เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๒๕)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจาก
ผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร
_____________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการ จดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๒๔) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ ๓ ผู้มีความประสงค์จะประกอบกิจการเป็นตัวแทนของผู้เดินทางตามข้อ ๒ วรรคหนึ่ง เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้ว ต้องยื่นคำขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านหัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว ตามแบบคำขออนุมัติเป็นผู้ให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ที่แนบท้ายประกาศนี้
ผู้มีสิทธิยื่นคำขออนุมัติตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(๒) มีทุนจดทะเบียนที่ชาระแล้ว ตั้งแต่ยี่สิบห้าล้านบาทขึ้นไป
(๓) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๒/๓ แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เคยมีประวัติเป็นผู้ออกหรือใช้ใบกากับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๔) มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเป็นตัวแทนของผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร ปรากฏอยู่ในข้อหนึ่งข้อใดที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองนิติบุคคล
(๕) เสนอแผนการดำเนินงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
(๕.๑) รายละเอียดของพื้นที่ในการให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ไม่เกิน ๕ พื้นที่ให้บริการ
ในกรณีของผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ให้บริการตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรในเมืองแล้ว ก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และ มีความประสงค์จะเพิ่มพื้นที่ให้บริการ ให้จัดทาหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าว เสนออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านหัวหน้ากลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้อธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาอนุมัติเพิ่มพื้นที่ให้บริการตามที่เห็นสมควร แต่รวมกันแล้วไม่เกิน ๕ พื้นที่ให้บริการ
(๕.๒) รายละเอียดของเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ รวมถึงระบบงานพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ ในการให้บริการเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
(๕.๓) รายละเอียดของระบบเชื่อมต่อการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรกับเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ให้กรมสรรพากรได้ทันที (Real Time)"
ข้อ ๒ ให้เพิ่มเติมข้อความดังต่อไปนี้เป็น ข้อ ๔/๑ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๒๔) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิ ตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา ๘๔/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
"ข้อ ๔/๑ แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในข้อ ๓ (๕) อธิบดีกรมสรรพากรอาจกำหนดให้ตัวแทน ที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพิ่มพื้นที่ให้บริการ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตามระยะเวลาที่กำหนดได้ ตามที่เห็นสมควร"
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร
ที่มา: http://www.rd.go.th