ภาพรวมอุตสาหกรรม
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่า 455.2 เหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน แต่ในส่วนของการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2550 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 572.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขนำเข้า — ส่งออก ของผลิตภัณฑ์พลาสติก พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าอยู่ประมาณ
117.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,208 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยมีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ( อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 35.82 บาท/$
คำนวณจากอัตราเฉลี่ยประจำเดือน ม.ค. — มี.ค. 50)
การส่งออกของภาคอุตสาหกรรมนับว่าได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและทำให้ความได้เปรียบ
ด้านการแข่งขันของไทยลดลง
ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในระยะนี้ นอกจากนี้ปัจจัยวัตถุดิบของ
อุตสาหกรรมพลาสติกได้แก่ เม็ดพลาสติกที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสิ้นปี 2549 จากภาวะราคาน้ำมันที่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบยัง
คงถูกกดดันจากความกังวลเรื่องการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 455.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.40 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร กลุ่ม
ประเทศในอาเซียน ออสเตรเลีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบ
ต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสำหรับไตรมาสแรกของปี 2550 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์ลดลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 120.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.98 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 7.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก
120.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.45 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 6.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเภท มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ) Q1*2550เทียบกับ Q1*2550เทียบกับ
ผลิตภัณฑ์ 2548 2549 Q1 Q4 Q1 Q4 Q1 Q4 Q1* Q4/2549 Q1/2549
2547 2547 2548 2548 2549 2549 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 518.8 530.4 74.7 75.2 111.7 133.5 128.9 124.4 120.1 -3.45 -6.82
แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ 536.7 558.7 106.8 103 123.9 138.7 130.4 128 120.3 -5.98 -7.71
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ 22.6 17.9 8 10.3 5 5.1 4.8 3.9 3.7 -5.88 -23.53
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 30.9 30 6 5.7 7.5 8.3 6.5 5.4 4.2 -21.69 -34.94
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 22.6 20.2 5.6 5.6 5.6 5.3 5.1 4.4 4.2 -3.77 -16.98
หลอดและท่อพลาสติก 41.5 46 7.6 8.4 10.2 13.3 8.3 8.5 5.3 -37.59 -36.09
พลาสติกปูพื้นและผนัง 50.6 59.1 9.7 10.4 10.6 13.9 10.8 8.7 6.8 -22.3 -37.41
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 84 98.9 16.5 16.9 19.1 21 24.9 28.6 33.9 18.57 36.19
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 551.1 624.2 100.2 92.7 128.8 139.4 147.3 154.5 163.3 5.67 10.83
รวมทั้งสิ้น 1,858.80 1,985.40 335.1 328.2 422.4 478.5 467 466.4 455.2 -2.4 -2.53
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ตัวเลขไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เป็นการคาดการณ์ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูล*
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 572.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.90 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี และ
กลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิล์ม ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.07 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเภท มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ) Q1*2550เทียบกับ Q1*2550เทียบกับ
ผลิตภัณฑ์ 2548 2549 Q1 Q4 Q1 Q4 Q1 Q4 Q1* Q4/2549 Q1/2549
2547 2547 2548 2548 2549 2549 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 79.7 88.2 20.1 21.6 21.6 19.3 22.8 21 22.9 9.07 0.46
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 742.4 767.5 167 160 176.8 188 195.4 183 196 7.03 0.29
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,224.00 1,366.90 272 278 300.6 316 329.8 337 358 6.23 8.46
รวมทั้งสิ้น 2,046.10 2,222.60 478 460 492.7 524 548 541 573 5.9 4.5
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ตัวเลขไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เป็นการคาดการณ์ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูล*
แนวโน้ม
จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้
ประกอบการต้องพยายามลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ นอกจากนี้การเปิดเขตเสรีทางการค้ายังส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้นใน
ขณะที่โครงสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยยังอ่อนแออยู่ ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกจึงควรจะต้องมีนโยบายอย่างชัดเจนคือ จะต้องผลิตเพื่อทดแทน
การนำเข้าและมีการส่งเสริมการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และ เป็นที่ต้องการของตลาด หรือ
มุ่งเน้นที่จะหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาดเพื่อที่จะได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่นำเงินตราเข้าประเทศต่อไป
แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยในอนาคตจะขึ้นอยู่กับการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นการยกระดับ
ผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย ให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มและมีการพัฒนาอย่างครบวงจร ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปถึงปลายน้ำตลอดจนด้านการตลาดและการ
รักษาสิ่งแวดล้อม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่า 455.2 เหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน แต่ในส่วนของการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2550 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 572.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขนำเข้า — ส่งออก ของผลิตภัณฑ์พลาสติก พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าอยู่ประมาณ
117.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,208 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยมีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ( อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 35.82 บาท/$
คำนวณจากอัตราเฉลี่ยประจำเดือน ม.ค. — มี.ค. 50)
การส่งออกของภาคอุตสาหกรรมนับว่าได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและทำให้ความได้เปรียบ
ด้านการแข่งขันของไทยลดลง
ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในระยะนี้ นอกจากนี้ปัจจัยวัตถุดิบของ
อุตสาหกรรมพลาสติกได้แก่ เม็ดพลาสติกที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสิ้นปี 2549 จากภาวะราคาน้ำมันที่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบยัง
คงถูกกดดันจากความกังวลเรื่องการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 455.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.40 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร กลุ่ม
ประเทศในอาเซียน ออสเตรเลีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบ
ต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสำหรับไตรมาสแรกของปี 2550 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์ลดลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 120.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.98 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 7.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก
120.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.45 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 6.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเภท มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ) Q1*2550เทียบกับ Q1*2550เทียบกับ
ผลิตภัณฑ์ 2548 2549 Q1 Q4 Q1 Q4 Q1 Q4 Q1* Q4/2549 Q1/2549
2547 2547 2548 2548 2549 2549 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 518.8 530.4 74.7 75.2 111.7 133.5 128.9 124.4 120.1 -3.45 -6.82
แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ 536.7 558.7 106.8 103 123.9 138.7 130.4 128 120.3 -5.98 -7.71
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ 22.6 17.9 8 10.3 5 5.1 4.8 3.9 3.7 -5.88 -23.53
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 30.9 30 6 5.7 7.5 8.3 6.5 5.4 4.2 -21.69 -34.94
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 22.6 20.2 5.6 5.6 5.6 5.3 5.1 4.4 4.2 -3.77 -16.98
หลอดและท่อพลาสติก 41.5 46 7.6 8.4 10.2 13.3 8.3 8.5 5.3 -37.59 -36.09
พลาสติกปูพื้นและผนัง 50.6 59.1 9.7 10.4 10.6 13.9 10.8 8.7 6.8 -22.3 -37.41
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 84 98.9 16.5 16.9 19.1 21 24.9 28.6 33.9 18.57 36.19
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 551.1 624.2 100.2 92.7 128.8 139.4 147.3 154.5 163.3 5.67 10.83
รวมทั้งสิ้น 1,858.80 1,985.40 335.1 328.2 422.4 478.5 467 466.4 455.2 -2.4 -2.53
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ตัวเลขไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เป็นการคาดการณ์ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูล*
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 572.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.90 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี และ
กลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิล์ม ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.07 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเภท มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ) Q1*2550เทียบกับ Q1*2550เทียบกับ
ผลิตภัณฑ์ 2548 2549 Q1 Q4 Q1 Q4 Q1 Q4 Q1* Q4/2549 Q1/2549
2547 2547 2548 2548 2549 2549 2550 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 79.7 88.2 20.1 21.6 21.6 19.3 22.8 21 22.9 9.07 0.46
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 742.4 767.5 167 160 176.8 188 195.4 183 196 7.03 0.29
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,224.00 1,366.90 272 278 300.6 316 329.8 337 358 6.23 8.46
รวมทั้งสิ้น 2,046.10 2,222.60 478 460 492.7 524 548 541 573 5.9 4.5
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ตัวเลขไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เป็นการคาดการณ์ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูล*
แนวโน้ม
จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้
ประกอบการต้องพยายามลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ นอกจากนี้การเปิดเขตเสรีทางการค้ายังส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้นใน
ขณะที่โครงสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยยังอ่อนแออยู่ ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกจึงควรจะต้องมีนโยบายอย่างชัดเจนคือ จะต้องผลิตเพื่อทดแทน
การนำเข้าและมีการส่งเสริมการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และ เป็นที่ต้องการของตลาด หรือ
มุ่งเน้นที่จะหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาดเพื่อที่จะได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่นำเงินตราเข้าประเทศต่อไป
แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยในอนาคตจะขึ้นอยู่กับการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นการยกระดับ
ผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย ให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มและมีการพัฒนาอย่างครบวงจร ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปถึงปลายน้ำตลอดจนด้านการตลาดและการ
รักษาสิ่งแวดล้อม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-