คำวินิจฉัยยุบพรรคพัฒนาชาติไทย-พรรคเพื่อแผ่นดิน-ไทยรักไทย

ข่าวการเมือง Thursday May 31, 2007 14:41 —ข้อมูลหน่วยงานราชการ

          คำวินิจฉัยที่ ๓ - ๕ / ๒๕๕๐
เรื่องพิจารณาที่ ๒๐/๒๕๔๙
เรื่องพิจารณาที่ ๒๑/๒๕๔๙
เรื่องพิจารณาที่ ๒๒/๒๕๔๙
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
อัยการสูงสุด ผู้ร้อง
ระหว่าง
พรรคพัฒนาชาติไทย ผู้ถูกร้อง
เรื่อง อัยการสูงสุดขอให้มีคำสั่งยุบพรรคพัฒนาชาติไทย
อัยการสูงสุด ผู้ร้อง
ระหว่าง
พรรคแผ่นดินไทย ผู้ถูกร้อง
เรื่อง อัยการสูงสุดขอให้มีคำสั่งยุบพรรคแผ่นดินไทย
อัยการสูงสุด ผู้ร้อง
ระหว่าง
พรรคไทยรักไทย ผู้ถูกร้อง
เรื่อง อัยการสูงสุดขอให้มีคำสั่งยุบพรรคไทยรักไทย
อัยการสูงสุดยื่นคำร้องรวมสามคำร้อง ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย เนื่องจากปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๖ (๒) และ (๓) พรรคไทยรักไทยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๖(๑) และ (๓) นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงแจ้งต่ออัยการสูงสุดพร้อมด้วยหลักฐานตามหนังสือที่ ลต(ทบพ) ๑๔๐๑/๘๙๙๙ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๙ หนังสือที่ ลต (ทบพ) ๐๔๐๑/๙๐๐๐ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๙ และหนังสือที่ ลต (ทบพ) ๐๔๐๑/๙๗๑๙ ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ ตามลำดับ อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองทั้งสามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง และศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับรับคำร้องทั้งสามไว้พิจารณาวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙ คดีอยู่ในระหว่างที่พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทยทำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ และภายหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ โดยมาตรา ๓๕ บัญญัติให้บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือเมื่อมีปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และให้บรรดาอรรถคดีหรือการใดที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญก่อนวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ต่อมา พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทยยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๙ และวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ตามลำดับ
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ให้รวมการพิจารณาคำร้องทั้งสามเข้าด้วยกัน เนื่องจากมีข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกัน โดยให้เรียกอัยการสูงสุดว่า ผู้ร้อง และให้เรียกพรรคไทยรักไทยว่า ผู้ถูกร้องที่ ๑ พรรคพัฒนาชาติไทยว่า ผู้ถูกร้องที่ ๒ และพรรคแผ่นดินไทยว่าผู้ถูกร้องที่ ๓
คำร้องที่หนึ่ง ผู้ร้องยื่นคำร้อง ฉบับลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2549 และคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำร้อง ฉบับลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 สรุปความได้ว่า
พรรคพัฒนาชาติไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2546 และมีคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 19 คน โดยมีนายบุญทวี อมรสิทธุ์ เป็นหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกทั่วไป ในวันที่ 2 เมายน 2549 และวันที่ 1 มีนาคม 2549 ประธานกรรมการการเลือกตั้งได้ออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทยราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2549 โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร์ไทย พุทธศักราช 2540 มาตร 109(4)กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตร 74 กำหนดหลักเกณฑ์การนับคะแนนและการประกาศผลว่า ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครรับเลือกตั้งแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียวและได้คะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ให้ประกาศให้ผู้นั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งแต่ในกรณีที่ได้คะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตนั้น
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2549 พลตำรวจเอก วาสนา เพิ่มลาภ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองมีหนังสือพร้อมหลักฐานเพื่อขอให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญยัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 เนื่องจากนายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีประมหากษัตริย์เป้นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และกระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียกร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันเป้นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตร 66(2)และ(3).
ข้อเท็จจริงจากหลักฐานที่นายทะเบียนพรรคการเมืองส่งมาได้ความว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ร้องเรียนต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า มีการทุจริตในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ว่าจ้างสนับสนุนให้พรรคการเมืองอื่นจัดหาผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อลงสมัครแข่งขันกับกับผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 1 ในเขตเลือกตั้งที่เคยมีพรรคฝ่ายค้านลงสมัคร จะได้ไม่ต้องเกิดปัญหาในกรณีที่ผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น การจัดส่งคนลงสมัครโดยพรรคการเมืองต่างๆ ตามคำบงการหรือคำสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูงของผู้ถูกร้องที่ 1 ในหลายสิบเขตเลือกตั้ง ได้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด มีการปลอมแปลงเอกสาร การทำทะเบียนสมาชิกพรรคย้อนหลัง การเข้าไปแก้ไขทะเบียนในฐานข้อมูลของคณะกกรมการการเลือกตั้ง การกระทำของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ที่สมคบกับพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ประธานกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 156/2549 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2549 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง และคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 167/2549 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2549 แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง(เพิ่มเติม)โดยคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงได้ดำเนินการและรายงานผลการสืบสวนสอบสวนต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว
นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นพ้องด้วย โดยเชื่อว่า การกระทำของนายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนผู้ถูกร้องที่ 2 ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตร 66(2) และ (3) และให้แจ้งต่อผู้ร้องพร้อมด้วยหลักฐานเพื่อดำเนินการตามมาตร 67 ต่อไป
ผู้ร้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่นายทะเบียนพรรคการเมืองส่งมาแล้ว เห็นว่านายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นผู้แทนของผู้ถูกร้องที่ 2 ได้ร่วมกับกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ 2 ในฐานข้อมูลของนายทะเบียนพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 อันเป็นเท็จ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็น
เวลาติดต่อกันไม่ถึงเก้าสิบวัน อันเป็นการกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๐๗ (๔) ประกอบพระราชบัญญัติประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๗๔ และมาตรา ๑๐๐ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ มาตรา ๘๖ มาตรา ๑๓๗ และมาตรา ๒๖๗ ย่อมแสดงว่าผู้ถูกร้องที่ ๒ กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และกระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๖ (๒) และ (๓) ผู้ร้องเห็นสมควรยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๗
ผู้ร้องจึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๐๗มาตรา ๑๓๖ มาตรา ๑๔๔ มาตรา ๑๔๕ มาตรา ๓๒๗ และมาตรา ๓๒๘ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๖ (๒) และ (๓) และมาตรา ๖๗ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๗๔ และมาตรา ๑๐๐ ขอให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒
ต่อมา ผู้ร้องยื่นคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องสรุปได้ว่า เนื่องจากได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ เกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกสั่งให้ยุบพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปี ผู้ร้องจึงขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องขอให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ มีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ข้อ ๓ ด้วย
ผู้ถูกร้องที่ ๒ ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ฉบับลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ และคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ฉบับลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๙ สรุปคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ดังนี้
คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในประเด็นข้อกฎหมาย ผู้ถูกร้องที่ ๒ ชี้แจงว่า
(๑) การสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๙ วรรคสอง เนื่องจากไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกร้องที่ ๒ มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐาน รวมทั้งให้โอกาสมาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบกับการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ปรากฏว่า ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาวินิจฉัยทุกคน จึงมีผลให้ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ ได้
(๒) ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ตามคำร้อง ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ ๒ เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ ๒ ไม่เคยมอบอำนาจให้กับบุคคลใด ไปดำเนินการตามที่ถูกกล่าวหา จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ ๒ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐
คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในประเด็นข้อเท็จจริง ผู้ถูกร้องที่ ๒ ชี้แจงว่า ผู้ถูกร้องที่ ๒ โดยนายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรคไม่ได้กระทำความผิดตามที่ผู้ร้องกล่าวหา และนายบุญทวีศักดิ์ไม่เคยรู้จักกับนายอมรวิทย์ สุวรรณผา เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาก่อน อีกทั้งไม่เคยเสนอเงินหรือสิ่งของเพื่อให้เปลี่ยนแปลงข้อมูลรายชื่อสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ ๒ ตามที่คำร้องกล่าวหาเนื่องจากวันและเวลาที่ผู้ร้องกล่าวหานั้น นายบุญทวีศักดิ์เกี่ยวข้องในการกระทำตามที่กล่าวหา ส่วนกรณีการรับเงินจากกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ นั้น นายบุญทวีศักดิ์ไม่เคยรู้จักและไม่เคยรับเงินจากบุคคลตามที่ผู้ร้องกล่าวหา
ผู้ถูกร้องที่ ๒ ขอให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญยกคำร้องของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ และคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
คำร้องที่สอง ผู้ร้องยื่นคำร้อง ฉบับลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ และคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำร้อง ฉบับลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ สรุปความได้ว่า
พรรคแผ่นดินไทย ผู้ถูกร้องที่ ๓ เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๕ และมีคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน ๓ คน โดยมีนายบุญาบารมีภณหรือบุญอิทธิพล ชิณราช เป็นหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๙ พลตำรวจเอก วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน
กรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองมีหนังสือพร้อมหลักฐานเพื่อขอให้ผู้ร้องพิจาณณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 เนื่องจากนายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และกระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 (2) และ (3)
ข้อเท็จจริง จากหลักฐานที่นายทะเบียนพรรคการเมืองส่งมาได้ความว่า เมื่อวันที 20 มีนาคม 2549 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ร้องเรียนว่า มีการทุจริตในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ว่าจ้างสนับสนุนให้พรรคการเมืองอื่นแยกย้ายกันไปจัดหาผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อลงสมัครแข่งขันกับผู้ถูกร้องที่ 1 ในเขตเลือกตั้งที่เคยมีพรรคฝ่ายค้านลงสมัคร จะได้ไม่ต้องเกิดปัญหาในกรณีที่ผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น การจัดส่งคนลงสมัครโดยพรรคการเมืองต่างๆ ตามคำบงการหรือคำสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูงของผู้ถูกร้องที่ 1 ในหลายสิบเขตเลือกตั้งได้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด มีการปลอมแปลงเอกสาร การทำทะเบียนสมาชิกพรรคย้อนหลัง การเข้าไปแก้ไขทะเบียนในฐานข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การกระทำของผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ที่สมคบกับพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ประธานกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 156/2549 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2549 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง และคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 167/2549 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2549 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง (เพิ่มเติม) โดยคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงได้ดำเนินการและรายงานผลการสืบสวนสอบสวนต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว
นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นพ้องด้วย โดยเชื่อว่า การกระทำของนายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ที่ออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการสมัครรับเลือกตั้งได้กระทำในฐานะตัวแทนพรรคผู้ถูกร้องที่ ๓ ซึ่งเป็นความผิดฐานสนับสนุนผู้สมัครให้กระทำความผิดฐานสมัครรับเลือกตั้งโดยรู้ว่าตนเองไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑00 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๖ และเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗ และมาตรา ๒๖๗ นั้น เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๖(๒)และ(๓) จึงแจ้งเรื่องและส่งพยานหลักฐานพร้อมสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้รองดำเนินการตามมาตรา ๖๗ ต่อไป
ผู้ร้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากหลักฐานที่นายทะเบียนพรรคการเมืองส่งมาแล้ว เห็นว่า การกระทำของนายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ ๓ เป็นผู้แทนของผู้ถูกร้องที่ ๓ และนางฐัติมา ภาวะลี ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๒ ได้ดำเนินการรับเงินสนับสนุนจากพลเอก ไตรรงค์ อินทรทัต หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นนายทหารผู้ใต้บังคับบัญชาของพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อช่วยผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ ๑ หลีกเลี่ยงกรณีที่ได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบางเขตเลือกตั้ง และนายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ ๓ และนางฐัติมาร่วมกันจัดทำรายงานการประชุมเพื่อรับสมัครและออกหนังสือรับรองสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ ๓ ประเภทกิตติมศักดิ์อันเป็นความเท็จเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบหนังสือรับรองคุณสมบัติเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ ๓ ติดต่อกันเกินกว่าเก้าสิบวัน ทั้งนี้ เพื่อช่วยผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ ๑ หลีกเลี่ยงกรณีที่ได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๗๔ ย่อมแสดงว่า ผู้ถูกร้องที่ ๓ กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และกระทำการอ้นอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(2) และ (3) ผู้ร้องเห็นสมควรยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67
ผู้ร้องจึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 มาตรา 136 มาตรา 144 มาตรา 145 มาตรา 327 และมาตรา 328 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 (2)และ (3) และมาตรา 67 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 74 และมาตรา 100 ขอให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 3
ต่อมา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้อง สรุปได้ว่า เนื่องจากได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 เกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกสั่งให้ยุบพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปี ผู้ร้องจึงขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 มีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 ข้อ 3 ด้วย
ผู้ถูกร้องที่ 3 ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2549 และคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ฉบับลงวันที่ 12 ธันวาคม 2549 สรุปคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ดังนี้
คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในประเด็นข้อกฎหมาย ผู้ถูกร้องที่ 3 ชี้แจงว่า
(1) การที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเพิกถอนการเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว ผู้ร้องไม่อาจนำเหตุที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวมาขอให้มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองได้ เนื่องจากมูลคดีที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดของพรรคการเมืองที่ฝ่าฝืนกฎหมายและถูกดำเนินคดี สิ้นไปแล้ว ควรยกคำร้องนี้
(2) ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ตามคำร้อง ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 3 เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ 3 ไม่เคยมอบอำนาจให้แก่บุคคลใดไปดำเนินการตามที่ถูกกล่าวหา จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 3 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541
มาตรา 19 และมาตรา 20 ที่ว่า ต้องกระทำโดยนิติบุคคล โดยคณะกรรมการบริหารพรรค หรือหัวหน้าพรรคมอบหมายให้ทำการแทน ซึ่งการกระทำที่เป็นความผิดลงโทษพรรคการเมืองได้นั้นผู้กระทำต้องเป็นกรรมการบริหารของพรรค แต่นางฐัติมาและนายพันธมิตร ดวงทิพย์ ที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ไปรับเงินจากผู้บริหารระดับสูงของผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 จึงไม่มีอำนาจกระทำการใดแทนพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 20 แต่เป็นพฤติกรรมที่เป็นการกระทำเฉพาะกลุ่ม ซึ่งผู้ถูกร้องที่ 3 ไม่มีส่วนรับรู้ ไม่ได้เกี่ยวข้อง ไม่ได้มอบหมาย และไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกร้องที่ 3
คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในประเด็นข้อเท้จจริง ผู้ถูกร้องที่ 3 ชี้แจงว่า
(1) ประเด็นเรื่องการที่ผู้ถูกร้องที่ 3 โดยนายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรค นางฐัติมาและนายพันธมิตร เจ้าหน้าที่พรรคผู้ถูกร้องที่ 3 รับเงินสนับสนุนจากกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 นั้น ผู้ถูกร้องที่ 3 ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 ในการเลือกตั้งคราวนี้ โดยส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 121 คน และแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 126 คน ซึ่งอาศัยงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองตามแผนงานโครงการ ประจำปี 2549 จำนวนเงิน 1,360,140 บาท เป็นไปตามมติการประชุม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2549 โดยประธานที่ประชุมนำเสนอให้ผู้ถูกร้องที่ 3 นำเงินที่ได้รับจากกองทุนเพื่อการพัฒนาทางการเมืองในการสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 10 คน เป็นผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 5 คน ส่วนผู้สมัครที่เป็นสมาชิกคนอื่น อีกจำนวน 116 คน ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามที่กฎหมายกำหนด ให้รับผิดชอบด้วยตนเอง โดยร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 3 ซึ่งมีนายพันธมิตรเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 3 และเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 นำเงินส่วนตัวมาช่วยสนับสนุนโดยนายพันธมิตรกู้ยืมเงินจากนางวริศริยา งามเกิดศิริ จำนวน 600,000 บาท และต่อมาผู้ถูกร้องที่ 2 ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ประจำปี 2549 จำนวน 1,360,140 บาท เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549 ซึ่งผู้ถูกร้องที่ 3 โดยกรรมการบริหารพรรคนำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายตามแผนงานโครงการประจำปี 2549 แล้ว เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2549 กังนั้น การที่คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงมีความเห็นว่าผู้ถูกร้องที่ 3 รับเงินสนับสนุนจากผู้ถูกร้องที่ 1 รวม 3 ครั้ง เป็นเงินจำนวน 3,675,000 บาทนั้น ผุถูกร้องที่ 3 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ได้มอบหมาย แต่เป็นการกระทำของนางฐัติมาและนายพันธมิตรซึ่งไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค และผู้ถูกร้องที่ 3 ไม่ได้รับประโยชน์จากการกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าว หากผู้ถูกร้องที่ 3 รับเงินสนับสนุนจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขการบริจาคเงินให้แก่พรรค ส่วนที่ว่า มีผู้สมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 3 บางคน เช่น นายอุทัย นามวงศ์ ให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า รับเงินค่าสมัครและค่าใช้จ่ายจากผู้ถูกร้องที่ 3 นั้นรับฟังไม่ได้ เรื่องจากนายอุทัยเป็นเครือข่ายของพรรคประชาธิปัตย์ในการสร้างสถานการณ์เพื่อล้มการเลือกตั้ง ประกอบกับนายอุทัยเป็นบุคคลมีความรู้ถึงระดับปริญญาเอกจากต่างประเทศข้อกล่าวหาของผู้ร้องเป็นเพียงการเชื่อมความผิดให้ไปถึงผู้ร้องที่ 1 เพื่อจะให้ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 มาตรา 267 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 100 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107(4)เท่านั้น นอกจากนี้ที่นางฐัติมาให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ร่วมประชุมการให้สัตยาบันร่วมกับพรรคการเมืองอีก 15 พรรคและเล่าให้ฟังว่า พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จะช่วยค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครของพรรคการเมืองหรือผู้แทนของพรรคการเมืองร่วมกัน นอกจากพรรคการเมืองแล้วยังมีผู้สื่อข่าวเข้าร่วมจำนวนมากหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ได้กล่าวในที่ประชุมถึงเรื่องงบประมาณที่จะช่วยสนับสนุนในการเลือกตั้งแต่อย่างใด
(2)ประเด็นเรื่องที่นายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการสมัครรับเลือกตั้ง นั้น ตามข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 มี 3 ประเภทได้แก่ (1)สมาชิกตามข้อบังคับพรรค ข้อ 10 คือ สมาชิกสามัญ ได้แก่ บุคคลที่ยื่นใบสมัครตาม
ข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคมีมติอนุมัติเป็นสมาชิกพรรคได้(2) สมาชิกตามข้อบังคับพรรค ข้อ 11 คือ สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ สมาชิกที่เป็นผู้ก่อตั้งพรรค และบุคคลซึ่งพรรคเลือกมาเป็นสมาชิก หมายถึงสมาชิกที่ปรับแทนตำแหน่งที่มีอยู่ จึงไม่เป้นสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียงปรับเข้าและออก(3) สมาชิกตามข้อบังคับพรรคข้อ 12 คือ สมาชิกสมทบ ได้แก่ บุคคลที่ยื่นใบสมัคร และคณะกรรมการบริหารพรรคมีมติอนุมัติให้เป็นสมาชิกสมทบได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบำรุงผู้ถูกร้องที่ 3 ยืนยันว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีราชชื่อจำนวน 5 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 121 คน รวม 126 คนนั้น มีคุณสมบัติเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตร 107(4)ทุกคน โดยผู้ถูกร้องที่ 3 ได้รับเป็นสมาชิกในคราวประชุมพรรค ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ซึ่งเป็นการประชุมรับสมัครปรับปรุงสมาชิกกิตติมศักดิ์ จำนวน 191 คน และในการประชุมพรรค ครั้งที่ 8/2547 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2547 จำนวน 25 คน ซึ่งผู้ถูกร้องที่ 3 มีใบสมัครสมาชิกของผู้สมัครรับเลือกตั้งดังกล่าวเป็นผลักฐาน แต่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 นั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 3 มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเพียง 10 คน แบบบัญชีรายชื่อจำนวน 5 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 5คน ส่วนผู้สมัครับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งอีก 116 คน คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ประกาศรายชื่อให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งเห็นว่า ผู้สมัครดังกล่าวไม่ได้เป็นสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ 3 เพราะไม่มีรายชื่อปรากฎในรายงานสมาชิกเพิ่มหรือลด ในรอบปี 2548(แบบ ท.พ. 6 และ ท.พ.7)ของผู้ถูกร้องที่ 3 ซึ่งในรายงานดังกล่าวผู้ถูกร้องที่ 3 รายงานเพียงว่า เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ผู้ถูกร้องที่ 3 มีสมาชิกจำนวน 29,975 คน ในรอบปีที่ผ่านมาคือ ปี 2548 ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2548 ของผู้ถูกร้องที่ 3 เนื่องจากสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ 3 ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 126 คน เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ที่เป็นการปรับคนใหม่เข้ามาแทนคนเก่าที่ต้องปรับออกไปผู้ถูกร้องที่ 3 จึงไม่ได้แจ้งรายชื่อสมาชิกที่ลงสมัครรับเลือกตั้งดังกล่าวเป็นสมาชิกเพิ่มหรือลดในรอบปีซึ่งเป้นการดำเนินการตามข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ข้อ 35 ในฐานะข้อมูลคณะกรรมการ
การเลือกตั้งจึงไม่มีรายชื่อบุคคลดังกล่าว ผู้ถูกร้องที่ ๓ เพียงแต่จัดทำทะเบียนสมาชิกพรรคไว้ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๓๔ กำหนดไว้ และผู้ถูกร้องที่ ๓ ก็เคยดำเนินการเช่นเดียวกันมาแล้วในการเลือกตั้งในคราววันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ดังนั้น การออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องที่ ๓ โดยนายบุญาบารมีภณเพื่อให้ผู้สมัครนำไปใช้เป็นหลักฐานในการสมัครรับเลือกตั้ง จึงกระทำไปด้วยความมถูกต้องและเป็นจริง
ผู้ถูกร้องที่ ๓ ขอให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญยกคำร้องของผู้ร้อง ฉบับลงในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ และคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
คำร้องที่สาม ผู้ร้องยื่นคำร้อง ฉบับลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ และคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำร้อง ฉบับลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ สรุปความได้ว่า
พรรคไทยรักไทย ผู้ถูกร้องที่ ๑ เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๑ และมีคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน ๑๑๑ คน โดยมีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๓๕๔๙ พลตำรวจเอก วาสนา เพิ่มลาภ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองมีหนังสือพร้อมหลักฐานเพื่อขอให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๗ เนื่องจากพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล กรรมการบริหารพรรคระดับสูงของผู้ถูกร้องที่ ๑ และในฐานะผู้แทนผู้ถูกร้องที่ ๑ กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกระทำการอันอาจเป็นนภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๖(๑) และ (๓)
ข้อเท็จจริงจากหลักฐานที่นายทะเบียนพรรคการเมืองส่งมาได้ความว่า เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ร้องเรียนต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า มีการสมคบระหว่างผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ เจ้าหน้าที่พรรคการเมืองอื่น และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปลี่ยนแปลงข้อมูลทะเบียนสมาชิกพรรค โดยว่าจ้างพรรคเล็กให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ แข่งขันกับผู้สมัครของพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๗๔ ซึ่งประธานกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งที่ ๑๕๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง และคำสั่งที่ ๑๖๗/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๙ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง (เพิ่มเติม) ซึ่งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงได้ดำเนินการและรายงานผลการสืบสวนสอบสวนต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว
นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาข้อเท็จจริง พยายหลักฐานและพฤติการณ์ประกอบความเห็นของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเห็นพ้องด้วย โดยเชื่อว่า การกระทำของพลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์เป็นการกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของผู้ถูกร้องที่ ๑ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๖(๑) และ (๓) จึงได้ส่งพยานหลักฐานพร้อมสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๗ ต่อไป
ผู้ร้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากหลักฐานที่นายทะเบียนพรรคการเมืองส่งมาแล้ว เห็นว่าเมื่อระหว่างวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นวันเวลาที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ มีผลใช้บังคับ ปรากฏข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานว่า
กรณีผู้ถูกร้องที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ พันตำรวจโท ทักษิณ หัวหน้าพรรค ผู้ถูกร้องที่ ๑ ได้แจ้งต่อนายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ ๓ ว่า จะช่วยค่าใช้จ่ายในการลงสมัครทุกพรรค พรรคละประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยดูจากยอดจำนวนการส่งผู้สมัครมากน้อยเป็นสำคัญ ต่อมาวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๙ พลเอก ไตรรงค์ อินทรทัต หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งในขณะนั้นคือ พลเอก ธรรมรักษ์ และพลโท ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและเป็นนายทหารคนสนิทของพลเอก ธรรมรักษ์ได้มอบเงินค่าใช้จ่าย จำนวน 1,450,000 บาท ให้แก่ นางฐัติมา ภาวะลี สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และเป็นผู้ประสานงานของผู้ถูกร้องที่ 3 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งลงแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ลงสมัครเพียงคนเดียวแล้วได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น ต่อมาระหว่างวันที่ 5 ถึง 7 มีนาคม 2549 พลโท ผดุงศักดิ์มอบเงิน จำนวน 1,700,000 บาท ให้แก่นางฐัติมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 3 ในเขตจังหวัดภาคใต้เพิ่มเติมอีก 17 คน และในวันที่ 9 มีนาคม 2549 พลโท ผดุงศักดิ์มอบเงิน จำนวน 525,000 บาท ให้แก่นางฐัติมาอีกเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้รับเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 3 รวมเงินที่นางฐัติมาได้รับจากพลเอก ไตรรงค์และพลโทผดุงศักดิ์ ทั้ง 3 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 3,675,000 บาท
กรณีผู้ถูกร้องที่ 2 พลเอก ธรรมรักษ์ รองหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายพงษ์ศักดิ์ รองเลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งบุคคลทั้งสองเป็นกรรมการบริหารพรรคระดับสูงของผู้ถูกร้องที่ 1 ร่วมกันให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ถูกร้องที่ 2 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ลงสมัครเพียงคนเดียวแล้วได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น โดยมีนายทวี สุวรรณพัฒน์ นายพงษ์ศรีหรือยุทธพงษ์ ศิวาโมข์ และนายธีรชัยหรือต้อย จุลพัฒน์ คนสนิทของพลเอก ธรรมรักษ์เป็นตัวแทนติดต่อมอบเงินให้นายชวการ โตสวัสดิ์ สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หลายครั้ง โดยเริ่มติดต่อที่ที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อให้ตัดต่อข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 กรณีที่ผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบเก้าสิบวัน และมอบเงินค่าใช้จ่ายให้สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ไปสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันกับผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 1 ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 1 ลงสมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียว เพื่อหลีกเลี่ยงการไม่ประกาศผลการเลือกตั้งกรณีได้คะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบของผู้มีสิทธิออกเสียงในเขตนั้น โดยพลเอกธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ ร่วมกับนายทวี นายพงษ์ศรี และนายธีรชัย มอบเงิน จำนวน 50,000 บาทให้แก่นายชวการที่กระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 เพื่อนำเงินจำนวนดังกล่าวไปให้นายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นค่าใช้จ่ายในการนำสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ต่อมาวันที่ 6 มีนาคม 2549 นายทวีซึ่งเป็นคนสนิทของพลเอก ธรรมรักษ์ นำเงินไปให้นายชวการนับใส่ซอง ซองละ 20,000 บาท และมอบให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ จำนวน 33 ซอง ที่เหลือแบ่งกันให้ผู้ร่วมงาน และต่อมาวันที่ 8 มีนาคม 2549 นายทวีมอบเงิน จำนวน 140,000 บาท ให้แก่นายชวการเพื่อนำไปให้นายสุขสันต์ ชัยเทศ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 2 นำไปเป็นค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องที่ 2 จำนวน 7 คน โดยมีหลักฐานการส่งสำเนาใบเสร็จรับเงินและหนังสือรับรองการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้นายชวการนำไปรับเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากพลเอกธรรมรักษ์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ แต่ปรากฏว่า นายชวการและนายสุขสันต์ไม่ได้รับเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจึงไปแจ้งข้อมูลแก่นายสุเทพผู้ร้องเรียนในกรณีนี้ และในช่วงวันที่ 6 และ 7 มีนาคม 2549 หลังจากที่นายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ได้รับเงินตามที่ได้กล่าวแล้ว นายบุญทวีศักดิ์ นายสุขสันต์ และนายอมรวิทย์ สุวรรณผา เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ร่วมกันตัดต่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ 2 ที่ไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่ครบเก้าสิบวันตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายชื่อสมาชิกใช้เลขที่และวันรับสมัครของสมาชิกพรรคคนเดิม แล้วนำชื่อและชื่อสกุลของสมาชิกคนใหม่ ใส่แทนชื่อและชื่อสกุลสมาชิกคนเดิมที่เรียกว่า การตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 61 คน และในจำนวนนี้มี 21 คน ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามของผู้ถูกร้องที่ 2 ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่นายอมรวิทย์และผู้ร่วมกระทำผิดทุกคนแล้ว
ผู้ร้องเห็นว่า การกระทำของพลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 กระทำการเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกร้องที่ 1 โดยร่วมกันให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ลงแข่งขันกับผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อหลีกเลี่ยงการที่จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น และร่วมกันสนับสนุนให้มีการตัดต่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลการเป็นสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เป็นสมาชิกพรรคไม่ครบเก้าสิบวัน อันเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนให้มีการปลอมเอกสาร การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพระราชบัญญัติประกอบธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(1) และ (3) ผู้ร้องเห็นสมควรยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67
ผู้ร้องจึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 มาตรา 136 มาตรา 144 มาตรา 145 มาตรา 327 และมาตรา 328 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(1) และ (3) และมาตรา 67 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 74 และมาตรา 100 ขอให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1
ต่อมา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้อง สรุปได้ว่า เนื่องจากได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 เกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกสั่งให้ยุบพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปี ผู้ร้องจึงขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 มีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 ข้อ 3 ด้วย
ผู้ถูกร้องที่ 1 ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ฉบับลงวันที่ 19 กันยายน 2549 และคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ฉบับลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 และวันที่ 26 ธันวาคม 2549 สรุปคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ดังนี้
คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในประเด็นข้อกฎหมาย ผู้ถูกร้องที่ 1 ชี้แจงว่า
(1) คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีผู้ถูกร้องที่ 1 เนื่องจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขยึดอำนาจการปกครองประเทศ และออกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง อำนาจหน้าที่และภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญจึงย่อมสิ้นสุดลงไปด้วยอัตโนมัติ บรรดาอรรถคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญย่อมยุติลงไปด้วยเช่นกัน แม้ภายหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห้งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2547 และมาตรา 35 วรรคสี่ บัญญัติให้โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนุญ ก็ไม่มีผลให้อรรถคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญและยุติลงไปแล้ว กลับมาอยู่ในอำนาจพิจารณาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำร้องของผู้ร้อง การถ่ายโอนอรรถคดีและอำนาจดังกล่าวไม่มีความถูกต้องชอบธรรม ลิดรอนสิทธิของผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรมและมีลักษณะเลือกปฏิบัติเป็นการตั้งองค์กรซึ่งมิใช่ศาลขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งหรือมีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่เป็นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ว่าการจัดตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งหรือมีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลธรรมดาที่มีอยู่ตามกฎหมายสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นจะกระทำมิได้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงไม่มีความชอบธรรมและไม่มีอำนาจพิจารณาคดีของผู้ถูกร้องที่ 1 นอกจากนี้ ในการพิจารณาวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญฐึ่งเป็งองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ แต่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มิได้บัญญัติให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตุลาการ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะขัดกับหลักนิติรัฐอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในอารยประเทศ ในการพิจารณาพิพากษาคดีอรรถคดี ศาลต้องกระทำในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ และผู้พิพากษาหรือตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งเป็นปลักประกันแก่ผู้มีอรรถคดีทั้งปวงว่าจะได้รับความเป็นธรรม ไม่มีผู้ใดมาสั่งหรือชี้นำผู้พิพากษาหรือตุลาการได้ แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ไม่ได้บัญญัติให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญกระทำในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ และไม่ได้รับรองให้ตุลาการรัฐธรรมนูญมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ประกอบกับในอดีตที่ผ่านมาไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดกำหนดให้องค์กรอื่นที่ไม่ใช่ศาลมีหรือใช้อำนาจตุลาการ โดยเฉพาะอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ขอให้ยุบเลิกพรรคการเมืองเป็นอำนาจของศาลซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการมาโดยตลอด โดยจะเห็นได้จากพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 มาตรา 48 ที่ให้ศาลฎีกาพิจารณาและมีคำสั่งที่อธิบดีกรมอัยการขอให้ยุบเลิกพรรคการเมือง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาและมีคำสั่งกรณีที่อัยการสูงสุดขอให้ยุบพรรคการเมือง ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 39 ที่กำหนดให้คณะตุลาการัฐธรรมนูญมีและใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญนี้ จึงเป็นการกำหนดอำนาจและถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ที่ขัดต่อหลักนิติรัฐอีกทั้งยังเป็นการขัดต่อหลักการปกครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่านมา และขัดต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) การร้องเรียนของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ชอบด้วยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ข้อ 3 เนื่องจากนายสุเทพซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ไม่เป็นผู้เสียหายตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้วว่าด้วยการสืบสวนสอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ข้อ 3 เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ส่งผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้ง และนายสุเทพไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าว นายทะเบียนพรรคการเมือง จึงไม่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนคำร้องเรียนของนายสุเทพได้
(3) การสืบสวนสอบสวนของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ไม่ชอบด้วยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ข้อ 40 และการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 19 วรรคสอง และวรรคสาม เนื่องจากการสืบสวนสอบสวนของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนของนายสุเทพ ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม เป็นประธาน ไม่เคยแจ้งข้อกล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือแม้แต่แจ้งพลเอก ธรรมรักษ์หรือนายพงษ์ศักดิ์ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐาน ทั้งที่ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ข้อ 40 วรรคหนึ่ง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 10 (6) (7) และมาตรา 19 กำหนดให้เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนเรียกผู้ถูกร้องเรียนมาเพื่อแจ้งและอธิบายข้อร้องเรียน พร้อมทั้งแจ้งสิทธิที่จะถึงมีตามกฎหมายให้ผู้ถูกร้องเรียนทราบ โดยการแจ้งผู้ถูกร้องเรียนดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือ แต่ประธานคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงรับฟังเฉพาะพยานหลักฐานที่พรรคประชาธิปัตย์จัดทำและนำไปมอบให้ฝ่ายเดียว แล้วสรุปความเห็นเสนอประธานกรรมการการเลือกตั้งนอกจากนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้ให้โอกาสพันตำรวจโท ทักษิณ ในฐานะหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 20 มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐาน รวมทั้งไม่ให้โอกาส ผู้ถูกร้องที่ 1 มาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทั้งที่ประธานคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเคยให้ความเห็นต่อประธานกรรมการการเลือกตั้งปรากฏตามบันทึกข้อความ ฉบับลงวันที่ 25 เมษายน 2549 ว่า ต้องให้โอกาสผู้ถูกร้องที่ 1 มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐาน รวมทั้งต้องให้โอกาสผู้ถูกร้องที่ 1 ไปให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 19 ส่วนที่พลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ไปให้ถ้อยคำแล้วนั้น บุคคลทั้งสองไม่ใช่หัวหน้าพรรค ไม่ได้เป็นผู้แทนของพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และที่บุคคลทั้งสองไปให้ถ้อยคำเนื่องจากได้รับเชิญไปในฐานะพยานไม่ใช่ในฐานะผู้แทนของผู้ถูกร้องที่ 1 กรณีนี้จึงถือไม่ได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ให้โอกาสผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 19 วรรคสองแล้ว และการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนของพันตำรวจโท ทักษิณ หัวหน้าพรรค ผู้ถูกร้องที่ 1 ก็ไม่ถือว่าเป็นการให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 19 วรรคสอง ส่วนที่ผู้ร้องอ้างข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2546 ข้อ 14 และข้อ 19 ว่าผู้ถูกร้องที่ 1 มีสิทธิยื่นคำชี้แจงภายในสิบห้าวันต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ และมีสิทธิอ้างบุคคลหรือหลักฐานอื่นเป็นพยานหลักฐานรวมทั้งมีสิทธิตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องได้นั้น ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นคนละเรื่องและคนละขั้นตอนกับการที่ต้องดำเนินการในชั้นสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งพ.ศ.2541 มาตรา 19 วรรคสอง นอกจากนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องเรียนเป็นหนังสือลงลายมือชื่อกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาวินิจฉัยทุกคน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งพ.ศ.2541 มาตรา 19 วรรคสาม แม้ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 จะใช้คำว่า "เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน" แต่ที่จะปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองตามมาตรา 67 ได้นั้น ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีมติว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 66 เสียก่อน เพราะคำว่า "เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน" มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาวินิจฉัยได้เองเมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดให้ถูกต้องครบถ้วนนายทะเบียนพรรคการเมืองจึงไม่มีอำนาจแจ้งเรื่องให้ผู้ร้องดำเนินการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชญัตติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ได้ และผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องเพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ได้ และผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องเพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้
(4) การที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 เป็นอันสิ้นสุดลง มีผลให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 สิ้นผลใช้บังคับไปด้วย เนื่องจากเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง ส่งผลให้บรรดากฎหมายประกอบรัฐธรรมนุญทุกฉบับซึ่งรวมถึงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 พระราชบัญญํติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ.2541 เป็นอันสิ้นสุดลงด้วย ซึ่งต่อมาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขชี้แจงว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับถูกยกเลิกทั้งหมดทั้งนี้ ตามคำชี้แจงของสำนักเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับลงวันที่ 24 กันยายน 2548 เมื่อการกระทำที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ถูกกล่าวหาและนำมาเป็นประมุข ฉบับลงวันที่ 24 กันยายน 2549 เมื่อการกระทำที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ถูกกล่าวหาและนำมาเป็นคำร้องขอให้ยุบพรรคที่ผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นกระทำที่อาศัยเหตุอันเกิดจากการกระทำตามพระราชบัตติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และเหตุแห่งการยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ต้องยุติและสิ้นสุดลงด้วย แม้แต่มาวันที่ 21 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหกษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกประกาศฉบับที่ 15 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับต่อไป แต่ประกาศฉบับดังกล่าวคงมีผลเพียงเพื่อให้พรรคการเมืองยังคงสภาพอยู่ต่อไปเท่านั้น และแม้ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกประกาศ ฉบับที่ 27 ว่า การยกเลิกรัฐธรรมนูญมิได้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 โดยยังให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกก็ตาม แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ก็มีผลใช้บังคับใหม่เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศฉบับที่ 27 ได้ประกาศเป็นต้นไป และจะนำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 เป็นฐานในการดำเนินคดีซึ่งมูลคดีเกิดขึ้นก่อนวันที่ 30 กันยายน 2549 ไม่ได้ ส่วนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 นั้น ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้มีผลใช้บังคับต่อไป การกระทำที่ผู้ร้องกล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 ในส่วนซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติให้มีผลใช้บังคับต่อไป การกระทำที่ผู้ร้องกล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 ในส่วนซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป การกระทำตามที่ผู้ร้องอ้างมาเป็นเหตุเพื่อขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ซึ่งอาศัยมูลเหตุที่เกิดจากการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 เมื่อกฎหมายยกเลิกไป ย่อมมีผลให้การกระทำที่ผู้ร้องนำมาเป็นเหตุยื่นคำร้องในครั้งนี้ยุติและสิ้นสุดลงด้วย
(5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และสังคมสอดคล้องกันได้รวมตัวเข้าดวยกันเพื่อจะนำแนวความคิดนั้นมากำหนดเป็นนโยบายและนำไปบริหารหรือตรวจสอบการบริหารประเทศตามอุดมการณ์ของกลุ่มบุคคลนั้นตามวิถีทางประชาธิปไตย พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงให้ความคุ้มครองแก่พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นและไม่ต้องการให้มีการยุบพรรคได้โดยง่ายแม้ในกรณีที่พรรคการเมืองไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือส่งสมัครแล้วแต่ไม่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้ง ก็ไม่เป็นเหตุให้ต้องเลิกหรือยุบพรรคการเมือง การยุบพรรคการเมืองเป็นการจำกัดเสรีภาพบุคคลในการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 47 รับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แต่เสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามมาตรา 47 วรรคหนึ่ง ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจออกกฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว คงมีแต่ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 63 วรรคหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น การจะยุบพรรคการเมืองได้จึงต้องเป็นไปตามเหตุมาตรา 63 วรรคหนึ่ง ที่ว่าการที่บุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพตามรับธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตร 66(1) บัญญัติไว้สอดคล้องกับมาตรา 63 การที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 บัญญัติการกระทำของพรรคการเมืองที่อาจถูกยุบเพิ่มเติมไว้ถึง 4 เหตุ โดยการเพิ่มเหตุตามมาตรา 66(2)(3)และ(4) ซึ่งผู้ร้องอาศัยเหตุตาม(3)มาร้องให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ด้วย จึงเป็นการกำหนดเหตุยุบพรรคการเมืองเพิ่มเติมนอกเหนือจากรัฐธรรมนูญกำหนดและเป็นบทบัญญัติเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ทั้งเป็นบทบัญญัติที่เกินความจำเป็นและกระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 29 รับรองไว้ อีกทั้งเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รับรองไว้ เนื่องจากการยุบพรรคการเมืองเป็นการจำกัดเสรีภาพของบุคคลในการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองที่มาตรา 47 รับรองไว้ ซึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ การที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ไม่ได้ระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายจำกัดเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองตามมาตรา 47 ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 29 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66 จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 29 วรรคสอง อีกด้วย เป็นอันใช้บังคับมิได้ตามมาตรา 6
(6) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 เป็นบทกบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63 เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 67 บัญญัติหลักเกณฑ์การดำเนินการว่า เมื่อปรากฎต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง หรือเมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้รับแจ้งจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองใดกระทำการตามมาตรา 66 ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งต่ออัยการสูงสุดพร้อมหลักฐาน ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควรก็ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวนั้น มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์การดำเนินการที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63 เพราะถ้าพรรคการเมืองกระทำการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 (1) ซึ่งเป็นการกระทำเดียวกับการกระทำตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63 วรรคหนึ่ง คือใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ใด้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อัยการสูงสุดไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองที่กระทำการดังกล่าว อัยการสูงสุดมีอำนาจเพียงยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ "ให้เลิกการกระทำดังกล่าว" ตามมาตรา 63 วรรคสอง เท่านั้น และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองได้ตามมาตรา 63 วรรคสาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 67 จึงเป็นบทบัญญัติที่กำหนดกระบวนการเพื่อไปสู่การยุบพรรคการเมืองที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งที่เหตุในการยุบนั้นเป็นเหตุการแบบเดียวกัน ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63
(7) ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ตามคำร้อง ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 เนื่องจากการกระทำตามข้อกล่าวหาของผู้ร้อง หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้กระทำและไม่ได้มอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการบริหารพรรคกระทำ อีกทั้งคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ได้มีมติให้ผู้ถูกกล่าวหากระทำการตามคำร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 19 และมาตรา 20 กำหนดไว้ กรรมการบริหารพรรคจะดำเนินการแทนผู้ถูกร้องที่ 1 โดยลำพังไม่ได้ จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 เพราะการที่กรรมการบริหารคนใดคนหนึ่งจะดำเนินการในนามของผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อจัดการนอกเหนือจากที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบนั้นไม่อาจกระทำได้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้งซึ่งมีค่าใช้จ่ายและต้องผ่านขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งพลเอก ธรรมรักษ์ และนางพงษ์ศักดิ์ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงิน การจัดทำบัญชี และการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 37 แต่อย่างใด อีกทั้งผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่เคยทราบมาก่อน ไม่เคยมอบหมาย ไม่เคยใช้และไม่เคยสนับสนุนให้บุคคลทั้งสองหรือบุคคลอื่นใดกระทำการตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างแต่ประการใด หากบุคคลทั้งสองกระทำการตามข้อกล่าวหาก็เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลทั้งสอง ไม่ถือว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 แต่อย่างใด การยุบพรรคการเมืองเป็นการทำให้สภาพความเป็นบุคคลของพรรคการเมืองตามกฎหมายสิ้นสุดลง ทำให้สมาชิกภาพของมวลสมาชิกสิ้นสุดลง จึงเทียบได้กับเป็นการลงโทษประหารชีวิตในทางอาญา การวินิจฉัยและตีความจึงต้องตีความกฎหมายโดยเคร่งครัด ไม่ควรตีความในการขยายความเพื่อลงโทษพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 การกระทำของกรรมการบริหารพรรคมิใช่เป็นการกระทำของพรรคการเมืองตามมาตรา 66 ซึ่งกรณีที่จะให้ถือว่าเป็นการกระทำของพรรคการเมืองและถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐตามพระราชบัญญํติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 นั้น จะต้องปรากฎข้อเท็จจริงว่า ดังนั้น การกระทำของกรรมการบริหารพรรคอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคผู้นั้นต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองเท่านั้น ทั้งนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ยังได้แยกการกระทำของหัวหน้าพรรคกรรมการบริหารพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคที่เป็นความผิดและต้องรับโทษแยกต่างหากจากการกระทำของพรรคการเมือง กล่าวคือ การกระทำของหัวหน้าพรรคการเมืองตามมาตรา 76 มาตรา 80 มาตรา 81 มาตรา 84 มาตรา 87 และมาตรา 88 หรือการกระทำของกรรมการบริหารพรรค มาตรา 77 และมาตรา 84 ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไปว่า ผู้ใดกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษ ถ้าไม่ได้กระทำความผิดผู้นั้นไม่ต้องรับโทษและไม่ต้องรับโทษจากการกระทำของผู้อื่น การกระทำที่ผู้ร้องอ้างเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 นั้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคของผู้ถูกร้องที่ 1 ในขณะที่มีการยื่นคำร้องนี้เป็นตัวการสนับสนุน หรือส่งเสริม รู้เห็นเป็นใจ ให้บุคคลทั้งสองที่ถูกกล่าวหาไปกระทำตามคำร้องแต่อย่างใดทั้งสิ้น
(8) การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่อาจมีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 (1) และ (3) ได้เนื่องจากคำว่า "ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 (1) หมายถึงการกระทำเพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สิ้นสุดลงแล้วใช้การปกครองอย่างอื่น ส่วนคำว่า "เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้" หมายถึง การกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยผู้ที่ได้อำนาจนั้นมาจะเป็นผู้ที่สามารถควบคุมใช้อำนาจดังกล่าว ดังเช่นการยึดอำนาจปฏิวัติ หรือรัฐประหารของคณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า "คณะปฏิวัติ" ส่วนการกระทำที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 (3) บัญญัติเป็นเหตุยุบพรรค คือ การกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น ซึ่งกระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐตามมาตรา 66 (3) เป็นการกระทำอันเป็นความผิดทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 1 ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 134 ดังนั้น การกระทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองหรือการให้เงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามคำร้อง ซึ่งเป็นเพียงการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งหรือกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง จึงไม่ถือเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะความร้ายแรงของกระทำถึงขนาดที่สมควรจะยุบพรรคการเมืองนั้นเสียก็คือการกระทำการปฏิวัติรัฐประหารหรือยึดอำนาจปกครองประเทศโดยใช้กำลัง ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และไม่ได้เป็นการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เนื่องจากการกระทำการใดอันเป็นเพียงการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง แม้อาจจะถือว่าเป็นความผิดทางอาญา แต่ไม่เคยปรากฏหรือเคยมีคำวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือกระทำการอันเป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด โดยเหตุนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๒๗ ที่บัญญัติไว้ว่าหัวหน้าพรรคการเมือง คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองจัดให้พรรคการเมืองกระทำการใดฝ่าฝืนนโยบายพรรคการเมืองหรือข้อบังคับพรรคการเมืองอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ แต่ลักษณะการกระทำยังไม่รุนแรงจนเป็นสาเหตุให้ต้องยุบพรรคการเมืองตามมาตรา ๖๗ ให้นายทะเบียนมีอำนาจเตือนเป็นหนังสือ ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำเตือนของนายทะเบียน ให้มีอำนาจยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ระงับหรือจัดการแก้ไขการกระทำดังกล่าว หรือให้หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งคณะหรือบางคนออกจากตำแหน่งได้ และผู้นั้นไม่มีสิทธิเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองอีก เว้นแต่จะพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง แสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนดระดับความรุนแรงของการกระทำของพรรคการเมือง และผู้บริหารพรรคการเมืองไว้เป็นลำดับขั้นเพื่อป้องกันมิให้ยกเหตุอันเป็นการกระทำผิดเล็กน้อยขึ้นอ้างเพื่อให้ยุบพรรคการเมือง เพราะหากพรรคการเมืองถูกยุบได้โดยง่ายเนื่องจากการกระทำของผู้บริหารพรรคบางคน ย่อมมีผลกระทบอย่างมากต่อสมาชิกของพรรคการเมืองผู้ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับการกระทำของกรรมการบริหารพรรคนั้นเลย
(๙) กรณีเหตุที่ไม่สมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๖๓ วรรคสาม มิได้เป็นบทบังคับเด็ดขาดให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคในทุกกรณี เพียงแต่บัญญัติว่า"...ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมือง..." และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๖ บัญญัติไว้ทำนองเดียวกันว่า"เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง..."
จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่าแม้พรรคการเมืองจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเข้าข่ายที่จะถูกยุบพรรคได้ก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าควรจะสั่งยุบพรรคหรือไม่ยุบก็ได้ ประกอบกับเมื่อพิจารณาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 27 ที่กำหนดความรุนแรงตามลักษณะของการกระทำไว้ในหลายระดับ หากไม่รุนแรงถึงขั้นเป็นเหตุให้ต้องยุบพรรคการเมืองตามมาตรา 67 อาจจะใช้มาตรการเพียงการเตือน หรือมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือจัดการแก้ไขการกระทำตามที่กล่าวหา หรือให้หัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งคณะ หรือบางคนออกจากตำแหน่งนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าควรจะสั่งยุบพรรคการเมืองหรือไม่ยุบก็ได้ และกรณีของผู้ถูกร้องที่ 1 มีเหตุที่ไม่สมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ 1 สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เรื้อรังมาตั้งแต่เข้าทำหน้าที่รัฐบาลเป็นผลสำเร็จ และกระทำตามนโยบายที่เป็นผลดีต่อประเทศชาติมากมายจนเป็นที่นิยมของประชาชนส่วนใหญ่ ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนทั้งสิ้น 248 คน และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ผู้ถูกร้องที่ 1 มีสมาชิกพรรคได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนทั้งสิ้น 377 คน จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ผู้ถูกร้องที่ 1 มีสมาชิกพรรคจำนวนมากถึง 14,394,404 คน การสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อสมาชิกพรรคเหล่านั้น ทั้งที่ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้อง ทั้งหากมีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 บ้านเมืองจะเกิดความสับสนวุ่นวาย ต่างชาติจะขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการเมืองไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
(10) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 ใช้บังคับกับเหตุยุบพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 เพื่อเป็นเหตุเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคไม่ได้ เพราะเหตุยุบพรรคการเมืองตามพระราบบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(1) และ (3) คือ พรรคการเมือง "กระทำการ" อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดในมาตรา 66 (1) หรือ (3) แต่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 ข้อ 3 ที่กำหนดว่า "ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นมีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง" เห็นว่า "การกระทำต้องห้าม" ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 ที่ระบุในประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 27 คือ "ห้ามกระทำการ" ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 66(4) เท่านั้น ส่วนมาตรา 66(1) (2) และ (3) เป็นบทบัญญัติให้ "การกระทำการ" ซึ่งไม่ใช่ข้ออ้างที่ผู้ร้องอ้างเป็นเหตุยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ผู้ร้องจึงนำประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 มาใช้บังคับกับคดีนี้ไม่ได้
(11) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังกับการกระทำอันเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้ เนื่องจากประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 เพิ่มเติมบทกำหนดโทษเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 69 กำหนดไว้แต่เดิม โดยการให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปีจึงเป็นการตราและยกเลิกกฎหมายที่ปราศจากความชอบธรรม อันย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคลที่เป็นกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ซึ่งขัดต่อหลักนิติรัฐ เป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายที่อารยประเทศทั่วโลกที่เจริญแล้วยึดถือปฏิบัติ ขัดต่อหลักสากลทางอาญาไม่เป็นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นการลิดรอนสิทธิที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รับรองไว้ว่า ให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรศาล และตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ และเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการกระทำในพระปรมาภิไธยนั้น เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยคดีของผู้ร้อง การถ่ายโอนอำนาจมาเป็นของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญอันเป็นองค์กรที่มิใช่ศาล จึงเป็นการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้ว่าการให้"เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง" จะมิใช่ "โทษทางอาญา" แต่ผู้ถูกร้องที่ 1 ก็เห็นว่า "สิทธิเลือกตั้ง" เป็นสิทธิเสรีภาพที่บรรดาชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 3 ก็ยังให้การคุ้มครองอยู่ ดังนั้น การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจึงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการใช้สิทธิทางการเมืองซึ่งเป็นโทษทางเมืองและมีความร้ายแรงกว่าโทษอาญาบางประเภท ดังนั้น การกระทำใดที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 กำหนดโทษไว้ในมาตรา 69 ให้ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ต้องยุบไปจะขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ตามมาตรา 8 อีกไม่ได้ ทั้งนี้ ภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นต้องยุบไป ซึ่งเป็นการกำหนดโทษทางการเมืองสำหรับผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ต้องยุบพรรคการเมือง หากตีความว่าประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าวที่เพิ่มบทกำหนดโทษให้มีผลย้อนหลังจะขัดหลักนิติรัฐที่ห้ามตรากฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายแก่บุคคลทั้งในกรณีโทษทางอาญาและในกรณีอื่นที่ไม่ใช่โทษทางอาญาด้วย เพราะบุคคลก็ไม่อาจเชื่อมั่นในการใช้อำนาจรัฐ ดังนั้น ถ้าพรรคการเมืองถูกยุบเพราะไม่ดำเนินการตามมาตรา 66 ผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบจะได้รับโทษเพียงเท่าที่บัญญัติในมาตรา 69 เท่านั้น นอกจากนี้ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 27 ไม่ได้กำหนดให้มีผลใช้บังคับย้อนหลัง เมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ถูกยกเลิกไปแล้ว โดยนัยของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายนต 2549 จึงทำให้หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดในกฎหมายดังกล่าวสิ้นผลใช้บังคับไปด้วย การกระทำใดที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 บัญญัติให้เป็นเหตุร้องขอให้ยุบพรรคการเมืองจึงไม่สามารถนำมาใช้ภายหลังที่มีการประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ได้อีกต่อไป จนกระทั่งถึงวันที่ออกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2549 ที่ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 กลับมีผลใช้บังคับต่อไป แต่อย่างไรก็ดี ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ จึงใช้บังคับเฉพาะกับการกระทำที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกประกาศ ฉบับที่ ๑๕ คือ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นตันไปเท่านั้น แต่เหตุที่ผู้ร้องอ้างขอให้สั่งยุบพรรคเกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๙ ผู้ร้องจึงไม่สามารถอ้างการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนมาเป็นเหตุขอให้สั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ได้
(๑๒) การที่กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ขณะเกิดเหตุลาออกจากตำแหน่งแล้วก่อนวันที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่สามารถเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกพร้องที่ ๑ ดังกล่าวได้ เนื่องจากภายหลังจากที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ในช่วงต้นเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ มีกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ลาออกจากตำแหน่ง โดยหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๙ ทำให้กรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ตามข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ข้อ ๕๕(๒) ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคแล้ว และผู้ถูกร้องที่ ๑ ได้รับหนังสือแจ้งการตอบรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ ดังนั้น การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ จึงสมบูรณ์ในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๘ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๓ และจนถึงบัดนี้ผู้ถูกร้องที่ ๑ ยังไม่ได้เลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เนื่องจากพรรคการเมืองยังถูกห้ามดำเนินการประชุมหรือดำเนินการทางการเมืองตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗
คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในประเด็นข้อเท็จจริง ผู้ถูกร้องที่ ๑ ชี้แจงว่า ผู้ถูกร้องที่ ๑ และ กรรมการบริหารพรรคทั้งสองคนไม่ได้กระทำการตามที่ผู้ถูกร้องกล่าวหา โดยสรุปได้ดังนี้
(๑) ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการเป็นสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ ๒ หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ ๒ จริง ก็ไม่ใช่การกระทำของผู้ถูกร้องที่ ๑ แต่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องที่ ๒ เอง
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ จึงใช้บังคับเฉพาะกับการกระทำที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกประกาศ ฉบับที่ ๑๕ คือ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นตันไปเท่านั้น แต่เหตุที่ผู้ร้องอ้างขอให้สั่งยุบพรรคเกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๙ ผู้ร้องจึงไม่สามารถอ้างการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนมาเป็นเหตุขอให้สั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ได้
(๑๒) การที่กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ขณะเกิดเหตุลาออกจากตำแหน่งแล้วก่อนวันที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่สามารถเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกพร้องที่ ๑ ดังกล่าวได้ เนื่องจากภายหลังจากที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ในช่วงต้นเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ มีกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ลาออกจากตำแหน่ง โดยหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๙ ทำให้กรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ตามข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ข้อ ๕๕(๒) ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคแล้ว และผู้ถูกร้องที่ ๑ ได้รับหนังสือแจ้งการตอบรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ ดังนั้น การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ จึงสมบูรณ์ในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๘ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๓ และจนถึงบัดนี้ผู้ถูกร้องที่ ๑ ยังไม่ได้เลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เนื่องจากพรรคการเมืองยังถูกห้ามดำเนินการประชุมหรือดำเนินการทางการเมืองตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗
คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในประเด็นข้อเท็จจริง ผู้ถูกร้องที่ ๑ ชี้แจงว่า ผู้ถูกร้องที่ ๑ และ กรรมการบริหารพรรคทั้งสองคนไม่ได้กระทำการตามที่ผู้ถูกร้องกล่าวหา โดยสรุปได้ดังนี้
(๑) ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการเป็นสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ ๒ หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ ๒ จริง ก็ไม่ใช่การกระทำของผู้ถูกร้องที่ ๑ แต่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องที่ ๒ เอง
โดยผู้ถูกร้องที่ ๑ และกรรมการบริหารพรรคไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งการที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ ส่งผู้สมัครลงสมัครทุกเขตไม่ได้หมายความว่าจะได้รับเลือกตั้งทุกเขต เพราะในบางเขตซึ่งส่วนมากเป็นเขตเลือกตั้งในภาคใต้ พรรคการเมืองร่วมฝ่ายค้านมีคะแนนนิยมดีกว่า เมื่อพรรคการเมืองร่วมฝ่ายค้านประกาศไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ที่ประสงค์จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคอื่นซึ่งลงสมัครแข่งขันกับผู้ถูกร้องที่ ๑ จึงมีโอกาสที่จะได้รับเลือกตั้งสูง แต่อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔0 มาตรา ๑๐๗(๔) บัญญัติให้ผู้มีสิทธิสมัครต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสิบวัน จึงเป็นเหตุจูงใจพรรคการเมืองบางพรคำการแก้ไขข้อมูลสาชิกพรรคการเมืองของตนด้วยการถอดชื่อสมาชิกเดิมออกแล้วนำชื่อผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่เข้าแทน ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการส่งผู้สมัครรับเลือกต้งของพรรคการเมืองนั้น ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวมิได้เพิ่ง
กระทำในครวนี้เป็นครั้งแรก ในการสืบสวนของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง พยานบางปากให้การว่า เคยดำเนินการเช่นนี้มาก่อนแล้วในคราวเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงที่ได้จาการสืบสวนสอบสวนของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่า กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ผู้ใดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ ๒ แต่อย่างใด ตามคำร้องที่อ้างว่า มีการติดต่อจะให้นาอมรวิทย์ เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ ๒ ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ แต่นายชวการให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า เพิ่งพบพลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ ณ ที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๙ และนายชวการเพิ่งรู้จักกับนายบุญทวีศักดิ์เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๙ การที่นายชวการอ้างว่า ไปชี้แจงเรื่องการตัดต่อพันธุกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ ต่อพลเอก ธรรมรักษ์ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๙ จึงรับฟังไม่ได้ว่า พลเอก ธรรมรักษ์ หรือนายพงษ์ศักดิ์มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกของผู้ถูกร้องที่ ๒ ตามที่ผู้ร้องอ้าง ส่วนที่นายสุขสันต์ให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ในวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๙ เวลา ๒๑ นาฬิกา นายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ นำแผ่นบันทึกข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมาให้นายสุขสันต์โดยมีนายสายัณห์ เจียมสวัสดิ์ ทำการแก้ไขข้อมูลสมาชิกพรรคในแผ่นบันทึกข้อมูลที่โรงแรมกานต์มณี แล้ว นายบุญทวีศักดิ์นำแผ่นบันทึกข้อมูลไปคืนเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 เวลา 2 นาฬิกา นั้น ขัดแย้งกับรายงานการตรวจสอบจองคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงที่ระบุวัน เวลา ครั้งสุดท้ายที่มีการบันทึกในฐานข้อมูลสมาชิกของผุ้ถูกร้องที่ 2 คือวันที่ 6 มีนาคม 2549 เวลา 15.43 นาฬิกา ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเชื่อถือไม่ได้
(2)ประเด็นเรื่องการจ่ายเงินสนับสนุนแก่ผู้ถูกร้องที่ 2 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ลงแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อหลีกเลี่ยงคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น ผู้ถูกร้องที่ 1 หรือกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ได้จ่ายเงินสนับสนุนผู้ถูกร้องที่ 2 ในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ผู้ร้องฟังข้อเท็จจริงจากคำให้การของนายชวการว่า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2549 นายพงษ์ศรี นายธีรชัย และนายทวี พาไปพบพลเอกธรรมรักษ์ ณ ที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ส่วนเหตุการณ์ที่กระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 นายชวการให้การขัดกับนายธีรชัยและนายทวีที่ยืนยันว่า วันดังกล่าวไม่ได้พบพลเอก ธรรมรักษ์กและไม่ได้รับเงินตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด เพราะพลเอกธรรมรักษ์ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินด้วยตนเอง ส่วนภาพที่นายสุเทพนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงนั้น เป็นภาพที่นายบสุเทพนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงนั้น เป็นภาพที่มีการตัดต่อลำดับภาพขึ้นใหม่ และจัดทำคำบรรยายให้สอดคล้องกับคำให้การ ถ้าจะมีการสนับสนุนเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการสมัครแก่ผู้ถูกร้องที่ 2 น่าจะสนับสนุนเฉพาะการสมัครของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการได้คะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น แต่นายชวการกลับอ้างว่า เงินที่ได้รับจำนวน 50,000 บาท เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 นั้นเป็นค่าใช้จ่ายของผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อของผู้ถูกร้องที่ 2 จึงขัดกับเหตุผลที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ว่าจ้างพรรคเล็กให้ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อของผู้ถูกร้องที่ 2 จึงขัดกับเหตุผลที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ว่าจ้างพรรคเล็กให้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่คาดว่าจะได้คะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้ นายทวีก็เป็นเพียงผู้สื่อข่าวอิสระที่เคยเอาข่าวสถานการณ์ทางภาคใต้ไปให้พลเอก ธรรมรักษ์เทานั้น มิได้เป็นคนสนิทของพลเอก ธรรมรักษ์แต่อย่างใด สำหรับเหตุการณ์ที่โรงแรมกานต์มณี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 ที่นายชวการให้การว่านายชวการกับพวก ร่วมกันนับเงินจำนวน 760,000 บาท ที่นายกวีกับพวกนำมาให้ใส่ซอง ซองละ 20,000 บาท แล้ว นายธีรชัยมอบให้แก่ผู้สมัครรวม 38 ซอง ขัดกับคำให้การของนายทวีและนายพงษ์ศรีที่ยืนยันว่า ไม่ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมอบให้แก่นายชวการ ทั้งไม่ปรากฎว่าเงินดังกล่วเป็นเงินที่ได้มาจากผู้ใด อีกทั้งจำนวนเงินที่อ้างมีความไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 2 ซึ่งมีเพียง 31 คน ประกอบกับคำให้การของผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 2 เช่น นายปฎิพัฒน์ เกียรติธีรวิชัย นายชารัตน์ มณีศรี นายสมบูรณ์ จิตตั้งสมบูรณ์ และพันตำรวจตรีเสงี่ยม สำราญรัตน์ ไม่มีผู้ใดให้การว่าได้รับเงินคนละ 20,000 บาท ที่โรงแรมกานต์มณี นอกจากนี้ที่นายชวการให้การว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549 นายทวีนำเงินไปมอบให้นายชวการ จำนวน 140,000 บาท นำไปให้นายสุขสันต์เพื่อเป็นค่าสมัครของผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 2 ที่จะลงสมัครที่จังหวัดนครพนม 5 คน และจังหวัดสกลนคร 2 คน ก็ขัดกับคำให้การของนายทวีที่ว่า ไม่มีเหตุที่ต้องนำเงินมาให้นายชวการซึ่งไม่มีฐานะและตำแหน่งหน้าที่ในพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 แทนที่จะมอบให้แก่นายบุญทวีศักดิ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และเป็นผู้มีอำนาจในการส่งคนลงสมัครโดยตรงส่วนเรื่องการโอนเงินเข้าบัญชีของนายสุขสันต์ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขานครพนม ในวันที่ 8 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 12 นาฬิกา เพื่อเป็นค่าสมัครของผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เพิ่มขึ้นอีก 7 คน นั้น วันดังกล่าวเป็นวันสุดท้ายของการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ดังนั้น คำให้การของนายชวการและนายสุขสันต์เป็นเพียงการสร้างหลักฐานเพื่อใส่ร้ายผู้ถูกร้องที่ 1 เท่านั้น
(3) ประเด็นเรื่องการจ่ายเงินสนับสนุนแก่ผู้ถูกร้องที่ 3 ในข้อที่นางฐัติมาให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ในการประชุมของพรรคการเมืองที่อาคารวุฒิสภาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 พันตำรวจโท ทักษิณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 แจ้งต่อนายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ว่าจะช่วยค่าใช้จ่ายในการส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งทุกพรรค พรรคละประมาณ 10,000,000 บาท โดยดูจากยอดจำนวนการส่งผู้สมัครมากน้อยเป็นสำคัญ นั้น ผู้ถูกร้องที่ 1 ชี้แจงว่า หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่เคยแจ้งหรือกล่าวว่า จะช่วยค่าใช้จ่าย ดังกล่าวแก่พรรคการเมืองใด และเป็นไปไม่ได้ที่จะแจ้งต่อหัวหน้าพรรคการเมืองจำนวนมากถึง 15 พรรคที่ร่วมประชุมกันว่า จะจ่ายเงินดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การของนายบุญอิทธิพลและนายณัฐพรหม นุสติ หัวหน้าพรรคกฤชไทยมั่นคงที่ว่า พันตำรวจโท ทักษิณไม่ได้พูดเรื่องการสนับสนุนเงินให้แก่พรรคการเมืองอื่นแต่อย่างใด ส่วนที่นางฐัติมาให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 4 ถึง 9 มีนาคม 2549 พลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะผู้ใต้บังคับบัญชาและเป็นคนสนิทของพลเอก ธรรมรักษ์มอบเงินให้แก่นางฐัติมารวม 3 ครั้ง เป็นเงนจำนวนทั้งสิ้น 3,675,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 3 ลงแข่งขันกับผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 1 นั้น ผู้ถูกร้องที่ 1 ชี้แจงว่า นางฐัติมาเป็นบุคคลที่นายสุเทพทั้งข่มขู่ หลอกลวง จ้างวาน ให้คำมั่นสัญญา เพื่อให้นางฐัติมาให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อปรักปรำและใส่ร้ายพลเอก ธรรมรักษ์ซึ่งต่อมานางฐัติมาให้การต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2549 ว่า คำให้การชั้นคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง และตามบันทึกที่ทำขึ้นที่พรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นไปตามเอกสารที่นายสุเทพจัดเตรียมไว้ให้ โดยนายสุเทพเสนอเงินให้ จำนวน 300,000 บาท จะให้อีก 700,000 บาท พร้อมเสนอตำแหน่งทางการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งจะให้นางฐัติมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ในเขตกรุงเทพมหานครด้วย คำให้การของนางฐัติมา จึงรับฟังไม่ได้
(4)ผู้ถูกร้องที่ 1 เห็นว่า ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องที่ 1 ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งย่อมจะได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดและสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่พรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จะต้องจ้างผู้ถูกร้องที่ 2 หรือผู้ถูกร้องที่ 3 ให้ส่งผู้สมัครเข้าแข่งขันกับผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อหลีกเลี่ยงการได้คะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบตามที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ได้ประโยชน์จากการที่ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง และหากมีปัญหาเกี่ยวกับการทำหน้าที่ขององค์กรกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ครบ 500 คน ก็สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ข้อกล่าวหาของผู้ร้องจึงขัดต่อเหตุผลและรับฟังไม่ได้ ประกอบกับมีพยานบุคคลที่เป็นผู้สมัครของพรรคการเมืองทั้งสองพรรคยืนยันในชั้นคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ผู้สมัครของพรรคทั้งสองจำนวนมากออกค่าใช้จ่ายเอง เพราะมีความมั่นใจว่าจะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งคราวนี้เนื่องจากพรรคใหญ่ฝ่ายค้านไม่ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง
ผู้ถูกร้องที่ 1 ขอให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญยกคำร้องของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2549 และคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้คู่กรณีนำพยานบุคคลเข้าไต่สวนตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 12 เมษายน 2550 รวม 14 นัด เป็นพยานผู้ร้อง จำนวน 36 ปาก เข้าไต่สวน 7 นัด พยานผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวน 30 ปาก ผู้ถูกร้องที่ 2 จำนวน 5 ปาก และผู้ถูกร้องที่ 3 จำนวน 2 ปาก รวม 7 นัด
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า ภายหลังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีผลใช้บังคับ รัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับวันที่ 10 มิถุนายน 2541 ผู้ถูกร้องทั้งสามเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับการจดแจ้งจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองจากนายทะเบียนพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 14 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 วันที่ 29 ธันวาคม 2546 และวันที่ 7 เมษายน 2545 ตามลำดับ ขณะเกิดเหตุคดีนี้ ผู้ถูกร้องที่ 1 มีคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 111 คน โดยมีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2549 ผู้ถูกร้องที่ 2 มีคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 19 คน โดยมีนายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ เป็นหัวหน้าพรรค ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคพัฒนาชาติไทย ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 และผู้ถูกร้องที่ 3 มีคณะกรรมการบริหารพรรคจำนวน 3 คน โดยมีนายบุญาบารมีภณหรือบุญอิทธิพล ชิณราช เป็นหัวหน้าพรรค ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคแผ่นดินไทย ฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2549 และก่อนเกิดเหตุมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 6 มกราคม 2544 ผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 48 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 200 คน รวม 248 คน ผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิน หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแน่งนายกรัฐมนตรี และครั้งที่สอง วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 67 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 310 คน รวม 377 คน
ผู้ถูกร้องที่ 1 จัดตั้งรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว และพันตำรวจโท ทักษิณ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ส่วนผู้ถูกร้อง ที่ 2 และที่ 3 เพิ่งสงผู้สมัครเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548โดยผู้ถูกร้องที่ 2 ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 1 คน ผู้ถูกร้องที่ 3 ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 4 คน ไม่มีผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และ 3 คนใด ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรและกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เมษายน 2549 พรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรรวม 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์
พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ประกาศไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ถูกร้องที่ 1 ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งครบทุกเขต จำนวน 400 คน ผู้ถูกร้องที่ 2 ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 31 คน ผู้ถูกร้องที่ 3 ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 121 คน วันที่ 15 มีนาคม 2549 นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์กับพวก มีหนังสือคัดค้านการประกาศรับรองให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกพรรคสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 5 เขตเลือกตั้งที่ 8 และเขตเลือกตั้งที่ 9 ของพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 รวม 3 คน เนื่องจากไม่ปรากฎชื่อบุคคลทั้งสามในแบบแจ้งจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองที่เพิ่มขึ้นในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมา (แบบ ท.พ.6) ของพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ประจำปี 2548 ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม 2549 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ร้องเรียนต่อพลตำรวจเอก วาสนา เพิ่มลาภ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองว่ามีการสมคบกันระหว่างผู้บริหารของผู้ถูกร้องที่ 1 พรรคการเมืองอื่น และพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองอื่น และว่าจ้างพรรคอื่นให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีมีผู้สมัครเพียงคนเดียวและผู้สมัครนั้นได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
พระมหากษัตริย์ ทั้งเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุ?ธศักราช ๒๕๔๐ และสาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงแล้ว อำนาจหน้าที่และภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญย่อมเป็นอันสิ้นสุดลง แม้ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุ?ธศักราช ๒๕๔๖ มาตรา ๓๕ วรรคสี่ บัญญัติให้โอนคดีที่ค้างพิจารณาในศาลรัฐธรรมนูญมาอยู่ในอำนาจศาลตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐะรรมนูญก็ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้เพราะขัดต่อหลักนิติรัฐ
พิจารณาแล้วเห้นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธสุกราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า
"บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือเมื่อมีปัญหาว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประนศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวนห้าคนเป็นตุลาการศาลรับธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่สาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวนสองคน เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ"
มาตรา ๓๕ วรรคสี่ บัญญัติว่า "บรรดาอรรถคดีหรือการใดที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานของศาลรัฐธรรมนูญก่อนวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๘ ให้ดอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ"
คดีนี้ผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้งสาม เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ต่อมาวันที่ ๑๙ กัยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างผู้ถูกร้องทั้งสามยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ และมีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พุทะศักราช ๒๕๔๙ ข้อ ๑ ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สิ้นสุดลง และข้อ ๒ ให้ศาลรัฐธรรมนูญส นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ ศาลรับธรรมนูญจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ แต่ต่อมามีประกาศให้ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ เมื่ออวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประนศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวนห้าคนเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวนสองคนเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญและให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยบรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อมีปัญหาว่า กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และมาตรา ๓๕ วรรคสี่ บัญญัติให้บรรดาอรรถคดีหรือการใดที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญก่อนวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ดังนี้การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งบัญญัติให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และมาตรา ๓๕ วรรคสี่ บัญญัติให้บรรดาอรรถคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญก่อนศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงโอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ไม่ว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะเป็นศาลหรือองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ กล่าวอ้างว่าแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๕ วรรคสี่บัญญัติให้โอนคดีที่ค้างพิจารณาในศาลรัฐธรรมนูญมาอยู่ในอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้เพราะขัดต่อหลักนิติรัฐนั้น เห็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๔๙ ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วยผู้พิพากษาและตุลาการที่มาจากศาลยุติธรรมและศาลปกครองอันเป็นองค์กรตุลาการที่ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์และมีความเป็นอิสระ อีกทั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญยังมีวิธีพิจารณาที่มีหลักประกันขั้นพื้นฐานในเรื่องการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย การให้โอกาสแก่คู่กรณีแสดงความคิดเห็นของตนก่อนการวินิจฉัยคดี การให้สิทธิคู่กรณีขอตรวจดูเอกสารที่เกี่ยวกับตน การเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านตุลาการรัฐธรรมนูญ และการให้เหตุผลประกอบคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะตุลการรัฐธรรมนูญ ตามข้อกำหนดคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยองค์คณะในการพิจารณา วิธีพิจารณา และการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ออกตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๕ วรรคสาม และมีผลใช้บังคับตั้งแต่เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ก่อนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเริ่มการพิจารณาไต่สวนคดีนี้ การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 วรรคสี่ บัญญัติให้โอนคดีที่ค้างพิจารณาในศาลรัฐธรรมนูญมาอยู่ในอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ จึงหาได้ขัดต่อหลักนิติรัฐดังที่ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างไม่ ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อที่ 2 มีว่า การร้องเรียนของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ชอบด้วยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2542 ข้อ 3 หรือไม่
ในข้อนี้ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 และนายสุเทพ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ผู้ยื่นหนังสือร้องเรียน ไม่ได้รู้เห็นการกระทำตามหนังสือร้องเรียนด้วยตนเอง จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ข้อ 3 นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงไม่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีนี้
พิจารณาแล้วเห็นว่า ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวน และกาวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ข้อ 3 กำหนดว่า
"ในระเบียบนี้ ...." ผู้ร้องเรียน "หมายความว่า ผู้ได้รับความเสียหายจากการฝ่าฝืนหรือการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้ซึ่งพบการกระทำดังกล่าวและได้ร้องเรียนตามวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้"
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 โดยกล่าวหาว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66 (1) และ (3) และโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวที่บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียน ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการบริการพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองใดกระทำการตามมาตรา 66 ให้นายทะเบียนแจ้งต่ออัยการสูงสุดพร้อมด้วยหลักฐาน ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควรก็ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าว..."
การที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งต่ออัยการสูงสุดพร้อมด้วยหลักฐานว่า พรรคการเมืองกระทำการตามมาตรา 66 เมื่อการกระทำดังกล่าวปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องเรียนให้ปรากฎต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า มีพรรคการเมืองกระทำการตามมาตรการ 66 จะเป็นใครหรือรู้เห็นเกตุการณ์นั้นด้วยตนเองหรือไม่ มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพียงแต่นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบว่ามีพรรคการเมืองกระทำการตามมาตรา 66 ไม่ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองทราบด้วยตนเอง หรือทราบจากบุคคลใด นายทะเบียนพรรคการเมืองย่อมมีอำนาจสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อนำมาพิจารณาว่าสมควรแจ้งต่ออัยการสูงสุดเพื่อให้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรับธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองหรือไม่ดังนั้น เมื่อนายสุเทพ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์มีหนังสือกล่าวหาว่า ผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 หลานคนว่าจ้างพรรคการเมืองอื่นให้จัดหาผู้สมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขันกับผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ในเขตที่เคยมีพรรคฝ่ายค้านลงสมัคร ตามหนังสือ ที่ ปชป.4900451/2549 ฉบับลงวันที่ 30 มีนาคม 2549 เอกสารหมาย ร.10 นายทะเบียนพรรคการเมืองย่อมมีอำนาจสืบสวนสอบสวนว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่นายสุเทพกล่าวอ้างหรือไม่ ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ประเด็นต้องวินิขฉัยข้อ 3 มีว่า การสืบสวนสอบสวนของคณะอนุกรรมการการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ชอบด้วยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2542 ข้อ 40 หรือไม่ และการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเลือกตั้ง ชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 19 วรรคสอง และวรรคสาม หรือไม่
ในข้อนี้ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง และ คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่เคยแจ้งข้อกล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือแม้แต่พลเอกธรรมรักษ์ หรือนายพงษ์ศักดิ์ ไปชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐานตามระเบียบคระกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2542 ข้อ 40 วรรคหนึ่งซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 10(6) และ(7) และมาตรา 19 ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งก็มิได้ให้โอกาสผู้ถูกร้องที่ 1 และที่ 2 มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐานว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 และที่ 2 กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ รวมทั้งไม่ให้โอกาผู้ถูกร้องที่ 1 และที่ 2 มาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตามที่บัญญติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 19 วรรคสอง และคณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้เป็นหนังสือลงลายมือชื่อกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาวินิจฉัยทุกคนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ-พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๗๔ พลตำรวจเอก วาสนา ประธานกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งที่ ๑๕๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง และคำสั่งที่ ๑๖๗/๒๕๔๙ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง(เพิ่มเติม) เมื่อคณะอนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเสนอรายงานผลการสืบสวนสอบสวน ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ ๑ กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๖(๑) และ (๓) ผู้ถูกร้องที่ ๒ และผู้ถูกร้องที่ (๓) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ จึงได้มีหนังสือส่งพยานหลักฐานให้ผู้ร้องเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้งสามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๗ และอัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้มีการสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้งสาม รวม ๓ คำร้อง เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องทั้งสามเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ต่อมาวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเข้ายึดอำนาจการปกครองและมีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๑๕๔๙ ข้อ ๑ ให้รัฐธรรมนูยแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นอันสิ้นสุดลง และข้อ ๒ ให้ศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญและต่อมาวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งมีบทบัญญัติในมาตรา ๓๕ ให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามคำสั่งชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องทั้งสามในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การสืบสวนสอบสวนของนายทะเบียนพรรคการเมือง การยื่นคำร้องของผู้ร้อง และความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ผู้ร้องนำมาเป็นเหตุขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้งสามก่อน
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ ๑ มีว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่
ผู้ถูกร้องที่ ๑ กล่าวอ้างว่า อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดียุบพรรคการเมืองเป็นอำนาจของศาสซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาล และมิใช่องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการที่ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธย ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2551 มาตรา 19 วรรคสาม ด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2551 มาตรา 67
พิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2551 กำหนดให้ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดตั้งพรรคการเมือง ตามมาตรา 9 กำหนดการดำเนินกิจการอื่นของพรรคการเมือง ตามมาตรา 25 การเงินของพรรคการเมือง ตามมาตรา 40 มาตรา 42 มาตรา 43 และมาตรา 44 การบริจาคแก่พรรคการเมือง ตามมาตรา 45 มาตรา 46 และมาตรา 55 การสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ ตามมาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 60 มาตรา 61 มาตรา 62 และมาตรา 64 ซึ่งเห็นได้ว่า อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการเรื่องต่างๆ และการควบคุมดูแลเรื่องการเงินของพรรคการเมือง ส่วนอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมืองตามมาตรา 14 ถึงมาตรา 18 มาตรา 30 รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ข้อบังคับ หรือรายการที่จดแจ้งไว้ ตามมาตรา 33 ตรวจสอบทะเบียนสมาชิกและรับแจ้งจำนวนสมมาชิก ตามมาตรา 34 กำหนดวิธีการจัดทำและรับแจ้งรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง ตามมาตรา 35 การเงินของพรรคการเมือง ตามมาตรา 40 มาตรา 42 และมาตรา 43 การบริจาคแก่พรรคการเมือง ตามมาตรา 50 การรวมพรรคการเมืองตามมาตรา 72 และ 73 ประกอบมาตรา 65 ควบคุมการดำเนินกิจการทางการเมืองมิให้เป็นไปในทางที่มิชอบ ตามมาตรา 27 และมาตรา 67 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสนอต่อ ผู้ร้องเพื่อให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองมาตรา 67
ในกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งมีความจำเป็นต้องทำการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือขอ้โต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฎิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรการเงิน พ.ศ.2541 นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติประกอบธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 19 วรรคสอง และวรรคสาม กล่าวคือ ต้องให้โอกาสผู้ร้อง ผู้ถูกคัดค้านหรือผู้ถูกกล่าวหา มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐาน รวมทั้งต้องให้โอกาสมาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งและการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาวินิจฉัยทุกคน แต่ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความจำเป็นต้องสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้นายทะเบียนพรคการเมืองต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัตอิประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 19 วรรคสองและวรรคสาม แต่ประการใด ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งต่ออัยการสูงสุดพร้อมด้วยหลักฐานว่าพรรคการเมืองกระทำการตามมาตรา 66 เมื่อการกระทำดังกล่าวปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง แสดงได้ว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่จะพิจารณาว่า พรรคการเมืองกระทำการตามมาตรา 66 และสมควรเสนอเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคหรือไม่ ทั้งการดำเนินการของนายทะเบียนพรรคการเมืองในกรณีนี้ไม่มีบทบัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องเสนอเรื่องต่อไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังเช่นกรณีพรรคการเมืองส่งงบการเงินและสำเนาบัญชีของพรรคการเมืองและสาขาของพรรคการเมืองต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งมีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 40 วรรคสามให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเสนองบการเงินและสำเนาบัญชีดังกล่าวต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อตรวจสอบและประกาศให้สาธารณชนทราบ อีกทั้งการวินิจฉัยชี้ขาดของนายทะเบียนพรรคการเมืองในกรณีเช่นนี้ยังมิได้มีผลให้พรรคการเมืองนั้นต้องถูกยุบ ยังมีกระบวนการของอัยการสูงสุดที่จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า พรรคการเมืองได้กระทำการดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งพรรคการเมืองที่ถูกกล่าวหาย่อมมีโอกาสที่จะเสนอพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่ามิได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาได้อย่างเต็มที่ ต่างจากการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งส่วนใหญ่ เช่นในปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง หรือการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ รวมทั้งการประกาศผลการเลือกตั้งซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 145 ประกอบมาตรา 144 ซึ่งจำเป็นต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหามีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐาน รวมทั้งต้องให้โอกาสมาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนมีคำวินิจฉัย การสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยชี้ขาดของนายทะเบียนพรรคการเมืองในกรณีตามคำร้องนี้ จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 19 วรรคสองและวรรคสาม นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจให้ดุลพินิจว่า สมควรให้โอกาสผู้ถูกร้องมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐานรวมทั้งให้โอกาสมาให้ถ้อยคำหรือไม่ และมีอำนาจวินิจฉัยได้เองว่าสมควรเสนอเรื่องไปยังอัยการสูงสุดหรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้องเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดก่อน ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ 1 และที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงไม่เคยแจ้งให้ผู้ถูกร้องที่ 1 หรือแม้แต่พลเอก ธรรมรักษ์ หรือนายพงษ์ศักดิ์ ไปชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐานเป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ข้อ 40 วรรคหนึ่งนั้น เห็นว่า แม้การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงคดีนี้ เป็นการแต่งตั้งโดยคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 156/2549 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2549 และคำสั่งที่ 167/2549 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ลงนามโดยลพตำรวจเอก วาสนา ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง และอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 14 แต่ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง และการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ดังได้วินิจฉัยมาข้างต้น จึงต้องถือว่า การดำเนินการของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามคำสั่งของนายทะเบียนพรรคการเมือง มิใช่การดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 14 ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวนสอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 10(6)(7)และมาตรา 19 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อ 40 วรรคหนึ่งแห่งระเบียบดังกล่าวจึงกำหนดว่า กรณีที่รู้ตัวผู้ถูกร้องเรียนและเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนทำการสืบสวนสอบสวนแล้วเห็นว่า ข้อร้องเรียนใดมีพยานหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ ให้เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนเสนอเลขาธิการเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาและเรียกผู้ร้องเรียนมาแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาพร้อมทั้งแจ้งสิทธิที่จะพึงมีตามกฎหมายให้ผู้ถูกร้องเรียนทราบต่อไป การดำเนินการของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ข้อ 40 วรรคหนึ่ง คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงในคดีนี้ จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่า สมควรแจ้งให้ผู้ถูกร้องที่ 1 พลเอก ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ ไปชี้แจงข้อเท็จจริง และแสดงหลักฐานหรือไม่ ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 4 ที่ว่า การที่ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นอันสิ้นสุดลง มีผลให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 สิ้นผลใช้บังคับไปด้วยหรือไม่
ในข้อนี้ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขออกประกาศ ฉบับที่ 3 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นอันสิ้นสุดลง คือ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จึงไม่มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ที่ผู้ร้องจะอ้างเพื่อขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้อีก เหตุแห่งการยุบพรรคย่อมสิ้นสุดลงไปด้วย และการกระทำที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ถูกกล่าวหาในส่วนซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ย่อมไม่เป็นความผิดต่อไป
พิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดระเบียบการจัดตั้งและการดำเนินงานของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระสำคัญตามที่บัญญัติไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 328 (1) ถึง (7) ส่วนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการของรัฐในการสนับสนุนการเลือกตั้ง การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้ง การอำนวยความสะดวกในการไปเลือกตั้ง และการเสียสิทธิเลือกตั้ง โดยมีสาระสำคัญตาที่บัญญัติไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 326 (1) ถึง (9) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับจึงเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาสาระเป็นการขยายความบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทย แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะได้นำหลักการในเรื่องกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายที่มีลักษณะความสำคัญอย่างมากและเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญโดยตรมากำหนดขึ้นไว้ อันทำให้เห็นประหนึ่งว่าหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไปของประเทศคงจะยอมรับแนวความคิดที่ว่า เมื่อประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้วไม่เฉพาะแต่รัฐธรรมนูญเท่านั้นที่จะสิ้นผลไป หากแต่ยังรวมถึงกฎหมายบางฉบับที่มีความสำคัญต่อรัฐธรรมนูญอีกด้วย แต่มีข้อพิจารณาที่สำคัญอย่างยิ่งคือ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้นำมาบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หาได้มีลักษณะเช่นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในต่างประเทศไม่ เพราะกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในต่างประเทศโดยทั่วไปจะกำหนดให้มีสถานะทางกฎหมายสูงกว่ากฎหมายทั่วไป แต่ตำกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งมีกระบวนการตราและการแก้ไขเพิ่มเติมยากกว่าการตราและแก้ไขกฎหมายทั่วไป ซึ่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้งหลายตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หาได้มีลักษณะเช่นที่กล่าวไม่ กล่าวคือพระราชบัญญัติไว้ในมาตรา 92 ถึงมาตรา 94 มาตรา 169 ถึงมาตรา 178 และมาตรา 313 ทั้งยังมีกระบวนการในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันด้วย กล่าวคือ ตามมาตรา 262 ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันด้วย กล่าวคือ ตามมาตรา 262 ดั้งนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงมีสถานะทางกฎหมายเทียบเท่าพระราชบัญญัติทั่วไป การยกเลิกหรือการทำให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นผลบังคับจึงต้องใช้กระบวนการเดียวกัน กล่าวคือ ต้องมีกฎหมายยกเลิกหรือทีกฎหมายใหม่ออกมาใช้บังคับแทน ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อพิจารณาตาประเพณีการปกครองของประเทศไทยของเราในอดีตเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสิ้นสุดลงภายหลังการเข้ายึดอำนาจการปกครอง หากคณะผู้เข้ายึดอำนาจการปกครองไม่ประสงค์ให้กฎหมายที่มีเนื้อหาสาระเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ต่อไป ก็จะมีประกาศหรือคำสั่งให้ยกเลิก ดังเช่น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แกไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ สิ้นสุดลงโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ คณะปฏิวัติก็ได้ออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๐๑ ให้ยกเลิก พระราชบัญญัตินักการเมือง พ.ศ.๒๔๙๘ เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ สิ้นสุดลงโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ คณะปฏิวัติก็ได้ออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๑ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๑๑ และเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ หรือหากผู้เข้ายึดอำนาจการปกครองจะให้กฎหมายที่มีกฎหมายที่มีเนื้อหาสาระเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ต่อไป ก็จะมีประกาศระบุโดยชัดแจ้งว่าไม่ได้ยกเลิกกฎหมายฉบับนั้น ดังเช่น เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเข้ายึดอำนาจการปกครอง ได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๐ ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ สำหรับกรณีนี้ภายหลังคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัติริย์ทรงเป็นประมุขเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ แล้ว คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมิได้มีคำสั่งให้ยกเลิกหรือออกกฎหมายใหม่มาบังคับแทนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๔๑ แต่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ให้ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย ซึ่งมีความหมายว่า บทกฎหมายทั้งปวงที่มีผลใช้บังคับก่อนการเข้ายึดอำนาจการปกครองของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไป พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับจึงมิได้สิ้นผลบังคับไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2540 เหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ที่เกิดขึ้นก่อนการสิ้นสุดลงของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงยังมิได้ระงับสิ้นไป และการกระทำอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ก็ยังคงเป็นความผิดต่อไปด้วย
ส่วนที่ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีประกาศ ฉบับที่ 15 วันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับต่อไป และต่อมามีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 มีข้อความว่า การยกเลิกรัฐธรรมนูญมิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ยังคงใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 เป็นการแสดงว่า กฎหมายฉบับนี้เพิ่งกลับมามีผลใช้บังคับใหม่วันที่ 30 เมษายน 2549 นั้นเห็นว่า เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้มีคำสั่งให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ก่อนที่มีคำสั่งดังกล่าว ทั้งเมื่อพิจารณาถ้อยคำของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2541 มีผลใช้บังคับต่อไป..." และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 ที่ใช้ถ้อยคำว่า "การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ยังคงใช้บังคับต่อไป..." แล้วถ้อยคำดังกล่าวหาได้แสดงว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ถูกยกเลิกไปแล้ว และคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต้องการให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ กลับมามีผลใช้บังคับอีกนับตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ อันเป็นวันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗ มีผลบังคับไม่กรณีต้องถือว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทั้งสองฉบับดังกล่าวเพียงแต่ยืนยันการมีผลใช้บังคับของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ เท่านั้น เนื่องจากสถานการร์ของบ้านเมืองในขณะนั้นกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการมีผลใช้บังคับของกฎหมายฉบับนี้อยู่ และที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ กล่าวอ้างว่า ไม่มีกฎหมายใดกำหนดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ มีผลใช้บังคับต่อไป การกระทำของผู้ถูกร้องที่ ๑ ในส่วนที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐบาลดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไปนั้น เมื่อไม่มีกฎหมายใดให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นผลบังคับ ย่อมไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายใดมาบัญญัติให้มีผลใช้บังคับต่อไป ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ ๑ ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนผู้ที่ถูกร้องที่ ๑ กล่าวอ้างว่า สำนักเลขาธิการคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีคำชี้แจง ฉบับลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๙ ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับถูกยกเลิกไปแล้ว จึงไม่อาจนำมาอ้างอิงได้อีกนั้นคำชี้แจงของสำนักงานเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดังกล่าว เป็นเพียงความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระกษัตริย์ทรงเป็นประมุข มิใช่คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระกษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย และไม่มีผลทำให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับสิ้นผลใช้บังคับ ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ ๑ ข้อนี้ ฟังไม่ขึ้นประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ ๕ มีว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๖ เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๙ หรือไม่
ผู้ถูกร้องที่ ๑ กล่าวอ้างว่า เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๔๗ ให้การรับรองนั้น บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่า จะออกฎหมายมาจำกัดเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ในกรณีใด และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ มีบทบัญญัติที่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองเพียงมาตราเดียวคือมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง การออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองเพียงมาตราเดียวคือมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง การออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองจึงมีได้เฉพาะเมื่อมีเหตุตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๖(๒)(๓)และ(๔)ได้เพิ่มเหตุที่จะยุบพรรคการเมืองนอกเหนือไปจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง จึงเป็นการบัญญัติเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ทั้งเป็นการบัญญัติที่เกิดความจำเป็นและกระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งเสรีภาพของบุคคลในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๔๗ รับรอง จึงเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักราไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง นอกจากนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๖ เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมือง แต่ไม่ได้ระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๙ วรรคสอง อีกด้วย
พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง บัญญัติว่า
"การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด กรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจงทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย"
ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 29 วรรคหนึ่งนั้น เห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 328 บัญญัติว่า "นอกจากที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้...(2) การเลิกพรรคการเมือง ทั้งนี้ โดยมิให้นำเอาเหตุที่พรรคการเมืองไม่ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้ง หรือเหตุที่ไม่มีสมาชิกของพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้ง มาเป็นเหตุให้ต้องเลิกหรือยุบพรรคการเมือง" บทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญยังให้อำนาจองค์กรนิติบัญญัติตรากฎหมายที่มีผลเป็นการเลิกหรือยุบพรรคการเมืองได้ เพียงแต่กฎหมายดังกล่าวจะนำเอาเหตุที่พรรคการเมืองไม่ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งหรือเหตุที่ไม่มีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งหรือเหตุที่ไม่มีสมาชิกของพรรคการเมืองไดรับเลือกตั้ง มาเป็นเหตุให้ต้องเลิกหรือยุบพรรคการเมืองไม่ได้เท่านั้น ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 47 เป็นบทบัญญัติรับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง โดยมีเงื่อนไขต้องเป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ 2 ประการกล่าวคือ เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า องค์กรนิติบัญญัติจะตรากฎหมายจำกัดเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ 2 ประการดังกล่าวไม่ได้ ไม่ได้มีความหมายเลยไปถึงว่า องค์กรนิติบัญญัติจะตรากฎหมายลงโทษพรรคการเมืองไม่ได้ ไม่ว่าพรรคการเมืองจะกระทำการอันมิชอบหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองอย่างร้ายแรงเพียงใดก็ตาม เพราะมิฉะนั้น จะกลายเป็นว่า หากมิใช่การกระทำเพื่อการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63 วรรหนึ่งแล้ว พรรคการเมืองจะกระทำการอย่างไรก็ได้ พระราชบัญยัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66 (2) (3) และ (4) จึงมิใช่บทบัญญัติจำกัดสิทธิเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติไว้ และเมื่อพิจารณาเหตุยุบพรรคการเมืองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 66(2)(3) และ(4) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 แล้ว เห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อมิให้พรรคการเมืองที่กระทำการอันมิชอบหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองอย่างร้ายแรงยังสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองต่อไปได้ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา(2)(3) และ(4) จึงมิใช่บทบัญญัติที่เกินความจำเป็นและกระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งเสรีภาพของบุคคลในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 47 รับรองไว้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 (2)(3) และ(4) จึงมิได้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ 1 เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 29 วรรคสอง เห็นว่า ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรอง คือเสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 47 แต่ไม่ได้ระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวตามมาตรา 29 วรรคสองนั้น เป็นข้อโต้แย้งว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 262 ให้สิทธิเฉพาะแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และนายกรัฐมนตรี เท่านั้นที่โต้แย้งได้ และต้องโต้แย้งในขณะที่กฎหมายนั้นเป็นยังเพียงร่างกฎหมายที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว แต่นายกรัฐมนตรียังไม่ได้นำร่างกฎหมายนั้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยเท่านั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 262 หาได้ให้สิทธิผู้ถูกร้องที่ 1 ที่จะโต้แย้งในเรื่องดังกล่าวได้ไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่ 1 ในข้อนี้
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 6 มีว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63 หรือไม่
ในข้อนี้ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า ในกรณีที่พรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 63 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องมีอำนาจเพียงยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ "ให้เลิกการกระทำด้งกล่าว" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63 วรรคสาม แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ได้ทันทีซึ่งไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63 วรรคสอง หลักเกณฑ์การดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63
พิจารณาแล้วเห็นแล้วว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63 บัญญัติว่า
"บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าว ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้"
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 67 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า
"เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองใดกระทำตามมาตรา ๖๖ ให้นายทะเบียนแจ้งต่ออัยการสูงสุดพร้อมด้วยหลักฐาน ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควรก็ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ดังกล่าว ถ้าอัยการสูงสุดไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายทะเบียนตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่งโดยมีผู้แทนจากนายทะเบียน และผู้แทนจากอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานแล้วส่งให้อัยการสูงสุด เพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำร้องได้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจยื่นคำร้องเอง"
จะเห็นได้ว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๖๓ วรรคสองและวรรคสาม เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองเลิกกระทำการตามวรรคสอง กล่าวคือ การใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมาหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งยุบพรรคการเมืองตามมาตรา ๖๓ วรรคสาม ได้ทันที มิใช่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะต้องมีคำสั่งให้พรรคการเมืองเลิกกระทำการตามวรรคสองก่อน ต่อเมื่อพรรคการเมืองไม่เลิกกระทำการ ศาลรัฐธรรมนูญจึงจะสั่งให้ยุบพรรคการเมืองได้ตามที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ กล่าวอ้าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง จึงมิได้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๖๓ ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ ๑ ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ ๗ มีว่า การที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ เป็นการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเพิกถอนการเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว ผู้ร้องจะนำเหตุที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวมาขอให้มีคำสั่งยุบพรรคได้ หรือไม่
ในข้อนี้ผู้ถูกร้องที่ ๓ กล่าวอ้างว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองกลางมีประกาศให้ยกเลิกเพิกถอนแล้ว จะนำเหตุที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวมาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ ๓ ย่อมไม่ได้
พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ศาลปกครองกลางมีคำวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้ว หามีผลเป็นการยกเลิกความผิดที่ได้กระทำไปแล้วไม่ เพราะเป็นคนละส่วน ผู้ร้องยังนำเหตุผู้ถูกร้องที่ 3 ได้กระทำผิดซึ่งเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว มาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ได้
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 8 มีว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ถูกร้องทั้งสามกระทำการตามข้อกล่าวหาหรือไม่
ข้อ 1.พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ร่วมกับนายบุญทวีศักดิ์ อมรสิทธุ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 นายสุขสันต์ ชัยเทศ ผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และอมรวิทย์ สุวรรณผา พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หรือไม่และพลเอก ธรรมรักษ์กับนายพงษ์ศักดิ์ ร่วมกันให้เงินสนับสนุนพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือไม่
ข้อ 2.นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคของผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 อันเป็นเท็จ เพื่อให้นำไปเป็นหลักฐานในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสถาผู้แทนราษฎร หรือไม่
ข้อ 3.พลเอก ไตรรงค์ อินทรทัต และพลโท ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ ร่วมกันให้เงินสนับสนุนนายบุญบารมีภณ หรือบุญอิทธพล ชินราช หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และนางฐัติมา ภาวะลี ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 หรือไม่ และการให้เงินของพลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์แก่นายบุญบารมีภณ และนางฐัติมากระทำในฐานะตัวแทนของพลเอก ธรรมรักษ์หรือไม่
ข้อ 4.นายบุญบารมีภณ ชิณราช หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 จัดทำรายงานประชุมรับสมัครและออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคประเภทกิตติมศักดิให้แก่ผู้สมัครซึ่งเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ติดต่อกันไม่ครบเก้าสิบวัน อันเป็นเท็จเพื่อให้ผู้สมัครนำไปเป็นหลักฐานสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ นั้น
ประเด็นข้อเท็จจริงที่ต้องวิฉิจฉัยข้อ 1 มีว่า พลเอก ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ ผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ร่วมกับนายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรค ผู้ถูกร้องที่ 2 นายสุขสันต์ ผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และนายอมรวิทย์ พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเปลี่ยนแลงแก้ไขฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หรือไม่ และพลเอกธรรมรักษ์กับนายพงษ์ศักดิ์ ร่วมกันให้เงินสนับสนุนพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่
ข้อเท็จจริงที่คู่กรณีไม่ได้โต้แย้งกันฟังได้ว่า นายอมรวิทย์ สุวรรณผา พนักงานการเลือกตั้งกลุ่มปฎิบัติงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบบริหารฐานข้อมูลพรรคการเมือง สำนักกิจการพรรคการเมืองและออกเสียงประชามติ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ตามแบบแจ้งจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองที่เพิ่มขึ้นในรอบปีปฎิทินที่ผ่านมา (แบบท.พ.6) ประจำปี พ.ศ.2548 ที่ผู้ร้องที่ 2 แจ้งให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบเมื่อปลายเดือนมกราคม 2549 โดยนำชื่อ ชื่อสกุล และเลขประจำตัวประชาชนของผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เป็นสมาชิกพรรคติดต่อกันน้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง ไปใส่ไว้แทนสมาชิกเดิมจำนวน 61 ราย และในจำนวนสมาชิกใหม่ 61 รายดังกล่าว ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 จำนวน 21 ราย ตามรายงานการตรวจสอบข้อมูลสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทย ปี 2548 เอกสารหมาย ร.60 ผู้สมัครจำนวน 21 รายดังกล่าว ถูกตัดสิทธิไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่นายอมรวิทย์ตามประมวลกฎหายอาญา มาตรา 264 และส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 84 ต่อไป
ปัญหาต้องวินิจฉัยเบื้องแรกมีว่า นายบุญทวีศักดิ์ อมรสิทธุ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และนายสุขสันต์ ชัยเทศ ผู้อำนายการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมกับนายอมรวิทย์เปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หรือไม่
พิจารณาแล้วเห็นว่า นายอมรวิทย์ให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนและสอบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมายร.23 และ ร.24 และเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า เมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ นายบุญมวีศักดิ์โทรศัพท์ติดต่อขอพบพยานนอกสำนักงานหลายครั้ง เมื่อพยานไปพบนายบุญทวีศักดิ์ นายบุญทวีศักดิ์ขอให้พยานดำเนินการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้ที่จะลงสมัครในนามพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ มีหลักฐานการเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน และเสนอให้ค่าตอบแทนแก่พยานเป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท พยานไปปรึกษานางภัทรลดาหรือเลียม พงษ์อุดทา เพื่อนร่วมงานว่า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายชื่อสมาชิกพรรคทำได้หรือไม่ นางภัทรลดาให้คำแนะนำว่าทำได้ เพราะเป็นข้อมูลของพรรคนั่นเอง พยานมอบนามบัตรของนายบุญทวีศักดิ์ให้แก่นางภัทรลดา นางภัทรลดาโทรศัพท์พูดคุยกับนายบุญทวีศักดิ์ ต่อมาวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๙ เวลาประมาณ ๒๑ นาฬิกา พยานไปรับแผ่นดิสก์ฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถุกร้องที่ ๒ ที่แก้ไขแล้วจำนวน ๒ แผ่น และแบบแจ้งจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองที่เพิ่มขึ้นในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมา (แบบ ท.พ.๖) จำนวน ๓๔ แผ่น จากนายบุญทวีศักดิ์ และนายบุญทวีศักดิ์มอบเงินจำนวน ๓๐,๐๐๐ แก่พยาน ต่อมาวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๙ เวลาประมาณ ๘ นาฬิกา พยานนำแผ่นดิสก์ที่รับมาจากนายบุญทวีศักดิ์ไปแก้ไขหลักฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และนายสุขสันต์ให้ข้อเท็จจริงต่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตามบันทึกถ้อบคำเอกสารหมาย ร.๑๐ แผ่นที่ ๙ ถึง ๑๓ และให้การต่ออนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.๓๗ และเบิกความต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๘ เวลาประมาณ ๑๓ นาฬิกา ขณะที่พยานอยู่ที่จังหวัดนครพนมได้รับการติดต่อจากนายชวการ โตสวัสดิ์ ซึ่งเป็นเพื่อนกันมานานประมาณ ๕ ปี ว่า ยินดีทำงานให้ผู้ถูกร้องที่ ๑ หรือไม่ ผู้ถูกร้องที่ ๑ ให้จัดหาพรรคการเมืองเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในพื้นที่เป้าหมายคือเขตเลือกตั้งภาคใต้ สุพรรณบุรี อ่างทอง สระแก้ว ปละปราจีนบุรี โดยผู้ถูกร้องที่ ๑ ออกค่าใช้จ่ายให้ ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อคน ขณะที่พยานขับรถเข้ากรุงเทพมหานคร พยานติดต่อพรรคการเมืองเล็กได้ ๔ พรรค คือ ผู้ถูกร้องที่ ๒ พรรคเกษตรกรไทย พรรคธมมาธิปไตย และพรรคกฤชไทยมั่นคง ภายหลังคงเหลือ ๓ พรรค คือ ผู้ถุกร้องที่ ๒ พรรคธัมาธิปไตย และพรรคกฤชไทยมั่นคง เมื่อเดินทางถึงกรุงเทพมหานคร พยานไปพบนายชวการและนายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ ที่โรงแรมกานต์มณี พุดคุยหารือเกี่ยวกับการวางตัวผู้สมัครและค่าใช้จ่าย วันรุ่งขึ้นพยานพบหัวหน้าพรรคที่เหลืออีก ๓ พรรค ที่โรงแรมกานต์มณี แล้ว พยานดำเนินการจัดหาผู้สมัครพรรคของผู้ถูกร้องที่ 2 โดยใช้โรงแรมกานต์มณีเป็นศูนย์ประสานงาน วันที่ 6 มีนาคม 2549 นายบุญทวีศักดิ์นำแผ่นดิสก์ฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 มาให้ นายสายัณห์ เจียมสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาฝ้าย หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้สมัครคนหนึ่ง และผู้หญิงที่ไปกับนายอำนาจ รอดช่วย ผู้สมัครอีกคนหนึ่ง พิมพ์แก้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องพักที่โรงแรมกานต์มณี โดยนำรายชื่อผู้ที่สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ใส่เข้าไปแทนสมาชิกเดิม พยานเป็นคนกำกับเองว่าจะเอาใครเข้า จะเอาใครออก เมื่อนายบุญทวีศักดิ์ตรวจสอบแล้ว นายบุญทวีศักดิ์นำแผ่นดิสก์ดังกล่าวไปคืนเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยพยานมอบเงินจำนวน 50,000 บาท ให้แก่นายบุญทวีศักดิ์เป็นค่าดำเนินการ วันรุ่งขึ้นเวลาปาระมาณ 10 นาฬิกา พยานให้นางสาวมณฑิราภรณ์ พิมพ์จันทร์ เลขานุการ ไปตรวจสอบรายชื่อสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง พบว่ามีรายชื่อผู้ที่ใส่เข้าไปใหม่ครบถ้วน เห็นว่าคำให้การและคำเบิกความของนายอมรวิทย์และนายสุขสันต์สอดคล้องกันในสาระสำคัญ ทั้งเป็นเรื่องที่อาจทำให้ทั้งนายอมรวิทย์และนายสุขสันต์ต้องรับโทษในคดีอาญา และมิใช่คำซัดทอดผู้อื่นเพื่อให้ตนเองพ้นผิด จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ ประกอบกับตามบันทึกถ้อยคำของ นายวีระศาสตร์ นริศบุญสนอง ผู้อำนวยฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบบริหารฐานข้อมูลพรรคการเมืองผู้บังคับบัญชาของนายอมรวิทย์ เอกสารหมาย ร.25 และ ร.26 ปรากฎว่า นายอมรวิทย์ยอมรับมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 หรือ 16 มีนาคม 2549 ภายหลังมีข่าวการแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 โดยได้รับการติดต่อจากนายบุญทวีศักดิ์ เมื่อถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาปลอมแปลงเอกสาร นายอมรวิทย์ก็ได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน แสดงว่านายอมรวิทย์ยอมรับมาโดยตลอดว่า เป็นคนแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 โดยได้รับการติดต่อนายบุญทวีศักดิ์ นอกจากนี้นางภัทรลภาหรือเลียม พงษ์อุดทา เพื่อนร่วมงานของนายอมรวิทย์ยังได้เบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำที่ให้ไว้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนตามเอกสารหมาย ร.27 ว่า วันที่นายอมรวิทย์ให้นามบัตรบุคคลหนึ่งแก่นางภัทรลภา นางภัทรลภาโทรศัพท์ไปแจ้งบุคคลดังกล่าวว่า การแก้ไขชื่อทำได้ แต่ต้องทำหนังสือมาตามขั้นตอน แม้นางภัทรลภาอ้างว่า จำไม่ได้ว่านามบัตรที่นายอมรวิทย์มอบให้นามบัตรของใคร และไม่ยืนยันว่าคนที่ตนโทรศัพท์พูดคุยด้วยเป็นใคร แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อนางภัทรลภาได้รับนามบัตรจากนายอมรวิทย์ นางภัทรลภาเป็นฝ่ายโทรศัพท์ไปหาผู้ที่มีชื่อในนามบัตรเอง และเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ เป็นไปไม่ได้ที่นางภัทรสภาจะไม่ดูชื่อเจ้าของนามบัตร และไม่สนใจที่จะทราบว่าผู้ที่ต้องการแก้ไขข้อมูลเป็นใคร เชื่อว่านางภัทรลภาทราบดีว่า บุคคลที่นางภัทรลภาพูดคุยด้วยคือนายบุญทวีศักดิ์ พยานผู้ร้องอ้างในประเด็นนี้ยังมีนายสายัณห์ เจียมสวัสดิ์ ให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.41 ว่า ภายหลังยุบสภาผู้แทนราษฎร พยานประสงค์ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 วันที่ 5 มีนาคม 2549 พยานพบนายบุญทวีศักดิ์ นายสุขสันต์ และผู้ต้องการลงสมัครหลายคน และมีนายอานนท์ หิรัญศิริ พนักงานโรงแรมกานต์มณี ให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.43 ว่า นายบุญทวีศักดิ์อยู่ในห้องพักหมายเลข 203 และร่วมกับนายสุขสันต์จัดทำเอกสารการสมัครผู้แทนราษฎร แสดงว่าในช่วงเวลาที่มีการเตรียมการส่งผู้สมัครในนามพรรคผู้ถูกผู้ถูกร้องที่ 2 ที่โรงแรมกานต์มณี นายบุญศักดิ์อยู่ที่โรงแรมกานต์มณีและรู้เห็นการเตรียมการส่งผู้สมัครมาโดยตลอด ย่อมต้องทราบถึงการดำเนินการแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ที่นายบุญทวีศักดิ์อ้างว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขข้อมูล เป็นการกระทำของนายสุขสันต์คนเดียวจึงรับฟังไม่ได้ และแม้ถ้อยคำของนายสุขสันต์กับนายอมรวิทย์แตกต่างกันเรื่องการพบกันระหว่างนายอมรวิทย์กับนายบุญทวีศักดิ์ กล่าวคือนายสุขสันต์ให้การว่า นายบุญทวีศักดิ์ไปรับแผ่นดิสก์จากนายอมรวิทย์มาแก้ไข เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 21 นาฬิกา แล้วนำแผ่นดิสก์ไปคืนนายอมรวิทย์ วันรุ่งขึ้น เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ส่วนนายอมรวิทย์ยื่นยันว่า นายอมรวิทย์พบนายบุญทวีศักดิ์ครั้งเดียวตอนไปรับแผ่นดิสก์ที่แก้ไขข้อมูลแล้วเมื่อเวลาประมาณ 21 นาฬิกา ของวันที่ 6 มีนาคม 2549 แต่เชื่อว่าข้อเท็จจริงเป็นดังถ้อยคำของนายอมรวิทย์ เพราะนายสายัณฆ์ ให้การบันทึกถ้อยคำเอกสารหมายเลข ร.41 ด้วยว่า เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 นายสายัณห์ไปรับหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคที่โรงแรมกานต์มณี นายสุขสันต์ขอให้นายสายัณห์ช่วยเลขานุการของนายสุขสันต์จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในภาคใต้ นายสายัณห์ช่วยดำเนินการให้ แล้วเดินทางกลับจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อเวลาประมาณ 19 นาฬิกา แสดงว่าการแก้ไขแผ่นดิสก์ฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ก่อนเวลา 19 นาฬิกา และข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกพรรคเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ที่ถูกร้องที่ 2 เพิ่งส่งแผ่นดิสก์รายชื่อสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อปลายเดือนมกราคม 2549 นายบุญทวีศักดิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคน่าจะต้องมีข้อมูลเก็บไว้ จึงไม่จำเป็นต้องไปขอจากนายอมรวิทย์มาเพื่อทำการแก้ไข อีกทั้งนายสุขสันต์ไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ขณะที่นายอมรวิทย์พบนายบุญทวีศักดิ์ อาจจดจำเวลาและเรื่องราวคลาดเคลื่อนได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายบุญทวีศักดิ์ และนายสุขสันต์ร่วมกับนายอมรวิทย์เปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ส่วนผู้ที่ถูกร้องที่ 1 อ้างในคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือว่าในรายงานของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนระบุว่า วันเวลาที่มีการแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ครั้งสุดท้ายคือวันที่ 6 มีนาคม 2549 เวลา 15.43 นาฬิกา ขัดแย้งกับคำให้การของนายสุขสันต์ที่ว่า นายบุญทวีศักดิ์นำแผ่นดิสก์ที่แก้ไขข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 แล้วไปให้นายอมรวิทย์ วันที่ 6 มีนาคม 2549 เวลากลางคืน ทั้งยังขัดแย้งกับคำขอของนายอมรวิทย์ที่ว่านายอมรวิทย์ดำเนินการแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 วันที่ 7 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา คำให้การของนายสุขสันต์และนายอมรวิทย์รับฟ้งไม่ได้นั้น ในข้อนี้นายอภิชาติ ศรวิชัย คณะอนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง เบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า เวลา 15.43 นาฬิกา ของวันที่ 6 มีนาคม 2549 ที่กล่าวถึงในรายการงานตรวจสอบข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ปี 2549 เอกสารหมาย ร.60 แผ่นที่ 3 คือวันเวลาที่มีการแก้ไขข้อมูลในแผ่นดิสก์ และบันทึกข้อมูลที่แก้ไขในแผ่นดิสก์แผ่นนั้น ไม่ใช่วันเวลาที่มีการนำแผ่นดิสก์นั้นเข้าไปแก้ไขข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง คำให้การของนายสุขสันต์และนายอมรวิทย์จึงหาได้ขัดแย้งกับรายงานของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ และผู้ที่ถูกร้องที่ 2 อ้างว่า เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 นายบุญทวีศักดิ์ไปที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมกับนายประพัฒน์ เพชรทอง และนายเอนก จันทร์สนธิ์ เพื่อเช่ารถยนต์มาใช้ในการหาเสียง และเดินทางกลับวันรุ่งขึ้น โดยอ้างหลักฐานการเช่า และมีนายประพัฒน์ กับนายเอนก มาเบิกความเป็นพยานนั้น นายประพัฒน์เป็นเลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 นายเอนกเป็นเหรัญญิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 มิใช่พยาน คนกลาง หลักฐานการเช่าก็ง่ายแก่การทำย้อนหลัง พยานผู้ถูกร้องที่ 2 จึงมีน้ำหนักน้อยข้อต่อสู้ของผู้ถูกร้องที่ 1 และผู้ถูกร้องที่ 2 ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า พลเอก ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ ร่วมกันสนับสนุนให้นายบุญทวีศักดิ์ นายสุขสันต์ และนายอมรวิทย์ เปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หรือไม่ และพลเอก ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ร่วมกันให้เงินสนับสนุนพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งลงแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 หรือไม่
พิจารณาแล้ว นายชวการ โตสวัสดิ์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ให้ข้อเท็จจริงต่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตามเอกสารหมายเลข ร.10 และให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวน ตามเอกสารหมาย ร.36 กับเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า เมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2549 นายพงษ์ศรีหรือยุทธพงษ์ ศิวาโมกข์ นัดพยานให้ไปพบที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งริมถนนนนทบุรีตัดใหม่ ระหว่างพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง มีโทรศัพท์มาหานายพงษ์ศรี พยานฟังแล้วจับใจความได้ว่า ให้หาพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อแก้ปัญหาของผู้ถูกร้องที่ 1 ในเรื่องร้อยละ 20 นายพงษ์ศรีถามพยานว่า มีหรือไม่ พยานตอบว่ามีคือผู้ถูกร้องที่ 2 เพราะพยานรู้จักนายสุขสันต์ นายพงษ์ศรีโทรศัพท์กลับไป บุคคลที่โทรศัพท์มาบอกให้นายพงษ์ศรีหาอีกสองถึงสามพรรค พยานโทรศัพท์แจ้งนายสุขสันต์ทันที และบอกว่ามีค่าใช้จ่ายให้คนละ 100,000 บาท ตามที่ได้พูดคุยกับนายพงษ์ศรี ครู่หนึ่ง นายสุขสันต์โทรศัพท์มาแจ้งว่าหาได้ 4 พรรค คือ ผู้ถูกร้องที่ 2 พรรคธัมมาธิปไตย พรรคกฤชไทยมั่นคง และพรรคเกษตรกรไทย แต่ภายหลังประสานได้เพียง 3 พรรค คือ พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 พรรคธัมมาธิปไตย และพรรคกฤชไทยมั่นคง วันที่ 2 มีนาคม 2549 ขณะที่พยานกำลังจะเดินทางโดยเครื่องบินจากอำเภอหาดใหญ่กลับกรุงเทพมหานคร นายพงษ์ศรี โทรศัพท์แจ้งพยานว่า "นาย" ต้องการพบด่วน พยานบอกว่าขณะนั้นพยานอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ นายพงษ์ศรีบอกว่า เมื่อถึงกรุงเทพมหานครให้ไปพบกันที่พรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เมื่อพยานเดินทางถึงกรุงเทพมหานครแล้ว พยานไปที่ที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 นายพงษ์ศรี นายธีรชัยหรือต้อย จุลพัฒน์ และนายทวี สุวรรณพัฒน์ รออยู่ที่ร้านอาหารตามสั่งข้างที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ก่อนแล้ว นายพงษ์ศรีแนะนำนายทวีว่าเป็นคนใกล้ชิดของพลเอกธรรมรักษ์ และกำลังรอพบพลเอก ธรรมรักษ์ ซึ่งติดประชุมพรรค ต่อมาเวลาประมาณ 20.30 นาฬิกา นายธีรชัย นายพงษ์ศรี และนายทวี พาพยานไปรอที่ห้องประชุมประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคตะวันออกเฉียงเหนือติดกับห้องทำงานของพลเอก ธรรมรักษ์ ระหว่างนั้นพยานโทรศัพท์สอบถามรายชื่อผู้ที่จะลงสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของ 3 พรรคการเมืองดังกล่าวจากนายสุขสันต์ หลังจากนั้นประมาณ 30 นาทีต่อมา พยานพบกับพลเอก ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ พยานมอบรายชื่อผู้ที่จะลงสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้พลเอกธรรมรักษ์ พลเอกธรรมรักษ์ถามนายทวีว่าได้หรือไม่ นายทวีตอบว่าได้ 3 พรรค พลเอก ธรรมรักษ์ถามถึงผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของ 3 พรรค โดยเฉพาะพื้นที่ของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดสระแก้ว พยานก็รับปาก พลเอก ธรรมรักษ์บอกว่า เมื่อสมัครแบบบัญชีรายชื่อและได้หมายเลขสมัครของพรรคแล้ว จะส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้หรือไม่ พยานตอบว่าได้ พลเอก ธรรมรักษ์ถามว่าพวกที่ไม่ครบ 90 วันจะทำอย่างไร พยานตอบว่าจะทำการตัดต่อพันธุกรรมโดยไปนำแผ่นดิสก์ฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคที่ส่งไปให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพิ่มเติมเมื่อต้นปี 2549 กลับมาเปลี่ยนชื่อสมาชิกพรรคบางคนออกแล้วนำชื่อของผู้ที่จะลงสมัครใส่เข้าไปแทนโดยใช้เลขประจำตัวสมาชิกและวันเดือนปีที่สมัครของสมาชิกเดิม พลเอก ธรรมรักษ์ ถามนายพงษ์ศักดิ์ซึ่งนั่งอยู่ว่า เอาตามนี้นะ นายพงษ์ศักดิ์ตอบว่าตกลงตามนี้ แล้วนายพงษ์ศักดิ์ขอตัวกลับออกไป วันที่ 3 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 14 นาฬิกานายธีรชัย แจ้งพยานว่า "นาย" ให้ไปรับเงินที่ที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 พยาน นายทวี นายพงษ์ศรี และนายธีรชัยเดินทางไปที่ที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ระหว่างทางมีโทรศัพท์แจ้งนายทวีว่า "นาย" ให้ไปรับเงินที่กระทรวงกลาโหม จึงพากันไปที่กระทรวงกลาโหม พยานกับพวกรออยู่ประมาณ 20 นาที พลเอกธรรมรักษ์มาถึงและเรียกนายทวีเข้าไปในห้อง สักครู่นายทวีออกมาพร้อมกับเงินจำนวนหนึ่ง และบอกพยานว่า ให้นำไปเป็นค่าสมัครของผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อก่อน พยานนับเงินดังกล่าวได้จำนวน 50,000 บาท แล้วนำไปมอบให้นายบุญทวีศักดิ์เป็นค่าสมัครแบบบัญชีรายชื่อ วันที่ 4 ถึง 5 มีนาคม 2549 พยานเริ่มติดต่อหาผู้สมัครโดยใช้โรงแรมกานต์มณี ห้องพักหมายเลข 401 เป็นศูนย์ประสานงาน วันที่ 6 มีนาคม 2549 สรุปยอดผู้สมัครได้ 33 คน นายทวีนำเงินมาให้ ช่วยกันนับใส่ซอง ซองละ 20,000 บาท ได้ 12 ซอง ไม่พอจ่ายแก่ผู้สมัคร 33 คนนายทวีไปนำเงินมาอีกแบ่งใส่ซอง ซองละ 20,000 บาท ได้ 38 ซอง และให้ผู้สมัครไป 33 ซอง ที่เหลือได้แบ่งกันระหว่างผู้ร่วมงาน และเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 11 นาฬิกา นายทวีนำเงินค่าสมัครของผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดนครพนม 5 คน และจังหวัดสกลนคร 2 คน จำนวน 140,000 บาท มาให้พยานที่โรงแรมกานต์มณี พยานไปโอนเงินดังกล่าวที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) สาขาประดิพัทธ์ ไปเข้าบัญชีของนายสุขสันต์ที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) สาขานครพนม วันเดียวกัน
เวลาประมาณ 12 นาฬิกา และมีนายสุขสันต์ให้ข้อเท็จจริงต่อนายสุเทพ ตามเอกสารหมาย ร.10 แผ่นที่ 9 ถึง 13 และให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ตามบ้นทึกถ้อยคำเอกสารหมายร.37 กับเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า เมื่อนายชวการโทรศัพท์ไปชักชวนพยานให้ทำงานให้ผู้ถูกร้องที่ 1 โดยทำหน้าที่ติดต่อประสานพรรคการเมืองพรรคเล็กให้ส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พยานติดต่อพรรคการเมืองและเริ่มดำเนินการหาผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คัดเลือกสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งได้จำนวน 33 คน ลงสมัครที่จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดลำปาง จังหวัดละ 1 คน จังหวัดแพร่ 2 คน กรุงเทพมหานคร 3 คน และในภาคใต้ 25 คน วันที่ 8 มีนาคม 2549 นายชวการโทรศัพท์ถามพยานว่ามีผู้สมัครเหลืออีกกี่คน พยานบอกว่าเหลือจังหวัดนครพนม 5 เขต กับจังหวัดสกลนคร 2 เขต รวม 7 คน นายชวการจึงโอนเงินจำนวน 140,000 บาท ไปเข้าบัญชีเงินฝากของพยานที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขานครพนม แต่เนื่องจากพยานจัดเตรียมเอกสารให้ไม่ทันจึงไม่ส่งลงสมัคร และโอนเงินจำนวนดังกล่าวผ่านเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติคืนแก่นายชวการเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2549 เห็นว่าคำให้การและคำเบิกความของนายชวการและนายสุขสันต์สอดคล้องและเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุผล กล่าวคือ เรื่องที่นายชวการติดต่อนายสุขสันต์ให้หาพรรคการเมืองพรรคเล็กส่งผู้สมัคร โดยเน้นพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ ก็ปรากฎว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 นั้น พรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชนไม่ส่งผู้สมัคร คงมีเพียงผู้ถูกร้องที่ 1 กับพรรคการเมืองเล็กลงสมัคร และเขตเลือกตั้งในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้นั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมอย่างสูงมาเป็นเวลายาวนาน ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่า หากมีผู้สมัครจากพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงพรรคเดียวในพื้นที่ดังกล่าว โอกาสที่ผู้สมัครนั้นจะได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 74 วรรคสอง นายสุขสันต์จึงได้จัดส่งผู้สมัครลงพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ถึง 25 คน จากจำนวนผู้สมัครทั้งหมด 33 คน เจือสมกับถ้อยคำของนายชวการที่ว่า นายพงษ์ศรีบอกนายชวการว่า พลเอก ธรรมรักษ์เน้นให้หาผู้สมัคร ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ นอกจากนี้ที่นายชวการให้การว่า วันที่นายชวการไปรอพลเอกธรรมรักษ์ที่ห้องประชุมของประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานติดกับห้องของนายพลเอก ธรรมรักษ์ เมื่อพลเอกธรรมรักษ์ นายพงษ์ศักดิ์ นายทหารนอกเครื่องแบบ 2 นาย และอดีตสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เขต 15 จังหวัดนครราชสีมาเข้ามาในห้อง มีการนั่งกันตามแผนผังแนบท้ายเอกสารหมาย ร.11 ก็ได้ความว่าพลเอกธรรมรักษ์มีตำแหน่งเป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานของผู้ถูกร้องที่ 1 และหากนายชวการไม่ได้พบพลเอก ธรรมรักษ์กับนายพงษ์ศักดิ์ที่ที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 นายชวการไม่น่าจะสามารถให้รายละเอียดถึงการนั่งในห้องดังกล่าว การจัดหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในเวลาต่อมาก็เป็นไปตามวิธีการที่นายชวการแจ้งให้พลเอก ธรรมรักษ์กับนายพงษ์ศักดิ์ทราบ ต่อมาวันที่ 3 มีนาคม 2549 นายทวี นายพงษ์ศรี และนายธีรชัย พานายชวการเข้าไปในกระทรวงกลาโหมได้โดยไม่ต้องรับบัตรผ่านเข้าออกหรือถูกตรวจสอบจากทหารรักษาการณ์ ทั้งสามารถเข้าไปรอพบพลเอก ธรรมรักษ์ถึงหน้าห้องทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งๆ ที่เป็นบุคคลภายนอกแสดงว่านายทวี นายพงษ์ศรี และนายธีรชัย เคยผ่านเข้าออกหลายครั้งจนเป็นที่คุ้นเคยของทหารรักษาการณ์ พลเอก ธรรมรักษ์เองก็ได้ให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ร.261 ยอมรับว่า รู้จักกับนายทวีซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวอิสระที่มาให้ข่าวเกี่ยวกับความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ จึงเชื่อได้ว่าก่อนนายทวีพานายชวการไปที่กระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 มีการนัดหมายกับพลเอก ธรรมรักษ์มาก่อนแล้ว สอดคล้องกับถ้อยคำของนายชวการที่ว่า เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ระหว่างเดินทางไปที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 มีผู้โทรศัพท์แจ้งนายทวีว่า "นาย" ให้เปลี่ยนสถานที่รับเงินเป็นที่กระทรวงกลาโหม ส่วนที่พลเอก ธรรมรักษ์อ้างว่า วันที่ 3 มีนาคม 2549 นายทวีไม่ได้เข้าไปพบพลเอก ธรรมรักษ์ในห้องทำงานเพราะพลเอกธรรมรักษ์ไม่มีเวลาว่างโดยอ้างบันทึกยืนยันข้อเท็จจริงของพลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา และคำเบิกความของนายสมาน วงศ์วรายุทธ พลตรี พฤณฑ์ สุวรรณทัต พลเอก ธีรพงศ์ จิระวงศ์ และพันเอก เชิดพงษ์ บุณยเกียรตินั้นข้อเท็จจริงตามบันทึกยืนยันข้อเท็จจริงของพลเอก ยุทธศักดิ์ และคำเบิกความของพยานดังกล่าวปรากฏว่า นายสมานไปพบพลเอก ธรรมรักษ์เพื่อพูดคุยเรื่องที่พลเอก ธรรมรักษ์จะต้องไปเป็นประธานในพิธีเปิดงานอนุสาวรีย์ปราบฮ่อและงานกาชาดประจำปี 2549 แทนพันตำรวจโท ทักษิณ และพลเอกยุทธศักดิ์เพียงแต่รอจะไปร่วมฟังการปราศรัยของพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 กับพลเอก ธรรมรักษ์เท่านั้น มิใช่กิจธุระสำคัญถึงขนาดที่ไม่อาจให้นายทวีเข้าพบพลเอก ธรรมรักษ์ได้ในระหว่างนั้น และที่นายพงษ์ศักดิ์อ้างฐานที่อยู่ว่า ในวันดังกล่าว นายพงษ์ศักดิ์ไปร่วมประชุมกรรมการบริหารพรรค 4 ภาค แล้วออกไปรับประทานอาหารกับนายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ที่ร้านอาหารครัวเกศณี ระหว่างนั้นพลตำรวจตรีประวุฒิ ถาวรศิริ ที่ปรึกษาสมาคมกอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทยมาสมทบพูดคุยเรื่องงานของสมาคมกอล์ฟ จนกระทั่งเวลาประมาณ 22 นาฬิกา ก็ได้แยกย้ายกันกลับ โดยนายสุรศักดิ์และพลตำรวจตรีประวุฒิทำบันทึกยืนยันข้อเท็จจริงเข้ามานั้นไม่มีน้ำหนักเพียงพอหักล้างถ้อยคำของนายชวการตลอดจนพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวได้
ที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า พยานอื่นที่อยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน คือนายทวี นายพงษ์ศรี และนายธีรชัย ให้การและเบิกความแตกต่างกับนายชวการนั้น เหตุการณ์ที่ที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2549 ซึ่งนายชวการยืนยันว่า วันดังกล่าวนายชวการ นายทวี นายพงษ์ศรี และนายธีรชัย ได้ขึ้นไปพบพลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับรายละเอียดขั้นตอนและวิธีการแก้ไขคุณสมบัติโดยวิธีการที่เรียกว่าการตัดต่อพันธุกรรม แต่นายทวี นายพงษ์ศรี และนายธีรชัยต่างให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.272 ร.271 และ ร.270 และเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมว่า วันดังกล่าวนายชวการ นายทวี นายพงษ์ศรี และนายธีรชัยไม่ได้ขึ้นไปที่ที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เนื่องจากได้รับแจ้งว่า ผู้ใหญ่ไม่ว่างนั้น เมื่อพิจารณาคำให้การของนายทวี นางพงษ์ศรี และนายธีรชัย โดยละเอียดแล้ว นายทวีให้การว่า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2549 นางพงษ์ศรีและนายธีรชัยนัดให้ไปพบที่ร้านอาหารข้างที่ทำการพรรค ผู้ถูกร้องที่ 1 โดยแจ้งว่านายชวการมีเรื่องสำคัญต้องการพบ เมื่อนายพงษ์ศรีและนายธีรชัยแนะนำนายทวีให้รู้จักนายชวการแล้ว นายชวการบอกนายทวีว่า อยากให้พาไปพบพลเอกธรรมรักษ์ นายทวีโทรศัพท์ติดต่อพันเอกเชิดพงษ์ บุญเกียรติ ช่างภาพประจำตัวพลเอกธรรมรักษ์ซึ่งรู้จักกันดี พันเอกเชิดพงษ์แจ้งว่านายติดประชุมให้ติดต่อวันหลัง หลังจากนั้นนั่งคุยกันสักพักก่อนแยกย้ายกันกลับ ส่วนนายพงษ์ศรีให้การว่า ก่อนวันที่ 2 มีนาคม 2549 นายชวการซึ่งเคยรู้จักผู้ใหญ่ในพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 นายธีรชัยแจ้งว่า มีนายทวีซึ่งทำงานหนังสือพิมพ์รู้จักผู้ใหญ่ทุกพรรค ต่อมาวันที่ 2 มีนาคม 2549 นายพงษ์ศรีโทรศัพท์สอบถามนายธีรชัย นายธีรชัยแจ้งว่าติดต่อได้แล้ว และนัดพบวันเดียวกันเวลาประมาณ 19 นาฬิกา ที่ร้านอาหารข้างที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เมื่อนายพงษ์ศรีแนะนำนายชวการให้รู้จักนายทวีและนายธีรชัยแล้ว นายพงษ์ศรีบอกนายชวการว่า นายทวีติดต่อผู้ใหญ่ในพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ให้ได้ หลังจากนั้นมีการพูดคุยการเมืองเรื่องยุบสภา แล้วนายทวีบอกให้นายชวการรอ กำลังประสานติดต่อขอพบผู้ใหญ่ในพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 โดยไม่ได้บอกว่าผู้ใหญ่คือผู้ใด จนเวลาประมาณ 21 นาฬิกา นายทวีบอกว่า วันนี้ไม่สามารถติดต่อผู้ใหญ่ในพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้ จึงแยกย้ายกันกลับและนายธีรชัยให้การว่า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 19 นาฬิกา นายธีรชัย นายพงษ์ศรี และนายทวี นัดรับประทานอาหารที่ร้านอาหารข้างที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 หลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง นายชวการซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เข้ามาสมทบ เมื่อนายพงษ์ศรีแนะนำนายชวการให้รู้จักนายทวีและนายธีรชัยแล้ว มีการพูดคุยเรื่องทั่วๆไป นายชวการให้นายทวี ติดต่อผู้ใหญ่ในพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 นายทวีโทรศัพท์ติดต่อแล้วแจ้งว่าไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจากผู้ใหญ่ไม่ว่าง จึงไดแยกย้ายกันกลับ ดังนี้ ตามคำให้การของนายทวีและนายธีรชัย แสดงว่า นายทวีไม่เคยทราบมาก่อนว่า นายชวการต้องการให้นายทวีติดต่อผู้ใหญ่ของพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพิ่งทราบขณะที่นั่งรับประทานอาหารกัน แต่ตามคำให้การของนายพงษ์ศรี ทั้งนายทวีและนายธีรชัยทราบมาก่อนแล้วว่า นายชวการต้องการให้นายทวีติดต่อผู้ใหญ่ของพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 คำให้การของนายทวี นายพงษ์ศรีและนายธีรชัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันที่ 2 มีนาคม 2549 จึงแตกต่างกันในสาระสำคัญ ส่วนเหตุการณ์ที่กระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ซึ่งนายชวการยืนยันว่า เมื่อพลเอกธรรมรักษ์เดินผ่านมา พลเอกธรรมรักษ์เรียกนายทวีเข้าไปในห้องทำงาน สักครู่นายทวีออกมาจากห้อง ถือเงินมาในมือ มอบให้นายชวการไปจัดการเรื่องการสมัครแบบบัญชีรายชื่อ และแจ้งว่าพลเอก ธรรมรักษ์ ให้ค่าสมัครมาเพียงพรรคเดียว อีก 2 พรรคให้ช่วยตัวเองไปก่อน แต่นายทวี นายพงษ์ศรีและนายธีรชัยต่างให้การและเบิกความว่า ในวันดังกล่าวนายทวีไม่ได้เข้าไปในห้องทำงานของพลเอก ธรรมรักษ์และไม่ได้รอพบ เนื่องจากพลเอก ธรรมรักษ์มีแขก และนายชวการมีธุระสำคัญรอไม่ได้นั้น นายทวีให้การว่า นายทวีเดินขึ้นไปก่อนทางบันไดด้านหลัง อีกสามคนตามไปภายหลัง ไปรอที่ระเบียงชั้นสองหน้าห้องเจ้าหน้าที่ ห่างจากห้องทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประมาณ 50 เมตร นายทวีโทรศัพท์ติดต่อพันเอก เชิดพงษ์ ได้รับแจ้งว่าพลเอกธรรมรักษ์ยังมีแขก สักครู่พันเอก เชิดพงษ์เดินออกมาบอกว่า สงสัยจะนานและเดินกลับเข้าห้องทำงาน นายชวการบอกนายพงษ์ศรีว่ารอไม่ได้มีธุระสำคัญ จึงพากันกลับ ส่วนนายพงษ์ศรีให้การว่า เมื่อเข้าไปในกระทรวงกลาโหม นายทวีพานายพงษ์ศรีกับพวกไปที่สำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขณะนั้นยังไม่ทราบว่า นายทวีจะพาไปพบผู้ใด นายพงษ์ศรี นายธีรชัยและนายชวการไปรอกันอยู่ที่ระเบียง นายทวีเดินเข้าไปในสำนักงาน ต่อมาประมาณ 20 ถึง 30 นาที นายทวีออกมาบอกนายพงษ์ศรีกับพวกว่า ไม่สามารถติดต่อขอเข้าพบผู้ใหญ่เพราะมีแขก จะรอหรือไม่ นายชวการบอกว่า นัดกับหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ไว้ที่สนามกีฬา ซึ่งเป็นสถานที่สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จึงได้พากันกลับออกมา นายธีรชัยให้การว่า เมื่อลงจากรถนายทวี นายพงษ์ศรี และนายชวการเดินขึ้นบันไดไปก่อน นายธีรชัยเดินตามไปสมทบภายหลัง ขณะนั้นทราบแล้วว่า นายทวีจะพาไปพบพลเอก ธรรมรักษ์ นายทวี นายพงษ์ศรี นายชวการ และนายธีรชัยไปรออยู่บริเวณทางเดิน หลังจากนั้นประมาณ 10 นาที นายธีรชัยขอตัวไปรอยู่ที่รถยนต์ หลังจากนั้นประมาณ 30 นาที ทั้งสามคนกลับมาที่รถ นายทวีบอกว่า พลเอก ธรรมรักษ์ไม่ว่าง ดังนี้ ตามคำเบิกความของนายทวีและนายธีรชัยแสดงว่า ก่อนไปกระทรวงกลาโหม นายทวี นายธีรชัย และนายพงษ์ศรีทราบแล้วว่า ผู้ที่จะไปพบกับกระทรวงกลาโหม คือพลเอก ธรรมรักษ์ แต่นายพงษ์ศรีกลับให้การว่า แม้ขึ้นไปบนกระทรวงกลาโหมกันแล้ว ก็ยังไม่ทราบว่าผู้จะไปพบเป็นใคร นอกจากนี้ตามคำให้การของนายทวีและนายพงษ์ศรีไม่ปรากฏว่า ขณะที่รอพลเอก ธรรมรักษ์อยู่นั้น นายธีรชัยแยกกลับรอที่รถยนต์ก่อน แต่นายธีรชัยกลับให้การยืนยันว่า หลังจากรอพลเอก ธรรมรักษ์ได้ประมาณ 10 นาที นายธีรชัยแยกกลับไปรอที่รถยนต์ คำให้การของนายทวี นายพงษ์ศรี และนายธีรชัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กระทรวงกลาโหมจึงมีข้อแตกต่างในสาระสำคัญหลายประการ ส่วนเหตุการณ์ที่โรงแรมกานต์มณี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 ที่นายชวการให้การและเบิกความว่า นายทวีนำเงินไปให้นายชวการที่โรงแรมกานต์มณี ช่วยกันนับใส่ซอง ซองละ 20,000 บาท ได้ 12 ซอง ไม่พอจำนวนผู้สมัคร 33 คน นายทวีกลับออกไปรับเงินมาอีกครั้ง ใส่ซองได้ 38 ซอง ซึ่งรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 760,000 บาท มอบให้ผู้สมัครไป 33 ซอง ที่เหลือแบ่งกันระหว่างเพื่อนร่วมงานนั้น เรื่องนี้นายธีรชัยให้การและเบิกความรับว่า นายธีรชัยเป็นคนไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อตรงข้ามโรงแรมกานต์มณี แล้วช่วยนับเงินใส่ซอง นายชวการเป็นคนนำไปมอบให้ผู้สมัคร แม้นายธีรชัยเบิกความว่า ไม่ทราบว่าจำนวนเงินดังกล่าวนายชวการได้มาจากใคร แต่เงินจำนวน 760,000 บาท เป็นเงินจำนวนมาก นายบุญทวีศักดิ์ยืนยันตลอดมาว่า พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่มีเงินที่จะนำไปสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง แสดงว่า เงินจำนวนดังกล่าวไม่ใช่เงินของผู้ถูกร้องที่ 2 เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่า นายธีรชัยไม่เคยรู้จักนายชวกรมาก่อน และนายธีรชัยมีความใกล้ชิดกับนายทวี ถึงขนาดที่นายทวีจัดหาบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกกระทรวงกลาโหมให้นำไปติดกระจกรถยนต์ การที่นายธีรชัยไปช่วยซื้อซองใส่เงินและช่วยนับเงินใส่ซองที่โรงแรมกานต์มณีเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 จึงเชื่อได้ว่า เป็นการไปช่วยงานของนายทวีที่ได้รับมอบหมายจากพลเอกธรรมรักษ์ และเชื่อได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่ นายทวีนำไปมอบให้นายชวการเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ดำเนินการจัดหาผู้สมัคร และสำหรับเหตุการณ์ในวันที่ 8 มีนาคม 2549 ที่นายชวการให้การและเบิกความว่า นายทวีมอบเงินให้นายชวการอีก 140,000 บาท เพื่อให้นายชวการโอนไปเข้าบัญชีนายสุขสันต์ และให้นายสุขสันต์มอบให้ผู้สมัครในนามพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ที่ยังไม่ไดสมัครอีก 7 คนนั้น นอกจากนายสุขสันต์จะได้ให้การและเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ยังมีหลักฐานคือใบคำขอโอนเงินของธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนประดิพัทธ์ เอกสารหมาย ร.223 มีข้อความระบุว่า นายชวการขอโอนเงินจำนวน 140,000 บาท ไปเข้าบัญชีของนายสุขสันต์ที่ธราคารกสิกรไทย สาขานครพนม เป็นพยานเอกสารสนับสนุนคำของนายชวการและนายสุขสันต์อีกด้วย
ส่วนที่ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า นายสุขสันต์ให้การว่า วันที่ 8 มีนาคม 2549 นายสุขสันต์อยู่ที่โรงแรมมายเฮ้าส์ กรุงเทพมหานคร ไม่มีทางที่นายสุขสันต์จะถอนเงินและส่งเงินให้แก่ผู้สมัครได้ทัน การโอนเงินดังกล่าวจึงเป็นการสร้างหลักฐานเพื่อใส่ร้ายผู้ถูกร้องที่ 1 นั้น ในเรื่องนี้นายสุขสันต์เบิกความว่า แม้เป็นบัญชีของธนาคารซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดนครพนม แต่นายสุขสันต์ก็สามารถเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้ด้วยบัตรถอนเงินอัตโนม้ติ ซึ่งเป็นเหตุผลที่รับฟังได้ และวันที่มีการโอนเงินคือวันที่ 8 มีนาคม 2549 นั้น เป็นช่วงเวลาหลังจากนายชวการได้รับเงินจำนวน 760,000 บาท จากนายทวีเพียง 2 วัน ยังไม่มีเหตุที่ทำให้นายชวการและนายสุขสันต์ เกิดความรู้สึกว่า จะไม่ได้รับเงินเพิ่มอีก จึงเชื่อได้ว่าการโอนเงินดังกล่าวมิได้เป็นการโอนเงินเพื่อสร้างหลักฐานเพื่อเอาผิดกับผู้ถูกร้องที่ 1 ดังที่ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายทวีมอบเงินจำนวน 140,000 บาท แก่นายชวการด้วย และที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า นายชวการเป็นชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีเช่นเดียวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนนายสุขสันต์เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันวางแผนใส่ร้ายพลเอกธรรมรักษ์กับนายพงษ์ศักดิ์นั้น แม้นายชวการเป็นชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีเช่นเดียวกับนายสุเทพ แต่การกระทำของนายชวการเป็นฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญา และไม่ไมเหตุผลประการใดที่นายชวการจะยอมเอาตัวเข้าเสี่ยงต่อการถูกลงโทษ เพียงเพราะเป็นคนจังหวัดเยวกับนายสุเทพ การที่นายชวการตกลงดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกร้องที่ 1 เชื่อว่าเป็นเพราะผลประโยชน์ที่จะได้รับจากผู้ถูกร้องที่ 1 มากกว่า ส่วนนายสุขสันต์เคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ แล้วลาออกไปร่วมจัดตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ต่อมาลาออกจากพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ไปเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม เมื่อไม่ได้รับเลือกตั้งก็ลาออกจากสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมานายสุขสันต์ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 13 มรกราคม 2549 และผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้มีหนังสืออนุญาให้ลาออกจาการเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 แล้วไปรับตำแหน่งผูกพันอยู่กับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นบันทึกถ้อยคำของนายสุขสันต์ที่ให้การไว้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเอกสารหมาย ร.37 ก็มิได้พาดพิงถึงพลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์หรือผู้ถูกร้องที่ 1 แต่ประการใด จึงไม่อาจฟังว่า นายสุขสันต์สมคบกับนายชวการสร้างเรื่องใส่ร้ายผู้ถูกร้องที่ 1
ที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า ผู้สมัครของพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่ว่านายปฏิพัฒน์เกียรติธีรวิชัย นายชารัตน์ มณีศรี นายสมบูรณ์ ตั้งจิตสมบูรณ์ และพันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ไม่มีผู้ใดให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้รับเงินคนละ 20,000 บาท จากนายธีรชัยที่โรงแรมกานต์มณีตามที่นายชวการให้การนั้น ข้อนี้แม้พยานผู้ร้องดังกล่าวจะไม่มีผู้ใดให้ถ้อยคำว่าได้รับเงินจำนวน 20,000 บาท จากนายธีรชัยหรือต้อย แต่นายปฏิพัฒน์ให้การตามเอกสารหมาย ร.50 ว่า หลังจากพยานไปสมัครแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ถูกร้องที่ 2 โอนเงินให้นายชารัตน์ 30,000 บาท แล้วนายชารัตน์นำมาให้พยาน 15,000 บาท นายชารัตน์ให้การตามเอกสารหมาย ร.48 ว่า หลังจากพยานไปสมัครแล้ว พันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ ผู้ประสานงานพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 โอนเงินมาเข้าบัญชีของพยานที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขากันตัง จำนวน 30,000 บาท โดยบอกว่าเป็นค่าจัดทำเอกสารหาเสียงในการสมัครรับเลือกตั้ง และให้พยานแบ่งให้นายปฏิพัฒน์ 15,000 บาท นายสมบูรณ์ให้การตามเอกสารหมาย ร.47 ว่า พยานออกค่าสมัครและค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง แต่ก็ทราบจากผู้ที่มาสมัครเป็นสมาชิกพรรคด้วยกันพูดคุยกันว่ามีพรรคใหญ่ไม่ทราบว่าพรรคใหญ่ไม่ทราบว่าพรรคใดให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสมัคร โดยเฉพาะในภาคใต้ แม้พันตำรวจตรีเสงี่ยมให้การตามเอกสารหมาย ร.46 ว่า พยานออกค่าใช้จ่ายสมัครรับเลือกตั้งเองและยังได้ออกค่าใช้จ่ายจัดทำเอกสารให้นายชารัตน์และนายปฏิพัฒน์อีกคนละ 15,000 บาท ผู้ถูกร้องที่ 2 และนายบุญทวีศักดิ์ไม่มีเงินแม้แต่ค่าสมัคร ผู้สมัครยังต้องออกเงินกันเองหรือเรี่ยไรกัน นายประยูร พูลจันทร์ ให้การตามเอกสารหมาย ร.44 ว่านายบุญทวีศักดิ์ มอบเงินค่าสมัครของผู้สมัครรับเลือกตั้งของจังหวัดนครศรีธรรมราชพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ให้พยาน จำนวน 72,000 บาท พยานจ่ายเป็นค่าสมัครให้ผู้สมัครคนละ 12,000 บาท แม้คำให้การของพยานบุคคลดังกล่าวแตกต่างกัน แต่ก็ได้ความตรงกันว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 และนายบุญทวีศักดิ์ไม่มีเงินสนับสนุนสมาชิกพรรคที่ลงสมัคร ทั้งเงินที่ผู้สมัครแต่ละคนยังจะต้องหักเป็นค่านายหน้าให้แก่ผู้ประสานงานหาผู้สมัครอีกด้วย จึงเชื่อว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 ได้รับเงินสนับสนุนในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสอดคล้องกับถ้อยคำของนายชวการและนายสุขสันต์ดังกล่าว
เงินจำนวน 50,000 บาท จำนวน 760,000 บาท และจำนวน 140,000 บาท ที่นายทวีมอบให้นายชวการเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 วันที่ 6 มีนาคม 2549 และวันที่ 8 มีนาคม 2549 ดังกล่าวข้างต้นนั้น เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วว่า การมอบเงินทั้งสามครั้งเกิดขึ้นภายหลังนายทวีพานายชวการไปพบพลเอกธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ที่ที่ทำการพรรคไทยรักไทย และการพบกันในวันนั้นมีการพูดคุยกันในวันดังกล่าว อีกทั้งนายทวีไม่ได้ประโยชน์ประการใดจากการมอบเงินให้แก่นายชวการ จึงเชื่อได้ว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่นายทวีรับจากพลเอกธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์แล้วนำไปมอบให้นายชวการ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า พลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ร่วมกันสนับสนุนให้นายบุญทวีศักดิ์ นายสุขสันต์ และนายอมรวิทย์ แก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และพลเอก ธรรมรักษ์กับนายพงษ์ศักดิ์ให้เงินสนับสนุนพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งลงแข่งขันกับผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1
ปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัยข้อ 2 ที่ว่า นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคของผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 อันเป็นเท็จ ให้นำไปเป็นหลักฐานลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือไม่นั้น
ปัญหานี้ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 นั้น ผู้ถูกร้องที่ 2 ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 5 คน แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 31 คน ปรากฏว่า ผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อได้รับการประกาศให้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งทุกคน ส่วนผู้สมัครแบ่งเขตเลือกตั้ง ในชั้นแรกได้รับการประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 21 คน ไม่ได้รับการประกาศรายชื่อ 10 คน แต่ต่อมาผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้รับสมัครจำนวน 9 คน ศาลฎีกาก็มีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเหตุเป็นสมาชิกพรรคผู้มีถูกร้องที่ 2 ติดต่อกันน้อยกว่า 90 วัน จำนวน 17 คน และมีคำสั่งให้รับสมัครเพิ่ม 1 คน จึงยังคงมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในนามพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ที่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 5 คน ตามเอกสารสรุปผลการประกาศรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หมาย ร.58 แผ่นที่ 19 ถึง 20
พิจารณาแล้วเห็นว่า ในทะเบียนรายชื่อสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 จากแผ่นดิสก์ฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ก่อนและหลังการแก้ไข เปรียบเทียบเฉพาะหมายเลขสมาชิกเหมือนกันแต่ชื่อสมาชิกต่างกันตามเอกสารหมาย ร.157 ปรากฏว่า มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสมาชิกของพรรคผู้ถูกร้องรายชื่อของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เช่น นายชวการ โตสวัสดิ์ ใช้เลขประจำตัวสมาชิกและวันเดือนปีที่สมัครสมาชิกของสมาชิกเดิม และมีรายชื่อของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เช่น นายชวการ โตสวัสดิ์ ใช้เลขประจำตัวสมาชิกและวันเดือนปีที่สมัครสมาชิกของผู้มีชื่อและชื่อสกุลว่า ไสว จินดาวงษ์ ซึ่งสมัครเป็นสมาชิกวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 นายชารัตน์ มณีศรี ใช้เลขประจำตัวสมาชิกของผู้มีชื่อและชื่อสกุลว่า สำราญ ฤทธิ์ธวัช นายสมบูรณ์ จิตตั้งสมบูรณ์ ใช้เลขประจำตัวสมาชิกและวันเดือนปีที่สมัครสมาชิกของผู้มีชื่อและชื่อสกุลว่า กุสุมา อุทธานิช ซึ่งสมัครเป็นสมาชิกวันที่ 8 มกราคม 2548 นายดิเรก หนูสาย ใช้เลขประจำตัวสมาชิกและวันเดือนปีที่สมัครสมาชิกของผู้มีชื่อและชื่อสกุลว่า สมพร ธงทอง ซึ่งสมัครเป็นสมาชิกวันที่ 1 มรกราคม 2548 นายอำนาจ รอดช่วยใช้เลขประจำตัวสมาชิกและวันเดือนปีที่สมัครสมาชิกของผู้มีชื่อและชื่อสกุลว่า วงวาส กะตารัตน์ ซึ่งสมัครเป็นสมาชิกวันที่ 18 18 สิงหาคม 2548 นายวิรัตน์ ตรีโชติ ใช้เลขประจำตัวสมาชิกและวันเดือนปีที่สมัครสมาชิกของผู้มีชื่อและชื่อสกุลว่า จันทา คชมิตร ซึ่งสมัครเป็นสมาชิกวันที่ 5 มกราคม 2548 นายปฏิพัฒน์ เกียรติธีรวิชัย ใช้เลขประจำตัวสมาชิกและวันเดือนปีที่สมัครสมาชิกของผู้มีชื่อและชื่อสกุลว่า ณัฐวุฒิ ทิพวัลย์ ซึ่งสมัครเป็นสมาชิกวันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้น โดยปรากฏตามรายงานการตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เอกสารหมาย ร.123 แผ่นที่ 28 และ 79 ว่า นายชวการเป็นผู้สมัครเขต 29 กรุงเทพมหานคร นายดิเรก หนูสาย เป็นผู้สมัครเขต 9 จังหวัดตรัง โดยนายสมบูรณ์ จิตตั้งสมบูรณ์ ผู้สมัครเขต 1 กรุงเทพมหานคร เบิกความรับรองบันทึกถ้อยคำที่ให้การไว้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนเอกสารหมาย ร.47 ยอมรับว่า พยานเพิ่งสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2549 แต่นายบุญทวีศักดิ์ ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคให้พยานโดยระบุว่าพยานเป็นสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2547(น่าจะเป้ฯวันที่ 8 มกราคม 2548 ตามเอกสารหมาย ร.157) หมายเลขสมาชิกพรรค 7558/2548 ซึ่งเป็นหมายเลขสมาชิกเดิมของผู้มีชื่อและชื่อสกุลว่า กุสุมา อุทธานิช ตามเอกสารหมาย ร.47 แผ่นที่ 13 โดยนายบุญทวีศักดิ์บอกว่า หนังสือรับรองดัวกล่าวนำไปสมัครับเลือกตั้งได้ แม้นายชารัตน์ มณีศรี ผู้สมัครเขต 4 จังหวัดตรัง เบิกความรับรองบันทึกถ้อยคำที่ให้ไว้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเอกสานหมาย ร.48 ว่า พยานสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 หมายเลขสมาชิก 0734/2548 ก็ดี นายวิรัตน์ ตรีโชติ ผู้สมัครเขต 5 จังหวัดนครศรีธรรมราช เบิกความรับรองบันทึกถ้อยคำที่ให้ไว้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเอกสารหมายร.105 ว่า พยานนสมาชิกเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2548 และได้รับหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคของนายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ ตามเอกสารหมาย ร.105 แผ่นที่ 5 ก็ดี หรืออำนาจ รอดช่วย ผู้สมัครเขต 8 จังหวัดนครศรึธรรมราช ให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเอกสารหมาย ร.107 และ ร.114 ว่า พยานกรอกใบสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 วันที่ 7 กรกฎาคม 2548 พรรคมีมติรับเป็นสมาชิกเมื่อวันที 18 สิงหาคม 2548 ตามใบสมัครและหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคของนายบุญทวีศักดิ์ เอกสารหมาย ร.114 แผ่นที่ 4 ถึง 5 ก็ดี พยานเหล่านี้ต่างยอมรับว่าได้ถูกศาลฎีกามีคำสั่งเพิกถอนการรับสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเหตุไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องเรียนที่ 2 พรรคเดียวนับถึงวันรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันทั้งสิ้น สอดคล้องกับทะเบียนรายชื่อสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องเรียนที่ 2 จากแผ่นดิสก์ทั้ง 2 แผ่น ที่อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตามเอกสารหมาย ร.153 ถ้อยคำของนายชารัตน์ มณีศรี นายวิรัตน์ ตรีโชติ นายดิเรก หนูสาย และนายอำนาจ รอดช่วย จึงไม่อาจรับฟังเป็นจริงได้ ที่ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนายทวีศักดิ์มาเบิกความอ้างว่ามอบหมายให้นายสุขสันต์ ผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 มารับผิดชอบหาผู้สมัครและพยานลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรค (แบบ ส.ส.18/ข 2) ที่มิได้กรอกข้อความ แล้วให้นายสุขสันต์ ไปกรอกข้อความสมาชิกผู้มีคุณสมบัติรับสมัครรับเลือกตั้งเอง โดยพยานมิได้รู้เห็นกับการกระทำของนายสุขสันต์ดังกล่าวนั้น เมื่อปรากฏว่านายบุญทวีศักดิ์เป็นคนนำแผ่นดิสก์ฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ที่แก้ไขแล้ว และแบบแจ้งจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองที่เพิ่มขึ้นในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมา(แบบ ท.พ.6) กับเงินจำนวน 30,000 บาท ไปมอบให้นายอมรวิทย์ด้วยตนเองดังได้วินิจฉัยมาแล้ว ย่อมแสดงว่า นายบุญทวีศักดิ์รู้เห็นการดำเนินการเพื่อให้ผู้สมัครของพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ให้เป็นผู้มีสิทธิ์รับสมัครรับเลือกตั้งให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเอกสารหมาย ร.50 ด้วยว่า นายบุญทวีศักดิ์นำหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคไปให้นายปฏิพัฒน์ด้วยตนเอง เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 8 มีนาคม 2549 ยิ่งแสดงให้เห็นว่า นายบุญทวีศักดิ์จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานและพฤติการณ์แห่งคดีได้ ข้อเท็จจริงรับฟ้งได้ว่า นายบุญทวีศักดิ์ได้ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกของผู้สมัครอันเป็นเท็จให้แก่ผู้สมัครดังกล่าวนำไปเป็นหลักฐานการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งของจังหวัดต่างๆ โดยรู้อยู่แล้วว่าผู้สมัครดังกล่าวมิได้เป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 107(4)
ปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัยข้อ 3 มีว่า พลเอก ไตรรงค์ อินทรทัต และพลโท ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ ร่วมกันให้เงินสนับสนุนนายบุญบารมีภณ หรือบุญอิทธิพล ชิณราช หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และนางฐัติมา ภาวะลี ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 หรือไม่ และการให้เงินของพลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์ กระทำในฐานะตัวแทนของพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หรือไม่
พยานสำคัญที่ให้ถ้อยคำในประเด็นนี้คือ นางฐัติมา ภาวะลี ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และมีหน้าที่ดูแลค่าใช้จ่ายของผู้สมัคร นางฐัติมาไปให้ถ้อยคำที่พรรคประชาธิปัตย์ว่านางฐัติมาได้รับเงินจากพลโท ผดุงศักดิ์ ตัวแทนของพลเอก ธรรมรักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรองหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 รวม 3 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 4 มีนาคม 2549 จำนวน 1,450,000 บาท ที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ครั้งที่ 2 วันที่ 5 มีนาคม 2549 จำนวน 1,700,000 บาท ที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และครั้งที่ 3 และครั้งที่ 3 วันที่ 9 มีนาคม 2549 จำนวน 525,000 บาท ที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก ถนนพระรามหก และนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ลงแข่งขันกับผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ตามบันทึกคำให้การแนบท้ายเอกสารหมาย ร.10 สิ่งที่ส่งมาด้วย 4/1 และ 4/2 ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2549 นางฐัติมาเดินทางไปพักอาศัยที่บ้านของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยพันตำรวจโท สุวิชชา จินดาคำ เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลมักกะสัน พาไปส่งที่สนามบิน วันรุ่งขึ้นคือ วันที่ 22 มีนาคม 2549 นางฐัติมาไปแจ้งความเป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอพุนพินว่าไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านของนายสุเทพด้วยความสมัครใจ มิได้ถูกบังคับขู่เข็ญ ตามรายงานงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย ร.67 และเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549 นางรัฐติมา ไปให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงที่ห้องประชุมตำรวจภูธรภาค 8 ยืนยันข้อเท็จจริงที่เคยให้ไว้แกนายสุวโรช และนายสุเทพ โดยมีรายละเอียดเหตุการณ์บางตอนเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2549 นายไพฑูรย์ วงศ์วานิช ผู้สมัครในเขตภาพใต้ ได้โทรศัพท์ติดต่อพลเอก ธรรมรักษ์ และพลเอก ไตรรงค์ หลังจากนั้นพลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์เดินทางไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เพื่อดูแลความเรียบร้อยในการวางตัวผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 พลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์กลับไปเมื่อเวลาประมาณ 21.30 นาฬิกา ต่อมาเวลาประมาณ 22.30 นาฬิกา พลโท ผดุงศักดิ์กลับมาที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้ถูกร้องที่ 3 อีกครั้ง และนำเงินจำนวน 1,450,000 บาท ไปมอบให้นางฐัติมา ตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.63 แต่ภายหลังนางฐัติมาเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร และไปร้องทุกข์ที่กองบังคับการกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่นายสุเทพฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ ตามรายงานประจำวันและบันทึกคำให้การเอกสารหมาย ร.68 และ ร.70 แล้ว วันที่ 25 มีนาคม 2549 วันที่ 26 มีนาคม 2549 วันที่ 29 นาคม 2549 และวันที่ 5 เมษายน 2549 นางฐัติมาไปให้การเพิ่มเติมต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.71 ร.74 และ ร.75 กลับคำให้การเดิมเป็นว่า นางฐัติมาไม่เคยได้รับเงินจากพลโท ผดุงศักดิ์ เหตุที่ให้การปรักปรำพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพราะนายสุเทพข่มขู่ว่จะดำเนินคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารเกี่ยวกับการรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และจะให้นางฐัติมา ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนายสุเทพ ยังเสนอให้เงินจำนวนหนึ่งด้วย นายสุเทพให้พยานอ่านข้อความที่เตรียมไว้ ซึ่งมีข้อความพาดพิงถึงผู้บริหารระดับสูงของผู้ถูกร้องที่ 1 หลายคน การให้ข้อเท็จจริงของนางฐัติมาที่พรรคประชาธิปัตย์มีการบันทึกภาพและเสียงไว้ด้วย
พิจารณาแล้วเห็นวา นางฐัติมาให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.63 ด้วยว่า วันที่พลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์เดินทางไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และพลโท ผดุงศักดิ์มอบเงินให้นางฐัติมาครั้งแรก จำนวน 1,450,000 บาทนั้น มีแกนนำพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 อยู่ด้วยและรู้เห็นกว่า 10 คน รวมทั้งนายบุญชู ซุ้นสุวรรณ และนายแฟนดี้ ปะสู นางฐัติมานำเงินที่รับมาจากพลโท ผดุงศักดิ์ไปจ่ายแก่แกนนำเป็นค่าสรรหาผู้สมัครและแก่ผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 โดยมีใบรับเงินที่มีลายมือชื่อผู้รับเงินลงไว้รวม 13 แผ่น ใบเสร็จรับเงินของผู้สมัครสายกรุงเทพมหานครรวม 8 แผ่น และรายการค่าใช้จ่ายของผู้ถูกร้องที่ 3 รวม 14 แผ่น ตามเอกสารหมาย ร.62 เป็นหลักฐาน เมื่อนายบุญชูและนายแฟนดี้ไปให้การทำนองเดียวกันว่า นายบุญชูและนายแฟนดี้ได้รับเงินจากนางฐัติมาจำนวน 60,000 บาท และ 70,000 บาท ตามลำดับ โดยนายบุญชูและนายแฟนดี้ลงลายมือชื่อในใบรับเงินเอกสารหมาย ร.62 ให้ไว้เป็นหลักฐานจริง และในวันที่นายแฟนดี้และนายบุญชูรับเงินจากนางฐัติมานั้น นายแฟนดี้และนายบุญชูเห็นพลเอก ไตรรงค์ และพลโท ผดุงศักดิ์ไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เมื่อเวลาประมาณ 20 นาฬิกา สอบถามนางฐัติมาและแกนนำพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เกี่ยวกับการวางตัวผู้สมัคร ตามบันทึกถ้อยคำของนายบุญชูและนายแฟนดี้ เอกสารหมาย ร.87 และ ร.88 ตามลำดับ คำให้การครั้งแรกของนางฐัติมาจึงเจือสมกับคำให้การของนายบุญชูและนายแฟนดี้ แม้นายบุญชูและนายแฟนดี้มาเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า ไม่เคยเห็นพลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์ ไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ต่างจากที่เคยให้การไว้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง แต่นายบุญชู ไปให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2549 และนายแฟนดี้ไปให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549 อันเป็นเวลาภายหลังนางฐัติมากลับคำให้การแล้ว แต่นายบุญชูและนายแฟนดี้ก็ยังคงให้การเช่นนั้นโดยเฉพาะนายบุญชูให้การด้วยว่า รู้จักพลเอก ไตรรงค์มาก่อนในขณะที่เรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง คำให้การของนายบุญชูและนายแฟนดี้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.87 และ ร.88 จึงน่าเชื่อว่าคำเบิกความของบุคคลทั้งสองต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ส่วนที่นายบุญชูและนายแฟนดี้อ้างว่า มีอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนไม่ถูกต้อง แต่จำเป็นต้องให้การเช่นนั้น โดยนายบุญชูอ้างว่า มีอนุกรรมการ 2 คน สัญญากับนายบุญชูว่าจะไปเป็นพยานในชั้นศาลให้นายบุญชู หากมีปัญหาเรื่องเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบเก้าสิบวัน ส่วนนายแฟนดี้อ้างว่า ถูกสอบปากคำร่าวม 2 ชั่วโมงและผู้สอบปากคำหลอกว่าคนอื่นยอมรับหมดแล้วนั้นเป็นข้ออ้างที่ขัดต่อเหตุผลเพราะนายบุญชูจบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต ย่อมต้องทราบดีว่า เป็นไปไม่ได้ที่คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนจะไปเป็นพยานให้นายบุญชูต่อสู่คดีกับผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งซึ่งอยู่ในสังกัดเดียวกันกับคณะอนุกรรมการสือบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงส่วนนายแฟนดี้ที่อ้างว่าถูกหลองว่า คนอื่นยอมรับหมดแล้วนั้น หากไม่เป็นความจริง ย่อมไม่มีเหตุผลประการใดที่นายแฟนดี้จะต้องยอมให้การเช่นนั้น และแม้นายแฟนดี้และนายบุญชูให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า วันที่บุคคลทั้งสองรับเงินจากนางฐัติมาและเห็นพลเอกไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์ ไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 คือวันที่ 5 มีนาคม 2549 มิใช้วันที่ 4 มีนาคม 2549 ดังคำให้การของนางฐัติมา แต่นายแฟนดี้ให้การด้วยว่า วันที่รับเงินจากนางฐัติมา เป็นวันที่นางฐัติมารับเงินมาจากบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นใครจำนวน 1,400,000 บาท เศษและนายบุญชูให้การว่า นายบุญชูรับเงินจากนางฐัติมาตามใบรับเงินเอกสารหมาย ร.62 แผ่น 6 ซึ่งเป็นวันเดียวกบนายแฟนดี้ จึงเชื่อได้ว่า นายแฟนดี้และนายบูญชูรับเงินจากนางฐัติมาและวันที่เห็นพลเอก ไตรรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์ ไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 คลาดเคลื่อนไป
ส่วนที่ต่อมานางฐัติมากลับคำให้การเป็นว่า พลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์ไม่เคยไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และนางฐัติมาไม่เคยรับเงินจากพลโท ผดุงศักดิ์ นางฐัติมาให้ข้อเท็จจริงที่พรรคประชาธิปัตย์และให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนครั้งแรกเช่นนั้นเพราะเพราะถูกนายสุเทพขู่ว่าจะดำเนินคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสาร และนายสุเทพเสนอว่าจะให้นางฐัติมามาลงสมัครสามชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ กับเสนอให้เงินจำนวนหนึ่งอีกด้วย ตามบันทึกถ้วยคำเอกสารหมาย ร.71 ร.74 และ ร.75 ทั้งเมื่อมาเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ นางฐัติมาก็ได้ยืนยันข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำบันทึกคำให้การเพิ่มเติมนั้น
เมื่อพิจารณาข้ออ้างของนางฐัติมา เกี่ยวกับเหตุผลที่ยอมให้การปรับปรำผู้ถูกร้องที่ 1 แล้ว เรื่องที่อ้างว่า ถูกนายสุเทพข่มขู่ว่าจะดำเนินคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารนั้น นางฐัติมายืนยันตลอดมาว่าไม่ได้ปลอมแปลงเอกสารของผู้สมัครคนใดเพราะผู้สมัครของผู้ถูกร้องที่ 3 ทุกคนมีคุณสมบัติครบถ้วน ย่อมไม่มีเหตุผลที่นางฐัติมาจะต้องเกรงกลัวการถูกดำเนินคดีตามคำขู่ของนายสุเทพ เรื่องที่อ้างว่านายสุเทพเสนอให้นางฐัติมา ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ก็เป็นเรื่องอีกยาวนานและไม่มีความแน่นอน เพราะต้องรอจนถึงการเลือกตั้งครั้งต่อ ซึ่งไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ส่วนเรื่องที่อ้างว่านายสุเทพเสนอให้เงิน ซึ่งนางฐัติมาเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า นายสุเทพเสนอให้เงินจำนวน 1,000,000 บาท และจ่ายแล้วจำนวน 300,000 บาท เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 หากเป็นเช่นนั้นจริง ไม่น่าเชื่อว่านางฐัติมาจะกล้าเปลี่ยนใจภายหลังรับเงินจำนวนมากจากนายสุเทพได้เพียง 1 หรือ 2 วัน เท่านั้น ข้ออ้างของนางนางฐัติมาเกี่ยวกับเหตุที่ยอมให้การปรักปรำผู้ถูกร้องที่ 1 จึงมีน้ำหนักน้อย และที่นางฐัติมาให้การตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย ร.71 ว่า นางฐัติมาไปที่พรรคประชาธิปัตย์และให้การตามที่ปรากฏในบันคำให้การเอกสารหมาย ร.10 สิ่งที่ส่งมาด้วย 4/1 และ 4/2 เนื่องจากพันตำรวจโทสุวิชชา จินดาคำ ไปแจ้งว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ เชิญไปพบนายบุญบารมีภณที่พรรคประชาธิปัตย์นั้น พันตำรวจโท สุวิชชา ให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.55 และเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า พันโทสุวิชชาไปพบที่โรงแรมฮิลตัน ปาร์ค นายเลิศ นายสุเทพแนะนำให้รู้จักนางฐัติมาและขอให้ช่วยดูแลความปลอดภัยให้นางฐัติมา พันตำรวจโท สุวิชชาขับรถยนต์ส่วนตัวพานางฐัติมาไปส่งที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และวันรุ่งขึ้นพันตำรวจโท สุวิชชาไปรับนางฐัติมาที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้ถูกร้องที่ 3 พาไปส่งที่สนามบินดอนเมืองเพื่อเดินทางไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นว่า ขณะที่พันตำรวจโท สุวิชชาให้การตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.55 และเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญนั้น พันตำรวจโท สุวิชชารับราชการตำแหน่งสารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจนครบาลมักกะสัน และไม่ได้ประโยชน์ประการใดจากการกล่าวยืนยันดังกล่าว ไม่น่าเชื่อว่าจะนำความเท็จมากล่าว คำให้การของนางฐัติมาตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.71 ที่อ้างเป็นทำนองว่า ถูกพันตำรวจโท สุวิชชาหลอกไปที่พรรคประชาธิปัตย์จึงรับฟังไม่ได้
ส่วนที่นางฐัติมาให้การตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.71 ว่า การบันทึกภาพและเสียงคำให้การของนางฐัติมาที่พรรคประชาธิปัตย์ นางฐัติมาอ่านตามคำบอกของนายสุเทพนั้น เรื่องนี้นางสาวมณีรัตน์ บุญสิน และนายชญาน์ทัต เทียนทอง ผู้ดำเนินการบันทึกภาพและเสียงขณะที่นางฐัติมาให้ข้อเท็จจริงที่พรรคประชาธิปัตย์ ต่างให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.53 และ ร.54 และเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันว่า ขณะบันทึกภาพและเสียงของนางฐัติมานั้น ไม่มีใครบังคับขู่เข็ญนางฐัติมา และนางฐัติมาไม่ได้อ่านเอกสารใดๆ แม้นางสาวมณีรัตน์และนายชญาน์ทัตเป็นเจ้าหน้าที่พรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย ปฏิบัติงานไปตามหน้าที่ และไม่ได้ประโยชน์ประการใดจากการนำความเท็จมากล่าวเชื่อว่านางสาวมณีรัตน์และนายชญาน์ทัตให้การเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้เมื่อพิจารณาข้ออ้างของนางฐัติมาเกี่ยวกับเหตุผลที่ทำให้นางฐัติมาเปลี่ยนใจ ไม่ปรักปรำผู้ถูกร้องที่ 1 ต่อไป ซึ่งนางฐัติมาอ้างว่า ขณะอยู่ที่บ้านพักของนายสุเทพนั้น นางฐัติมารู้สึกว่าการปรักปรำผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง อยากกลับบ้านเพื่อพูดความจริง จึงพยายามติดต่อน้องสาวให้ไปแจ้งความแล้ว นายสุเทพโทรศัพท์ไปบอกว่า มีข่าวออกมาว่านางฐัติมาไปแจ้งความทำไม นางฐัติมาตอบว่า อยากกลับบ้าน นายสุเทพบอกว่ายังกลับไม่ได้ จะเอาคณะกรรมการเลือกตั้งไปสอบก่อน วันรุ่งขึ้นก็มีคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงไปสอบปากคำนางฐัติมาที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ดังนี้ เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงไปสอบปากคำนางฐัติมาที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 วันที่ 23 มีนาคม 2549 แสดงว่า วันที่นางฐัติมาเริ่มรู้สึกว่า การปรักปรำผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง อยากกลับบ้านเพื่อพูดความจริง คือ วันที่ 21 หรือวันที่ 22 มีนาคม 2549 แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2549 เวลา 16.10 นาฬิกา นางฐัติมาไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีวา ไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านของนายสุเทพด้วยความสมัครใจ มิได้ถูกบังคับขู่เข็ญ โดยมีรายละเอียดด้วยว่า นางฐัติมาเกรงความไม่ปลอดภัยในชีวิต สืบเนื่องจากไปเป็นพยานในการทุจริตการสมัครรับเลือกตั้ง ต้องการให้นายสุเทพคุ้มครองจนกว่าจะมั่นใจในความปลอดภัย ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย ร.67 ทั้งตามบันทึกของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเอกสารหมาย ร.163 และ ร.165 ปรากฏว่า คำให้การของนางฐัติมาต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549 นั้น เป็นการให้ถ้อยคำที่ห้องประชุมกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ต่อหน้าสื่อมวลชนและประชาชนจำนวนประมาณ 100 คน หากนางฐัติมาเห็นว่า การปรักปรำผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและต้องการพูดความจริง โดยเริ่มรู้สึกเช่นนั้นมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 หรือ 22 มีนาคม 2549 นางฐัติมาไม่น่าจะไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอพุนพิน มีข้อความตามที่ปรากฏในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย ร.67 และไม่น่าจะไปให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตาที่ปรากฏในบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.63 เพราะขณะนั้นนางนางฐัติมาจะต้องเกรงกลัวใคร ไม่มีความจำเป็นประการใดที่นางฐัติมาจะต้องกลับมากรุงเทพมหานครและไปแจ้งความที่กองบังคับการกองปราบปรามว่านายสุเทพหน่วงเหนี่ยวกักขังก่อนแล้วจึงไปขอกลับคำให้การที่เคยให้ไว้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ข้ออ้างของนางฐัติมาเกี่ยวกับเหตุที่กลับคำให้การจึงไม่มีน้ำหนัก
ส่วนถ้อยคำของนางฐัติมา ที่ให้การไว้ตามเอกสารหมาย ร.71 และ ร.75 เกี่ยวกับเงินจำนวน 300,000 บาท ที่อ้างว่าได้รับจากนายสุเทพว่า โอนไปเข้าบัญชีของนางเพชรี ภาวะสี จำนวน 200,000 บาท ที่เหลือจำนวน 100,000 บาท ได้นำไปใช้จ่ายค่าบัตรเครดิตกรุงไทย มาสเตอร์การ์ด จำนวน 25,000 บาท เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2549 จำนวน 10,000 บาท และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2549 ซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2549 ที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี จำนวน 2 เครื่อง เป็นเงิน 10,000 บาท นอกนั้นใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น ช่วยค่าน้ำมันผู้สมัคร ขัดแย้งกับถ้อยคำของนางฐัติมาที่ให้การไว้ตามเอกสารหมาย ร.71 ว่า นางฐัติมาได้รับเงินจำนวน 300,000 บาท จากนายสุเทพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 และตามเอกสารหมาย ร.81 แผ่นที่ 5 ซึ่งเป็นบัญชีของนางเพชรีที่นางฐัติมาได้โอนเงินจำนวน 200,000 บาท ไปเข้าบัญชีดังกล่าว ปรากฏว่ามีรายการโอนเงินมาเข้าบัญชี 200,000 บาท เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2549 ก่อนที่นางฐัติมาอ้างว่าได้รับเงินจำนวน 300,000 บาท จากนายสุเทพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 ตรงกับถ้อยคำของนางเพชรีที่ให้การไว้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ร.81 ว่า ก่อนโอนเงินมาเข้าบัญชีของพยาน ระหว่างพยานพูดคุยอยู่กับนายศักรินทร์ ภาวะลี นางฐัติมาได้ติดต่อผ่านนายศักรินทร์ในวันเดียวกันนั้น ส่วนค่าใช้จ่ายที่นางฐัติมาอ้างว่าได้นำเงินที่ได้รับจากนายสุเทพไปชำระ ปรากฏว่าบางรายการได้มีการชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปก่อนวันที่นางฐัติมาอ้างว่าได้รับเงินจากนายสุเทพ ถ้อยคำของนางฐัติมา ตามเอกสารหมาย ร.71 จึงไม่อาจรับฟังเป็นจริงได้
ส่วนที่นางฐัติมาให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.75 ว่า มีการจ่ายเงินให้ผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานครคนละ 15,000 บาท ในเขตภาคใต้คนละ 30,000 ถึง 40,000 บาท และเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็ฯของตนเองประมาณ 100,000 บาท นอกนั้นเป็นเงินของพันธมิตร ดวงทิพย์ ผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 ของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 และนายพันธมิตรได้มาเบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญยืนยันว่า ให้เงินสนับสนุนผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นเงินจำนวน 950,000 บาท แต่นายพันธมิตรเคยให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายได้ของตนตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.83 ว่า ประกอบอาชีพรับบริหารอาคารชุดและเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทรักษาความปลอดภัยซีเคียวแสตนดาร์ท จำกัด มีพนักงานรักษาความปลอดภัยจำนวน 40 คน มีรายได้เดือนละประมาณ 20,000 บาท ซึ่งรายได้ต่อเดือนเพียงเท่านั้น ไม่น่าทำให้นายพันธมิตรสามารถให้เงินสนับสนุนแก่ผู้สมัครของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นเงินนับล้านบาทได้ เชื่อว่า เงินที่นางฐัติมาจ่ายแก่ผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ไม่ใช่เงินของนายพันธมิตร ทั้งไม่ใช่เงินของผู้ถูกร้องที่ 3 เพราะนายบุญาบารมีภณให้การตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ร.77 ว่า ผู้ถูกร้องที่ 3 ไม่มีเงินในบัญชี ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นเพราะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ผู้ถูกร้องเรียนที่ 3 ส่งผู้สมัครในนามพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เพียง 5 คน เป็นผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ 1 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเพียง 4 น ตามที่ปรากฎในข้อมูลสถิติและผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2548 เอกสารหมาย ถ.71 แสดงว่า ผู้ถูกร้องที่ 3 มีฐานะทางการเงินไม่ดีนัก จึงส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งครั้งก่อนเพียงไม่กี่คน และแม้ผู้ถูกร้องที่ 3 อ้างในคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า เงินที่ใช้ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นเงินที่ผู้ถูกร้องที่ 3 ได้รับจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549 ภายหลังวันเลือกตั้ง 2 วัน เงินที่มอบให้แกนนำและสมาชิกที่สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ก่อนวันเลือกตั้งจึงไม่เงินของผู้ถูกร้องที่ 3 ที่ได้มาจากกองทุนเพื่อการพัฒนา
พรรคการเมืองอีกด้วย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 นั้นผู้ถูกร้องที่ 3 ส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 36 คน และเขตอื่นจำนวน 85 คน คิดเฉพาะเงินที่จ่ายให้ผู้สมัครในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 36 คน และเขตอื่นอย่างน้อยคนละ 30,000 บาท ตั้งแต่ก่อนไปยื่นใบสมัคร ตามคำอเบิกความของนางฐัติมาและนายบุญบารมีภณก็เป็นเงินจำนวนมากถึงสามล้านบาทเศษ แล้ว แสดงว่า ต้องมีผู้ให้การสนับสนุนพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 และเชื่อว่าข้อเท็จจริงเป็นดังคำให้การของนางฐัติมาที่พรรคประชาธิปัตย์และต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงครั้งแรกที่ว่า นางฐัติมาได้รับเงินจากพลโท ผดุงศักดิ์ 3 ครั้ง เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 3,675,000 บาท เพื่อไปใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 พลโท ผดุงศักดิ์เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของพลเอก ไตรรงค์ และพลโท ผดุงศักดิ์นำเงินไปมอบให้นางฐัติมาครั้งแรก ภายหลังพลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์เดินทางไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ด้วยกันเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2549 เพื่อสอบถามเรื่องการวางตัวผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 จึงเชื่อได้ว่าพลโทผดุงศักดิ์นำเงินไปมอบให้นางฐัติมาโดยที่พลเอก ไตรรงค์มีส่วนรู้เห็นด้วย พยานฐานที่อยู่ของพลเอกไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างคำให้การของนางฐิติมาที่พรรคประชาธิปัตย์และต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงครั้งแรกดังกล่าว นายบุญาบารมีภณให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมายร.77 ยอมรับว่า ทราบเรื่องที่นางฐัติมาและนายพันธมิตรจ่ายเงินแก่ผู้สมัครในเขตกรุงเทพมหานครคนละ 15,000 บาท และจ่ายเงินแก่ผู้สมัครในภาคใต้คนละ 30,000 ถึง 40,000 บาทด้วย แม้นายบุญาบารมีภณอ้างว่านายบุญาบารมีภณทราบดีว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินที่นางฐัติมารับมาจากพลเอก ไตรรงค์และพลโทผดุงศักดิ์เพื่อนำไปใช้จ่ายในการส่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3
พลเอกไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์เป็นนายทหารที่ยังรับราชการ ไม่ได้รับประโยชน์ประการใดจากการนำเงินไปมอบให้นางฐัติมาใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 บุคคลทั้งสองเป็นผู้ได้บังคับบัญชาของพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นรองหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เมื่อผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับประโยชน์จาการที่ผู้ถูกร้องที่ 3 ส่งผู้สมัครลงแข่งขันกับผู้ถูกร้องที่ 1 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 จึงเชื่อได้ว่า เงินที่พลโท ผดุงศักดิ์นำไปมอบให้นางฐัติมามิใช่เงินของพลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์เอง แต่เป็นเงินที่พลเอก ไตรรงค์และพลโทผดุงศักดิ์รับมาจากพลเอก ธรรมรักษ์และนำไปมอบให้นางฐัติมาในฐานะตัวแทนของพลเอก ธรรมรักษ์นั่นเอง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า พลเอก ไตรรงค์ และพลโท ผดุงศักดิ์ ร่วมกันให้เงินสนับสนุนนายบุญาบารมีภณและนางฐัติมาเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 3 และการให้เงินของพลเอก ไตรรงค์และพลโท ผดุงศักดิ์แก่นายบุญาบารมีภณและนางฐัติมากระทำในฐานะตัวแทนของพลเอก ธรรมรักษ์
ปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัยข้อ 4 ที่ว่า นายบุญาบารมีภณ ชิณราช หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 จัดทำรายงานการประชุมรับสมัครและออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคประเภทกิตติมศักดิ์ให้แก่ผู้สมัครซึ่งเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ติดต่อกันไม่ครบเก้าสิบวัน อันเป็นเท็จเพื่อให้ผู้สมัครนำไปเป็นหลักฐานสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ นั้น
พิจารณาแล้ว เห็นว่า นายบุญบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เบิกความรับรองบันทึกถ้อยคำของพยานที่ได้ให้การไว้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ตามเอกสารหมายร.78 และ ร.77 ตามลำดับ ซึ่งได้ความว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ผู้ถูกร้องที่ 3 ได้ส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งสิ้น 121 คน โดยผู้สมัครทั้งหมดได้ผ่านมติที่ประชุมของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 และยืนยันว่าผู้สมัครแต่ละคนได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคผ่านตัวแทนจัดหาสมาชิกแล้วรวบรวมส่งมาให้พยานนำเข้าที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคในการประชุมประจำเดือนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 โดยผู้สมัครทั้งหมดเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ยกเว้นนางสาวพรพิมล มูลสาร เป็นสมาชิกสามัญ ประจำสาขาพรรคลำดับ 24 จังหวัดขอนแก่น คำให้การของนายบุญาบารมีภณดังกล่าวขัดแย้งกับคำให้การของนางสาวอุทัยวรรณแหวนทอง นางสาวชนมณี กล้าณรงค์ และนายอุทัย นามวงศ์ ซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 แต่ไม่ได้รับการประกาศรายชื่อให้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ติดต่อกันไม่ครบเก้าสิบวัน โดยต่างให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามเอกสารหมายร.92 ร.91 และร.85 ตามลำดับทำนองเดียวกันว่า พยานแต่ละคนเพิ่งไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ในวันที่ 7 มีนาคม 2549 นางสาวชนมณีให้การยืนยันว่า พยานกรอกใบสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้อง 3 โดยเจ้าหน้าที่ของพรรคบอกว่าไม่ต้องลงวันที่ในใบสมัคร นายอุทัยให้การว่า วันที่ 6 มีนาคม 2549 นายพีระคุณ อันทะเกตุ ซึ่งเป็นหลานชักชวนพยานให้ไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง พยานบอกว่า พยานเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบเก้าสิบวันจะไม่มีปัญหาหรือ แต่นายพีระคุณบอกว่า พรรคจัดการให้ทุกอย่าง พยานได้ไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เจ้าหน้าที่ในศูนย์อำนวยการเลือกตั้งบอกว่าพยานมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้ให้พยานมาในวันพรุ่งนี้ตอนเช้าจะได้กรอกใบสมัคร วันที่ 7 มีนาคม 2549 พยานจึงได้ไปที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 3 แล้วกรองใบสมัครเป็นสนมาชิกพรรคและได้รับหมายเลขสมาชิกพรรคลำดับ 077 สอดคล้องกับคำเบิกความของนายบุญชูหรือชูวิทย์ ซุ้นสุวรรณ ผู้สมัครเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดสงขลาที่เบิกความรับรองถ้อยคำที่พยานให้การไว้ต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามเอกสารหมายร.87 แม้นายบุญชูจะให้การว่า นายบุญชูได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เมื่อกลางเดือนกันยายน 2548 แต่นายบุญชูก็ได้กรอกใบสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 โดยไม่ได้ลงวันที่ให้แก่นางฐัติมาในวันที่ 5 มีนาคม 2549 โดยนางฐัติมาอ้างว่าเอกสารที่นายบุญชูเคยสมัครเป็นสมาชิกพรรคอยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม แต่ต่อมาก็ปรากฎว่านายบุญชูไม่ได้รับประกาศรายชื่อให้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ติดต่อกันไม่ถึงเก้าสิบวัน แบะศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้องของนายบุญชูแล้ว แสดงว่านายบุญชูเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ติดต่อกันไม่ครบเก้าสิบวันเช่นเดียวกับนางสาวอุทัยวรรณ นางสาวชนมณี และนายอุทัยบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงผู้สมัครรับเลือกตั้ง และให้ถ้อยคำอย่างตรงไปตรงมาไม่มีข้อพิรุธ ถ้อยคำของบุคคทั้งสามจึงมีน้ำหนักรับฟังยิ่งกว่าถ้อยคำของ นายบุญาบารมีภณ นอกจากนั้น นายพันธมิตร ดวงทิพย์ ผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เบิกความรับรองบันทึกถ้อยคำเอกสารหมายร.83 ว่า การคัดเลือกผู้สมัครเลือกตั้งไม่ว่าผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ 5 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 121 คน นายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค พยาน และนางฐัติมา ได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือก เมื่อปรากฎตามบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 3 ตามเอกสารหมาย ร.58 แผ่นที่ 10 ถึงแผ่นที่ 18 จำนวน 121 คน ปรากฎว่าผู้สมัครเกือบทั้งหมดจำนวน 112 คนไม่ได้รับการประกาศรายชื่อให้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากไม่พบรายชื่อเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ในฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคของนายทะเบียนพรรคการเมือง โดยนายบุญาบารมีเบิกความรับรองบันทึกถ้อยคำตามเอกสารหมายร.78 ด้วยว่า พยานได้ตรวจสอบความเป็นสมาชิกพรรคของผู้สมัครที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อเห็นว่าถูกต้องจึงได้ออกหนังสือรับรองให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หากพยานไม่อยู่ก้ได้มอบหมายให้นายพันธมิตร เป็นผู้ออกหนังสือรับรองให้ผู้สมัคร แต่พยานได้ออกหนังสือรับรองให้ผู้สมัครประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สมัครทั้งหมดแสดงว่านายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 รู้ว่า ผู้สมัครของพรรคเป็นบุคคลผู้ไม่มีคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคติดต่อกันไม่ถึงเก้าสิบวัน แต่ได้จัดทำรายงานการประชุมเพื่อเพิ่มเติมสมาชิกของผู้สมัครดังกล่าวย้อนหลัง ที่นายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 อ้างว่า ผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์โดยเข้าแทนที่สมาชิกที่ลาออก ตายหรือถูกปรับออกตามข้อบังคับพรรค ผู้ถูกร้องที่ 3 ข้อ 35 ตามรายงานการประชุมพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 โดยผู้ถูกร้องที่ 3 ไม่จำต้องแจ้งรายงานการประชุมดังกล่าวให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบนั้น เห็นว่า ประเภทสมาชิกกิตติมศักดิ์ตามข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เอกสารหมาย ร.9 ข้อ 9 ไม่มีจำพวกที่เข้าแทนที่สมาชิกเดิมที่ลาออก ตาย หรือถูกปรับออก อยู่ในข้อบังคับของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 แต่ประการใด รวมทั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 34 กำหนดให้หัวหน้าพรรคการเมืองมีหน้าที่จะต้องแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาพร้อมด้วยรายชื่อ อาชีพ และที่อยู่ของสมาชิกดังกล่าวให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบโดยไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่าในกรณีใด ข้ออ้างของนายบุญาบารมีภณดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า นายบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 จัดทำรายงานการประชุมรับสมัครและออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคประเภทกิตติมศักดิ์ให้แก่ผู้สมัครซึ่งเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ติดต่อกันไม่ครบเก้าสิบวัน อันเป็นเท็จเพื่อให้ผู้สมัครนำไปเป็นหลักฐานสมัครรับเลือกตั้ง
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 9 มีว่า ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ตามคำร้องและตามทางไต่สวน ถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสาม หรือไม่
ในข้อนี้ผู้ถูกร้องที่ 1 ต่อสู้ว่า แม้พลเอก ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ เป็นกรรมการบริหารพรรค แต่ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค และไม่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากหัวหน้าพรรคหรือมีมติพรรคหรือมติของคณะกรรมการบริหารพรรคให้กระทำการตามข้อกล่าวหา หากบุคคลทั้งสองกระทำการตามข้อกล่าวหาก็เป็นเรื่องส่วนตัว ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 หรือในฐานะผู้แทนของผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 19 และมาตรา 20 อีกทั้งบุคคลทั้งสองไม่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงิน การจัดทำบัญชี และการบริหารจัดการทรัพย์สินของผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 37 นอกจากนี้ผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ได้ประโยชน์จากการกระทำที่กล่าวหา เพราะการที่พรรคฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครย่อมทำให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ชนะการเลือกตั้งใหม่ และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก็เป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องชี้ขาดต่อไปส่วนผู้ถูกร้องที่ 3 ต่อสู้ว่าการกระทำที่กล่าวอ้างว่าเป็นการกระทำของพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ได้ต้องเป็นไปตามมาตรา 19 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยกรรคการเมือง พ.ศ. 2541 กล่าวคือ ต้องเป็นการกระทำโดยคณะกรรมการบริหารพรรค หรือหัวหน้าพรรค หรือผู้ที่หัวหน้าพรรคมอบหมาย นางฐัติมาไม่ใช่กรรมการบริหารพรรค และกระทำการโดยไม่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าพรรค ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 3 เช่นกัน
พิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 19 บัญญัติว่า "ให้พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดแจ้งาการจัดตั้งพรรคการเมืองแล้วเป็นนิติดำเนินกิจการของพรรคการเมือง" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ให้หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้หัวหน้าพรรคการเมืองจะมอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการบริหารคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้"
ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ถูกร้องที่ 1 นั้น แม้พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 19 และการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารพรรค โดยมรหัวหน้าพรรคเป็นผู้แทนพรรคการเมืองในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกตามมาตรา 20 แม้ไม่ปรากฎว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 มีมติให้พลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์กระทำการอันเป็นการสนับสนุนให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หรือให้เงินแก่ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแข่งขันกับผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ก็ดี หรือพันตำรวจโท ทักษิณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 มีได้มอบหมายให้พลเอก ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ดำเนินการตามข้อกล่าวหาก็ดี หรือบุคคลทั้งสองไม่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงิน การจัดทำบัญชี และการบริหารจัดการทรัพย์สินของผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 37 แต่บทบัญญัติมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับกับการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองตามปกติทั่วไปที่ชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นการดำเนินกิจการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยสภาพของภารกิจจะต้องเป็นการกระทำที่ไม่อาจเปิดเผย ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่คณะกรรมการบริหารพรรคจะมีมติหรือหัวหน้าพรรคจะมีหนังสือมอบหมายให้ผู้ใดกระทำ ทั้งหากจะตาองมีมติคณะกรรมการบริหารพรรคหรือมีหนังสือมอบหมายจากหัวหน้าพรรคเสียก่อน จึงจะถือได้ว่าการดำเนินกิจการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายมีผลผูกพันพรรคแล้ว บทบัญญัติมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ย่อมไม่มีทางที่จะมีผลใช้บังคับ ดังนั้น หากมีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการบริหารพรรคหรือหัวหน้าพรรคมอบหมาย ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจด้วย การดำเนินกิจการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้นก็ย่อมมีผลผูกพันพรรคการเมือง
เมื่อพิจารณาสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังการยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 เมษายน 2549 ปรากฏว่า พรรคการเมืองฝ่ายค้าน 3 พรรคใหญ่ คือพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ประกาศไม่ส่งผู้สมัคร แม้โอกาสที่ผู้ถูกร้องที่ 1 จะได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาด และจัดตั้งรัฐบาลเพียงพรรคเดียว มีความเป็นไปได้สูง เพราะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 377 คน ยิ่งพรรคการเมืองฝ่ายค้าน 3 พรรคใหญ่ไม่ลงสมัคร สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งย่อมต้องมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นแต่ปัญหาที่ผู้ถูกร้องที่ 1 จะต้องเผชิญก็คือ ปัญหาจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2551 มาตรา 74 ที่บัญญัติว่า "ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียวและผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้นได้คะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้ผู้รับสมัครรับเลือกตั้งผู้นั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง "และวรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งคนเดียวตามวรรคหนึ่ง และได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น "บทบัญญัติดังกล่าวมีผลให้เขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว ผู้สมัครนั้นต้องได้คะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น มิฉะนั้นต้องมีการเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้มี ผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ทั้งนี้ เนื่องจากผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อนหน้านี้ คือการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ปรากฏในหนังสือข้อมูล สถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฎร พ.ศ.2548 จัดพิมพ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เอกสารหมาย ถ.71 ว่า มีเขตเลือกตั้งที่พรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 90 เขต และในจำนวน 90 เขตเลือกตั้งดังกล่าว มีเขตเลือกตั้งที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ได้คะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นถึง 37 เขต เป็นเขตเลือกตั้งในสิบสี่จังหวัดภาคใต้จำนวน 30 เขต จังหวัดสุพรรณบุรี 5 เขต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดละ 1 เขต และในจำนวน 37 เขตเลือกตั้งดังกล่าว มีเขตเลือกตั้งที่ผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้คะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละสิบของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นจำนว 4 เขต และได้คะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละสิบถึงร้อยละสิบห้าของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นจำนวน 14 เขต ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่า หากมีผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงคนเดียวลงสมัครใน 37 เขตเลือกตั้งดังกล่าว โอกาสที่ผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จะได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น คณะกรรมการเลือกตั้งจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ และปัญหาที่จะต้องเกิดขึ้นต่อเนื่องตามมาก็คือปัญหาจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 155 ที่บทบัญญัติว่า "การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมวุฒิสภาต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภาจึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ในกรณีการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ตามมาตรา 183 และมาตรา 184 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะกำหนดเรื่ององค์ประชุมไว้ในข้อบังคับเป็นอย่างอื่นก็ได้ "บทบัญญัติดังกล่าวเคยเป็นปัญหาในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อปี 2543 ว่า ในกรณีที่สมาชิกวุฒิสภายังมีจำนวนไม่ครบ 200 คน ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 121 วรรคหนึ่ง จะดำเนินการประชุมวุฒิสภาเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 20/2543 ลงวันที่ 26 เมษายน 2543 ว่า หากสมาชิกวุฒิสภายังไม่ครบจำนวน 200 คน จะดำเนินการประชุมวุฒิสภาเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะเมื่อสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่ครบจำนวน 200 คน ตามมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ย่อมต้องถือว่ายังไม่ครบองค์ประกอบเป็นวุฒิสภา ดังนั้น ตราบใดที่ยังมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ครบ 500 คน ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 98 ก็อาจมีปัญหาทำให้การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ไม่อาจกระทำได้ ก็จะมีผลต่อเนื่องไปการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 202 บัญญัติว่า "ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการประชุมสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา 159" และมาตรา 159 บัญญัติว่า "ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมครั้งแรก" ด้วยเหตุนี้ ในเขตเลือกตั้งที่เคยเป็นพื้นที่ของพรรคฝ่ายค้าน หากมีผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงคนเดียวและผู้สมัครนั้น ได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น การเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพันตำรวจโท ทักษิณและการจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินของผู้ถูกร้องที่ 1 ย่อมจะต้องล่าช้าออกไป และแม้เป็นไปได้ว่าในที่สุดแล้วหากไม่มีทางที่ผู้สมัครนั้นจะได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น จะต้องมีองค์กรที่มีทั้งอำนาจเข้ามาชี้ขาดตัดสินว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนครบ 500 คน ดังที่ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้าง แต่กระบวนการดังกล่าวย่อมต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 รวมทั้งพลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ ย่อมต้องทราบดีว่า จะปล่อยให้เกิดขึ้นไม่ได้ และหากไม่ต้องการให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น สิ่งที่จะต้องดำเนินการก็คือ ต้องจัดหาผู้สมัครจากพรรคการเมืองเล็กมาลงสมัครแข่งขันกับผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ในเขตเลือกตั้งที่มีแนวโน้มว่า หากมีผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงคนเดียว ผู้สมัครนั้นจะได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น แต่การหาผู้สมัครพรรคการเมืองมาลงสมัครก็มีข้อจำกัด เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชนเพิ่งตัดสินใจไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งก่อนเปิดการรับสมัครเพียงไม่กี่วัน โอกาสที่จะได้บุคคลที่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งก่อนเปิดการรับสมัครเพียงไม่กี่วัน โอกาสที่จะได้บุคคลที่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 เช่น สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ตามมาตรา 107 (3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ตามมาตรา 107 (4) หรือจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือเคยศึกษาหรือเคยรับราชการในจังหวัดนั้นตามระยะเวลาที่กำหนดหรือเกิดในจังหวัดนั้น ตามมาตรา (5) ย่อมเป็นไปได้ยากโดยเฉพาะพรรคการเมืองเล็กที่ไม่ได้เตรียมการไว้ก่อน ซึ่งสิ่งที่จะต้องดำเนินการและข้อจำกัดดังกล่าวคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 รวมทั้งพลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ย่อมต้องทราบดีเช่นกัน
พลเอก ธรรมรักษ์เป็นทั้งกรรมการบริหารพรรค รองหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่วนนายพงษ์ศักดิ์เป็นทั้งกรรมการบริหารพรรค รองเลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งทั้งกระทรวงกลาโหมและกระทรวงคมนาคมต่างเป็นกระทรวงใหญ่ แสดงให้เห็นว่าทั้งพลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์เป็นบุคคลสำคัญของผู้ถูกร้องที่ 1 และได้รับความไว้วางใจอย่างยิ่งจากคณะกรรมการบริหารพรรคและหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ย่อมจะต้องมีบทบาทในการบริหารงานและการกำหนดนโยบายในการดำเนินกิจการทางการเมืองของผู้ถูกร้องที่ 1 อย่างสูง การที่พลเอกธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์สนับสนุนให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เพื่อให้ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติลงสมัครได้ก็ดี ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ดี เชื่อได้ว่าเป็นการดำเนินการเพื่อมิให้เกิดปัญหาการเลือกตั้งที่ยืดเยื้อและไม่มีความแน่นอนว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อให้ผู้ถูกร้องที่ 1 สามารถกลับคืนสู่อำนาจได้โดยเร็วนั่นเอง และเมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ไม่ไรบประโยชน์ประการใดเป็นการส่วนตัวจากการดำเนินการดังกล่าว ในทางกลับกันหากการดำเนินการดังกล่าวสำเร็จผลแล้ว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ประกอบกับพลเอกธรรมรักษ์ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ไม่มีเขตเลือกตั้งใดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นและปรากฎว่า พรรคการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากพลเอก ธรรมรักษ์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่ได้ส่งผู้สมัครในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ในความรับผิดชอบของพลเอก ธรรมรักษ์เลย แต่ส่งผู้สมัครในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ในความรับผิดชอบของพลเอก ธรรมรักษ์เลย แต่ส่งผู้สมัครในเขตภาคใต้จำนวนถึง 21 คน จากจำนวนผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ทั้งสิ้น 31 คน ส่วนผู้ถูกร้องที่ 3 แม้ว่าจะได้ส่งผู้สมัครในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 23 คน และที่จังหวัดสุพรรณบุรีอีก 4 คน การที่พลเอก ธรรมรักษ์เข้าไปเกี่ยวข้องกับการให้เงินสนับสนุนพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 เพื่อให้ส่งผู้สมัครจำนวนมากในเขตเลือกตั้งนอกพื้นที่ความรับผิดชอบของตน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่เป็นปัญหาของผู้ถูกร้องที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้เกิดปัญหาการเลือกตั้งที่ยืดเยื้อและไม่มีความแน่นอนว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการกลับคืนสู่อำนาจของผู้ถูกร้องที่ 1 ภายหลังการเลือกตั้งเช่นนี้ เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับการสนับสนุนให้พรรคการเมืองอื่นส่งผู้สมัครลงแข่งขันกับผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ในเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ เป็นเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อผู้สมัครของพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เองทั้งนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญยอมรับว่า เมื่อมีผู้กล่าวหาว่า พลเอก ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ไปว่าจ้างผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 ให้ส่งผู้สมัครและสนับสนุนให้ผู้ถูกร้องที่ 2 แก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่เคยมีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อให้เกิดความชัดเจนในข้อกล่าวหาเพียงแต่มีการประชุมผู้สมัครหรือการประชุมแบบกว้างๆ และมีการพูดกันว่า มีข้อกล่าวหาประการใดก็ให้ผู้เกี่ยวข้องไปสู้คดี ไม่มีการประชุมเรื่องนี้เป็นกิจจะลักษณะทั้งก่อนและหลังวันเลือกตั้ง ทั้งที่ข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญที่กระทบต่อภาพลักษณ์ของผู้ถูกร้องที่ 1 ทำให้เชื่อได้ว่า ก่อนดำเนินการดังกล่าวพลเอก ธรรมลักษณ์และนายพงษ์ศักดิ์จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 แล้ว จึงถือได้ว่า การกระทำของพลเอก ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์เป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 และมีผลผูกพันผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 20 ข้อต่อสู้ของผู้ถูกร้องที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ในส่วนของผู้ถูกร้องที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เพื่อให้ผู้สมัครที่เป็นสมาชิกพรรคเป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวัน นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งสามารถลงสมัครได้ และนายบุญทวีศักดิ์ รู้เห็นยินยอมให้นายชวการ ผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งสามารถลงสมัครได้ และนายบุญทวีศักดิ์ รู้เห็นยินยอมให้นายชวการ ผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของผู้ถูกร้องที่ 2 รับเงินจาก พลเอก ธรรมรักษ์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ลงสมัครแข่งกับสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อหลีกเลี่ยงการไม่ประกาศผลการเลือกตั้งกรณีมีผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงคนเดียว และผู้สมัครนั้นได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น ทั้งนายบุญทวีศักดิ์ยังได้ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคของผู้สมัครพรรผู้ถูกร้องที่ 2 อันเป็นเท็จ เพื่อให้นำไปเป็นหลักฐานลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย การกระทำของนายบุญทวีศักดิ์ดังกล่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกร้องที่ 2 ประกอบกับนายประพัฒน์ เพชรทอง เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และนายเอนก จันทร์สนธิ์ เหรัญญิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติให้ส่งผู้สมัครทั่วประเทศ แม้ยืนยันว่าผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่ได้เงินสนับสนุนจากบุคคลใด แต่การส่งผู้สมัครจำนวนมากถึง 36 คน ย่อมต้องใช้เงิน และต้องเป็นเงินจำนวนมากกว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งผู้ถูกร้องที่ 2 ส่งผู้สมัครเพียง 6 คน นายบุญทวีศักดิ์ก็ได้ยอมรับมาโดยตลอดว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่มีเงิน จึงเชื่อได้ว่า การกระทำของนายบุญทวีศักดิ์ดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เช่นกัน และนายบุญทวีศักดิ์เป็นผู้แทนผู้ถูกร้องที่ 2 จึงถือได้ว่า การกระทำของนายบุญทวีศักดิ์เป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 และมีผลผูกพันผู้ถูกร้องที่ 2 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 20
ในส่วนของผู้ถูกร้องที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายบุญาบารมีภณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 รู้เห็นยินยอมให้นางฐัติมา ผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อของผู้ถูกร้องที่ 3 รับเงินจากพลเอก ธรรมรักษ์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 ทั้งนายบุญาบารมีภณ ยังออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคของผู้สมัครผู้ถูกร้องที่ 3 อันเป็นเท็จ เพื่อให้นำไปเป็นหลักฐานลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การกระทำของนายบุญาบารมีภณดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกร้องที่ 3 ประกอบกับนายศุภกิจ ดุลยเกียรติ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 เบิกความต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญยอมรับว่า ทราบเรื่องที่ผู้ถูกร้องที่ 3 ส่งผู้สมัครเป็นจำนวนมาก แม้ยืนยันว่าผู้ถูกร้องที่ ๓ ไม่ได้เงินสนับสนุนจากบุคคลใด แต่การส่งผู้สมัครจำนวนมากถึง ๑๒๖ คน ย่อมต้องใช้เงินและต้องเป็นเงินจำนวนมากกว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ซึ่งผู้ถูกร้องเรียนที่ ๓ ส่งผู้สมัครเพียง ๙ คน นายบุญบารมีภณได้ยอมรับมาโดยตลอดว่า ผู้ถูกร้องที่ ๓ ไม่มีเงิน จึงถือได้ว่า การกระทำของนายบุญบารมีภณเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องเรียนที่ ๓ และมีผลผูกพันผู้ถูกร้องเรียนที่ ๓ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๒๐
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ ๑๐ มีว่า การกระทำของผู้ที่ถูกร้องเรียนที่ ๑ เข้าหลักเกณฑ์ที่อาจมีคำสั่งยุบพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตร ๖๖(๑) และ (๓) หรือไม่ และการกระทำของผู้ถูกร้องเรียนที่ ๒ กับผู้ถูกร้องเรียนที่ ๓ เข้าหลักเกณฑ์ที่อาจมีคำสั่งยุบพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๖(๒) และ (๓) หรือไม่
ในข้อนี้ผู้ถูกร้องที่ ๑ ต่อสู้ว่า การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามที่บัญญัติในมาตรา ๖๖(๑) ส่วนแรก หมายถึง กระทำการเพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสิ้นสุดลง การได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามที่บัญญัติในมาตรา ๖๖(๑) ส่วนหลัง หมายถึง การได้มาซึ่งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ คือการปฏิวัติรัฐประหารหรือยึดอำนาจการปกครองด้วยกำลัง ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๖๕ การกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐตามมาตรา ๖๖(๓) เป็นการกระทำอันเป็นความผิดทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค ๒ ลักษณะ ๑ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๓๕ และการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามมาตรา ๖๖(๓) ต้องเป็นการกระทำผิดที่รุนแรง มิใช่กระทำผิดกฎหมายเล็กน้อย
พิจารณาแล้วเห็นว่า การได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หมายถึงการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ที่แสดงออกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๐๒ โดยกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งยังจะต้องเป็นไปโดยสุจริต เพื่อก่อให้เกิดความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจของพรรคการเมืองนั้นในทางตรงข้าม การได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยการเลือกตั้งที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นไปโดยไม่สุจริต ย่อมถือได้ว่า เป็นการได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงมิได้หมายความถึง การได้มาซึ่งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยการปฏิวัติรัฐประหารหรือยึดอำนาจการปกครองด้วยกำลัง ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๖๕ ดังที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ กล่าวอ้างเท่านั้น
การที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ สนับสนุนให้มีการแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ ๒ เพื่อให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพราะเหตุเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้นนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวันสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ย่อมเป็นการสนับสนุนให้เกิดการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๐๗(๔) และการที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ ให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ถูกร้องที่ ๒ กับผู้ถูกร้องที่ ๓ เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงแข่งขันกับผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ เอง ย่อมมีผลเท่ากับผู้ถูกร้องที่ ๑ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่า ๑ คน ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๐๘ ที่บัญญัติว่า "พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใด จะส่งได้คนเดียวในเขตเลือกตั้งนั้น" ผู้ถูกร้องที่ ๑ กระทำดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงกรณีมีผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ คนเดียวและผู้สมัครนั้นได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๗๔ วรรคสอง ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปตามครรลองของกฎหมายตามปกติ โดยร่วมกันกระทำเป็นขบวนการกับพรรคการเมืองอื่น เพียงเพื่อให้การกลับคืนสู่อำนาจของผู้ถูกร้องที่ ๑ เป็นไปโดยเร็วยิ่งขึ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(1) ส่วนหลังและกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(1)ส่วนแรกด้วยหรือไม่
ปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 ถือได้ว่า เป็นการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้ถูกร้องที่ 1 เข้าแทรกแซงบิดผันกระบวนการเข้าสู่อำนาจในการปกครองประเทศเพื่อสร้างภาพลวงตาว่ามีการแข่งขันกันตามระบอบประชาธิปไตยต้องสั่นคลอนไม่มั่นคง ทำให้ประชาชนที่รู้ข้อเท็จจริงเสื่อมศรัทธาต่อระบบการเมือง อาจนำไปสู่การต่อต้านการใช้อำนาจปกครองโดยไม่ชอบธรรมของพรรคการเมือง ประกอบกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง เป็นบทบัญญัติที่เป็นนโยบายของรัฐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 จึงเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 66(3)อีกด้วย และกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสามเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(1) ด้วยหรือไม่เพราะไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป
ในส่วนของผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 นั้น การที่ผู้ถูกร้องที่ 2 และ ผู้ถูกร้องที่ 3 รับเงินจากผู้ถูกร้องที่ 1 และออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคอันเป็นเท็จ เพื่อให้นำไปเป็นหลักฐานลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งการที่ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เพื่อให้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติสามารถลงสมัครได้นั้น แม้มิใช่กระทำเพื่อให้ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 ได้มาซึ่งอำนาจปกครองประเทศ แต่การกระทำดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ถูกร้องที่ 1 หลีกเลี่ยงผลบังคับของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 74 วรรคสอง จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(2) ทั้งยังเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 66(3) อีกด้วย
ส่วนผู้ที่ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า การกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐตามมาตรา 66 (3) เป็นการกระทำอันเป็นความผิดทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 1 ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 135 และการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามมาตรา 66 (3) ต้องเป็นการกระทำผิดที่รุนแรง มิใช่กระทำผิดกฎหมายเล็กน้อยนั้น การกระทำอันอาจเป็นภัยต่อควมมั่นคงของรัฐตามมาตรา 66 (3) เป็นคนละกรณีกับการกระทำอันเป็นความผิดทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 1 ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 135 และที่กล่าวอ้าวว่า การกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามมาตรา 66 (3) ต้องเป็นการกระทำความผิดที่รุนแรงมิใช่กระทำผิดกฎหมายเล็กน้อยนั้น การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หาได้เป็นความผิดกฎหมายเล็กน้อยดังที่ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างไม่ ข้อต่อสู้ของผู้ถูกร้องที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 11 มีว่า กรณีมีเหตุสมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้งสามหรือไม่
ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราข 2540 มาตรา 63 วรรคสาม และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 บัญญํติเพียงว่า พรรคการเมืองที่กระทำการตามบทบัญญัติดังกล่าว อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคได้ และกรณีมีเหตุที่ไม่สมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ 1 สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจซึ่งเรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2540 เป็นผลสำเร็จ และกระทำการตามนโยบายที่เป็นผลดีต่อประเทศชาติมากมาย จนเป็นที่นิยมของประชาชนส่วนใหญ่ ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนทั้งสิ้น 248 คน เป็นอันดับหนึ่ง และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ผู้ถูกร้องที่ 1 มีสมาชิกพรรคได้รับเลือกตั้งทั้งสิ้น 377 คน จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรก มีสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวนมากถึง 14,394,404 คน การสั่งยุบพรรคจะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อสมาชิกพรรคเหล่านั้น ทั้งที่ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้อง ทั้งหากมีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 บ้านเมืองจะเกิดควาสับสนวุ่นวาย ต่างชาติจะขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการเมืองไทยส่งผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
พิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดตั้งพรรคการเมืองนั้น จะต้องมีบุคคลตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไปรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น ตามวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามบทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ซึ่งหมายความว่า พรรคการเมืองจะต้องเป็นที่รวมของบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเช่นเดียวกัน และมีเจตนารมณ์ที่จะร่วมกันดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวม แต่เมื่อพิจารณาถึงที่มาของการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ตามที่ปรากฎในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 ว่า เป็นเพราะมีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนและขยายตัวไปในทางที่กว้างขวางและรุนแรงขึ้น ซึ่งการชุมนุมดังกล่าวปรากฎในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ฉบับลงวันที่ 8 มกราคม 2550 ว่า มีสาเหตุมาจากการที่ประชาชนไม่พอใจที่พันตำรวจโท ทักษิณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ขายกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐให้แก่บริษัทที่เป็นของรัฐบาลต่างชาติเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท โดยไม่เสียภาษีแก่รัฐ และปรากฎว่าก่อนการขายกิจการดังกล่าวเพียง 3 วัน ก็มีการตราพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ที่มีเนื้อหาสาระเป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยในกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 2 และแบบที่ 3 ออกมาใช้บังคับ อันเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า เป็นกฎหมายที่ตราออกมาเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายกิจการดังกล่าว การยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 จึงมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัวของหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่1 มิได้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างองค์กรฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ หรือระหว่างพรรคการเมืองในฝ่ายบริหารด้วยกันเอง หรือมีปัญหาอันเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะที่สมควรคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองแก่ประชาชนด้วยการยุบสภา ทั้งการผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อธุรกิจของครอบครัวดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 อำนาจเหนืออุดมการณ์ของพรรคอย่างเด็ดขาดในการกำหนดความเป็นไปของพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ทั้งการกำหนดวันเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ภายหลังยุบสภาราษฎรเพียง 37 วันนั้น ก็เป็นการช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมืองซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ทำให้เกิดผลของการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 และการกำหนดวันเลือกตั้งภายหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎรเพียง 37 วันดังกล่าวก็ได้ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านทั้งสามพรรคนำมาเป็นข้ออ้างในการไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และนำไปสู่การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 74 วรรคสองของผู้ถูกร้องที่ 1 โดยการสนับสนุนให้มีการแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และให้เงินสนับสนุนแก้ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงแข่งขันกับผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อหลีกเลี่ยงการไม่ประกาศผลการเลือกตั้งกรณีมีผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงคนเดียวและผู้สมัครนั้นได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น แต่ในที่สุดก็ไม่ได้เกิดผลสำเร็จตามประสงค์เนื่องจากปรากฏว่ามีเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียวจากพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวนถึง 281 ปรากฏว่ามีเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครจากพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงคนเดียวและผู้สมัครนั้นไม่ได้รับคะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น จำนวน 38 เขตเลือกตั้งใน 15 จังหวัด คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 74 วรรคสองโดยกำหนดให้มีการลงคะแนนในวันที่ 23 เมษายน 2549 แต่เมื่อลงคะแนนแล้ว ยังมีเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครจากพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงคนเดียวและผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้นไม่ได้รับคะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นอีกจำนวน 14 เขตเลือกตั้งใน 9 จังหวัด คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกเป็นครั้งที่ 3 โดยกำหนดให้มีการลงคะแนนในวันที่ 29 เมษายน 2549 ดังที่ปรากฏในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 เอกสารหมาย ถ.91 แต่การเลือกตั้งในวันดังกล่าวไว้ก่อนและต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 9/2549 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 ให้เพิกถอนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 และครั้งถัดมา หลังจากนั้นได้มีพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2549 กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549 แต่เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเสียก่อน ปัญหาที่เกิดขึ้นเริ่มมาจากปัญหาส่วนตัวของหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่เพียงเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนดังได้วินิจฉัยมาแล้วเท่านั้น ผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นพรรคการเมืองอันเป็นสถาบันหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ย่อมต้องมีภาระหน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งหลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ย่อมต้องมีภาระหน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งหลักการสำคัญของการปกครองประเทศที่แสดงออกในการเลือกตั้ง แต่ผู้ถูกร้องที่ 1 กลับทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นเพียงแบบพิธีที่จะนำไปสู่การผูกขาดอำนาจทางการเมืองของผู้ถูกร้องที่ 1 เท่านั้น ทั้งที่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปนั้น เป็นช่วงจังหวะเวลาและเป็นกระบวนการทางการเมืองที่มีความสำคัญยิ่งในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสอย่างกว้างขวางที่สุดแก่ประชาชนที่จะได้ร่วมกันใช้สิทธิแสดงเจตจำนงและตกลงใจที่จะกำหนดทิศทางการเมือง และคัดสรรผู้แทนเข้ามาทำหน้าที่ทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกร้องที่ 1 มิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมืองทั้งที่ผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนสูงสุดในการเลือกตั้งสาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง ควรต้องสร้างความยั่งยืนให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมั่นคงกับหลักการที่ว่ากฎหมายต้องอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ย่งไปกว่านั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ด้วยว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ นอกเหนือไปจากครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตลอดจนบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จนยากที่หาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดินโดยแอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง พฤติการณ์ของผู้ถูกร้องที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่อาจดำรงความเป็นพรรคการเมืองที่จะสร้างสรรค์และจรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองแก่ระบอบการปกครองของประเทศโดยรวมได้อีกต่อไป กรณีจึงมีเหตุอันสมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 มีสมาชิกพรรคจำนวนมากถึง 14,394,404 คน การสั่งยุบพรรคจะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อสมาชิกพรรค ทั้งที่ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องนั้นเป็นเรื่องที่หัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ขณะเกิดเหตุจะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสมาชิกพรรคดังกล่าวเอง ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนผู้ถูกร้องที่ 2 และที่ 3 นั้น การที่ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 รับเงินจากผู้ถูกร้องที่ 1 และออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคอันเป็นเท็จ เพื่อให้นำไปเป็นหลักฐานลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งการที่ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักคณะกรรมการการเลือกตั้งแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 อันเป็นการให้ความร่วมมือแก่ผู้ถูกร้องที่ 1 จนก่อให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 และที่ 3 เป็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของผู้ก่อตั้งหรือคณะกรรมการบริหารพรรค มิได้เกิดจากการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองของบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเช่นเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการทางการเมืองให้เป็นไปตามอุดมการณ์ทางการเมืองนั้น เพราะบุคคลในพรรคเพียงไม่กี่คนก็สามารถนำพรรคไปรับจ้างพรรคการเมืองอื่นเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองอื่นได้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 และที่ 3 มิได้มีสภาพความเป็นพรรคการเมืองอยู่เลย กรณีจึงมีเหตุอันสมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และที่ 3 มิได้มีสภาพความเป็นพรรคการเมืองอยู่เลย กรณีจึงมีเหตุอันสมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และที่ 3 เช่นกัน
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 12 มีว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ใช้บังคับกับเหตุยุบพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(1)(2)และ(3)ได้หรือไม่
ผู้ถูกร้องที่ 1 ต่อสู้ว่า เหตุยุบพรรคการเมืองทั้งมาตรา 66(1)และ(3)แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 คือพรรคการเมือง"กระทำการ"อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนด แต่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ อ้างถึงคำสั่งยุบพรรคการเมืองเฉพาะ"กระทำการต้องห้าม" จึงใช้บังคับเหตุยุบพรรคที่ระบุในมาตรา ๖๖ (๔) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ เท่านั้น
พิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๖ (๑) (๒) และ (๓) ที่ผู้ร้องอ้างมาเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ นั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๖ บัญญัติว่า เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอยางหนึ่งดังต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง (๑) กระทำการล้มล้างการปกครองระบบอประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ (๒)กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ(๓) กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ (๔) การทำการฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง มาตร ๕๒ หรือมาตรา ๕๓ ห็นว่า ตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ความของมาตราแต่ขณะเดียวกันก็มีความหายขัดเจนว่าเป็นบทบัญญัติที่กำหนดเรื่องของการกระทำการที่อาจถูกยุบพรรคการเมืองได้ พรรคการเมืองใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวก็อาจถูกยุบพรรคการเมืองได้ จึงมีผลเท่ากับเป็นข้อต้องห้ามมิให้พรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวนั่นเอง คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องที่ ๑ จึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ ๑๓ มีว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ มีผลใช้บังคับย้อนหลังกับการกระทำอันเป็นเหตุยุบพรรคในคดีนี้หรือไม่
ในข้อนี้ผู้ถูกร้องที่ ๑ กล่าวอ้างว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ ๒๗ ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง เนื่องจากประกาศฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลใช้บังคับย้อนหลัง ทั้งการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการใช้สิทธิทางการเมืองซึ่งเป็นโทษทางการเมืองและมีความร้ายแรงกว่าโทษอาญาบางประเภท จึงต้องกำหนดไว้แน่นอนล่วงหน้า หากตีความว่า ให้มีผลย้อนหลัง ก็จะขัดกับหลักนิติรัฐและหลักการออกกฎหมายที่อารยประเทศทั่วโลกยึดถือ
พิจารณาแล้วเห็นว่า ประกาศณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรค"
ประกาศฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 แต่การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสามอันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 เกิดขึ้นในช่วงเวลาภายหลังพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 มีผลใช้บังคับคือเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 จนถึงวันที่ 2 เมษายน 2549 อันเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงมีปัญหาว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พุทธศักราช 2549 ฉบับที่ 27 ข้อ 3 เป็นกฎหมายที่มีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคล ต้องห้ามมิให้ใช้บังคับหรือไม่
หลักการห้ามออกกฎหมายมีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้น มีที่มาจากหลักการทีว่า ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ แต่หลักการดังกล่าวใช้บังคับการกระทำอันเป็นความผิดอาญาเท่านั้น ดังที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติว่า "บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดนั้น จะต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย" ซึ่งหลักการนี้ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอดีตหลายฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นต้นมา
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปี นันแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคเพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66 นั้น แม้เป็นบทบัญญัติที่มีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่กระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๖๖ ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับต้องรับผลร้ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากเดิมเพียงแต่ได้รับผลตามมาตรา ๖๙ กล่าวคือ จะขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ตามมาตรา ๘ อีกไม่ได้เท่านั้น แต่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมิใช่โทษทางอาญาเป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่เกิดจากผลของกฎหมายที่ให้อำนาจในการยุบพรรคการเมืองที่กระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อมิให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ก่อให้เกิดความเสียหายซ้ำอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และแม้สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนในสังคมที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่การมีกฎหมายกำหนดว่า บุคคลใดสมควรมีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาพแห่งสังคม หรือเพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยในสังคมนั้นดำรงอยู่ย่อมมีได้ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗ ข้อ ๓ จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังแก่การกระทำอันเป็นเหตุยุบพรรคในคดีนี้ได้ ข้อต่อสู้ของผู้ถูกร้องที่ ๑ ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ ๑๔ มีว่า การที่กรรมการบริหารพรรคการเมืองซึ่งมีตำแหน่งในขณะเกิดเหตุ แต่ภายหลังลาออกจากตำแหน่งแล้วก่อนวันมีคำวินิจฉัย คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวได้ หรือไม่
ในข้อนี้ ผู้ที่ถูกร้องที่ ๑ กล่าวอ้างว่า ภายหลังวันที่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ กรรมการบริหารพรรคและพันตำรวจโท ทักษิณ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ทำให้กรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ตามข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้องที่ ๑ ข้อ ๕๕(๒) และมีผลสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๓๓ และยังไม่ได้มีการเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เนื่องจากพรรคการเมืองยังถูกห้ามดำเนินการประชุมหรือดำเนินการใดๆ ทางการเมืองอยู่ ตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พิจารณาแล้วเห็นว่า การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่๒๗ ข้อ 3 ย่อมมีผลใช้บังคับแก่กรรมการบริหารพรรคทุกคนในขณะที่มีการกระทำอันเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ดังนั้น การลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค หรือหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ลาออกจากตำแหน่งซึ่งมีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคที่เหลือพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ในเวลาต่อมาก็ตาม ก็ไม่ลบล้างผลของการกระทำที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ได้กระทำในขณะที่กรรมการบริหารพรรคผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่ มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็น กล่าวคือ หลังจากที่มีการกระทำอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติกฎหมายแล้ว กรรมการบริหารพรรคทั้งหลายลาออก เพื่อให้ตนเองมิต้องถูกตัดสิทธิทางการเมือง การบังคับเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ย่อมตกเป็นอันไร้ผล
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคไทยรักไทยผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ประกอบมาตรา 33 (1) และ (3) และให้ยุบพรรคพัฒนาชาติไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 และพรรคแผ่นดินไทย ผู้ถูกร้องที่ 3 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ประกอบมาตรา 66 (2) และ (3) กับเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวน 111 คน ตามประกาศทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2549 เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 จำนวน 19 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคพัฒนาชาติไทย ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 จำนวน 3 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคแผ่นดินไทย ฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2549 มีกำหนดห้าปีนับแต่วันนี้ที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549
คำวินัจฉัยที่ ๓-๕/๒๕๕๐
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์)
รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ตุลาการรัฐธรรมนูญ
(นายสมชาย พงษธา) (นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์)
ตุลาการรัฐธรรมนูญ ตุลาการรัฐธรรมนูญ
(นายธานิศ เกศวพิทักษ์) (นายนุรักษ์ มาประณีต)
ตุลาการรัฐธรรมนูญ ตุลาการรัฐธรรมนูญ
(นายจรัญ หัตถกรรม) (นายวิชัย ชื่นชมพูนุท)
ตุลาการรัฐธรรมนูญ ตุลาการรัฐธรรมนูญ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ