับลูกค้าว่า เมื่อลูกค้านำของออกจากที่เก็บสินค้าจะถือเป็นการขายสินค้า บริษัทฯจะออกใบอินวอยซ์ ให้กับลูกค้า
3. ผู้ที่ดูแลสินค้าของบริษัทฯ ณ สถานที่เก็บสินค้าไม่ใช่พนักงานของบริษัทฯ เมื่อลูกค้าจะเบิกสินค้าไปก็ไม่ต้องขออนุมัติ หรือแจ้ง บริษัทฯ ทราบ ลูกค้าสามารถเบิกสินค้าไปใช้ได้ทันที แต่ถ้าสินค้าเกิดความเสียหาย เช่น จากไฟไหม้ หรือน้ำท่วม บริษัทฯยังคงต้องรับผิด ในความเสียหายนั้น เนื่องจากสินค้ายังคงเป็นของบริษัทฯ
จึงขอทราบว่า
1. สาขาที่ 1 เป็นสถานที่ผลิตสินค้าเมื่อผลิตเสร็จจะส่งสินค้าไปเก็บไว้ยังสถานที่เก็บสินค้าสาขาที่ 2, 3 และ 4 การโอนย้ายไป สถานที่เก็บสินค้าไม่ถือเป็นการจำหน่าย จ่าย โอนที่จะต้องออกใบกำกับภาษีใช่หรือไม่
2. การส่งสินค้าจากสำนักงานใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ) ไปยังสาขา โดยให้บริษัทฯ ลูกค้าเป็นผู้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าต่อศุลกากร โดยระบุ Ship to เป็นชื่อลูกค้าซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถใช้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีอากรขาเข้า แต่ทางบริษัทฯ และลูกค้าตกลงว่า สินค้าดังกล่าวยังเป็นของบริษัทฯ อยู่และจะออกใบกำกับภาษีต่อเมื่อลูกค้าได้เบิกเอาสินค้าไปใช้บริษัทฯ จะกระทำได้หรือไม่
3. บริษัทฯ จะส่งสินค้าจากสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ) ไปให้ลูกค้าที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเช่นเดียวกัน (แต่อยู่คนละเขต) โดยบริษัทฯ ตกลงว่ายังไม่ถือเป็นการขายสินค้าจนกว่าลูกค้าจะได้นำสินค้าไปใช้ตามสัญญาดังกล่าว จะถือเป็นการขายทันทีที่ผ่านพิธีการศุลกากรหรือไม่
ตอบ
1. กรณีบริษัทฯ ส่งสินค้าไปเก็บไว้ในโรงงานของลูกค้า ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถานประกอบการของบริษัทฯ ตามมาตรา 77/1(20) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
2. กรณีบริษัทฯ ส่งสินค้าจากสำนักงานใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกไปให้ลูกค้าโดยลูกค้าเป็นผู้กระทำพิธีการ นำเข้าต่อศุลกากรจึงเป็นการขายสินค้าให้ลูกค้าในราชอาณาจักรโดยมิใช่เพื่อส่งออกและได้กระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ลูกค้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะผู้นำเข้าตามมาตรา 82(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าวหากลูกค้ามิใช่ผู้ประกอบการในเขต อุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร บริษัทฯ ไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวอีก เนื่องจากมูลค่าของสินค้าดังกล่าว ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่า ของฐานภาษ ีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
3. กรณีบริษัทฯส่งสินค้าจากสำนักงานใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ให้ลูกค้าซึ่งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (แต่ละเขต) ถือเป็นการขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกไม่ว่าจะอยู่ใน เขตอุตสาหกรรมส่งออกเดียวกันหรือไม่ ให้ใช้อ้ตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 96)ฯ ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542
(กค 0811/พ./3895 ลว. 25 เมษายน 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-