อุตสาหกรรมเซรามิก
1. การผลิต
การผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีการขยายตัวลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การเมือง ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน โดยในปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 148.92 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีประมาณ 8.55 ล้านชิ้น ขยายตัวลดลงจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 2.66 และ 7.16 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศซบเซาทั้งปัจจัยจากปัญหาการเมือง ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ยังเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้การจำหน่ายเซรามิกในประเทศขยายตัวลดลง โดยในปี 2549 มีการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ประมาณ 162.31 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีการจำหน่ายประมาณ 4.83 ล้านชิ้น ขยายตัวลดลงจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 0.89 และ 4.54 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และจากผลกระทบของภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาลงส่งผลให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง จนทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาด โดยให้ความสำคัญกับการปรับราคาและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับกำลังซื้อของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา ไต้หวัน เยอรมนี เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้นโดยในปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวมประมาณ 672.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 6.14 (ดังตารางที่ 2) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นยังคงเป็น เครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดยกเว้นตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับมีการขยายตัวลดลงเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2549 มีมูลค่ารวม 159.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวลดลงจากปี 2548 เพียงเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 0.19 (ดังตารางที่ 3) โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เยอรมนี และอิตาลี เป็นต้น ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น มาเลเซีย และอิตาลี และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ขยายตัวลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การเมือง ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน และทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ สำหรับการผลิตเซรามิกในปี 2550 ยังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากผู้ผลิตสามารถขยายตลาดต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การจำหน่ายเซรามิกในประเทศเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากปัญหาการเมืองเริ่มคลี่คลาย มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ภาวะราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2550 ยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่ดีโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ อย่างไร ก็ตาม การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดกลับมีแนวโน้มขยาย ตัวลดลงมาตลอด หากผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวให้แข่งขันได้ อาจส่งผลให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมของผลิตภัณฑ์เซรามิกลดลงตามไปด้วย
ตารางที่ 1 การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 *
การผลิต
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 120,193,952 141,860,176 152,979,168 148,915,796
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 18.03 7.84 -2.66
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 7,285,844 7,938,220 9,205,872 8,546,675
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 8.95 15.97 -7.16
การจำหน่าย
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 139,471,329 151,127,986 163,764,112 162,313,159
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 8.36 8.36 -0.89
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 3,623,116 4,459,885 5,059,009 4,829,392
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 23.1 13.43 -4.54
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 12 โรงงาน เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
2. ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 *
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 69.7 86 105 106.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 23.39 22.09 1.05
เครื่องสุขภัณฑ์ 100.5 95.1 110.4 122
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -5.37 16.09 10.51
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 188.7 186.6 180.6 173.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -1.11 -3.22 -3.71
ของชำร่วยเครื่องประดับ 35.7 31.7 32.6 28.2
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -11.2 2.84 -13.5
ลูกถ้วยไฟฟ้า 18.7 17.6 17.3 23.5
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -5.88 -1.7 35.84
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 111 124.8 185.3 219.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 12.43 48.48 18.24
รวมส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก 524.5 541.8 633.9 672.8
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 3.3 17 6.14
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 *
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 35.8 45.7 61.2 55.8
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 27.65 33.92 -8.82
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 52.2 93.8 98.7 103.8
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 79.69 5.22 5.17
รวมนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก 88 139.5 159.9 159.6
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 58.52 14.62 -0.19
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์ เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
3. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. การผลิต
การผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีการขยายตัวลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การเมือง ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน โดยในปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 148.92 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีประมาณ 8.55 ล้านชิ้น ขยายตัวลดลงจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 2.66 และ 7.16 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศซบเซาทั้งปัจจัยจากปัญหาการเมือง ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ยังเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้การจำหน่ายเซรามิกในประเทศขยายตัวลดลง โดยในปี 2549 มีการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ประมาณ 162.31 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีการจำหน่ายประมาณ 4.83 ล้านชิ้น ขยายตัวลดลงจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 0.89 และ 4.54 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และจากผลกระทบของภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาลงส่งผลให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง จนทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาด โดยให้ความสำคัญกับการปรับราคาและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับกำลังซื้อของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา ไต้หวัน เยอรมนี เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้นโดยในปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวมประมาณ 672.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 6.14 (ดังตารางที่ 2) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นยังคงเป็น เครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดยกเว้นตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับมีการขยายตัวลดลงเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2549 มีมูลค่ารวม 159.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวลดลงจากปี 2548 เพียงเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 0.19 (ดังตารางที่ 3) โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เยอรมนี และอิตาลี เป็นต้น ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น มาเลเซีย และอิตาลี และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ขยายตัวลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การเมือง ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อลดภาระต้นทุน และทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ สำหรับการผลิตเซรามิกในปี 2550 ยังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากผู้ผลิตสามารถขยายตลาดต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การจำหน่ายเซรามิกในประเทศเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากปัญหาการเมืองเริ่มคลี่คลาย มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ภาวะราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2550 ยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่ดีโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ อย่างไร ก็ตาม การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดกลับมีแนวโน้มขยาย ตัวลดลงมาตลอด หากผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวให้แข่งขันได้ อาจส่งผลให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมของผลิตภัณฑ์เซรามิกลดลงตามไปด้วย
ตารางที่ 1 การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 *
การผลิต
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 120,193,952 141,860,176 152,979,168 148,915,796
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 18.03 7.84 -2.66
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 7,285,844 7,938,220 9,205,872 8,546,675
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 8.95 15.97 -7.16
การจำหน่าย
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 139,471,329 151,127,986 163,764,112 162,313,159
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 8.36 8.36 -0.89
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 3,623,116 4,459,885 5,059,009 4,829,392
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 23.1 13.43 -4.54
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 12 โรงงาน เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
2. ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 *
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 69.7 86 105 106.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 23.39 22.09 1.05
เครื่องสุขภัณฑ์ 100.5 95.1 110.4 122
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -5.37 16.09 10.51
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 188.7 186.6 180.6 173.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -1.11 -3.22 -3.71
ของชำร่วยเครื่องประดับ 35.7 31.7 32.6 28.2
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -11.2 2.84 -13.5
ลูกถ้วยไฟฟ้า 18.7 17.6 17.3 23.5
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -5.88 -1.7 35.84
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 111 124.8 185.3 219.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 12.43 48.48 18.24
รวมส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก 524.5 541.8 633.9 672.8
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 3.3 17 6.14
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 *
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 35.8 45.7 61.2 55.8
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 27.65 33.92 -8.82
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 52.2 93.8 98.7 103.8
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 79.69 5.22 5.17
รวมนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก 88 139.5 159.9 159.6
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 58.52 14.62 -0.19
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์ เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
3. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-