แท็ก
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
เกียรติคุณ ชาติประเสริฐ
กระทรวงการต่างประเทศ
โรงแรมคอนราด
กรมสารนิเทศ
สถานี
กรุงเทพ--15 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รมว.กต. พบหารือรัฐมนตรีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน — สหภาพยุโรป
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปเข้าร่วม
การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน — สหภาพยุโรป (ASEAN-EU Ministerial Meeting -- AEMM) ครั้งที่ 16
ณ เมืองนูเร็มเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 14 — 15 มีนาคม 2550 โดยในโอกาสนี้จะได้หารือกับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป ได้แก่ นาย Frank Walter Steinmeier รมว.กต.เยอรมนี นาย Carl Bildt รมว.กต.สวีเดน นาง Bernita Ferrero-Waldner กรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศ และนาย Ian McCartney รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร
ทั้งนี้ เป็นโอกาสดีที่ฝ่ายไทยจะสามารถผลักดันส่งเสริมความร่วมมือในกรอบทวิภาคี
ด้านต่าง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติร่วมไทย — เยอรมนี การส่งเสริมความร่วมมือภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-สวีเดน การเร่งรัดจัดทำความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและ
ความร่วมมือระหว่างไทยกับประชาคมยุโรป และการเร่งรัดการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย — สหราชอาณาจักร
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังจะสามารถใช้โอกาสนี้ในการสร้างความเข้าใจให้ฝ่ายสหภาพยุโรปทราบถึงสถานการณ์การเมืองไทย เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุน ตลอดจนปัญหาผู้หนีภัยชาวพม่าและม้งในประเทศไทย
2. รัฐบาลไทยให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่มาดากัสการ์
จากการที่รัฐบาลมาดากัสการ์ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนถึง 3 ลูกติดต่อกัน ทำให้เกิดความเสียหายทั่วประเทศ มีผู้ประสบภัยพิบัติทั่วประเทศกว่า 36,695 คน มีผู้สูญเสียที่อยู่อาศัยกว่า 7,855 คน และมีผู้เสียชีวิต 7 คน พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมเสียหายกว่า 5 แสนไร่ พืชผลทางการเกษตรและถนนหนทางเสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งก่อให้เกิดภาวะขาดอาหาร ยารักษาโรค และมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด
รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศจะมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่มาดากัสการ์เป็นเงิน จำนวน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการแสดงถึงน้ำใจไมตรีของไทยที่มีต่อมาดากัสการ์ โดยกงสุลใหญ่ ณ กรุงอันตานานาริโวจะเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมอบเงินช่วยเหลือแก่รัฐบาลมาดากัสการ์ในโอกาสแรกต่อไป
นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2550 ข้าราชการประจำ สกญ.ฯ และครอบครัว พร้อมด้วยผู้แทนสมาคมไทย-มาดากัสการ์ และคนไทยในมาดากัสการ์ ได้มอบข้าวสาร จำนวน 1,900 กิโลกรัมให้แก่ผู้ประสบภัยที่อาศัยอยู่ในกรุงอันตานานาริโว
อนึ่ง ปัจจุบันมีคนไทยกว่า 300 คน เข้าไปทำธุรกิจด้านการประมงและอัญมณีในมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีที่สำคัญของไทย โดยไทยนำเข้าอัญมณีจากมาดากัสการ์ กว่าร้อยละ 85 ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างงานในอุตสาหกรรมอัญมณีแก่คนไทยมากกว่า 800,000 คน นอกจากนี้
มาดากัสการ์ยังเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศด้วย
3. โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อใช้การผลิตยาในภูมิภาคแอฟริกา
ในวันที่ 15 มีนาคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการผลิตยาในภูมิภาคแอฟริกา โดย ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ระหว่างเวลา 14.00 — 16.00 น. ณ ห้องประชุมกรมเอเชียใต้ฯ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะบรรยายเกี่ยวกับโอกาสและลู่ทางที่ไทยจะขยายตลาดยาและเวชภัณฑ์ในภูมิภาคแอฟริกา
การบรรยายครั้งนี้เป็นการขยายผลการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี 2549 ในโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยารักษาโรคมาลาเรียและโรคเอดส์ในประเทศแอฟริกาตะวันตก โดยในปีนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยาแผนปัจจุบันในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก โดยจะให้ ดร.กฤษณาฯ และตัวแทนบริษัทผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันของไทยที่มีความเชี่ยวชาญในระดับมาตรฐานสากล เดินทางไปไปเยือนประเทศต่าง ๆ อาทิ แทนซาเนีย เอธิโอเปีย ยูกันดา และแซมเบีย เป็นต้น เพื่อช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมผลิตยาแผนปัจจุบันกับบริษัทหรือโรงงานผู้ผลิตยาของประเทศในแอฟริกาตะวันออก
โครงการดังกล่าวเป็นโครงการด้านมนุษยธรรมที่มีส่วนช่วยเผยแพร่ภูมิปัญญาของคนไทยในการผลิตยาเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ด้วย
4. การยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดาระหว่างไทยกับรัสเซีย
รัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซียได้ทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยและรัสเซีย โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
การยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างทั้งสองประเทศเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปมาหาสู่กันของประชาชนทั้งสองประเทศ ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางที่ยังมีอายุใช้งานได้จะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าและพำนักอยู่ในดินแดนของอีกประเทศหนึ่งเป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน
ในระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2549 มีชาวรัสเซียเดินทางมาไทยประมาณหนึ่งแสนคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 94 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 ในส่วนของคนไทยที่เดินทางไปรัสเซียนั้น พบว่า ช่วงระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2549 มีจำนวน 4,087 คน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากสถิติเมื่อปี 2548 จำนวน 3,098 คน และ 2,901 คน ในปี 2547 ทั้งนี้ การมีความตกลงเพื่อยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาระหว่างไทยกับรัสเซียย่อมจะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการติดต่อระดับประชาชนให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อันจะนำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยและจะเป็นการกระชับส่งเสริมความเข้าใจระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รมว.กต. พบหารือรัฐมนตรีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน — สหภาพยุโรป
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปเข้าร่วม
การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน — สหภาพยุโรป (ASEAN-EU Ministerial Meeting -- AEMM) ครั้งที่ 16
ณ เมืองนูเร็มเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 14 — 15 มีนาคม 2550 โดยในโอกาสนี้จะได้หารือกับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป ได้แก่ นาย Frank Walter Steinmeier รมว.กต.เยอรมนี นาย Carl Bildt รมว.กต.สวีเดน นาง Bernita Ferrero-Waldner กรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศ และนาย Ian McCartney รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร
ทั้งนี้ เป็นโอกาสดีที่ฝ่ายไทยจะสามารถผลักดันส่งเสริมความร่วมมือในกรอบทวิภาคี
ด้านต่าง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติร่วมไทย — เยอรมนี การส่งเสริมความร่วมมือภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-สวีเดน การเร่งรัดจัดทำความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและ
ความร่วมมือระหว่างไทยกับประชาคมยุโรป และการเร่งรัดการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย — สหราชอาณาจักร
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังจะสามารถใช้โอกาสนี้ในการสร้างความเข้าใจให้ฝ่ายสหภาพยุโรปทราบถึงสถานการณ์การเมืองไทย เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุน ตลอดจนปัญหาผู้หนีภัยชาวพม่าและม้งในประเทศไทย
2. รัฐบาลไทยให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่มาดากัสการ์
จากการที่รัฐบาลมาดากัสการ์ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนถึง 3 ลูกติดต่อกัน ทำให้เกิดความเสียหายทั่วประเทศ มีผู้ประสบภัยพิบัติทั่วประเทศกว่า 36,695 คน มีผู้สูญเสียที่อยู่อาศัยกว่า 7,855 คน และมีผู้เสียชีวิต 7 คน พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมเสียหายกว่า 5 แสนไร่ พืชผลทางการเกษตรและถนนหนทางเสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งก่อให้เกิดภาวะขาดอาหาร ยารักษาโรค และมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด
รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศจะมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่มาดากัสการ์เป็นเงิน จำนวน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการแสดงถึงน้ำใจไมตรีของไทยที่มีต่อมาดากัสการ์ โดยกงสุลใหญ่ ณ กรุงอันตานานาริโวจะเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมอบเงินช่วยเหลือแก่รัฐบาลมาดากัสการ์ในโอกาสแรกต่อไป
นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2550 ข้าราชการประจำ สกญ.ฯ และครอบครัว พร้อมด้วยผู้แทนสมาคมไทย-มาดากัสการ์ และคนไทยในมาดากัสการ์ ได้มอบข้าวสาร จำนวน 1,900 กิโลกรัมให้แก่ผู้ประสบภัยที่อาศัยอยู่ในกรุงอันตานานาริโว
อนึ่ง ปัจจุบันมีคนไทยกว่า 300 คน เข้าไปทำธุรกิจด้านการประมงและอัญมณีในมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีที่สำคัญของไทย โดยไทยนำเข้าอัญมณีจากมาดากัสการ์ กว่าร้อยละ 85 ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างงานในอุตสาหกรรมอัญมณีแก่คนไทยมากกว่า 800,000 คน นอกจากนี้
มาดากัสการ์ยังเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศด้วย
3. โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อใช้การผลิตยาในภูมิภาคแอฟริกา
ในวันที่ 15 มีนาคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการผลิตยาในภูมิภาคแอฟริกา โดย ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ระหว่างเวลา 14.00 — 16.00 น. ณ ห้องประชุมกรมเอเชียใต้ฯ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะบรรยายเกี่ยวกับโอกาสและลู่ทางที่ไทยจะขยายตลาดยาและเวชภัณฑ์ในภูมิภาคแอฟริกา
การบรรยายครั้งนี้เป็นการขยายผลการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี 2549 ในโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยารักษาโรคมาลาเรียและโรคเอดส์ในประเทศแอฟริกาตะวันตก โดยในปีนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยาแผนปัจจุบันในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก โดยจะให้ ดร.กฤษณาฯ และตัวแทนบริษัทผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันของไทยที่มีความเชี่ยวชาญในระดับมาตรฐานสากล เดินทางไปไปเยือนประเทศต่าง ๆ อาทิ แทนซาเนีย เอธิโอเปีย ยูกันดา และแซมเบีย เป็นต้น เพื่อช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมผลิตยาแผนปัจจุบันกับบริษัทหรือโรงงานผู้ผลิตยาของประเทศในแอฟริกาตะวันออก
โครงการดังกล่าวเป็นโครงการด้านมนุษยธรรมที่มีส่วนช่วยเผยแพร่ภูมิปัญญาของคนไทยในการผลิตยาเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ด้วย
4. การยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดาระหว่างไทยกับรัสเซีย
รัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซียได้ทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยและรัสเซีย โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
การยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างทั้งสองประเทศเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปมาหาสู่กันของประชาชนทั้งสองประเทศ ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางที่ยังมีอายุใช้งานได้จะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าและพำนักอยู่ในดินแดนของอีกประเทศหนึ่งเป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน
ในระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2549 มีชาวรัสเซียเดินทางมาไทยประมาณหนึ่งแสนคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 94 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 ในส่วนของคนไทยที่เดินทางไปรัสเซียนั้น พบว่า ช่วงระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2549 มีจำนวน 4,087 คน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากสถิติเมื่อปี 2548 จำนวน 3,098 คน และ 2,901 คน ในปี 2547 ทั้งนี้ การมีความตกลงเพื่อยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาระหว่างไทยกับรัสเซียย่อมจะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการติดต่อระดับประชาชนให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อันจะนำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยและจะเป็นการกระชับส่งเสริมความเข้าใจระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-