แท็ก
องค์การสหประชาชาติ
กรุงเทพ--5 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 4 เมษายนของทุกปี เป็นวันแห่งการรณรงค์การดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (International Day for Mine Awareness and Assistance in Mine Action) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและความตื่นตัวในประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Mine Ban Convention) มีพันธกรณีที่จะต้อง (1) ทำลายทุ่นระเบิดในคลังอาวุธยุทโธปกรณ์ (2) กวาดล้างทุ่นระเบิดภายในประเทศ (3) การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด และ (4) การให้ประชาชนมีความรู้และแจ้งเตือนภัยต่อประชาชนเกี่ยวกับทุ่นระเบิด
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในการแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิดโดยเชื่อมโยงกับด้านมนุษยธรรมและการพัฒนา ทั้งในกรอบอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและในกรอบความร่วมมืออื่น ๆ โดยประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 5 ระหว่าง 15-19 ก.ย. 2546 และทำหน้าที่เป็นประธานในช่วงปี 2546-2547
ภารกิจสำคัญของไทยในขณะนี้คือการเร่งเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลให้มีความคืบหน้าโดยเฉพาะในบริเวณชายแดนไทยและกัมพูชาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดเพื่อให้สามารถดำรงชีพในสังคมได้อย่างปกติ โดยในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศนั้น ได้มีบทบาทผลักดันและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ NGOs รวมทั้งประสานกับประเทศต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาศักยภาพและผลักดันการดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคลของไทยเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในวันแห่งการรณรงค์การดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ปีนี้ นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะรักษาการ รมว.กต. ได้เปิดโอกาสให้คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด พร้อมด้วยผู้บริหารของ NGOs ที่ดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเข้าพบเพื่อหารือและกำหนดทิศทางร่วมกันในการดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดในประเทศไทยเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ และลดภัยจากทุ่นระเบิดที่ไม่เพียงมีผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนเท่านั้น แต่มีผลกระทบอย่างสูงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในท้องถิ่น วันแห่งการรณรงค์การดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในวันนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคลให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย
ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 เป็นรัฐภาคีลำดับที่ 53 และเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นรัฐภาคี และได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541 มีผลใช้บังคับต่อไทยเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2542
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 4 เมษายนของทุกปี เป็นวันแห่งการรณรงค์การดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (International Day for Mine Awareness and Assistance in Mine Action) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและความตื่นตัวในประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Mine Ban Convention) มีพันธกรณีที่จะต้อง (1) ทำลายทุ่นระเบิดในคลังอาวุธยุทโธปกรณ์ (2) กวาดล้างทุ่นระเบิดภายในประเทศ (3) การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด และ (4) การให้ประชาชนมีความรู้และแจ้งเตือนภัยต่อประชาชนเกี่ยวกับทุ่นระเบิด
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในการแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิดโดยเชื่อมโยงกับด้านมนุษยธรรมและการพัฒนา ทั้งในกรอบอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและในกรอบความร่วมมืออื่น ๆ โดยประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 5 ระหว่าง 15-19 ก.ย. 2546 และทำหน้าที่เป็นประธานในช่วงปี 2546-2547
ภารกิจสำคัญของไทยในขณะนี้คือการเร่งเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลให้มีความคืบหน้าโดยเฉพาะในบริเวณชายแดนไทยและกัมพูชาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดเพื่อให้สามารถดำรงชีพในสังคมได้อย่างปกติ โดยในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศนั้น ได้มีบทบาทผลักดันและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ NGOs รวมทั้งประสานกับประเทศต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาศักยภาพและผลักดันการดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคลของไทยเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในวันแห่งการรณรงค์การดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ปีนี้ นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะรักษาการ รมว.กต. ได้เปิดโอกาสให้คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด พร้อมด้วยผู้บริหารของ NGOs ที่ดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเข้าพบเพื่อหารือและกำหนดทิศทางร่วมกันในการดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดในประเทศไทยเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ และลดภัยจากทุ่นระเบิดที่ไม่เพียงมีผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนเท่านั้น แต่มีผลกระทบอย่างสูงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในท้องถิ่น วันแห่งการรณรงค์การดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในวันนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคลให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย
ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 เป็นรัฐภาคีลำดับที่ 53 และเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นรัฐภาคี และได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541 มีผลใช้บังคับต่อไทยเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2542
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-