คำแถลงนโยบาย ของ คณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ข่าวการเมือง Monday December 29, 2008 16:00 —ข้อมูลหน่วยงานราชการ

คำแถลงนโยบาย ของ คณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

แถลงต่อรัฐสภา วันจันทร์ที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๑

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี

ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ และแต่งตั้ง

คณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ นั้น

บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว

โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุข และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติในหมวด ๕

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบายดังกล่าว

ต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้ทราบถึงแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินที่รัฐบาล

จะดำเนินการเพื่อนำสังคมไทยกลับคืนสู่ความสมัครสมานสามัคคี เอื้ออาทร และคนไทย

มีความสุขถ้วนหน้า พร้อมทั้งนำ ประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำ คัญ

เพื่อให้สามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลนี้เข้าบริหารประเทศในช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งและมีความ

แตกแยก เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเมืองและการบริหารประเทศ

ความขัดแย้งดังกล่าวระหว่างกลุ่มประชาชนได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนส่งผลให้การบริหาร

บ้านเมืองในช่วงที่ผ่านมาขาดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศในเรื่องต่าง ๆ ที่มี

ความสำคัญเร่งด่วน และมีผลกระทบต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความขัดแย้งดังกล่าว

เป็นจุดอ่อนของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ภาวะ

วิกฤตที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบศตวรรษ

วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้เริ่มต้นจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินในประเทศ

สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งได้ส่งผลเชื่อมโยงถึงระบบการเงินของประเทศ

ต่าง ๆ ในโลก ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ได้มีผลต่อสถาบันการเงินของประเทศไทยโดยตรง

แต่ก็มีผลกระทบให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนของต่างชาติออกจากประเทศในช่วงดังกล่าว

และส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เข้าสู่จุดต่ำสุดในรอบ ๕ ปีเมื่อเดือนตุลาคม

ความเสียหายต่อระบบการเงินอย่างรุนแรงได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศ

พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศในยุโรป เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจ

ถดถอย และขณะนี้หลายอุตสาหกรรมใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์

การบิน และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น กำลังประสบปัญหาทางการเงินถึงขั้นที่อาจจะล้มละลาย

และได้มีการปลดคนงานออกแล้วเป็นจำนวนหลายล้านคน เศรษฐกิจไทยเริ่มได้รับผลกระทบ

จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ดังจะเห็นได้จาก

มูลค่าการส่งออกในเดือนพฤศจิกายนในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ ๑๘.๖ และ

ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ ๒๒.๖ จำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนกันยายนลดลงร้อยละ

๑๖.๕ เทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา ยอดมูลค่าการส่งเสริมการลงทุนในช่วง ๑๑ เดือน

ลดลงประมาณร้อยละ ๔๐ และภาคการก่อสร้างอยู่ในภาวะหดตัว รวมถึงประมาณการรายได้

ของรัฐบาลในรูปภาษีและรายได้อื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีแนวโน้มจะปรับลดลง

จากประมาณการเดิมประมาณร้อยละ ๑๐

ในปี ๒๕๕๒ เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีแนวโน้มจะขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย

ดังนั้นประเทศไทยจะเผชิญกับการชะลอตัวของการส่งออก การลดลงของจำ นวน

นักท่องเที่ยวต่างชาติ การลดลงของราคาสินค้าเกษตร และการชะลอการลงทุนของภาคเอกชน

ดังนั้นแนวโน้มจำนวนคนว่างงานจะเพิ่มขึ้นจาก ๕ แสนคนในปัจจุบันเป็น ๑ ล้านคน

อันจะส่งผลให้ความยากจน ปัญหาสังคมและอาชญากรรมเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นความขัดแย้ง

ทางการเมืองซึ่งขยายไปสู่ความขัดแย้งในภาคประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากไม่ได้รับ

การแก้ไขและฟื้นฟูความมั่นใจให้แก่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้กลับคืนมา

อย่างรวดเร็ว จะทำให้เศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย

นอกจากปัญหาสำคัญเร่งด่วนดังกล่าวแล้ว รัฐบาลจะให้ความสำคัญแก่ปัญหา

พื้นฐานระยะยาวของประเทศไทยซึ่งเป็นสิ่งที่จะละเลยมิได้ ในปัจจุบันคนไทยยังมีการศึกษา

โดยเฉลี่ยประมาณ ๙ ปี น้อยกว่าประเทศในแถบเอเชียซึ่งมีการศึกษาเฉลี่ยประมาณ ๑๐

ถึง ๑๒ ปี คุณภาพของการศึกษายังมีปัญหาส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน

ต่ำกว่ามาตรฐานในวิชาสำคัญ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ก็มีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคความดัน

โลหิตสูง เบาหวาน และหัวใจ ซึ่งโรคเหล่านี้รักษาให้หายได้ยากและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และยาเสพติดยังคงเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย

รวมทั้งความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งในเมืองและชนบท

ยังคงทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยและความสามารถ

ในการแข่งขันของประเทศ

ดังนั้นรัฐบาลจะดำเนินนโยบายในด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไปกับการแก้ไขปัญหา

เร่งด่วน เพื่อให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การเตรียมการสำ หรับสังคมผู้สูงอายุ

การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ความมั่นคงของอาหารและพลังงานของ

ประเทศ การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างสรรค์ การแก้ไขความยากจนและ

ลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ การพัฒนาธรรมาภิบาล การพัฒนาพื้นที่และกระจายอำนาจ

สู่ท้องถิ่น การสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับ

ประเทศในภูมิภาค และการร่วมมือในการพัฒนาอย่างสันติกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจาก

วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤต

ทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมือง

และปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐาน

หลัก ๔ ประการ คือ

หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็น

ศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางอย่างจริงจังเพื่อป้องกันมิให้

มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรม

และการยอมรับของทุกภาคส่วน

สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของ

ภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ

สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติ

ตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ที่เน้นการใช้คุณธรรมนำ ความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน

ที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ

๓ ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้

๑. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

๑.๑ การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม

เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค

๑.๑.๑ เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของ

คนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยง

การใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งฟื้นฟูระเบียบ

สังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ตลอดจนสนับสนุน

องค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท

อำนาจและหน้าที่ขององค์กร

๑.๑.๒ จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดน

ภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้

โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์และแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ใช้กระบวนการ

ยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขต

พัฒนาพิเศษที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และอุตสาหกรรม

ฮาลาล รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายทางศาสนา

และวัฒนธรรม

๑.๑.๓ ปฏิรูปการเมือง โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษา

แนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบ

การบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบ

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพ

สังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตาม

ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

๑.๑.๔ เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตา

ของชาวโลก โดยให้ความสำคัญต่อกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือ

กับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคม

อาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายใน

เดือนมกราคม ๒๕๕๒ และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ครั้งที่ ๑๔ ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน

๑.๑.๕ ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำ ลังประสบปัญหาเป็นการ

เร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตรและเกษตรกร

ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์

การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร

ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๒ พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบ

เศรษฐกิจและเพื่อให้สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้

๑.๑.๖ เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและ

เอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทย

ในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปี

งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ อยู่แล้ว เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจาย

ทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

เพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

๑.๑.๗ เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญ

แก่โครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับ

คุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะ

การลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการ

สุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และ

การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้

ในปี ๒๕๕๒ โดยให้ความสำคัญแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม

การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้ง

เร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

๑.๒ การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน

๑.๒.๑ ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการ

ชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและ

บริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจ

เพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน

๑.๒.๒ ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับ

ปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรม

แรงงานที่ว่างงานประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คน ในระยะเวลา ๑ ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ

และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่า

ทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน

๑.๒.๓ เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน

ของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับ

สิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ

การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น

เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และ

การดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจน

การเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร

๑.๒.๔ สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้

ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพ

แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับ

การสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น ๓๐,๐๐๐ บาทต่อราย

๑.๒.๕ เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของ

ประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ

๑.๒.๖ สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับ

ฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคย

จัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุน

ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถ

เบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

๑.๒.๗ ดำ เนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้า

เกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกัน

ความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขาย

ล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

๑.๒.๘ เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจาย

สินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และ

การส่งออก

๑.๒.๙ จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกร

มีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการ

คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกร

ได้อย่างยั่งยืน

๑.๒.๑๐ ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ

หมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและ

ชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรค

ในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม. เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริม

ให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

๑.๓ การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

๑.๓.๑ ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี ๑๕ ปี

โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรี

ให้ทันปีการศึกษา ๒๕๕๒ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อชดเชยรายการต่าง ๆ

ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง

๑.๓.๒ กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ

ที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และ

ไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

๑.๓.๓ ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มี

อยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภค

อย่างประหยัด

๑.๓.๔ ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคา

น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและ

การใช้น้ำมันอย่างประหยัด

๑.๔ จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการ

ร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม

แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ในภาวะเร่งด่วน

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

ในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะเวลา ๓ ปีของรัฐบาลชุดนี้

รัฐบาลจะดำเนินนโยบายหลักในการบริหารประเทศซึ่งปรากฏตามนโยบายข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๘

ดังต่อไปนี้

๒. นโยบายความมั่นคงของรัฐ

๒.๑ ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคง

ในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ โดยการเสริมสร้างจิตสำนึก

ให้มีความจงรักภักดี เทิดทูน ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งป้องกันอย่างจริงจัง

มิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ

๒.๒ เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มี

ความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งการคุ้มครอง

ผลประโยชน์ของชาติ โดยการเตรียมความพร้อมของกองทัพ การฝึกกำลังพลให้เกิด

ความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจ และการจัดงบประมาณให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละ

เหล่าทัพ ตลอดจนจัดให้มีแผนการสำรองอาวุธและพลังงานเพื่อความมั่นคง สนับสนุนและ

ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เพื่อให้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เอง ปรับสิทธิประโยชน์กำลังพล เบี้ยเลี้ยง และ

ค่าเสบียงสนามของทหารหลักและทหารพราน รวมทั้งสวัสดิการของกำลังพลให้สอดคล้อง

กับสภาวะเศรษฐกิจ พัฒนาความร่วมมือทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ

อื่น ๆ และส่งเสริมบทบาทในการรักษาสันติภาพของโลกภายใต้กรอบสหประชาชาติ

๒.๓ เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน

มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี ให้ความสำคัญกับการสำรวจ

และการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูกต้องตามข้อตกลงและสนธิสัญญา

ประสานงานและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อ

ความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ

ประชาชนในบริเวณชายแดน

๒.๔ แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อ

ความมั่นคง โดยการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง การจัดระเบียบชายแดน และการจัดระเบียบ

แรงงานต่างด้าว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ชัดเจน บนความสมดุล

ระหว่างการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลกับการรักษาความมั่นคงของชาติ

๒.๕ เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ

โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาระบบและกลไกต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหา

การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ รวมทั้งพัฒนากฎหมาย และบังคับใช้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศ

และส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติ

๓. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

๓.๑ นโยบายการศึกษา

๓.๑.๑ ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและ

การบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากรเพื่อ

การปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา

พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตร

วิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิด

วิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มี

ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริม

การกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย

คุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง

๓.๑.๒ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

ทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการ

ด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ

๓.๑.๓ พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้

ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับ

การเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับ

โครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยี

สารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จาก

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า

๓.๑.๔ จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี ๑๕ ปี ตั้งแต่

ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

ให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่ม

ผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่อง

ทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก

ในชุมชน

๓.๑.๕ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษา

และอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ

ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐ

เป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทน

และความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการ

เพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา

๓.๑.๖ ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อ

การศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

เพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรี

เพิ่มขึ้น

๓.๑.๗ ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จาก

เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

๓.๑.๘ เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่าง

บูรณาการในทุกระดับการศึกษาและในชุมชน โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการ

ทุกมิติ และยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ

การศึกษาเป็นหลักในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และส่งเสริม

ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนา

ในภูมิภาค รวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน

โดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา

๓.๒ นโยบายแรงงาน

๓.๒.๑ ดำเนินการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการ

คุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ

สภาพการจ้างงาน โดยการส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านการทดสอบและรับรองตาม

มาตรฐานระบบการจัดการปฏิบัติต่อแรงงานด้านสิทธิและคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐาน

แรงงานสากล

๓.๒.๒ ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง ให้มี

การบริหารจัดการที่เป็นอิสระ โปร่งใส และขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของ

ผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บป่วย รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกันตน

๓.๒.๓ พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้มีความรู้และ

ทักษะฝีมือที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และสอดคล้องกับ

ความต้องการของตลาดแรงงาน โดยการเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันและศูนย์พัฒนา

ฝีมือแรงงานที่มีอยู่ทั่วประเทศให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานด้วยการ

ระดมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในลักษณะโรงเรียนในโรงงาน และการบูรณาการ

กับสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน

๓.๒.๔ ส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างมี

ศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการสนับสนุนด้านสินเชื่อการไปทำงานในต่างประเทศ

การฝึกอบรมทักษะฝีมือและทักษะการใช้ภาษา การสร้างหลักประกัน การคุ้มครองดูแล

การจัดส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ และการติดตามดูแลมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ

ระหว่างการทำงานในต่างประเทศ

๓.๒.๕ สนับสนุนสวัสดิการด้านแรงงาน โดยจัดตั้งสถาบัน

ความปลอดภัยในการทำงาน จัดให้มีสถานดูแลเด็กอ่อนในสถานประกอบการ และ

เพิ่มศักยภาพกองทุนเงินทดแทนในการดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน

รวมทั้งจัดระบบดูแลด้านสวัสดิการแรงงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และส่งเสริมระบบ

แรงงานสัมพันธ์ในระบบไตรภาคี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง และ

ภาครัฐ

๓.๒.๖ จัดระบบการจ้างงานแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับ

ความต้องการของภาคการผลิต ไม่กระทบต่อการจ้างแรงงานไทย และความมั่นคงของ

ประเทศ โดยการจัดจำแนกประเภทงานที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำ และการจัดระบบ

การนำเข้าแรงงานต่างด้าว การขจัดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการจัดทำ

ทะเบียนแรงงานต่างด้าวและระบบการตรวจสอบที่สะดวกต่อการควบคุม

๓.๒.๗ ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและคนพิการ โดยการ

กำหนดให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมตามความสามารถของผู้สูงอายุและคนพิการ

อาทิ การทำงานแบบบางเวลา การทำงานชั่วคราว การทำงานแบบสัญญาระยะสั้น รวมทั้ง

การขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน

๓.๓ นโยบายด้านสาธารณสุข

๓.๓.๑ สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางของกฎหมาย

สุขภาพแห่งชาติ โดยเร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อ

สุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคีพัฒนา

ในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และอาสาสมัคร

สาธารณสุข ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ รณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัย รวมทั้งส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนให้

เพื่อกลับมาทำงานในท้องถิ่น

๓.๓.๒ สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค

วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทุกสาขา

ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่ที่รวมถึงโรคที่มีการกลายพันธุ์

เป็นสายพันธุ์ใหม่ และโรคระบาดซ้ำในคน อย่างทันต่อสถานการณ์

๓.๓.๓ ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยลงทุนพัฒนา

ระบบบริการสุขภาพของภาครัฐในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับสถานีอนามัยเป็น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มี

ประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพ

มีคุณภาพอย่างเพียงพอ ทั่วถึง มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ และครอบคลุมได้ถึง

การรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

๓.๓.๔ ลงทุนผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และ

สาธารณสุข ควบคู่กับการสร้างขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ มีการปรับปรุง

กฎระเบียบเพื่อให้มีรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้ง

ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทย์ มีการกระจายบุคลากร

ทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ตลอดจนการลงทุน

พัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพให้ทันสมัย มีมาตรฐาน

สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า

๓.๓.๕ ผลักดันการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง

ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในระดับนานาชาติ โดยมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการ

อย่างมีส่วนร่วม มีการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ทรัพยากร

ทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

๓.๔ นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

๓.๔.๑ ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทย

ทุกด้าน รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ให้มีความก้าวหน้า มีการค้นคว้า

วิจัย ฟื้นฟู และพัฒนา พร้อมทั้งฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริม

การเรียนรู้ของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

๓.๔.๒ เสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัวร่วมกับ

สถาบันทางศาสนา สถาบันการศึกษา และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ ในการปลูกฝังค่านิยมและ

จิตสำนึกที่ดีและการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนพฤติกรรมของเด็ก

และเยาวชน รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และ

เปิดพื้นที่สาธารณะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน

๓.๔.๓ สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความ

หลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทย

เพื่อการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมโลก ตลอดจนใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์

อันดีกับชาวโลกและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

๓.๔.๔ ส่งเสริมการปรับปรุงองค์กรและกลไกที่รับผิดชอบ

ด้านศาสนา เพื่อให้การบริหารจัดการ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา มีความเป็นเอกภาพและ

ประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของ

ทุกศาสนา เพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้าง

แรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น

๓.๕ นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

๓.๕.๑ แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทำกิน

ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ เช่น การปลูกป่า สร้างความเข้มแข็ง

ของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ

และให้ชุมชนสามารถตัดสินใจและนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้

๓.๕.๒ ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การลดหนี้

หรือยืดเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย

๓.๕.๓ เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพการอยู่อาศัย

คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยเฉพาะชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น โดยปรับปรุง

คุณภาพและขยายการให้บริการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง ปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กร

ภาครัฐด้านการเคหะและการอยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ขององค์กร รวมถึงพิจารณาจัดตั้งองค์กรในลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

การดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น

๓.๕.๔ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่ม

ผู้สูงอายุ โดยเน้นบทบาทของสถาบันทางสังคม ชุมชน และเป็นเครือข่ายในการคุ้มครอง

ทางสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งส่งเสริมการนำศักยภาพผู้สูงอายุ

มาใช้ในการพัฒนาประเทศ การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาสู่สังคม ส่งเสริมการออม และสร้าง

ระบบประกันชราภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมั่นคง

๓.๕.๕ ให้ความสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกมิติ โดย

การรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ จัดตั้งองค์กรอิสระผู้บริโภค บังคับใช้มาตรการ

ทางกฎหมายที่ให้การคุ้มครองดูแลผู้บริโภคโดยเคร่งครัด รวมทั้งการใช้กลไกทางกฎหมาย

ในการป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคในด้านอื่น ๆ เช่น การโฆษณาเกินเวลา การโฆษณาแฝง

หรือการใช้สื่อเพื่อประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น

๓.๕.๖ ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างชายหญิง ขจัดการ

กระทำความรุนแรง และการเลือกปฏิบัติต่อเด็ก สตรี และผู้พิการ ให้การคุ้มครองและส่งเสริม

การจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ที่อยู่

ในภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งตนเองได้

๓.๕.๗ เร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ

ครบวงจร ทั้งด้านการป้องกัน การปราบปราม การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ

ผู้ติดยาเสพติด ควบคู่กับการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และมีการบังคับใช้

กฎหมายโดยเคร่งครัด รวมทั้งขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ

ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

๓.๕.๘ เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความปลอดภัย

ในชีวิตและทรัพย์สิน โดยส่งเสริมให้มีระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรมที่ทันต่อ

การเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการพัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสาร การเตือนภัย และสร้างเครือข่าย

อาสาสมัครชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ในการป้องกันปัญหาร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และปรับปรุง

ระบบชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือ

ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน

๓.๖ นโยบายการกีฬาและนันทนาการ

๓.๖.๑ เสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มออกกำลังกาย

และเล่นกีฬา โดยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ

เอกชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากีฬา จัดหาสถานที่

จัดกิจกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมให้เยาวชนมีความสนใจ

ในการกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

๓.๖.๒ พัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬา

แห่งชาติ พร้อมทั้งนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ จัดให้มีการควบคุมมาตรฐานการฝึกสอน

ด้านการกีฬาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ

อย่างต่อเนื่อง

๓.๖.๓ ส่งเสริมกีฬาไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและ

ได้รับการยอมรับจากสากลยิ่งขึ้น

๓.๖.๔ ปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านการกีฬา โดยส่งเสริม

ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการกีฬา

จัดกิจกรรมและสถานกีฬา รวมทั้งจัดสร้างลานกีฬาในทุกหมู่บ้านและชุมชน

๓.๖.๕ ปรับปรุงกฎหมายการกีฬาและที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มี

กฎหมายกีฬาอาชีพ กฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการนักกีฬา และกฎหมายอื่น ๆ เพื่อเป็น

เครื่องมือการบริหารจัดการด้านกีฬาให้มีประสิทธิภาพ

๔. นโยบายเศรษฐกิจ

๔.๑ นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

๔.๑.๑ สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมี

เสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่าง

อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน

๔.๑.๒ สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบัน

การเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้าย

ทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงิน

อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว

รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน

ในภูมิภาค

๔.๑.๓ พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็ง

และสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถ

สนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และ

วางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริม

การออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต

๔.๑.๔ ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทาง

การจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออก

กฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการ

ปฏิบัติที่ดี

๔.๑.๕ ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มี

ความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก

๔.๑.๖ กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลาง

และระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของ

ภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ

๔.๑.๗ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุน

ดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบ

การกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัด

การเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

๔.๒ นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

๔.๒.๑ ภาคเกษตร

๔.๒.๑.๑ เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทาง

การเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตร

โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมการวิจัยและ

พัฒนาพันธุ์ จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็น

พัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุน

ทางการเกษตร รวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม

มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคง

ด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร

๔.๒.๑.๒ ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมง

โดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง และประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและ

เชิงอุตสาหกรรม ยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วม ปรับปรุงกฎหมายและ

เขตจับสัตว์น้ำให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่ง และบังคับใช้

โดยเคร่งครัด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ควบคู่กับการเจรจาส่งเสริม

ความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศในการทำประมงนอกและในน่านน้ำสากล และ

ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในกิจการประมง รวมทั้งจัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อแก้ไข

ปัญหาและพัฒนาการประมงของประเทศ ทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และ

อุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมง

๔.๒.๑.๓ พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุง

และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการ

ป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน

สินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์

อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๔.๒.๑.๔ ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและ

การตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนา

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีก

สินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก

และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร

ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร

๔.๒.๑.๕ ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านสินค้าเกษตรและ

อาหารตามมาตรฐานสากลในระดับชุมชน และมีการเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรกับ

อุตสาหกรรมการเกษตร ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล

ส่งเสริมความแข็งแกร่งของตราสินค้า จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

เกษตรอย่างครบวงจร รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้า

เกษตรและอาหาร และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุนเงินทุนพัฒนา

เครื่องจักรเพื่อแปรรูปขั้นต้นของสินค้าเกษตร

๔.๒.๑.๖ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยส่งเสริม

การทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ขยายกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเกษตร

ทฤษฎีใหม่ โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ และ

สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร ที่สอดคล้องกับความต้องการ

ของชุมชน เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือ

ระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร

๔.๒.๑.๗ เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำ ให้ทั่วถึงและ

เพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร โดยเน้น

การเพิ่มสระน้ำในไร่นาและขุดลอกคูคลองเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ส่งเสริม

การใช้ประโยชน์จากน้ำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืช เพิ่มพื้นที่ชลประทาน

ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำในพื้นที่

ชลประทานให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

๔.๒.๑.๘ คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับ

การทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐาน

การผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

ยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและ

ชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุน

การพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร

๔.๒.๑.๙ พัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็ง

โดยสร้างและพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิต

และการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผ่านระบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษา

เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภาคเกษตรและสังคมไทย

๔.๒.๑.๑๐ แก้ไขปัญหาหนี้สินฟื้นฟูอาชีพและ

ความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและ

นอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

๔.๒.๒ ภาคอุตสาหกรรม

๔.๒.๒.๑ สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถ

ในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อ

ลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สถาบันวิจัย และ

สถาบันการศึกษา ในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน

ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร พัฒนาการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนโลจิสติกส์

และเพิ่มความร่วมมือในภูมิภาคในการผลิตสินค้าเชิงลูกโซ่ผ่านการเจรจาระหว่างประเทศ

๔.๒.๒.๒ กำ หนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละ

อุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมผลิต

เครื่องจักรภายในประเทศ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรม

อัญมณี เป็นต้น โดยปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีให้สามารถ

จูงใจนักลงทุนได้ และส่งเสริมการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยี

ขั้นสูง

๔.๒.๒.๓ ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุง

คุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับสากล โดยสนับสนุนให้มีกลไก

การระดมทุนและประกันความเสี่ยงให้กับภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุน

ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

สำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศและมีตราสัญลักษณ์ไทย

๔.๒.๒.๔ เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความ

ต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับปริญญาตรี

และกำหนดหลักสูตรให้สามารถต่อยอดในระดับปริญญาได้

๔.๒.๒.๕ สร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรม

ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยรัฐอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเครือข่ายรวมกลุ่ม และ

ปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ขยายขอบเขตการดำเนินการให้สินเชื่อ และประกัน

สินเชื่อ โดยใช้เครือข่ายธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดกลาง

และขนาดย่อมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดังกล่าวได้

๔.๒.๒.๖ จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริม

การลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น การพัฒนา

พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึง

การอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

๔.๒.๒.๗ ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบ

ต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัย

ในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม

๔.๒.๓ ภาคการท่องเที่ยวและบริการ

๔.๒.๓.๑ ขยายฐานภาคบริการในโครงสร้างการผลิต

ของประเทศ โดยเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการ เพิ่มมูลค่า เพิ่มความสามารถในการ

แข่งขัน พัฒนาแรงงานฝีมือทั้งในด้านคุณภาพและความรู้ด้านภาษา และเชื่อมโยงธุรกิจ

ภาคบริการ อุตสาหกรรม และเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า เช่น ธุรกิจสุขภาพ อาหาร

และการท่องเที่ยว รวมทั้งสินค้าบริการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและ

ภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

๔.๒.๓.๒ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งของรัฐและเอกชน

โดยรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของ

ชุมชน รวมทั้งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยวและกำหนดจุดขายของแหล่ง

ท่องเที่ยวของแต่ละภาคและกลุ่มจังหวัดให้มีความเหมาะสมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น

กรุงเทพมหานครที่ทรงเสน่ห์ ภาคใต้เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก ภาคเหนือ

เป็นศูนย์กลางอารยธรรมล้านนา ภาคอีสานเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

โบราณคดี วัฒนธรรมและชายแดน ภาคกลางเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวอารยธรรม มรดกโลก

และมรดกธรรมชาติ เป็นต้น

๔.๒.๓.๓ พัฒนามาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยว

โดยจัดให้มีมาตรฐานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว

มาตรฐานการเดินทาง มาตรฐานร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มาตรฐานที่พักและโรงแรม

เป็นต้น รวมทั้งพัฒนามาตรฐานบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม

พนักงานบริษัทนำเที่ยว มัคคุเทศก์ พนักงานร้านอาหาร พนักงานรถนำเที่ยว เป็นต้น และ

ปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งในด้าน

ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และค่าธรรมเนียมและค่าบริการของรัฐ

๔.๒.๓.๔ พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์

การท่องเที่ยว โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและ

กลยุทธ์ด้านการตลาด และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนจุดขายที่มีความ

โดดเด่นของไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก โดยเฉพาะความพร้อมของการให้บริการ

ทางด้านศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้าระหว่างประเทศ และศูนย์กลางท่องเที่ยว

เชิงสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ

ประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

๔.๒.๓.๕ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ

การท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัยและสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเพิ่มประสิทธิภาพ

ของการบังคับใช้กฎหมายทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

๔.๒.๔ การตลาด การค้า และการลงทุน

๔.๒.๔.๑ ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมี

ภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้

กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกัน

การแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบ

ผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจ

ค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

๔.๒.๔.๒ ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทย

โดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้ว

และขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และ

เอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิง

แหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

๔.๒.๔.๓ ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรี

ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่

อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการ

เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

๔.๒.๔.๔ ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อ

ป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและ

ความปลอดภัย

๔.๒.๔.๕ ส่ง เ ส ริม ผู้ป ร ก อ บ ก ร ไ ท ย ใ ห้มีก ร

ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

๔.๒.๔.๖ ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม

และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์

สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง

สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้าง

เครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๔.๒.๔.๗ ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการ

อำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้

ที่สำคัญได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบ

การตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

๔.๒.๔.๘ ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณา

อุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมา

อยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสิน

อุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการ

วินิจฉัยคำอุทธรณ์

๔.๓ นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับ

คุณภาพชีวิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

๔.๓.๑ ขยายการให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มี

ความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ และ

มีคุณภาพ ทั้งบริการน้ำสะอาด ไฟฟ้า สื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐาน และที่อยู่อาศัย รวมทั้ง

พัฒนาถนนไร้ฝุ่น โดยยกระดับมาตรฐานทางในชนบทเป็นถนนคอนกรีตหรือลาดยาง

๔.๓.๒ พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์

อย่างบูรณาการ ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงพัฒนากฎหมายและ

ระเบียบที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ การอำนวยความสะดวก

ทางการค้า และการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ

เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาด้านโลจิสติกส์อย่างจริงจัง

๔.๓.๓ พัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดย

เชื่อมโยงการขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งพัฒนา

สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่ง เช่น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ศูนย์รวบรวมและ

กระจายสินค้าในภูมิภาค เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโลจิสติกส์

๔.๓.๔ พัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน

กรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้มีความสมบูรณ์ และรถไฟชานเมืองให้สามารถเชื่อมต่อ

การเดินทางกับโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและระบบขนส่งสาธารณะอื่นได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว ในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งขยายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน

ไปยังเมืองหลักในภูมิภาค

๔.๓.๕ พัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะ

ในเส้นทางที่มีปริมาณการขนส่งหนาแน่น และพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงฐานการผลิต

ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ปรับปรุงบูรณะทาง รวมทั้งพัฒนาการให้บริการและสิ่งอำนวย

ความสะดวกให้ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และลดต้นทุน

การขนส่ง

๔.๓.๖ พัฒนาโครงข่ายทางหลวงสายประธาน สายหลัก และ

โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ให้เชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาคและเส้นทางเศรษฐกิจ

ระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะ

โครงข่ายรถไฟ รวมทั้งการปรับปรุงทางหลวงและมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลด

อุบัติเหตุบนท้องถนน เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งสินค้า

๔.๓.๗ พัฒนากิจการพาณิชยนาวี และโครงสร้างพื้นฐาน

การขนส่งทางน้ำ โดยเฉพาะการพัฒนาการให้บริการของท่าเรือแหลมฉบังให้มีมาตรฐาน

เป็นท่าเรือที่ทันสมัยระดับโลก พัฒนาการขนส่งชายฝั่ง และการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ

และระหว่างประเทศให้เชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มสัดส่วน

การขนส่งทางน้ำให้มากขึ้น

๔.๓.๘ พัฒนาและขยายความสามารถของท่าอากาศยาน

สุวรรณภูมิและท่าอากาศยานหลักในภูมิภาค ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศ

ได้อย่างเพียงพอในอนาคต พัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนา

ธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน เช่น ศูนย์ซ่อมบำ รุงอากาศยาน และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้า

ทางอากาศชั้นนำของเอเชีย

๔.๓.๙ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต

ที่เกี่ยวข้องด้านการขนส่ง เช่น การต่อเรือ การต่อตู้รถไฟและรถไฟฟ้า เป็นต้น โดยให้มีการ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งด้านการผลิตและการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

๔.๓.๑๐ เร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการ

ดำเนินโครงการขนาดใหญ่อย่างจริงจัง ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และ

ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ และการกำกับดูแลการพัฒนาและการให้บริการโครงสร้าง

พื้นฐาน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และมีการแข่งขันที่เป็นธรรม

๔.๓.๑๑ พัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคและเชื่อมโยง

กับโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งตาม

แนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ แนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โครงการสะพานเศรษฐกิจ

เชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน และโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย

รวมทั้งปรับปรุงระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งสินค้าข้ามแดนในพื้นที่บริเวณ

ชายแดนที่สำคัญ คือ ด่านหนองคาย แม่สอด มุกดาหาร สระแก้ว ด่านสิงขร และช่องเม็ก เป็นต้น

๔.๔ นโยบายพลังงาน

๔.๔.๑ พัฒนาพลังงานให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

โดยจัดหาพลังงานให้เพียงพอ มีเสถียรภาพ ด้วยการเร่งสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงาน

ประเภทต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และเร่งให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน

ในระดับรัฐบาลเพื่อร่วมพัฒนาแหล่งพลังงาน วางแผนพัฒนาไฟฟ้าให้มีการกระจายชนิดของ

เชื้อเพลิงที่ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการจัดหา ความผันผวนทางด้านราคา และลดต้นทุน

การผลิต ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะโครงการ

ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก และโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก รวมทั้งศึกษาความเหมาะสม

ในการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า

๔.๔.๒ ดำเนินการให้นโยบายด้านพลังงานทดแทนเป็นวาระ

แห่งชาติ โดยสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิง

ชีวภาพและชีวมวล เช่น แก๊สโซฮอล์ (อี ๑๐ อี ๒๐ และอี ๘๕) ไบโอดีเซล ขยะ และมูลสัตว์ เป็นต้น

เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดภาวะมลพิษ และเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร

โดยสนับสนุนให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชน หมู่บ้าน ภายใต้มาตรการ

สร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่งให้มากขึ้น

โดยขยายระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและวิจัย

พัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

๔.๔.๓ กำกับดูแลราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

มีเสถียรภาพ และเป็นธรรมต่อประชาชน โดยกำหนดโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงที่เหมาะสม และ

เอื้อต่อการพัฒนาพืชพลังงาน รวมทั้งสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุด และบริหารจัดการผ่าน

กลไกตลาดและกองทุนน้ำมัน เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด และส่งเสริมการแข่งขัน

และการลงทุนในธุรกิจพลังงาน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการให้บริการและความปลอดภัย

๔.๔.๔ ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน ทั้งใน

ภาคครัวเรือน อุตสาหกรรม บริการ และขนส่ง โดยรณรงค์ให้เกิดวินัยและสร้างจิตสำนึก

ในการประหยัดพลังงาน และสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรการจูงใจ

ให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และมาตรการ

สนับสนุนให้ครัวเรือนลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุด รวมทั้งการวิจัยพัฒนาและ

กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าและมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน ตลอดจนสนับสนุน

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการขนส่งระบบราง เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่าง

มีประสิทธิภาพและสามารถชะลอการลงทุนด้านการจัดหาพลังงานของประเทศ

๔.๔.๕ ส่งเสริมการจัดหาและการใช้พลังงานที่ให้ความสำคัญ

ต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดมาตรฐานด้านต่างๆ

รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดโครงการกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาด เพื่อลดผลกระทบต่อ

สิ่งแวดล้อมและชุมชน และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก

๔.๕ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

๔.๕.๑ พัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุม

ทั่วประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชน

ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างทั่วถึง

และสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ รวมทั้งพัฒนาบริการสื่อสาร

ที่ทันสมัย เพื่อรองรับความต้องการของภาคธุรกิจ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ

พัฒนาการให้บริการภาครัฐ บริการศึกษา บริการสาธารณสุข และโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่ม

ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

๔.๕.๒ พัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ทั้งในด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนา

ศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ในภูมิภาค

๕. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๕.๑ คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรดิน

ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรณี ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งฟื้นฟูอุทยานทางทะเล

อย่างเป็นระบบ เร่งจัดทำแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยจัดแบ่งประเภทที่ดินระหว่าง

ที่ดินของรัฐและเอกชนให้ชัดเจน เร่งประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กำหนดเขตและส่งเสริม

การปลูกป่า ป่าชุมชน เพิ่มฝายต้นน้ำลำธารและฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ ส่งเสริม

ป่าเศรษฐกิจในพื้นที่ที่เหมาะสม ป้องกันการเกิดไฟป่า ปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า

อย่างจริงจัง ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน ลดการใช้สารเคมี

และฟื้นฟูดินในบริเวณพื้นที่ที่ดินมีปัญหา รวมทั้งจัดให้มีระบบบริหารจัดการน้ำ

ในระดับประเทศทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคเศรษฐกิจ

และการอุปโภคบริโภค

๕.๒ คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศ

เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยสำรวจ จัดทำระบบฐานข้อมูล อนุรักษ์

พัฒนา และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร

พลังงาน สุขภาพ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ บนฐานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น

ที่มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งให้การคุ้มครองเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

ทางชีวภาพ

๕.๓ จัดให้มีระบบการป้องกัน รวมทั้งเตือนภัยและบรรเทา

ความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ โดยนำระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศมาใช้กำหนดพื้นที่

เสี่ยงภัยหรือเตือนภัยพิบัติ พัฒนาระบบฐานข้อมูล และติดตั้งระบบเตือนภัย และจัดให้มี

โครงสร้างพื้นฐานอันจำเป็นที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ที่มีความเปราะบางหรือเสี่ยงต่อภัยพิบัติ

อันเกิดจากภาวะโลกร้อน เช่น น้ำท่วม แผ่นดินหรือโคลนถล่ม น้ำแล้ง ตลอดจนธรณีพิบัติ

และการเกิดคลื่นยักษ์ในทะเล เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

๕.๔ ควบคุมและลดปริมาณของเสียที่กลายมาเป็นมลพิษทั้งในรูปขยะ

ขยะอันตราย มลพิษทางอากาศ กลิ่น เสียง และน้ำเสีย โดยส่งเสริมการผลิตและบริโภค

ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการใช้ซ้ำหรือหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

ส่งเสริมการป้องกันมลพิษตั้งแต่จุดกำเนิด เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถขององค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะชุมชน และเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเฉพาะ

การจัดให้มีศูนย์กำจัดขยะชุมชนกลางในทุกจังหวัด มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

สำหรับผู้ก่อมลพิษที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เร่งแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ที่วิกฤตซ้ำซาก รวมทั้ง

สนับสนุนมาตรการจูงใจด้านภาษีและสิทธิต่าง ๆ กับผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการแก้ไข

ปัญหาโลกร้อนและลดมลพิษ

๕.๕ พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาที่ชุมชนและนักวิชาการในท้องถิ่น

มีส่วนร่วม และที่ภาคเอกชนสามารถนำไปใช้ รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิด

การใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างประหยัด และช่วยลดมลพิษ

๕.๖ ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ โดยให้องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น ชุมชน ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง ในรูปของสมัชชาสิ่งแวดล้อมมีส่วนร่วม

บริหารจัดการ และจัดให้มีการใช้ระบบประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ เพื่อเป็น

กลไกกำกับให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งสนองโครงการพระราชดำริด้านการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกโครงการอย่างจริงจัง

๖. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม

๖.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริ

การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัย

ประยุกต์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งเร่งรัดการวิจัย

และพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาอุตสาหกรรม

ขนาดใหญ่ในอนาคต อาทิ เทคโนโลยีสำหรับผู้พิการ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีพลังงาน

ทดแทน และเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง

๖.๒ เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและ

บุคลากรด้านการวิจัยให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต โดยพัฒนา

เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ และมีหน่วยงานวิจัยที่สามารถรองรับบุคลากร

ได้อย่างเพียงพอ เช่น ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์แห่งความเป็นเลิศ

และอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น

๖.๓ ปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนาของประเทศ โดยจัดให้มีกองทุน

วิจัยร่วมภาครัฐและเอกชนที่รัฐลงทุนร้อยละ ๕๐ และจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับ

ภาคเอกชนที่เข้าร่วมงานวิจัย เพิ่มเติมงบประมาณด้านการวิจัยของประเทศ ปรับปรุง

คุณภาพและมาตรฐานของงานวิจัยพื้นฐาน และการวิจัยและพัฒนาแบบครบวงจรที่ให้

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ รายได้และการจ้างงาน และการเพิ่มมูลค่าสินค้า ทั้งนี้ให้มี

โครงการวิจัยที่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น ยา เคมีภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์

ทางการแพทย์ และสินค้าเกษตร โดยเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน สถาบันวิจัย และ

มหาวิทยาลัย ตลอดจนเครือข่ายวิสาหกิจ

๗. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

๗.๑ พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติและ

ทุกระดับ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีและการเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ

ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของภูมิภาค โดยส่งเสริมความร่วมมือในทุกสาขา

กับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่าง ๆ และเร่งแก้ไขปัญหากับ

ประเทศเพื่อนบ้านโดยสันติวิธีบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

๗.๒ ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน

ในวาระที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน และบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียน

ตามกฎบัตรอาเซียน โดยให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้

ประเทศสมาชิกร่วมกันเคารพสิทธิมนุษยชน และผลักดันให้อาเซียนมีบทบาทนำที่สร้างสรรค์

ในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งขยายความร่วมมือกับประเทศในเอเชียอื่น ๆ ภายใต้กรอบ

ความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย และระหว่างเอเชียกับภูมิภาคอื่น

๗.๓ ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมและองค์กร

มุสลิมระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหา

จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

๗.๔ กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

กับประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลกและประเทศคู่ค้าของไทยในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อรักษา

และขยายความร่วมมือทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า การเงิน การลงทุน

และการท่องเที่ยว รวมทั้งแสวงหาตลาดใหม่ เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพยากร วัตถุดิบ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่

๗.๕ ส่งเสริมการมีบทบาทร่วมกับประชาคมโลก ในเรื่องการกำหนด

บรรทัดฐานระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องการค้าสินค้าเกษตร และกฎระเบียบ

ด้านทรัพย์สินทางปัญญา การปกป้องรักษาและฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคง การส่งเสริม

และคุ้มครองค่านิยมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม การอนุรักษ์และแก้ไขปัญหา

สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผล

กระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งส่งเสริมให้ไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของ

องค์การระหว่างประเทศ และมีความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น

๗.๖ สนับสนุนการเข้าร่วมในข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งทวิภาคี

และพหุภาคีที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ เร่งรัดการให้สัตยาบันในข้อตกลงที่ได้ลงนามไว้แล้ว

และปรับปรุงแก้ไขข้อตกลงที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อประชาชนและสังคม

๗.๗ ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการ

เปลี่ยนแปลงในโลกที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย เพื่อก่อให้เกิดฉันทามติในการกำหนด

นโยบายและดำเนินนโยบายต่างประเทศ

๗.๘ สร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อประเทศไทยและ

การเข้าถึงระดับประชาชน โดยส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องและความเชื่อมั่นของ

นานาประเทศ ต่อการเมืองและเศรษฐกิจไทย เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย และ

สนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนกับประเทศต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล และ

ประชาคมระหว่างประเทศมีทัศนคติในทางบวกต่อประเทศและประชาชนไทย

๗.๙ คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย

แรงงานไทย และภาคธุรกิจเอกชนไทยในต่างประเทศ และสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็ง

ให้แก่ชุมชนไทยในต่างประเทศ

๘. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

๘.๑ ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน

๘.๑.๑ สนับสนุนการกระจายอำนาจทางการคลังสู่ท้องถิ่น

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพึ่งพา

ตนเองได้มากขึ้น โดยมีการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นจัดเก็บรายได้จากภาษีอากร

และค่าธรรมเนียมได้มากขึ้น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน

และตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสม

ตามศักยภาพของท้องถิ่น

๘.๑.๒ สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ให้ยึดหลักธรรมาภิบาลและปรับระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มุ่งตอบสนองต่อ

ความต้องการของประชาชน ความรับผิดชอบต่อชุมชน และมีความโปร่งใสมากขึ้น โดยให้

ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนและการทำงาน

ตลอดจนการจัดบริการสาธารณะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร่วมติดตาม

ตรวจสอบการดำเนินงานของท้องถิ่น

๘.๑.๓ ปรับบทบาทและภารกิจการบริหารราชการระหว่าง

ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน เพื่อสามารถดำเนิน

ภารกิจที่สนับสนุนเชื่อมโยงกัน และประสานการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับ

การเร่งรัดการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น โดยให้มีการติดตามประเมินผลและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง

๘.๑.๔ บูรณาการความเชื่อมโยงของการบริหารราชการ

ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคสู่ท้องถิ่นโดยสนับสนุนการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ

ผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของ

รัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติและระดับภาค ตลอดจนเชื่อมโยงกับแผนขององค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนชุมชน โดยคำ นึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ในทุกขั้นตอนของการจัดทำแผน

๘.๑.๕ สนับสนุนให้มีการบริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

ให้สอดรับกับระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ โดยสนับสนุนให้ท้องถิ่นที่มี

ศักยภาพและความพร้อมจัดตั้งเป็นมหานคร

๘.๑.๖ สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมทั้งพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน

ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม

ของภาคประชาชน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตลอดจน

สนับสนุนการสร้างค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม

และส่งเสริมเสรีภาพในการรวมกลุ่มของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่บัญญัติไว้

ในรัฐธรรมนูญ

๘.๑.๗ จัดระบบงานให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว รวดเร็ว

มีประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารผลงานและ

สมรรถนะของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพ

ประสิทธิผลในการส่งมอบบริการสาธารณะ พร้อมทั้งการพัฒนาข้าราชการ โดยเฉพาะ

ข้าราชการรุ่นใหม่ที่จะต้องเป็นกำลังสำคัญของภาคราชการในอนาคต

๘.๑.๘ ปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์

ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะสมกับความสามารถ และประสิทธิภาพของ

ผู้ปฏิบัติงานในลักษณะที่อาจแตกต่างกันตามพื้นที่ ตามการแข่งขันของการจ้างงานในแต่ละ

สายอาชีพที่เหมาะสม และตามความจำเป็นเพื่อรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในราชการ รวมทั้ง

การสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถ

ดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

๘.๒ กฎหมายและการยุติธรรม

๘.๒.๑ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่ล้าสมัยและ

เปิดช่องให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบหรือทำ ให้เกิดประโยชน์ทับซ้อน รวมทั้ง

ออกกฎหมายใหม่ ๆ เพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ ขยายและยกเลิกอายุความ

ในคดีอาญาบางประเภทและคดีทุจริต ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในทุกระดับ

อย่างจริงจัง และสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากขึ้น ส่งเสริม

คุณธรรมคู่ความรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อปลูกฝังค่านิยม “คนไทยต้องไม่โกง”

๘.๒.๒ พัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีระบบการอำ นวย

ความยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรมต่อทุกกลุ่ม โดยส่งเสริมให้มีการนำ

หลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และหลักการระงับข้อพิพาททางเลือกมาใช้ในการไกล่เกลี่ย

และประนอมข้อพิพาท ให้มีการจัดตั้งองค์กรประนอมข้อพิพาท มีกระบวนการชะลอการฟ้อง

สำหรับคดีประมาท คดีลหุโทษ และคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปีเป็นอย่างน้อย มีระบบ

หรือกระบวนการให้สามารถพิจารณาคดีได้รวดเร็วและเป็นธรรมมากขึ้น

๘.๒.๓ พัฒนากฎหมายให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม

และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ปรับระบบงานและกระบวนการให้ประชาชนได้รับ

ความยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งนี้ จะเร่งดำเนินการจัดตั้งองค์กร

เพื่อการปฏิรูปกฎหมาย และองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ตามบทบัญญัติของ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการทางกฎหมายของ

หน่วยงานของรัฐในการให้ความเห็น หรือตรวจสอบการตรากฎหมายของรัฐให้เป็นไป

โดยถูกต้องตามหลักนิติธรรม

๘.๒.๔ ส่ง เ ส ริม ก ร มีส่ว น ร่ว ม ข อ ง ภ ค ป ร ช ช น ใ น

กระบวนการยุติธรรมให้มากขึ้น ภายใต้การใช้อาสาสมัครเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน

กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นป้องกันอาชญากรรม การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การตรวจสอบ

การใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ส่งเสริมให้ผู้กระทำความผิด

ที่พ้นโทษสามารถกลับสู่ชุมชนมาใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างปกติสุข ตลอดจนจัดให้มีบริการ

ด้านทนายและการปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย

๘.๒.๕ พัฒนาระบบและวิธีการปฏิบัติในการแก้ไขฟื้นฟู

ผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กหรือเยาวชนและผู้ใหญ่ให้มีความหลากหลายและเหมาะสม

ต่อกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้กระทำความผิดได้รับโอกาสในการแก้ไข ฟื้นฟู และสามารถ

กลับตนเป็นพลเมืองดี ไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก บนพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพ

ที่ผู้กระทำความผิดพึงได้รับ

๘.๒.๖ สนับสนุนและพัฒนาตำ รวจให้มีประสิทธิภาพ

มีความโปร่งใส และเป็นตำรวจมืออาชีพที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี รวมทั้งดำเนินการให้มีการ

กระจายอำนาจของตำรวจทั้งในส่วนที่ไม่ใช่ภารกิจหลักและกระจายอำนาจการบริหารไปยัง

ส่วนภูมิภาค

๘.๒.๗ เปิดโอกาสให้ป ร ช ช น เ ข้าถึงข้อ มูลข่า ว ส ร

กระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้ รวมทั้ง

ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผลการทำงานของตำรวจ อัยการ

และผู้ใช้อำนาจรัฐอื่น ๆ

๘.๓ สื่อและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

๘.๓.๑ ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ และเข้าถึงข้อมูล

ข่าวสารสาธารณะจากทางราชการ และสื่อสาธารณะอื่นได้อย่างกว้างขวาง เป็นธรรม และ

รวดเร็ว รวมทั้งให้กลไกภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกมิติตามบทบัญญัติ

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

๘.๓.๒ ปรับปรุงกลไกการสื่อสารภาครัฐให้ดำรงบทบาทสื่อ

เพื่อประโยชน์สาธารณะและสร้างความสมานฉันท์ในชาติ

๘.๓.๓ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่

ข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีผลตอบแทนเชิงพาณิชย์ต่ำ

โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

๘.๓.๔ จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ

เพื่อให้สื่อมีเสรี ปราศจากการแทรกแซง และมีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งยกเลิกและ

ปรับปรุงกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และสื่อมวลชนตามบทบัญญัติของ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ

รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะดำ เนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

อย่างจริงจัง โดยรัฐบาลขอชี้แจงว่า การกำหนดนโยบายของรัฐบาลที่กราบเรียนมาแล้วนี้

จะเป็นแนวทางดำเนินการในระยะเวลา ๓ ปี ตามความเร่งด่วนของการแก้ไขปัญหาของ

ประเทศ รวมทั้งจะเป็นการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามบทบัญญัติในหมวด ๕

ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

นอกจากนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ตามบทบัญญัติ

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และดำเนินนโยบายจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

ไว้ได้ รัฐบาลจะดำเนินการจัดทำร่างกฎหมายที่ต้องตราขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายที่สนับสนุนการดำเนินการตามนโยบาย และการสร้าง

ความเป็นธรรมแก่ประชาชน และการปรับปรุงหรือกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของ

หน่วยงานของรัฐ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ตลอดจนดำเนินการทุกประการที่เกี่ยวข้อง

กับการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ และสามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาประเทศ โดยถือเป็นนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของ

รัฐบาลนี้ด้วย

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
เมื่อการแถลงนโยบายนี้เสร็จสิ้นแล้ว รัฐบาลจะได้เร่งดำเนินการให้เป็น
รูปธรรม โดยจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย แผนการบริหารราชการ
แผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ และแผนการตรากฎหมายไว้เป็นคู่มือ
และแนวทางการทำงานต่อไป
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นแก่รัฐสภาอันเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม
การบริหารราชการแผ่นดินว่า จะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
และยึดประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง
ขอบคุณครับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ