ผลการบริหารจัดการหนี้สาธารณะภาครัฐ ประจำเดือนกรกฎาคม 2550 และรายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกรกฎาคม 2550 และในระยะ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ
1.1 เดือนกรกฎาคม 2550
หนี้ในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้โดยการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตร 10,000 ล้านบาท การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรระยะยาวนี้เป็นความพยายามของภาครัฐในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Bond) ตามแผนพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ ฉบับที่ 2 นอกจากนี้ การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ยังช่วยลดความไม่สอดคล้องกัน (Mismatch) ระหว่างวิธีการกู้เงินโดยการออก ตั๋วเงินคลังซึ่งเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-term Borrowing) และวัตถุประสงค์ในการกู้เงินเพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณซึ่งเป็นการกู้เงินระยะยาว (Long-term Financing) สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำการ Roll over หนี้เดิมจำนวน 1,000 ล้านบาท
1.2 ระยะ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
หนี้ในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศโดยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณ 83,000 ล้านบาทเป็นพันธบัตร และดำเนินการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้าง หนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในส่วนของ FIDF1 วงเงิน 45,000 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจในภาพรวมได้มีการ Roll over หนี้เดิม 19,601 ล้านบาท
หนี้ต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ ต่างประเทศโดยการชำระคืนก่อนครบกำหนด 28,890 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 17,200 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 28,890 ล้านบาท และ ลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 2,370 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้บริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้ Floating Rate Notes (FRNs) และหนี้เงินกู้ Samurai Bond โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศ ล่วงหน้า วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 48,000 ล้านเยน ตามลำดับ สำหรับในส่วนของรัฐวิสาหกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศวงเงินรวม 14,920 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
2.1 เดือนกรกฎาคม 2550
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศโดยออก พันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 3 ปี วงเงิน 500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนร้อยละ 3.75 ต่อปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในส่วนของ FIDF3
สำหรับรัฐวิสาหกิจ ได้มีการกู้เงินในประเทศรวม 4,000 ล้านบาท โดยการเคหะแห่งชาติได้กู้เพื่อลงทุน 3,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกู้เพื่อลงทุน 900 ล้านบาท และกู้เพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 100 ล้านบาท
2.2 ระยะ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 198,734 ล้านบาท โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 162,660 ล้านบาท และ รัฐวิสาหกิจ 36,074 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินจากต่างประเทศ 31,803 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้นอกแผน การก่อหนี้ต่างประเทศ
3. การชำระหนี้ของภาครัฐ
3.1 เดือนกรกฎาคม 2550
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จาก งบประมาณ 22,431 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 10,158 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 12,273 ล้านบาท
3.2 ระยะ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและ ค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 131,450 ล้านบาท
รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 มีจำนวน 3,168,426 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.72 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,031,575 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 891,015 ล้านบาท หนี้สินของ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 200,120 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 45,716 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะลดลง 43,166 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 34,081 ล้านบาท หนี้ของ รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 7,401 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 16,486 ล้านบาท ส่วนหนี้องค์กรของรัฐอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง
การลดลงของหนี้สาธารณะเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านั้น ที่สำคัญเนื่องจากมีการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ที่ครบกำหนด 50,000 ล้านบาท และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ชำระคืนเงินกู้จากตลาดซื้อคืนสุทธิ 16,491 ล้านบาท ส่วนหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นหลักๆ เนื่องจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตรวงเงินรวม 12,556 ล้านบาท
หนี้สาธารณะ 3,168,426 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 399,961 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.62 และหนี้ในประเทศ 2,768,465 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.38 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้างตามลำดับ และเป็นหนี้ระยะยาว 2,801,719 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.43 และหนี้ระยะสั้น 366,707 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.57 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้างตามลำดับ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 77/2550 27 สิงหาคม 50--
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกรกฎาคม 2550 และในระยะ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ
1.1 เดือนกรกฎาคม 2550
หนี้ในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้โดยการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตร 10,000 ล้านบาท การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรระยะยาวนี้เป็นความพยายามของภาครัฐในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Bond) ตามแผนพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ ฉบับที่ 2 นอกจากนี้ การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ยังช่วยลดความไม่สอดคล้องกัน (Mismatch) ระหว่างวิธีการกู้เงินโดยการออก ตั๋วเงินคลังซึ่งเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-term Borrowing) และวัตถุประสงค์ในการกู้เงินเพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณซึ่งเป็นการกู้เงินระยะยาว (Long-term Financing) สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำการ Roll over หนี้เดิมจำนวน 1,000 ล้านบาท
1.2 ระยะ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
หนี้ในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศโดยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณ 83,000 ล้านบาทเป็นพันธบัตร และดำเนินการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้าง หนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในส่วนของ FIDF1 วงเงิน 45,000 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจในภาพรวมได้มีการ Roll over หนี้เดิม 19,601 ล้านบาท
หนี้ต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ ต่างประเทศโดยการชำระคืนก่อนครบกำหนด 28,890 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 17,200 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 28,890 ล้านบาท และ ลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 2,370 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้บริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้ Floating Rate Notes (FRNs) และหนี้เงินกู้ Samurai Bond โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศ ล่วงหน้า วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 48,000 ล้านเยน ตามลำดับ สำหรับในส่วนของรัฐวิสาหกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศวงเงินรวม 14,920 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
2.1 เดือนกรกฎาคม 2550
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศโดยออก พันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 3 ปี วงเงิน 500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนร้อยละ 3.75 ต่อปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในส่วนของ FIDF3
สำหรับรัฐวิสาหกิจ ได้มีการกู้เงินในประเทศรวม 4,000 ล้านบาท โดยการเคหะแห่งชาติได้กู้เพื่อลงทุน 3,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกู้เพื่อลงทุน 900 ล้านบาท และกู้เพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 100 ล้านบาท
2.2 ระยะ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 198,734 ล้านบาท โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 162,660 ล้านบาท และ รัฐวิสาหกิจ 36,074 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินจากต่างประเทศ 31,803 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้นอกแผน การก่อหนี้ต่างประเทศ
3. การชำระหนี้ของภาครัฐ
3.1 เดือนกรกฎาคม 2550
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จาก งบประมาณ 22,431 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 10,158 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 12,273 ล้านบาท
3.2 ระยะ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและ ค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 131,450 ล้านบาท
รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 มีจำนวน 3,168,426 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.72 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,031,575 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 891,015 ล้านบาท หนี้สินของ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 200,120 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 45,716 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะลดลง 43,166 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 34,081 ล้านบาท หนี้ของ รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 7,401 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 16,486 ล้านบาท ส่วนหนี้องค์กรของรัฐอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง
การลดลงของหนี้สาธารณะเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านั้น ที่สำคัญเนื่องจากมีการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ที่ครบกำหนด 50,000 ล้านบาท และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ชำระคืนเงินกู้จากตลาดซื้อคืนสุทธิ 16,491 ล้านบาท ส่วนหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นหลักๆ เนื่องจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตรวงเงินรวม 12,556 ล้านบาท
หนี้สาธารณะ 3,168,426 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 399,961 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.62 และหนี้ในประเทศ 2,768,465 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.38 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้างตามลำดับ และเป็นหนี้ระยะยาว 2,801,719 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.43 และหนี้ระยะสั้น 366,707 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.57 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้างตามลำดับ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 77/2550 27 สิงหาคม 50--