กรุงเทพ--27 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มากล่าวเปิดการสัมมนาในวันนี้ การสัมมนาครั้งนี้มีความสำคัญมิใช่น้อย อันที่จริงก็ไม่เชิงเป็นการสัมมนาตามปกติ เพราะครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรึกษาหารือและรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของอาเซียนในประเทศไทย ซึ่งรวมทั้งภาคเอกชน นักวิชาการ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน นักศึกษาตลอดจนประชาชนที่มีความสนใจในวาระที่จะมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาของอาเซียน อันได้แก่ การยกร่างกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ผมรู้สึกยินดีที่มีผู้สนใจในกระบวนการนี้เป็นอย่างมากพอสมควร และขอขอบคุณท่านอธิบดี กรมอาเซียนที่ได้กรุณารายงานให้ทราบถึงความเป็นมาและความคืบหน้าของกระบวนการยกร่างกฎบัตรอาเซียน ทั้งในส่วนของอาเซียนและของไทยเราเอง
ในชั้นนี้ ผมขอปูพื้นฐานในภาพรวมบางประการ ในฐานะที่ผมได้ปฏิบัติงานด้านการทูตมาเป็นเวลานาน จึงมีโอกาสได้เห็น ได้ติดตาม และวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมของโลกและภูมิภาคมาโดยตลอด ในช่วงเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ข้อนี้หลายๆ ท่าน คงจะเห็นด้วย อาเซียนเป็นองค์การระดับภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จมากองค์กรหนึ่ง จนเป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ อาเซียนได้มีส่วนเกื้อกูลบรรยากาศของสันติภาพ ความเป็นมิตรและการอยู่ร่วมกันของประเทศในภูมิภาคในช่วงสงครามเย็น อาเซียนได้แสดงบทบาทชั้นนำในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา การจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) ไปจนถึงการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนที่ตั้งเป้าหมายว่าจะบรรลุผลในปี 2553 (ค.ศ.2010) หรือ 3 ปีนับจากนี้ และการริเริ่มกับมีบทบาทเป็นแกนนำในเวทีต่างๆ อาทิ ARF APEC ASEAN+3 ASEAN+1 และ EAS หรือ East Asia Summit
บทบาทในทางสร้างสรรค์เหล่านี้สะท้อนการปรับตัวของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง บางอย่างจะไม่เห็นเด่นชัดเป็นรูปธรรม แต่เมื่อย้อนดูอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่า ได้ช่วยป้องกันความขัดแย้ง และเอื้ออำนวยให้ประเทศสมาชิกสามารถมุ่งพัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในของตน ซึ่งไทยก็ได้รับประโยชน์จากความสำเร็จนี้ของอาเซียน
ในปัจจุบันนี้ บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แม้โลกจะไม่ได้เผชิญกับสงครามเย็นดังเช่นในอดีต แต่ภัยคุกคามต่อความมั่นคงและความเป็นอยู่ของประชาชนในรูปแบบที่เปลี่ยนไปก็ได้บังเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและต้องการความร่วมมือร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผล อาทิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาโรคระบาดร้ายแรง ภาวะโลกร้อน ความมั่นคงทางพลังงาน ปัญหาการก่อการร้าย การค้ามนุษย์ ฯลฯ ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่มีพรมแดนขวางกั้น
ในด้านเศรษฐกิจ ความผันผวนในภาคเศรษฐกิจมหภาคต่างๆ ได้มีผลให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง การเจรจาการค้าพหุภาคีก็ประสบความชะงักงัน ดังจะเห็นได้จากสถานะปัจจุบันของการเจรจารอบโดฮาภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อการเจรจาการค้าหลายฝ่ายระดับโลกไม่อาจคืบหน้าได้ หลายประเทศจึงได้เลือกเจรจาเปิดเสรีทางการค้าในระดับทวิภาคีและภูมิภาค เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ขณะเดียวกัน จีนและอินเดียก็ทวีความสำคัญในเวทีระหว่างประเทศและในภูมิภาค ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งเริ่มขึ้นที่นี่ ปัญหา ก็คือ อาเซียนจะวางตัวเป็นเช่นไร
อาเซียนเองก็ต้องรับมือกับความท้าทายหลายประการ การขยายสมาชิกภาพจาก 6 เป็น 10 ประเทศ เพิ่มความหลากหลายของผลประโยชน์ ความแตกต่างของระดับการพัฒนาอันจำที่จะต้องช่วยกันขจัดความเหลื่อมล้ำที่ยังมีอยู่ ขณะเดียวกัน ก็มีแต่ปัจจัยที่กระทบต่อประสิทธิภาพขององค์กร เช่น การที่อาเซียนยังมิใช่องค์กรที่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ การที่ประเทศสมาชิกอาจจะละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โดยอาเซียนไม่มีกลไกที่จะบังคับให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตกลงกันไว้ การประชุมที่มีจำนวนมากและกระจัดกระจายขาดเอกภาพ ทำให้เสมือนเป็นเพียงเวทีพูด (talk shop) และที่สำคัญที่สุด คือ ปัญหาของอาเซียนในการเป็นองค์กรที่ยังไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน หรือไกลตัวประชาชน
ด้วยสภาวการณ์เหล่านี้ อาเซียนจึงจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้ความดำรงอยู่ของอาเซียนและความร่วมมือที่ปัจจุบันมีอยู่หลากหลายสาขาและการประชุมกันในระดับต่างๆ มากมายสามารถตอบสนอง และนำมาซึ่งประโยชน์แก่ประชาชนของประเทศสมาชิกมากขึ้น สร้างขีดความสามารถของภูมิภาคในการแก้ไขปัญหาท้าทายที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันและความท้าทายใหม่ๆ ที่จะมีมา เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและอำนาจต่อรองกับภูมิภาคอื่นให้มากขึ้น รวมทั้งให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการความร่วมมือของอาเซียนอย่างแท้จริง ในความเห็นของผม อาเซียนเป็นเช่นนี้ เพราะได้เติบโตมาโดยขาดแนวทางสู่เป้าหมายที่แน่ชัด ภายในกรอบเวลาอันแน่นอน แต่บัดนี้ เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า อาเซียนจะแปรสภาพเป็นประชาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวางระบบในด้านต่างๆ จึงจำเป็น
การจัดทำกฎบัตรอาเซียนเป็นเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลอาเซียนเชื่อว่าจะช่วยทำให้อาเซียนในฐานะองค์กร สามารถแก้ไขปัญหาที่ได้แจกแจงมาเหล่านี้ได้ เพราะในขณะนี้อาเซียนกำลังก้าวไปสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนทั้งในด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม
กฎบัตรที่กำลังยกร่างอยู่นี้จะไม่ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรเหนือรัฐ (supra-national body) ในลักษณะของสหภาพยุโรป แต่กฎบัตรจะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (inter-governmental body) โดยจะเป็นเสมือนธรรมนูญที่วางกรอบให้อาเซียนมีกฎเกณฑ์ในการทำงานและบริหารกลไกความร่วมมือระหว่างกันอย่างเป็นระบบ เป็นองค์กรที่มีโครงสร้างและกลไกที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งรวมถึงปัญหาที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยมีการประสานงานกันระหว่างกลไกที่รับผิดชอบด้านต่างๆ อย่างมีเอกภาพ มีการติดตามผลการปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ตกลงกัน ซึ่งจะทำให้นโยบายและข้อตกลงต่างๆ เกิดประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกและประชาชน รวมทั้งเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นเป้าหมาย มีกลไกที่เปิดให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้มีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากอาเซียน ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ต่างจากหลักการของสหประชาชาติเท่าใดนัก เพียงแต่ขอบข่ายของอาเซียนจำกัดกว่า เพราะเป็นเพียงระดับภูมิภาค มิใช่ระดับสากล
การสร้างประชาคมอาเซียนเป็นกระบวนการที่จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนในภาคส่วนต่างๆ ของไทยในอนาคต กระบวนการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จมิได้ หากไม่ได้รับการยอมรับและความร่วมมือที่แข็งขันจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
ดังนั้น บทบาทของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ รัฐสภา ภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการยกร่างกฎบัตรอาเซียนนี้จึงมีความสำคัญ ที่จะนำอาเซียนก้าวย่างต่อไปสู่ความเป็นประชาคม
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ร่างกฎบัตรอาเซียนที่คณะทำงานของรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังยกร่างอยู่นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ แต่เป็นการต่อยอดจากหลักการ ปฏิญญาและข้อตกลงที่อาเซียนได้ทำร่วมกันมาหลายทศวรรษ และผ่านกระบวนการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะโดยผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศสมาชิกในช่วงปีกว่าที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของไทย คือ ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
การสัมมนาในวันนี้ก็เช่นกัน แม้เป็นการจัดเป็นครั้งแรกของกระทรวงการต่างประเทศ แต่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คณะทำงานยกร่างกฎบัตรอาเซียนไปปรึกษาหารือกับภาคส่วนต่างๆ
ในช่วงของการทำงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนเอง ก็ได้มีการจัดหารือกับผู้นำ รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา นักวิชาการ และภาคประชาสังคม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศสมาชิกอื่นของอาเซียนและสหภาพยุโรปด้วย ตามที่ผมได้รับแจ้งมา การสัมมนาครั้งนี้จะไม่ใช่ครั้งเดียวที่กระทรวงการต่างประเทศจะจัดขึ้น
หัวข้อของการสัมมนา ได้แก่ “กฎบัตรอาเซียน เส้นทางให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของอาเซียน” ที่กำหนดไว้เช่นนี้ ก็ด้วยความตั้งใจที่จะระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับลู่ทางที่จะสร้างให้อาเซียนเป็นองค์กรที่เน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งหมายถึงการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมและได้รับประโยชน์จากกระบวนการสร้างดังกล่าว ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากท่านผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้แทนจากองค์กรเอกชน สื่อมวลชนที่มีความสนใจและได้ติดตามพัฒนาการกระบวนการยกร่างกฎบัตรอาเซียนในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และทัศนะของประชาชนต่อกลไกด้านสิทธิมนุษยชน ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอันจะสะท้อนถึงเป้าหมายของการสร้างประชาคมอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียนอย่างแท้จริง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มากล่าวเปิดการสัมมนาในวันนี้ การสัมมนาครั้งนี้มีความสำคัญมิใช่น้อย อันที่จริงก็ไม่เชิงเป็นการสัมมนาตามปกติ เพราะครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรึกษาหารือและรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของอาเซียนในประเทศไทย ซึ่งรวมทั้งภาคเอกชน นักวิชาการ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน นักศึกษาตลอดจนประชาชนที่มีความสนใจในวาระที่จะมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาของอาเซียน อันได้แก่ การยกร่างกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ผมรู้สึกยินดีที่มีผู้สนใจในกระบวนการนี้เป็นอย่างมากพอสมควร และขอขอบคุณท่านอธิบดี กรมอาเซียนที่ได้กรุณารายงานให้ทราบถึงความเป็นมาและความคืบหน้าของกระบวนการยกร่างกฎบัตรอาเซียน ทั้งในส่วนของอาเซียนและของไทยเราเอง
ในชั้นนี้ ผมขอปูพื้นฐานในภาพรวมบางประการ ในฐานะที่ผมได้ปฏิบัติงานด้านการทูตมาเป็นเวลานาน จึงมีโอกาสได้เห็น ได้ติดตาม และวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมของโลกและภูมิภาคมาโดยตลอด ในช่วงเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ข้อนี้หลายๆ ท่าน คงจะเห็นด้วย อาเซียนเป็นองค์การระดับภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จมากองค์กรหนึ่ง จนเป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ อาเซียนได้มีส่วนเกื้อกูลบรรยากาศของสันติภาพ ความเป็นมิตรและการอยู่ร่วมกันของประเทศในภูมิภาคในช่วงสงครามเย็น อาเซียนได้แสดงบทบาทชั้นนำในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา การจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) ไปจนถึงการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนที่ตั้งเป้าหมายว่าจะบรรลุผลในปี 2553 (ค.ศ.2010) หรือ 3 ปีนับจากนี้ และการริเริ่มกับมีบทบาทเป็นแกนนำในเวทีต่างๆ อาทิ ARF APEC ASEAN+3 ASEAN+1 และ EAS หรือ East Asia Summit
บทบาทในทางสร้างสรรค์เหล่านี้สะท้อนการปรับตัวของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง บางอย่างจะไม่เห็นเด่นชัดเป็นรูปธรรม แต่เมื่อย้อนดูอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่า ได้ช่วยป้องกันความขัดแย้ง และเอื้ออำนวยให้ประเทศสมาชิกสามารถมุ่งพัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในของตน ซึ่งไทยก็ได้รับประโยชน์จากความสำเร็จนี้ของอาเซียน
ในปัจจุบันนี้ บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แม้โลกจะไม่ได้เผชิญกับสงครามเย็นดังเช่นในอดีต แต่ภัยคุกคามต่อความมั่นคงและความเป็นอยู่ของประชาชนในรูปแบบที่เปลี่ยนไปก็ได้บังเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและต้องการความร่วมมือร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผล อาทิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาโรคระบาดร้ายแรง ภาวะโลกร้อน ความมั่นคงทางพลังงาน ปัญหาการก่อการร้าย การค้ามนุษย์ ฯลฯ ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่มีพรมแดนขวางกั้น
ในด้านเศรษฐกิจ ความผันผวนในภาคเศรษฐกิจมหภาคต่างๆ ได้มีผลให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง การเจรจาการค้าพหุภาคีก็ประสบความชะงักงัน ดังจะเห็นได้จากสถานะปัจจุบันของการเจรจารอบโดฮาภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อการเจรจาการค้าหลายฝ่ายระดับโลกไม่อาจคืบหน้าได้ หลายประเทศจึงได้เลือกเจรจาเปิดเสรีทางการค้าในระดับทวิภาคีและภูมิภาค เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ขณะเดียวกัน จีนและอินเดียก็ทวีความสำคัญในเวทีระหว่างประเทศและในภูมิภาค ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งเริ่มขึ้นที่นี่ ปัญหา ก็คือ อาเซียนจะวางตัวเป็นเช่นไร
อาเซียนเองก็ต้องรับมือกับความท้าทายหลายประการ การขยายสมาชิกภาพจาก 6 เป็น 10 ประเทศ เพิ่มความหลากหลายของผลประโยชน์ ความแตกต่างของระดับการพัฒนาอันจำที่จะต้องช่วยกันขจัดความเหลื่อมล้ำที่ยังมีอยู่ ขณะเดียวกัน ก็มีแต่ปัจจัยที่กระทบต่อประสิทธิภาพขององค์กร เช่น การที่อาเซียนยังมิใช่องค์กรที่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ การที่ประเทศสมาชิกอาจจะละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โดยอาเซียนไม่มีกลไกที่จะบังคับให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตกลงกันไว้ การประชุมที่มีจำนวนมากและกระจัดกระจายขาดเอกภาพ ทำให้เสมือนเป็นเพียงเวทีพูด (talk shop) และที่สำคัญที่สุด คือ ปัญหาของอาเซียนในการเป็นองค์กรที่ยังไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน หรือไกลตัวประชาชน
ด้วยสภาวการณ์เหล่านี้ อาเซียนจึงจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้ความดำรงอยู่ของอาเซียนและความร่วมมือที่ปัจจุบันมีอยู่หลากหลายสาขาและการประชุมกันในระดับต่างๆ มากมายสามารถตอบสนอง และนำมาซึ่งประโยชน์แก่ประชาชนของประเทศสมาชิกมากขึ้น สร้างขีดความสามารถของภูมิภาคในการแก้ไขปัญหาท้าทายที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันและความท้าทายใหม่ๆ ที่จะมีมา เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและอำนาจต่อรองกับภูมิภาคอื่นให้มากขึ้น รวมทั้งให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการความร่วมมือของอาเซียนอย่างแท้จริง ในความเห็นของผม อาเซียนเป็นเช่นนี้ เพราะได้เติบโตมาโดยขาดแนวทางสู่เป้าหมายที่แน่ชัด ภายในกรอบเวลาอันแน่นอน แต่บัดนี้ เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า อาเซียนจะแปรสภาพเป็นประชาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวางระบบในด้านต่างๆ จึงจำเป็น
การจัดทำกฎบัตรอาเซียนเป็นเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลอาเซียนเชื่อว่าจะช่วยทำให้อาเซียนในฐานะองค์กร สามารถแก้ไขปัญหาที่ได้แจกแจงมาเหล่านี้ได้ เพราะในขณะนี้อาเซียนกำลังก้าวไปสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนทั้งในด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม
กฎบัตรที่กำลังยกร่างอยู่นี้จะไม่ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรเหนือรัฐ (supra-national body) ในลักษณะของสหภาพยุโรป แต่กฎบัตรจะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (inter-governmental body) โดยจะเป็นเสมือนธรรมนูญที่วางกรอบให้อาเซียนมีกฎเกณฑ์ในการทำงานและบริหารกลไกความร่วมมือระหว่างกันอย่างเป็นระบบ เป็นองค์กรที่มีโครงสร้างและกลไกที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งรวมถึงปัญหาที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยมีการประสานงานกันระหว่างกลไกที่รับผิดชอบด้านต่างๆ อย่างมีเอกภาพ มีการติดตามผลการปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ตกลงกัน ซึ่งจะทำให้นโยบายและข้อตกลงต่างๆ เกิดประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกและประชาชน รวมทั้งเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นเป้าหมาย มีกลไกที่เปิดให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้มีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากอาเซียน ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ต่างจากหลักการของสหประชาชาติเท่าใดนัก เพียงแต่ขอบข่ายของอาเซียนจำกัดกว่า เพราะเป็นเพียงระดับภูมิภาค มิใช่ระดับสากล
การสร้างประชาคมอาเซียนเป็นกระบวนการที่จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนในภาคส่วนต่างๆ ของไทยในอนาคต กระบวนการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จมิได้ หากไม่ได้รับการยอมรับและความร่วมมือที่แข็งขันจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
ดังนั้น บทบาทของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ รัฐสภา ภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการยกร่างกฎบัตรอาเซียนนี้จึงมีความสำคัญ ที่จะนำอาเซียนก้าวย่างต่อไปสู่ความเป็นประชาคม
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ร่างกฎบัตรอาเซียนที่คณะทำงานของรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังยกร่างอยู่นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ แต่เป็นการต่อยอดจากหลักการ ปฏิญญาและข้อตกลงที่อาเซียนได้ทำร่วมกันมาหลายทศวรรษ และผ่านกระบวนการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะโดยผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศสมาชิกในช่วงปีกว่าที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของไทย คือ ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
การสัมมนาในวันนี้ก็เช่นกัน แม้เป็นการจัดเป็นครั้งแรกของกระทรวงการต่างประเทศ แต่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คณะทำงานยกร่างกฎบัตรอาเซียนไปปรึกษาหารือกับภาคส่วนต่างๆ
ในช่วงของการทำงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนเอง ก็ได้มีการจัดหารือกับผู้นำ รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา นักวิชาการ และภาคประชาสังคม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศสมาชิกอื่นของอาเซียนและสหภาพยุโรปด้วย ตามที่ผมได้รับแจ้งมา การสัมมนาครั้งนี้จะไม่ใช่ครั้งเดียวที่กระทรวงการต่างประเทศจะจัดขึ้น
หัวข้อของการสัมมนา ได้แก่ “กฎบัตรอาเซียน เส้นทางให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของอาเซียน” ที่กำหนดไว้เช่นนี้ ก็ด้วยความตั้งใจที่จะระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับลู่ทางที่จะสร้างให้อาเซียนเป็นองค์กรที่เน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งหมายถึงการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมและได้รับประโยชน์จากกระบวนการสร้างดังกล่าว ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากท่านผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้แทนจากองค์กรเอกชน สื่อมวลชนที่มีความสนใจและได้ติดตามพัฒนาการกระบวนการยกร่างกฎบัตรอาเซียนในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และทัศนะของประชาชนต่อกลไกด้านสิทธิมนุษยชน ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอันจะสะท้อนถึงเป้าหมายของการสร้างประชาคมอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียนอย่างแท้จริง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-