ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
------------------
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๐๒ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ
สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๓) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร ตามมาตรา ๑๐๐ (๑) (๒) หรือ (๔)
(๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๕) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวัน
เลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ในวงราชการ
(๗) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๘) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
(๙) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๑๐) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุด
ลงแล้วยังไม่เกินสองปี
(๑๑) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(๑๒) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการ
แผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(๑๓) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามมาตรา
๒๖๓
(๑๔) เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
มาตรา ๑๑๑ วุฒิสภาประกอบด้วย สมาชิกจำนวนรวมหนึ่งร้อยห้าสิบคน
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการสรรหาเท่ากับ
จำนวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
ในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก
การเลือกตั้งให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ และยังมิได้มีการ
เลือกตั้งหรือสรรหาขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง แล้วแต่กรณี ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก
วุฒิสภาเท่าที่มีอยู่
ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่ครบจำนวนตามวรรคหนึ่ง
แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ให้ถือว่า
วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนดังกล่าว แต่ต้องมีการเลือกตั้งหรือการสรรหาให้ได้
สมาชิกวุฒิสภาครบจำนวนตามวรรคหนึ่ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มี
เหตุการณ์ดังกล่าว และให้สมาชิกวุฒิสภาที่เข้ามานั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าอายุของ
วุฒิสภาที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๑๓ ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง
ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธาน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้
พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวนหนึ่งคนและตุลาการในศาล
ปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจำนวนหนึ่งคน
เป็นกรรมการ ทำหน้าที่สรรหาบุคคลตามมาตรา ๑๑๔ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแจ้งผลการสรรหาให้
คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลผู้ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ให้กรรมการตามวรรคหนึ่งเลือกกันเองให้กรรมการผู้หนึ่งเป็นประธาน
กรรมการ
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิก
วุฒิสภาประกอบด้วย กรรมการที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๑๔ ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาดำเนินการสรรหา
บุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ในภาควิชาการ
ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตาม
อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาเป็นสมาชิกวุฒิสภาเท่าจำนวนที่จะพึงมีตามที่กำหนดในมาตรา
๑๑๑ วรรคหนึ่ง
ในการสรรหาบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือ
ประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของวุฒิสภาเป็นสำคัญ และให้คำนึงถึง
องค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน โอกาสและ
ความเท่าเทียมกันทางเพศ สัดส่วนของบุคคลในแต่ละภาคตามวรรคหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน
รวมทั้งการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้เป็นไปตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ
การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๑๕ บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้เป็น
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการ
เสนอชื่อ
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งต้องมี
ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็น
เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็น
เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
(ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัคร
รับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕) ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๖) ไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือเคยเป็น
สมาชิกหรือเคยดำรงตำแหน่งและพ้นจากการเป็นสมาชิกหรือการดำรงตำแหน่งใดๆ
ในพรรคการเมืองมาแล้วยังไม่เกินห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการ
เสนอชื่อ
(๗) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกินห้าปีนับถึงวันสมัครรับ
เลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๘) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๒ (๑)
(๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)
(๙) ไม่เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกสภา
ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเคยเป็นแต่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วยังไม่เกินห้าปี
มาตรา ๑๑๖ สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อื่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มิได้
บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยัง
ไม่เกินสองปีจะเป็นรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิได้
มาตรา ๑๑๗ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเริ่มตั้งแต่
วันที่มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก
การสรรหาเริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหา
สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภามีกำหนดคราวละหกปีนับแต่วันเลือกตั้ง หรือ
วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหา แล้วแต่กรณี โดยสมาชิกวุฒิสภา
จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติ
หน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีสมาชิกวุฒิสภาขึ้นใหม่
มาตรา ๑๑๘ เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง
พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมา
จากการเลือกตั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่วาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งนั้น
ต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการสรรหาสิ้นสุดลง ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเริ่มการสรรหาและระยะเวลาการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
ซึ่งต้องทำการสรรหาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่วาระของสมาชิกวุฒิสภา
ที่มาจากการสรรหาสิ้นสุดลง
มาตรา ๑๑๙ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ถึงคราวออกตามวาระ
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๕
(๕) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๖ มาตรา ๒๖๕ หรือมาตรา
๒๖๖
(๖) วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือศาล
รัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๙๑ หรือศาลฎีกามีคำสั่งตาม
มาตรา ๒๓๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๔๐ วรรคสาม ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุด
สมาชิกภาพนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติหรือศาลมีคำวินิจฉัยหรือมีคำสั่ง แล้วแต่กรณี
(๗) ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มี
กำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา
(๘) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็น
การรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิด
ฐานหมิ่นประมาท
มาตรา ๑๒๐ เมื่อตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงเพราะเหตุตามมาตรา ๑๑๙
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ และมาตรา ๑๑๘ มาใช้บังคับ
กับการเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาในกรณีดังกล่าว และให้สมาชิกวุฒิสภา
ผู้เข้ามาแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
เว้นแต่วาระของสมาชิกวุฒิสภาที่ว่างลงจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการ
เลือกตั้งหรือการสรรหาก็ได้
มาตรา ๒๓๖ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ออกประกาศหรือวางระเบียบกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การ
ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับการหา
เสียงเลือกตั้งและการดำเนินการใดๆ ของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการ
ของรัฐในการสนับสนุนให้การเลือกตั้งมีความเสมอภาค และมีโอกาสทัดเทียมกันในการ
หาเสียงเลือกตั้ง
(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับข้อห้ามในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีขณะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๘๑ โดยคำนึงถึงการรักษา
ประโยชน์ของรัฐ และคำนึงถึงความสุจริต เที่ยงธรรม ความเสมอภาค และโอกาส
ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง
(๓) กำหนดมาตรการและการควบคุมการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมือง
การสนับสนุนทางการเงินโดยรัฐ การใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับ
เลือกตั้ง รวมทั้งการตรวจสอบบัญชีทางการเงินของพรรคการเมืองโดยเปิดเผย และการ
ควบคุมการจ่ายเงินหรือรับเงินเพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง
(๔) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงาน
ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการ
ทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมายตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง
(๕) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
ที่เกิดขึ้นตามกฎหมายตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง
(๖) สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใด
หน่วยเลือกตั้งหนึ่ง หรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง
หรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้นๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๗) ประกาศผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยราชการ หน่วยงานของ
รัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือสนับสนุนองค์การเอกชน ในการให้
การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
(๙) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจเรียกเอกสารหรือ
หลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้
พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ
ราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่ การสืบสวน
สอบสวน หรือวินิจฉัยชี้ขาด
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทน
องค์การเอกชนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย
มาตรา ๒๓๘ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวน
เพื่อหาข้อเท็จจริงโดยพลันเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิก
สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง คัดค้านว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง
นั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๒) ผู้เข้ารับการสรรหา หรือสมาชิกขององค์กรตามมาตรา ๑๑๔ วรรคหนึ่ง
คัดค้านว่า การสรรหาสมาชิกวุฒิสภานั้น เป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๓) ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ก่อนได้รับเลือกตั้งหรือสรรหา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ใด
ได้กระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้งหรือสรรหา หรือได้รับ
เลือกตั้งหรือสรรหามาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้
กระทำลงไปโดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๔) ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการออกเสียงประชามติมิได้เป็นไป
โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งคัดค้านว่าการออกเสียงประชามติใน
หน่วยเลือกตั้งใดเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งต้อง
พิจารณาวินิจฉัยสั่งการโดยพลัน
มาตรา ๒๓๙ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้ง
ใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือสมาชิกวุฒิสภา ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด
ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า
ควรให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก
วุฒิสภาผู้ใด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาได้รับคำร้องของ
คณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นจะ
ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำร้องในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้
มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งใดหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา
ในเขตเลือกตั้งนั้นสิ้นสุดลง
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสองปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ มิให้นับบุคคลดังกล่าว
เข้าในจำนวนรวมของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นด้วยโดยอนุโลม โดยการยื่นคำร้องต่อศาลตาม
วรรคสองให้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ และให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
มาตรา ๒๔๐ ในกรณีที่มีการคัดค้านว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดเป็นไป
โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับ
การสรรหา สมาชิกวุฒิสภาผู้ใดกระทำ การตามมาตรา ๒๓๘ ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยพลัน
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยสั่งการเป็นอย่างใดแล้ว
ให้เสนอต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยโดยพลัน และให้นำความในมาตรา ๒๓๙ วรรค
สองและวรรคสาม มาใช้บังคับกับการที่สมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
โดยอนุโลม
ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้เพิกถอนการสรรหาหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ศาลฎีกา
มีคำสั่ง และให้ดำเนินการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาใหม่แทนตำแหน่งที่ว่าง
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ประธานกรรมการการ
เลือกตั้งจะร่วมดำเนินการหรือวินิจฉัยสั่งการมิได้ และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมี
องค์ประกอบเท่าที่มีอยู่
การคัดค้านและการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามที่
บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๒๙๔ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ สิ้นสุดลง
ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
ภายในสองปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๒๙๖ ให้ดำ เนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม
รัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน และดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน ทั้งนี้ นับแต่วันที่พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๙๕ มีผลใช้บังคับ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปครั้งแรกภายหลังวันประกาศใช้
รัฐธรรมนูญนี้ ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมือง
หนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง ส่วนระยะเวลาตาม
มาตรา ๑๐๑ (๔) (ก) ให้ใช้กำหนดเป็นเวลาหนึ่งปี และระยะเวลาตามมาตรา ๑๐๑
(๔) (ค) และ (ง) ให้ใช้กำหนดเป็นสองปี
ในวาระเริ่มแรก ห้ามมิให้ผู้เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นครั้ง
แรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ดำรงตำแหน่งเป็น
สมาชิกวุฒิสภาซึ่งจะมีการได้มาเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ และมิให้นำบทบัญญัติ
มาตรา ๑๑๕ (๙) และมาตรา ๑๑๖ วรรคสอง มาใช้บังคับกับผู้เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ซึ่งได้รับเลือกตั้งครั้งหลังสุดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
มาตรา ๒๙๗ ในวาระเริ่มแรก ให้สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหามีวาระ
สามปีนับแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ และมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามดำรง
ตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระมาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวในการสรรหาคราวถัดไป
หลังจากสิ้นสุดสมาชิกภาพ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. ๒๕๕๐
---------------------
มาตรา ๑๒๖ เมื่อมีเหตุที่จะต้องสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดวันสรรหาภายในสามวัน
นับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องมีการสรรหา
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้องค์กร
ภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่น ตามมาตรา ๑๒๗ มา
ลงทะเบียนพร้อมทั้งเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาต่อ
คณะกรรมการสรรหาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับจากวันสรรหา
มาตรา ๑๒๗ องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิก
วุฒิสภาต้องเป็นองค์กรในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่
เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา โดยต้องเป็นนิติบุคคลที่
จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย หรือเป็นนิติบุคคลที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายให้จัดตั้งขึ้นใน
ราชอาณาจักรมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี และต้องมิใช่เป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไรหรือ
ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
องค์กรตามวรรคหนึ่งต้องลงทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยต้องแสดงหลักฐานการเป็นองค์กรภาคใดภาค
หนึ่งเพียงภาคเดียว
มาตรา ๑๒๘ ให้องค์กรตามมาตรา ๑๒๗ มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลที่เป็นหรือ
เคยเป็นสมาชิกขององค์กร หรือปฏิบัติหน้าที่หรือเคยปฏิบัติหน้าที่ในองค์กร ซึ่งมี
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และสมควรได้รับการ
สรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาองค์กรละหนึ่งคน และให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อชำ ระ
ค่าธรรมเนียมคนละห้าพันบาท โดยให้ค่าธรรมเนียมนั้นตกเป็นรายได้ของรัฐ ทั้งนี้
บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรแล้วจะขอถอนชื่อออกจากการได้รับการเสนอชื่อ
เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภามิได้
การเสนอชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นหนังสือ โดยอย่างน้อยต้องมี
ประวัติระบุถึงเพศ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และสาขาอาชีพของผู้ได้รับการ
เสนอชื่อพร้อมทั้งหนังสือยินยอมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อ ทั้งนี้ ตามแบบที่คณะกรรมการ
การเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๒๙ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวมรายชื่อบุคคลซึ่งได้รับ
การเสนอชื่อ ตามมาตรา ๑๒๘ เสนอต่อคณะกรรมการสรรหาภายในห้าวันนับแต่
วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอชื่อ ตามาตรา ๑๒๖
มาตรา ๑๓๐ ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณาสรรหาบุคคลตามหลักเกณฑ์
ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งภายในสามสิบวันนับแต่
วันที่รับรายชื่อผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
และผลการพิจารณาสรรหาของคณะกรรมการสรรหาให้ถือเป็นที่สุด
มติในการสรรหาต้องลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเกินกึ่ง
หนึ่งของจำนวนกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหาและแจ้งผลการสรรหาไป
ยังประธานรัฐสภาเพื่อทราบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้สำ นักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งทำ หน้าที่หน่วยธุรการของ
คณะกรรมการสรรหา
มาตรา ๑๓๑ ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาในภาคใดสิ้นสุดลง
ก่อนถึงคราวออกตามวาระ ให้ดำเนินการสรรหา โดยให้ภาคนั้นเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อ
รับการสรรหา และให้นำความในมาตรา ๑๒๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๓๒ เบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการ
สรรหาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการสรรหา
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๓๓ ภายหลังมีการประกาศผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ถ้าผู้
ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกขององค์กรที่เสนอ
ชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เห็นว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดเป็นไป
โดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับ
การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดกระทำการตามมาตรา ๒๓๘ ของรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ได้รับ
การเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกขององค์กรที่เสนอชื่อผู้เข้า
รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
เมื่อปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ผู้ใดได้
กระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับการสรรหา หรือได้รับการสรรหาโดยผล
ของการที่บุคคลใดได้กระทำการลงไปโดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยพลัน
มาตรา ๑๓๔ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวนสอบสวนตามมาตรา
๑๓๓ วรรคสอง แล้วเห็นว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบ
ด้วยกฎหมายให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศผลการสรรหา
สมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้ศาลฎีกาไต่สวนและวินิจฉัย ดังต่อไปนี้โดยพลัน
(๑) ถ้าเห็นว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาในส่วนใดหรือขั้นตอนใดมิได้เป็นไป
โดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหา
ในส่วนหรือขั้นตอนนั้นใหม่ และให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาในส่วนนั้น
หรือขั้นตอนนั้นพ้นจากสมาชิกภาพนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่ง
(๒) ถ้าเห็นว่าผู้ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดกระทำการอันเป็น
การฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ หรือมีพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าก่อให้ผู้อื่น
กระทำสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าว หรือรู้ว่ามีการกระทำ
ดังกล่าวแล้วไม่ดำเนินการเพื่อระงับการกระทำนั้น และการกระทำดังกล่าวมีผลให้การ
สรรหามิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้นั้นเป็น
เวลาห้าปีโดยให้มีผลนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่ง
มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ศาลฎีกาไต่สวนเพื่อวินิจฉัยตามมาตรา ๑๓๔ ถ้าเห็น
ว่าผู้ใดกระทำการโดยไม่สุจริตทำให้การสรรหาไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
เพื่อให้ผู้อื่นได้รับการสรรหาโดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้ ให้ศาลฎีกามีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น และสมาชิกวุฒิสภาที่
ได้รับการสรรหาจากการกระทำดังกล่าวด้วย เว้นแต่สมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่า
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำนั้น
มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามที่จะ
ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ยินยอมให้องค์กรใดเสนอ
ชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาดังกล่าว หรือผู้ใดกระทำไม่ว่าด้วยประการใดๆ อันมีผลทำให้
การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ
เลือกตั้งมีกำหนดสิบปี
------------------
------------------
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๐๒ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ
สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๓) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร ตามมาตรา ๑๐๐ (๑) (๒) หรือ (๔)
(๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๕) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวัน
เลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ในวงราชการ
(๗) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๘) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
(๙) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๑๐) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุด
ลงแล้วยังไม่เกินสองปี
(๑๑) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(๑๒) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการ
แผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(๑๓) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามมาตรา
๒๖๓
(๑๔) เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
มาตรา ๑๑๑ วุฒิสภาประกอบด้วย สมาชิกจำนวนรวมหนึ่งร้อยห้าสิบคน
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการสรรหาเท่ากับ
จำนวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
ในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก
การเลือกตั้งให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ และยังมิได้มีการ
เลือกตั้งหรือสรรหาขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง แล้วแต่กรณี ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก
วุฒิสภาเท่าที่มีอยู่
ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่ครบจำนวนตามวรรคหนึ่ง
แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ให้ถือว่า
วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนดังกล่าว แต่ต้องมีการเลือกตั้งหรือการสรรหาให้ได้
สมาชิกวุฒิสภาครบจำนวนตามวรรคหนึ่ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มี
เหตุการณ์ดังกล่าว และให้สมาชิกวุฒิสภาที่เข้ามานั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าอายุของ
วุฒิสภาที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๑๓ ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง
ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธาน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้
พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวนหนึ่งคนและตุลาการในศาล
ปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจำนวนหนึ่งคน
เป็นกรรมการ ทำหน้าที่สรรหาบุคคลตามมาตรา ๑๑๔ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแจ้งผลการสรรหาให้
คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลผู้ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ให้กรรมการตามวรรคหนึ่งเลือกกันเองให้กรรมการผู้หนึ่งเป็นประธาน
กรรมการ
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิก
วุฒิสภาประกอบด้วย กรรมการที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๑๔ ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาดำเนินการสรรหา
บุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ในภาควิชาการ
ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตาม
อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาเป็นสมาชิกวุฒิสภาเท่าจำนวนที่จะพึงมีตามที่กำหนดในมาตรา
๑๑๑ วรรคหนึ่ง
ในการสรรหาบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือ
ประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของวุฒิสภาเป็นสำคัญ และให้คำนึงถึง
องค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน โอกาสและ
ความเท่าเทียมกันทางเพศ สัดส่วนของบุคคลในแต่ละภาคตามวรรคหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน
รวมทั้งการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้เป็นไปตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ
การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๑๕ บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้เป็น
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการ
เสนอชื่อ
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งต้องมี
ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็น
เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็น
เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
(ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัคร
รับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕) ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๖) ไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือเคยเป็น
สมาชิกหรือเคยดำรงตำแหน่งและพ้นจากการเป็นสมาชิกหรือการดำรงตำแหน่งใดๆ
ในพรรคการเมืองมาแล้วยังไม่เกินห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการ
เสนอชื่อ
(๗) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกินห้าปีนับถึงวันสมัครรับ
เลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๘) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๒ (๑)
(๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)
(๙) ไม่เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกสภา
ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเคยเป็นแต่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วยังไม่เกินห้าปี
มาตรา ๑๑๖ สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อื่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มิได้
บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยัง
ไม่เกินสองปีจะเป็นรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิได้
มาตรา ๑๑๗ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเริ่มตั้งแต่
วันที่มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก
การสรรหาเริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหา
สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภามีกำหนดคราวละหกปีนับแต่วันเลือกตั้ง หรือ
วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหา แล้วแต่กรณี โดยสมาชิกวุฒิสภา
จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติ
หน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีสมาชิกวุฒิสภาขึ้นใหม่
มาตรา ๑๑๘ เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง
พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมา
จากการเลือกตั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่วาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งนั้น
ต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการสรรหาสิ้นสุดลง ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเริ่มการสรรหาและระยะเวลาการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
ซึ่งต้องทำการสรรหาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่วาระของสมาชิกวุฒิสภา
ที่มาจากการสรรหาสิ้นสุดลง
มาตรา ๑๑๙ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ถึงคราวออกตามวาระ
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๕
(๕) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๖ มาตรา ๒๖๕ หรือมาตรา
๒๖๖
(๖) วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือศาล
รัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๙๑ หรือศาลฎีกามีคำสั่งตาม
มาตรา ๒๓๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๔๐ วรรคสาม ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุด
สมาชิกภาพนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติหรือศาลมีคำวินิจฉัยหรือมีคำสั่ง แล้วแต่กรณี
(๗) ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มี
กำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา
(๘) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็น
การรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิด
ฐานหมิ่นประมาท
มาตรา ๑๒๐ เมื่อตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงเพราะเหตุตามมาตรา ๑๑๙
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ และมาตรา ๑๑๘ มาใช้บังคับ
กับการเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาในกรณีดังกล่าว และให้สมาชิกวุฒิสภา
ผู้เข้ามาแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
เว้นแต่วาระของสมาชิกวุฒิสภาที่ว่างลงจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการ
เลือกตั้งหรือการสรรหาก็ได้
มาตรา ๒๓๖ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ออกประกาศหรือวางระเบียบกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การ
ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับการหา
เสียงเลือกตั้งและการดำเนินการใดๆ ของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการ
ของรัฐในการสนับสนุนให้การเลือกตั้งมีความเสมอภาค และมีโอกาสทัดเทียมกันในการ
หาเสียงเลือกตั้ง
(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับข้อห้ามในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีขณะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๘๑ โดยคำนึงถึงการรักษา
ประโยชน์ของรัฐ และคำนึงถึงความสุจริต เที่ยงธรรม ความเสมอภาค และโอกาส
ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง
(๓) กำหนดมาตรการและการควบคุมการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมือง
การสนับสนุนทางการเงินโดยรัฐ การใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับ
เลือกตั้ง รวมทั้งการตรวจสอบบัญชีทางการเงินของพรรคการเมืองโดยเปิดเผย และการ
ควบคุมการจ่ายเงินหรือรับเงินเพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง
(๔) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงาน
ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการ
ทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมายตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง
(๕) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
ที่เกิดขึ้นตามกฎหมายตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง
(๖) สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใด
หน่วยเลือกตั้งหนึ่ง หรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง
หรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้นๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๗) ประกาศผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยราชการ หน่วยงานของ
รัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือสนับสนุนองค์การเอกชน ในการให้
การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
(๙) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจเรียกเอกสารหรือ
หลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้
พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ
ราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่ การสืบสวน
สอบสวน หรือวินิจฉัยชี้ขาด
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทน
องค์การเอกชนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย
มาตรา ๒๓๘ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวน
เพื่อหาข้อเท็จจริงโดยพลันเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิก
สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง คัดค้านว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง
นั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๒) ผู้เข้ารับการสรรหา หรือสมาชิกขององค์กรตามมาตรา ๑๑๔ วรรคหนึ่ง
คัดค้านว่า การสรรหาสมาชิกวุฒิสภานั้น เป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๓) ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ก่อนได้รับเลือกตั้งหรือสรรหา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ใด
ได้กระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้งหรือสรรหา หรือได้รับ
เลือกตั้งหรือสรรหามาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้
กระทำลงไปโดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๔) ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการออกเสียงประชามติมิได้เป็นไป
โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งคัดค้านว่าการออกเสียงประชามติใน
หน่วยเลือกตั้งใดเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งต้อง
พิจารณาวินิจฉัยสั่งการโดยพลัน
มาตรา ๒๓๙ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้ง
ใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือสมาชิกวุฒิสภา ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด
ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า
ควรให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก
วุฒิสภาผู้ใด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาได้รับคำร้องของ
คณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นจะ
ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำร้องในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้
มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งใดหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา
ในเขตเลือกตั้งนั้นสิ้นสุดลง
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสองปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ มิให้นับบุคคลดังกล่าว
เข้าในจำนวนรวมของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นด้วยโดยอนุโลม โดยการยื่นคำร้องต่อศาลตาม
วรรคสองให้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ และให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
มาตรา ๒๔๐ ในกรณีที่มีการคัดค้านว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดเป็นไป
โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับ
การสรรหา สมาชิกวุฒิสภาผู้ใดกระทำ การตามมาตรา ๒๓๘ ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยพลัน
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยสั่งการเป็นอย่างใดแล้ว
ให้เสนอต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยโดยพลัน และให้นำความในมาตรา ๒๓๙ วรรค
สองและวรรคสาม มาใช้บังคับกับการที่สมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
โดยอนุโลม
ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้เพิกถอนการสรรหาหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ศาลฎีกา
มีคำสั่ง และให้ดำเนินการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาใหม่แทนตำแหน่งที่ว่าง
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ประธานกรรมการการ
เลือกตั้งจะร่วมดำเนินการหรือวินิจฉัยสั่งการมิได้ และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมี
องค์ประกอบเท่าที่มีอยู่
การคัดค้านและการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามที่
บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๒๙๔ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ สิ้นสุดลง
ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
ภายในสองปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๒๙๖ ให้ดำ เนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม
รัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน และดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน ทั้งนี้ นับแต่วันที่พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๙๕ มีผลใช้บังคับ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปครั้งแรกภายหลังวันประกาศใช้
รัฐธรรมนูญนี้ ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมือง
หนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง ส่วนระยะเวลาตาม
มาตรา ๑๐๑ (๔) (ก) ให้ใช้กำหนดเป็นเวลาหนึ่งปี และระยะเวลาตามมาตรา ๑๐๑
(๔) (ค) และ (ง) ให้ใช้กำหนดเป็นสองปี
ในวาระเริ่มแรก ห้ามมิให้ผู้เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นครั้ง
แรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ดำรงตำแหน่งเป็น
สมาชิกวุฒิสภาซึ่งจะมีการได้มาเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ และมิให้นำบทบัญญัติ
มาตรา ๑๑๕ (๙) และมาตรา ๑๑๖ วรรคสอง มาใช้บังคับกับผู้เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ซึ่งได้รับเลือกตั้งครั้งหลังสุดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
มาตรา ๒๙๗ ในวาระเริ่มแรก ให้สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหามีวาระ
สามปีนับแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ และมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามดำรง
ตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระมาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวในการสรรหาคราวถัดไป
หลังจากสิ้นสุดสมาชิกภาพ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. ๒๕๕๐
---------------------
มาตรา ๑๒๖ เมื่อมีเหตุที่จะต้องสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดวันสรรหาภายในสามวัน
นับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องมีการสรรหา
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้องค์กร
ภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่น ตามมาตรา ๑๒๗ มา
ลงทะเบียนพร้อมทั้งเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาต่อ
คณะกรรมการสรรหาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับจากวันสรรหา
มาตรา ๑๒๗ องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิก
วุฒิสภาต้องเป็นองค์กรในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่
เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา โดยต้องเป็นนิติบุคคลที่
จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย หรือเป็นนิติบุคคลที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายให้จัดตั้งขึ้นใน
ราชอาณาจักรมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี และต้องมิใช่เป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไรหรือ
ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
องค์กรตามวรรคหนึ่งต้องลงทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยต้องแสดงหลักฐานการเป็นองค์กรภาคใดภาค
หนึ่งเพียงภาคเดียว
มาตรา ๑๒๘ ให้องค์กรตามมาตรา ๑๒๗ มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลที่เป็นหรือ
เคยเป็นสมาชิกขององค์กร หรือปฏิบัติหน้าที่หรือเคยปฏิบัติหน้าที่ในองค์กร ซึ่งมี
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และสมควรได้รับการ
สรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาองค์กรละหนึ่งคน และให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อชำ ระ
ค่าธรรมเนียมคนละห้าพันบาท โดยให้ค่าธรรมเนียมนั้นตกเป็นรายได้ของรัฐ ทั้งนี้
บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรแล้วจะขอถอนชื่อออกจากการได้รับการเสนอชื่อ
เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภามิได้
การเสนอชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นหนังสือ โดยอย่างน้อยต้องมี
ประวัติระบุถึงเพศ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และสาขาอาชีพของผู้ได้รับการ
เสนอชื่อพร้อมทั้งหนังสือยินยอมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อ ทั้งนี้ ตามแบบที่คณะกรรมการ
การเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๒๙ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวมรายชื่อบุคคลซึ่งได้รับ
การเสนอชื่อ ตามมาตรา ๑๒๘ เสนอต่อคณะกรรมการสรรหาภายในห้าวันนับแต่
วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอชื่อ ตามาตรา ๑๒๖
มาตรา ๑๓๐ ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณาสรรหาบุคคลตามหลักเกณฑ์
ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งภายในสามสิบวันนับแต่
วันที่รับรายชื่อผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
และผลการพิจารณาสรรหาของคณะกรรมการสรรหาให้ถือเป็นที่สุด
มติในการสรรหาต้องลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเกินกึ่ง
หนึ่งของจำนวนกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหาและแจ้งผลการสรรหาไป
ยังประธานรัฐสภาเพื่อทราบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้สำ นักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งทำ หน้าที่หน่วยธุรการของ
คณะกรรมการสรรหา
มาตรา ๑๓๑ ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาในภาคใดสิ้นสุดลง
ก่อนถึงคราวออกตามวาระ ให้ดำเนินการสรรหา โดยให้ภาคนั้นเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อ
รับการสรรหา และให้นำความในมาตรา ๑๒๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๓๒ เบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการ
สรรหาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการสรรหา
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๓๓ ภายหลังมีการประกาศผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ถ้าผู้
ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกขององค์กรที่เสนอ
ชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เห็นว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดเป็นไป
โดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับ
การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดกระทำการตามมาตรา ๒๓๘ ของรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ได้รับ
การเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกขององค์กรที่เสนอชื่อผู้เข้า
รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
เมื่อปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ผู้ใดได้
กระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับการสรรหา หรือได้รับการสรรหาโดยผล
ของการที่บุคคลใดได้กระทำการลงไปโดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยพลัน
มาตรา ๑๓๔ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวนสอบสวนตามมาตรา
๑๓๓ วรรคสอง แล้วเห็นว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบ
ด้วยกฎหมายให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศผลการสรรหา
สมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้ศาลฎีกาไต่สวนและวินิจฉัย ดังต่อไปนี้โดยพลัน
(๑) ถ้าเห็นว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาในส่วนใดหรือขั้นตอนใดมิได้เป็นไป
โดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหา
ในส่วนหรือขั้นตอนนั้นใหม่ และให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาในส่วนนั้น
หรือขั้นตอนนั้นพ้นจากสมาชิกภาพนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่ง
(๒) ถ้าเห็นว่าผู้ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดกระทำการอันเป็น
การฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ หรือมีพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าก่อให้ผู้อื่น
กระทำสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าว หรือรู้ว่ามีการกระทำ
ดังกล่าวแล้วไม่ดำเนินการเพื่อระงับการกระทำนั้น และการกระทำดังกล่าวมีผลให้การ
สรรหามิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้นั้นเป็น
เวลาห้าปีโดยให้มีผลนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่ง
มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ศาลฎีกาไต่สวนเพื่อวินิจฉัยตามมาตรา ๑๓๔ ถ้าเห็น
ว่าผู้ใดกระทำการโดยไม่สุจริตทำให้การสรรหาไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
เพื่อให้ผู้อื่นได้รับการสรรหาโดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้ ให้ศาลฎีกามีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น และสมาชิกวุฒิสภาที่
ได้รับการสรรหาจากการกระทำดังกล่าวด้วย เว้นแต่สมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่า
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำนั้น
มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามที่จะ
ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ยินยอมให้องค์กรใดเสนอ
ชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาดังกล่าว หรือผู้ใดกระทำไม่ว่าด้วยประการใดๆ อันมีผลทำให้
การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ
เลือกตั้งมีกำหนดสิบปี
------------------