ก่อนพบว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.24 ทุกภูมิภาคยกเว้นสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลจากความต้องการสินค้าในกลุ่ม Notebook, Cell
Phone, Digital Camera เป็นต้น ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีการนำ Semiconductor ไปใช้ในสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer
Products) มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยการคาดการณ์ของ SIA พบว่าในปี 2007 Worldwide
Electronics Sales จะอยู่ประมาณที่ 273.8 $billion เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10
จาก ตัวเลข Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 พบว่า ตลาดสหรัฐมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 10.62
ซึ่งเป็นตลาดไอทีหลัก เนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศนี้เอง ซึ่งตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ในไตรมาสแรก เติบโต
เพียง 1.3% เท่านั้น นอกจากนี้ สิ่งที่ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อการใช้จ่าย ได้แก่ การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน เป็นต้น
ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2550
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 1 กับไตรมาส 4 ปี 49 ไตรมาส 1 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 352.56 0.19 26.33
Electric tubes Cathode For color TV 26.83 -18.01 -42.91
Electric tubes Ray tubes For computer & related equipment 42.84 -7.21 86.83
Semiconductor devices Transisters 118.41 8.88 11.36
Inegrated circuits (IC) 146.61 4.09 3.56
Monolithic integrated curcuits
Inegrated circuits (IC) 175.74 2.77 16.64
Other IC
Hard Disk Drive 617.71 0.05 31.89
Printer 19.9 -36.1 -59.08
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 1 ปี 2550
หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไตรมาส 1 การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ปี2550 ไตรมาส 4 ปี 49(ร้อยละ) ไตรมาส 1 ปี 49(ร้อยละ)
Worldwide Semiconductor Sales 61.02 -6.47 3.24
US 10.01 -12.21 -10.62
EU 10.17 -3.04 4.76
Japan 11.84 1.83 4.14
Asia Pacific 28.99 -8.58 8.09
ที่มา : Semiconductor Industry Association (SIA)
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2550 และแนวโน้มปี2550
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 คาดว่าน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ
ร้อยละ 10-12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เกิดจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ที่ประมาณการว่าจะเติบโตประมาณ 14-15% จากการขยายตัวใน
ตลาดส่งออกของภูมิภาคอียูและเอเชีย
ส่วนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาส 2 ปี 2550 คาดการณ์ว่าน่าจะทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 1-2% ในกลุ่ม
เครื่องรับโทรทัศน์ขนาดใหญ่ และสินค้าตู้เย็น
ส่วนแนวโน้มการผลิตและการขายปี 2550 จากการประมาณการของ Semiconductor Industry Association พบว่า แนวโน้ม
มูลค่าการจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีทั่วโลกปี 2550 ประมาณ 273.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ของสินค้าเทคโนโลยี ดังนี้ สินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสัดส่วนของสินค้าเทคโนโลยี สูงที่สุดประมาณ 40 % ประมาณการว่าจะมีการขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 10 โทรศัพท์มือถือในปี 2550 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15 ขณะที่ กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นMP3 และ
Digital TV ที่มีสัดส่วนรวมกันใกล้เคียงกับโทรศัพท์มือถือที่มีสัดส่วนประมาณ 20 % ของสินค้าเทคโนโลยีทั้งหมด โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ประมาณการ
จะมีการขยายตัวค่อนข้างสูงในปี 2550 ได้แก่ Digital TV ที่ประมาณการว่า ขยายตัวถึง 44 % (แหล่งข้อมูลจาก Semiconductor Industry
Association)
นอกจากนี้ ในส่วนของการขยายการลงทุนเพื่อรองรับการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นและไทยเป็นฐานการผลิต เช่น ในส่วนของ HDD มีการขยาย
การผลิต HDD 2.5นิ้ว และหัวอ่านมาประเทศไทย โดยลงทุนเพิ่ม 1,000 ล้านบาท การใช้กำลังการผลิตกว่า 70% ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็มี
ขยายการลงทุนของบริษัทสัญชาติเกาหลีในผลิตภัณฑ์เครื่องซักผ้าฝาหน้า และเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ เงินลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท ซึ่งการ
ขยายการลงทุนนี้ส่งผลต่อภาพของความเชื่อมั่นในศักยภาพและความพร้อมที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและกระจายสินค้า
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต
เช่น ราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่ราคาขายยังคงต้องตรึงราคาไว้หรือขึ้นราคาได้เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ มีการวางขายเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่น
เล็ก ราคาถูก เพื่อเพิ่มปริมาณขายโดยรวม แรงงานที่ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ
การปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย การรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้
โดยในวันที่ 21 สิงหาคม 2550 จะมีการออกมาตรฐานบังคับของเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ 2 ตัวได้แก่ เครื่องซักผ้าและเตาไมโครเวฟ ซึ่งเน้นความ
ปลอดภัยในการใช้งาน และประสิทธิภาพตามข้อมูลที่ให้กับผู้บริโภค
ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่นประมาณกลางปี 2550 อียูจะมีผลบังคับใช้ REACH
ในการขึ้นและจดทำเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ ขณะที่ ผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาคโดยรวมที่อาจส่งผลกระทบกับ
ภาคการผลิตและส่งออกได้ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นกระทบภาคการส่งออก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็นการกระตุ้นภาค
เอกชนโดยรวมในการลงทุนซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
Phone, Digital Camera เป็นต้น ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีการนำ Semiconductor ไปใช้ในสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer
Products) มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยการคาดการณ์ของ SIA พบว่าในปี 2007 Worldwide
Electronics Sales จะอยู่ประมาณที่ 273.8 $billion เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10
จาก ตัวเลข Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 พบว่า ตลาดสหรัฐมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 10.62
ซึ่งเป็นตลาดไอทีหลัก เนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศนี้เอง ซึ่งตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ในไตรมาสแรก เติบโต
เพียง 1.3% เท่านั้น นอกจากนี้ สิ่งที่ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อการใช้จ่าย ได้แก่ การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน เป็นต้น
ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2550
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 1 กับไตรมาส 4 ปี 49 ไตรมาส 1 ปี 49
ปี2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 352.56 0.19 26.33
Electric tubes Cathode For color TV 26.83 -18.01 -42.91
Electric tubes Ray tubes For computer & related equipment 42.84 -7.21 86.83
Semiconductor devices Transisters 118.41 8.88 11.36
Inegrated circuits (IC) 146.61 4.09 3.56
Monolithic integrated curcuits
Inegrated circuits (IC) 175.74 2.77 16.64
Other IC
Hard Disk Drive 617.71 0.05 31.89
Printer 19.9 -36.1 -59.08
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 1 ปี 2550
หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไตรมาส 1 การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ปี2550 ไตรมาส 4 ปี 49(ร้อยละ) ไตรมาส 1 ปี 49(ร้อยละ)
Worldwide Semiconductor Sales 61.02 -6.47 3.24
US 10.01 -12.21 -10.62
EU 10.17 -3.04 4.76
Japan 11.84 1.83 4.14
Asia Pacific 28.99 -8.58 8.09
ที่มา : Semiconductor Industry Association (SIA)
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ปี 2550 และแนวโน้มปี2550
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 คาดว่าน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ
ร้อยละ 10-12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เกิดจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ที่ประมาณการว่าจะเติบโตประมาณ 14-15% จากการขยายตัวใน
ตลาดส่งออกของภูมิภาคอียูและเอเชีย
ส่วนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาส 2 ปี 2550 คาดการณ์ว่าน่าจะทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 1-2% ในกลุ่ม
เครื่องรับโทรทัศน์ขนาดใหญ่ และสินค้าตู้เย็น
ส่วนแนวโน้มการผลิตและการขายปี 2550 จากการประมาณการของ Semiconductor Industry Association พบว่า แนวโน้ม
มูลค่าการจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีทั่วโลกปี 2550 ประมาณ 273.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ของสินค้าเทคโนโลยี ดังนี้ สินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสัดส่วนของสินค้าเทคโนโลยี สูงที่สุดประมาณ 40 % ประมาณการว่าจะมีการขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 10 โทรศัพท์มือถือในปี 2550 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15 ขณะที่ กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นMP3 และ
Digital TV ที่มีสัดส่วนรวมกันใกล้เคียงกับโทรศัพท์มือถือที่มีสัดส่วนประมาณ 20 % ของสินค้าเทคโนโลยีทั้งหมด โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ประมาณการ
จะมีการขยายตัวค่อนข้างสูงในปี 2550 ได้แก่ Digital TV ที่ประมาณการว่า ขยายตัวถึง 44 % (แหล่งข้อมูลจาก Semiconductor Industry
Association)
นอกจากนี้ ในส่วนของการขยายการลงทุนเพื่อรองรับการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นและไทยเป็นฐานการผลิต เช่น ในส่วนของ HDD มีการขยาย
การผลิต HDD 2.5นิ้ว และหัวอ่านมาประเทศไทย โดยลงทุนเพิ่ม 1,000 ล้านบาท การใช้กำลังการผลิตกว่า 70% ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็มี
ขยายการลงทุนของบริษัทสัญชาติเกาหลีในผลิตภัณฑ์เครื่องซักผ้าฝาหน้า และเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ เงินลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท ซึ่งการ
ขยายการลงทุนนี้ส่งผลต่อภาพของความเชื่อมั่นในศักยภาพและความพร้อมที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและกระจายสินค้า
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต
เช่น ราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่ราคาขายยังคงต้องตรึงราคาไว้หรือขึ้นราคาได้เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ มีการวางขายเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่น
เล็ก ราคาถูก เพื่อเพิ่มปริมาณขายโดยรวม แรงงานที่ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ
การปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย การรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้
โดยในวันที่ 21 สิงหาคม 2550 จะมีการออกมาตรฐานบังคับของเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ 2 ตัวได้แก่ เครื่องซักผ้าและเตาไมโครเวฟ ซึ่งเน้นความ
ปลอดภัยในการใช้งาน และประสิทธิภาพตามข้อมูลที่ให้กับผู้บริโภค
ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เช่นประมาณกลางปี 2550 อียูจะมีผลบังคับใช้ REACH
ในการขึ้นและจดทำเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ ขณะที่ ผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาคโดยรวมที่อาจส่งผลกระทบกับ
ภาคการผลิตและส่งออกได้ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นกระทบภาคการส่งออก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับลดลงถือเป็นการกระตุ้นภาค
เอกชนโดยรวมในการลงทุนซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-