ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยการใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง ผลจากภาวะเศรษฐกิจหดตัว รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า การชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลต่อยอดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ สิ่งทอ และวัสดุก่อสร้าง
2 เดือนแรกของปีนี้หดตัวลง เนื่องจากผู้ผลิตมองว่าประชาชนจำเป็นต้องกันเงินไว้ใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น จึงลดการใช้จ่ายในสินค้า
ที่ไม่จำเป็นลง และหากเศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องจะส่งผลให้อุตสาหกรรมอีกหลายประเภทต้องปรับลดกำลังการผลิตลงเช่นกัน และอาจจะ
ส่งผลให้การลงทุนใหม่ และการขยายกิจการไม่เกิดขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคไทยเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ผอ.สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
ทั่วไปในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบต่อเดือน ซึ่งกลับมาสูงขึ้นเป็นเดือนแรก หลังจากลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 4 เดือน
เนื่องจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7 เช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ผักและผลไม้ เนื้อสุกร และไก่สด และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ส่วนช่วง 3 เดือนแรกของปี 50 (ม.ค.-มี.ค.) เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เนื่องจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร
และเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ซึ่ง ก.พาณิชย์ยืนยันว่า อัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ในระดับร้อยละ 1.5-2.5 เช่นเดิม แม้ว่าขณะนี้ราคาน้ำมัน
จะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2 และ 3 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่ไม่สูงมากนัก เพราะฐาน
ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วสูงมาก โดยเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 5.0 แต่ก็ต้องจับตาในเรื่องราคาน้ำมัน หากปรับเพิ่มขึ้นมาก จะมีผลต่อราคา
สินค้าและค่าโดยสาร รวมไปถึงการปรับเพิ่มขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่นับรวมสินค้าหมวดอาหารสด
และพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อปี ส่วนช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4(เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, มติชน, สยามรัฐ,
แนวหน้า, ข่าวสด)
3. บ. ฟิทช์ เรทติ้งส์มีแนวโน้มปรับลดการคาดการณ์จีดีพีไทยปีนี้ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 ผอ.ฝ่ายจัดอันดับความน่าเชื่อระดับประเทศ
ในเอเชียของ บ.ฟิทช์ เรทติ้งส์ ระบุว่า แนวโน้มอันดับเครดิตของไทยซึ่งอยู่ที่ A- ยังคงมีเสถียรภาพเนื่องจากมีฐานะการคลังที่แข็งแกร่ง
และเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะไม่ถอนการลงทุนจากไทย แม้จะมีความไม่แน่นอนทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ฟิทช์มีแนวโน้มปรับลดคาดการณ์
ตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ของไทยสู่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 4 โดยปรับลดลงจากร้อยละ 4.5 ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากอุปสงค์
ในประเทศชะลอตัว (กรุงเทพธุรกิจ)
4. กบง.อนุมัติปรับคุณภาพดีเซลใหม่ให้ผสมบี 100 เพียงร้อยละ 2.0 มีผลบังคับใช้ 1 เม.ย.51 รมว.พลังงาน ในฐานะ
ประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ออกประกาศกำหนดคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ
ให้มีส่วนผสมไบโอดีเซลบริสุทธิ์ (บี 100) ไม่เกินร้อยละ 2.0 หรือบี 2 เพื่อช่วยในการหล่อลื่นทดแทนสารเติมแต่งที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
โดยจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเดือน เม.ย.50 นี้ และมีผลบังคับให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วในประเทศเป็นดีเซลหมุนเร็วบี 2 ตั้งแต่
1 เม.ย.51 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม การกำหนดคุณภาพน้ำมันดีเซลมาตรฐานใหม่ดังกล่าวจะช่วยทำให้การใช้บี 100 เพิ่มจากปัจจุบัน
42,000 ลิตรต่อวัน เป็น 1 ล้านลิตรต่อวัน ทั้งนี้ ก.พลังงานจะพิจารณานำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้ค้าน้ำมัน
ทุกรายผสมไบโอดีเซลตามโครงสร้างใหม่ด้วยการเข้าไปชดเชยราคาไบโอดีเซล บี 100 เพิ่มอีก 5 บาทต่อลิตร (จากเดิม 7.31 บาทต่อลิตร)
โดยเป็นการจ่ายชดเชยให้กับโรงงานไบโอดีเซล บี 100 เพื่อจะขายบี 100 ให้กับผู้ค้าในราคาต่ำกว่า ในขณะเดียวกันจะเป็นสิ่งจูงใจที่ทำให้
ผู้ค้าน้ำมันผสมบี 2 เนื่องจากจะได้รับค่าการตลาดสูงขึ้น และสามารถนำมาเป็นส่วนลดให้กับประชาชนผู้ใช้ไบโอดีเซลได้ต่อไป (โลกวันนี้,
ไทยรัฐ, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปปีนี้จะเติบโตสูงกว่าระดับร้อยละ 2 เล็กน้อย รายงานจากกรุงโรม ประเทศอิตาลี
เมื่อวันที่ 2 เม.ย.50 ธ.กลางของอิตาลี (BOI) เปิดเผยในรายงานรายไตรมาสว่า เศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้จะเติบโต
เหนือระดับร้อยละ 2 เล็กน้อย โดยผลสำรวจล่าสุดในเดือน มี.ค. คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ระดับร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ตาม ยังเป็น
ระดับต่ำกว่าที่ ธ.กลางของสหภาพยุโรปเคยคาดการณ์ไว้ในเดือน ก.พ.50 ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อ
ของเขตเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้จะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 2 ในเดือน มี.ค.50 โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงและค่าเงินยูโรปรับตัวดีขึ้น
ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าจ้างแรงงานยังคงอยู่ในระดับที่พอเหมาะแม้ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงการฟื้นตัวก็ตาม ทั้งนี้ ตลาดคาดการณ์ว่า
ธ.กลางของสหภาพยุโรปจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมใหม่อีกครั้งในช่วงฤดูร้อนนี้(รอยเตอร์)
2. ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 ขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโซล เมื่อ 2 เม.ย.50 ตัวเลขเบื้องต้นของ
ก.พาณิชย์แสดงให้เห็นว่ายอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 ขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อปี มีมูลค่า 30.61 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ต่อปี มีมูลค่า 29.09 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้มียอดเกินดุลการค้าจำนวน 1.52 พันล้านดอลลาร์
สรอ. โดยทั้งยอดส่งออกและนำเข้าสูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้จากผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 และ
ร้อยละ 10.5 ต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลจากการขยายตัวของยอดส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียซึ่งรวมถึงจีน และยอดส่งออกไปยังยุโรปช่วยชดเชย
การชะลอตัวลงของยอดส่งออกไปยัง สรอ.ซึ่งเมื่อรวมกับจีนแล้วมีสัดส่วนถึง 2 ใน 5 ของยอดส่งออกรวมทั้งหมดของเกาหลีใต้ สอดคล้องกับ
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ผลิตโดย ธ.กลางเกาหลีใต้ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 91 ในเดือน เม.ย.50 เทียบกับระดับ 89 ในเดือน มี.ค.50
สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.49 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 92 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค.50 ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ ธ.กลางเกาหลีใต้
กำหนดโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปี เท่ากันเดือน ก.พ.50 เมื่อประกอบกับค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์
สรอ. นักวิเคราะห์บางคนจึงคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 12 เม.ย.50
ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
3. เกาหลีใต้จะค่อยๆยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าเนื้อวัวจากสรอ. ภายในระยะเวลา 15 ปี รายงานจากโซล เมื่อ
วันที่ 2 เม.ย. 50 เกาหลีใต้ และ สรอ. ตกลงที่จะสิ้นสุดการจัดเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าเนื้อวัวจาก สรอ. อย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใน
ระยะเวลา 15 ปี ทั้งนี้เกาหลีใต้จัดเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าเนื้อวัวจาก สรอ. ร้อยละ 40 ซึ่ง สรอ. ต้องการให้เกาหลีใต้ยกเลิกการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมทั้งหมดในทันที อย่างไรก็ตาม นาย Kim Hyun-Chong รมว. การค้าของเกาหลีใต้กล่าวในที่ประชุมว่า การจัดเก็บค่าธรรมเนียม
จะลดลงอย่างช้าๆจนกระทั่งยกเลิกการจัดเก็บภายในระยะเวลา 15 ปี ทั้งนี้ The World Organization for Animal Health (OIE)
ได้วินิจฉัยเบื้องต้นชี้ว่า สรอ. เป็นประเทศที่ความเสี่ยงจากเชื้อวัวบ้าถูกควบคุมแล้ว ซึ่งผลการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของ OIE ที่คาดว่าจะเป็น
ต้นเดือน พ.ค. จะทำให้เกาหลีใต้กลับมานำเข้าเนื้อวัวจาก สรอ. อีกครั้ง ที่ผ่านมาเกาหลีใต้ได้ปฎิเสธการนำเข้าเนื้อวัวจาก สรอ. เนื่องจาก
ตรวจพบเชื้อวัวบ้า และคาดว่าข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเนื้อวัวของเกาหลีใต้ แต่จะไม่กระทบต่อตลาดใน
ประเทศมากนัก (รอยเตอร์)
4. คาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 4.6 ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 50 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ
2 เม.ย.50 Urban Redevelopment Authority (URA) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล เปิดเผยประมาณการราคา
อสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 50 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า
นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 12 โดยราคาอสังหาริมทรัพย์ในเขตศูนย์กลางหรือใจกลางเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.6 ขยายตัวเป็น
2 เท่าของราคาอสังหาริมทรัพย์ในเขตเมืองส่วนที่เหลือและนอกเมือง ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.9 และ 2.6 สะท้อนภาพการขยายตัวของตลาด
อสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ว่า ยังคงกระจุกตัวอยู่ที่ตลาดระดับบน ส่วนราคาอสังหาริมทรัพย์ตลอดปี 49 ขยายตัวร้อยละ 9.8 ทั้งนี้
ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ได้ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการที่รัฐบาลสิงคโปร์ดำเนินนโยบายกระตุ้นภาค
อสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค.48 ด้วยการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทางการเงินและการลงทุนของต่างประเทศเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
อนึ่ง URA จะเปิดเผยข้อมูลดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์อย่างเป็นทางการในช่วงปลายเดือน เม.ย.50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 เม.ย. 50 2 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.989 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7731/35.1223 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.64156 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 679.62/12.17 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.42 63.77 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.99*/24.14* 27.99*/24.14* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 29 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยการใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง ผลจากภาวะเศรษฐกิจหดตัว รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า การชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลต่อยอดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ สิ่งทอ และวัสดุก่อสร้าง
2 เดือนแรกของปีนี้หดตัวลง เนื่องจากผู้ผลิตมองว่าประชาชนจำเป็นต้องกันเงินไว้ใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น จึงลดการใช้จ่ายในสินค้า
ที่ไม่จำเป็นลง และหากเศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องจะส่งผลให้อุตสาหกรรมอีกหลายประเภทต้องปรับลดกำลังการผลิตลงเช่นกัน และอาจจะ
ส่งผลให้การลงทุนใหม่ และการขยายกิจการไม่เกิดขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคไทยเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ผอ.สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
ทั่วไปในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบต่อเดือน ซึ่งกลับมาสูงขึ้นเป็นเดือนแรก หลังจากลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 4 เดือน
เนื่องจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7 เช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ผักและผลไม้ เนื้อสุกร และไก่สด และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ส่วนช่วง 3 เดือนแรกของปี 50 (ม.ค.-มี.ค.) เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เนื่องจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร
และเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ซึ่ง ก.พาณิชย์ยืนยันว่า อัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ในระดับร้อยละ 1.5-2.5 เช่นเดิม แม้ว่าขณะนี้ราคาน้ำมัน
จะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2 และ 3 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่ไม่สูงมากนัก เพราะฐาน
ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วสูงมาก โดยเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 5.0 แต่ก็ต้องจับตาในเรื่องราคาน้ำมัน หากปรับเพิ่มขึ้นมาก จะมีผลต่อราคา
สินค้าและค่าโดยสาร รวมไปถึงการปรับเพิ่มขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่นับรวมสินค้าหมวดอาหารสด
และพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อปี ส่วนช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4(เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, มติชน, สยามรัฐ,
แนวหน้า, ข่าวสด)
3. บ. ฟิทช์ เรทติ้งส์มีแนวโน้มปรับลดการคาดการณ์จีดีพีไทยปีนี้ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 ผอ.ฝ่ายจัดอันดับความน่าเชื่อระดับประเทศ
ในเอเชียของ บ.ฟิทช์ เรทติ้งส์ ระบุว่า แนวโน้มอันดับเครดิตของไทยซึ่งอยู่ที่ A- ยังคงมีเสถียรภาพเนื่องจากมีฐานะการคลังที่แข็งแกร่ง
และเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะไม่ถอนการลงทุนจากไทย แม้จะมีความไม่แน่นอนทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ฟิทช์มีแนวโน้มปรับลดคาดการณ์
ตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ของไทยสู่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 4 โดยปรับลดลงจากร้อยละ 4.5 ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากอุปสงค์
ในประเทศชะลอตัว (กรุงเทพธุรกิจ)
4. กบง.อนุมัติปรับคุณภาพดีเซลใหม่ให้ผสมบี 100 เพียงร้อยละ 2.0 มีผลบังคับใช้ 1 เม.ย.51 รมว.พลังงาน ในฐานะ
ประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ออกประกาศกำหนดคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ
ให้มีส่วนผสมไบโอดีเซลบริสุทธิ์ (บี 100) ไม่เกินร้อยละ 2.0 หรือบี 2 เพื่อช่วยในการหล่อลื่นทดแทนสารเติมแต่งที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
โดยจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเดือน เม.ย.50 นี้ และมีผลบังคับให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วในประเทศเป็นดีเซลหมุนเร็วบี 2 ตั้งแต่
1 เม.ย.51 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม การกำหนดคุณภาพน้ำมันดีเซลมาตรฐานใหม่ดังกล่าวจะช่วยทำให้การใช้บี 100 เพิ่มจากปัจจุบัน
42,000 ลิตรต่อวัน เป็น 1 ล้านลิตรต่อวัน ทั้งนี้ ก.พลังงานจะพิจารณานำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้ค้าน้ำมัน
ทุกรายผสมไบโอดีเซลตามโครงสร้างใหม่ด้วยการเข้าไปชดเชยราคาไบโอดีเซล บี 100 เพิ่มอีก 5 บาทต่อลิตร (จากเดิม 7.31 บาทต่อลิตร)
โดยเป็นการจ่ายชดเชยให้กับโรงงานไบโอดีเซล บี 100 เพื่อจะขายบี 100 ให้กับผู้ค้าในราคาต่ำกว่า ในขณะเดียวกันจะเป็นสิ่งจูงใจที่ทำให้
ผู้ค้าน้ำมันผสมบี 2 เนื่องจากจะได้รับค่าการตลาดสูงขึ้น และสามารถนำมาเป็นส่วนลดให้กับประชาชนผู้ใช้ไบโอดีเซลได้ต่อไป (โลกวันนี้,
ไทยรัฐ, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปปีนี้จะเติบโตสูงกว่าระดับร้อยละ 2 เล็กน้อย รายงานจากกรุงโรม ประเทศอิตาลี
เมื่อวันที่ 2 เม.ย.50 ธ.กลางของอิตาลี (BOI) เปิดเผยในรายงานรายไตรมาสว่า เศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้จะเติบโต
เหนือระดับร้อยละ 2 เล็กน้อย โดยผลสำรวจล่าสุดในเดือน มี.ค. คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ระดับร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ตาม ยังเป็น
ระดับต่ำกว่าที่ ธ.กลางของสหภาพยุโรปเคยคาดการณ์ไว้ในเดือน ก.พ.50 ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อ
ของเขตเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้จะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 2 ในเดือน มี.ค.50 โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงและค่าเงินยูโรปรับตัวดีขึ้น
ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าจ้างแรงงานยังคงอยู่ในระดับที่พอเหมาะแม้ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงการฟื้นตัวก็ตาม ทั้งนี้ ตลาดคาดการณ์ว่า
ธ.กลางของสหภาพยุโรปจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมใหม่อีกครั้งในช่วงฤดูร้อนนี้(รอยเตอร์)
2. ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 ขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโซล เมื่อ 2 เม.ย.50 ตัวเลขเบื้องต้นของ
ก.พาณิชย์แสดงให้เห็นว่ายอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 ขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อปี มีมูลค่า 30.61 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ต่อปี มีมูลค่า 29.09 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้มียอดเกินดุลการค้าจำนวน 1.52 พันล้านดอลลาร์
สรอ. โดยทั้งยอดส่งออกและนำเข้าสูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้จากผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 และ
ร้อยละ 10.5 ต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลจากการขยายตัวของยอดส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียซึ่งรวมถึงจีน และยอดส่งออกไปยังยุโรปช่วยชดเชย
การชะลอตัวลงของยอดส่งออกไปยัง สรอ.ซึ่งเมื่อรวมกับจีนแล้วมีสัดส่วนถึง 2 ใน 5 ของยอดส่งออกรวมทั้งหมดของเกาหลีใต้ สอดคล้องกับ
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ผลิตโดย ธ.กลางเกาหลีใต้ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 91 ในเดือน เม.ย.50 เทียบกับระดับ 89 ในเดือน มี.ค.50
สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.49 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 92 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค.50 ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ ธ.กลางเกาหลีใต้
กำหนดโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปี เท่ากันเดือน ก.พ.50 เมื่อประกอบกับค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์
สรอ. นักวิเคราะห์บางคนจึงคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 12 เม.ย.50
ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
3. เกาหลีใต้จะค่อยๆยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าเนื้อวัวจากสรอ. ภายในระยะเวลา 15 ปี รายงานจากโซล เมื่อ
วันที่ 2 เม.ย. 50 เกาหลีใต้ และ สรอ. ตกลงที่จะสิ้นสุดการจัดเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าเนื้อวัวจาก สรอ. อย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใน
ระยะเวลา 15 ปี ทั้งนี้เกาหลีใต้จัดเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าเนื้อวัวจาก สรอ. ร้อยละ 40 ซึ่ง สรอ. ต้องการให้เกาหลีใต้ยกเลิกการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมทั้งหมดในทันที อย่างไรก็ตาม นาย Kim Hyun-Chong รมว. การค้าของเกาหลีใต้กล่าวในที่ประชุมว่า การจัดเก็บค่าธรรมเนียม
จะลดลงอย่างช้าๆจนกระทั่งยกเลิกการจัดเก็บภายในระยะเวลา 15 ปี ทั้งนี้ The World Organization for Animal Health (OIE)
ได้วินิจฉัยเบื้องต้นชี้ว่า สรอ. เป็นประเทศที่ความเสี่ยงจากเชื้อวัวบ้าถูกควบคุมแล้ว ซึ่งผลการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของ OIE ที่คาดว่าจะเป็น
ต้นเดือน พ.ค. จะทำให้เกาหลีใต้กลับมานำเข้าเนื้อวัวจาก สรอ. อีกครั้ง ที่ผ่านมาเกาหลีใต้ได้ปฎิเสธการนำเข้าเนื้อวัวจาก สรอ. เนื่องจาก
ตรวจพบเชื้อวัวบ้า และคาดว่าข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเนื้อวัวของเกาหลีใต้ แต่จะไม่กระทบต่อตลาดใน
ประเทศมากนัก (รอยเตอร์)
4. คาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 4.6 ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 50 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ
2 เม.ย.50 Urban Redevelopment Authority (URA) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล เปิดเผยประมาณการราคา
อสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 50 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า
นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 12 โดยราคาอสังหาริมทรัพย์ในเขตศูนย์กลางหรือใจกลางเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.6 ขยายตัวเป็น
2 เท่าของราคาอสังหาริมทรัพย์ในเขตเมืองส่วนที่เหลือและนอกเมือง ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.9 และ 2.6 สะท้อนภาพการขยายตัวของตลาด
อสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ว่า ยังคงกระจุกตัวอยู่ที่ตลาดระดับบน ส่วนราคาอสังหาริมทรัพย์ตลอดปี 49 ขยายตัวร้อยละ 9.8 ทั้งนี้
ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ได้ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการที่รัฐบาลสิงคโปร์ดำเนินนโยบายกระตุ้นภาค
อสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค.48 ด้วยการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทางการเงินและการลงทุนของต่างประเทศเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
อนึ่ง URA จะเปิดเผยข้อมูลดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์อย่างเป็นทางการในช่วงปลายเดือน เม.ย.50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 เม.ย. 50 2 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.989 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7731/35.1223 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.64156 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 679.62/12.17 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.42 63.77 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.99*/24.14* 27.99*/24.14* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 29 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--