คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี

ข่าวการเมือง Friday November 3, 2006 11:35 —ข้อมูลหน่วยงานราชการ

คำแถลงนโยบาย
ของคณะรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
วันศุกร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๔๙
สารบัญ
ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี....................................
ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี..............................................
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี.............................
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๑. นโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง..................และการบริหาร
๒. นโยบายเศรษฐกิจ.....................................................
๓. นโยบายสังคม........................................................
๔. นโยบายการต่างประเทศ.........................................
๕. นโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ.......................
ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ เพื่อให้เหมาะสมแก่ สถานการณ์ปัจจุบันไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ ซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้จัดทำร่าง รัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป นั้น
บัดนี้ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ สมควรได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นปีที่ ๖๑ ในรัชกาลปัจจุบันผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ แล้ว นั้น
บัดนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหาร ราชการแผ่นดินแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามความในมาตรา ๑๔ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ดังต่อไปนี้
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เป็น รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก บุญรอด สมทัศน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นายนิตย์ พิบูลสงคราม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายสวนิต คงสิริ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายสุวิทย์ ยอดมณี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายธีระ สูตะบุตร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยาเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายสิทธิชัย โภไคยอุดม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
นายอารีย์ วงศ์อารยะ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายบัญญัติ จันทน์เสนะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายอภัย จันทนจุลกะ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายวิจิตร ศรีสอ้าน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายมงคล ณ สงขลา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นปีที่ ๖๑ ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
คำแถลงนโยบาย
ของคณะรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติวันศุกร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ และแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ นั้น ตามประเพณีการปกครอง ประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเรียนท่านสมาชิกสภา นิติบัญญัติแห่งชาติผู้ทรงเกียรติได้รับทราบถึงเจตนารมณ์ และนโยบายของรัฐบาล ในประการสำคัญในอันที่จะธำรง พิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มิให้ผู้ใด ล่วงละเมิดได้ และมุ่งประสงค์จะแก้ไขปัญหาวิกฤติ ของประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และความมั่นคงของชาติ เพื่อนำไปสู่ เสถียรภาพและประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทั้งมวล ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้ระบุถึงสาเหตุของการยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ โดยปรารถนาที่จะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในการ บริหารราชการแผ่นดิน ความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุม การบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยไม่อาจหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ อันเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครอง และปัญหา ความขัดแย้งในมวลหมู่ประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้แบ่งแยก เป็นฝักเป็นฝ่ายจนเสื่อมสลายความ รู้ รัก สามัคคี ของชนในชาติ อันเป็นวิกฤติการณ์รุนแรงทางสังคม วิกฤติการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่ง นับเป็นภยันตรายใหญ่หลวงต่อระบอบการปกครอง ระบบ เศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของประเทศ จึงมีความ จำเป็นรีบด่วนที่จะต้องฟื้นฟูความ รู้ รัก สามัคคี ระบบ เศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การ เสริมสร้างระบบการตรวจสอบการทุจริตที่เข้มแข็ง และ ระบบคุณธรรมที่ดีงาม การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อย่างเคร่งครัด การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศและการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกันก็เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นใหม่ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชน
ฉะนั้น เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และสถานการณ์บ้านเมือง ตลอดจนวัตถุประสงค์ที่จะ เสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ คณะรัฐมนตรี ขอนำนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียนให้ท่าน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ ได้ทราบว่ารัฐบาลจะดำเนินการ ดังต่อไปนี้ ๑ นโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหารการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหาร ราชการแผ่นดินเป็นไปโดยราบรื่น สะท้อนความต้องการ ของประชาชน แต่สถานการณ์ทางการเมือง และการบริหาร ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เกิดวิกฤติในศรัทธาของประชาชน ดังนั้น เพื่อแก้ไขวิกฤติทางการเมืองและการบริหาร รัฐบาล จึงกำหนดนโยบาย ดังนี้
๑.๑ สนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร เพื่อการปฏิรูปการเมืองโดยเน้นความสำคัญที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญในทุกระดับ
๑.๒ เสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบ ทั้งในภาค การเมืองและภาคราชการ ทั้งในระดับท้องถิ่น และ ระดับชาติ ส่งเสริมองค์กรอิสระและประชาชนในการ ตรวจสอบการทุจริต ประพฤติมิชอบ ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมทั้งการป้องกันการกระทำที่เข้าข่าย ผลประโยชน์ทับซ้อนโดยการจัดทำพระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
๑.๓จัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมืองที่เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมืองวัฒนธรรมและการเรียนรู้ใหม่ทางการเมือง โดยการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง ให้เป็นองค์กรหลักในการจัดทำและ ดำเนินการให้แผนแม่บทพัฒนาการเมืองประสบความสำเร็จ รวมทั้งทำหน้าที่ประสาน ติดตาม กำกับการดำเนินการตามแผนแม่บทพัฒนาการเมืองให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสนองตอบเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
๑.๔ จัดทำแผนแม่บทการใช้ทรัพยากรสื่อสาร ของชาติ การใช้เครื่องมือสื่อสารของรัฐ เพื่อประโยชน์ สาธารณะ และประโยชน์ต่อการศึกษาทางการเมืองแก่ ประชาชน รวมทั้งการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งการเน้นการทำ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของการปฏิรูปการเมือง
๑.๕ส่งเสริมเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อสารมวลชน ควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม และ ผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อจัดระบบสื่อภาครัฐ สื่อภาคเอกชนและสื่อชุมชนให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง
๑.๖ ส่งเสริมบทบาทขององค์กรภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้มีบทบาทควบคู่กับองค์กร ภาคราชการในการพัฒนาศักยภาพของประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการรวมกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง สามารถพิทักษ์ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนและ สังคมไทย
๑.๗ มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดองค์กรภาครัฐ ให้สอดคล้องกับทิศทางการนำพา ประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมมีความเข้มแข็ง และ ประชาชนมีความสุขด้วยการดำรงชีพตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โดยให้การรับราชการมีความเป็น มืออาชีพ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดำรงชีพ อย่างพอเพียง มีมโนสุจริต ตลอดจนมีสมรรถนะ ขีดความสามารถในการให้บริการประชาชน ตามแนวทาง พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
๑.๘สนับสนุนการกระจายอำนาจอย่างต่อเนื่อง ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ท้องถิ่น สามารถพึ่งตนเองและปกครองตนเองได้ ตามเจตนารมณ์ ของประชาชนในท้องถิ่น
๒ นโยบายเศรษฐกิจ
นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลยึดปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง คือการใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนา เศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ฐานรากซึ่งเปรียบเสมือนรากแก้วของประเทศ เศรษฐกิจ ระบบตลาด และเศรษฐกิจส่วนรวมให้มีส่วนร่วมในการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบความยั่งยืนและความ พอดี โดยเน้นให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำและผนึกกำลัง ร่วมกับภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพิ่มความเข้มแข็ง ให้แก่เศรษฐกิจทั้งสามภาคดังกล่าว โดยมีนโยบายหลัก ดังนี้
๒.๑ ภาคเศรษฐกิจฐานราก เป็นพื้นฐานที่สำคัญ ของระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะต้องเสริมสร้างให้เกิดความ เข้มแข็งตามแนวทางดังนี้
๒.๑.๑ การเกษตรกรรม สนับสนุนให้การ พัฒนาการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่เป็นทางเลือก สำคัญสำหรับเกษตรกรรายย่อย ในขณะที่ขยายโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพของผลผลิต โดยอาศัยเทคโนโลยี การจัดการ และการเชื่อมโยงกับระบบตลาด
๒.๑.๒ ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น จะได้รับการสนับสนุนให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของ ผู้บริโภค ตามศักยภาพทางการตลาดในระดับต่าง ๆ คือ ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับการส่งออก โดยจัดระบบ การบริหารจัดการโครงการแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้าง เทคโนโลยีและการจัดการ ควบคู่ไปกับการสนับสนุน ด้านการตลาด
๒.๑.๓ แรงงาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ อีกส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจฐานราก จะเสริมสร้างความ ร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชน และภาครัฐ ให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาคุณภาพและฝีมือของแรงงาน ในระดับต่าง ๆ เพื่อให้สามารถมีผลผลิตและรายได้สูงขึ้น ตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตลอดจนส่งเสริมให้แรงงาน ทุกกลุ่มมีงานทำ มีอาชีพเสริม ได้รับการคุ้มครองและดูแล ด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนมีหลักประกันความมั่นคง รวมทั้งสวัสดิการแรงงาน อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
๒.๑.๔ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของ ภาคเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางข้างต้น จะดำเนินการควบคู่ไปกับการดูแลผู้ที่ไม่พร้อมหรือ ยังไม่สามารถจะปรับตัวได้ โดยการจัดสวัสดิการสงเคราะห์ และบริการทางสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึง และโดยการดูแล โอกาสในการเรียนรู้ การศึกษา ตลอดจนการฝึกอาชีพ สำหรับคนเหล่านี้และลูกหลาน นอกจากนั้น การเติบโต ทางเศรษฐกิจจะต้องได้รับการดูแลมิให้เกิดผลกระทบทางลบ ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วยเพื่อการนี้ จะปรับปรุงบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานภูมิภาค โดยปรับปรุงระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อร่วมกันรับผิดชอบ ดูแลผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมี ประสิทธิภาพ
๒.๒ ภาคเศรษฐกิจระบบตลาด รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่จะให้กลไกการตลาดสามารถดำเนินการได้อย่าง เต็มที่ ภายใต้หลักคุณธรรมและการสร้างความเป็นธรรม ในภาคเศรษฐกิจ การขจัดการดำเนินการที่มีผลประโยชน์ ทับซ้อน และการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนบุคคล และ จะอาศัยกลไกการตลาดเสรีเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ด้วยความเป็นธรรม ดังนี้
๒.๒.๑ การพัฒนาอุตสาหกรรม ส่งเสริม ให้มีการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศในอุตสาหกรรม ที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ และให้ความสำคัญกับการลงทุน เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีและการสร้าง ทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศเป็นส่วนรวม
๒.๒.๒ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะอาศัยความเป็นพันธมิตรระหว่างเอกชนและรัฐผนึกกำลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการบริหารจัดการในการสร้าง ความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกประเภท นอกจากนั้น จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา
๒.๒.๓ การส่งออก ส่งเสริมและผลักดัน การส่งออกสินค้าและบริการ โดยมีภาคเอกชนเป็นกลไก ขับเคลื่อน ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ การค้าภายในประเทศ รวมทั้งสร้างเสถียรภาพของราคา สินค้าที่มีความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
๒.๒.๔ การท่องเที่ยว พัฒนาประเทศไทย เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ มีมาตรฐานความปลอดภัย และบริการระดับสากล เน้นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการตลาด ท่องเที่ยวเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศเพื่อดึงดูด นักท่องเที่ยวคุณภาพ
๒.๒.๕ พลังงาน ส่งเสริมประสิทธิภาพและ ประหยัดการใช้พลังงาน การพัฒนาและใช้ประโยชน์ พลังงานทดแทน การสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงาน ทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ รวมถึงเขตพัฒนาร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน การส่งเสริมการใช้พลังงาน สะอาด การกำหนดโครงสร้างราคาพลังงานที่เหมาะสม และ การปรับโครงสร้างการบริหารกิจการพลังงานให้เหมาะสม โดยแยกงานนโยบายและการกำกับดูแลให้มีความชัดเจน รวมทั้งส่งเสริมการแข่งขันในธุรกิจพลังงานในระยะยาว และ การศึกษาวิจัยพลังงานทางเลือก
๒.๒.๖ โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้มี คุณภาพ ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และวางรากฐานการ ทำงานอย่างเป็นระบบที่ดี สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ยึดมั่น ความซื่อสัตย์ สุจริต คุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างมาตรฐาน การบริหารจัดการโครงการที่ดี และสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของประชาชนตั้งแต่การวางแผนจนถึงการดำเนินโครงการ โดยขับเคลื่อนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่อยู่ในแผนแม่บท และมีความพร้อมทุกด้าน เน้นการลงทุนประเภทที่จะเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบเครือข่ายการจัดส่งสินค้าและพัสดุ การ ประหยัดพลังงาน และลดต้นทุนการขนส่งและปัญหามลพิษ รวมทั้งโครงการลงทุนตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรนำเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดจากอุทกภัยและภัยแล้งใน พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ทั้งนี้ จะจัดให้มีการจัดลำดับ ความสำคัญของการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่ชัดเจนขึ้น โดยเร็ว
๒.๒.๗ โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา โดยที่ ประเทศไทยได้มีการลงทุนจำนวนมากพอสมควรในด้าน โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แต่โครงสร้างพื้นฐานทาง ปัญญายังอยู่ในฐานะด้อยกว่าประเทศคู่แข่งหลายประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจะจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทาง ปัญญาขึ้น เพื่อเร่งรัดให้มีการสร้างปัญญาในสังคม เพื่อ สนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อสร้างความสามารถ ของประเทศอย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนให้ภาครัฐและ ภาคเอกชนร่วมกันสร้างนวัตกรรม
๒.๒.๘ การจั ดการด้ นทรั พยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างความสมดุลระหว่าง การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากร ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรชีวภาพ เพื่อสร้าง คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้มาตรการทางเศรษฐกิจที่ผสมผสานกับ หลักการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการ มีส่วนร่วมและเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
๒.๒.๙ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ จะ ดำเนินนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการเจรจาการค้าระหว่างประเทศทั้งกรอบทวิภาคีและ พหุภาคีที่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน โดย อาศัยการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมของภาคประชาสังคม และให้เป็นไปตามขั้นตอนและกระบวนการที่ถูกต้อง
๒.๒.๑๐ การปรับปรุงกฎระเบียบด้านธุรกิจการค้า ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ การค้าให้มีความทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกทางด้าน การค้า สร้างความเป็นธรรมและยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขัน
๒.๓ ภาคเศรษฐกิจส่วนรวม
๒.๓.๑ การสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ยั่งยืน ดังนั้น รัฐบาลจึงให้ความสำคัญแก่ เป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการวัดความ เจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ เพื่อการนี้ จะจัดทำ แผนแม่บทการสร้างเสริมประสิทธิภาพแห่งชาติโดยเป็น แผนร่วมกับเอกชนสำหรับภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ให้เสร็จสิ้น ภายใน ๖ เดือน
๒.๓.๒ การออม มุ่งสนับสนุนการออมในทุกระดับโดยใช้นโยบายการออมที่เหมาะสม และส่งเสริม จิตสำนึกในการประหยัดเพื่อลดหนี้สินในระดับครัวเรือน และเพื่อการดำรงชีพที่ดีในวัยสูงอายุ
๒.๓.๓ การเงินและการคลัง ดำเนินนโยบาย งบประมาณขาดดุลเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของ เศรษฐกิจอย่างเพียงพอ และมีการลงทุนทางด้านโครงสร้าง พื้นฐานที่จำเป็นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ จะเสริมสร้างวินัยทางการเงินการคลังภาครัฐ โดยการใช้จ่าย อย่างมีเหตุผลและประหยัด
๓ นโยบายสังคม
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมเข้มแข็งที่คนในชาติ อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์บนพื้นฐานของ คุณธรรม โดยมีนโยบาย ดังนี้
๓.๑ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้เกิดความร่วมมือกันในการ กอบกู้และฟื้นฟูประเทศชาติในทุกด้าน โดยการสรุปบทเรียนจากปัญหาความแตกแยกร้าวฉานและความ ล้มเหลวในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวในอดีตแล้วนำมาปรับความเข้าใจของประชาชน สร้างกระบวนการ แก้ไขปัญหาที่เน้นความสมานฉันท์ของคนในชาติ พร้อมทั้ง ส่งเสริมการเผยแพร่ตัวอย่างของความร่วมมือที่ดีและมีความสุขของทุกชุมชนอย่างต่อเนื่อง
๓.๒จัดทำแผนปฏิรูปสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานคุณธรรมร่วมกับ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน และสถาบันศาสนา เพื่อสร้างสังคมไทยที่ไม่ทอดทิ้งกัน สังคมที่ชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคม เข้มแข็ง สังคมคุณธรรม และสังคมประชาธิปไตย ๓.๓เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษา ของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยคำนึงถึงการ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ เสริมสร้าง ความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีชีวิตประชาธิปไตย พัฒนาคน โดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา การจัดการศึกษาจะเน้นการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่ สถานศึกษาและ ท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชน เพื่อให้การศึกษาสร้างคนและสร้างความรู้สู่สังคมคุณธรรม คุณภาพ สมรรถภาพ และประสิทธิภาพ
๓.๔ พัฒนาสุขภาวะของประชาชนให้ครอบคลุม ทั้งมิติทางกาย จิต สังคม และปัญญา โดยการปฏิรูป ระบบสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เน้นการมีส่วนร่วม และพัฒนาระบบบริการ สุขภาพทั้งยามปกติและฉุกเฉินที่สมดุลทั้งการเสริมสร้าง สุขภาพ การป้องกันโรค การบริการรักษาพยาบาล และการ ฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม และ จะเสนอให้มีการออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
๓.๕ ส่งเสริมกีฬาพื้นฐานและกีฬามวลชนเพื่อให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสได้เล่นกีฬา และออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมรรถภาพที่ดีมุ่งเน้นการปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬาให้เป็นค่านิยมเกิดความสมานฉันท์ของคนในชาติ สนับสนุนกีฬาเพื่อ ความเป็นเลิศและอาชีพไปสู่มาตรฐานในระดับสากล
๓.๖ สร้างความเข้มแข็งของทุกชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคม ให้สามารถจัดการตนเองเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การปกครอง และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจน สิทธิชุมชน โดยส่งเสริมบทบาทของครอบครัว ชุมชน องค์กรอาสาสมัคร ภาคธุรกิจ สถาบันศาสนา สถาบัน การศึกษา รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การดูแลเด็ก และเยาวชน คนพิการ คนสูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส การสนับสนุนสิทธิสตรี ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน
๓.๗ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคม มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มี สันติสุขอย่างยั่งยืน บนฐานของวัฒนธรรมไทย และใช้สื่อ ทุกรูปแบบในการสร้างสรรค์สังคม รักษาสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมของชาติ และความหลากหลายของ วัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเชิดชูคุณค่าและจิตวิญญาณของ ความเป็นไทย ตลอดจนสร้างความสามัคคี เอื้ออาทร สมานฉันท์ของสังคมและประเทศชาติ
๓.๘ ปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมโดยให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ปรับปรุงระบบการสืบสวน สอบสวน การกลั่นกรองคดีและการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด คดี การควบคุมและฟื้นฟูผู้กระทำผิด คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม และให้ ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ มีการสร้างทางเลือกในกระบวนการ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ รวมทั้งให้ชุมชนมีบทบาทในการ ประนีประนอมข้อพิพาท และป้องกัน เฝ้าระวังอาชญากรรม เพื่อลดปริมาณคดี ความสูญเสียจากอาชญากรรม และ ความขัดแย้งของสังคม
๓.๙ ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม โดยนำ ระบบงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานและเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานและ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ๔ นโยบายการต่างประเทศรัฐบาลมุ่งมั่นในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ เสริมสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นของประชาคม ระหว่างประเทศ โดยการดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรกับ นานาประเทศ และสานต่อความร่วมมือระหว่างประเทศ บนพื้นฐานของคุณธรรม ความโปร่งใส ค่านิยม ประชาธิปไตย และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษยชน รัฐบาลจึงกำหนดนโยบาย ดังนี้
๔.๑ ดำเนินบทบาทเชิงรุกในกรอบทวิภาคีและ พหุภาคี เพื่อสนับสนุนความปรองดองและความมั่นคง ในชาติ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในภาคใต้
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ