อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยมีวิวัฒนาการมาจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมีบทบาทในการส่งออกนำรายได้เข้าประเทศในฐานะผู้ส่งออกรายสำคัญของภูมิภาคในปัจจุบันทั้งนี้ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยมีการวางรากฐานอย่างเป็นระบบมากว่า 20 ปี ดังเห็นได้จากนโยบายการพัฒนาที่มีความชัดเจน โดยเฉพาะการสนับสนุนและคุ้มครองจากรัฐบาล จนอุตสาหกรรมมีความเข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับก่อนดำเนินการเปิดเสรีด้วยการลดภาษีนำเข้าอย่างเป็นขั้นตอน
จุดได้เปรียบสำคัญของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทยอยู่ที่การผลิตมีลักษณะครบวงจร (Vertical Integration) นับตั้งแต่โรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงกลั่น ไปจนถึงโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก และโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ อาทิ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก และโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยยังมีขนาดการผลิตใหญ่พอที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง (Economies of Scale) อีกทั้งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี อาทิ เม็ดพลาสติกประเภทต่าง ๆ จัดอยู่ในระดับสูงทัดเทียมประเทศผู้ผลิตชั้นนำ ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับต่ำกว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยจึงค่อนข้างได้เปรียบในการแข่งขันโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย
เป็นที่สังเกตว่า แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไป ในระยะยาว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งพัฒนาการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่อุตสาหกรรมระดับต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อพัฒนาวัตถุดิบชนิดใหม่ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงไปจนถึงการปรับปรุงกระบวนการผลิต อันจะมีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิต ควบคู่ไปกับการต่อยอดเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการผลิตให้ทิ้งห่างคู่แข่งที่นับวันจะไล่ตามติดเข้ามาทุกขณะ ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยควรมองหาทางเลือกใหม่ในการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปยังประเทศที่มีความได้เปรียบโดยเฉพาะในด้านวัตถุดิบและตลาดขนาดใหญ่ ก่อนที่ข้อจำกัดดังกล่าวจะกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยต้องสะดุดลง
ในบรรดาประเทศเป้าหมายที่น่าจับตามองในการเข้าไปเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อร่วมลงทุนและสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลาดในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในต่างประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่
- ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งมีความได้เปรียบในด้านการเป็นแหล่งวัตถุดิบราคาถูก อีกทั้งปัจจุบันมาตรการด้านภาษีเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านี้ลดลงมาก ซึ่งเอื้อต่อการที่ผู้ประกอบการไทยจะเข้าไปร่วมทุนหรือขยายธุรกิจ ทั้งนี้ ประเทศที่มีศักยภาพในการเข้าไปลงทุนในแถบตะวันออกกลาง คืออิหร่าน ซึ่งหากเหตุการณ์ความไม่สงบคลี่คลายลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ อิหร่านถือเป็นแหล่งรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยได้เป็นอย่างดีในฐานะประเทศที่มีแหล่งวัตถุดิบมหาศาล ด้วยปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสำรองสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรายใหญ่ ปัจจุบันเริ่มมีนักลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยนำร่องเข้าไปลงทุนในอิหร่าน 2 โครงการใหญ่ คือ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ได้รับสัมปทานและขุดเจาะแหล่งน้ำมันดิบในจังหวัดซาเวห์ และเครือปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งร่วมลงทุนกับญี่ปุ่นและกระทรวงน้ำมันอิหร่านในการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีในจังหวัดอาซาลูเยห์
- ประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีน โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง จนทำให้เวียดนามก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ของภูมิภาคอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย นอกจากนี้ เวียดนามยังมีโครงการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน Dung Quat ซึ่งเป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรก ตั้งอยู่ในจังหวัด Quang Ngai ทางภาคกลางของเวียดนาม คาดว่า
โรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้จะเปิดดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ในปี 2552 ทั้งนี้ การก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของเวียดนามพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน นโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาลเวียดนามยังเกื้อหนุนให้เวียดนามเป็นแหล่งลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2550--
-พห-
จุดได้เปรียบสำคัญของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทยอยู่ที่การผลิตมีลักษณะครบวงจร (Vertical Integration) นับตั้งแต่โรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงกลั่น ไปจนถึงโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก และโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ อาทิ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก และโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยยังมีขนาดการผลิตใหญ่พอที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง (Economies of Scale) อีกทั้งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี อาทิ เม็ดพลาสติกประเภทต่าง ๆ จัดอยู่ในระดับสูงทัดเทียมประเทศผู้ผลิตชั้นนำ ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับต่ำกว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยจึงค่อนข้างได้เปรียบในการแข่งขันโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย
เป็นที่สังเกตว่า แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไป ในระยะยาว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งพัฒนาการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่อุตสาหกรรมระดับต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อพัฒนาวัตถุดิบชนิดใหม่ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงไปจนถึงการปรับปรุงกระบวนการผลิต อันจะมีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิต ควบคู่ไปกับการต่อยอดเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการผลิตให้ทิ้งห่างคู่แข่งที่นับวันจะไล่ตามติดเข้ามาทุกขณะ ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยควรมองหาทางเลือกใหม่ในการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปยังประเทศที่มีความได้เปรียบโดยเฉพาะในด้านวัตถุดิบและตลาดขนาดใหญ่ ก่อนที่ข้อจำกัดดังกล่าวจะกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยต้องสะดุดลง
ในบรรดาประเทศเป้าหมายที่น่าจับตามองในการเข้าไปเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อร่วมลงทุนและสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลาดในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในต่างประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่
- ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งมีความได้เปรียบในด้านการเป็นแหล่งวัตถุดิบราคาถูก อีกทั้งปัจจุบันมาตรการด้านภาษีเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านี้ลดลงมาก ซึ่งเอื้อต่อการที่ผู้ประกอบการไทยจะเข้าไปร่วมทุนหรือขยายธุรกิจ ทั้งนี้ ประเทศที่มีศักยภาพในการเข้าไปลงทุนในแถบตะวันออกกลาง คืออิหร่าน ซึ่งหากเหตุการณ์ความไม่สงบคลี่คลายลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ อิหร่านถือเป็นแหล่งรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยได้เป็นอย่างดีในฐานะประเทศที่มีแหล่งวัตถุดิบมหาศาล ด้วยปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสำรองสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรายใหญ่ ปัจจุบันเริ่มมีนักลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยนำร่องเข้าไปลงทุนในอิหร่าน 2 โครงการใหญ่ คือ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ได้รับสัมปทานและขุดเจาะแหล่งน้ำมันดิบในจังหวัดซาเวห์ และเครือปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งร่วมลงทุนกับญี่ปุ่นและกระทรวงน้ำมันอิหร่านในการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีในจังหวัดอาซาลูเยห์
- ประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีน โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง จนทำให้เวียดนามก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ของภูมิภาคอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย นอกจากนี้ เวียดนามยังมีโครงการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน Dung Quat ซึ่งเป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรก ตั้งอยู่ในจังหวัด Quang Ngai ทางภาคกลางของเวียดนาม คาดว่า
โรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้จะเปิดดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ในปี 2552 ทั้งนี้ การก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของเวียดนามพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน นโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาลเวียดนามยังเกื้อหนุนให้เวียดนามเป็นแหล่งลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2550--
-พห-