อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
โครงสร้างการผลิต
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ
75 สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ในขณะที่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เงินลง
ทุนสูง
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานใช้วัตถุดิบและพลังงานค่อนข้างสูง แต่มีการใช้แรงงานต่ำ เช่น ในการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ และ
คลอรีนเหลว มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบร้อยละ 45 พลังงานร้อยละ 50 และแรงงานร้อยละ 5 เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายก็มีการใช้ต้นทุนวัตถุดิบค่อนข้างสูง เช่นในการผลิต สี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ผงซัก
ฟอก และเครื่องสำอาง มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบร้อยละ 82, 80-90, 85, 73 และ 70 ตามลำดับ
ทั้งนี้ วัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นกิจการที่ต้องผลิตตลอด 24 ชั่วโมง
การตลาด
ในปี 2549 คาดว่ามูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.42 เมื่อเทียบกับปี 2548 เนื่องจากความต้องการของ
อุตสาหกรรมต่อเนื่องมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เช่น
อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องสำอาง เป็นต้น สำหรับการส่งออกคาดว่าในปี 2549 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.46
เมื่อเทียบกับปี 2548 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของปี 2548 จากปี 2547 เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่ง
ขันที่ค่อนข้างสูงและมีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความ
ได้เปรียบเนื่องจากมีเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์ต่อการผลิต
การส่งออก
ในปี 2549 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าประมาณ 17,697 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.28 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ด
เตล็ดมีมูลค่าส่งออกประมาณ 11,880 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมี
มูลค่าส่งออกประมาณ 27,583 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 เมื่อเทียบกับปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1,976 ล้านบาทลดลงร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปริมาณความ
ต้องการในประเทศเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมีผลให้ปริมาณการสั่งซื้อจากต่าง
ประเทศลดลง ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 2548 Q3/2549 Q4*/2549 2549* Q4*/Q3 2549 /
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน 2549 2548
1.1 อนินทรีย์ 28 6,515 2,560 2,174 8,696 -15.08 33.48
1.2 อินทรีย์ C 29 19,294 4,802 4,424 17,697 -7.86 -8.28
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 8,968 3,202 2,970 11,880 -7.25 32.47
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 2,754 647 562 1,976 -13.2 -28.25
2.2 สี 32 8,222 2,223 2,236 8,943 0.57 8.77
2.3 เครื่องสำอาง 33 26,395 7,513 6,896 27,583 -8.22 4.5
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 9,561 3,208 2,757 11,027 -14.07 15.33
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
การนำเข้า
การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ในปี 2549 มีมูลค่าประมาณ 38,656 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.11 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ด
เตล็ดมีมูลค่านำเข้าประมาณ 62,316 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.17 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้าประมาณ 40,652 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.09 เมื่อเทียบกับปีก่อน
การนำเข้าปุ๋ยในปี 2549 เพิ่มขึ้น เนื่องจากภาคเกษตรกรรมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรยังคงมีแนว
โน้มที่ดี จึงส่งผลให้ความต้องการภายในประเทศสำหรับปุ๋ยคุณภาพดีเพิ่มสูงขึ้นและบางส่วนต้องมีการนำเข้า
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2548 Q3/2549 Q4*/2549 2549* Q4*/Q3 2549 /
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน 2549 2548
1.1 อนินทรีย์ 28 35,755 9,827 9,664 38,656 -1.66 8.11
1.2 อินทรีย์ C 29 79,757 22,266 21,957 87,828 -1.39 10.12
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 54,110 15,571 15,579 62,316 0.05 15.17
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย -
2.1 ปุ๋ย 31 35,946 10,628 3,430 40,652 -67.73 13.09
2.2 สี 32 32,918 8,745 8,281 33,124 -5.31 0.63
2.3 เครื่องสำอาง 33 17,194 4,569 4,551 18,203 -0.4 5.87
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 15,115 3,800 3,883 15,533 2.19 2.77
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
แนวโน้ม
ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และคาดว่าในอนาคตจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจีน
ซึ่งมีความได้เปรียบด้านการผลิตและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไทย นอกจากนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่ง
ประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีการผลิตมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวัตถุดิบที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต ในขณะที่ประเทศไทยมีต้นทุนการ
ผลิตที่สูงกว่าทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาใช้กลยุทธ์ทางด้านอื่นอาทิเช่น
การลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การส่งมอบสินค้า และ ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันต่อไป
นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอก เช่น ระเบียบว่าด้วยสารเคมีที่ออกโดยสหภาพยุโรป (REACH) ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า ทำให้ผู้
ประกอบการต้องปรับตัวให้ได้ตามกฎระเบียบดังกล่าวและมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง
จะต้องแสดงผลวิเคราะห์สารอันตรายที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์นั้นๆ พร้อมกับการยื่นจดทะเบียนในสหภาพ
ยุโรป ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการในประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับกฎระเบียบดังกล่าวเพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาดโลกด้วยเช่น
กัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
โครงสร้างการผลิต
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ
75 สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ในขณะที่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เงินลง
ทุนสูง
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานใช้วัตถุดิบและพลังงานค่อนข้างสูง แต่มีการใช้แรงงานต่ำ เช่น ในการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ และ
คลอรีนเหลว มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบร้อยละ 45 พลังงานร้อยละ 50 และแรงงานร้อยละ 5 เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายก็มีการใช้ต้นทุนวัตถุดิบค่อนข้างสูง เช่นในการผลิต สี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ผงซัก
ฟอก และเครื่องสำอาง มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบร้อยละ 82, 80-90, 85, 73 และ 70 ตามลำดับ
ทั้งนี้ วัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นกิจการที่ต้องผลิตตลอด 24 ชั่วโมง
การตลาด
ในปี 2549 คาดว่ามูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.42 เมื่อเทียบกับปี 2548 เนื่องจากความต้องการของ
อุตสาหกรรมต่อเนื่องมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เช่น
อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องสำอาง เป็นต้น สำหรับการส่งออกคาดว่าในปี 2549 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.46
เมื่อเทียบกับปี 2548 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของปี 2548 จากปี 2547 เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่ง
ขันที่ค่อนข้างสูงและมีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความ
ได้เปรียบเนื่องจากมีเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์ต่อการผลิต
การส่งออก
ในปี 2549 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าประมาณ 17,697 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.28 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ด
เตล็ดมีมูลค่าส่งออกประมาณ 11,880 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.47 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมี
มูลค่าส่งออกประมาณ 27,583 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 เมื่อเทียบกับปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1,976 ล้านบาทลดลงร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปริมาณความ
ต้องการในประเทศเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมีผลให้ปริมาณการสั่งซื้อจากต่าง
ประเทศลดลง ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 2548 Q3/2549 Q4*/2549 2549* Q4*/Q3 2549 /
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน 2549 2548
1.1 อนินทรีย์ 28 6,515 2,560 2,174 8,696 -15.08 33.48
1.2 อินทรีย์ C 29 19,294 4,802 4,424 17,697 -7.86 -8.28
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 8,968 3,202 2,970 11,880 -7.25 32.47
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 2,754 647 562 1,976 -13.2 -28.25
2.2 สี 32 8,222 2,223 2,236 8,943 0.57 8.77
2.3 เครื่องสำอาง 33 26,395 7,513 6,896 27,583 -8.22 4.5
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 9,561 3,208 2,757 11,027 -14.07 15.33
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
การนำเข้า
การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ในปี 2549 มีมูลค่าประมาณ 38,656 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.11 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ด
เตล็ดมีมูลค่านำเข้าประมาณ 62,316 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.17 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้าประมาณ 40,652 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.09 เมื่อเทียบกับปีก่อน
การนำเข้าปุ๋ยในปี 2549 เพิ่มขึ้น เนื่องจากภาคเกษตรกรรมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรยังคงมีแนว
โน้มที่ดี จึงส่งผลให้ความต้องการภายในประเทศสำหรับปุ๋ยคุณภาพดีเพิ่มสูงขึ้นและบางส่วนต้องมีการนำเข้า
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2548 Q3/2549 Q4*/2549 2549* Q4*/Q3 2549 /
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน 2549 2548
1.1 อนินทรีย์ 28 35,755 9,827 9,664 38,656 -1.66 8.11
1.2 อินทรีย์ C 29 79,757 22,266 21,957 87,828 -1.39 10.12
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 54,110 15,571 15,579 62,316 0.05 15.17
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย -
2.1 ปุ๋ย 31 35,946 10,628 3,430 40,652 -67.73 13.09
2.2 สี 32 32,918 8,745 8,281 33,124 -5.31 0.63
2.3 เครื่องสำอาง 33 17,194 4,569 4,551 18,203 -0.4 5.87
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 15,115 3,800 3,883 15,533 2.19 2.77
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
แนวโน้ม
ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และคาดว่าในอนาคตจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจีน
ซึ่งมีความได้เปรียบด้านการผลิตและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไทย นอกจากนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่ง
ประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีการผลิตมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวัตถุดิบที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต ในขณะที่ประเทศไทยมีต้นทุนการ
ผลิตที่สูงกว่าทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาใช้กลยุทธ์ทางด้านอื่นอาทิเช่น
การลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การส่งมอบสินค้า และ ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันต่อไป
นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอก เช่น ระเบียบว่าด้วยสารเคมีที่ออกโดยสหภาพยุโรป (REACH) ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า ทำให้ผู้
ประกอบการต้องปรับตัวให้ได้ตามกฎระเบียบดังกล่าวและมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง
จะต้องแสดงผลวิเคราะห์สารอันตรายที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์นั้นๆ พร้อมกับการยื่นจดทะเบียนในสหภาพ
ยุโรป ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการในประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับกฎระเบียบดังกล่าวเพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาดโลกด้วยเช่น
กัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-