วันนี้(18 พ.ค.50) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ก.เขต ดินแดง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมกรรมการบริหารการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ยืนยันที่จะทุบแฟลตดินแดง ว่า การจะทุบแฟตดินแดง มีความความพยายามมาตั้งตั้งแต่ 2543 แต่จากการตรวจสอบของสำนักวิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ระบุว่าไม่จำเป็นต้องทุบอาคาร เพียงแต่ซ่อม และจากข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย และ กทม. ในรูปของมติของคณะอนุกรรมการป้องกันอุบัติภัยในเคหะสถาน อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ เมื่อวันที่ 6 ก.ย.2549 ระบุว่าอาคารดังกล่าวไม่มีอันตรายถึงขั้นต้องทุบทิ้ง แต่ให้ซ่อมแซมโครงสร้างอาคารที่ชำรุด โดยให้ผู้อยู่อาศัยอพยพออกจากอาคารไปอาศัยที่อื่นก่อนชั่วคราว แต่ กคช.ไม่ได้ดำเนินการตามมติของคณะอนุกรรมการดังกล่าว ดังนั้นกระทรวงมหาดไทย จึงมีหนังสือถึง กทม.ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ใช้อำนาจตามมาตรา 46 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร คือ สั่งให้ประชาชนออกจากอาคาร แล้วดำเนินการปรับปรุงทุกอาคารให้เกิดปลอดภัยกับประชาชน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กคช.ไม่ได้บอกเรื่องนี้ต่อประชาชน ว่าได้ดำเนินมาตามมาตราการส่วนนี้ไปแล้ว แต่เมื่อเจอกระแสต่อต้านจากประชาชน กคช.พูดเพียงว่า จะทุบหรือไม่ทุบ ซึ่งยังไม่มีความแน่นอน จากนั้น กทม.ได้ส่งหนังสือถึง กคช.ให้ดำเนินการซ่อมแซมอาคาร แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีการดำเนินการ
" ประชาชนจึงสงสัยว่า การที่ กคช.ปล่อยให้อาคารทรุดโทรม เพื่อที่จะให้ถึงขั้นต้องทุบอาคาร แต่จากหลักฐานจาก กทม.เมื่อปี 2549 ระบุว่าอาคารไม่มีความเสียาหายถึงขั้นต้องทุบทิ้ง " นายธนาระบุ
นายธนา กล่าวอีกว่า ตนได้สอบถามบอร์ด กคช.เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ถ้าทุบอาคารดังกล่าวแล้ว กคช. มีแผนการก่อสร้างในพื้นที่แฟลตที่ 1-8 และแฟลตที่ 21-32 อย่างไร ปรากฏว่า ผู้ว่า กคช.บอกว่า ขณะนี้ยังไม่มีแผนรอบรับ ว่าจะสร้างอาคารแบบใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กคช.ปิดบังข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่า จากการขออนุมัติแผนผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ซึ่งมีมติชัดเจนว่า ถ้า กคช.ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในการฟื้นฟูชุมชน จะต้องทำการตรวจสอบ และฟังผลความคิดเห็นจากประชาชน และต้องได้รับการยินยอมจากประชาชน เนื่องจากการฟื้นฟูชุมชน จะต้องมีการสร้างอาคารขนาดใหญ่ มีคอมเพล็กซ์ ฯลฯ รองรับประชาชน เกรงว่าประชาชนที่อาศัยอยู่เดิมจะไม่สามารถชำระค่าเช่าได้ เพราะต้องปรับค่าเช่าสูงขึ้น ทำให้โครงการนี้ชะลอ และการที่แสดงให้เห็นว่าอาคารมีความเสียหายถึงขั้นต้องทุบนั้น ตนขอตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการดำเนินการเพื่อเลี่ยงมติ ครม.เมื่อปี 2543 หรือไม่ เพราะเมื่อให้ประชาชนออกจากอาคาร ก็ไม่สามารถดำเนินการตามมติดังกล่าวได้ และเมื่อประชาชนย้ายออกไปแล้ว อำนาจการต่อรองก็จะลดลง และไม่มีคำยืนยันว่า ประชาชนจะได้กลับมาอยู่ในที่เดิมหรือไม่ ในราคาเท่าไหร่
นายธนา กล่าวว่า ถ้าเป็นไปตามที่ ผู้ว่า กคช.ระบุว่า การดำเนินการโครงการฟื้นฟูชุมชนดินแดงนี้ จะไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ แต่จะคำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อาศัยเท่านั้น ตนก็ขอเรียกร้องให้ กคช.เข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมแฟลตเหล่านี้ เพราะค่าความเสียหายสามารถซ่อมแซมได้แน่นอน เนื่องจากมีวิศวกรยืนยันหลายคน และประชาชนก็มั่นใจว่า ซ่อมแซมได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอาคารเหล่านี้เป็นเงินประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งถูกกว่าการสร้างใหม่ทั้งหมด ที่ใช้เงินประมาณ 400 ล้านบาท ถ้า กคช.ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง เห็นประโยชน์ของประชาชนอย่างที่พูดจริง ขอให้เข้าไปดำเนิการซ่อมแซม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 พ.ค. 2550--จบ--
" ประชาชนจึงสงสัยว่า การที่ กคช.ปล่อยให้อาคารทรุดโทรม เพื่อที่จะให้ถึงขั้นต้องทุบอาคาร แต่จากหลักฐานจาก กทม.เมื่อปี 2549 ระบุว่าอาคารไม่มีความเสียาหายถึงขั้นต้องทุบทิ้ง " นายธนาระบุ
นายธนา กล่าวอีกว่า ตนได้สอบถามบอร์ด กคช.เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ถ้าทุบอาคารดังกล่าวแล้ว กคช. มีแผนการก่อสร้างในพื้นที่แฟลตที่ 1-8 และแฟลตที่ 21-32 อย่างไร ปรากฏว่า ผู้ว่า กคช.บอกว่า ขณะนี้ยังไม่มีแผนรอบรับ ว่าจะสร้างอาคารแบบใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กคช.ปิดบังข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่า จากการขออนุมัติแผนผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ซึ่งมีมติชัดเจนว่า ถ้า กคช.ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในการฟื้นฟูชุมชน จะต้องทำการตรวจสอบ และฟังผลความคิดเห็นจากประชาชน และต้องได้รับการยินยอมจากประชาชน เนื่องจากการฟื้นฟูชุมชน จะต้องมีการสร้างอาคารขนาดใหญ่ มีคอมเพล็กซ์ ฯลฯ รองรับประชาชน เกรงว่าประชาชนที่อาศัยอยู่เดิมจะไม่สามารถชำระค่าเช่าได้ เพราะต้องปรับค่าเช่าสูงขึ้น ทำให้โครงการนี้ชะลอ และการที่แสดงให้เห็นว่าอาคารมีความเสียหายถึงขั้นต้องทุบนั้น ตนขอตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการดำเนินการเพื่อเลี่ยงมติ ครม.เมื่อปี 2543 หรือไม่ เพราะเมื่อให้ประชาชนออกจากอาคาร ก็ไม่สามารถดำเนินการตามมติดังกล่าวได้ และเมื่อประชาชนย้ายออกไปแล้ว อำนาจการต่อรองก็จะลดลง และไม่มีคำยืนยันว่า ประชาชนจะได้กลับมาอยู่ในที่เดิมหรือไม่ ในราคาเท่าไหร่
นายธนา กล่าวว่า ถ้าเป็นไปตามที่ ผู้ว่า กคช.ระบุว่า การดำเนินการโครงการฟื้นฟูชุมชนดินแดงนี้ จะไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ แต่จะคำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อาศัยเท่านั้น ตนก็ขอเรียกร้องให้ กคช.เข้าไปปรับปรุงซ่อมแซมแฟลตเหล่านี้ เพราะค่าความเสียหายสามารถซ่อมแซมได้แน่นอน เนื่องจากมีวิศวกรยืนยันหลายคน และประชาชนก็มั่นใจว่า ซ่อมแซมได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอาคารเหล่านี้เป็นเงินประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งถูกกว่าการสร้างใหม่ทั้งหมด ที่ใช้เงินประมาณ 400 ล้านบาท ถ้า กคช.ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง เห็นประโยชน์ของประชาชนอย่างที่พูดจริง ขอให้เข้าไปดำเนิการซ่อมแซม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 พ.ค. 2550--จบ--