พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในบางกรณี อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล รัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๔๓) พ.ศ. ๒๕๖๕"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ สิบเจ็ดของเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่คนต่างด้าวกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษที่ได้รับ การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภทผู้พานักระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งเมื่อคำนวณภาษีตามมาตรา ๕๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีในอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด ๓ ลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร สูงกว่าร้อยละสิบเจ็ดของเงินได้
ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่ง เมื่อคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา ๕๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายน้อยกว่าร้อยละสิบเจ็ดของเงินได้ ให้คนต่างด้าวผู้มีเงินได้มีสิทธิได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เมื่อคนต่างด้าวนั้นยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละสิบเจ็ดของเงินได้นั้น
มาตรา ๔ ให้คนต่างด้าวตามมาตรา ๓ ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ในอัตรา ร้อยละสิบเจ็ดของเงินได้พึงประเมิน เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำเงินได้พึงประเมินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่คนต่างด้าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ในกรณีที่คนต่างด้าวตามมาตรา ๓ มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๔) และ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา ๕๐ แห่งประมวลรัษฎากร ไว้แล้ว และมีสิทธิเลือกเสียภาษีตามมาตรา ๔๘ (๓) และ (๔) แห่งประมวลรัษฎากร คนต่างด้าวจะมีสิทธิได้รับการยกเว้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน คนต่างด้าวมิได้นำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๔) และ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินได้พึงประเมิน ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา ๓ มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โดยต้องไม่ขอรับเงินภาษี ที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ในการได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง คนต่างด้าวต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้ พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนามารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วย
มาตรา ๕ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่คนต่างด้าวกลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ หรือกลุ่มที่ต้องการทางานจากประเทศไทย ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภทผู้พานักระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทาในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย
มาตรา ๖ คนต่างด้าวที่จะได้รับสิทธิตามมาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๗ กรณีที่มีการใช้สิทธิลดอัตราภาษีหรือยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกานี้ และต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๓ มาตรา ๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๖ ในปีภาษีใด ให้สิทธิดังกล่าวเป็นอันระงับไปเฉพาะปีภาษีนั้น
มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ที่มา: http://www.rd.go.th