กรุงเทพ--25 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่
ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศทุกท่าน
ก่อนอื่น ผมขอขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศที่ได้จัดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ประจำประเทศมุสลิมในวันนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ ในการสนับสนุนงานแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการดำเนินยุทธศาสตร์ของไทยต่อประเทศมุสลิมและได้ขอให้ผมมากล่าวเปิดการประชุมและพบปะกับท่านทั้งหลาย
การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ดังที่ผมได้กล่าวไว้ในพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีว่า ในช่วงที่เข้ามารับหน้าที่เป็นเวลาสั้น ๆ นี้ ผมจะให้ความสำคัญสูงสุด 2 เรื่อง ได้แก่ การสร้างความปรองดองภายในชาติและการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2547 เป็นความเจ็บปวดอย่างยิ่ง มิเพียงแต่เฉพาะสำหรับบุคคลในครอบครัวญาติพี่น้องของผู้ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บเท่านั้น แต่เป็นความเจ็บปวดสำหรับทุกคนในชาติ ผมจึงตั้งปณิธานว่าในช่วงเวลาที่มารับหน้าที่ในรัฐบาล ผมจะทุ่มเทแก้ไขปัญหา จะวางพื้นฐานและกลไกที่เหมาะสม และจะพยายามทำให้เกิดความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหานี้
ในทัศนะของผม ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่เกิดจากการที่ผู้ก่อความรุนแรงได้ใช้ประวัติศาสตร์ ลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม ศาสนาและการพัฒนามาเป็นเงื่อนไขขยายผลในการก่อความไม่สงบ สร้างฐานมวลชน รวมทั้งใช้ยุทธศาสตร์การสร้างความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนเพื่อมิให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับทางราชการ แต่การที่เราได้ปล่อยให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวดำเนินการขยายผลมาอย่างต่อเนื่อง กอปรกับความผิดพลาดในเชิงนโยบายบางประการในระยะเวลาที่ผ่านมาได้ทำให้สถานการณ์ลุกลาม บุคคลเหล่านี้สามารถสร้างฐานมวลชนได้กว้างขวางระดับหนึ่ง จนทำให้งานแก้ไขปัญหาดังกล่าวกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนขึ้น
ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า แม้ว่าปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้าย แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ปัญหาในปัจจุบัน ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากเกิดกระแสโลกมุสลิมในปัจจุบัน ไม่ว่าจากเหตุการณ์ในอิรัก ปาเลสไตน์ หรือที่อื่นๆ ที่ทำให้ชาวมุสลิมทั่วไปรู้สึกว่า ตนเป็นฝ่ายถูกรังแก และเหตุผลนี้ทำให้ผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้ศาสนาเป็นข้ออ้างมากขึ้น และเรียกร้องความเห็นใจจากโลกมุสลิม ซึ่งทำให้ประเทศมุสลิมต่าง ๆ หันมาสนใจและจับตามองปัญหาในจังหวัดภาคใต้มากขึ้น ดังนั้น มิติด้านต่างประเทศของปัญหาภาคใต้จึงเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญด้วย
จากมุมมองดังกล่าว ผมถือว่าการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูกต้องเหมาะสม คือ การที่จะต้องทำให้บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถสร้างฐานมวลชนของตนได้เพิ่มเติม การที่ทางราชการจะค่อย ๆ สลายมวลชนดังกล่าว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การแยกปลาออกจากน้ำ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางราชการจะต้องไม่กระทำในลักษณะที่สร้าง “เงื่อนไข” เพิ่มเติม แต่ต้องค่อย ๆ สลาย “เงื่อนไข” ที่มีอยู่ ขณะเดียวกัน ก็ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นส่วนแกนนำของขบวนการ
แนวทางที่รัฐบาลจะดำเนินการเรียกรวมกันว่าแนวทางสันติวิธี ซึ่งเน้นการดำเนินการ ใน 4 ด้าน ได้แก่
ประการแรก การสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ที่ตัวผมเองได้เข้าไปพูดคุยกับพี่น้องประชาชน ผู้นำศาสนา ครูและนักเรียนในพื้นที่หลายครั้ง เพื่อรับฟังปัญหา ขณะเดียวกัน ก็เพื่อทำความเข้าใจ แสดงออกถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลและทำให้เกิดความมั่นใจ ซึ่งผมได้ลงไปในพื้นที่มาแล้วหลายรอบและจะลงไปอีกในวันที่ 27 มกราคมนี้ นอกจากนี้ ศอ.บต. ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง จะเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับประชาชนและกระตุ้น รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ประการที่สอง การแก้ไขปัญหาด้านความยุติธรรม ผมเน้นเสมอว่ารัฐจะต้องไม่สร้างเงื่อนไขใด ๆ และต้องทำกระบวนการยุติธรรมให้เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง มาตรการที่ได้นำมาใช้ อาทิ การจัดตั้งสำนักงานบริหารงานยุติธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหน่วยงานภายใต้ ศอ.บต. การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม การเข้มงวดกับข้าราชการที่ประพฤติมิชอบ การพิจารณานำกฎหมาย Shariah มาใช้เป็นบางส่วน การเพิ่มจำนวนดาโต๊ะยุติธรรม เป็นต้น
ประการที่สาม การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อสร้างงานและยกระดับความเป็นอยู่แก่พี่น้องประชาชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเฉพาะเยาวชนจะได้ไม่ถูก ชักจูงไปในทางที่ไม่เหมาะสม ในระยะกลาง รัฐบาลได้ออกมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการและส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ รวมทั้งใช้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในกรอบ JDS และ IMT-GT เป็นกลไกในการส่งเสริมการพัฒนา
ประการที่สี่ การพัฒนาการศึกษาและสังคม ในด้านการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง จะมีการดำเนินการหลายด้าน โดยเฉพาะการปรับทิศทางการศึกษาให้เกื้อหนุนการพัฒนา การทำให้ นักเรียนนักศึกษามีวิชาความรู้ที่จะไปประกอบอาชีพได้และต้องทำให้การศึกษาเป็นการศึกษาในเชิง สมานฉันท์เพื่อการอยู่ร่วมกัน อย่างไรก็ดี การดำเนินการด้านนี้มีความละเอียดอ่อน ต้องค่อย ๆ สร้างความเข้าใจกับบุคคลที่ที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ผมพูดอยู่นี้ก็มีครูและนักเรียนจำนวนหนึ่งกำลังอยู่ระหว่างการดูงานด้านการศึกษาในประเทศมาเลเซีย
ท้ายที่สุดนี้ ผมอยากจะย้ำกับท่านทั้งหลายว่า แม้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องภายในและการแก้ไขต้องดำเนินการภายในเป็นหลัก แต่ปัญหานี้มีมิติต่างประเทศอยู่ด้วย ผู้ก่อความไม่สงบเองถือเป็นยุทธศาสตร์ของตนที่จะดึงให้ต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องและการเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้ก็ได้ใช้ต่างประเทศเป็นฐานอยู่ส่วนหนึ่ง การแก้ไขปัญหานี้จึงต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือของต่างประเทศ การที่ผมได้ไปเยือนมาเลเซีย และได้รับความเข้าใจจากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ซึ่งแสดงความพร้อมในการร่วมมือกับเรา เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ผมอยากให้มีการสานต่อ ซึ่งตรงนี้เป็นบทบาทที่กระทรวงการต่างประเทศโดยท่านทั้งหลายสามารถมีส่วนช่วยและเป็นกำลังสนับสนุนที่สำคัญ ซึ่งผมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคงจะได้ประสานงานและหารือกันต่อไป อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ผมอยากเน้นคือ ปัญหานี้เป็นวาระแห่งชาติ ผมจึงอยากขอความร่วมมือจากเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทุกท่าน ขอให้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ขอให้ท่านช่วยดูแล สอดส่อง คิด และช่วยกันทำ เพื่อให้เราได้รับความร่วมมือจากต่างประเทศอย่างแท้จริง ที่ผ่านมา ผมขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ทำหน้าที่สร้างความเข้าใจกับประเทศมุสลิมและกับองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ OIC จนทำให้เขาเข้าใจและมีท่าทีในทางบวกต่อความพยายามของเรา แต่เราจะต้องทำต่อไปและต้องทำให้มากขึ้น
ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่
ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศทุกท่าน
ก่อนอื่น ผมขอขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศที่ได้จัดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ประจำประเทศมุสลิมในวันนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ ในการสนับสนุนงานแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการดำเนินยุทธศาสตร์ของไทยต่อประเทศมุสลิมและได้ขอให้ผมมากล่าวเปิดการประชุมและพบปะกับท่านทั้งหลาย
การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ดังที่ผมได้กล่าวไว้ในพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีว่า ในช่วงที่เข้ามารับหน้าที่เป็นเวลาสั้น ๆ นี้ ผมจะให้ความสำคัญสูงสุด 2 เรื่อง ได้แก่ การสร้างความปรองดองภายในชาติและการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2547 เป็นความเจ็บปวดอย่างยิ่ง มิเพียงแต่เฉพาะสำหรับบุคคลในครอบครัวญาติพี่น้องของผู้ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บเท่านั้น แต่เป็นความเจ็บปวดสำหรับทุกคนในชาติ ผมจึงตั้งปณิธานว่าในช่วงเวลาที่มารับหน้าที่ในรัฐบาล ผมจะทุ่มเทแก้ไขปัญหา จะวางพื้นฐานและกลไกที่เหมาะสม และจะพยายามทำให้เกิดความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหานี้
ในทัศนะของผม ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่เกิดจากการที่ผู้ก่อความรุนแรงได้ใช้ประวัติศาสตร์ ลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม ศาสนาและการพัฒนามาเป็นเงื่อนไขขยายผลในการก่อความไม่สงบ สร้างฐานมวลชน รวมทั้งใช้ยุทธศาสตร์การสร้างความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนเพื่อมิให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับทางราชการ แต่การที่เราได้ปล่อยให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวดำเนินการขยายผลมาอย่างต่อเนื่อง กอปรกับความผิดพลาดในเชิงนโยบายบางประการในระยะเวลาที่ผ่านมาได้ทำให้สถานการณ์ลุกลาม บุคคลเหล่านี้สามารถสร้างฐานมวลชนได้กว้างขวางระดับหนึ่ง จนทำให้งานแก้ไขปัญหาดังกล่าวกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนขึ้น
ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า แม้ว่าปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้าย แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ปัญหาในปัจจุบัน ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากเกิดกระแสโลกมุสลิมในปัจจุบัน ไม่ว่าจากเหตุการณ์ในอิรัก ปาเลสไตน์ หรือที่อื่นๆ ที่ทำให้ชาวมุสลิมทั่วไปรู้สึกว่า ตนเป็นฝ่ายถูกรังแก และเหตุผลนี้ทำให้ผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้ศาสนาเป็นข้ออ้างมากขึ้น และเรียกร้องความเห็นใจจากโลกมุสลิม ซึ่งทำให้ประเทศมุสลิมต่าง ๆ หันมาสนใจและจับตามองปัญหาในจังหวัดภาคใต้มากขึ้น ดังนั้น มิติด้านต่างประเทศของปัญหาภาคใต้จึงเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญด้วย
จากมุมมองดังกล่าว ผมถือว่าการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูกต้องเหมาะสม คือ การที่จะต้องทำให้บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถสร้างฐานมวลชนของตนได้เพิ่มเติม การที่ทางราชการจะค่อย ๆ สลายมวลชนดังกล่าว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การแยกปลาออกจากน้ำ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางราชการจะต้องไม่กระทำในลักษณะที่สร้าง “เงื่อนไข” เพิ่มเติม แต่ต้องค่อย ๆ สลาย “เงื่อนไข” ที่มีอยู่ ขณะเดียวกัน ก็ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นส่วนแกนนำของขบวนการ
แนวทางที่รัฐบาลจะดำเนินการเรียกรวมกันว่าแนวทางสันติวิธี ซึ่งเน้นการดำเนินการ ใน 4 ด้าน ได้แก่
ประการแรก การสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ที่ตัวผมเองได้เข้าไปพูดคุยกับพี่น้องประชาชน ผู้นำศาสนา ครูและนักเรียนในพื้นที่หลายครั้ง เพื่อรับฟังปัญหา ขณะเดียวกัน ก็เพื่อทำความเข้าใจ แสดงออกถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลและทำให้เกิดความมั่นใจ ซึ่งผมได้ลงไปในพื้นที่มาแล้วหลายรอบและจะลงไปอีกในวันที่ 27 มกราคมนี้ นอกจากนี้ ศอ.บต. ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง จะเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับประชาชนและกระตุ้น รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ประการที่สอง การแก้ไขปัญหาด้านความยุติธรรม ผมเน้นเสมอว่ารัฐจะต้องไม่สร้างเงื่อนไขใด ๆ และต้องทำกระบวนการยุติธรรมให้เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง มาตรการที่ได้นำมาใช้ อาทิ การจัดตั้งสำนักงานบริหารงานยุติธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหน่วยงานภายใต้ ศอ.บต. การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม การเข้มงวดกับข้าราชการที่ประพฤติมิชอบ การพิจารณานำกฎหมาย Shariah มาใช้เป็นบางส่วน การเพิ่มจำนวนดาโต๊ะยุติธรรม เป็นต้น
ประการที่สาม การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อสร้างงานและยกระดับความเป็นอยู่แก่พี่น้องประชาชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเฉพาะเยาวชนจะได้ไม่ถูก ชักจูงไปในทางที่ไม่เหมาะสม ในระยะกลาง รัฐบาลได้ออกมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการและส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ รวมทั้งใช้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในกรอบ JDS และ IMT-GT เป็นกลไกในการส่งเสริมการพัฒนา
ประการที่สี่ การพัฒนาการศึกษาและสังคม ในด้านการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง จะมีการดำเนินการหลายด้าน โดยเฉพาะการปรับทิศทางการศึกษาให้เกื้อหนุนการพัฒนา การทำให้ นักเรียนนักศึกษามีวิชาความรู้ที่จะไปประกอบอาชีพได้และต้องทำให้การศึกษาเป็นการศึกษาในเชิง สมานฉันท์เพื่อการอยู่ร่วมกัน อย่างไรก็ดี การดำเนินการด้านนี้มีความละเอียดอ่อน ต้องค่อย ๆ สร้างความเข้าใจกับบุคคลที่ที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ผมพูดอยู่นี้ก็มีครูและนักเรียนจำนวนหนึ่งกำลังอยู่ระหว่างการดูงานด้านการศึกษาในประเทศมาเลเซีย
ท้ายที่สุดนี้ ผมอยากจะย้ำกับท่านทั้งหลายว่า แม้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องภายในและการแก้ไขต้องดำเนินการภายในเป็นหลัก แต่ปัญหานี้มีมิติต่างประเทศอยู่ด้วย ผู้ก่อความไม่สงบเองถือเป็นยุทธศาสตร์ของตนที่จะดึงให้ต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องและการเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้ก็ได้ใช้ต่างประเทศเป็นฐานอยู่ส่วนหนึ่ง การแก้ไขปัญหานี้จึงต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือของต่างประเทศ การที่ผมได้ไปเยือนมาเลเซีย และได้รับความเข้าใจจากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ซึ่งแสดงความพร้อมในการร่วมมือกับเรา เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ผมอยากให้มีการสานต่อ ซึ่งตรงนี้เป็นบทบาทที่กระทรวงการต่างประเทศโดยท่านทั้งหลายสามารถมีส่วนช่วยและเป็นกำลังสนับสนุนที่สำคัญ ซึ่งผมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคงจะได้ประสานงานและหารือกันต่อไป อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ผมอยากเน้นคือ ปัญหานี้เป็นวาระแห่งชาติ ผมจึงอยากขอความร่วมมือจากเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทุกท่าน ขอให้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ขอให้ท่านช่วยดูแล สอดส่อง คิด และช่วยกันทำ เพื่อให้เราได้รับความร่วมมือจากต่างประเทศอย่างแท้จริง ที่ผ่านมา ผมขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ทำหน้าที่สร้างความเข้าใจกับประเทศมุสลิมและกับองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ OIC จนทำให้เขาเข้าใจและมีท่าทีในทางบวกต่อความพยายามของเรา แต่เราจะต้องทำต่อไปและต้องทำให้มากขึ้น
ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-