แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยบูรพา
โรงแรมคอนราด
ลดดอกเบี้ย
กรมศุลกากร
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการ
นโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 ไปอยู่ที่ร้อยละ 4 เนื่องจากการขยายตัวของจีดีพีไตรมาส 4 ปี 49 และอุปสงค์
ในประเทศช่วงเดือน ม.ค. และ ก.พ.50 ลดต่ำลงกว่าที่คาดไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทุนและการใช้จ่ายของภาคเอกชน เมื่อรวมกับแนวโน้ม
การส่งออกที่จะลดลงทำให้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำลงมีมากขึ้น ประกอบกับช่วงที่อัตราเงินเฟ้อยังสามารถทรงตัวอยู่ในระดับต่ำได้ต่อเนื่อง
เช่นปัจจุบันนี้ ความจำเป็นที่ต้องใช้นโยบายการเงินในการดูแลกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจจึงมีมากขึ้น และที่สำคัญการปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นเหมือน
ปัจจัยบวกท่ามกลางปัจจัยลบจำนวนมากของเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้คนที่ลังเลในการใช้จ่ายและลงทุนตัดสินใจได้ดีขึ้น ทั้งนี้ สัญญาณที่ทำให้ตัดสินใจลดดอกเบี้ย
ร้อยละ 0.5 นั้น ให้น้ำหนักในการกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามากกว่าเงินเฟ้อ เพราะเห็นว่าใน 8 ไตรมาส หรือ 2 ปีข้างหน้า
อัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในเป้าหมายร้อยละ 0 — 3.5 แม้ว่าราคาน้ำมันโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยของไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.4
ส่วนสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินยังเป็นแนวโน้มผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะลดดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีกในอนาคต ด้าน ธ.พาณิชย์น่าจะ
ปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีกหลังจากที่ ธปท. ลดดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่ต้นปีมาแล้วรวมร้อยละ 1 โดยคาดว่าจะมีผลต่อดอกเบี้ยเงินฝากก่อน ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ที่
ธ.พาณิชย์เพิ่งลดลงเพียงร้อยละ 0.25 เชื่อว่าจะมีการลดลงเร็วขึ้น ในขณะที่ ธปท. จะมีการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้
ว่าจะมีผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทยอย่างไร สามารถเพิ่มการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนได้มากน้อยแค่ไหน รวมทั้งประเมินภาพรวม เพื่อปรับการ
ประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่อีกครั้ง (ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. การลงทุนช่วง 2 เดือนแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 77 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
เปิดเผยว่า การลงนามในข้อตกลงทางหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจและเป็นการเพิ่มบรรยากาศทางการลงทุนในประเทศไทย
โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศประมาณ 75,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 77 ที่มีมูลค่า
44,000 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นสัดส่วนนักลงทุนจากญี่ปุ่นมากที่สุดร้อยละ 60-70 และหลังจากการเริ่มใช้ข้อตกลงประมาณช่วงเดือน ส.ค.นี้ คาดว่า
จะทำให้สัดส่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีบริษัทผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 20 บริษัท เข้ามาขอข้อมูลเพื่อต้องการลงทุนในประเทศไทย (โลกวันนี้)
3. ก.คลังเตรียมแก้ไขปัญหาการขึ้นบัญชีดำในเครดิตบูโร นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธาน
คณะกรรมาธิการการคลัง เปิดเผยว่า กมธ.การคลังมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการขึ้นบัญชีดำในกฎหมายเครดิตบูโร เพราะเห็นว่ากฎหมายดังกล่าว
ส่งผลต่อประชาชนโดยทั่วไปแบบเกินขอบเขต เหมือนกับว่าเป็นผู้มีประวัติอาชญากรรมหรือติดคุก จนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตทั้งที่เป็น
หนี้บัตรเครดิตด้วยจำนวนเงินไม่มาก โดยจะมีการระดมความคิดเห็นและแนวทางแก้ไขเพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในบัญชีดำให้ได้รับความยุติธรรม เพราะแม้ว่า
กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาของการขึ้นบัญชีดำไว้เป็นเวลา 3 ปี แต่ในทางปฏิบัติแม้ว่าสถาบันการเงินจะลบรายชื่อออกจากแฟ้มประวัติเครดิตบูโร
แต่สถาบันการเงินอื่นก็ไม่ยอมรับ เพราะเห็นว่าเป็นผู้มีประวัติเสีย ทั้งที่ลูกหนี้เหล่านี้อาจมีปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจไม่ได้เกิดจากความประพฤติ ซึ่งจากการ
ศึกษาข้อมูลพบว่าปัจจุบันจำนวนลูกหนี้ที่มีรายชื่ออยู่ในเครดิตบูโรมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปี 49 เพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่า และหากไม่มีการแก้ไข
อาจทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นปัญหาและภาระกับสังคมในอนาคต (โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังออกพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นที่ 7 อายุ 3 ปี วงเงิน 500 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 4 นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหาร
หนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ก.คลังจะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ครั้งที่ 7 รุ่นอายุ 3 ปี วงเงิน 500 ล้านบาท ในวันที่ 17-26 เม.ย.นี้ ที่ ธ.กรุงเทพทุกสาขา
โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 4.00 ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สะท้อนภาวะตลาดได้ดี สำหรับการออกพันธบัตรออมทรัพย์ของ ก.คลัง เพื่อชดเชยความ
เสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ ในปีนี้จะออกเดือนละ 500 ล้านบาท วงเงินรวมทั้งสิ้น 6 พันล้านบาท จ่ายผลตอบแทนปีละ 2 ครั้ง ขณะนี้ได้ออกจำหน่ายแล้ว
3.5 พันล้านบาท (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซนทั้งในปีนี้และปีหน้า รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 50 ตามรายงาน
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในปีนี้ และปีหน้าจาก
ร้อยละ 2.0 ที่คาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือน ก.ย. เป็นร้อยละ 2.3 และเห็นว่ามีความจำเป็นที่ธ.กลางยุโรปจะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.0
ในราวฤดูร้อนนี้เพื่อรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายที่กำหนด แม้ว่าในปีนี้เศรษฐกิจยุโรปจะชะลอตัวเล็กน้อยหลังจากที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเมื่อปีที่แล้ว
ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วเศรษฐกิจของ 13 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรขยายตัวร้อยละ 2.6 ส่วนในปีนี้และปีหน้ามีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจของยูโรโซนจะเติบโตมากกว่า
ร้อยละ 2.3 เนื่องจากต้นปีนี้เศรษฐกิจได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการบริโภคของเยอรมนีจะชะลอลงจากการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราใหม่ที่ได้ส่งผลกระทบ
ต่อการใช้จ่ายบริโภคในเดือน ม.ค. จึงมีความเป็นไปได้ที่ธ.กลางยุโรปจะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกหลังจากที่ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 3.75 เมื่อ
เดือน มี.ค. เพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อจากการสูงขึ้นของระดับราคาหากเศรษฐกิจขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้(รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน มี.ค.50 ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 11 เม.ย.50 ผลสำรวจ
ยอดขายของร้านค้าปลีกโดยกลุ่มผู้ค้าปลีกของอังกฤษปรากฎว่ายอดค้าปลีกในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 สูงขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในเดือน ก.พ.50
และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปีนับตั้งแต่เดือน เม.ย.49 ส่งผลให้ยอดค้าปลีกเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.5
จากร้อยละ 3.0 ในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.พ.50 และอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่
ร้อยละ 3.1 สูงสุดในรอบ 4 ปี สอดคล้องกับผลสำรวจความคาดหวังของผู้ค้าปลีกในช่วง 3 เดือนแรกของปี 50 ที่เกือบครึ่งของผู้ถูกสำรวจมองแนวโน้ม
ในทางบวกเทียบกับผลสำรวจในช่วงเวลาเดียวกันของปี 49 ที่มีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ถูกสำรวจที่มองแนวโน้มยอดขายปลีกของตนในทางบวก นักเศรษฐศาสตร์
หลายคนจึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเดือน พ.ค.50 หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 3 ครั้งนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 (รอยเตอร์)
3. ผลการสำรวจพบว่าราคาบ้านอังกฤษปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มี.ค.50 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 12 เม.ย.50 The Royal
Institution of Chartered Surveyors (RICS) เปิดเผยผลการสำรวจราคาบ้านในอังกฤษซึ่งพบว่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ +25.5 ในช่วง 3 เดือน
สิ้นสุดเดือน มี.ค.50 จากระดับ +24.8 ในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.พ.50 สูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ +20 สะท้อนว่า
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านอังกฤษ โดยราคาบ้านในไอร์แลนด์เหนือ สก๊อตแลนด์และลอนดอน ขยายตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
เช่นเดียวกับจำนวนบ้านที่ขายไม่ออกก็ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 47 ขณะที่สัดส่วนบ้านที่ขายแล้วเทียบกับจำนวนบ้านที่มีอยู่เพื่อขาย ซึ่งเป็นดัชนีที่บรรดา
นักวิเคราะห์ใช้ในการประเมินการขยายตัวของตลาดบ้าน เพิ่มขึ้นที่ระดับ 47.8 จากระดับ 46.9 สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี ทั้งนี้ RICS เชื่อมั่นว่าราคาบ้าน
อังกฤษไม่น่าจะชะลอตัวในระยะเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังคงอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัว อนึ่ง ธ.กลางอังกฤษได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยโยบาย
ถึง 3 ครั้งนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 เป็นต้นมา เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดหมายว่า ธ.กลางอังกฤษอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
ที่ระดับร้อยละ 5.5 ในการประชุมเดือนหน้า (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 4.50 รายงานจากโซลเมื่อ 12 เม.ย.50 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า
คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 4.50 ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมเป็นเวลา 8 เดือนต่อเนื่อง
หลังจากการปรับเพิ่มครั้งล่าสุดร้อยละ 0.25 เมื่อเดือน ส.ค.49 และเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า จะมีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้
ที่ระดับเดิมต่อไป ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์เปิดเผยว่า ธ.กลางเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะขยายตัวชะลอลงในปีนี้
โดยมีสาเหตุจากภาวะเงินเฟ้อซึ่งต่ำกว่าระดับเป้าหมายของ ธ.กลางเกาหลีใต้ที่ร้อยละ 2.5-3.5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 เม.ย. 50 11 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.979 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7580/35.0944 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.30234 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 695.10/9.27 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 11,100/11,200 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 61.4 60.89 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.79*/24.94* 28.79*/24.94* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการ
นโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 ไปอยู่ที่ร้อยละ 4 เนื่องจากการขยายตัวของจีดีพีไตรมาส 4 ปี 49 และอุปสงค์
ในประเทศช่วงเดือน ม.ค. และ ก.พ.50 ลดต่ำลงกว่าที่คาดไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทุนและการใช้จ่ายของภาคเอกชน เมื่อรวมกับแนวโน้ม
การส่งออกที่จะลดลงทำให้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำลงมีมากขึ้น ประกอบกับช่วงที่อัตราเงินเฟ้อยังสามารถทรงตัวอยู่ในระดับต่ำได้ต่อเนื่อง
เช่นปัจจุบันนี้ ความจำเป็นที่ต้องใช้นโยบายการเงินในการดูแลกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจจึงมีมากขึ้น และที่สำคัญการปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นเหมือน
ปัจจัยบวกท่ามกลางปัจจัยลบจำนวนมากของเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้คนที่ลังเลในการใช้จ่ายและลงทุนตัดสินใจได้ดีขึ้น ทั้งนี้ สัญญาณที่ทำให้ตัดสินใจลดดอกเบี้ย
ร้อยละ 0.5 นั้น ให้น้ำหนักในการกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามากกว่าเงินเฟ้อ เพราะเห็นว่าใน 8 ไตรมาส หรือ 2 ปีข้างหน้า
อัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในเป้าหมายร้อยละ 0 — 3.5 แม้ว่าราคาน้ำมันโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยของไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.4
ส่วนสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินยังเป็นแนวโน้มผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะลดดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีกในอนาคต ด้าน ธ.พาณิชย์น่าจะ
ปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีกหลังจากที่ ธปท. ลดดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่ต้นปีมาแล้วรวมร้อยละ 1 โดยคาดว่าจะมีผลต่อดอกเบี้ยเงินฝากก่อน ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ที่
ธ.พาณิชย์เพิ่งลดลงเพียงร้อยละ 0.25 เชื่อว่าจะมีการลดลงเร็วขึ้น ในขณะที่ ธปท. จะมีการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้
ว่าจะมีผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทยอย่างไร สามารถเพิ่มการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนได้มากน้อยแค่ไหน รวมทั้งประเมินภาพรวม เพื่อปรับการ
ประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่อีกครั้ง (ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. การลงทุนช่วง 2 เดือนแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 77 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
เปิดเผยว่า การลงนามในข้อตกลงทางหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจและเป็นการเพิ่มบรรยากาศทางการลงทุนในประเทศไทย
โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศประมาณ 75,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 77 ที่มีมูลค่า
44,000 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นสัดส่วนนักลงทุนจากญี่ปุ่นมากที่สุดร้อยละ 60-70 และหลังจากการเริ่มใช้ข้อตกลงประมาณช่วงเดือน ส.ค.นี้ คาดว่า
จะทำให้สัดส่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีบริษัทผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 20 บริษัท เข้ามาขอข้อมูลเพื่อต้องการลงทุนในประเทศไทย (โลกวันนี้)
3. ก.คลังเตรียมแก้ไขปัญหาการขึ้นบัญชีดำในเครดิตบูโร นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธาน
คณะกรรมาธิการการคลัง เปิดเผยว่า กมธ.การคลังมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการขึ้นบัญชีดำในกฎหมายเครดิตบูโร เพราะเห็นว่ากฎหมายดังกล่าว
ส่งผลต่อประชาชนโดยทั่วไปแบบเกินขอบเขต เหมือนกับว่าเป็นผู้มีประวัติอาชญากรรมหรือติดคุก จนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตทั้งที่เป็น
หนี้บัตรเครดิตด้วยจำนวนเงินไม่มาก โดยจะมีการระดมความคิดเห็นและแนวทางแก้ไขเพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในบัญชีดำให้ได้รับความยุติธรรม เพราะแม้ว่า
กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาของการขึ้นบัญชีดำไว้เป็นเวลา 3 ปี แต่ในทางปฏิบัติแม้ว่าสถาบันการเงินจะลบรายชื่อออกจากแฟ้มประวัติเครดิตบูโร
แต่สถาบันการเงินอื่นก็ไม่ยอมรับ เพราะเห็นว่าเป็นผู้มีประวัติเสีย ทั้งที่ลูกหนี้เหล่านี้อาจมีปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจไม่ได้เกิดจากความประพฤติ ซึ่งจากการ
ศึกษาข้อมูลพบว่าปัจจุบันจำนวนลูกหนี้ที่มีรายชื่ออยู่ในเครดิตบูโรมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปี 49 เพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่า และหากไม่มีการแก้ไข
อาจทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นปัญหาและภาระกับสังคมในอนาคต (โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังออกพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นที่ 7 อายุ 3 ปี วงเงิน 500 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 4 นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหาร
หนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ก.คลังจะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ครั้งที่ 7 รุ่นอายุ 3 ปี วงเงิน 500 ล้านบาท ในวันที่ 17-26 เม.ย.นี้ ที่ ธ.กรุงเทพทุกสาขา
โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 4.00 ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สะท้อนภาวะตลาดได้ดี สำหรับการออกพันธบัตรออมทรัพย์ของ ก.คลัง เพื่อชดเชยความ
เสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ ในปีนี้จะออกเดือนละ 500 ล้านบาท วงเงินรวมทั้งสิ้น 6 พันล้านบาท จ่ายผลตอบแทนปีละ 2 ครั้ง ขณะนี้ได้ออกจำหน่ายแล้ว
3.5 พันล้านบาท (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซนทั้งในปีนี้และปีหน้า รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 50 ตามรายงาน
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในปีนี้ และปีหน้าจาก
ร้อยละ 2.0 ที่คาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือน ก.ย. เป็นร้อยละ 2.3 และเห็นว่ามีความจำเป็นที่ธ.กลางยุโรปจะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.0
ในราวฤดูร้อนนี้เพื่อรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายที่กำหนด แม้ว่าในปีนี้เศรษฐกิจยุโรปจะชะลอตัวเล็กน้อยหลังจากที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเมื่อปีที่แล้ว
ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วเศรษฐกิจของ 13 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรขยายตัวร้อยละ 2.6 ส่วนในปีนี้และปีหน้ามีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจของยูโรโซนจะเติบโตมากกว่า
ร้อยละ 2.3 เนื่องจากต้นปีนี้เศรษฐกิจได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการบริโภคของเยอรมนีจะชะลอลงจากการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราใหม่ที่ได้ส่งผลกระทบ
ต่อการใช้จ่ายบริโภคในเดือน ม.ค. จึงมีความเป็นไปได้ที่ธ.กลางยุโรปจะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกหลังจากที่ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 3.75 เมื่อ
เดือน มี.ค. เพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อจากการสูงขึ้นของระดับราคาหากเศรษฐกิจขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้(รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน มี.ค.50 ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 11 เม.ย.50 ผลสำรวจ
ยอดขายของร้านค้าปลีกโดยกลุ่มผู้ค้าปลีกของอังกฤษปรากฎว่ายอดค้าปลีกในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 สูงขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในเดือน ก.พ.50
และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปีนับตั้งแต่เดือน เม.ย.49 ส่งผลให้ยอดค้าปลีกเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.5
จากร้อยละ 3.0 ในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.พ.50 และอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่
ร้อยละ 3.1 สูงสุดในรอบ 4 ปี สอดคล้องกับผลสำรวจความคาดหวังของผู้ค้าปลีกในช่วง 3 เดือนแรกของปี 50 ที่เกือบครึ่งของผู้ถูกสำรวจมองแนวโน้ม
ในทางบวกเทียบกับผลสำรวจในช่วงเวลาเดียวกันของปี 49 ที่มีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ถูกสำรวจที่มองแนวโน้มยอดขายปลีกของตนในทางบวก นักเศรษฐศาสตร์
หลายคนจึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเดือน พ.ค.50 หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 3 ครั้งนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 (รอยเตอร์)
3. ผลการสำรวจพบว่าราคาบ้านอังกฤษปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มี.ค.50 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 12 เม.ย.50 The Royal
Institution of Chartered Surveyors (RICS) เปิดเผยผลการสำรวจราคาบ้านในอังกฤษซึ่งพบว่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ +25.5 ในช่วง 3 เดือน
สิ้นสุดเดือน มี.ค.50 จากระดับ +24.8 ในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.พ.50 สูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ +20 สะท้อนว่า
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านอังกฤษ โดยราคาบ้านในไอร์แลนด์เหนือ สก๊อตแลนด์และลอนดอน ขยายตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
เช่นเดียวกับจำนวนบ้านที่ขายไม่ออกก็ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 47 ขณะที่สัดส่วนบ้านที่ขายแล้วเทียบกับจำนวนบ้านที่มีอยู่เพื่อขาย ซึ่งเป็นดัชนีที่บรรดา
นักวิเคราะห์ใช้ในการประเมินการขยายตัวของตลาดบ้าน เพิ่มขึ้นที่ระดับ 47.8 จากระดับ 46.9 สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี ทั้งนี้ RICS เชื่อมั่นว่าราคาบ้าน
อังกฤษไม่น่าจะชะลอตัวในระยะเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังคงอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัว อนึ่ง ธ.กลางอังกฤษได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยโยบาย
ถึง 3 ครั้งนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 เป็นต้นมา เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดหมายว่า ธ.กลางอังกฤษอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
ที่ระดับร้อยละ 5.5 ในการประชุมเดือนหน้า (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 4.50 รายงานจากโซลเมื่อ 12 เม.ย.50 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า
คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 4.50 ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมเป็นเวลา 8 เดือนต่อเนื่อง
หลังจากการปรับเพิ่มครั้งล่าสุดร้อยละ 0.25 เมื่อเดือน ส.ค.49 และเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า จะมีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้
ที่ระดับเดิมต่อไป ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์เปิดเผยว่า ธ.กลางเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะขยายตัวชะลอลงในปีนี้
โดยมีสาเหตุจากภาวะเงินเฟ้อซึ่งต่ำกว่าระดับเป้าหมายของ ธ.กลางเกาหลีใต้ที่ร้อยละ 2.5-3.5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 เม.ย. 50 11 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.979 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7580/35.0944 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.30234 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 695.10/9.27 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 11,100/11,200 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 61.4 60.89 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.79*/24.94* 28.79*/24.94* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--