วันที่ 14 มค. 50 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเห็นถึงการเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นควรดำเนินการด้วยความโปร่งใส และสามารถอธิบายถึงบุคคลที่เข้ามาเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ด้วย เนื่องจากปัญหาในการเลือกกรรมธิการฯ อยู่ที่ พรก.หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พศ.2550 นายองอาจเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำให้คนที่มีความรู้ความสามารถจำนวนไม่น้อยแต่มีคุณสมบัติที่ไม่เป็นไปตามพรก.ฉบับดังกล่าวนั้นหมดสิทธิ์การเป็นกรรมาธิการฯ ได้ อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญโดยตรงมาเป็นเวลานาน แต่อาจไม่ได้เป็นศาสตราจารย์ ทำให้ไม่สามารถเป็นกรรมาธิการยกร่างฯ ได้
“กรรมาธิการยกร่างในสัดส่วนของสสร.ที่จะเลือก ไม่ควรมีเฉพาะนักวิชาการ แต่ควรคำนึงถึงนักเทคนิคจากภาคประชาสังคมด้วย ก็จะช่วยให้ภาพลักษณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับจากสังคมมากขึ้น” นายองอาจกล่าว
ส่วนกรรมาธิการยกร่างฯ ในสัดส่วนของ คมช. จำนวน 10 ท่าน รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่ควรแต่งตั้งคนที่มีภาพลักษณ์ผูกพันกับกลุ่มอำนาจเก่า หรือคนที่ประชาชนไม่ไว้วางใจให้เข้ามาเป็นกรรมาธิการ เพราะหากตั้งคนเหล่านี้เข้ามา จะเป็นการเพิ่มปัญหาให้กับ คมช. โดยตรง และอาจถูกโจมตี ทำให้เกิดความหวาดระแวงเรื่องการสืบทอดอำนาจ อันจะไม่เป็นผลดีกับคมช. แต่หาก คมช. สามารถเลือกบุคคลที่สามารถเข้าไปเสริมการทำงานของกรรมาธิการยกร่างฯ จาก สสร. ได้ ประชาชนก็จะเป็นความตั้งใจจริงของคมช.
สำหรับเรื่องที่คณะกรรมาธิการการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่นี้ต้องทำคำชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญใหม่นี้ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นายองอาจกล่าวว่า ตรงนี้จะเป็นประเด็นที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ชุดใหม่จะต้องมีความชัดเจน แม้อาจจะมีความยากลำบากอยู่บ้าง แต่นายองอาจเชื่อว่า คณะกรรมาธิการชุดนี้จะสามารถชี้แจงถึงความแตกต่างได้ พร้อมกันนี้ได้แนะถึงวิธีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ให้นำปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 มาปรับปรุงแก้ไขไม่ให้เหมือนเดิมอีกต่อไป
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการตรวจสอบนายกรัฐมนตรี นายองอาจชี้ว่าในการใช้รัฐธรรมนูญที่ผ่านมามีช่องโหว่ ให้นักการเมืองฉ้อฉลอำนาจ ทำให้การตรวจสอบนายกรัฐมนตรีแทบจะเป็นหมัน ในช่วงระยะเวลา 4 — 5 ปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ถ้าสามารถดำเนินการให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
“ถ้าการตรวจสอบนายกฯ ทำไม่ได้จริง ในสภาผู้แทนราษฎร ดังตัวอย่าง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา ก็จะเกิดการตรวจสอบนอกสภา บนท้องถนนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว” นายองอาจกล่าว
ส่วนในช่วงที่ผ่านมา คมช. และรัฐบาลเริ่มใช้มาตรการไม้แข็งมากยิ่งขึ้น ในหลาย ๆ กรณี นายองอาจเห็นว่า มาตรการดังกล่าวในหลาย ๆ กรณีนั้นมีความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นกรณีการลอบวางระเบิด และการเผาโรงเรียนที่ผ่านมา แต่การดำเนินการไม้แข็งกับส่วนอื่น คมช. ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง
โดยเฉพาะการดำเนินการใช้ไม้แข็งกับสื่อมวลชนในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าคมช. จะใช้คำพูดว่า ขอร้อง ขอความร่วมมือก็ตาม แต่ด้วยเนื้อหาสาระ ท่าทีของคมช. ทำให้มองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ว่า คมช. กำลังใช้มาตรการไม้แข็ง ที่ไม่ได้มีการจำแนก และเหมารวมกับสื่อเกือบทั้งหมด
“ตรงนี้เป็นอันตราย การใช้มาตรการไม้แข็งนั้นต้องใช้อย่างจำแนก ต้องไม่ใช้อย่างเหมารวม เพราะการใช้มาตรการไม้แข็งที่เหมารวมนั้น ก็จะไปโดนกับสื่อต่าง ๆ ที่เขาทำงานอย่างตรงไปตรงมาด้วย ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหากับคมช.ตามมา” นายองอาจกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ม.ค. 2550--จบ--
“กรรมาธิการยกร่างในสัดส่วนของสสร.ที่จะเลือก ไม่ควรมีเฉพาะนักวิชาการ แต่ควรคำนึงถึงนักเทคนิคจากภาคประชาสังคมด้วย ก็จะช่วยให้ภาพลักษณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับจากสังคมมากขึ้น” นายองอาจกล่าว
ส่วนกรรมาธิการยกร่างฯ ในสัดส่วนของ คมช. จำนวน 10 ท่าน รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่ควรแต่งตั้งคนที่มีภาพลักษณ์ผูกพันกับกลุ่มอำนาจเก่า หรือคนที่ประชาชนไม่ไว้วางใจให้เข้ามาเป็นกรรมาธิการ เพราะหากตั้งคนเหล่านี้เข้ามา จะเป็นการเพิ่มปัญหาให้กับ คมช. โดยตรง และอาจถูกโจมตี ทำให้เกิดความหวาดระแวงเรื่องการสืบทอดอำนาจ อันจะไม่เป็นผลดีกับคมช. แต่หาก คมช. สามารถเลือกบุคคลที่สามารถเข้าไปเสริมการทำงานของกรรมาธิการยกร่างฯ จาก สสร. ได้ ประชาชนก็จะเป็นความตั้งใจจริงของคมช.
สำหรับเรื่องที่คณะกรรมาธิการการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่นี้ต้องทำคำชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญใหม่นี้ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นายองอาจกล่าวว่า ตรงนี้จะเป็นประเด็นที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ชุดใหม่จะต้องมีความชัดเจน แม้อาจจะมีความยากลำบากอยู่บ้าง แต่นายองอาจเชื่อว่า คณะกรรมาธิการชุดนี้จะสามารถชี้แจงถึงความแตกต่างได้ พร้อมกันนี้ได้แนะถึงวิธีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ให้นำปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 มาปรับปรุงแก้ไขไม่ให้เหมือนเดิมอีกต่อไป
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการตรวจสอบนายกรัฐมนตรี นายองอาจชี้ว่าในการใช้รัฐธรรมนูญที่ผ่านมามีช่องโหว่ ให้นักการเมืองฉ้อฉลอำนาจ ทำให้การตรวจสอบนายกรัฐมนตรีแทบจะเป็นหมัน ในช่วงระยะเวลา 4 — 5 ปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ถ้าสามารถดำเนินการให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
“ถ้าการตรวจสอบนายกฯ ทำไม่ได้จริง ในสภาผู้แทนราษฎร ดังตัวอย่าง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา ก็จะเกิดการตรวจสอบนอกสภา บนท้องถนนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว” นายองอาจกล่าว
ส่วนในช่วงที่ผ่านมา คมช. และรัฐบาลเริ่มใช้มาตรการไม้แข็งมากยิ่งขึ้น ในหลาย ๆ กรณี นายองอาจเห็นว่า มาตรการดังกล่าวในหลาย ๆ กรณีนั้นมีความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นกรณีการลอบวางระเบิด และการเผาโรงเรียนที่ผ่านมา แต่การดำเนินการไม้แข็งกับส่วนอื่น คมช. ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง
โดยเฉพาะการดำเนินการใช้ไม้แข็งกับสื่อมวลชนในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าคมช. จะใช้คำพูดว่า ขอร้อง ขอความร่วมมือก็ตาม แต่ด้วยเนื้อหาสาระ ท่าทีของคมช. ทำให้มองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ว่า คมช. กำลังใช้มาตรการไม้แข็ง ที่ไม่ได้มีการจำแนก และเหมารวมกับสื่อเกือบทั้งหมด
“ตรงนี้เป็นอันตราย การใช้มาตรการไม้แข็งนั้นต้องใช้อย่างจำแนก ต้องไม่ใช้อย่างเหมารวม เพราะการใช้มาตรการไม้แข็งที่เหมารวมนั้น ก็จะไปโดนกับสื่อต่าง ๆ ที่เขาทำงานอย่างตรงไปตรงมาด้วย ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหากับคมช.ตามมา” นายองอาจกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ม.ค. 2550--จบ--