นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า กกต.ได้ออกระเบียบ
คณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการหาเสียง ข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามมิให้ปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับการ
เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาและการดำเนินการใดๆของผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พ.ศ.2551 โดยยึด
หลักการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ว. สามารถหาเสียงได้ก็แต่เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของวุฒิสภา เช่น
อำนาจในด้านนิติบัญญัติ อำนาจในการควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การควบคุม การ
บริหารราชการแผ่นดิน การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของแผ่นดิน การ
พิจารณาเลือกตั้ง แต่งตั้งให้คำแนะนำ ให้ความเห็นชอบบุคคลในองค์กรต่างๆ อำนาจในการถอดถอนบุคคลออก
จากตำแหน่ง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
สำหรับวิธีการในการหาเสียงนั้น สามารถ แจกเอกสาร หรือเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการหา
เสียงเลือกตั้งสามารถมีชื่อ รูปถ่าย หมายเลขประจำตัวผู้สมัคร ข้อมูลประวัติเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวผู้สมัครและ
ข้อความหาเสียงที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ส.ว. ในเขตชุมชน รวมทั้งใช้ยานพาหนะ เครื่องขยายเสียง และจัดทำ
ประกาศหรือโปสเตอร์ที่จะปิดได้ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 30 เซนติเมตร และมีขนาดยาวไม่เกิน 42 เซนติเมตร
(ขนาดกระดาษประมาณ A 3) ส่วนป้ายหรือคัตเอาต์ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 130 เซนติเมตร และมีขนาดยาว
ไม่เกิน 245 เซนติเมตร สามารถติดในสถานที่เอกชนได้ โดยห้ามแจกจ่ายเอกสารด้วยวิธีการวาง หรือโปรยในที่
สาธารณะ
นอกจากนี้ยังสามารถโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ เว็บไซต์ จดหมาย สื่อสิ่งพิมพ์ และ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสามารถจัดทำเอกสารที่มีการกากบาทในช่องลงคะแนนเลือกตั้งให้กับตนเอง เพื่อใช้
ในการหาเสียงเลือกตั้งให้กับตนเองได้ แต่ต้องไม่มีขนาด ลักษณะ หรือสีที่คล้ายกับบัตรเลือกตั้ง และต้องไม่
ปรากฏหมายเลขประจำตัวของผู้สมัครอื่นด้วย
เลขาธิการ กกต. กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สมัครควรหาเสียงโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ จัดฝึกอบรมให้กับ
บุคคลผู้ช่วยในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้ง หลีกเลี่ยงการใช้วิชาชีพหรือการ
ประกอบอาชีพเกี่ยวกับรายการวิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง สื่อสารมวลชน สื่อโฆษณะ เช่น นักแสดง
นักร้อง นักดนตรี พิธีกร สื่อมวลชน และต้องหาเสียงโดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพ