วันนี้ (27 พ.ค. 2550) คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่พรรค ฯ เพื่อเรียกร้องต่อคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากกรณีที่ได้มีการบัญญัติกรอบเรื่องจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในร่างรัฐธรรมนูญ ฯ หมวด 13 ที่อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จากการที่ก่อนหน้านี้ตนได้เคยทำหนังสือเรียกร้องและเสนอแนะต่อคณะกรรมการยกร่างฯ ไปแล้ว และได้รับการตอบรับอย่างดีจากคณะกรรมการยกร่างฯ แต่จากการศึกษาวิเคราะห์ร่างบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 270 และ 271 ในหมวด 13 กอปรกับสังเกตได้จากเสียงสะท้อนของสังคมซึ่งมีการถกเถียงแสดงความคิดเห็นในเวลานี้ยังมองไม่ทะลุในประเด็นเรื่องจริยธรรมโดยพยายามทำให้ตัวจริยธรรมกำเนิดงอกเงยมาจากกฎหมาย และฝากความหวังในเรื่องการบังคับใช้ไว้กับผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งเห็นว่ากำลังจะหลงประเด็นผิดทิศทางสมควรแก้ไขปรับปรุงมาตรา 270 และ 271 เสียใหม่ให้เหมาะสม โดยได้ชี้เหตุผลความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพราะ
1. ปัญหาจริยธรรมคุณธรรมนั้นถือเป็น “มาตรการควบคุมโดยสังคม (Social Control)” มีฐานะคุณค่าที่เหนือกว่ากฎหมาย เนื่องจากเป็นการ สะสม พัฒนา จนตกผลึกของสังคมจนสร้างบรรทัดฐานหรือวัฒนธรรมในเรื่องนั้น ๆ จะไปตีกรอบและให้มาอยู่ภายใต้กรอบคิดโดยกฎหมายไม่ได้
2. เมื่อจริยธรรม คุณธรรม งอกเงยมาจากสังคม รัฐธรรมนูญ ฯ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ไปรับรองความมีอยุ่หรือกระตุ้นให้เกิดหลักคุณค่านี้ จะต้องเหลือที่ว่างให้สังคมได้มีโอกาสเป็นผู้สร้างพัฒนาขึ้นมา ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยจริยธรรม ที่มาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ขึ้นมา ทำหน้าที่ประมวลรวบรวมสิ่งที่ตกผลึกทางความคิดนั้นจากการทำงานร่วมกับสังคม (นอกการเมือง) จนได้เป็นประมวลจริยธรรมขึ้นมา
ฉะนั้นคนที่จะมาทำหน้าที่ตรงนี้ต้องมีความเข้าใจ ข้อต่อและจุดเกาะเกี่ยวทางสังคมเป็นอย่างดีจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ไม่เหมาะสมที่จะมาทำหน้าที่ในเรื่องนี้ เพราะจะเคยชินกับการบริหารราชการทำหน้าที่ใช้ดุลพินิจในลักษณะแบบส่วนราชการมากเกินไป คนทำหน้าที่นี้ให้ดีต้องลึก และคลุกคลีอยู่กับสังคมมากพอที่จะสามารถจับกระแสถอดรหัสชีพจรของสังคมได้
การจะพิจารณาประเด็นเรื่องจริยธรรม คุณธรรมทางการเมืองนั้น ผู้ที่มาพิจารณาเรื่องนี้จำเป็นต้องพินิจพิเคราะห์ใคร่ครวญ มีระบบคิดในการมองปัญหาให้เป็นระบบเสียก่อนถึงจะเข้าใจเรื่องนี้ อยากให้การปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ต้องแสดงออกอย่างแจ้งชัดว่าเรากำลังยกระดับพัฒนาการเมืองไทยให้สูง และมีความยั่งยืนขึ้นไป ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากจะบัญญัติเป็นหลักการรองรับจริยธรรม คุณธรรม ไว้ในหมวดที่ 13 แล้ว ยังไม่พอ จำเป็นต้องเขียนไว้ในที่มาของร่างรัฐธรรมนูญ นี้ด้วย จะได้หลักแน่นว่าเรามีเจตจำนงที่จะยกระดับแก้วิกฤตการเมืองไทย ไม่ให้ล่มจม ซึ่งเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่สำคัญมากของชาติในเวลานี้
โดยคุณหญิงกัลยาหวังว่าตัวอย่างร่างรัฐธรรมนูญที่ได้แก้ไขซึ่งจะเสนอผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในต้นสัปดาห์นี้ จะได้รับการพิจารณาอย่างสร้างสรรค์ต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 พ.ค. 2550--จบ--
1. ปัญหาจริยธรรมคุณธรรมนั้นถือเป็น “มาตรการควบคุมโดยสังคม (Social Control)” มีฐานะคุณค่าที่เหนือกว่ากฎหมาย เนื่องจากเป็นการ สะสม พัฒนา จนตกผลึกของสังคมจนสร้างบรรทัดฐานหรือวัฒนธรรมในเรื่องนั้น ๆ จะไปตีกรอบและให้มาอยู่ภายใต้กรอบคิดโดยกฎหมายไม่ได้
2. เมื่อจริยธรรม คุณธรรม งอกเงยมาจากสังคม รัฐธรรมนูญ ฯ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ไปรับรองความมีอยุ่หรือกระตุ้นให้เกิดหลักคุณค่านี้ จะต้องเหลือที่ว่างให้สังคมได้มีโอกาสเป็นผู้สร้างพัฒนาขึ้นมา ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยจริยธรรม ที่มาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ขึ้นมา ทำหน้าที่ประมวลรวบรวมสิ่งที่ตกผลึกทางความคิดนั้นจากการทำงานร่วมกับสังคม (นอกการเมือง) จนได้เป็นประมวลจริยธรรมขึ้นมา
ฉะนั้นคนที่จะมาทำหน้าที่ตรงนี้ต้องมีความเข้าใจ ข้อต่อและจุดเกาะเกี่ยวทางสังคมเป็นอย่างดีจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ไม่เหมาะสมที่จะมาทำหน้าที่ในเรื่องนี้ เพราะจะเคยชินกับการบริหารราชการทำหน้าที่ใช้ดุลพินิจในลักษณะแบบส่วนราชการมากเกินไป คนทำหน้าที่นี้ให้ดีต้องลึก และคลุกคลีอยู่กับสังคมมากพอที่จะสามารถจับกระแสถอดรหัสชีพจรของสังคมได้
การจะพิจารณาประเด็นเรื่องจริยธรรม คุณธรรมทางการเมืองนั้น ผู้ที่มาพิจารณาเรื่องนี้จำเป็นต้องพินิจพิเคราะห์ใคร่ครวญ มีระบบคิดในการมองปัญหาให้เป็นระบบเสียก่อนถึงจะเข้าใจเรื่องนี้ อยากให้การปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ต้องแสดงออกอย่างแจ้งชัดว่าเรากำลังยกระดับพัฒนาการเมืองไทยให้สูง และมีความยั่งยืนขึ้นไป ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากจะบัญญัติเป็นหลักการรองรับจริยธรรม คุณธรรม ไว้ในหมวดที่ 13 แล้ว ยังไม่พอ จำเป็นต้องเขียนไว้ในที่มาของร่างรัฐธรรมนูญ นี้ด้วย จะได้หลักแน่นว่าเรามีเจตจำนงที่จะยกระดับแก้วิกฤตการเมืองไทย ไม่ให้ล่มจม ซึ่งเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่สำคัญมากของชาติในเวลานี้
โดยคุณหญิงกัลยาหวังว่าตัวอย่างร่างรัฐธรรมนูญที่ได้แก้ไขซึ่งจะเสนอผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในต้นสัปดาห์นี้ จะได้รับการพิจารณาอย่างสร้างสรรค์ต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 พ.ค. 2550--จบ--