เลือกตั้งเร็ว - ต้องทำมากกว่าที่พูด
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
21 มิถุนายน 2550
เรื่องที่น่าสนใจ และน่าจะได้มีการขานรับเป็นอย่างมากในช่วงนี้ ก็คือ เรื่องที่นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้แสดงความตั้งใจที่จะให้มีการเลือกตั้งทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเลือกตั้ง ส.ส. เร็วกว่าเดิม คือการร่นเข้ามาเลือกตั้งในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2550 เร็วกว่าที่ได้เคยแสดงความตั้งใจเอาไว้เมื่อสองเดือนที่แล้ว
การแสดงความตั้งใจของนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ในเรื่องนี้เมื่อวานนี้คือเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนนี้ นับได้เป็นครั้งที่ 3 และดูจะเป็นการยืนยันความตั้งใจที่หนักแน่นกว่าครั้งก่อน ๆ เสียอีก เพราะถึงขนาดที่ท่านประธาน กกต. อภิชาติ สุขัคคานนท์ ได้ร่วมแถลงยืนยันด้วยว่า กกต. มีความพร้อมและสามารถจัดการเลือกตั้งได้ทันแน่นอน หากจะกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2550
ความจริงเรื่องนี้น่าสนใจ น่าจะเป็นข่าวใหญ่และน่าจะมีขานรับกันอย่างมากมายอย่างที่ว่าแต่ก็ปรากฎว่าเอาเข้าจริงก็ดูจะเป็นเรื่องธรรมดา ๆ คือไม่ค่อยจะมีใครตื่นเต้นกันมากนักที่พอจะมีอยู่ส่วนใหญ่ ก็มักจะเป็นผู้คนที่อยู่ในภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งมีความกังวลกันมาโดยตลอดว่าถ้าตราบใดที่การเมืองยังขาดความชัดเจนคือยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ จึงจะมีการเลือกตั้งตราบนั้น เศรษฐกิจก็คงจะชะลอตัวอยู่เช่นเดิม ซึ่งเมื่อมีการยืนยันกันถึงขนาดนี้ก็พอที่จะทำให้พออุ่นใจขึ้นมาได้บ้าง
แต่ภาคการเมืองก็ดูจะยังเฉย ๆ กันอยู่เสมือนหนึ่งยังไม่มีความแน่ใจว่าจะเป็นไปได้เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดเอามาก ๆ
ผมเข้าใจว่าที่เป็นเช่นนั้น ก็คงจะเป็นเพราะว่า
1. นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ เคยได้แถลงทำนองเดียวกันนี้มาก่อนแล้ว และภายหลังการแถลงแล้ว ก็ไม่ได้พบเห็นว่ามีกระบวนการเตรียมการใด ๆ เพื่อการนี้เกิดขึ้นตามมาให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างเป็นจริงเป็นจัง จนเข้าใจกันว่าคงเป็นเพียงความพยายามในการผ่อนคลายบรรยากาศทางการเมืองบวกกับความเหนื่อยหน่ายต่อภารกิจที่ต้องแบกรับอยู่มากกว่า
2. บรรยากาศแวดล้อมทางการเมืองที่กำลังเป็นอยู่ยังไม่น่าจะเอื้ออำนวยให้การเลือกตั้งอาจจะจัดขึ้นให้เร็วได้ตามที่นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์แสดงความตั้งใจเช่นการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ยังหาจุดลงตัวไม่ค่อยได้ และมีทีท่าว่าจะยืดเยื้อ รวมทั้งปัญหาที่อาจจะเกิดมีขึ้นในขั้นตอนของการจัดทำประชามติ หรือแม้แต่ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการขับเคลื่อนของกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งขณะนี้ส่วนหนึ่งก็ยังมีการชุมนุมกันอยู่ทุกวัน
3. ขาดการขานรับจากองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขัดข้องไม่พร้อมที่จะดำเนินการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ฉบับที่ 15 อย่างรวดเร็ว รวดเดียว 3 วาระ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีความประสงค์เพื่อรองรับการจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง
เหล่านี้พอที่จะนับเป็นสาเหตุแห่งความไม่มั่นใจด้วยกันทั้งสิ้น ว่าการเลือกตั้งอาจจะจัดให้เร็วขึ้นได้จริง
ความจริงดูจะเป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้วว่าการมีเลือกตั้งและการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จะเป็นทางออกที่ดีสำหรับประเทศของเราในขณะนี้
ผมเองก็ได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า ประเทศไทยวันนี้ไม่มีทางเลือกอื่นที่จะดีไปกว่าการช่วยกันประคับประคองมิให้สถานการณ์เลวร้ายกว่าที่เป็นอยู่ ช่วยกันสร้างรัฐธรรมนูญที่พอจะเอื้ออำนวยให้มีการปฏิรูปการเมืองต่อไปได้ เร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นโดยใช้บทเรียนที่ผ่านมาอย่างคุ้มค่าและมีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังแล้วประเทศก็ผ่านวิกฤตไปได้
วันนี้ผมจึงมีความเห็นว่าการที่นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ได้ยืนยันความตั้งใจเรื่องการเลือกตั้งก็เป็นเรื่องดีที่ถูกต้องแล้วแต่ว่า คงไม่ใช่เพียงแต่ออกมาพูด ออกมาแถลงแล้วก็แล้วกันไปโดยไม่มีกระบวนการใด ๆ เกิดขึ้นตามมาให้เห็นอย่างเป็นจริงเป็นจังเหมือนเช่นที่ผ่านมา
เพราะการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นที่จะทำให้ประเทศผ่านวิกฤตไปได้นั้น มิใช่การเลือกตั้งที่เร็วขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการเลือกตั้งที่มีความพร้อมคือพร้อมทั้งโครงสร้างของระบบเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เอื้ออำนวย พร้อมทั้งการจัดการเลือกตั้งที่เป็นไปตามกฎหมายพร้อมทั้งจิตสำนึกของประชาชน คนใช้สิทธิเลือกตั้งที่พอจะสรุปบทเรียนแห่งความล้มเหลวที่ผ่านมาจนกลายเป็นวิกฤตของประเทศ ด้วยความเข้าใจมากขึ้นแล้วซึ่งความพร้อมดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องที่จะต้องช่วยกันระดมจัดให้มีขึ้นให้ได้ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็เดินไปสู่การเลือกตั้งโดยไม่มีกระบวนการเตรียมการใด ๆ ที่ดีกว่าเก่า อันจะเป็นการสะสมปัญหาให้เกิดความยุ่งยากตามมาในภายหลังต่อไปอีก
เพื่อให้เกิดความพร้อมอย่างที่ว่า ผมจึงมีความเห็นว่า
1. นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จะต้องมีความกล้าหาญที่จะประกาศให้การเลือกตั้งทั้งที่สุจริต และเที่ยงธรรม รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง เป็นวาระแห่งชาติ พร้อม ๆ กับการสนับสนุนส่งเสริมให้ กกต. และองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ มูลนิธิองค์กรกลาง ได้มีความพร้อมในอันที่จะร่วมมือกันทำวาระแห่งชาติให้เกิดผลสำเร็จ
2. กกต. จะต้องลงมือตระเตรียมการให้มากกว่าที่ทำอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสองภารกิจคือ ภารกิจในการชำระสะสางเครือข่ายเก่าที่กลุ่มอำนาจเก่าจัดตั้งไว้ ทั้งในส่วนกลางและในส่วนต่างจังหวัด ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ซึ่งจะกลายเป็นต้นเหตุของความไม่สุจริตและเที่ยงธรรมในการเลือกตั้งได้ กับอีกภารกิจหนึ่งซึ่งก็คือภารกิจในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาชน โดยใช้บทเรียนของความล้มเหลวในการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างในการสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องเพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นซึ่ง กกต. ยังไม่ค่อยจะได้ทำภารกิจในส่วนนี้เท่าที่ควร
3. สสร. คือ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่างก็มีภารกิจในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา และมีความสมบูรณ์ก้าวหน้ามากกว่าเดิมซึ่งนอกเหนือจากจะต้องสร้างระบบที่สามารถป้องกันมิให้เกิดการรวบอำนาจ หรือเบี่ยงเบนการใช้อำนาจจนก่อให้เกิดวิกฤตตามที่ตระหนักดีกันอยู่แล้วยังมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเลือกตั้งเสียใหม่ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความสะดวกในการซื้อสิทธิ์ขายเสียงรวมทั้งการใช้เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่ได้อย่างง่ายดายอย่างเช่นที่เป็นอยู่
ถ้าทุกฝ่ายต่างร่วมมือกันทำให้มากกว่าที่พูดโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการใช้บทเรียนแห่งความล้มเหลว จนก่อให้เกิดวิกฤตที่มีมากเกินพอ ในการสร้างความเข้าใจต่อประชาชนอย่างทั่วถึงจริง ๆ ก็น่าที่จะมั่นใจได้ว่าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น จะดีขึ้นกว่าเดิมที่สำคัญคือจะได้ไม่ต้องกลับมามีวิกฤตซ้ำ ต่อไปอีก.
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 มิ.ย. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
21 มิถุนายน 2550
เรื่องที่น่าสนใจ และน่าจะได้มีการขานรับเป็นอย่างมากในช่วงนี้ ก็คือ เรื่องที่นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้แสดงความตั้งใจที่จะให้มีการเลือกตั้งทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเลือกตั้ง ส.ส. เร็วกว่าเดิม คือการร่นเข้ามาเลือกตั้งในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2550 เร็วกว่าที่ได้เคยแสดงความตั้งใจเอาไว้เมื่อสองเดือนที่แล้ว
การแสดงความตั้งใจของนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ในเรื่องนี้เมื่อวานนี้คือเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนนี้ นับได้เป็นครั้งที่ 3 และดูจะเป็นการยืนยันความตั้งใจที่หนักแน่นกว่าครั้งก่อน ๆ เสียอีก เพราะถึงขนาดที่ท่านประธาน กกต. อภิชาติ สุขัคคานนท์ ได้ร่วมแถลงยืนยันด้วยว่า กกต. มีความพร้อมและสามารถจัดการเลือกตั้งได้ทันแน่นอน หากจะกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2550
ความจริงเรื่องนี้น่าสนใจ น่าจะเป็นข่าวใหญ่และน่าจะมีขานรับกันอย่างมากมายอย่างที่ว่าแต่ก็ปรากฎว่าเอาเข้าจริงก็ดูจะเป็นเรื่องธรรมดา ๆ คือไม่ค่อยจะมีใครตื่นเต้นกันมากนักที่พอจะมีอยู่ส่วนใหญ่ ก็มักจะเป็นผู้คนที่อยู่ในภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งมีความกังวลกันมาโดยตลอดว่าถ้าตราบใดที่การเมืองยังขาดความชัดเจนคือยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ จึงจะมีการเลือกตั้งตราบนั้น เศรษฐกิจก็คงจะชะลอตัวอยู่เช่นเดิม ซึ่งเมื่อมีการยืนยันกันถึงขนาดนี้ก็พอที่จะทำให้พออุ่นใจขึ้นมาได้บ้าง
แต่ภาคการเมืองก็ดูจะยังเฉย ๆ กันอยู่เสมือนหนึ่งยังไม่มีความแน่ใจว่าจะเป็นไปได้เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดเอามาก ๆ
ผมเข้าใจว่าที่เป็นเช่นนั้น ก็คงจะเป็นเพราะว่า
1. นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ เคยได้แถลงทำนองเดียวกันนี้มาก่อนแล้ว และภายหลังการแถลงแล้ว ก็ไม่ได้พบเห็นว่ามีกระบวนการเตรียมการใด ๆ เพื่อการนี้เกิดขึ้นตามมาให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างเป็นจริงเป็นจัง จนเข้าใจกันว่าคงเป็นเพียงความพยายามในการผ่อนคลายบรรยากาศทางการเมืองบวกกับความเหนื่อยหน่ายต่อภารกิจที่ต้องแบกรับอยู่มากกว่า
2. บรรยากาศแวดล้อมทางการเมืองที่กำลังเป็นอยู่ยังไม่น่าจะเอื้ออำนวยให้การเลือกตั้งอาจจะจัดขึ้นให้เร็วได้ตามที่นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์แสดงความตั้งใจเช่นการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ยังหาจุดลงตัวไม่ค่อยได้ และมีทีท่าว่าจะยืดเยื้อ รวมทั้งปัญหาที่อาจจะเกิดมีขึ้นในขั้นตอนของการจัดทำประชามติ หรือแม้แต่ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการขับเคลื่อนของกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งขณะนี้ส่วนหนึ่งก็ยังมีการชุมนุมกันอยู่ทุกวัน
3. ขาดการขานรับจากองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขัดข้องไม่พร้อมที่จะดำเนินการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ฉบับที่ 15 อย่างรวดเร็ว รวดเดียว 3 วาระ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีความประสงค์เพื่อรองรับการจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง
เหล่านี้พอที่จะนับเป็นสาเหตุแห่งความไม่มั่นใจด้วยกันทั้งสิ้น ว่าการเลือกตั้งอาจจะจัดให้เร็วขึ้นได้จริง
ความจริงดูจะเป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้วว่าการมีเลือกตั้งและการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จะเป็นทางออกที่ดีสำหรับประเทศของเราในขณะนี้
ผมเองก็ได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า ประเทศไทยวันนี้ไม่มีทางเลือกอื่นที่จะดีไปกว่าการช่วยกันประคับประคองมิให้สถานการณ์เลวร้ายกว่าที่เป็นอยู่ ช่วยกันสร้างรัฐธรรมนูญที่พอจะเอื้ออำนวยให้มีการปฏิรูปการเมืองต่อไปได้ เร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นโดยใช้บทเรียนที่ผ่านมาอย่างคุ้มค่าและมีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังแล้วประเทศก็ผ่านวิกฤตไปได้
วันนี้ผมจึงมีความเห็นว่าการที่นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ได้ยืนยันความตั้งใจเรื่องการเลือกตั้งก็เป็นเรื่องดีที่ถูกต้องแล้วแต่ว่า คงไม่ใช่เพียงแต่ออกมาพูด ออกมาแถลงแล้วก็แล้วกันไปโดยไม่มีกระบวนการใด ๆ เกิดขึ้นตามมาให้เห็นอย่างเป็นจริงเป็นจังเหมือนเช่นที่ผ่านมา
เพราะการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นที่จะทำให้ประเทศผ่านวิกฤตไปได้นั้น มิใช่การเลือกตั้งที่เร็วขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการเลือกตั้งที่มีความพร้อมคือพร้อมทั้งโครงสร้างของระบบเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เอื้ออำนวย พร้อมทั้งการจัดการเลือกตั้งที่เป็นไปตามกฎหมายพร้อมทั้งจิตสำนึกของประชาชน คนใช้สิทธิเลือกตั้งที่พอจะสรุปบทเรียนแห่งความล้มเหลวที่ผ่านมาจนกลายเป็นวิกฤตของประเทศ ด้วยความเข้าใจมากขึ้นแล้วซึ่งความพร้อมดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องที่จะต้องช่วยกันระดมจัดให้มีขึ้นให้ได้ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็เดินไปสู่การเลือกตั้งโดยไม่มีกระบวนการเตรียมการใด ๆ ที่ดีกว่าเก่า อันจะเป็นการสะสมปัญหาให้เกิดความยุ่งยากตามมาในภายหลังต่อไปอีก
เพื่อให้เกิดความพร้อมอย่างที่ว่า ผมจึงมีความเห็นว่า
1. นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จะต้องมีความกล้าหาญที่จะประกาศให้การเลือกตั้งทั้งที่สุจริต และเที่ยงธรรม รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง เป็นวาระแห่งชาติ พร้อม ๆ กับการสนับสนุนส่งเสริมให้ กกต. และองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ มูลนิธิองค์กรกลาง ได้มีความพร้อมในอันที่จะร่วมมือกันทำวาระแห่งชาติให้เกิดผลสำเร็จ
2. กกต. จะต้องลงมือตระเตรียมการให้มากกว่าที่ทำอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสองภารกิจคือ ภารกิจในการชำระสะสางเครือข่ายเก่าที่กลุ่มอำนาจเก่าจัดตั้งไว้ ทั้งในส่วนกลางและในส่วนต่างจังหวัด ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ซึ่งจะกลายเป็นต้นเหตุของความไม่สุจริตและเที่ยงธรรมในการเลือกตั้งได้ กับอีกภารกิจหนึ่งซึ่งก็คือภารกิจในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาชน โดยใช้บทเรียนของความล้มเหลวในการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างในการสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องเพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นซึ่ง กกต. ยังไม่ค่อยจะได้ทำภารกิจในส่วนนี้เท่าที่ควร
3. สสร. คือ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่างก็มีภารกิจในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา และมีความสมบูรณ์ก้าวหน้ามากกว่าเดิมซึ่งนอกเหนือจากจะต้องสร้างระบบที่สามารถป้องกันมิให้เกิดการรวบอำนาจ หรือเบี่ยงเบนการใช้อำนาจจนก่อให้เกิดวิกฤตตามที่ตระหนักดีกันอยู่แล้วยังมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเลือกตั้งเสียใหม่ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความสะดวกในการซื้อสิทธิ์ขายเสียงรวมทั้งการใช้เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่ได้อย่างง่ายดายอย่างเช่นที่เป็นอยู่
ถ้าทุกฝ่ายต่างร่วมมือกันทำให้มากกว่าที่พูดโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการใช้บทเรียนแห่งความล้มเหลว จนก่อให้เกิดวิกฤตที่มีมากเกินพอ ในการสร้างความเข้าใจต่อประชาชนอย่างทั่วถึงจริง ๆ ก็น่าที่จะมั่นใจได้ว่าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น จะดีขึ้นกว่าเดิมที่สำคัญคือจะได้ไม่ต้องกลับมามีวิกฤตซ้ำ ต่อไปอีก.
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 มิ.ย. 2550--จบ--