คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 135/2551
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิก
กิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ซึ่งไม่ต้องห้าม
ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนำผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย และได้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทลูกหนี้ตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทลูกหนี้จนถึงการเพิ่มทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของบริษัทลูกหนี้
ข้อ 2 บริษัทลูกหนี้ได้จัดการเพิ่มทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของบริษัทลูกหนี้ และบริษัทตามข้อ 1 จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทลูกหนี้และต้องเป็นหนี้ที่จะกระทำการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
ข้อ 3 บริษัทลูกหนี้ต้องจดทะเบียนเลิกกิจการและมีการชำระบัญชีภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทลูกหนี้ทำการเพิ่มทุน
ข้อ 4 บริษัทตามข้อ 1 มีสิทธินำมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากบริษัทลูกหนี้ ซึ่งเป็นผลเสียหายจากการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทลูกหนี้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีและถือเป็นรายจ่ายมีจำนวนไม่เกินมูลค่าหนี้ของบริษัทลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทตามข้อ 1 ณ วันเพิ่มทุน โดยบริษัทตามข้อ 1 จะต้องไม่ได้รับเงินได้เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ สำหรับผลเสียหายดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 5 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2551
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร
ที่ ป. 135/2551
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิก
กิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ซึ่งไม่ต้องห้าม
ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
----------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนำผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการตัดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายของบริษัท ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย และได้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทลูกหนี้ตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทลูกหนี้จนถึงการเพิ่มทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของบริษัทลูกหนี้
ข้อ 2 บริษัทลูกหนี้ได้จัดการเพิ่มทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของบริษัทลูกหนี้ และบริษัทตามข้อ 1 จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทลูกหนี้และต้องเป็นหนี้ที่จะกระทำการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
ข้อ 3 บริษัทลูกหนี้ต้องจดทะเบียนเลิกกิจการและมีการชำระบัญชีภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทลูกหนี้ทำการเพิ่มทุน
ข้อ 4 บริษัทตามข้อ 1 มีสิทธินำมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากบริษัทลูกหนี้ ซึ่งเป็นผลเสียหายจากการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทลูกหนี้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีและถือเป็นรายจ่ายมีจำนวนไม่เกินมูลค่าหนี้ของบริษัทลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทตามข้อ 1 ณ วันเพิ่มทุน โดยบริษัทตามข้อ 1 จะต้องไม่ได้รับเงินได้เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ สำหรับผลเสียหายดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 5 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2551
ศานิต ร่างน้อย
(นายศานิต ร่างน้อย)
อธิบดีกรมสรรพากร