ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๔๔)เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นาไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๕ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๒/๕ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นาไปหักในการคำนวณภาษีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ๑ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของวรรคสองของ (๔) ของข้อ ๒ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นาไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๒/๕ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๑๙๒) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นาไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๒/๕ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทากับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยได้ดาเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และได้กระทาในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๙
(ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทากับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโดยนาหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม และเป็นหนี้ที่ต้องดาเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และได้กระทาในระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๙"
ข้อ๒ให้ยกเลิกความในวรรคสามของ (๔) ของข้อ ๒ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๔๒) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นาไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๒/๕ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๑๙๒) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นาไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๒/๕ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ใน (ก) และ (ข) ของวรรคสอง"สถาบันการเงิน" หมายความว่า(๑) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น(๒) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน(๓) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์(๔) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี"เจ้าหนี้อื่น" หมายความว่า(๑) เจ้าหนี้ที่เป็นบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงิน(๒) เจ้าหนี้อื่นนอกจาก (๑) ที่ได้ดาเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทาความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน
"บริษัทที่มิใช่สถาบันการเงิน" หมายความว่า บริษัทที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินและประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้
(๑) บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย(๒) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกากับซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย
(๓) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกากับซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย
(๔) บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกากับซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย
(๕) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(๖) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้เช่าแบบลีสซิ่งที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(๗) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน(๘) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้เช่าแบบลีสซิ่งที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน(๙) บริษัทที่มิใช่สถาบันการเงินอื่นที่เข้าร่วมและดาเนินการตามโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย
"บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน" หมายความว่า บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
"ลูกหนี้" ให้หมายความรวมถึงผู้ค้าประกันของลูกหนี้ด้วย"
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)
อธิบดีกรมสรรพากร
ที่มา: http://www.rd.go.th