ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ ๔๙) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๑) พ.ศ. ๒๕๖๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๑) พ.ศ. ๒๕๖๖ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
สำหรับการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทยหรือมูลนิธิดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
?มูลนิธิ? หมายความว่า
(๑) มูลนิธิจุฬาภรณ์
(๒) มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ
วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
(๓) มูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช
(๔) มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก
(๕) มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๖) มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี
(๗) มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
(๘) มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กองทัพเรือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
(๙) มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(๑๐) มูลนิธิสนับสนุนสถาบันประสาทวิทยา
(๑๑) มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า
(๑๒) ศิริราชมูลนิธิ
/ ข้อ ๒ ?
๒
ข้อ ๒ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สำหรับการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย
หรือมูลนิธิตามมาตรา ๔ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๑) พ.ศ. ๒๕๖๖ จะต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น
ข้อ ๓ การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับการบริจาค
ให้แก่สภากาชาดไทยหรือมูลนิธิตามมาตรา ๔ (๒)แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๑) พ.ศ. ๒๕๖๖ จะบริจาคเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าก็ได้
ในกรณีที่บริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
(๑) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อทรัพย์สินมาเพื่อบริจาค ต้องมีหลักฐานการได้มา
ซึ่งทรัพย์สินที่ระบุจำนวนและมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าว เป็นมูลค่า
ของรายจ่ายที่บริจาค
(๒) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินของบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคำนวณหักค่าสึกหรอ
และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
(๓) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเอง
หรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของรายจ่าย
ที่บริจาค แต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมา ตามมาตรา ๖๕ ทวิ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร
(๔) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจำนวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้
โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๖๕ ตรี (๑๕) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔ การบริจาคให้แก่สภากาชาดไทยหรือมูลนิธิให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบ
บริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
และอากรแสตมป์ ตามมาตรา ๔ และมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๗๗๑) พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยผู้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ต้องแสดงเอกสาร
หลักฐานการบริจาคต่อเจ้าพนักงานประเมิน
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
ลวรณ แสงสนิท
(นายลวรณ แสงสนิท)
อธิบดีกรมสรรพาก
ที่มา: http://www.rd.go.th