คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญ
คำวินิจฉัยที่ 9/2551 เรื่องพิจารณาที่ 11/2551
วันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2551
ระหว่าง นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา กับคณะสมาชิกวุฒิสภารวม 36 คน ผู้ร้อง
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ถูกร้อง
เรื่อง ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ประกอบมาตรา 269 หรือไม่
ประธานวุฒิสภามีหนังสือลงวันที่ 21 เมษายน 2551 ส่งคำร้องของนายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภาและคณะ รวม 36 คน(ผู้ร้อง)ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ประกอบมาตรา 269
ความเป็นมา
ข้อเท็จริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง สรุปได้ว่า
1.นายไชยา สะสมทรัพย์(ผู้ถูกร้อง)ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 และได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนเองและคู่สมรสต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(คณะกรรมการ ป.ป.ช.)เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 จากการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ถูกร้อง ปรากฏว่านางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรส มีรายการเงินลงทุนที่เป็นหุ้นในบริษัททรัพย์ฮกเฮง จำกัด จำนวน 25,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 2,500,000 บาท จากทุนจดทะเบียนทั้งหมดของ บริษัทฯ คิดเป็นร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนทั้งหมดซึ่งเป็นการถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทฯ และไม่ปรากฏว่าตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ถูกร้องได้แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบว่า ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการที่คู่สมรสถือหุ้น ในบริษัทดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2550 มาตรา 269 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 5
คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 183 วรรคสาม ได้บัญญัติให้นำมาตรา 91 และมาตรา 92 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรี ตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(2)(3)(5) หรือ(7) โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ด้วย ซึ่งมาตรา 91 และ มาตรา 92 เป็นกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหสึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง จึงมีมติให้แจ้งข้อเท็จจริงพร้อมส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปยัง 1)นายกรัฐมนตรี 2)ประธานสภาผู้แทนราษฎร 3)ประธานวุฒิสภา และ 4)ประธานกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อทราบและพิจารณาต่อไป
ผู้ร้องเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 5 ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)โดยมาตรา 182 วรรคสาม ได้กำหนดให้นำบทบัญญัติในมาตรา 91 และมาตรา 92 มาบังคับใช้กับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรี ตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(2)(3)(5) หรือ (7)โดยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่า สมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงจึงใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 91 ในการเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย
2.ประธานวุฒิสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องของสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ประกอบมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)มาตรา 1821 วรรคสาม และมาตรา 269 จึงส่งคำร้องมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัวหรือไม่
ตุลาการประจำคดีพิจารณาคำร้องแล้ว มีคำสั่งให้รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาและให้ส่งสำเนาคำร้องให้นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง
3.นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ถูกร้อง ได้ยื่นหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 และหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว สรุปได้ว่า
3.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย มีข้อห้ามนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งถือจำนวนหุ้นเป็นสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และขณะนี้กฎหมายที่ออกตามความในมาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังมิได้ตราออกมาบังคับใช้ แต่มีพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ซึ่งตราขึ้นตามมาตรา 209 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยมีสาระสำคัญเช่นเดียวกับมาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จึงต้องนำหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ไม่มีบทบัญญัติห้ามคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ประกอบกับยังไม่มีกฎหมายตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาเป็นเส้นแบ่งระหว่างจำนวนหุ้นส่วนและหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่จะครอบครองไว้ได้ โดยไม่ต้องแจ้งประธานกรรมการ ป.ป.ช.กับส่วนที่เกินจำนวนและประสงค์จะรับประโยชน์ที่จะต้องแจ้งประธานกรรมการ ป.ป.ช.และต้องโอนให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินของผู้อื่น ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 และมาตรา 5 เมื่อยังไม่มีกฎหมายกำหนดจำนวนหรือสัดส่วนและหลักเกณฑ์การถือหุ้นของคู่สมรสของรัฐมนตรีไว้ การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้สรุปข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมาย โดยนำบทบัญญัติบางมาตราแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับให้เป็นผลร้ายแก่นางจุไร สะสมทรัพย์ จึงไม่อาจกระทำได้
3.2 ผู้ถูกร้องเห็นว่า รัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. กรณีหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทของคู่สมรส ด้วยเหตุผล คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี แต่ในวรรคท้าย บัญญัติว่า "บทบัญญัติในมาตรานี้ให้นำมาใช้บังคับกับคู่สมรสของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย" เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรานี้มิได้บัญญัติให้เป็นหน้าทึ่ของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ว่าประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้ถือหุ้นของคู่สมรส ซึ่งต่างจากบทบัญญัติมาตรา 259 ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่าให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรส ประกอบกับความประสงค์ในการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้นิติบุคคลจัดการทรัพย์สินแทนถือเป็นสิทธิของคู่สมรสของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นการเฉพาะตัวเพราะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้อื่นจะแสดงเจตนาแทนย่อมไม่มีผลทางกฎหมาย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีไม่สามารถบังคับให้คู่สมรสของตนจัดการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นของคู่สมรสให้แก่นิติบุคคลได้ หากนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.เกี่ยวกับหุ้นส่วนหรือหุ้นของคู่สมรสภายในกำหนดสามสิบวันและจัดการโอนหุ้นที่มิใช่ทรัพย์สินของตนแต่เป็นทรัพย์สินของคู่สมรสภายในกำหนดเก้าสิบวัน การแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.และการโอนเช่นนี้ก็ไม่มีผลผูกพันคู่สมรสตามกฎหมายดังนั้น หน้าที่ในการแจ้งการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในจำนวนที่เกินกว่ากฎหมายบัญญัติต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ของคู่สมรสของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จึงเป็นหน้าที่ของคู่สมรส
3.3 ผู้ถูกร้องได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ถูกร้อง และนางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรส ในกรณีเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6 กมุภาพันธ์ 2551 กรณีจึงเป็นการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวได้แจ้งว่า นางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของผู้ถูกร้องถือหุ้นในบริษัททรัพย์ฮกเฮง จำกัด จำนวน 25,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 2,500,000 บาท จากทุนจดทะเบียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนทั้งหมด โดยประธานกรรมการ ป.ป.ช.ลงชื่อรับทราบทั้งหมด ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ว่าการประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทให้แจ้งต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ประกอบกับการแจ้งความประสงค์ในการที่จะได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้ถือหุ้นไม่มีแบบ และผู้ถูกร้องได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 259 ประกอบมาตรา 260 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วย่อมถือได้ว่าการแจ้งข้างต้น ผู้ถูกร้องได้แจ้งเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ด้วย และประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับทราบการเป็นผู้ถือหุ้นของนางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของผู้ถูกร้องภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้ว
3.4 นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา และคณะ รวม 36 คน ไม่มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 เนื่องจากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(2)(3)(5) หรือ (7) เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีจะต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูลถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง หากนายกรัฐมนตรีไม่ดำเนินการ มาตรา 182 วรรคสาม จึงบัญญัติให้อำนาจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้อีกทางหนึ่ง การที่มาตรา 182 วรรคสาม ให้นำมาตรา 91 และมาตรา 92 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีนั้น เป็นการกำหนดขั้นตอน วิธีการ และรับรองการกระทำของรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ไม่ได้หมายความรวมถึงการให้สิทธิแก่สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภาให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงด้วย ประธานวุฒิสภาจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)
3.5 การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.อ้างว่า เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 นายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับการกรอบแบบบัญชีรายการทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้รับทราบแล้ว โดยได้บรรยายให้ทราบถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ที่กำหนดหลักการเพิ่มเติม นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 209 โดยนอกจากจะห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทแล้วยังห้ามรวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยนั้น ผู้ถูกร้องเห็นว่า ไม่ว่านายศราวุธ เมนะเศวต จะได้บรรยายให้ทราบถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ที่กำหนดหลักการเพิ่มเติมการเป็นผู้ถือหุ้นของคู่สมรสของรัฐมนตรี นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 209 หรือไม่ก็ตาม แต่การที่ผู้ถูกร้องได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว โดยได้แจ้งว่านางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของตนถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ฮกเฮง จำกัด จำนวน 25,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 2,500,000 บาท จากทุนจดทะเบียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนทั้งหมด โดยการยื่นแจ้งการถือหุ้นของคู่สมรสของผู้ถูกร้องนี้ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ลงชื่อรับทราบด้วย จึงเป็นกรณีที่ตนเองมิได้มีเจตนาหรือจงใจกระทำการฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269
3.6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 41 บัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ" บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรานี้เป็นการยืนยันหรือมีหลักการสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 29 ที่คุ้มครองสิทธิของบุคคลในเรื่องทรัพย์สิน หากจะจำกัดสิทธิในเรื่องทรัพย์สินจะต้องตรากฎหมายออกมาบังคับใช้เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 เป็นการจำกัดสิทธิในการเป็นหุ้นส่วนหรือการเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทของนายกรัฐมนตรี คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิตภาวะของนายกรัฐมนตรี จึงถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิในเรื่องทรัพย์สิน ซึ่งรัฐธรรมนูญได้รับรองหรือคุ้มครองไว้ จึงต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิในเรื่องการเป็นหุ้นส่วนหรือเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมิได้
ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคสามประกอบมาตรา 91 หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ ...(7)กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 267 มาตรา 267 หรือมาตรา 269" และวรรคสาม บัญญัติว่า "ให้นำบทบัญญัติมาตรา 91 และมาตรา 92 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีตาม(2)(3)(5)หรือ(7) หรือวรรคสอง โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ด้วย" มาตรา 91 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงมาตรา 106(3)(4)(5)(6)(7)(8)(10)หรือ(11)หรือมาตรา 119(3)(4)(5)(7)หรือ(8)แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภา ที่ได้คำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่"
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคสาม บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 91 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ด้วย ดังนั้น สมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนดจึงมีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีกรณีปรากฏว่า ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีคนใดสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)โดยการเข้าชื่อของสมาชิกวุฒิสภาต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง กล่าวคือสมาชิกวุฒิสภาที่เข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา กรณีตามคำร้องผู้ร้องซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จำนวนสามสิบหกคน ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ได้เข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง กรณีจึงเป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคสาม ประกอบมาตรา 91 เมื่อประธานวุฒิสภาส่งคำร้องดังกล่าวมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนี้ได้ ที่ผู้ถูกร้องโต้แย้งว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ให้สิทธิแก่สมาชิกวุฒิสภาเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และประธานวุฒิสภาไม่มีอำนาจยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)จึงไม่อาจรับฟังได้
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้อง เอกสารประกอบคำร้อง และคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแล้ว เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้จึงกำหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สิ้นสุดลง เฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ประกอบมาตรา 269 หรือไม่
คำวินิจฉัย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)บัญญัติว่า "ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ...(7)กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 267 มาตรา 268 หรือมาตรา 269" และมาตรา 269 บัญญัติว่า "นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไปเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตามวรรคหนึ่ง มีได้
บทบัญญัติมาตรานี้ให้นำมาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 259 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 มีเจตนารมณ์ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องแจ้งความประสงค์ในการรับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อป้องกันมิให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สาธารณะกับการประกอบธุรกิจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและครอบครัว อันเป็นการควบคุมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา 269 วรรคหนึ่ง จึงบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องแจ้งการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท และการได้รับประโยชน์จากการถือครองหุ้นจำนวนที่เกิดตามที่กฎหมายกำหนดต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ภายในสามสิบวันแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี และต้องแจ้งการโอนหุ้นให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด และมาตรา 269 วรรคสาม ให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย
โดยที่มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติหลักการไว้เช่นเดียวกับมาตรา 209 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ในการแจ้งการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นและการรับประโยชน์จากการถือครองหุ้นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ซึ่งออกตามความในมาตรา 209 และเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นกฎหมายที่นำมาใช้บังคับการแจ้งการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นและการรับประโยชน์จากการถือหุ้นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามมาตรา 269 ด้วย
พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้ไม่เกินร้อยละห้าของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือรัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ในกรณีที่รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในส่วนที่เกินร้อยละห้า และรัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์จากจำนวนหุ้นที่เกินดังกล่าว มาตรา 5 กำหนดให้รัฐมนตรีต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี และโอนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ และจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบอีกครั้งภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้โอนหุ้นให้นิติบุคคลนั้น ซึ่งแม้ว่าพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 5 จะไม่มีบทบัญญัติให้รัฐมนตรีแจ้งความประสงค์ที่จะรับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม แต่การที่รัฐมนตรีจะต้องแจ้งความประสงค์ รับประโยชน์สำหรับการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะนั้น เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญให้นำบทบัญญัติสำหรับนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมาใช้บังคับ เมื่อบทบัญญัติสำหรับนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร ก็ย่อมจะนำมาใช้ บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้ด้วย ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะในกรณีดังกล่าวอีก เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีผู้นั้นที่จะต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ดังนั้น รัฐมนตรีจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งความประสงค์จะรับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ด้วย
ประเด็นโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 269 และพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 และมาตรา 5 มาใช้บังคับให้เป็น ผลร้ายแก่คู่สมรสของผู้ถูกร้อง และประเด็นที่ว่ารัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ในการแจ้งการเป็น หุ้นส่วนและหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในจำนวนที่เกินกว่ากฎหมายบัญญัติต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. ของคู่สมรสของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จึงเป็นหน้าที่ของคู่สมรสนั้น
พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 วรรคสาม บัญญัติให้การแจ้งถือครองหุ้นและการรับประโยชน์จากการถือครองหุ้นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี มาใช้บังคับกับคู่สมรสของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย จึงเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบถึงการถือครองหุ้นและการได้รับประโยชน์จากการถือหุ้นของคู่สมรสรัฐมนตรีตามมาตรา 269 ประกอบมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่มิได้นำกฎหมายใช้บังคับเพื่อให้เป็นผลร้ายแก่คู่สมรสของผู้ถูกร้องแต่อย่างใดข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องในประเด็นนี้จึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นโต้แย้งในประการต่อมามีว่า ผู้ถูกร้องได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 259 ประกอบมาตรา 260 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว ย่อมถือได้ว่าการแจ้งข้างต้น ผู้ถูกร้องได้แจ้ง เป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ด้วย และประธานกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับทราบการเป็นผู้ถือหุ้นของนางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของผู้ถูกร้องภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ผู้ถูกร้องจึงมิได้มีเจตนาหรือจงใจกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 พิจารณาแล้วเห็นว่า การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 259 นั้น รัฐมนตรีมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง ส่วนมาตรา 269 บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดต่อไปให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญติ โดยให้นำมาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 259 วรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น หากรัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์ตามมาตรา 269 ทั้งตนเองและคู่สมรส ผู้ถูกร้องในฐานะรัฐมน่ตรีจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องในประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหกนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 259 กับการแจ้งต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ตามมาตรา 269 เป็นคนละกรณีกัน ส่วนข้อโต้แย้งที่ว่า ผู้ถูกร้องมิได้มีเจตนาหรือจงใจกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 นั้น เห็นว่า ผู้ถูกร้องได้รับทราบหลักการเพิ่มเติมถึงกรณีมีหน้าที่ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าถือประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจากนายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว แต่ผู้ถูกร้องมิได้ดำเนินการแจ้งความประสงค์ที่จะรับประโยชน์จากการถือหุ้นเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดของคู่สมรสต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ภายในกำหนดระยะเวลา ถือว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยเจตนา ข้อโต้แย้งดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน
สำหรับประเด็นโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 เป็นการจำกัดสิทธิในการเป็นหุ้นส่วนหรือการเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี จึงถือว่า เป็นการจำกัดสิทธิในเรื่องทรัพย์สินซึ่งรัฐธรรมนูญได้รับรองหรือคุ้มครองไว้นั้น
พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นกรณีที่ผู้ถูกร้องโต้แย้งว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 269 มีข้อความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 29 ประกอบมาตรา 41 ประเด็นนี้เป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น ซึ่งไม่อาจจะขัดหรือแย้งกันได้
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 และได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบของตนเองและคู่สมรสต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 กรณีเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าผู้ถูกร้องได้แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบว่าประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการที่นางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของผู้ถูกร้องถือหุ้นในบริษัททรัพย์ฮกเฮง จำกัด เกินกว่าร้อยละห้าของจำนวนหุ้น ที่จำหน่ายได้ในบริษัทภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 แม้ว่าในปัจจุบันพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ยังมิได้มีการบัญญัติให้รวมถึงการถือครองหุ้นและได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของรัฐมนตรี แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 2543 ยังมิได้มีการบัญญัติให้รวมถึงการถือครองหุ้นและได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของรัฐมนตรี แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีผู้นั้นที่จะต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ดังนั้น รัฐมนตรีจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งความประสงค์จะรับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย กรณีจึงถือว่าการกระทำของผู้ถูกร้องในฐานะรัฐมนตรีเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 เป็นการกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ประกอบมาตรา 269
มีกรณีต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ผู้ถูกร้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)บัญญัติให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 269 ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น ความเป็นรัฐมนตรีย่อมต้องสิ้นสุดลงทันที ไม่ใช่สิ้นสุดลงในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ส่วนมาตรา 92 นั้น เป็นการบัญญัติถึงการออกจากตำแหน่งไว้เพื่อแก้ปัญหาอันเกี่ยวกับกิจการที่รัฐมนตรีได้ทำไปหลังจากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงแล้วจนถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ไม่ให้กระทบกระเทือนกิจการที่กระทำไปในระหว่างนั้น หากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติรับรองกิจการที่ทำไปก่อนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ประกอบมาตรา 269 ตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี
--ศาลรัฐธรรมนูญ--
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญ
คำวินิจฉัยที่ 9/2551 เรื่องพิจารณาที่ 11/2551
วันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2551
ระหว่าง นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา กับคณะสมาชิกวุฒิสภารวม 36 คน ผู้ร้อง
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ถูกร้อง
เรื่อง ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ประกอบมาตรา 269 หรือไม่
ประธานวุฒิสภามีหนังสือลงวันที่ 21 เมษายน 2551 ส่งคำร้องของนายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภาและคณะ รวม 36 คน(ผู้ร้อง)ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ประกอบมาตรา 269
ความเป็นมา
ข้อเท็จริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง สรุปได้ว่า
1.นายไชยา สะสมทรัพย์(ผู้ถูกร้อง)ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 และได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนเองและคู่สมรสต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(คณะกรรมการ ป.ป.ช.)เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 จากการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ถูกร้อง ปรากฏว่านางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรส มีรายการเงินลงทุนที่เป็นหุ้นในบริษัททรัพย์ฮกเฮง จำกัด จำนวน 25,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 2,500,000 บาท จากทุนจดทะเบียนทั้งหมดของ บริษัทฯ คิดเป็นร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนทั้งหมดซึ่งเป็นการถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทฯ และไม่ปรากฏว่าตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ถูกร้องได้แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบว่า ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการที่คู่สมรสถือหุ้น ในบริษัทดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2550 มาตรา 269 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 5
คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 183 วรรคสาม ได้บัญญัติให้นำมาตรา 91 และมาตรา 92 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรี ตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(2)(3)(5) หรือ(7) โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ด้วย ซึ่งมาตรา 91 และ มาตรา 92 เป็นกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหสึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง จึงมีมติให้แจ้งข้อเท็จจริงพร้อมส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปยัง 1)นายกรัฐมนตรี 2)ประธานสภาผู้แทนราษฎร 3)ประธานวุฒิสภา และ 4)ประธานกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อทราบและพิจารณาต่อไป
ผู้ร้องเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 5 ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)โดยมาตรา 182 วรรคสาม ได้กำหนดให้นำบทบัญญัติในมาตรา 91 และมาตรา 92 มาบังคับใช้กับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรี ตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(2)(3)(5) หรือ (7)โดยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่า สมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงจึงใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 91 ในการเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย
2.ประธานวุฒิสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องของสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ประกอบมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)มาตรา 1821 วรรคสาม และมาตรา 269 จึงส่งคำร้องมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัวหรือไม่
ตุลาการประจำคดีพิจารณาคำร้องแล้ว มีคำสั่งให้รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาและให้ส่งสำเนาคำร้องให้นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง
3.นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ถูกร้อง ได้ยื่นหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 และหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว สรุปได้ว่า
3.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย มีข้อห้ามนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งถือจำนวนหุ้นเป็นสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และขณะนี้กฎหมายที่ออกตามความในมาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังมิได้ตราออกมาบังคับใช้ แต่มีพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ซึ่งตราขึ้นตามมาตรา 209 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยมีสาระสำคัญเช่นเดียวกับมาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จึงต้องนำหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ไม่มีบทบัญญัติห้ามคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ประกอบกับยังไม่มีกฎหมายตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาเป็นเส้นแบ่งระหว่างจำนวนหุ้นส่วนและหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่จะครอบครองไว้ได้ โดยไม่ต้องแจ้งประธานกรรมการ ป.ป.ช.กับส่วนที่เกินจำนวนและประสงค์จะรับประโยชน์ที่จะต้องแจ้งประธานกรรมการ ป.ป.ช.และต้องโอนให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินของผู้อื่น ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 และมาตรา 5 เมื่อยังไม่มีกฎหมายกำหนดจำนวนหรือสัดส่วนและหลักเกณฑ์การถือหุ้นของคู่สมรสของรัฐมนตรีไว้ การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้สรุปข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมาย โดยนำบทบัญญัติบางมาตราแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับให้เป็นผลร้ายแก่นางจุไร สะสมทรัพย์ จึงไม่อาจกระทำได้
3.2 ผู้ถูกร้องเห็นว่า รัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. กรณีหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทของคู่สมรส ด้วยเหตุผล คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี แต่ในวรรคท้าย บัญญัติว่า "บทบัญญัติในมาตรานี้ให้นำมาใช้บังคับกับคู่สมรสของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย" เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรานี้มิได้บัญญัติให้เป็นหน้าทึ่ของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ว่าประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้ถือหุ้นของคู่สมรส ซึ่งต่างจากบทบัญญัติมาตรา 259 ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่าให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรส ประกอบกับความประสงค์ในการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้นิติบุคคลจัดการทรัพย์สินแทนถือเป็นสิทธิของคู่สมรสของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นการเฉพาะตัวเพราะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้อื่นจะแสดงเจตนาแทนย่อมไม่มีผลทางกฎหมาย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีไม่สามารถบังคับให้คู่สมรสของตนจัดการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นของคู่สมรสให้แก่นิติบุคคลได้ หากนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.เกี่ยวกับหุ้นส่วนหรือหุ้นของคู่สมรสภายในกำหนดสามสิบวันและจัดการโอนหุ้นที่มิใช่ทรัพย์สินของตนแต่เป็นทรัพย์สินของคู่สมรสภายในกำหนดเก้าสิบวัน การแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.และการโอนเช่นนี้ก็ไม่มีผลผูกพันคู่สมรสตามกฎหมายดังนั้น หน้าที่ในการแจ้งการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในจำนวนที่เกินกว่ากฎหมายบัญญัติต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ของคู่สมรสของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จึงเป็นหน้าที่ของคู่สมรส
3.3 ผู้ถูกร้องได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ถูกร้อง และนางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรส ในกรณีเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6 กมุภาพันธ์ 2551 กรณีจึงเป็นการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวได้แจ้งว่า นางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของผู้ถูกร้องถือหุ้นในบริษัททรัพย์ฮกเฮง จำกัด จำนวน 25,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 2,500,000 บาท จากทุนจดทะเบียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนทั้งหมด โดยประธานกรรมการ ป.ป.ช.ลงชื่อรับทราบทั้งหมด ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ว่าการประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทให้แจ้งต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ประกอบกับการแจ้งความประสงค์ในการที่จะได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้ถือหุ้นไม่มีแบบ และผู้ถูกร้องได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 259 ประกอบมาตรา 260 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วย่อมถือได้ว่าการแจ้งข้างต้น ผู้ถูกร้องได้แจ้งเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ด้วย และประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับทราบการเป็นผู้ถือหุ้นของนางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของผู้ถูกร้องภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้ว
3.4 นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา และคณะ รวม 36 คน ไม่มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 เนื่องจากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(2)(3)(5) หรือ (7) เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีจะต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูลถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง หากนายกรัฐมนตรีไม่ดำเนินการ มาตรา 182 วรรคสาม จึงบัญญัติให้อำนาจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้อีกทางหนึ่ง การที่มาตรา 182 วรรคสาม ให้นำมาตรา 91 และมาตรา 92 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีนั้น เป็นการกำหนดขั้นตอน วิธีการ และรับรองการกระทำของรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ไม่ได้หมายความรวมถึงการให้สิทธิแก่สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภาให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงด้วย ประธานวุฒิสภาจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)
3.5 การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.อ้างว่า เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 นายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับการกรอบแบบบัญชีรายการทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้รับทราบแล้ว โดยได้บรรยายให้ทราบถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ที่กำหนดหลักการเพิ่มเติม นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 209 โดยนอกจากจะห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทแล้วยังห้ามรวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยนั้น ผู้ถูกร้องเห็นว่า ไม่ว่านายศราวุธ เมนะเศวต จะได้บรรยายให้ทราบถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ที่กำหนดหลักการเพิ่มเติมการเป็นผู้ถือหุ้นของคู่สมรสของรัฐมนตรี นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 209 หรือไม่ก็ตาม แต่การที่ผู้ถูกร้องได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว โดยได้แจ้งว่านางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของตนถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ฮกเฮง จำกัด จำนวน 25,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 2,500,000 บาท จากทุนจดทะเบียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนทั้งหมด โดยการยื่นแจ้งการถือหุ้นของคู่สมรสของผู้ถูกร้องนี้ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ลงชื่อรับทราบด้วย จึงเป็นกรณีที่ตนเองมิได้มีเจตนาหรือจงใจกระทำการฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269
3.6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 41 บัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ" บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรานี้เป็นการยืนยันหรือมีหลักการสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 29 ที่คุ้มครองสิทธิของบุคคลในเรื่องทรัพย์สิน หากจะจำกัดสิทธิในเรื่องทรัพย์สินจะต้องตรากฎหมายออกมาบังคับใช้เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 เป็นการจำกัดสิทธิในการเป็นหุ้นส่วนหรือการเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทของนายกรัฐมนตรี คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิตภาวะของนายกรัฐมนตรี จึงถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิในเรื่องทรัพย์สิน ซึ่งรัฐธรรมนูญได้รับรองหรือคุ้มครองไว้ จึงต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิในเรื่องการเป็นหุ้นส่วนหรือเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมิได้
ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคสามประกอบมาตรา 91 หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ ...(7)กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 267 มาตรา 267 หรือมาตรา 269" และวรรคสาม บัญญัติว่า "ให้นำบทบัญญัติมาตรา 91 และมาตรา 92 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีตาม(2)(3)(5)หรือ(7) หรือวรรคสอง โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ด้วย" มาตรา 91 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงมาตรา 106(3)(4)(5)(6)(7)(8)(10)หรือ(11)หรือมาตรา 119(3)(4)(5)(7)หรือ(8)แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภา ที่ได้คำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่"
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคสาม บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 91 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ด้วย ดังนั้น สมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนดจึงมีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีกรณีปรากฏว่า ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีคนใดสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)โดยการเข้าชื่อของสมาชิกวุฒิสภาต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง กล่าวคือสมาชิกวุฒิสภาที่เข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา กรณีตามคำร้องผู้ร้องซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จำนวนสามสิบหกคน ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ได้เข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง กรณีจึงเป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคสาม ประกอบมาตรา 91 เมื่อประธานวุฒิสภาส่งคำร้องดังกล่าวมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนี้ได้ ที่ผู้ถูกร้องโต้แย้งว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ให้สิทธิแก่สมาชิกวุฒิสภาเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และประธานวุฒิสภาไม่มีอำนาจยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)จึงไม่อาจรับฟังได้
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้อง เอกสารประกอบคำร้อง และคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแล้ว เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้จึงกำหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สิ้นสุดลง เฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ประกอบมาตรา 269 หรือไม่
คำวินิจฉัย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)บัญญัติว่า "ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ...(7)กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 267 มาตรา 268 หรือมาตรา 269" และมาตรา 269 บัญญัติว่า "นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไปเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตามวรรคหนึ่ง มีได้
บทบัญญัติมาตรานี้ให้นำมาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 259 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 มีเจตนารมณ์ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องแจ้งความประสงค์ในการรับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อป้องกันมิให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สาธารณะกับการประกอบธุรกิจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและครอบครัว อันเป็นการควบคุมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา 269 วรรคหนึ่ง จึงบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องแจ้งการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท และการได้รับประโยชน์จากการถือครองหุ้นจำนวนที่เกิดตามที่กฎหมายกำหนดต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ภายในสามสิบวันแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี และต้องแจ้งการโอนหุ้นให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด และมาตรา 269 วรรคสาม ให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย
โดยที่มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติหลักการไว้เช่นเดียวกับมาตรา 209 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ในการแจ้งการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นและการรับประโยชน์จากการถือครองหุ้นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ซึ่งออกตามความในมาตรา 209 และเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นกฎหมายที่นำมาใช้บังคับการแจ้งการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นและการรับประโยชน์จากการถือหุ้นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามมาตรา 269 ด้วย
พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้ไม่เกินร้อยละห้าของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือรัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ในกรณีที่รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในส่วนที่เกินร้อยละห้า และรัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์จากจำนวนหุ้นที่เกินดังกล่าว มาตรา 5 กำหนดให้รัฐมนตรีต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี และโอนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ และจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบอีกครั้งภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้โอนหุ้นให้นิติบุคคลนั้น ซึ่งแม้ว่าพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 5 จะไม่มีบทบัญญัติให้รัฐมนตรีแจ้งความประสงค์ที่จะรับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม แต่การที่รัฐมนตรีจะต้องแจ้งความประสงค์ รับประโยชน์สำหรับการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะนั้น เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญให้นำบทบัญญัติสำหรับนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมาใช้บังคับ เมื่อบทบัญญัติสำหรับนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร ก็ย่อมจะนำมาใช้ บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้ด้วย ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะในกรณีดังกล่าวอีก เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีผู้นั้นที่จะต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ดังนั้น รัฐมนตรีจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งความประสงค์จะรับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ด้วย
ประเด็นโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 269 และพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 และมาตรา 5 มาใช้บังคับให้เป็น ผลร้ายแก่คู่สมรสของผู้ถูกร้อง และประเด็นที่ว่ารัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ในการแจ้งการเป็น หุ้นส่วนและหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในจำนวนที่เกินกว่ากฎหมายบัญญัติต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. ของคู่สมรสของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จึงเป็นหน้าที่ของคู่สมรสนั้น
พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 วรรคสาม บัญญัติให้การแจ้งถือครองหุ้นและการรับประโยชน์จากการถือครองหุ้นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี มาใช้บังคับกับคู่สมรสของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย จึงเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบถึงการถือครองหุ้นและการได้รับประโยชน์จากการถือหุ้นของคู่สมรสรัฐมนตรีตามมาตรา 269 ประกอบมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่มิได้นำกฎหมายใช้บังคับเพื่อให้เป็นผลร้ายแก่คู่สมรสของผู้ถูกร้องแต่อย่างใดข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องในประเด็นนี้จึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นโต้แย้งในประการต่อมามีว่า ผู้ถูกร้องได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 259 ประกอบมาตรา 260 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว ย่อมถือได้ว่าการแจ้งข้างต้น ผู้ถูกร้องได้แจ้ง เป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 ด้วย และประธานกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับทราบการเป็นผู้ถือหุ้นของนางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของผู้ถูกร้องภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ผู้ถูกร้องจึงมิได้มีเจตนาหรือจงใจกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 พิจารณาแล้วเห็นว่า การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 259 นั้น รัฐมนตรีมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง ส่วนมาตรา 269 บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดต่อไปให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญติ โดยให้นำมาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 259 วรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น หากรัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์ตามมาตรา 269 ทั้งตนเองและคู่สมรส ผู้ถูกร้องในฐานะรัฐมน่ตรีจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องในประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหกนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 259 กับการแจ้งต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ตามมาตรา 269 เป็นคนละกรณีกัน ส่วนข้อโต้แย้งที่ว่า ผู้ถูกร้องมิได้มีเจตนาหรือจงใจกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 นั้น เห็นว่า ผู้ถูกร้องได้รับทราบหลักการเพิ่มเติมถึงกรณีมีหน้าที่ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าถือประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจากนายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว แต่ผู้ถูกร้องมิได้ดำเนินการแจ้งความประสงค์ที่จะรับประโยชน์จากการถือหุ้นเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดของคู่สมรสต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช.ภายในกำหนดระยะเวลา ถือว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยเจตนา ข้อโต้แย้งดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน
สำหรับประเด็นโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 เป็นการจำกัดสิทธิในการเป็นหุ้นส่วนหรือการเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี จึงถือว่า เป็นการจำกัดสิทธิในเรื่องทรัพย์สินซึ่งรัฐธรรมนูญได้รับรองหรือคุ้มครองไว้นั้น
พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นกรณีที่ผู้ถูกร้องโต้แย้งว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 269 มีข้อความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 29 ประกอบมาตรา 41 ประเด็นนี้เป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น ซึ่งไม่อาจจะขัดหรือแย้งกันได้
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 และได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบของตนเองและคู่สมรสต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 กรณีเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าผู้ถูกร้องได้แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบว่าประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการที่นางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของผู้ถูกร้องถือหุ้นในบริษัททรัพย์ฮกเฮง จำกัด เกินกว่าร้อยละห้าของจำนวนหุ้น ที่จำหน่ายได้ในบริษัทภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 แม้ว่าในปัจจุบันพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ยังมิได้มีการบัญญัติให้รวมถึงการถือครองหุ้นและได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของรัฐมนตรี แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 2543 ยังมิได้มีการบัญญัติให้รวมถึงการถือครองหุ้นและได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของรัฐมนตรี แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีผู้นั้นที่จะต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ดังนั้น รัฐมนตรีจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งความประสงค์จะรับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย กรณีจึงถือว่าการกระทำของผู้ถูกร้องในฐานะรัฐมนตรีเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 เป็นการกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ประกอบมาตรา 269
มีกรณีต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ผู้ถูกร้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)บัญญัติให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 269 ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น ความเป็นรัฐมนตรีย่อมต้องสิ้นสุดลงทันที ไม่ใช่สิ้นสุดลงในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ส่วนมาตรา 92 นั้น เป็นการบัญญัติถึงการออกจากตำแหน่งไว้เพื่อแก้ปัญหาอันเกี่ยวกับกิจการที่รัฐมนตรีได้ทำไปหลังจากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงแล้วจนถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ไม่ให้กระทบกระเทือนกิจการที่กระทำไปในระหว่างนั้น หากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติรับรองกิจการที่ทำไปก่อนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7)ประกอบมาตรา 269 ตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี
--ศาลรัฐธรรมนูญ--