ครั้งที่ ๔๙/๒๕๕๐
ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาคดีแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
วันนี้เวลา ๑๐.๐๐ น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ ๒ นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะ
ศาลปกครองสูงสุด นายธงชัย ลำดับวงศ์ นายเกษม คมสัตย์ธรรม นายชาญชัย แสวงศักดิ์ และนายอุดมศักดิ์
นิติมนตรี ตุลาการศาลปกครองสูงสุดในองค์คณะ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.๓๕/๒๕๕๐
ซึ่งเป็นคดีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวก ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรีกับพวกต่อศาลปกครองสูงสุดว่า กระบวนการและขั้นตอน
การแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นไปโดยมิชอบ ขอให้ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนพระราชกฤษฎีกา
กำหนดอำนาจ สิทธิ ประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ และพระราชกฤษฎีกากำหนด
เงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นกฎหมายพิเศษที่ฝ่ายนิติบัญญัติมอบให้ฝ่ายบริหารดำเนินการเปลี่ยนสภาพหรือเปลี่ยนสถานะของ
รัฐวิสาหกิจจากประเภทองค์การของรัฐตามที่กฎหมายจัดตั้งขึ้นให้เป็นรูปแบบบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน
จำกัดได้ โดยไม่ต้องเสนอกฎหมายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมด
ของรัฐวิสาหกิจใดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท ให้กระทำได้ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการ
เริ่มต้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามมาตรา ๑๓ กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่เสนอ
ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้เปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจ
เป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทแล้ว จึงไปสู่ขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ซึ่งรวมถึงการแต่งตั้ง
และดำเนินการของคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ดังนั้น การดำเนินการในทุกขั้นตอน
จึงมีความสำคัญ เมื่อได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในแต่ละขั้นตอนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงจะดำเนินการ
ในขั้นตอนสุดท้าย คือ การตราพระราชกฤษฎีกาที่มีผลเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อไปได้
ในขั้นตอนก่อนการตราพระราชกฤษฎีกาแปรรูป ปตท. ทั้งสองฉบับดังกล่าวมีปัญหาที่ศาล
ต้องวินิจฉัยว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการดำเนินการ
ของคณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัททั้งสามคนที่ได้รับ
การแต่งตั้ง ซึ่งประกอบด้วย นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย
พลังงานแห่งชาติ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายธีระ วิภูชนิน รองกรรมการผู้จัดการ
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ความรู้ ประสบการณ์ และมี
ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของ ปตท. และทางการเงินและบัญชี อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว
ของบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง แล้ว การที่นายปิยสวัสดิ์ และนายเชิดพงษ์ มีสถานะเป็น
ข้าราชการระดับสูงในองค์กรของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการของ ปตท. บุคคลทั้งสองได้รับ
มอบหมายจากทางราชการให้เข้าเป็นกรรมการหรือประธานกรรมการในนิติบุคคลที่เป็นผู้ร่วมทุนกับภาครัฐ
เพื่อประโยชน์ขององค์กรของรัฐ มิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะตัวของนายปิยสวัสดิ์ และนายเชิดพงษ์ จึงไม่อาจถือว่า
นายปิยสวัสดิ์ และนายเชิดพงษ์ เป็นผู้มีส่วนได้เสียอันมีคุณสมบัติต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด การแต่งตั้ง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท จึงชอบด้วยมาตรา ๑๖ ส่วนกรณีที่นายวิเศษ
จูภิบาล ผู้บริหารสูงสุดของ ปตท. และนายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าถือหุ้นของบริษัท
ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าข้อยกเว้นมาตรา ๑๘ ประกอบกับมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่กำหนด
มิให้นำข้อห้ามการถือครองหุ้นหรือการเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการในบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นจาก
การเปลี่ยนทุนเป็นหุ้น มาใช้บังคับกับกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ
และข้าราชการประจำที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และการเข้าถือหุ้นของ
นายวิเศษ และนายมนูเกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนสภาพมาเป็น บมจ. ปตท จึงไม่มีผลกระทบต่อ
กระบวนการเปลี่ยนสภาพของ ปตท. ส่วนในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน นั้น คณะกรรมการ
เตรียมการจัดตั้งบริษัทจัดให้มีการประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนสภาพ ปตท.
ในหนังสือพิมพ์รายวันติดต่อกัน ๖ ฉบับ ฉบับละ ๑ วัน ได้แก่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๑ สิงหาคม
๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ ๒๓ สิงหาคม
๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น ฉบับวันที่ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๔๔ และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๔ และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชนในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๔ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยได้แจกเอกสารประกอบ
การรับฟังความคิดเห็น รวมถึงร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นด้วย
มีผู้ลงทะเบียน ๑,๘๗๗ คน ผู้ลงทะเบียนหน้างาน ๒๖๓ คน มีผู้เข้าร่วมประชุม ๗๓๓ คน และจัดให้มีการถ่ายทอดเสียง
ทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๑๑ แม้ว่าการดำเนินการประกาศ
ทางหนังสือพิมพ์จะมิได้ประกาศลงในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยฉบับเดียวกันติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๓ วัน
ตามข้อ ๙ (๑) ของระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่การประกาศในหนังสือพิมพ์รายวัน
ที่มีการจำหน่ายอย่างแพร่หลายถึง ๖ ฉบับ ฉบับละหนึ่งวันเป็นเวลาติดต่อกันถึง ๖ วัน โดยเป็นหนังสือพิมพ์
รายวันฉบับภาษาไทย ถึง ๔ ฉบับ และฉบับภาษาอังกฤษอีก ๒ ฉบับ แต่ละฉบับมีกลุ่มผู้อ่านแตกต่างกันออกไป
และหนังสือพิมพ์ดังกล่าวมียอดตีพิมพ์ของแต่ละฉบับในแต่ละวัน คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๘๗๖,๕๔๔ ฉบับ
เดลินิวส์ ๖๐๐,๐๐๐ ฉบับ มติชน ๔๕๐,๐๐๐ ฉบับ กรุงเทพธุรกิจ ๑๐๕,๐๐๐ ฉบับ บางกอกโพสต์ ๗๐,๐๐๐ ฉบับ
และเดอะ เนชั่น ๕๘,๐๐๐ ฉบับ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนการตีพิมพ์เฉพาะหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทย
ที่มีการประชาสัมพันธ์และกลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์แล้ว ศาลเห็นว่า การประชาสัมพันธ์
มีความหลากหลายและเป็นระยะเวลาเพียงพอเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลได้อย่างทั่วถึงแล้ว การรับฟัง
ความคิดเห็นของประชาชนจึงชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ศาลจึงเห็นว่า กระบวนการและขั้นตอนที่ได้กระทำก่อน
การตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในส่วนของบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วย
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ นั้น มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในขณะที่ ปตท. มีสถานะเป็นองค์การของรัฐ นั้น ปตท.
ได้ใช้เงินทุนจากรัฐและใช้อำนาจมหาชนของรัฐเวนคืนที่ดิน ตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียม
แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๑ เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของรัฐ ที่ดินที่เวนคืนดังกล่าวจึงกลับมา
เป็นของรัฐหรือของแผ่นดิน ตามมาตรา ๑๖ ประกอบมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๐ เมื่อ ปตท. ได้เวนคืนที่ดินตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติจากจังหวัดระยองมายังจังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่
ประมาณ ๓๒ ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อของ ปตท. ซึ่งเป็นกิจการของรัฐ ที่ดินที่เวนคืน
จึงเป็นทรัพย์สินของรัฐหรือของแผ่นดินที่ใช้เพื่อกิจการของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินที่ใช้
เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามมาตรา ๑๓๐๔ (๓) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นที่ราชพัสดุ
ตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยมี ปตท. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนรัฐ
และเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยไม่เสียค่าตอบแทนให้รัฐ ส่วนการที่ ปตท. ใช้อำนาจรัฐเหนือที่ดินของเอกชนเพื่อวาง
ระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ซึ่งเป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปเพื่อกิจการของรัฐนั้น ปตท.
กระทำการในฐานะที่เป็นองค์การของรัฐ บังคับแก่อสังหาริมทรัพย์ของเอกชน และจ่ายเงินค่าทดแทนโดยอาศัย
ทรัพย์สินของรัฐ ดังนั้น สิทธิเหนือทรัพย์สินของเอกชนที่เกิดจากการใช้อำนาจของ ปตท. จึงเป็นทรัพยสิทธิ
อันเกี่ยวกับที่ดินที่ก่อตั้งขึ้นด้วยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๑
อันเป็นทรัพยสิทธิของรัฐและเป็นอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อใช้ประโยชน์ของแผ่นดิน
โดยเฉพาะ ตามมาตรา ๑๓๐๔ (๓) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดเป็นที่ราชพัสดุ
ต่อมา เมื่อ ปตท. เปลี่ยนสภาพไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัด คือ บมจ. ปตท. ซึ่งมีสถานะเป็น
นิติบุคคลเอกชนแล้ว บมจ.ปตท. จึงไม่อาจมีอำนาจมหาชนของรัฐ รวมทั้งไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ของ ปตท. ที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแทนรัฐได้ จึงต้องโอน
สาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวกลับไปเป็นของรัฐ ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่แยกสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินดังกล่าวออก และโอนให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนรัฐให้เสร็จสิ้นก่อนจดทะเบียน
จัดตั้งบริษัท ตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒
และปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการมีข้อสังเกต
เสนอต่อคณะรัฐมนตรีว่า หากจะมีการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจัดตั้งเป็นบริษัทแยกออกจากบริษัทจัดซื้อ
และจำหน่ายก๊าซธรรมชาติในลักษณะการแบ่งแยกตามกฎหมาย ตั้งแต่แรกจะทำให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น จึงควรศึกษาแนวทางที่จะแยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติก่อนจะทำการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย มิฉะนั้นอาจจะแยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ยาก หากไม่สามารถแยกบริษัทท่อส่ง
ก๊าซธรรมชาติได้ก่อนการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ก็ให้แยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติภายใน
๑ ปี หลังการขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทรับข้อสังเกตนี้
ไปประกอบการพิจารณา แต่ปรากฏว่า คณะรัฐมนตรีกลับมีมติอนุมัติให้โอนกิจการ อำนาจ สิทธิ รวมทั้งสินทรัพย์
และทุนทั้งหมดของ ปตท. ไปให้ บมจ. ปตท. ทั้งหมด และพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ ก็มิได้มีบทบัญญัติที่เป็นการจำกัดสิทธิ อำนาจ และทรัพย์สินที่ บมจ. ปตท.
ได้มาโดยอำนาจมหาชนของรัฐแต่อย่างใด ต่อมา บมจ.ปตท. มีหนังสือที่ ๕๓๐/๒๐/๖๓ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ถึงปลัดกระทรวงการคลัง เรื่อง ขอยกกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ให้กระทรวงการคลัง เนื้อที่รวมประมาณ ๓๒ ไร่ ซึ่งเป็นการยอมรับว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ดังกล่าวควรโอนให้เป็นของกระทรวงการคลัง ดังนั้น โดยอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะรัฐมนตรีจึงต้องโอนสินทรัพย์ของ ปตท. ที่เป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินประเภททรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ให้กระทรวงการคลัง โดย บมจ.ปตท. ยังคงมีสิทธิ
ในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ ปตท. เคยมีอยู่ต่อไป โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็น
รายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
สำหรับในส่วนของพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม
แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ นั้น ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ได้มีการเปลี่ยนสภาพ ปตท.
ไปเป็น บมจ. ปตท. และได้นำหุ้นของ บมจ. ปตท. เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตั้งแต่วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๔ หากมีการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อให้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ กลับไปเป็นของ ปตท. ดังเดิม ย่อมเป็น
ที่คาดหมายได้ว่า อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ
โดยเฉพาะความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งยังอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนรวมถึงตลาดเงิน และบุคคลภายนอก
ที่มีนิติสัมพันธ์กับ บมจ. ปตท. ทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายตามมาอีกนานัปการด้วย
เมื่อพิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นดังกล่าว ประกอบกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่พยายามแก้ไขปัญหา รวมทั้ง
ฝ่ายนิติบัญญัติโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการตราพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐
ซึ่งมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำกับ
กิจการพลังงาน มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานรวมทั้งกิจการก๊าซธรรมชาติด้วย และการออก
ใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ทั้งเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบการวางระบบโครงข่ายพลังงาน โดยในบทบัญญัติ
มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ และมาตรา ๑๐๖ ได้บัญญัติสาระสำคัญเกี่ยวกับการใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์
ในกิจการพลังงาน และการใช้อำนาจมหาชนของรัฐของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานไว้ และในบทเฉพาะ
กาล ได้บัญญัติให้คณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
เป็นผู้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐแทนคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นการชั่วคราวแล้ว อีกทั้งคำฟ้อง
ในประเด็นการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื้อที่ประมาณ ๓๒ ไร่ ทรัพย์สินและสิทธิการใช้ที่ดิน
ในระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐที่โอนให้แก่
บมจ. ปตท. ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลโดยตรงต่อความไม่ชอบด้วยกฎหมายของ
บทบัญญัติในมาตรา ๔ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.
จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่
ที่จะต้องกระทำ การแก้ไขการกระทำ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น ให้ชอบด้วยกฎหมาย
ดังนั้น เมื่อพิเคราะห์เหตุแห่งการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกา
และบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ รวมทั้งวิธีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จึงไม่จำต้องเพิกถอนบทบัญญัติในมาตรา ๔ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว อีกทั้งเหตุแห่งความไม่ชอบ
ด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น มิได้มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วย
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า
พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิ
ในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของบมจ.ปตท. ทั้งนี้ ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้ง
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐
ส่วนคำขอตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ที่ขอให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ
และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ
สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลา
ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยพ.ศ. ๒๕๔๔ นั้น ให้ยก
สำนักงานศาลปกครอง
วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๐
กลุ่มสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
๑๙๕ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้นที่ ๓๑ ถ.สาทรใต้ เขตสาทร กทม. ๑๐๑๒๐ โทร. ๐ ๒๖๗๐ ๑๒๐๐ — ๖๓ ต่อ ๑๐๐๒,๑๐๐๔ โทรสาร ๐ ๒๒๘๖ ๐๒๐๒
๑๙๕ Empire Tower ๓๑rd Floor Sathon Tai, Bangkok ๑๐๑๒๐ Tel. ๐ ๒๖๗๐ ๑๒๐๐ - ๖๓ Ext. ๑๐๐๒,๑๐๐๔ Fax ๐ ๒๒๘๖ ๐๒๐๒
www.admincourt.go.th\
ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาคดีแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
วันนี้เวลา ๑๐.๐๐ น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ ๒ นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะ
ศาลปกครองสูงสุด นายธงชัย ลำดับวงศ์ นายเกษม คมสัตย์ธรรม นายชาญชัย แสวงศักดิ์ และนายอุดมศักดิ์
นิติมนตรี ตุลาการศาลปกครองสูงสุดในองค์คณะ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.๓๕/๒๕๕๐
ซึ่งเป็นคดีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวก ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรีกับพวกต่อศาลปกครองสูงสุดว่า กระบวนการและขั้นตอน
การแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นไปโดยมิชอบ ขอให้ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนพระราชกฤษฎีกา
กำหนดอำนาจ สิทธิ ประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ และพระราชกฤษฎีกากำหนด
เงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นกฎหมายพิเศษที่ฝ่ายนิติบัญญัติมอบให้ฝ่ายบริหารดำเนินการเปลี่ยนสภาพหรือเปลี่ยนสถานะของ
รัฐวิสาหกิจจากประเภทองค์การของรัฐตามที่กฎหมายจัดตั้งขึ้นให้เป็นรูปแบบบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน
จำกัดได้ โดยไม่ต้องเสนอกฎหมายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมด
ของรัฐวิสาหกิจใดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท ให้กระทำได้ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการ
เริ่มต้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามมาตรา ๑๓ กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่เสนอ
ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้เปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจ
เป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทแล้ว จึงไปสู่ขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ซึ่งรวมถึงการแต่งตั้ง
และดำเนินการของคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ดังนั้น การดำเนินการในทุกขั้นตอน
จึงมีความสำคัญ เมื่อได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในแต่ละขั้นตอนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงจะดำเนินการ
ในขั้นตอนสุดท้าย คือ การตราพระราชกฤษฎีกาที่มีผลเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อไปได้
ในขั้นตอนก่อนการตราพระราชกฤษฎีกาแปรรูป ปตท. ทั้งสองฉบับดังกล่าวมีปัญหาที่ศาล
ต้องวินิจฉัยว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการดำเนินการ
ของคณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัททั้งสามคนที่ได้รับ
การแต่งตั้ง ซึ่งประกอบด้วย นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย
พลังงานแห่งชาติ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายธีระ วิภูชนิน รองกรรมการผู้จัดการ
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ความรู้ ประสบการณ์ และมี
ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของ ปตท. และทางการเงินและบัญชี อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว
ของบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง แล้ว การที่นายปิยสวัสดิ์ และนายเชิดพงษ์ มีสถานะเป็น
ข้าราชการระดับสูงในองค์กรของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการของ ปตท. บุคคลทั้งสองได้รับ
มอบหมายจากทางราชการให้เข้าเป็นกรรมการหรือประธานกรรมการในนิติบุคคลที่เป็นผู้ร่วมทุนกับภาครัฐ
เพื่อประโยชน์ขององค์กรของรัฐ มิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะตัวของนายปิยสวัสดิ์ และนายเชิดพงษ์ จึงไม่อาจถือว่า
นายปิยสวัสดิ์ และนายเชิดพงษ์ เป็นผู้มีส่วนได้เสียอันมีคุณสมบัติต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด การแต่งตั้ง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท จึงชอบด้วยมาตรา ๑๖ ส่วนกรณีที่นายวิเศษ
จูภิบาล ผู้บริหารสูงสุดของ ปตท. และนายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าถือหุ้นของบริษัท
ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าข้อยกเว้นมาตรา ๑๘ ประกอบกับมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่กำหนด
มิให้นำข้อห้ามการถือครองหุ้นหรือการเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการในบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นจาก
การเปลี่ยนทุนเป็นหุ้น มาใช้บังคับกับกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ
และข้าราชการประจำที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และการเข้าถือหุ้นของ
นายวิเศษ และนายมนูเกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนสภาพมาเป็น บมจ. ปตท จึงไม่มีผลกระทบต่อ
กระบวนการเปลี่ยนสภาพของ ปตท. ส่วนในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน นั้น คณะกรรมการ
เตรียมการจัดตั้งบริษัทจัดให้มีการประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนสภาพ ปตท.
ในหนังสือพิมพ์รายวันติดต่อกัน ๖ ฉบับ ฉบับละ ๑ วัน ได้แก่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๑ สิงหาคม
๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ ๒๓ สิงหาคม
๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น ฉบับวันที่ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๔๔ และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๔ และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชนในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๔ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยได้แจกเอกสารประกอบ
การรับฟังความคิดเห็น รวมถึงร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นด้วย
มีผู้ลงทะเบียน ๑,๘๗๗ คน ผู้ลงทะเบียนหน้างาน ๒๖๓ คน มีผู้เข้าร่วมประชุม ๗๓๓ คน และจัดให้มีการถ่ายทอดเสียง
ทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๑๑ แม้ว่าการดำเนินการประกาศ
ทางหนังสือพิมพ์จะมิได้ประกาศลงในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยฉบับเดียวกันติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๓ วัน
ตามข้อ ๙ (๑) ของระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่การประกาศในหนังสือพิมพ์รายวัน
ที่มีการจำหน่ายอย่างแพร่หลายถึง ๖ ฉบับ ฉบับละหนึ่งวันเป็นเวลาติดต่อกันถึง ๖ วัน โดยเป็นหนังสือพิมพ์
รายวันฉบับภาษาไทย ถึง ๔ ฉบับ และฉบับภาษาอังกฤษอีก ๒ ฉบับ แต่ละฉบับมีกลุ่มผู้อ่านแตกต่างกันออกไป
และหนังสือพิมพ์ดังกล่าวมียอดตีพิมพ์ของแต่ละฉบับในแต่ละวัน คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๘๗๖,๕๔๔ ฉบับ
เดลินิวส์ ๖๐๐,๐๐๐ ฉบับ มติชน ๔๕๐,๐๐๐ ฉบับ กรุงเทพธุรกิจ ๑๐๕,๐๐๐ ฉบับ บางกอกโพสต์ ๗๐,๐๐๐ ฉบับ
และเดอะ เนชั่น ๕๘,๐๐๐ ฉบับ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนการตีพิมพ์เฉพาะหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทย
ที่มีการประชาสัมพันธ์และกลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์แล้ว ศาลเห็นว่า การประชาสัมพันธ์
มีความหลากหลายและเป็นระยะเวลาเพียงพอเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลได้อย่างทั่วถึงแล้ว การรับฟัง
ความคิดเห็นของประชาชนจึงชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ศาลจึงเห็นว่า กระบวนการและขั้นตอนที่ได้กระทำก่อน
การตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในส่วนของบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วย
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ นั้น มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในขณะที่ ปตท. มีสถานะเป็นองค์การของรัฐ นั้น ปตท.
ได้ใช้เงินทุนจากรัฐและใช้อำนาจมหาชนของรัฐเวนคืนที่ดิน ตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียม
แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๑ เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของรัฐ ที่ดินที่เวนคืนดังกล่าวจึงกลับมา
เป็นของรัฐหรือของแผ่นดิน ตามมาตรา ๑๖ ประกอบมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๐ เมื่อ ปตท. ได้เวนคืนที่ดินตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติจากจังหวัดระยองมายังจังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่
ประมาณ ๓๒ ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อของ ปตท. ซึ่งเป็นกิจการของรัฐ ที่ดินที่เวนคืน
จึงเป็นทรัพย์สินของรัฐหรือของแผ่นดินที่ใช้เพื่อกิจการของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินที่ใช้
เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามมาตรา ๑๓๐๔ (๓) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นที่ราชพัสดุ
ตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยมี ปตท. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนรัฐ
และเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยไม่เสียค่าตอบแทนให้รัฐ ส่วนการที่ ปตท. ใช้อำนาจรัฐเหนือที่ดินของเอกชนเพื่อวาง
ระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ซึ่งเป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปเพื่อกิจการของรัฐนั้น ปตท.
กระทำการในฐานะที่เป็นองค์การของรัฐ บังคับแก่อสังหาริมทรัพย์ของเอกชน และจ่ายเงินค่าทดแทนโดยอาศัย
ทรัพย์สินของรัฐ ดังนั้น สิทธิเหนือทรัพย์สินของเอกชนที่เกิดจากการใช้อำนาจของ ปตท. จึงเป็นทรัพยสิทธิ
อันเกี่ยวกับที่ดินที่ก่อตั้งขึ้นด้วยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๑
อันเป็นทรัพยสิทธิของรัฐและเป็นอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อใช้ประโยชน์ของแผ่นดิน
โดยเฉพาะ ตามมาตรา ๑๓๐๔ (๓) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดเป็นที่ราชพัสดุ
ต่อมา เมื่อ ปตท. เปลี่ยนสภาพไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัด คือ บมจ. ปตท. ซึ่งมีสถานะเป็น
นิติบุคคลเอกชนแล้ว บมจ.ปตท. จึงไม่อาจมีอำนาจมหาชนของรัฐ รวมทั้งไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ของ ปตท. ที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแทนรัฐได้ จึงต้องโอน
สาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวกลับไปเป็นของรัฐ ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่แยกสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินดังกล่าวออก และโอนให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนรัฐให้เสร็จสิ้นก่อนจดทะเบียน
จัดตั้งบริษัท ตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒
และปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการมีข้อสังเกต
เสนอต่อคณะรัฐมนตรีว่า หากจะมีการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจัดตั้งเป็นบริษัทแยกออกจากบริษัทจัดซื้อ
และจำหน่ายก๊าซธรรมชาติในลักษณะการแบ่งแยกตามกฎหมาย ตั้งแต่แรกจะทำให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น จึงควรศึกษาแนวทางที่จะแยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติก่อนจะทำการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย มิฉะนั้นอาจจะแยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ยาก หากไม่สามารถแยกบริษัทท่อส่ง
ก๊าซธรรมชาติได้ก่อนการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ก็ให้แยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติภายใน
๑ ปี หลังการขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทรับข้อสังเกตนี้
ไปประกอบการพิจารณา แต่ปรากฏว่า คณะรัฐมนตรีกลับมีมติอนุมัติให้โอนกิจการ อำนาจ สิทธิ รวมทั้งสินทรัพย์
และทุนทั้งหมดของ ปตท. ไปให้ บมจ. ปตท. ทั้งหมด และพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ ก็มิได้มีบทบัญญัติที่เป็นการจำกัดสิทธิ อำนาจ และทรัพย์สินที่ บมจ. ปตท.
ได้มาโดยอำนาจมหาชนของรัฐแต่อย่างใด ต่อมา บมจ.ปตท. มีหนังสือที่ ๕๓๐/๒๐/๖๓ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ถึงปลัดกระทรวงการคลัง เรื่อง ขอยกกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ให้กระทรวงการคลัง เนื้อที่รวมประมาณ ๓๒ ไร่ ซึ่งเป็นการยอมรับว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ดังกล่าวควรโอนให้เป็นของกระทรวงการคลัง ดังนั้น โดยอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะรัฐมนตรีจึงต้องโอนสินทรัพย์ของ ปตท. ที่เป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินประเภททรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ให้กระทรวงการคลัง โดย บมจ.ปตท. ยังคงมีสิทธิ
ในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ ปตท. เคยมีอยู่ต่อไป โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็น
รายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
สำหรับในส่วนของพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม
แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ นั้น ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ได้มีการเปลี่ยนสภาพ ปตท.
ไปเป็น บมจ. ปตท. และได้นำหุ้นของ บมจ. ปตท. เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตั้งแต่วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๔ หากมีการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อให้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ กลับไปเป็นของ ปตท. ดังเดิม ย่อมเป็น
ที่คาดหมายได้ว่า อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ
โดยเฉพาะความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งยังอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนรวมถึงตลาดเงิน และบุคคลภายนอก
ที่มีนิติสัมพันธ์กับ บมจ. ปตท. ทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายตามมาอีกนานัปการด้วย
เมื่อพิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นดังกล่าว ประกอบกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่พยายามแก้ไขปัญหา รวมทั้ง
ฝ่ายนิติบัญญัติโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการตราพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐
ซึ่งมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำกับ
กิจการพลังงาน มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานรวมทั้งกิจการก๊าซธรรมชาติด้วย และการออก
ใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ทั้งเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบการวางระบบโครงข่ายพลังงาน โดยในบทบัญญัติ
มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ และมาตรา ๑๐๖ ได้บัญญัติสาระสำคัญเกี่ยวกับการใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์
ในกิจการพลังงาน และการใช้อำนาจมหาชนของรัฐของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานไว้ และในบทเฉพาะ
กาล ได้บัญญัติให้คณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
เป็นผู้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐแทนคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นการชั่วคราวแล้ว อีกทั้งคำฟ้อง
ในประเด็นการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื้อที่ประมาณ ๓๒ ไร่ ทรัพย์สินและสิทธิการใช้ที่ดิน
ในระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐที่โอนให้แก่
บมจ. ปตท. ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลโดยตรงต่อความไม่ชอบด้วยกฎหมายของ
บทบัญญัติในมาตรา ๔ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.
จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่
ที่จะต้องกระทำ การแก้ไขการกระทำ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น ให้ชอบด้วยกฎหมาย
ดังนั้น เมื่อพิเคราะห์เหตุแห่งการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกา
และบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ รวมทั้งวิธีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จึงไม่จำต้องเพิกถอนบทบัญญัติในมาตรา ๔ วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว อีกทั้งเหตุแห่งความไม่ชอบ
ด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น มิได้มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วย
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า
พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิ
ในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของบมจ.ปตท. ทั้งนี้ ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้ง
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐
ส่วนคำขอตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ที่ขอให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ
และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ
สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลา
ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยพ.ศ. ๒๕๔๔ นั้น ให้ยก
สำนักงานศาลปกครอง
วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๐
กลุ่มสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
๑๙๕ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้นที่ ๓๑ ถ.สาทรใต้ เขตสาทร กทม. ๑๐๑๒๐ โทร. ๐ ๒๖๗๐ ๑๒๐๐ — ๖๓ ต่อ ๑๐๐๒,๑๐๐๔ โทรสาร ๐ ๒๒๘๖ ๐๒๐๒
๑๙๕ Empire Tower ๓๑rd Floor Sathon Tai, Bangkok ๑๐๑๒๐ Tel. ๐ ๒๖๗๐ ๑๒๐๐ - ๖๓ Ext. ๑๐๐๒,๑๐๐๔ Fax ๐ ๒๒๘๖ ๐๒๐๒
www.admincourt.go.th\