คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท. 48 / 2544
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดระดับผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
กรณีเป็นผู้ส่งของออกระดับบัตรทอง ของกรมศุลกากร
_______________________________
เพื่อให้การพิจารณาคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบการส่งออกที่มีคุณสมบัติเป็น ผู้ส่งของออกระดับบัตรทองของกรมศุลกากรเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว รอบคอบ และมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์แก่การส่งออกของประเทศ กรมสรรพากรจึงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจัดระดับ ผู้ส่งของออกระดับบัตรทองของกรมศุลกากรเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีของกรมสรรพากร ดังนี้
ข้อ 1 คุณสมบัติของผู้ประกอบการส่งออกที่ขอรับการจัดระดับให้เป็นผู้ประกอบการ ส่งออกที่ดี
(1) เป็นผู้ส่งของออกระดับบัตรทองของกรมศุลกากร
(2) เป็นบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) ในรอบระยะเวลาบัญชีปีสุดท้ายก่อนขอรับการจัดระดับมียอดขายส่งออก ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปของ ยอดรายได้รวมและได้นำเงินตราต่างประเทศจากการนั้นเข้ามาในประเทศไทย
(4) มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และมีทรัพย์สินสุทธิมากกว่าหนี้สินสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีสุดท้ายก่อนขอรับการจัดระดับ
(5) มีประวัติการเสียภาษีที่ดี และไม่มีผลขาดทุนสุทธิติดต่อกัน 3 ปีล่าสุด
(6) เป็นสมาชิกของสมาคมหรือองค์กรภาคเอกชน (ในทางการค้า) เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฯลฯ
นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวผู้ประกอบการส่งออกอาจมีคุณสมบัติเพิ่มเติมซึ่งเป็น องค์ประกอบในการพิจารณาเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี คือ
1. มีระบบการจัดการและระบบการควบคุมภายในที่ดี เช่น มีระบบการตรวจสอบภายใน การจัดทำประมาณการแผนการส่งออก มีงบการเงินเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส
2. ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน (ISO) แขนงต่างๆ จากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
3. ได้รับรางวัลหรือประกาศเกียรติคุณด้านต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานของรัฐบาลและหรือภาคเอกชน
4. คุณสมบัติอื่นๆ ในทำนองเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น
ข้อ 2 เงื่อนไข
(1) ผู้ประกอบการส่งออกจะต้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารตามระเบียบที่กรมสรรพากรกำหนด
(2) กรณีมีหลายสาขา ต้องได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน
(3) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่รับรองงบการเงินต้องได้รับการแต่งตั้งจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในช่วงต้น ของรอบระยะ เวลาบัญชี และสามารถแจ้งชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อเจ้าพนักงานได้ทันที
ข้อ 3 สิทธิประโยชน์
(1) ได้รับการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 60 วันนับแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้สิทธิดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่เดือนภาษีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติ
ในกรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลชัดแจ้งว่าผู้ส่งของออกระดับบัตรทองของกรมศุลกากรที่ได้รับการจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้องและหน่วยปฏิบัติ เห็นสมควรตรวจก่อนคืนก็ให้กระทำได้ ซึ่งจะต้องแจ้งเหตุที่ไม่สามารถคืนภาษีให้ได้ ภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ประกอบการส่งออกที่ดีทราบด้วย
(2) ได้รับบริการที่ดีและการอำนวยความสะดวกในการติดต่อราชการรวมทั้งได้รับเอกสารข้อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นจากกรมสรรพากร
ข้อ 4 การยื่นคำขอรับการจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
ให้ผู้ประกอบการส่งออกที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 2 ซึ่งมีความประสงค์จะ ได้รับการจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี ยื่นคำขอตามแบบแนบท้าย คำสั่งนี้พร้อมเอกสารหลักฐาน ที่ต้องใช้ในการพิจารณาต่อฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษีของสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่หรือฝ่ายกรรมวิธี ของสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) ซึ่งเป็นที่ตั้ของสถานประกอบการที่มีหน้าที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับผู้ประกอบการส่งออกที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขดังกล่าวและอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งความประสงค์จะได้รับการจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี ให้ยื่นคำขอตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้ พร้อมเอกสาร ที่หลักฐานี่ต้องใช้ในการพิจารณาต่อส่วนวิเคราะห์และประเมินผลของศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
ก่อนสิทธิประโยชน์ที่มีกำหนดเวลา 2 ปีจะสิ้นสุดลงเป็นเวลา 2 เดือนถ้าผู้ประกอบการ ส่งออกที่ดีมีความประสงค์จะต่อ อายุจะต้องมีคุณสมบัติตามคำสั่งนี้ด้วย
ข้อ 5 แนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับคำขอฯ
สำหรับผู้ประกอบการส่งออกที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
(1) ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษีของสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่หรือฝ่ายกรรมวิธีของสำนักงานสรรพากรจังหวัดหรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) ที่ได้รับคำขอฯดำเนินการตรวจคำขอฯ และเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน เพื่อประกอบการ พิจารณาคุณสมบัติที่กำหนด และดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอฯ พร้อมเอกสารหลักฐานครบถ้วนและรายงานผลการพิจารณาตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้ต่อผู้บังคับบัญชา
(2) ให้สรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด(สาขา)พิจารณาให้ความเห็นเสนอสรรพากรภาค ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงาน
(3) ให้สรรพากรภาคพิจารณาให้ความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณาจัดระดับผู้ประกอบการส่งออกที่ดีโดยผ่านสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
(4) ให้คณะกรรมการพิจารณาจัดระดับผู้ประกอบการส่งออกที่ดีดำเนินการประชุมพิจารณาสรุปความ เห็นเสนออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อสั่งการ และให้สำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีแจ้งผลให้สำนักงานสรรพากรภาคทราบเพื่อแจ้งต่อสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่หน่วยงานแต่ละแห่งได้รับแจ้งผล
(5) ให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) แจ้งผลการพิจารณาจัดระดับตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้ให้ผู้ประกอบการส่งออกทราบทันทีในวันทำการถัดไปนับจาก วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานสรรพากรภาคพร้อมทั้งให้จัดทำทะเบียนคุมรายชื่อผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับการจัด ระดับให้เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้
(6) ให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัดหรือสำนักงานสรรพากร จังหวัด(สาขา) จัดทำรายงานการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบการส่งออกที่ดีให้กรมสรรพากรทราบเป็น รายเดือน โดยส่งถึงสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป พร้อมสำเนาให้สำนักงานสรรพากรภาคทราบ
สำหรับผู้ประกอบการส่งออกที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
(1) ให้ส่วนวิเคราะห์และประเมินผลดำเนินการตรวจคำขอฯและเอกสารหลักฐาน ครบถ้วนเพื่อประกอบการพิจารณาคุณสมบัติที่กำหนดและดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับ คำขอฯ พร้อมเอกสารหลักฐานครบถ้วน และรายงานผลการพิจารณาตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้ต่อผู้อำนวยการศูนย์ บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
(2) ให้ผู้อำนวยการศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณาจัดระดับ ผู้ประกอบการส่งออกที่ดีผ่านสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงาน
(3) ให้คณะกรรมการพิจารณาจัดระดับผู้ประกอบการส่งออกดีดำเนินการประชุมพิจารณาสรุปความเห็นเสนออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อสั่งการและให้สำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีแจ้งผลให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจ ขนาดใหญ่ทราบภายใน 3 วันทำการ
(4) ให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่แจ้งผลการพิจารณาจัดระดับให้ผู้ประกอบการส่งออกทราบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีพร้อมทั้งจัดทำทะเบียนคุมรายชื่อผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับการจัดระดับให้เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
(5) ให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่จัดทำรายงานการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบการ ส่งออกที่ดีให้กรมสรรพากรทราบเป็นรายเดือน โดยส่งถึงสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ข้อ 6 การแจ้งการเปลี่ยนแปลง และแจ้งการสิ้นสุดสิทธิประโยชน์
(1) กรณีผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับการจัดระดับให้เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีตามคำสั่งนี้ยื่นแบบ ภ.พ. 09 ให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงาน สรรพากรจังหวัดหรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา)ที่รับเรื่อง ส่งสำเนา ภ.พ.09 ดังกล่าวไปยังสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษี เพื่อปรับฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
(2) ก่อนเวลาที่สิทธิประโยชน์ ซึ่งมีกำหนด 2 ปีจะสิ้นสุดลงเป็นเวลา 2 เดือนให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจ ขนาดใหญ่ หรือสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัดหรือสำนักงาน สรรพากรจังหวัด(สาขา) แจ้งให้ผู้ประกอบการส่งออกที่ดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆทราบ เพื่อให้ผู้ประกอบการ ส่งออกที่ประสงค์จะต่ออายุ ยื่นคำขอรับการจัดระดับเข้ามาใหม่ได้ทันที
ข้อ 7 การเพิกถอนการเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
(1) กรณีพบว่าผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับการจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยง ภาษีอากร ให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นท่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา)ที่รับผิดชอบพิจารณาดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการส่งออก ดังกล่าว และหากพบประเด็นความผิดชัดแจ้งให้รีบรายงานประเด็นความผิด ให้กรมสรรพากรทราบ โดยผ่านคณะกรรมการ พิจารณาจัดระดับผู้ประกอบการส่งออกที่ดีเพื่อพิจารณาสรุปความเห็นเสนออธิบดีกรมสรรพากรสั่งเพิกถอน การเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีรายนั้นต่อไป
(2) ให้คณะกรรมการฯแจ้งผลการพิจารณาให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสำนักงานสรรพากร ภาคทราบโดยเร็วเพื่อแจ้งแก่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากร จังหวัด(สาขา) หากเป็นกรณีเพิกถอนให้หน่วยงานนั้นๆแจ้งผลการเพิกถอนการเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีให้ผู้ประกอบการส่งออกทราบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ข้อ 8 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-
ที่ ท. 48 / 2544
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดระดับผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
กรณีเป็นผู้ส่งของออกระดับบัตรทอง ของกรมศุลกากร
_______________________________
เพื่อให้การพิจารณาคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบการส่งออกที่มีคุณสมบัติเป็น ผู้ส่งของออกระดับบัตรทองของกรมศุลกากรเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว รอบคอบ และมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์แก่การส่งออกของประเทศ กรมสรรพากรจึงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจัดระดับ ผู้ส่งของออกระดับบัตรทองของกรมศุลกากรเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีของกรมสรรพากร ดังนี้
ข้อ 1 คุณสมบัติของผู้ประกอบการส่งออกที่ขอรับการจัดระดับให้เป็นผู้ประกอบการ ส่งออกที่ดี
(1) เป็นผู้ส่งของออกระดับบัตรทองของกรมศุลกากร
(2) เป็นบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) ในรอบระยะเวลาบัญชีปีสุดท้ายก่อนขอรับการจัดระดับมียอดขายส่งออก ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปของ ยอดรายได้รวมและได้นำเงินตราต่างประเทศจากการนั้นเข้ามาในประเทศไทย
(4) มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และมีทรัพย์สินสุทธิมากกว่าหนี้สินสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีสุดท้ายก่อนขอรับการจัดระดับ
(5) มีประวัติการเสียภาษีที่ดี และไม่มีผลขาดทุนสุทธิติดต่อกัน 3 ปีล่าสุด
(6) เป็นสมาชิกของสมาคมหรือองค์กรภาคเอกชน (ในทางการค้า) เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฯลฯ
นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวผู้ประกอบการส่งออกอาจมีคุณสมบัติเพิ่มเติมซึ่งเป็น องค์ประกอบในการพิจารณาเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี คือ
1. มีระบบการจัดการและระบบการควบคุมภายในที่ดี เช่น มีระบบการตรวจสอบภายใน การจัดทำประมาณการแผนการส่งออก มีงบการเงินเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส
2. ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน (ISO) แขนงต่างๆ จากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
3. ได้รับรางวัลหรือประกาศเกียรติคุณด้านต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานของรัฐบาลและหรือภาคเอกชน
4. คุณสมบัติอื่นๆ ในทำนองเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น
ข้อ 2 เงื่อนไข
(1) ผู้ประกอบการส่งออกจะต้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารตามระเบียบที่กรมสรรพากรกำหนด
(2) กรณีมีหลายสาขา ต้องได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน
(3) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่รับรองงบการเงินต้องได้รับการแต่งตั้งจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในช่วงต้น ของรอบระยะ เวลาบัญชี และสามารถแจ้งชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อเจ้าพนักงานได้ทันที
ข้อ 3 สิทธิประโยชน์
(1) ได้รับการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 60 วันนับแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้สิทธิดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่เดือนภาษีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติ
ในกรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลชัดแจ้งว่าผู้ส่งของออกระดับบัตรทองของกรมศุลกากรที่ได้รับการจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้องและหน่วยปฏิบัติ เห็นสมควรตรวจก่อนคืนก็ให้กระทำได้ ซึ่งจะต้องแจ้งเหตุที่ไม่สามารถคืนภาษีให้ได้ ภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ประกอบการส่งออกที่ดีทราบด้วย
(2) ได้รับบริการที่ดีและการอำนวยความสะดวกในการติดต่อราชการรวมทั้งได้รับเอกสารข้อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นจากกรมสรรพากร
ข้อ 4 การยื่นคำขอรับการจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
ให้ผู้ประกอบการส่งออกที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 2 ซึ่งมีความประสงค์จะ ได้รับการจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี ยื่นคำขอตามแบบแนบท้าย คำสั่งนี้พร้อมเอกสารหลักฐาน ที่ต้องใช้ในการพิจารณาต่อฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษีของสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่หรือฝ่ายกรรมวิธี ของสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) ซึ่งเป็นที่ตั้ของสถานประกอบการที่มีหน้าที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับผู้ประกอบการส่งออกที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขดังกล่าวและอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งความประสงค์จะได้รับการจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี ให้ยื่นคำขอตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้ พร้อมเอกสาร ที่หลักฐานี่ต้องใช้ในการพิจารณาต่อส่วนวิเคราะห์และประเมินผลของศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
ก่อนสิทธิประโยชน์ที่มีกำหนดเวลา 2 ปีจะสิ้นสุดลงเป็นเวลา 2 เดือนถ้าผู้ประกอบการ ส่งออกที่ดีมีความประสงค์จะต่อ อายุจะต้องมีคุณสมบัติตามคำสั่งนี้ด้วย
ข้อ 5 แนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับคำขอฯ
สำหรับผู้ประกอบการส่งออกที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
(1) ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษีของสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่หรือฝ่ายกรรมวิธีของสำนักงานสรรพากรจังหวัดหรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) ที่ได้รับคำขอฯดำเนินการตรวจคำขอฯ และเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน เพื่อประกอบการ พิจารณาคุณสมบัติที่กำหนด และดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอฯ พร้อมเอกสารหลักฐานครบถ้วนและรายงานผลการพิจารณาตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้ต่อผู้บังคับบัญชา
(2) ให้สรรพากรพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด(สาขา)พิจารณาให้ความเห็นเสนอสรรพากรภาค ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงาน
(3) ให้สรรพากรภาคพิจารณาให้ความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณาจัดระดับผู้ประกอบการส่งออกที่ดีโดยผ่านสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
(4) ให้คณะกรรมการพิจารณาจัดระดับผู้ประกอบการส่งออกที่ดีดำเนินการประชุมพิจารณาสรุปความ เห็นเสนออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อสั่งการ และให้สำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีแจ้งผลให้สำนักงานสรรพากรภาคทราบเพื่อแจ้งต่อสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่หน่วยงานแต่ละแห่งได้รับแจ้งผล
(5) ให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) แจ้งผลการพิจารณาจัดระดับตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้ให้ผู้ประกอบการส่งออกทราบทันทีในวันทำการถัดไปนับจาก วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานสรรพากรภาคพร้อมทั้งให้จัดทำทะเบียนคุมรายชื่อผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับการจัด ระดับให้เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้
(6) ให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัดหรือสำนักงานสรรพากร จังหวัด(สาขา) จัดทำรายงานการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบการส่งออกที่ดีให้กรมสรรพากรทราบเป็น รายเดือน โดยส่งถึงสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป พร้อมสำเนาให้สำนักงานสรรพากรภาคทราบ
สำหรับผู้ประกอบการส่งออกที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
(1) ให้ส่วนวิเคราะห์และประเมินผลดำเนินการตรวจคำขอฯและเอกสารหลักฐาน ครบถ้วนเพื่อประกอบการพิจารณาคุณสมบัติที่กำหนดและดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับ คำขอฯ พร้อมเอกสารหลักฐานครบถ้วน และรายงานผลการพิจารณาตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้ต่อผู้อำนวยการศูนย์ บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
(2) ให้ผู้อำนวยการศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณาจัดระดับ ผู้ประกอบการส่งออกที่ดีผ่านสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงาน
(3) ให้คณะกรรมการพิจารณาจัดระดับผู้ประกอบการส่งออกดีดำเนินการประชุมพิจารณาสรุปความเห็นเสนออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อสั่งการและให้สำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีแจ้งผลให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจ ขนาดใหญ่ทราบภายใน 3 วันทำการ
(4) ให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่แจ้งผลการพิจารณาจัดระดับให้ผู้ประกอบการส่งออกทราบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีพร้อมทั้งจัดทำทะเบียนคุมรายชื่อผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับการจัดระดับให้เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
(5) ให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่จัดทำรายงานการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบการ ส่งออกที่ดีให้กรมสรรพากรทราบเป็นรายเดือน โดยส่งถึงสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ข้อ 6 การแจ้งการเปลี่ยนแปลง และแจ้งการสิ้นสุดสิทธิประโยชน์
(1) กรณีผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับการจัดระดับให้เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีตามคำสั่งนี้ยื่นแบบ ภ.พ. 09 ให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงาน สรรพากรจังหวัดหรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา)ที่รับเรื่อง ส่งสำเนา ภ.พ.09 ดังกล่าวไปยังสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษี เพื่อปรับฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
(2) ก่อนเวลาที่สิทธิประโยชน์ ซึ่งมีกำหนด 2 ปีจะสิ้นสุดลงเป็นเวลา 2 เดือนให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจ ขนาดใหญ่ หรือสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัดหรือสำนักงาน สรรพากรจังหวัด(สาขา) แจ้งให้ผู้ประกอบการส่งออกที่ดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆทราบ เพื่อให้ผู้ประกอบการ ส่งออกที่ประสงค์จะต่ออายุ ยื่นคำขอรับการจัดระดับเข้ามาใหม่ได้ทันที
ข้อ 7 การเพิกถอนการเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
(1) กรณีพบว่าผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับการจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยง ภาษีอากร ให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นท่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา)ที่รับผิดชอบพิจารณาดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการส่งออก ดังกล่าว และหากพบประเด็นความผิดชัดแจ้งให้รีบรายงานประเด็นความผิด ให้กรมสรรพากรทราบ โดยผ่านคณะกรรมการ พิจารณาจัดระดับผู้ประกอบการส่งออกที่ดีเพื่อพิจารณาสรุปความเห็นเสนออธิบดีกรมสรรพากรสั่งเพิกถอน การเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีรายนั้นต่อไป
(2) ให้คณะกรรมการฯแจ้งผลการพิจารณาให้ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสำนักงานสรรพากร ภาคทราบโดยเร็วเพื่อแจ้งแก่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากร จังหวัด(สาขา) หากเป็นกรณีเพิกถอนให้หน่วยงานนั้นๆแจ้งผลการเพิกถอนการเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีให้ผู้ประกอบการส่งออกทราบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ข้อ 8 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2544
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-