นอกจากนี้ ยังได้จัดการฝึกอาชีพและส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานสตรี เพื่อสร้างโอกาสในการมีอาชีพมีรายได้เลี้ยงตนเอง เป็นการลดภาระของสังคมและความเหลื่อมล้ำในด้านอาชีพระหว่างหญิงชาย รวมทั้งเป็นการลดอัตราการเข้าสู่อาชีพที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งในปี ๒๕๔๔ สามารถฝึกอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงานสตรีได้ ๖๒,๓๑๓ คน
อนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็ก และสตรี ในช่วงเดือนเมษายน — กันยายน ๒๕๔๔ ที่ผ่านมานั้น ในส่วนของมาตรการด้านการป้องกัน ได้ให้การฝึกอบรมอาชีพและให้บริการกู้ยืมเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพแก่สตรี เยาวสตรีชนบทและสตรีด้อยโอกาส สำหรับมาตรการด้านการแก้ไข ได้ให้การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ที่ถูกส่งตัวเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ๑๕ ราย ส่วนมาตรการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรีนั้นได้ให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรีที่ประสบปัญหาทางสังคมทุกประเภทในศูนย์สงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี บริการให้คำแนะนำปรึกษาแก่สตรีที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ประสานการให้ความช่วยเหลือแก่สตรีผู้ถูกบังคับค้าบริการทางเพศ และให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กและสตรีต่างชาติ ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ รวม ๔๗๖ ราย นอกจากนี้ ยังได้มีมาตรการเร่งด่วนในการให้การสนับสนุนและส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ประชาชนในพื้นที่เขตนิคมสร้างตนเองและเขตพื้นที่ชาวเขา โดยกำหนดให้หมู่บ้านแต่ละแห่งกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำหมู่บ้านที่มีคุณภาพและมีลักษณะเด่น ๑ หมู่บ้าน ต่อ ๑ ผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา อย่างไรก็ตาม ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการในเรื่องนี้ พบว่าการดำเนินการป้องกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอาชีพสตรีเพื่อให้มีอาชีพและรายได้เลี้ยงตนเองได้นั้น สตรีที่สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพซึ่งรวมกลุ่มประกอบอาชีพในพื้นที่บางกลุ่มยังไม่มีงานทำต่อเนื่อง เนื่องจากการสั่งซื้อ สั่งจ้าง ยังไม่เพียงพอและต่อเนื่องแม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรี (๒๖ เมษายน ๒๕๓๗) อนุมัติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสั่งชื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสตรีโดยวิธีกรณีพิเศษแล้วก็ตาม รัฐบาลจึงได้ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และธุรกิจเอกชน สนับสนุนการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตรี ที่สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพจากกรมประชาสงเคราะห์เพิ่มขึ้น และให้มีความต่อเนื่องมากขึ้น ตลอดจนกำหนดให้มีหน่วยงานกลางเพื่อให้ความช่วยเหลือในการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสตรีไปจำหน่าย
๑๐.๔.๔.๓ การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกฏิบัติ พิธีเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคและบทบาทที่เท่าเทียมเป็นของหญิงชายอย่างจริงจัง คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการมีผลใช้บังคับของพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบไปแล้ว โดยพิธีสารเลือกรับ ฯ ได้กำหนดกลไก กระบวนการร้องเรียนและตรวจสอบการสละสิทธิมนุษยชนของสตรีในรัฐภาคี ซึ่งหากมีการละเมิดและบุคคลไม่ได้รับความเป็นธรรมจากมาตรการในประเทศ สามารถเสนอข้อร้องเรียนต่อคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีได้ ซึ่งหากรัฐภาคียินยอม คณะกรรมการ ฯ จะเข้ามาสอบสวนและรายงานผลให้ทราบ โดยรัฐภาคีต้องแจ้งข้อมูลการดำเนินการเพิ่มเติมภายใน ๖ เดือน
๑๐.๔.๕ การยกย่องและให้หลักประกันแก่ผู้สูงอายุ โดยการสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม สำหรับผู้สูงอายุ พัฒนาบริการสุขอนามัย รวมทั้งนำประสบการณ์ และภูมิปัญญาของ ผู้สูงอายุมาช่วยในการพัฒนาสังคม
รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีอายุเกิน ๖๐ ปี และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ โดยการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพรายละ ๓๐๐ บาท/เดือน จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ คน นอกจากนี้ ยังให้การช่วยเหลือในรูปแบบอื่นด้วย ได้แก่ การสงเคราะห์ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ ซึ่งมีอยู่ ๒๐ แห่ง จำนวน ๒,๘๐๖ คน สำหรับศูนย์บริการผู้สูงอายุได้ให้บริการแก่ผู้สูงอายุจำนวน ๓๐๒,๐๑๔ คน
๑๐.๕ ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส
๑๐.๕.๑ การดำเนินการเพื่อให้ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้
๑๐.๕.๑.๑ การพัฒนา ส่งเสริมความรู้ ทักษะ อาชีพให้กลุ่มคนพิการและผู้ด้อยโอกาส โดยเร่งดำเนินการขยายบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพให้คนพิการที่อยู่ในวัยแรงงานทั้งในเมืองและชนบท และกำหนดมาตรการส่งเสริมการมีงานทำเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมทั้งจัดระบบประสานงานบริการและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำแผนการดำเนินงานส่งเสริมอาชีพคนพิการที่ชัดเจนและเป็นระบบ รวมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนรับคนพิการเข้าทำงานให้มากขึ้นด้วย การจัดตั้งศูนย์เพื่อคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลไทย โดยใช้ที่ดินของกรมประชาสงเคราะห์บริเวณสถานสงเคราะห์บ้านกึ่งวิถี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี สำหรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างในระยะเตรียมการจัดตั้งศูนย์ ฯ รัฐบาลญี่ปุ่นจะเป็นผู้รับผิดชอบ และระหว่างปี ๒๕๔๔ - ๒๕๔๙ จะขออนุมัติงบประมาณดำเนินการจากรัฐบาลไทย จำนวน ๒๕,๐๓๐,๐๔๐ บาท ซึ่งในเรื่องนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว รวมทั้งร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราในการจ่ายเงินสงเคราะห์ และกำหนดลักษณะของความพิการทุพพลภาพขนาดหนัก จนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพหรือในการดำรงชีพ พ.ศ. …. โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้ใช้กับผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม
๑๐.๕.๑.๒ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทุพพลภาพ รัฐบาลได้เร่งรัดให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่รับผิดชอบการให้บริการประชาชน จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับผู้พิการ
๑๐.๕.๑.๓ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียน
๑) โรงเรียนเฉพาะความพิการ ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียนศึกษาพิเศษ ๔๑ โรง ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง และเขตการศึกษา ๑ ถึง ๑๒ รวม ๑๓ ศูนย์ ให้การดูแลนักเรียน จำนวน ๑๒,๑๘๕ คน และให้การสนับสนุนนักเรียนพิการในโรงเรียนเฉพาะทาง (โรงเรียนเอกชนประเภทการศึกษาพิเศษ) จำนวน ๑๒ โรง มีนักเรียนในความดูแล จำนวน ๑,๖๙๗ คน และกรมอาชีวศึกษา ได้ขยายการรับนักศึกษาพิการเข้าเรียนเป็นชั้นเรียนเฉพาะทางเพิ่มขึ้น รวม ๑๕ แห่ง แต่ละแห่งเปิดสอนตามความพิการอย่างน้อย ๒ ประเภท ๆ ละ ๒๐ คน และสถานศึกษาที่มีความพร้อมรับนักศึกษาตาบอดมาเรียนแล้ว ๑ แห่ง คือ วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง
๒) โรงเรียนทั่วไป ข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๔ ได้ให้การสนับสนุนการจัดเรียนร่วมแก่เด็กพิการในโรงเรียนปกติ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวม ๘๘๒ แห่ง จำนวนนักเรียน ๕,๓๐๒ คน นักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้เรียนร่วมในโรงเรียนปกติ จำนวน ๙,๒๘๓ คน สำหรับการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๔๔ มีนักศึกษาเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติประมาณ ๓,๖๐๐ คน (สำเร็จออกไปประมาณ ๘๕๐ คน) ให้บริการนักเรียนพิการในโรงเรียนกีฬาและวิทยาลัยพลศึกษา จำนวน ๒๔ คน กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ทำการศึกษาทดลองและพัฒนาสื่อ รวมทั้งจัดทำคู่มือสำหรับสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสร้างเครื่องมือประเมินผลหลักสูตรการศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ รวม ๓ หลักสูตร (ได้แก่ การใช้ภาษามือแบบเบ็ดเสร็จ หลักสูตรอักษรเบลล์และหลักสูตรสำหรับบุคคลออทิสติก) และข้อสอบเพื่อวัดผลประเมินผลการเรียนสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย นอกจากนี้ สถาบันราชภัฏได้ให้บริการวิชาการแก่ศูนย์ศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีผลการวิจัย และสื่อการเรียนที่มีคุณภาพให้การสนับสนุนในระยะที่ผ่านมาได้ให้การดูแลนักศึกษาจำนวน ๖๕๘ คน และมีนักเรียนพิเศษที่มารับบริการในศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน ๔๘๒ คน นอกจากนั้น ยังได้ผลิตบัณฑิตโปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ ในสถาบันราชภัฏ ๖ แห่ง ปีละ ๑๒๐ คน รวมทั้งให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการและครอบครัว จำนวน ๒,๐๐๐ คน/ปี
อนึ่ง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องนี้ นอกจากเรื่องงบประมาณที่มีจำกัดแล้ว ยังขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและผู้ชำนาญการพิเศษ รวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ที่เหมาะสมด้วย
๑๐.๕.๑.๔ การพัฒนาการกีฬาคนพิการ รัฐบาลได้ให้มีการดำเนินโครงการอุดหนุนกีฬาคนพิการ โครงการแข่งขันสเปเชียลโอลิมปิค และโครงการแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬาและเป็นการพัฒนาร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคมและทักษะทางการกีฬา รวมทั้งเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาคนพิการให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทั้งในระดับในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินการตามโครงการเหล่านี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055, 8088 โทร 0-2629-9292-3 โทรสาร 0-2281-4450 //www.thaigov.go.th--
-สส-
อนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็ก และสตรี ในช่วงเดือนเมษายน — กันยายน ๒๕๔๔ ที่ผ่านมานั้น ในส่วนของมาตรการด้านการป้องกัน ได้ให้การฝึกอบรมอาชีพและให้บริการกู้ยืมเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพแก่สตรี เยาวสตรีชนบทและสตรีด้อยโอกาส สำหรับมาตรการด้านการแก้ไข ได้ให้การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ที่ถูกส่งตัวเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ๑๕ ราย ส่วนมาตรการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรีนั้นได้ให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรีที่ประสบปัญหาทางสังคมทุกประเภทในศูนย์สงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี บริการให้คำแนะนำปรึกษาแก่สตรีที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ประสานการให้ความช่วยเหลือแก่สตรีผู้ถูกบังคับค้าบริการทางเพศ และให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กและสตรีต่างชาติ ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ รวม ๔๗๖ ราย นอกจากนี้ ยังได้มีมาตรการเร่งด่วนในการให้การสนับสนุนและส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ประชาชนในพื้นที่เขตนิคมสร้างตนเองและเขตพื้นที่ชาวเขา โดยกำหนดให้หมู่บ้านแต่ละแห่งกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำหมู่บ้านที่มีคุณภาพและมีลักษณะเด่น ๑ หมู่บ้าน ต่อ ๑ ผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา อย่างไรก็ตาม ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการในเรื่องนี้ พบว่าการดำเนินการป้องกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอาชีพสตรีเพื่อให้มีอาชีพและรายได้เลี้ยงตนเองได้นั้น สตรีที่สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพซึ่งรวมกลุ่มประกอบอาชีพในพื้นที่บางกลุ่มยังไม่มีงานทำต่อเนื่อง เนื่องจากการสั่งซื้อ สั่งจ้าง ยังไม่เพียงพอและต่อเนื่องแม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรี (๒๖ เมษายน ๒๕๓๗) อนุมัติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสั่งชื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสตรีโดยวิธีกรณีพิเศษแล้วก็ตาม รัฐบาลจึงได้ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และธุรกิจเอกชน สนับสนุนการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตรี ที่สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพจากกรมประชาสงเคราะห์เพิ่มขึ้น และให้มีความต่อเนื่องมากขึ้น ตลอดจนกำหนดให้มีหน่วยงานกลางเพื่อให้ความช่วยเหลือในการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสตรีไปจำหน่าย
๑๐.๔.๔.๓ การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกฏิบัติ พิธีเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคและบทบาทที่เท่าเทียมเป็นของหญิงชายอย่างจริงจัง คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการมีผลใช้บังคับของพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบไปแล้ว โดยพิธีสารเลือกรับ ฯ ได้กำหนดกลไก กระบวนการร้องเรียนและตรวจสอบการสละสิทธิมนุษยชนของสตรีในรัฐภาคี ซึ่งหากมีการละเมิดและบุคคลไม่ได้รับความเป็นธรรมจากมาตรการในประเทศ สามารถเสนอข้อร้องเรียนต่อคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีได้ ซึ่งหากรัฐภาคียินยอม คณะกรรมการ ฯ จะเข้ามาสอบสวนและรายงานผลให้ทราบ โดยรัฐภาคีต้องแจ้งข้อมูลการดำเนินการเพิ่มเติมภายใน ๖ เดือน
๑๐.๔.๕ การยกย่องและให้หลักประกันแก่ผู้สูงอายุ โดยการสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม สำหรับผู้สูงอายุ พัฒนาบริการสุขอนามัย รวมทั้งนำประสบการณ์ และภูมิปัญญาของ ผู้สูงอายุมาช่วยในการพัฒนาสังคม
รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีอายุเกิน ๖๐ ปี และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ โดยการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพรายละ ๓๐๐ บาท/เดือน จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ คน นอกจากนี้ ยังให้การช่วยเหลือในรูปแบบอื่นด้วย ได้แก่ การสงเคราะห์ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ ซึ่งมีอยู่ ๒๐ แห่ง จำนวน ๒,๘๐๖ คน สำหรับศูนย์บริการผู้สูงอายุได้ให้บริการแก่ผู้สูงอายุจำนวน ๓๐๒,๐๑๔ คน
๑๐.๕ ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส
๑๐.๕.๑ การดำเนินการเพื่อให้ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้
๑๐.๕.๑.๑ การพัฒนา ส่งเสริมความรู้ ทักษะ อาชีพให้กลุ่มคนพิการและผู้ด้อยโอกาส โดยเร่งดำเนินการขยายบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพให้คนพิการที่อยู่ในวัยแรงงานทั้งในเมืองและชนบท และกำหนดมาตรการส่งเสริมการมีงานทำเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมทั้งจัดระบบประสานงานบริการและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำแผนการดำเนินงานส่งเสริมอาชีพคนพิการที่ชัดเจนและเป็นระบบ รวมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนรับคนพิการเข้าทำงานให้มากขึ้นด้วย การจัดตั้งศูนย์เพื่อคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลไทย โดยใช้ที่ดินของกรมประชาสงเคราะห์บริเวณสถานสงเคราะห์บ้านกึ่งวิถี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี สำหรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างในระยะเตรียมการจัดตั้งศูนย์ ฯ รัฐบาลญี่ปุ่นจะเป็นผู้รับผิดชอบ และระหว่างปี ๒๕๔๔ - ๒๕๔๙ จะขออนุมัติงบประมาณดำเนินการจากรัฐบาลไทย จำนวน ๒๕,๐๓๐,๐๔๐ บาท ซึ่งในเรื่องนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว รวมทั้งร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราในการจ่ายเงินสงเคราะห์ และกำหนดลักษณะของความพิการทุพพลภาพขนาดหนัก จนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพหรือในการดำรงชีพ พ.ศ. …. โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้ใช้กับผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม
๑๐.๕.๑.๒ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทุพพลภาพ รัฐบาลได้เร่งรัดให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่รับผิดชอบการให้บริการประชาชน จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับผู้พิการ
๑๐.๕.๑.๓ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียน
๑) โรงเรียนเฉพาะความพิการ ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียนศึกษาพิเศษ ๔๑ โรง ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง และเขตการศึกษา ๑ ถึง ๑๒ รวม ๑๓ ศูนย์ ให้การดูแลนักเรียน จำนวน ๑๒,๑๘๕ คน และให้การสนับสนุนนักเรียนพิการในโรงเรียนเฉพาะทาง (โรงเรียนเอกชนประเภทการศึกษาพิเศษ) จำนวน ๑๒ โรง มีนักเรียนในความดูแล จำนวน ๑,๖๙๗ คน และกรมอาชีวศึกษา ได้ขยายการรับนักศึกษาพิการเข้าเรียนเป็นชั้นเรียนเฉพาะทางเพิ่มขึ้น รวม ๑๕ แห่ง แต่ละแห่งเปิดสอนตามความพิการอย่างน้อย ๒ ประเภท ๆ ละ ๒๐ คน และสถานศึกษาที่มีความพร้อมรับนักศึกษาตาบอดมาเรียนแล้ว ๑ แห่ง คือ วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง
๒) โรงเรียนทั่วไป ข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๔ ได้ให้การสนับสนุนการจัดเรียนร่วมแก่เด็กพิการในโรงเรียนปกติ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวม ๘๘๒ แห่ง จำนวนนักเรียน ๕,๓๐๒ คน นักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้เรียนร่วมในโรงเรียนปกติ จำนวน ๙,๒๘๓ คน สำหรับการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๔๔ มีนักศึกษาเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติประมาณ ๓,๖๐๐ คน (สำเร็จออกไปประมาณ ๘๕๐ คน) ให้บริการนักเรียนพิการในโรงเรียนกีฬาและวิทยาลัยพลศึกษา จำนวน ๒๔ คน กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ทำการศึกษาทดลองและพัฒนาสื่อ รวมทั้งจัดทำคู่มือสำหรับสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสร้างเครื่องมือประเมินผลหลักสูตรการศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ รวม ๓ หลักสูตร (ได้แก่ การใช้ภาษามือแบบเบ็ดเสร็จ หลักสูตรอักษรเบลล์และหลักสูตรสำหรับบุคคลออทิสติก) และข้อสอบเพื่อวัดผลประเมินผลการเรียนสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย นอกจากนี้ สถาบันราชภัฏได้ให้บริการวิชาการแก่ศูนย์ศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีผลการวิจัย และสื่อการเรียนที่มีคุณภาพให้การสนับสนุนในระยะที่ผ่านมาได้ให้การดูแลนักศึกษาจำนวน ๖๕๘ คน และมีนักเรียนพิเศษที่มารับบริการในศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน ๔๘๒ คน นอกจากนั้น ยังได้ผลิตบัณฑิตโปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ ในสถาบันราชภัฏ ๖ แห่ง ปีละ ๑๒๐ คน รวมทั้งให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการและครอบครัว จำนวน ๒,๐๐๐ คน/ปี
อนึ่ง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องนี้ นอกจากเรื่องงบประมาณที่มีจำกัดแล้ว ยังขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและผู้ชำนาญการพิเศษ รวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ที่เหมาะสมด้วย
๑๐.๕.๑.๔ การพัฒนาการกีฬาคนพิการ รัฐบาลได้ให้มีการดำเนินโครงการอุดหนุนกีฬาคนพิการ โครงการแข่งขันสเปเชียลโอลิมปิค และโครงการแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬาและเป็นการพัฒนาร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคมและทักษะทางการกีฬา รวมทั้งเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาคนพิการให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทั้งในระดับในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินการตามโครงการเหล่านี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055, 8088 โทร 0-2629-9292-3 โทรสาร 0-2281-4450 //www.thaigov.go.th--
-สส-