แท็ก
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
กรมการขนส่งทางบก
กระเบื้องปูพื้น
กระทรวงการคลัง
สุขภัณฑ์กะรัต
ภาวะเศรษฐกิจ
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 35.74 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.08 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.71 และ 0.35 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นการผลิตเพื่อส่งออกในขณะที่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 7.76 และ 3.28 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 การผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 68.92 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.15 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 9.33 และ 3.61 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ การจำหน่าย 37.26 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.06 ล้านชิ้น เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 7.49 และ 6.61 ตามลำดับ และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 7.43 และ 12.13 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ตลอดจนภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 77.55 ล้านตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.20 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 7.95 และ 9.98 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ ซบเซา ทำให้การจำหน่ายเซรามิกมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศที่แข่งขันกันเอง และจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการแข็งค่าของเงินบาท ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ทั้งการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่เน้นรูปแบบ ดีไซน์ และนวัตกรรม การสร้างตลาดใหม่ๆ ชดเชยตลาดเก่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การลดราคา การลุ้นชิงรางวัล ทั้งนี้เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้า
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 201.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.53 และ 20.66 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ ของชำร่วยเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นๆ สำหรับผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการส่งออกยังมีมูลค่าลดลง
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรออสเตรเลีย เยอรมนี เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีมูลค่ารวม 383.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.05 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้นในตลาดหลักเกือบทุกตลาด และ ของชำร่วยเครื่องประดับเพิ่มขึ้นในตลาดตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์เซรามิก อื่นๆ เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่น สำหรับผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร การส่งออกลดลงทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา และตลาดญี่ปุ่น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เยอรมนี และอินโดนีเซีย โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 39.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 16.42 และ 3.87 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีมูลค่า 87.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.39 (ตารางที่ 4) การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน ซึ่งจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้ผู้แทนจำหน่ายและผู้ผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง บางรายเลือกนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้านำเข้ามีต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้างลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับไตรมาสนี้เป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวและเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ความต้องการใช้ในประเทศลดลง สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศยังอยู่ในภาวะชะลอตัว การจำหน่ายเซรามิก ในประเทศจึงมีการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ในด้านต่างๆ และหาตลาดใหม่ๆ โดยเน้นตลาดซ่อมแซมบ้านเก่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าไว้
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะเครื่องสุขภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด และของชำร่วยเครื่องประดับที่เพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารยังคงมีแนวโน้มลดลงมาตลอดโดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งขยายตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีแนวโน้มลดลงด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 35.74 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.08 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.71 และ 0.35 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นการผลิตเพื่อส่งออกในขณะที่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 7.76 และ 3.28 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 การผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 68.92 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.15 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 9.33 และ 3.61 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ การจำหน่าย 37.26 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.06 ล้านชิ้น เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 7.49 และ 6.61 ตามลำดับ และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 7.43 และ 12.13 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ตลอดจนภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 77.55 ล้านตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.20 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 7.95 และ 9.98 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ ซบเซา ทำให้การจำหน่ายเซรามิกมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศที่แข่งขันกันเอง และจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการแข็งค่าของเงินบาท ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ทั้งการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่เน้นรูปแบบ ดีไซน์ และนวัตกรรม การสร้างตลาดใหม่ๆ ชดเชยตลาดเก่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การลดราคา การลุ้นชิงรางวัล ทั้งนี้เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้า
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่ารวม 201.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.53 และ 20.66 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ ของชำร่วยเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นๆ สำหรับผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการส่งออกยังมีมูลค่าลดลง
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรออสเตรเลีย เยอรมนี เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีมูลค่ารวม 383.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.05 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้นในตลาดหลักเกือบทุกตลาด และ ของชำร่วยเครื่องประดับเพิ่มขึ้นในตลาดตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์เซรามิก อื่นๆ เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่น สำหรับผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร การส่งออกลดลงทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา และตลาดญี่ปุ่น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เยอรมนี และอินโดนีเซีย โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 39.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 16.42 และ 3.87 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีมูลค่า 87.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.39 (ตารางที่ 4) การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน ซึ่งจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้ผู้แทนจำหน่ายและผู้ผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง บางรายเลือกนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้านำเข้ามีต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้างลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับไตรมาสนี้เป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวและเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ความต้องการใช้ในประเทศลดลง สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศยังอยู่ในภาวะชะลอตัว การจำหน่ายเซรามิก ในประเทศจึงมีการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ในด้านต่างๆ และหาตลาดใหม่ๆ โดยเน้นตลาดซ่อมแซมบ้านเก่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าไว้
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะเครื่องสุขภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด และของชำร่วยเครื่องประดับที่เพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารยังคงมีแนวโน้มลดลงมาตลอดโดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งขยายตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีแนวโน้มลดลงด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-