เพื่อนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงาน (International Data Exchange Service) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวง การรวบรวมและนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ พ.ศ. ๒๕๖๖ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ การส่งข้อมูลผ่านระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จัดทำขึ้นระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงาน (International Data Exchange Service) ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้ "ความตกลง" หมายความว่า ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ และการดำเนินการตาม FATCA ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ แนบท้ายพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐
"บัญชีทางการเงิน" หมายความว่า บัญชีทางการเงินตามข้อ ๑ อนุวรรคหนึ่ง ถ) ของความตกลง และไม่เป็นบัญชีทางการเงินที่ถูกยกเว้นการรายงานตามที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายความตกลง ๒
"บัญชีสหรัฐที่ต้องรายงาน" หมายความว่า บัญชีทางการเงินตามข้อ ๑ อนุวรรคหนึ่ง ภ) ของความตกลง "ระบบ IDES" หมายความว่า ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จัดทำขึ้นระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงาน (International Data Exchange Service)
"เลขทะเบียน GIIN" หมายความว่า เลขทะเบียนระบุตัวตนของผู้มีหน้าที่รายงานตามความตกลง(Global Intermediary Identification Number)
"ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)" หมายความว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือ การบันทึกอื่นใดซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) กับข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority)
/ "ผู้ให้ ...
-๒- "ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority)" หมายความว่า องค์กรที่ให้บริการเกี่ยวกับการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) เพื่อรับรองตัวตนของบุคคล หรือองค์กรใด ๆ ซึ่งเป็นเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยมีมาตรฐานตามที่ได้รับ การยอมรับโดยสรรพากรสหรัฐอเมริกา (IRS)
"เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ" หมายความว่า อธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข้อ ๒ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานดำเนินการ ดังนี้ (๑) ยื่นคำขอมีเลขทะเบียน GIIN ผ่านระบบ FATCA Registration System ทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
(๒) จัดให้มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority)
(๓) สมัครเข้าใช้งานระบบ IDES ผ่านทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยใช้ข้อมูลตาม (๑) และ (๒) รวมถึงระบุข้อมูลที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email Address) ของผู้มีหน้าที่รายงาน
ข้อ ๓ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานจัดเตรียมข้อมูลของผู้มีหน้าที่รายงาน และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีสหรัฐ ที่ต้องรายงาน ตามที่กำหนดในข้อ ๒ อนุวรรคสอง (ก) ของความตกลงดังต่อไปนี้ ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์นามสกุล XML ตาม FATCA XML Schema ในระบบ IDES
(๑) ข้อมูลบัญชีสหรัฐที่ต้องรายงานที่มีอยู่ก่อนวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้แก่
(ก) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของผู้ถือบัญชี และผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี)
(ข) เลขบัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่สามารถใช้แทนเลขบัญชีใด้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่รายงานไม่สามารถระบุเลขบัญชีทางการเงินนั้นได้
(ค) ชื่อและเลข GIIN ของผู้มีหน้าที่รายงาน (ง) ยอดคงเหลือหรือมูลค่าในบัญชีทางการเงิน รวมถึงในกรณีของสัญญาประกันภัย มูลค่าเงินสดหรือสัญญาประกันชีวิตแบบเงินรายปี มูลค่าเงินสดหรือมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ ณ วันสิ้นสุดของปีปฏิทิน ที่เกี่ยวข้อง หรือวันที่มีการปิดบัญชีในกรณีที่บัญชีถูกปิดระหว่างปี ทั้งนี้ ในกรณีมีการปิดบัญชีระหว่างปี จะต้องมีการหามูลค่าทันทีก่อนการปิดบัญชีนั้น
(๒) ข้อมูลบัญชีสหรัฐที่ต้องรายงานที่มีอยู่ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้แก่
(ก) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของผู้ถือบัญชี และผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี)
(ข) เลขบัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่สามารถใช้แทนเลขบัญชีใด้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่รายงาน ไม่สามารถระบุเลขบัญชีทางการเงินนั้นได้
(ค) ชื่อและเลข GIIN ของผู้มีหน้าที่รายงาน (ง) ยอดคงเหลือหรือมูลค่าในบัญชีทางการเงิน รวมถึงในกรณีของสัญญาประกันภัย มูลค่าเงินสดหรือสัญญาประกันชีวิตแบบเงินรายปี มูลค่าเงินสดหรือมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ ณ วันสิ้นสุดของปีปฏิทิน ที่เกี่ยวข้อง หรือวันที่มีการปิดบัญชีในกรณีที่บัญชีถูกปิดระหว่างปี ทั้งนี้ ในกรณีมีการปิดบัญชีระหว่างปี จะต้องมีการหามูลค่าทันทีก่อนการปิดบัญชีนั้น
(จ) กรณีบัญชีผู้ดูแลสินทรัพย์ ได้แก่ ผลรวมของดอกเบี้ยทั้งหมด ผลรวมของเงินปันผลทั้งหมด และผลรวมของเงินได้อื่นใดทั้งหมดที่เกิดจากสินทรัพย์ในบัญชี ซึ่งในแต่ละกรณี ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินได้อื่นใดดังกล่าวที่จ่าย หรือเครดิตเข้าบัญชี หรือเกี่ยวเนื่องกับบัญชีระหว่างปีปฏิทิน
(ฉ) กรณีบัญชีเงินฝาก จำนวนรวมของดอกเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายหรือเครดิตเข้าบัญชีระหว่าง ปีปฏิทิน หรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสม
(ช) กรณีบัญชีใด ๆ นอกจากบัญชีตาม (จ) หรือ (ฉ) จำนวนรวมทั้งหมดที่จ่ายหรือเครดิตให้กับเจ้าของบัญชีซึ่งเกี่ยวเนื่องกับบัญชีดังกล่าวระหว่างปีปฏิทินหรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสม ซึ่ง ผู้มีหน้าที่รายงานเป็นผู้มีภาระผูกพันหรือเป็นลูกหนี้ รวมถึงการจ่ายเงินค่าไถ่ถอนทั้งหมดที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าของบัญชีในระหว่างปีปฏิทินหรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสม
(๓) ข้อมูลบัญชีสหรัฐที่ต้องรายงานที่มีอยู่ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป (ก) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของผู้ถือบัญชี และผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี)
(ข) เลขบัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่สามารถใช้แทนเลขบัญชีใด้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่รายงาน ไม่สามารถระบุเลขบัญชีทางการเงินนั้นได้
(ค) ชื่อและเลข GIIN ของผู้มีหน้าที่รายงาน (ง) ยอดคงเหลือหรือมูลค่าในบัญชีทางการเงิน รวมถึงในกรณีของสัญญาประกันภัย มูลค่าเงินสดหรือสัญญาประกันชีวิตแบบเงินรายปี มูลค่าเงินสดหรือมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ ณ วันสิ้นสุดของปีปฏิทิน ที่เกี่ยวข้อง หรือวันที่มีการปิดบัญชีในกรณีที่บัญชีถูกปิดระหว่างปี ทั้งนี้ ในกรณีมีการปิดบัญชีระหว่างปี จะต้องมีการหามูลค่าทันทีก่อนการปิดบัญชีนั้น
(จ) กรณีบัญชีผู้ดูแลสินทรัพย์ ได้แก่
๑) ผลรวมของดอกเบี้ยทั้งหมด ผลรวมของเงินปันผลทั้งหมด และผลรวมของเงินได้อื่นใดทั้งหมดที่เกิดจากสินทรัพย์ในบัญชี ซึ่งในแต่ละกรณี ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินได้อื่นใดดังกล่าวที่จ่าย หรือเครดิตเข้าบัญชี หรือเกี่ยวเนื่องกับบัญชีระหว่างปีปฏิทิน และ
/ ๒) ...
๒) เงินได้รวมทั้งหมดจากการขายหรือไถ่ถอนทรัพย์สินที่จ่ายหรือเครดิตเข้าบัญชีระหว่างปีปฏิทิน ซึ่งผู้มีหน้าที่รายงานดำเนินการในฐานะผู้รับฝาก นายหน้า ผู้กระทำการแทนหรือตัวแทนอื่นใดสำหรับเจ้าของบัญชี
(ฉ) กรณีบัญชีเงินฝาก จำนวนรวมของดอกเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายหรือเครดิตเข้าบัญชีระหว่างปีปฏิทิน หรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสม
(ช) กรณีบัญชีใด ๆ นอกจากบัญชีตาม (จ) หรือ (ฉ) จำนวนรวมทั้งหมดที่จ่ายหรือเครดิตให้กับเจ้าของบัญชีซึ่งเกี่ยวเนื่องกับบัญชีดังกล่าวระหว่างปีปฏิทินหรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสม ซึ่ง ผู้มีหน้าที่รายงานเป็นผู้มีภาระผูกพันหรือเป็นลูกหนี้ รวมถึงการจ่ายเงินค่าไถ่ถอนทั้งหมดที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าของบัญชีในระหว่างปีปฏิทินหรือระยะเวลาอื่นที่เหมาะสม
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่รายงานไม่สามารถจัดหาข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ผู้มีหน้าที่รายงานดำเนินการดังนี้
(๑) ระบุวัน เดือน ปีเกิด ของผู้ถือบัญชี หรือผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) (๒) ทำการติดต่อขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของผู้ถือบัญชี หรือผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) เป็นประจำทุก ๆ ปีปฏิทิน
(๓) ทำการค้นหาหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของ ผู้ถือบัญชี หรือผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) ในช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
(๔) ระบุสาเหตุที่ไม่สามารถจัดหาข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. TIN) ของผู้ถือบัญชี หรือผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) โดยกรอกรหัส ในไฟล์รายงาน ตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้บนเว็บไซต์กรมสรรพากร
(๕) จัดเก็บหลักฐานตาม (๑) ถึง (๔) เป็นเวลา ๖ ปีนับแต่วันสิ้นสุดปีปฏิทินถัดจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖
กุลยา ตันติเตมิท
(นางสาวกุลยา ตันติเตมิท) อธิบดีกรมบัญชีกลาง รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร ที่มา: http://www.rd.go.th