1. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) คาดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2550 จะขยายตัวประมาณ 4.0-5.0% ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลที่ 2.5-4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ธปทคาดการณ์ว่าการส่งออกใน ปี 50 จะเติบโตที่ 7.5-10.5%ขณะที่การนำเข้าจะขยายตัวที่ 7.0-11.0% ส่วนสภาพัฒน์ได้แถลงค่าไตรมาสแรกของปี 2550 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.3 และคาดว่าทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 4-4.5
2. ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสำคัญอันดับที่ 23 ของโลก ในปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 130,621.054 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.15 ของมูลค่าการส่งออกในตลาดโลก
3. ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าสำคัญอันดับที่ 22 ของโลก ในปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้า128,652.327 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.1 ของมูลค่าการนำเข้าในตลาดโลก
4. การค้าของไทยปี 2549 มีมูลค่า 256,574.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.97 แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 129,744.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.94 หรือคิดเป็นร้อยละ 99.58 ของเป้าหมายการส่งออกที่ 130,288 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้ามีมูลค่า 126,830.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.31 ไทยได้เปรียบดุลการค้า เป็นมูลค่า 2,913.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การค้าของไทยปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 86,870.27 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.88 แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 45,698.48 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.27 หรือคิดเป็นร้อยละ 31.30 ของเป้าหมายการส่งออกที่ 145,962 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้ามีมูลค่า 41,171.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.68 ไทยได้เปรียบดุลการค้า เป็นมูลค่า 4,526.69 ล้านเหรียญสหรัฐ
การที่มูลค่าการส่งออกของไทยมีสถิติเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 4 เดือนแรก เนื่องจากไทยสามารถขยายการส่งออกไปตลาดใหม่ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 ในขณะที่ตลาดหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2
5. การส่งออกสินค้าไทยไปภูมิภาคต่างๆ มีสัดส่วนและภาวะการส่งออก ดังนี้
การส่งออกสินค้าไทยไปภูมิภาคต่าง ๆปี 2550 (ม.ค-เม.ย)
ภูมิภาคต่างๆ มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) % เปลี่ยนแปลง
2549 (ม.ค-เม.ย) 2550(ม.ค-เม.ย) ปี 2550(ม.ค-เม.ย)
1. อเมริกาเหนือ(สหรัฐฯ แคนาดา) 6,195.43 6,358.93 2.64
2. ยุโรป 5,904.01 7,437.36 25.97
- สหภาพยุโรป 5,050.62 6,200.16 22.76
- ยุโรปตะวันออก 448.60 688.22 53.41
3. เอเซียตะวันออก 12,419.23 14,498.61 16.74
4. อาเซียน (9) 8,173.00 9,424.00 15.30
5. จีนและฮ่องกง 5,558.12 6,465.03 16.32
6. อินเดีย 469.39 756.09 61.08
5.1 การส่งออกไปภูมิภาคอเมริกาเหนือ (สหรัฐฯ แคนาดา) ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 6,358.93 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.64 โดยการส่งออกไปสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.35 ส่วนการส่งออกไปแคนาดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.57
จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ 50 อันดับแรกพบว่า สินค้าเป้าหมายส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากกว่าร้อยละ 70 ได้แก่ เลนส์ สินค้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ ทองแดงและของ ทำด้วยทองแดง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ในขณะที่ สินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 40 ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ สินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียง อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องคอมเพรสเซอร์ ของเครื่องทำความเย็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก
- ตลาดแคนาดา เมื่อสังเกตจากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ซึ่งมีมูลค่า 398.74 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.57 จากสินค้า 50 อันดับแรก ส่งออกไปแคนาดาพบว่ามีสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ได้แก่ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 310.13 รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 353.30 เครื่องโทรศัพท์ เครื่องตอบรับโทรศัพท์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 234.78 สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ ก๊อก วาวล์ และส่วนประกอบ (185.63%) เลนซ์ (129.62%) เคมีภัณฑ์ (106.76%) สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมสินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 40 ได้แก่ เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียง อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ
5.2 ทวีปยุโรป การส่งออกสินค้าไทยไปทวีปยุโรปในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 7,437.36 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.97
- สหภาพยุโรป (15) สินค้าไทยส่งออกไปสหภาพยุโรปในเดือน ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 6,200.16 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.76 จากสินค้าสำคัญ 50 อันดับแรกส่งออกไปตลาดนี้พบว่ามีสินค้าที่สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 50 มีหลายรายการ ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถจักรยานและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เตาไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ในขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 15 ได้แก่ เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์ และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ
- ยุโรปตะวันออก สินค้าไทยส่งออกไปยุโรปตะวันออกในเดือน ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 688.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.41 สินค้าที่สามารถขยายการส่งออกไปตลาดนี้ได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ข้าว เครื่องทำสำเนา แผงสวิทซ์และแผง- ควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียง อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์มัน-สำปะหลัง กระดาษและผลิตภัณฑ์ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว อาหารสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน
- ตลาดในยุโรปตะวันออกที่ไทยสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 100 ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ได้แก่ สาธารณรัฐสโลวัก เอสโตเนีย ลิทัวเนีย จอร์เจีย อาร์เซอร์ไบจาน แอลเบเนีย ทาจิกิสถาน คิร์กิชสถาน มอลโดวา ประเทศที่มีสถิติลดลง ได้แก่ ยูโกสลาเวีย เบลารุส อาร์เมเนีย เป็นต้น
5.3 เอเชียตะวันออก (ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้) การส่งออกสินค้าไทยไปยังเอเชียตะวันออกในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 14,498.61 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.74
- ญี่ปุ่น : การส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 5,783.95 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.05 จากสถิติสินค้าไทย 50 อันดับแรกส่งออกไปตลาดนี้มีสินค้าที่สามารถ ส่งออกได้เป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 100 คือ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เครื่องโทรศัพท์และเครื่องตอบรับโทรศัพท์ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า สินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ วงจรพิมพ์
- ไต้หวัน : การส่งออกสินค้าไทยไปไต้หวันในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 1,264.23 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.14 จากสถิติสินค้าไทยเป้าหมาย 50 อันดับแรกส่งออกไปตลาดนี้มี สินค้าที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์-การบิน ธัญพืช สิ่งทออื่นๆ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 60 ได้แก่ ยางพารา เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ผักกระป๋องและแปรรูป วงจรพิมพ์ สินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า
- เกาหลีใต้ : การส่งออกสินค้าไทยไปเกาหลีใต้ในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 929.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.05 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 50 อันดับแรกมี สินค้าที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ ทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เลนซ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ไก่แปรรูป หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียง อุปกรณ์ และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ สินค้าที่เพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 50 คือ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน น้ำตาลทราย สินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ แก้วและกระจก
5.4 อาเซียน(9) การส่งออกสินค้าไทยไปตลาดอาเซียนในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 9,424.00 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.30 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 50 รายการแรกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สูงกว่าร้อยละ 100 คือ น้ำตาลทราย กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ของเล่นสินค้า ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ ข้าว เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ อากาศยานและอุปกรณ์การบิน เครื่องจักรกลและส่วนประกอบสินค้าที่มีมูลค่าลดลง มากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ
- ตลาดในกลุ่มอาเซียนซึ่งไทยสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น 8 ตลาดและลดลง 1 ตลาด คือ สิงคโปร์ เนื่องจากมีสินค้าสำคัญส่งออกไปสิงคโปร์ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 มีหลายรายการ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องพักกระแสไฟฟ้า ส่วนประกอบที่ใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ เป็นต้น
5.5 จีนและฮ่องกง มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปจีนและฮ่องกงปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 6,465.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.32
- จีน : การส่งออกสินค้าไทยไปจีนในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 4,135.24 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.51 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปจีน 50 อันดับแรกมี สินค้า ที่สามารถขยายการส่งออกไปจีนได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ เครื่องพักกระแสไฟฟ้า หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกหนังอัด เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับให้สัญญาณเสียง ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ สินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 50 คือ เครื่องโทรศัพท์และเครื่องตอบรับโทรศัพท์ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า
- ฮ่องกง : การส่งออกสินค้าไทยไปฮ่องกงในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 2,329.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.16 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทย 50 อันดับแรกมีสินค้า เป้าหมายที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ แก้วและกระจก ไข่ไก่สด หนังสือและสิ่งพิมพ์สินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากว่าร้อยละ 30 ได้แก่ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ยางพารา เครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
5.6 อินเดีย การส่งออกสินค้าไทยไปอินเดียในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 756.09 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.08 จากสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ 50 อันดับแรก มีสินค้าที่ขยายการส่งออก ได้เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า หม้อแบทเตอรี่และส่วนประกอบ รถจักรยานและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ หลอดภาพโทรทัศน์สี เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน
6. โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ประกอบด้วย
1. สินค้าเกษตรกรรม ร้อยละ 9.77
2. สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ร้อยละ 6.63
3. สินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 77.74
4. สินค้าแร่และเชื้อเพลิงและอื่นๆ ร้อยละ 5.86
6.1 การส่งออกสินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม ประมงและปศุสัตว์) ในช่วงปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 4,463.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.88 ในขณะที่ปี 2549 ทั้งปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.50 จากสถิติการส่งออกไปยังตลาดหลัก 15 อันดับแรก พบว่า มีเพียง 1 ตลาด คือญี่ปุ่นที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 3.45 เนื่องจากการ ส่งออกยางพาราและข้าว ไปตลาดนี้ลดลงถึงร้อยละ 18.69 และ 1.13 ตามลำดับ และเมื่อดูจากสถิติการนำเข้า สินค้าสำคัญของญี่ปุ่นจากประเทศไทย ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) (จาก WTA : World Trade Atlas) พบว่า
ยางพารา (HS.4001) : ญี่ปุ่นนำเข้าจากไทย อันดับ 1 มูลค่า 308.611 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.02
อินโดนีเซีย อันดับ 2 มูลค่า 229.427 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.82
มาเลเซีย อันดับ 3 มูลค่า 8.472 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 43.00
เวียดนาม อันดับ 4 มูลค่า 8.245 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.18
ศรีลังกา อันดับ 5 มูลค่า 2.320 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.03
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าแหล่งนำเข้ายางพารา 5 อันดับแรกของญี่ปุ่นพบว่า ศรีลังกามีอัตราการขยายตัวสูงสุดคือร้อยละ 44.03 ในขณะที่ญี่ปุ่นนำเข้ายางพาราจากประเทศไทยเป็นอันดับ 1 แต่กลับมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 8.02
ข้าว (HS 1006) : ญี่ปุ่นนำเข้าจากสหรัฐฯ อันดับ 1 มูลค่า 128.454 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.83
จีน อันดับ 2 มูลค่า 29.948 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.56
ออสเตรเลีย อันดับ 3 มูลค่า 4.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.79
ไทย อันดับ 4 มูลค่า 15.820 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 25.39
เวียดนาม อันดับ 5 มูลค่า 10.591 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 148.44
จากสถิติจะเห็นได้ว่าเวียดนามเป็นประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดนี้ ทั้งนี้นอกจากเวียดนามจะได้เปรียบไทยในเรื่องค่าจ้างแรงงานที่ต่ำแล้ว เวียดนามยังได้เปรียบไทยในเรื่องความมั่นคงทางด้านการเมืองอีกด้วย
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 3,030.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.79 เมือสังเกตุจากสถิติการส่งออกไปตลาดสำคัญ 15 อันดับแรกพบว่า มีเพียง 1 ตลาดที่มีอัตราการขยายตัวลดลง ได้แก่ กัมพูชา ซึ่งลดลงเพียงร้อยละ .02 เนื่องจากการส่งออกน้ำตาลไปตลาดนี้ลดลงร้อยละ 61.83 ส่วนตลาดอินโดนีเซียและจีนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 248.26 และ 144.08 ตามลำดับ
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ น้ำตาลทราย สามารถส่งออกไปอินโดนีเซียซึ่งเป็นตลาดสำคัญได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 398.78 ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ สามารถส่งออกไป มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และอินเดีย ได้เพิ่มในอัตราสูง กุ้งกระป๋อง สามารถส่งออกไปสหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา และสหภาพยุโรป ได้เพิ่มขึ้นในอัตราสูง เป็นต้น
6.2 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในช่วงปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 35,528.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.09 สินค้าในหมวดนี้มีทั้งสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ระดับกลางและอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานในภาพรวมของการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ 15 อันดับแรก พบว่าสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นทุกตลาดดังนี้
- ตลาดที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ ออสเตรเลีย จีนและอินเดีย
- ตลาดที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ จีน ไต้หวัน เวียดนาม และเยอรมนี
- ตลาดที่สามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ และฟิลิปปินส์
- ตลาดที่ขยายการส่งออกได้น้อยกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ สหรัฐฯ ฮ่องกง อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักร
สินค้าอุตสาหกรรมที่สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ก๊อก วาวล์ และส่วนประกอบ ของเล่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และหนังสือและหนังสือพิมพ์
7. ข้อมูลเพิ่มเติม
7.1 หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ประจำองค์กรเพื่อความร่วมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) นายฟิลิปส์ โคตัส ระบุว่าเศรษฐกิจปี 2550 และ 2551 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นและยุโรปมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจะสามารถบรรเทาผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงประกอบกับเศรษฐกิจของจีนและอินเดียมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งนี้โออีซีดีคาดการณ์ว่าทั้งจีนและอินเดียซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของกลุ่มโออีซีดีแต่เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนเศรษฐกิจโลกอยู่มากนั้น โดยเศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 10 ไปจนถึงปี 2551 ขณะที่อินเดียจะชะลอตัวลงเล็กน้อยคือ ร้อยละ 8.5 ในปี 2550 และร้อยละ 8 ในปี 2551 ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับว่าตลาดในเอเซียนั้นมุ่งเน้นไปที่จีน อินเดีย และ อินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีตลาดน้องใหม่ล่าสุด ได้แก่ เวียดนาม ในขณะที่การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2550 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.5-4.5% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ของภูมิภาคเอเซียมาแล้ว 2 ปี และมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวต่ำกว่าเกณฑ์ไปอีก 2 ปีข้างหน้าด้วย
7.2 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าภายหลังการเปิดเสรีด้านการค้าของอาเซียนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบัน 99% ของสินค้าทั้งหมดของอาเซียนมีอัตราภาษีศุลกากรเหลือ 0-5% และจะลดลงเป็น 0% ในปี 2553 โดยอาเซียนกำลังก้าวสู่การเร่งรัดเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน โดยมุ่งเน้นใน 4 สาขาสำคัญ ได้แก่ 1.สาขาคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม 2.สาขาสุขภาพ 3.สาขาท่องเที่ยว 4.สาขาโลจิสติกส์ ซึ่งกำหนดให้บรรลุเป้าหมายการเปิดเสรีภาคบริการในปี 2553 ยกเว้นสาขาโลจิสติกส์ที่ยืดเวลาเปิดเสรีออกไปเป็นปี 2556 และเป้าหมายสุดท้ายของอาเซียน คือการเปิดเสรีภาคบริการอย่างเต็มรูปแบบทุกสาขาภายในปี 2558
7.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2551 ว่าจะมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) เติบโตในระดับร้อยละ 5 โดยเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มปรับฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากมูลค่าการส่งออกในเดือนเมษายน 2550 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และมีการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตที่สูงสุดในรอบ 22 เดือน ในขณะที่สมาชิกสภาหอการค้าไทยได้แสดงความเห็นในมุมกลับว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2550 มีแนวโน้มต่ำกว่าร้อยละ 4 ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองโดยรัฐบาลจะต้องใช้นโยบายควบคู่กับมาตรการกระตุ้นการค้าการลงทุนด้านต่างๆ อาทิ มาตรการด้านการเงิน การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นต้น นอกจากนี้ภาคเอกชนยังเห็นว่าภาคการส่งออกสินค้าไทยเพียงอย่างเดียวนั้น ยังมิใช่ปัจจัยที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงควรมุ่งเน้นที่มาตรการระยะสั้นที่แก้ปัญหาได้รวดเร็ว
7.4 ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) ระบุตัวเลข “ขอรับ” ส่งเสริมการลงทุนจำนวนทั้งสิ้น 451 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1.55 แสนล้านบาท แต่มีการ “อนุมัติ” การลงทุนจำนวน 426 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 1.98 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขการขอรับการส่งเสริมฯ ที่สูงกว่าในช่วงเดียวกับปี 2549 อย่างไรก็ตามเนื่องจากสถานการณ์ทางด้านการเมืองที่ยังคงไม่แน่นอน ส่งผลไปในทางลบมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบไปถึงเรื่องของการลงทุนที่ BOI ตั้งเป้าหมายการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2550 ไว้ที่ตัวเลข 500,000 ล้านบาท
7.5 ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement : EPA) มีลักษณะคล้ายกับข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) คือนอกเหนือจากการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่อยู่ในข้อตกลงแล้ว ยังได้รวมถึงความร่วมมือในสาขาต่างๆ ด้วย เช่น การร่วมทุน การลดอุปสรรคทางการค้า มาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี และการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ดังนั้น ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจจึงมีความหมายที่กว้างกว่าเขตการค้าเสรี ทั้งนี้การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้ากับญี่ปุ่น (JTEPPA) จะส่งผลให้สินค้าออกของไทยไปยังญี่ปุ่นขยายตัวมากขึ้น โดยการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น จะมีผลทางปฏิบัติก่อนสิ้นปี 2550 โดยสี่กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด ได้แก่ อาหาร (สินค้าเกษตรและประมง อาทิ ปลาหมึก กุ้ง ปลา และไก่ ทั้งแบบสด แช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง ยางพารา ผัก ผลไม้ ) สิ่งทอ อัญมณี และปิโตรเคมีด้วยเหตุนี้ ภาครัฐบาลจึงได้พยายามกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมทุกกลุ่มเรียนรู้และศึกษาอย่างละเอียด เพื่อประโยชน์สูงสุดที่ประเทศไทยจะได้รับ เนื่องจากขณะนี้ญี่ป่นกำลังเร่งเจรจาในลักษณะที่เจรจากับประเทศไทยในหลายประเทศในอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศอื่นๆ ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับประเทศไทยในอนาคต ทำให้ข้อได้เปรียบที่ได้เคยได้รับจาก JTEPPA ลดลง ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการจึงควรเร่งพัฒนาความสามารถและศักยถาพและสร้างเครือข่ายกับญี่ปุ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพราะในช่วงเวลานี้ไทยยังได้เปรียบคู่แข่งอยู่
7.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีระ สูตะบุตร ระบุว่า ระหว่างวันที่ 4-13 มิถุนายน 2550 คณะผู้แทนจากยูเออี (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)จะตรวจเยี่ยมและให้การรับรองระบบการตรวจสอบมาตรฐาน 2551 อาหารฮาลาลของไทย ภายหลังจากที่กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผลักดันมาตรฐานอาหารฮาลาลไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะประเทศกลุ่มมุสลิม โดยการนำหลักศาสนาบัญญัติอิสลามและหลักของความปลอดภัยอาหารตามมาตรฐานสากลมาบังคับใช้ ซึ่งนายธีระให้ความเห็นว่าหากการเข้ามาตรวจสอบรับรองครั้งนี้ผ่านความเห็นชอบมาตรฐาน ไทยจะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกไก่ในตลาดดังกล่าวประมาณ 10,000 ตันหรือ 700 ล้านบาท ประกอบกับจะสามารถขยายตลาดไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น ซาอุดิอาระเบีย โอมาน บาห์เรน คูเวต และอิหร่าน เป็นต้น ทั้งนี้นายธีระยังให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่าหากทุกฝ่ายร่วมมือกันผลักดันให้ธุรกิจอาหารฮาลาลไทยได้รับการยอมรับในกลุ่มผู้บริโภคชาวมุสลิมที่มีมากถึง 1,800 ล้านคน ใน 185 ประเทศมูลค่าการส่งออกอาหารฮาลาลของไทยก็จะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อย
7.7 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับประกาศของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องการกำหนดปริมาณสารตกค้างสูงสุดของยากำจัดศัตรูพืช ในสินค้าอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ซึ่งมีบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2550 ว่าการประกาศระเบียบสารตกค้างดังกล่าว มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ไปยังสหภาพยุโรปดังนั้นเพื่อป้องกันการถูกกักกันสินค้าผู้ประกอบการจะต้องให้ความสนใจและระมัดระวังต่อข้อกำหนดข้างต้น ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถดาวน์โลดระเบียบว่าด้วยการกำหนดปริมาณสารตกค้างสูงสุดของยากำจัดศัตรูพืชในสินค้าอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.moc.go.th
ที่มา: http://www.depthai.go.th