ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ ๑๕) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์

ข่าวทั่วไป Friday October 18, 2019 13:08 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

(ฉบับที่ ๑๕)

เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษา

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์

_____________

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๘) พ.ศ. ๒๕๖๒ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๐

ข้อ ๒ ในประกาศนี้ "ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ใบกำกับภาษีที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)

"ใบรับอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)

"ผู้ประกอบการจดทะเบียน" หมายความว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๗๗/๑ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร

"ผู้มีหน้าที่ออกใบรับ" หมายความว่า ผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา ๑๐๕ แห่งประมวลรัษฎากร "ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศนี้

"ผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ผู้มีหน้าที่ออกใบรับที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศนี้

"อิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีการอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น

"ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

"ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)" หมายความว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือการบันทึกอื่นใดซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) กับข้อมูลสาหรับใช้สร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority)

"ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority)" หมายความว่า บุคคลที่ให้บริการเกี่ยวกับการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) เพื่อรับรองตัวตนของบุคคล หรือองค์กรใด ๆ ซึ่งเป็นเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยมีมาตรฐานหรือมาตรการ ด้านความมั่นคงปลอดภัยตามที่สานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนด

"ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)" หมายความว่า ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้น ทางอิเล็กทรอนิกส์โดยการคานวณทางคณิตศาสตร์เข้ารหัสอัลกอริทึมแบบอสมมาตร (Asymmetric Key Algorithms) บนพื้นฐานวิทยาการเข้ารหัสลับ (Encryption) และใช้กับระบบคู่กุญแจ (Key Pair) โดยนำไปคานวณร่วมกับกุญแจส่วนตัว (Private Key) ของผู้ลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะที่สามารถจะใช้กุญแจสาธารณะ (Public Key) ของผู้ลงลายมือชื่อตรวจสอบได้ว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้สร้างขึ้นโดยกุญแจส่วนตัว (Private Key) ของผู้ลงลายมือชื่อนั้นหรือไม่ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังการลงลายมือชื่อหรือไม่

"กุญแจส่วนตัว (Private Key)" หมายความว่า กุญแจที่ใช้ในการสร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และสามารถนำไปใช้ในการเข้ารหัสลับ (Encryption) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อมิให้สามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเข้ารหัสลับนั้นได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้

"กุญแจสาธารณะ (Public Key)" หมายความว่า กุญแจที่ใช้ในการตรวจสอบลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และสามารถนำไปใช้ในการถอดรหัสลับ (Decryption) เมื่อมีการเข้ารหัสลับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกุญแจส่วนตัว (Private Key) เพื่อให้สามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเข้ารหัสลับนั้นได้

"คู่กุญแจ (Key Pair)" หมายความว่า กุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key) ในระบบการเข้ารหัสลับ (Encryption) แบบอสมมาตร (Asymmetric Key Algorithms) ที่ได้สร้างขึ้นโดยวิธีการที่ทาให้กุญแจส่วนตัว (Private Key) มีความสัมพันธ์ในทางคณิตศาสตร์ กับกุญแจสาธารณะ (Public Key) ในลักษณะที่สามารถใช้กุญแจสาธารณะ (Public Key) ตรวจสอบได้ว่าลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ได้สร้างขึ้นโดยใช้กุญแจส่วนตัว (Private Key) นั้นหรือไม่ และสามารถนากุญแจส่วนตัว (Private Key) ไปใช้ในการเข้ารหัสลับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทาให้ไม่สามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่บุคคลที่ถือกุญแจสาธารณะ (Public Key) ซึ่งเป็นคู่กับกุญแจส่วนตัว (Private Key) นั้น นำไปใช้ในการถอดรหัสลับ (Decryption) ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บุคคลที่ถือกุญแจสาธารณะ (Public Key) สามารถอ่านหรือเข้าใจความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้

"ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งให้บริการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นผู้มีคุณสมบัติตามท้ายประกาศนี้

"การอัปโหลด (Upload)" หมายความว่า วิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบข้อมูลของกรมสรรพากร

"การส่งข้อมูลแบบ Host to Host" หมายความว่า วิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์โดยการเชื่อมต่อระบบข้อมูลระหว่างผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ กับกรมสรรพากร"

"ส่งมอบ" หมายความว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบข้อมูลของผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และให้หมายความรวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบข้อมูลของตัวแทน

"แบบ บ.อ.๐๑" หมายความว่า แบบคำขอจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์

"แบบ บ.อ.๐๙" หมายความว่า แบบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ ๓ ให้ผู้ประสงค์จะจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ยื่นคำขอต่ออธิบดีตามแบบ บ.อ.๐๑ ที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ ๔ ผู้ประสงค์ที่จะยื่นคำขอตามข้อ ๓ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา ๗๗/๑ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร หรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับ ตามมาตรา ๑๐๕ แห่งประมวลรัษฎากร

(๒) มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) (๓) มีระบบงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำและส่งมอบให้แก่ผู้รับมีข้อความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับขณะที่สร้าง ส่ง และรับ โดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้และสามารถแสดงข้อความได้ในภายหลังโดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไร้ร่องรอย หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสาร ที่ออกระหว่างทาง

ข้อ ๕ การยื่นคำขอตามข้อ ๓ ให้ยื่นต่ออธิบดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกำหนด โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อตกลงแนบท้ายแบบ บ.อ.๐๑ และให้ผู้ยื่นคำขอยืนยันตัวตนโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)

ข้อ ๖ เมื่อผู้ยื่นคำขอได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้มีสิทธิจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

ข้อ ๗ ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี ตามวิธีการแบบปลอดภัยที่เชื่อถือได้ทั้งในส่วน ของระบบฮาร์ดแวร์ และระบบซอฟต์แวร์ ดังต่อไปนี้

(๑) มีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้ โดยจะต้อง

(ก) สามารถแสดงภาพการทางานรวมของระบบงานทั้งหมด (System Flowchart) ได้ (ข) เป็นโปรแกรมที่เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วจะแก้ไขรายการนั้น ๆ โดยไร้ร่องรอยไม่ได้ การแก้ไขรายการไม่ให้ใช้วิธีลบทิ้ง หรือล้างรายการออก ถ้าจะแก้ไขต้องบันทึกรายการปรับปรุงเพิ่มเข้าไปเพื่อแสดงให้เห็นรายการก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง และต้องมีรายงานการแก้ไขรายการเพื่อการตรวจสอบได้

(ค) แสดงระดับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบ โดยระบุจานวนและระดับเจ้าหน้าที่ที่สามารถบันทึก อ่าน หรือเข้าไปใช้ระบบงานในแต่ละระดับได้

(ง) มีการควบคุมโดยใช้รหัสผ่านสาหรับผู้มีสิทธิเข้าไปใช้ระบบงานทุกระดับ และมีระบบงานที่บันทึกการเปลี่ยนรหัสผ่านทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

(จ) มีรายงานบันทึกการใช้ระบบงานโดยระบุให้ทราบถึงรหัสประจำตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบงานที่ทา วัน เดือน ปี และเวลาที่เข้าใช้ระบบงาน (Access) ในกรณีที่มีการแก้ไขรายการจะต้องระบุให้ทราบถึงรหัสประจำตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบ จานวนและรายละเอียดของรายการที่แก้ไขปรับปรุง

(ฉ) มีระบบการตรวจสอบผู้เข้าใช้หรือผู้เข้าไปแก้ไขข้อมูลในระบบ และมีกระบวนการในการตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกไว้ในระบบที่สามารถแสดงว่าข้อมูลดังกล่าวได้บันทึกไว้ครบถ้วน ทุกรายการแล้ว และไม่มีการแก้ไขรายการของเอกสารที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

(๒) มีการควบคุมแฟมข้อมูลซึ่งมีการเข้ารหัสลับ (Encryption) เพื่อปองกันการเข้าถึงข้อมูล ถ้ามีการถอดรหัสลับ (Decryption) ต้องบันทึกหลักฐานไว้ทุกครั้งเพื่อการตรวจสอบ และสามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเพื่อการตรวจสอบได้

ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ อาจใช้ซอฟต์แวร์ ที่บุคคลอื่นพัฒนาขึ้นมาใช้ในการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้ หากซอฟต์แวร์นั้นมีวิธีการแบบปลอดภัยที่เชื่อถือได้ทานองเดียวกับ (๑) และ (๒)

ข้อ ๘ การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีรายการ ตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดาเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดทำใบกำกับภาษีโดยมีรายการที่เป็นสาระสาคัญ ตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

(๒) ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อาจกำหนดให้มีรายการอื่นใดในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นอกจากรายการที่เป็นสาระสาคัญตาม (๑) ก็ได้

(๓) นาข้อมูลตาม (๑) และ (๒) มาคานวณทางคณิตศาสตร์เข้ารหัสอัลกอริทึมแบบอสมมาตร (Asymmetric Key Algorithms) บนพื้นฐานวิทยาการเข้ารหัสลับ (Encryption) และใช้กุญแจส่วนตัว (Private Key) ที่เป็นคู่กับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ซึ่งผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) ได้ออกให้แก่ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งยังไม่หมดอายุในขณะสร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และขณะส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

(๔) นาลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ตาม (๓) ส่งไปพร้อมข้อมูลตาม (๑) และ (๒) ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

ข้อ ๙ การจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามมาตรา ๘๖/๖ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อโดยมีรายการที่เป็นสาระสาคัญ ตามมาตรา ๘๖/๖ แห่งประมวลรัษฎากร ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้นำความตามข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้องให้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีรายการ ตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไม่จาต้องเรียกคืนข้อมูลใบกำกับภาษีอย่างย่อตามวรรคหนึ่ง แต่ให้จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ตามข้อ ๘ โดยให้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้ตรงวันเดือนปีในใบกำกับภาษีอย่างย่อ พร้อมทั้งระบุชื่อและที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และหมายเหตุในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ว่า "เป็นการยกเลิก ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างย่อเลขที่ ... และออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่แทน"

ข้อ ๑๐ การจัดทำใบเพิ่มหนี้ ตามมาตรา ๘๖/๙ หรือใบลดหนี้ ตามมาตรา ๘๖/๑๐ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดาเนินการจัดทำข้อความใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้โดยมีรายการที่เป็นสาระสาคัญ ตามมาตรา ๘๖/๙ หรือตามมาตรา ๘๖/๑๐ แห่งประมวลรัษฎากร ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี และให้นำความตามข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ ๑๑ การจัดทำใบรับ ตามมาตรา ๑๐๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ดาเนินการจัดทำใบรับโดยมีรายการที่เป็นสาระสาคัญ ตามมาตรา ๑๐๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้นำความตามข้อ ๘ (๒) (๓) และ (๔) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ ๑๒ ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์มีสิทธิเลือกที่จะดาเนินการจัดทำใบกำกับภาษีในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือในรูปแบบกระดาษสาหรับการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละครั้งก็ได้

ข้อ ๑๓ ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ตามมาตรา ๘๖ แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ดาเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กรณีผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และส่งมอบให้แก่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการโดยวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ประสงค์จะรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จัดทำสิ่งพิมพ์ออกของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวโดยให้ปรากฏข้อความว่า "เอกสารนี้ได้จัดทำและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์" และส่งมอบให้แก่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และให้ถือว่าสิ่งพิมพ์ออกของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวใช้แทนต้นฉบับได้ ทั้งนี้ ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะทาให้ปรากฏข้อความดังกล่าวนั้น โดยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทาให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะ ทานองเดียวกันก็ได้

ข้อ ๑๔ ผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ส่งมอบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ ผู้จ่ายเงิน หรือผู้ชาระราคา ตามมาตรา ๑๐๕ แห่งประมวลรัษฎากร และให้นำความตามข้อ ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ ๑๕ ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ส่งข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากรเป็นรายเดือน โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป

การส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากรตามวรรคหนึ่ง ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยใช้กุญแจส่วนตัว (Private Key) ที่เป็นคู่กับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ซึ่งผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) ได้ออกให้แก่ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้น ซึ่งยังไม่หมดอายุในขณะสร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และในขณะส่งข้อมูลดังกล่าว

ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์อาจส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งโดยวิธีการอัปโหลด (Upload) หรือการส่งข้อมูลแบบ Host to Host หรือตั้งผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวแทนส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากรก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่แนบท้ายประกาศนี้

ข้อ ๑๖ การส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ ๑๕ ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์จัดทำข้อมูลให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จาเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สาหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (ETDA RECOMMENDATION ON ICT STANDARD FOR ELECTRONIC TRANSACTION) (ขมธอ. ๓-๒๕๖๐) ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐

ข้อ ๑๗ กรณีที่ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตั้งผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวแทนส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้นแจ้งให้กรมสรรพากรทราบถึง การตั้งตัวแทนดังกล่าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกำหนด

ข้อ ๑๘ ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งประสงค์จะเป็น ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นตัวแทนนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ แทนผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์อื่น มีหน้าที่แจ้งความประสงค์ต่ออธิบดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้ ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่แนบท้ายประกาศนี้

ข้อ ๑๙ การส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ของผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ต้องดาเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จาเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสาหรับผู้ให้บริการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (INFORMATION SECURITY FOR DATA MESSAGE GENERATION, TRANSFER AND STORAGE SERVICE PROVIDERS) (ขมธอ. ๒๑-๒๕๖๒) ลงวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒

ข้อ ๒๐ กรณีที่ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รายใด มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ท้ายประกาศนี้ ระหว่างดาเนินการในฐานะตัวแทนเพื่อนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นขาดคุณสมบัติและไม่มีสิทธิ ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในฐานะตัวแทนต่อไป

ข้อ ๒๑ ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับของข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และต้องไม่นาข้อมูลนั้นไปใช้หรือเปิดเผยไม่ว่าด้วยประการใด ๆ เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์

เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาความลับตามวรรคหนึ่ง ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ต้องกำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในสัญญาตั้งตัวแทน สาหรับการเปิดเผยความลับหรือการนาข้อมูลไปใช้โดยปราศจากความยินยอมดังกล่าว

ข้อ ๒๒ การยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิมเพื่อออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จัดเตรียมข้อความของใบกำกับภาษีใหม่ขึ้นเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เลขที่ใบกำกับภาษีใหม่ และลงวัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ พร้อมหมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ว่า "เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีใหม่แทนใบกำกับภาษีเดิม เลขที่ ... วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิม"

เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นำความตามข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๓ เมื่อผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดาเนินการตามข้อ ๒๒ แล้ว ให้หมายเหตุ การยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิมไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ด้วย

ข้อ ๒๔ การยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิมเพื่อออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ให้นำความตามข้อ ๑๓ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ และข้อ ๒๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ ๒๕ การยกเลิกใบรับอิเล็กทรอนิกส์เดิมเพื่อออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ให้นำความ ตามข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๒๒ ข้อ ๒๓ และข้อ ๒๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ ๒๖ ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่ได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไว้ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และถ้าได้เก็บรักษาในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาไว้ตามประกาศนี้แล้ว

(๑) ได้เก็บรักษาข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นโดยสามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และ

(๒) ได้เก็บรักษาข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ ในขณะที่ได้สร้าง ส่ง หรือได้รับข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้น หรืออยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงข้อความที่สร้าง ส่ง หรือได้รับให้ปรากฏอย่างถูกต้องได้ และ

(๓) ได้เก็บรักษาข้อความส่วนที่ระบุถึงแหล่งกาเนิด ต้นทาง และปลายทางของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนวันและเวลาที่ส่งหรือได้รับข้อความดังกล่าว ถ้ามี

กรณีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ทาสิ่งพิมพ์ออกของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อ ๑๓ วรรคสอง ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เก็บรักษาไฟล์ข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง และให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเก็บรักษาสิ่งพิมพ์ออกของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับมาในรูปของกระดาษ ข้อ ๒๗ การเก็บรักษาใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้นำความตามข้อ ๒๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๘ ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่ประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้ยื่นคำขอตามแบบ บ.อ.๐๙ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกำหนด

ข้อ ๒๙ ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งยื่นคำขอ ตามข้อ ๒๘ หมดสิทธิในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อพ้นวันสุดท้ายของเดือนที่ยื่นคำขอ

ข้อ ๓๐ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับ ซึ่งได้รับอนุมัติให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศนี้

ข้อ ๓๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ

(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)

อธิบดีกรมสรรพากร

ที่มา: http://www.rd.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ