(ฉบับที่ ๘)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๖๗) พ.ศ. ๒๕๖๑
________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๖๗) พ.ศ. ๒๕๖๑ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า อันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และสำหรับรายจ่ายอันเกิดจากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ค่าทาบัญชี และค่าสอบบัญชี ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"บุคคล" หมายความว่า บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ข้อ ๒ การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๖๗) พ.ศ. ๒๕๖๑ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการของบุคคลผู้โอนอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๖๗) พ.ศ. ๒๕๖๑ ใช้บังคับ ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ตามราคาตลาด เว้นแต่ทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต้องโอนด้วยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้ในวัน ที่มีการโอนนั้น หรือราคาต้นทุนการซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่บุคคลผู้โอนได้ซื้อมาตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ได้ทาเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า
(๒) บุคคลผู้โอนกรรมสิทธิในทรัพย์สิน ต้องถือหุ้นสามัญหรือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับโอนทรัพย์สินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอน
(๓) บุคคลผู้โอนกรรมสิทธิในทรัพย์สิน ต้องไม่โอนหุ้นสามัญหรือหุ้นอันเกิดจากการโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินซึ่งได้รับยกเว้นรัษฎากรในราคาต่ากว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชี
(๔) บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทาหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยบุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรอง ดังต่อไปนี้
(ก) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ในขณะจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน เว้นแต่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ประสงค์จะชำระภาษีอากรก่อน ในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(ข) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์มีภูมิลำเนา หรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ทั้งนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ การยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายอันเกิดจากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ค่าทาบัญชี และค่าสอบบัญชี ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๖๗) พ.ศ. ๒๕๖๑ ต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีรายจ่ายอันเกิดจากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังนี้
(ก) กรณีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้และที่ประชุมจัดตั้งบริษัทได้ให้สัตยาบันไว้
(ข) กรณีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้และมีการรับรองโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ
(๒) กรณีรายจ่ายค่าทาบัญชี และค่าสอบบัญชี ต้องเป็นค่าทาบัญชีและค่าสอบบัญชี ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร
ที่มา: http://www.rd.go.th