ทำเนียบรัฐบาล--21 พ.ย.--บิสนิวส์
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้วโดยยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และคำนึงถึงบทบัญญัติในหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอีกทั้งมีเป้าหมายหลักที่จะเร่งรัดแนวทางการปฏิรูปทางการเมือง ปฏิรูประบบราชการ การกระจาย อำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งมุ่ง ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และสิทธิ มนุษยชน และดำเนินการให้มีการบังคับใช้กฎหมายตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การพัฒนาในระยะยาว โดยเร็วที่สุด
ในสภาวะปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีตระหนักดีว่าปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาล ต้องเร่งรัดแก้ไข คือ ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังกระทบ ต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมและปัญหามาตรฐานการครองชีพ หากไม่ได้รับ การแก้ไขหรือผ่อนหนักให้เป็นเบาอย่างทันท่วงทีก็จะทำลายความมั่นคงของประเทศได้ รัฐบาลจึงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยเร่งด่วนเป็นลำดับแรก ด้วยการระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายในชาติ เพื่อให้เกิดพลังในการแก้ไขอย่างสมบูรณ์ เพราะลำพัง รัฐบาลฝ่ายเดียวย่อมไม่สามารถผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็วได้ จำต้องอาศัยความตระหนักร่วมกันในปัญหาและความเข้าใจ ในแนวทางการแก้ปัญหา แล้วร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนโดยถือประโยชน์และอนาคตของ ชาติเป็นเป้าหมายหลัก ถ้าทำได้ดังนี้ก็เชื่อว่าจะสามารถนำประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้ทันการณ์โดยรัฐบาลพร้อมที่จะเป็นแกนกลางในการเคลื่อนกลไกทุกส่วน ทั้งที่อยู่ในภาพรัฐและภาคเอกชนให้เดินหน้าแก้ปัญหาในจังหวะเดียวกันอย่างสอดคล้องต้องกัน
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศใช่ว่าจะเสียหายไปทั้งหมด บางส่วนยังอยู่ในวิสัยที่จะเดินหน้าต่อไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพ หากได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกทาง
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกแขนงของประเทศให้กลับ ฟื้นคืนสู่ภาวะปกติและพร้อมที่จะเป็น พลังผลักดันการพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างเต็ม ศักยภาพ รัฐบาลทราบดีว่า การดำเนินการ ในครั้งนี้ มีความยากลำบาก และตกอยู่ ภายใต้เงื่อนเวลาที่จะต้องทำอย่างเร่งรีบและเงื่อนไขงบประมาณแผ่นดินอันจำกัด แต่รัฐบาลเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือร่วมใจ ของคนทั้งชาติ ประกอบกับหลักการสำคัญในการบริหารงานของรัฐบาล อันได้แก่ การบริหารงาน อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ซื่อตรง และโปร่งใส น่าจะเป็นปัจจัยให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจที่ประเทศชาติดันการพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างเต็ม ศักยภาพ
เพื่อความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนคณะรัฐมนตรีจึงกำหนด นโยบายการบริหารราชการ แผ่นดิน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง และการต่างประเทศ ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการสองระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วนและระยะปานกลาง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับความรุนแรงของปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ รวมทั้งเพื่อให้เห็นเป้าหมายที่มุ่งเร่งให้บังเกิดขึ้นแต่ละขั้นตามลำดับ ดังนี้
ส่วนที่ 1 นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง และการต่างประเทศ
ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ส่วนที่ 1 นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง และการต่างประเทศ
รัฐบาลนี้มุ่งเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต โดยจะดำเนินการ ดังนี้
1. นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ
1.1 การปฏิรูปทางการเมือง
1.1.1 เร่งรัดการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่น ๆ กฎ ข้อบังคับ และการดำเนินการอื่นใดเพื่ออนุวัติ การให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือเพื่อให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมีความสมบูรณ์และบังเกิดผลในทางปฏิบัติ โดยจะจัดทำแผนปฏิบัติการกำหนดเค้าโครงการดำเนินการ ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ทั้งจะเร่งดำเนินการออกกฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ในส่วนของคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
อนึ่งรัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
1.1.2 สนับสนุนกิจการขององค์กรทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรืออยู่ระหว่างเตรียมการจะจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยในด้านอัตรากำลัง งบประมาณ และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจในฐานะองค์กร ควบคุมหรือตรวจสอบทางการเมือง การปกครองและการบริหารราชการ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการบริหาร ทรัพยากรสื่อสารของชาติ ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ
1.1.3 คุ้มครองสิทธิเสรีภาพชองนักวิชาการ และสื่อสารมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนในการให้การศึกษาอบรมค้นคว้า วิจัยหรือปฏิบัติหน้าที่ของตน รวมทั้งส่งเสริมให้มีบทบาทในการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ ในรูปแบบวิธีการและเนื้อหาสาระของการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้กระบวนการปฏิรูปทางการเมืองดำเนินไปในแนวทาง ที่เป็นรูปธรรมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
1.1.4 ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งจะกำหนด มาตรการในการตรวจสอบตลอดจนซักซ้อมความ เข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้มีการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวโดยให้สถาบัน การศึกษาและสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีบทบาทด้วย
1.1.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมืองในเรื่องสำคัญ การวางแผน พัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยวิธีการประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยว ข้องหรือชุมชน การทำประชาพิจารณ์ หรือประชามติแล้วแต่กรณี โดยให้สถาบันทางวิชาการ สื่อสารมวลชน องค์กรอาชีพภาคเอกชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์เข้ามามีบทบาทในการร่วมดำเนินการ
1.1.6 จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติด้วยกระบวนการคัดเลือกที่ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองเพื่อร่วมกับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการจัดทำแผนพัฒนา การเมืองและมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการและพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐเพื่อป้องกัน การทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ แล้วประกาศใช้ต่อไป
1.2 การปฏิรูประบบบริหารราชการ
1.2.1 ปรับปรุงและเร่งรัดการจัดโครงสร้างและระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้ สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและเสมอภาค
1.2.2 ปรับปรุงระบบงานภาคราชการและรัฐวิสาหกิจให้เป็นระบบเปิดโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ลดขั้นตอน ที่ ไม่จำเป็นปราศจากการเลือกปฏิบัติและเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพเป็นธรรมโดยการจัดทำแผนพัฒนาระบบราชการและมาตรฐานคุณภาพงานราชการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
1.2.3 ปรับปรุงคุณภาพข้าราชการในการทำงานโดยเน้นผลงาน การมีคุณภาพ ความซื่อสัตย์สุจริต การมีจิตสำนึกในการ ให้บริการประชาชนและมีความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ทำงานคุ้มค่ากับผลตอบแทนโดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ และ การ ส่งเสริมขวัญกำลังใจข้าราชการ
1.2.4 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในวงราชการและวงการเมืองด้วยการเร่งออกกฎหมาย จัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในระหว่างนี้จะพัฒนาระบบบริหารราชการของหน่วยงานทั้งหลายที่มีอยู่แล้ว ให้บุคลากรมีความพร้อมและทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
1.2.5 เร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยกำหนด แผนและขั้นตอนดำเนินการเป็นการด่วน ระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันอย่างชัดเจนเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจ และบทบาทเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการแบ่งสรรภาษีอากรให้แก่ท้องถิ่นนอกจากนั้นจะดำเนินการปรับปรุงรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นให้มีเพียง 4 รูปแบบ คือ
(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(2) เทศบาล
(3) องค์การบริหารส่วนตำบล และ
(4) การปกครองรูปแบบพิเศษ
ทั้งนี้ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนส่วนผู้บริหารท้องถิ่นหรือคณะผู้บริหารท้องถิ่น อาจจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก็ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและระยะเวลาที่ เหมาะสม
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
1.2.6 ลดบทบาทการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐพร้อมกับสนับสนุนให้ภาคเอกชนรับไปดำเนินการร่วมกับรัฐหรือแทน รัฐอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยบริการแก่ประชาชนและลดภาระการลงทุนของภาค รัฐเป็นสำคัญ รวมทั้งจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่มีผลให้เกิดการผูกขาด ทั้งนี้ จะอาศัยมาตรการทางกฎหมายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ารับ ช่วงงานบริการประชาชนได้คล่องตัวมากขึ้น ส่วนการคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการที่เพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม ก็จะดำเนินการไปพร้อมกันโดยจัดทำแผนแม่บทขึ้นเป็นกรอบกำกับการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนอย่างเป็นระบบเพื่อให้สอด คล้องกับเป้าหมายการพัฒนาและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
1.2.7 เร่งรัดให้มีการออกกฎหมายใหม่หรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มมาตรการในการคุ้มครองคุ้มครอง เด็ก เยาวชนและสตรี การสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผเด็ก เยาวชนและสตรี การสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมการ คุ้มครองผู้บริโภค การขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม และในการแข่งขันทางการค้า และการลงทุนการปฏิรูปหรือการใช้ประโยชน์ ที่ดิน การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการรักษาความปลอดภัย
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตาม มาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
2. นโยบายความมั่นคง
รัฐบาลมุ่งสานต่อนโยบายความมั่นคงที่ดำเนินการมาก่อนแล้ว โดยกำหนดนโยบายเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนบางประการ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคและในโลก ตลอดจนสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของกองทัพในการปฏิบัติภารกิจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์ และมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งในการร่วมเสริมสร้างความสัมพันธ์และความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศโดยใช้ศักยภาพ ของกองทัพที่มีอยู่แล้ว
2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างกองทัพให้กะทัดรัดแต่ทันสมัยมีการพัฒนาหลัก นิยมการเตรียมกำลังกองทัพ การจัดระบบกำลังสำรอง การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและบำรุงรักษายุทโธปกรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้กำลัง พลมีความพร้อมและความสามารถในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพพัฒนาระบบสวัสดิการและศักยภาพ อื่น ๆ แก่กำลังพลทหารผ่านศึกและครอบครัว ในด้านอนามัย การกีฬา การฝึกอาชีพ เพื่อให้มีสถานะ เกียรติยศ ศักดิ์ศรีและสามารถกระทำภาระกิจอื่นเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ตามศักยภาพที่มีอยู่ได้
2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพพัฒนากำลังพลทุกระดับเพื่อนำความรู้และทักษะโดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์ การพยาบาล และความมีระเบียบวินัยมาใช้ในการพัฒนากองทัพและการมีส่วนร่วมในการ แก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ การผลิตบุคลากรสาขาขาดแคลน การให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน การรักษาระเบียบวินัย ในสังคม การบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการแก้ปัญหา สภาวะแวดล้อม และการร่วมมือกับเอกชนในเรื่องอื่น ๆ
3. นโยบายการต่างประเทศ
รัฐบาลยึดมั่นในพันธกรณีที่มีตามกฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และจะ เน้นการปรับบทบาทของไทยให้เห็นเด่นชัดในความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบต่อประชาคมโลก ดังนี้
3.1 ส่งเสริมมิตรภาพ สมานฉันท์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก โดยใช้ ศักยภาพและประสบการณ์ทางการทูตของไทยอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด
3.2 เพิ่มพูนและพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการในเขตการค้าเสรีอาเซียน ให้ประสบ ผลสำเร็จ โดยครอบคลุมถึงผลผลิตทางการเกษตรและการบริการ ตลอดจนผลักดันให้มีข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการผลิตสินค้า อุตสาหกรรม การลงทุน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์
3.3 ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศ คู่ค้าที่สำคัญภายใต้ระบบการค้าเสรี โดยให้มีการแข่งขัน อย่างเป็นธรรม ตลอดจนร่วมมีบทบาทในการลดความขัดแย้งระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากปัญหาทางการค้า การลงทุน การถ่ายทอด เทคโนโลยี และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยคำนึงถึงความพร้อมภายในประเทศเป็นหลัก
3.4 ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ วัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้จะมุ่งเน้นกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค
3.5 เสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และสมดุล
3.6 อำนวยความสะดวก คุ้มครอง ตลอดจนส่งเสริมสิทธิและ ผลประโยชน์ของคนไทย แรงงานไทย และธุรกิจภาคเอกชน ของไทยในต่างประเทศ
3.7 ร่วมมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ ในด้านการคุ้มครองและส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตยและ สิทธิมนุษยชน
(ยังมีต่อ)
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้วโดยยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และคำนึงถึงบทบัญญัติในหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอีกทั้งมีเป้าหมายหลักที่จะเร่งรัดแนวทางการปฏิรูปทางการเมือง ปฏิรูประบบราชการ การกระจาย อำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งมุ่ง ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และสิทธิ มนุษยชน และดำเนินการให้มีการบังคับใช้กฎหมายตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การพัฒนาในระยะยาว โดยเร็วที่สุด
ในสภาวะปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีตระหนักดีว่าปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาล ต้องเร่งรัดแก้ไข คือ ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังกระทบ ต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมและปัญหามาตรฐานการครองชีพ หากไม่ได้รับ การแก้ไขหรือผ่อนหนักให้เป็นเบาอย่างทันท่วงทีก็จะทำลายความมั่นคงของประเทศได้ รัฐบาลจึงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยเร่งด่วนเป็นลำดับแรก ด้วยการระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายในชาติ เพื่อให้เกิดพลังในการแก้ไขอย่างสมบูรณ์ เพราะลำพัง รัฐบาลฝ่ายเดียวย่อมไม่สามารถผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็วได้ จำต้องอาศัยความตระหนักร่วมกันในปัญหาและความเข้าใจ ในแนวทางการแก้ปัญหา แล้วร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนโดยถือประโยชน์และอนาคตของ ชาติเป็นเป้าหมายหลัก ถ้าทำได้ดังนี้ก็เชื่อว่าจะสามารถนำประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้ทันการณ์โดยรัฐบาลพร้อมที่จะเป็นแกนกลางในการเคลื่อนกลไกทุกส่วน ทั้งที่อยู่ในภาพรัฐและภาคเอกชนให้เดินหน้าแก้ปัญหาในจังหวะเดียวกันอย่างสอดคล้องต้องกัน
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศใช่ว่าจะเสียหายไปทั้งหมด บางส่วนยังอยู่ในวิสัยที่จะเดินหน้าต่อไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพ หากได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกทาง
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกแขนงของประเทศให้กลับ ฟื้นคืนสู่ภาวะปกติและพร้อมที่จะเป็น พลังผลักดันการพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างเต็ม ศักยภาพ รัฐบาลทราบดีว่า การดำเนินการ ในครั้งนี้ มีความยากลำบาก และตกอยู่ ภายใต้เงื่อนเวลาที่จะต้องทำอย่างเร่งรีบและเงื่อนไขงบประมาณแผ่นดินอันจำกัด แต่รัฐบาลเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือร่วมใจ ของคนทั้งชาติ ประกอบกับหลักการสำคัญในการบริหารงานของรัฐบาล อันได้แก่ การบริหารงาน อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ซื่อตรง และโปร่งใส น่าจะเป็นปัจจัยให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจที่ประเทศชาติดันการพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างเต็ม ศักยภาพ
เพื่อความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนคณะรัฐมนตรีจึงกำหนด นโยบายการบริหารราชการ แผ่นดิน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง และการต่างประเทศ ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการสองระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วนและระยะปานกลาง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับความรุนแรงของปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ รวมทั้งเพื่อให้เห็นเป้าหมายที่มุ่งเร่งให้บังเกิดขึ้นแต่ละขั้นตามลำดับ ดังนี้
ส่วนที่ 1 นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง และการต่างประเทศ
ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ส่วนที่ 1 นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง และการต่างประเทศ
รัฐบาลนี้มุ่งเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต โดยจะดำเนินการ ดังนี้
1. นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ
1.1 การปฏิรูปทางการเมือง
1.1.1 เร่งรัดการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่น ๆ กฎ ข้อบังคับ และการดำเนินการอื่นใดเพื่ออนุวัติ การให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือเพื่อให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมีความสมบูรณ์และบังเกิดผลในทางปฏิบัติ โดยจะจัดทำแผนปฏิบัติการกำหนดเค้าโครงการดำเนินการ ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ทั้งจะเร่งดำเนินการออกกฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ในส่วนของคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
อนึ่งรัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
1.1.2 สนับสนุนกิจการขององค์กรทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรืออยู่ระหว่างเตรียมการจะจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยในด้านอัตรากำลัง งบประมาณ และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจในฐานะองค์กร ควบคุมหรือตรวจสอบทางการเมือง การปกครองและการบริหารราชการ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการบริหาร ทรัพยากรสื่อสารของชาติ ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ
1.1.3 คุ้มครองสิทธิเสรีภาพชองนักวิชาการ และสื่อสารมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนในการให้การศึกษาอบรมค้นคว้า วิจัยหรือปฏิบัติหน้าที่ของตน รวมทั้งส่งเสริมให้มีบทบาทในการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ ในรูปแบบวิธีการและเนื้อหาสาระของการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้กระบวนการปฏิรูปทางการเมืองดำเนินไปในแนวทาง ที่เป็นรูปธรรมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
1.1.4 ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งจะกำหนด มาตรการในการตรวจสอบตลอดจนซักซ้อมความ เข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้มีการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวโดยให้สถาบัน การศึกษาและสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีบทบาทด้วย
1.1.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมืองในเรื่องสำคัญ การวางแผน พัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยวิธีการประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยว ข้องหรือชุมชน การทำประชาพิจารณ์ หรือประชามติแล้วแต่กรณี โดยให้สถาบันทางวิชาการ สื่อสารมวลชน องค์กรอาชีพภาคเอกชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์เข้ามามีบทบาทในการร่วมดำเนินการ
1.1.6 จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติด้วยกระบวนการคัดเลือกที่ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองเพื่อร่วมกับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการจัดทำแผนพัฒนา การเมืองและมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการและพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐเพื่อป้องกัน การทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ แล้วประกาศใช้ต่อไป
1.2 การปฏิรูประบบบริหารราชการ
1.2.1 ปรับปรุงและเร่งรัดการจัดโครงสร้างและระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้ สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและเสมอภาค
1.2.2 ปรับปรุงระบบงานภาคราชการและรัฐวิสาหกิจให้เป็นระบบเปิดโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ลดขั้นตอน ที่ ไม่จำเป็นปราศจากการเลือกปฏิบัติและเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพเป็นธรรมโดยการจัดทำแผนพัฒนาระบบราชการและมาตรฐานคุณภาพงานราชการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
1.2.3 ปรับปรุงคุณภาพข้าราชการในการทำงานโดยเน้นผลงาน การมีคุณภาพ ความซื่อสัตย์สุจริต การมีจิตสำนึกในการ ให้บริการประชาชนและมีความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ทำงานคุ้มค่ากับผลตอบแทนโดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ และ การ ส่งเสริมขวัญกำลังใจข้าราชการ
1.2.4 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในวงราชการและวงการเมืองด้วยการเร่งออกกฎหมาย จัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในระหว่างนี้จะพัฒนาระบบบริหารราชการของหน่วยงานทั้งหลายที่มีอยู่แล้ว ให้บุคลากรมีความพร้อมและทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
1.2.5 เร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยกำหนด แผนและขั้นตอนดำเนินการเป็นการด่วน ระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันอย่างชัดเจนเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจ และบทบาทเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการแบ่งสรรภาษีอากรให้แก่ท้องถิ่นนอกจากนั้นจะดำเนินการปรับปรุงรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นให้มีเพียง 4 รูปแบบ คือ
(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(2) เทศบาล
(3) องค์การบริหารส่วนตำบล และ
(4) การปกครองรูปแบบพิเศษ
ทั้งนี้ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนส่วนผู้บริหารท้องถิ่นหรือคณะผู้บริหารท้องถิ่น อาจจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก็ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและระยะเวลาที่ เหมาะสม
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
1.2.6 ลดบทบาทการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐพร้อมกับสนับสนุนให้ภาคเอกชนรับไปดำเนินการร่วมกับรัฐหรือแทน รัฐอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยบริการแก่ประชาชนและลดภาระการลงทุนของภาค รัฐเป็นสำคัญ รวมทั้งจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่มีผลให้เกิดการผูกขาด ทั้งนี้ จะอาศัยมาตรการทางกฎหมายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ารับ ช่วงงานบริการประชาชนได้คล่องตัวมากขึ้น ส่วนการคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการที่เพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม ก็จะดำเนินการไปพร้อมกันโดยจัดทำแผนแม่บทขึ้นเป็นกรอบกำกับการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนอย่างเป็นระบบเพื่อให้สอด คล้องกับเป้าหมายการพัฒนาและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
1.2.7 เร่งรัดให้มีการออกกฎหมายใหม่หรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มมาตรการในการคุ้มครองคุ้มครอง เด็ก เยาวชนและสตรี การสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผเด็ก เยาวชนและสตรี การสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมการ คุ้มครองผู้บริโภค การขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม และในการแข่งขันทางการค้า และการลงทุนการปฏิรูปหรือการใช้ประโยชน์ ที่ดิน การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการรักษาความปลอดภัย
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตาม มาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
2. นโยบายความมั่นคง
รัฐบาลมุ่งสานต่อนโยบายความมั่นคงที่ดำเนินการมาก่อนแล้ว โดยกำหนดนโยบายเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนบางประการ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคและในโลก ตลอดจนสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของกองทัพในการปฏิบัติภารกิจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์ และมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งในการร่วมเสริมสร้างความสัมพันธ์และความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศโดยใช้ศักยภาพ ของกองทัพที่มีอยู่แล้ว
2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างกองทัพให้กะทัดรัดแต่ทันสมัยมีการพัฒนาหลัก นิยมการเตรียมกำลังกองทัพ การจัดระบบกำลังสำรอง การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและบำรุงรักษายุทโธปกรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้กำลัง พลมีความพร้อมและความสามารถในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพพัฒนาระบบสวัสดิการและศักยภาพ อื่น ๆ แก่กำลังพลทหารผ่านศึกและครอบครัว ในด้านอนามัย การกีฬา การฝึกอาชีพ เพื่อให้มีสถานะ เกียรติยศ ศักดิ์ศรีและสามารถกระทำภาระกิจอื่นเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ตามศักยภาพที่มีอยู่ได้
2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพพัฒนากำลังพลทุกระดับเพื่อนำความรู้และทักษะโดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์ การพยาบาล และความมีระเบียบวินัยมาใช้ในการพัฒนากองทัพและการมีส่วนร่วมในการ แก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ การผลิตบุคลากรสาขาขาดแคลน การให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน การรักษาระเบียบวินัย ในสังคม การบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการแก้ปัญหา สภาวะแวดล้อม และการร่วมมือกับเอกชนในเรื่องอื่น ๆ
3. นโยบายการต่างประเทศ
รัฐบาลยึดมั่นในพันธกรณีที่มีตามกฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และจะ เน้นการปรับบทบาทของไทยให้เห็นเด่นชัดในความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบต่อประชาคมโลก ดังนี้
3.1 ส่งเสริมมิตรภาพ สมานฉันท์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก โดยใช้ ศักยภาพและประสบการณ์ทางการทูตของไทยอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด
3.2 เพิ่มพูนและพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการในเขตการค้าเสรีอาเซียน ให้ประสบ ผลสำเร็จ โดยครอบคลุมถึงผลผลิตทางการเกษตรและการบริการ ตลอดจนผลักดันให้มีข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการผลิตสินค้า อุตสาหกรรม การลงทุน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์
3.3 ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศ คู่ค้าที่สำคัญภายใต้ระบบการค้าเสรี โดยให้มีการแข่งขัน อย่างเป็นธรรม ตลอดจนร่วมมีบทบาทในการลดความขัดแย้งระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากปัญหาทางการค้า การลงทุน การถ่ายทอด เทคโนโลยี และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยคำนึงถึงความพร้อมภายในประเทศเป็นหลัก
3.4 ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ วัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้จะมุ่งเน้นกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค
3.5 เสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และสมดุล
3.6 อำนวยความสะดวก คุ้มครอง ตลอดจนส่งเสริมสิทธิและ ผลประโยชน์ของคนไทย แรงงานไทย และธุรกิจภาคเอกชน ของไทยในต่างประเทศ
3.7 ร่วมมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ ในด้านการคุ้มครองและส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตยและ สิทธิมนุษยชน
(ยังมีต่อ)