เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นี้ นายเกียรติ สิทธีอมร คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ อดีตส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการทำFTAระหว่างไทย — ญี่ปุ่น ว่า ทางพรรคได้มีการทบทวนในเรื่องนี้และมีความเห็นในการทำFTA ภาพรวมและในกรณีไทย-ญี่ปุ่น กล่าวคือในการทำ FTA ของรัฐบาลชุดที่แล้วพบว่า มีปัญหาข้อสำคัญ ๆ ทั้งหมด 4 ข้อ
1. มีการดำเนินการในการเจรจา FTA กับหลายประเทศอย่างเร่งด่วน ทำให้ขาดการศึกษาและขาดการรับฟังความเห็นอย่างเพียงพอจากทุกกลุ่ม
2. FTA บางประเทศทำไปแล้วส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคเกษตร เช่นกรณีไทย-จีน กับกลุ่มปลูกผักผลไม้ และกรณีไทย-ออสเตรเลีย ที่กระทบกับกลุ่มเกษตรการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม ซึ่งจนถึงวันนี้ยังไม่มีมาตรการอะไรออกมาที่จะเข้ามาดูแลกลุ่มเหล่านี้ที่เป็นรูปธรรม และไม่มีงบประมาณจัดสรรไปเพียงพอ
3. กระบวนการในการทำ FTA ในรัฐบาลชุดที่แล้วมีความบกพร่องมาก เช่นไม่มีกระบวนการในการรับฟังความเห็นหรือประชาพิจารณ์เพียงพอ และไม่มีการผ่านความเห็นชอบจากสภาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
4. มีกรณีที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนในกรณีธุรกิจโทรคมนาคมกับหลายประเทศมาก ไม่ว่าจะเป็นกรณีกับประเทศจีน ประเทศอินเดีย หรือประเทศญี่ปุ่น และมีหลายกรณีเนื่องจากเร่งทำ ทำให้เกิดเสียเปรียบในหลายกรณีมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลไปที่จริงแล้วมันเป็นโอกาสที่จะให้รัฐบาลชุดนี้ไปทบทวนทุกความตกลง และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาดที่กล่าวไปแล้ว และวางยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลกลับผลักดันกรณีไทย-ญี่ปุ่นเป็นพิเศษ ซึ่งเหตุผลอันนี้ไม่ค่อยชัดเจนกับสายตาของสังคม และเห็นได้ชัดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่แล้วในสายตาภาคประชาชนขาดความไว้วางใจกับภาครัฐอย่างชัดเจน ถ้าไม่แก้ปัญหาตรงนี้การจะดำเนินการต่อไปก็จะเป็นปัญหาอีกมาก
นายเกียรติ กล่าวว่า กรณีของความตกลงไทย-ญี่ปุ่น รู้สึกเสียดายเพราะกรณีนี้ควรเป็นกรณีที่มีปัญหาน้อยที่สุด เพราะเนื้อหาของความตกลงจริง ๆ แล้วไม่ยุ่งยากเท่ากับกรณีสหรัฐฯ และไม่มีกรณีของภาคเกษตรเข้ามาเกี่ยวข้องมากจนเกินไป แต่กระนั้นก็ตามก็ยังเป็นปัญหาและมีความขัดแย้งอยู่มาก เพราะกระบวนการในการฟังความเห็นจากประชาชนค่อนข้างที่จะไม่ดำเนินการตามเจตนารมณ์ กรณีนี้ทางครม.เคยมีมติในวันที่ 19 ธันวาคม ที่ผ่านมาว่าให้มีการฟังความเห็นประชาชนให้มาก ๆ ก่อนที่จะนำเรื่องเข้าสู่สภา ก่อนที่จะนำเข้ามาสู่การอนุมัติของครม.อีกครั้งหนึ่ง แต่เห็นได้ชัดว่าในวันนั้นเป็นการจัดสัมมนาไม่ใช่การทำประชาพิจารณ์ และจัดเพียงครั้งเดียวที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวันนั้นเองก็มีกลุ่มต่าง ๆ ภาคประชาชนแสดงความเห็นมาก แต่มีเวลาจำกัดและก็ปิดประชุม
“ อันนั้นไม่ได้ถือว่าเป็นการทำประชาพิจารณ์อย่างชัดเจน และหัวหน้าคณะเจรจาก็ยอมรับว่าไม่ใช่เป็นการทำประชาพิจารณ์ จนถึงวันนี้เนื้อหาของร่างข้อตกลงยังไม่เปิดเผย เพราะฉะนั้นกลุ่มที่มีความเป็นห่วงเป็นใยยังไม่เห็นว่าที่จะไปลงนามกันนั้นเขียนว่าอย่างไรบ้าง ได้แต่คาดเดา ได้แต่พยายามไปสืบเสาะกันเอง วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ได้สร้างความไว้วางใจ งานวิจัยศึกษาของหลายกลุ่ม นักวิชาการหลายกลุ่ม ชี้ชัดเจนว่ายังมีปัญหาอยู่มากในบางเรื่องที่สำคัญ ๆ ทั้งกรณีไทย — ญี่ปุ่น แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีแนวทางในการเข้ามาช่วยแก้ไข ภาคเกษตรในกรณีของญี่ปุ่นเช่นกันโดยเฉพาะเรื่องข้าว และกรณีของอาหาร ก็มีปัญหาอยู่มากไม่ได้มารวมเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะลดกำแพงภาษี หรือกำแพงที่ไม่ใช่ภาษี มีกรณีกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบชัดเจน กรณีของกลุ่มเหล็ก ก็ยังไม่มีคำตอบว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำอย่างไร กรณีกลุ่มยานยนต์ก็มีปัญหาว่าโครงสร้างภาษีเขย่งกันอยู่ระหว่างรถประกอบนอกกับรถผลิตในไทย ก็ไม่มีคำตอบ” นายเกียรติ กล่าว
นอกจากนี้นายเกียรติ ยังชี้ว่า มีเรื่องที่สำคัญ 2 เรื่องที่กลุ่มภาคประชาชนให้ความสำคัญมากและให้ความสนใจอย่างยิ่งที่ยังไม่มีคำตอบ เรื่องแรกคือเรื่องการจดสิทธิบัตรจุลินทรีย์ อยู่ในร่างของมาตรา 130 (3) ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องทางเทคนิคที่ค่อนข้างมีความยุ่งยาก แต่มีความเสี่ยงต่อเกษตรกรไทยที่จะต้องเสียค่าสิทธิบัตร ต่อผู้ประกอบการที่มาฉวยโอกาส จดทะเบียนลิขสิทธิ์ในจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติในไทยอยู่แล้ว ถ้ามีความเสี่ยงอย่างนั้น เหตุใดจึงปล่อยให้มีการดำเนินการต่อไป ประการที่ 2 ในเรื่องนี้ เห็นได้ชัดว่า กรณีของข้อตกลงที่ญี่ปุ่นทำกับมาเลเซีย มีข้อความที่แตกต่างจากที่ระบุในเอกสารที่จะลงนามกับไทย ทั้งมาเลเซีย และกรณีของฟิลิปปินส์ด้วย ข้อความในเรื่องจุลินทรีย์ เรื่องสิทธิบัตรนี้แตกต่างจากของไทย ของไทยเป็นข้อความที่เปิดกว้างและสุ่มเสี่ยง และเกินมาตรฐานขององค์กรการค้าโลก ตรงนี้เห็นได้ชัดว่า ความถี่ถ้วนในเรื่องนี้ต้องปรับปรุงแก้ไข เรื่องอีกเรื่องที่สำคัญและเป็นที่พูดกันมากคือเรื่องขยะเทศบาล ตอนแรกที่ผมได้ยินก็แปลกใจ แต่ก็ได้ยินไม่ผิด คือได้ระบุชัดเจนว่าขยะเทศบาล สามารถนำมาที่ประเทศไทยในอัตราภาษีที่ลดลงไปได้ กลุ่มสิ่งแวดล้อมก็มีความเป็นห่วงว่า ขยะเหล่านั้นเหตุใดจึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องระบุในข้อตกลง คำว่าขยะนั้นจะต้องมีพิกัดศุลกากรที่ชัดเจน แต่ในข้อตกลงไม่ได้ระบุชัดเจน
“ผมคิดว่า จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องนี้ ขยะบางประเภท สามารถใช้เป็นวัตถุดิบได้ แต่ไม่ใช่ทุกประเภท ฉะนั้นตรงนี้เองเมื่อกลุ่มต่าง ๆ แสดงความเป็นห่วงแล้ว น่าจะกลับไปสร้างความชัดเจนให้เราหมดห่วงเสีย ผมเชื่อว่าไม่ใช่เจตนารมณ์ของประเทศไทย ที่จะไปรับขยะจากประเทศอื่น อันนี้คงยอมไม่ได้ แต่ถ้าเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตบางประเภท อันนี้ก็ว่ากันไป ตรงนี้มีคนแสดงความเป็นห่วงหลายกลุ่ม แต่คำชี้แจงจนถึงวันนี้ยังไม่เป็นที่พอใจ ยังรับไม่ได้” นายเกียรติ กล่าว
สำหรับเรื่องปัญหาข้อตกลง ที่จะเปิดให้มีการรักษาพยาบาลในไทยได้โดยชาวญี่ปุ่นนั้น ที่ผ่านมาการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพมีทั้งบวกและลบ ข้อที่บวกคือผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโรงพยาบาลชั้นนำนั้นได้ประโยชน์ ค่าบริการเพิ่มขึ้น ถ้าบริการนั้นเพิ่มขึ้น ค่ายาเพิ่มขึ้น กำไรมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน หมอในประเทศไทยนั้นขาดแคลน หมอที่มีคุณภาพที่อยู่ในชนบท ในพื้นที่ต่าง ๆ ก็มีปัญหาย้ายเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลชั้นนำ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นเรื่องนโยบายที่ต้องตอบให้ชัดก่อนที่จะไปลงนามในเอกสารเหล่านี้ และอีกประการหนึ่งที่สำคัญในเรื่องของไทย — ญี่ปุ่นเอง ได้มีการเข้าสภาจริง แต่ไม่ได้เป็นการขอมติเห็นชอบ เป็นการรับฟังความเห็น
“คนอภิปรายก็อภิปรายไม่จบในวันนั้น และก็มีการปิดประชุมไป ซึ่งอันนี้เจตนารมณ์ของการทำข้อตกลงระหว่างประเทศเช่นนี้ควรจะมีการผ่านสภาเป็นมติของสภาเห็นชอบ จึงจะถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าสภานั้นเป็นสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ก็จะมีความชอบธรรม” นายเกียรติกล่าว
ประการสุดท้ายในปัญหาของไทย — ญี่ปุ่น เนื่องจากว่าขณะนี้การทำข้อตกลงไทย - ญี่ปุ่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการทำข้อตกลงอาเซียน กับญี่ปุ่น แต่แทนที่จะมีการกำหนดกรอบระหว่างประเทศอาเซียนกันเองก่อน ว่าจะเจรจากับญี่ปุ่นอย่างไร กลับไม่ได้มีการกำหนดกรอบก่อน แล้วไปเดินหน้าเจรจากับญี่ปุ่น นี่คือสิ่งที่ได้เริ่มในรัฐบาลทักษิณ ซึ่งผิดทาง นายเกียรติกล่าวว่า ควรจะมีการกำหนดกรอบกันระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนก่อน ว่าจะเจรจากับญี่ปุ่นอย่างไร แล้วจึงจะเดินเรื่องเจรจาเป็นรายประเทศ แต่ไทยกลับดึงข้อตกลงที่ทำไว้แล้ว ผลที่เกิดขึ้นทำให้เราได้ข้อตกลงซึ่งในที่สุดจะเป็นปัญหากับกรอบของอาเซียน — ญี่ปุ่น
ตรงนี้นายเกียรติ มีความเป็นห่วงและขอเสนอแนะรัฐบาลว่า แทนที่จะเดินหน้าอย่างเร่งรีบในกรณีของญี่ปุ่นนั้น ควรจะหันกลับมาแก้ปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันจาก เอฟทีเอ อื่น ๆ เสียก่อน เพื่อที่จะสร้างความไว้วางใจระหว่างประชาชนกับรัฐให้ดีกว่านี้ หากเดินหน้าไปโดยไม่มีความไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชนแล้ว จะนำไปสู่ความขัดแย้งบานปลายได้ อีกประการหนึ่งตนไม่อยากเห็นรัฐบาลใช้แนวทางในการดำเนินการในเรื่องเอฟทีเอ เหมือนกับรัฐบาลทักษิณ เพราะกระบวนการของรัฐบาลทักษิณนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรง ให้รัฐบาลควรทบทวนมติครม. วานนี้ (20 กพ.50) ที่ให้ลงนามในข้อตกลงในเดือนเมษายน ด้วยการรับฟัง และพูดคุยกับกลุ่มต่าง ๆ ให้มากขึ้น แม้กระทั่งจะต้องกลับไปนั่งโต๊ะเจรจา เพื่อเจรจาบางเรื่องให้ชัดเจนมากกว่านี้ก็ยังไม่สาย
นอกจากนี้รัฐบาลควรจะเข้าไปช่วยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบแล้ว อาทิ กลุ่มเกษตรกรผัก ผลไม้ โคเนื้อ โคนมเป็นต้น รัฐบาลต้องมีแผนงานและงบประมาณ ในการที่จะปรับโครงสร้างภายในด้วย อีกทั้งในโอกาสนี้รัฐบาลควรกลับไปทบทวนยุทธศาสตร์การทำเอฟทีเอ กับทุกประเทศ และวางยุทธศาสตร์ที่มีเหตุมีผลและเป็นประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย และชี้แจงกับสังคมให้ชัดว่าจะเดินเรื่องเอฟทีเออย่างไร มีลำดับการเจรจาประเทศใดก่อนหลัง สิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้างความมั่นใจว่า รัฐบาลดำเนินนโยบายอย่างถูกทางและถูกวิธี
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 ก.พ. 2550--จบ--
1. มีการดำเนินการในการเจรจา FTA กับหลายประเทศอย่างเร่งด่วน ทำให้ขาดการศึกษาและขาดการรับฟังความเห็นอย่างเพียงพอจากทุกกลุ่ม
2. FTA บางประเทศทำไปแล้วส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคเกษตร เช่นกรณีไทย-จีน กับกลุ่มปลูกผักผลไม้ และกรณีไทย-ออสเตรเลีย ที่กระทบกับกลุ่มเกษตรการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม ซึ่งจนถึงวันนี้ยังไม่มีมาตรการอะไรออกมาที่จะเข้ามาดูแลกลุ่มเหล่านี้ที่เป็นรูปธรรม และไม่มีงบประมาณจัดสรรไปเพียงพอ
3. กระบวนการในการทำ FTA ในรัฐบาลชุดที่แล้วมีความบกพร่องมาก เช่นไม่มีกระบวนการในการรับฟังความเห็นหรือประชาพิจารณ์เพียงพอ และไม่มีการผ่านความเห็นชอบจากสภาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
4. มีกรณีที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนในกรณีธุรกิจโทรคมนาคมกับหลายประเทศมาก ไม่ว่าจะเป็นกรณีกับประเทศจีน ประเทศอินเดีย หรือประเทศญี่ปุ่น และมีหลายกรณีเนื่องจากเร่งทำ ทำให้เกิดเสียเปรียบในหลายกรณีมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลไปที่จริงแล้วมันเป็นโอกาสที่จะให้รัฐบาลชุดนี้ไปทบทวนทุกความตกลง และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาดที่กล่าวไปแล้ว และวางยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลกลับผลักดันกรณีไทย-ญี่ปุ่นเป็นพิเศษ ซึ่งเหตุผลอันนี้ไม่ค่อยชัดเจนกับสายตาของสังคม และเห็นได้ชัดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่แล้วในสายตาภาคประชาชนขาดความไว้วางใจกับภาครัฐอย่างชัดเจน ถ้าไม่แก้ปัญหาตรงนี้การจะดำเนินการต่อไปก็จะเป็นปัญหาอีกมาก
นายเกียรติ กล่าวว่า กรณีของความตกลงไทย-ญี่ปุ่น รู้สึกเสียดายเพราะกรณีนี้ควรเป็นกรณีที่มีปัญหาน้อยที่สุด เพราะเนื้อหาของความตกลงจริง ๆ แล้วไม่ยุ่งยากเท่ากับกรณีสหรัฐฯ และไม่มีกรณีของภาคเกษตรเข้ามาเกี่ยวข้องมากจนเกินไป แต่กระนั้นก็ตามก็ยังเป็นปัญหาและมีความขัดแย้งอยู่มาก เพราะกระบวนการในการฟังความเห็นจากประชาชนค่อนข้างที่จะไม่ดำเนินการตามเจตนารมณ์ กรณีนี้ทางครม.เคยมีมติในวันที่ 19 ธันวาคม ที่ผ่านมาว่าให้มีการฟังความเห็นประชาชนให้มาก ๆ ก่อนที่จะนำเรื่องเข้าสู่สภา ก่อนที่จะนำเข้ามาสู่การอนุมัติของครม.อีกครั้งหนึ่ง แต่เห็นได้ชัดว่าในวันนั้นเป็นการจัดสัมมนาไม่ใช่การทำประชาพิจารณ์ และจัดเพียงครั้งเดียวที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวันนั้นเองก็มีกลุ่มต่าง ๆ ภาคประชาชนแสดงความเห็นมาก แต่มีเวลาจำกัดและก็ปิดประชุม
“ อันนั้นไม่ได้ถือว่าเป็นการทำประชาพิจารณ์อย่างชัดเจน และหัวหน้าคณะเจรจาก็ยอมรับว่าไม่ใช่เป็นการทำประชาพิจารณ์ จนถึงวันนี้เนื้อหาของร่างข้อตกลงยังไม่เปิดเผย เพราะฉะนั้นกลุ่มที่มีความเป็นห่วงเป็นใยยังไม่เห็นว่าที่จะไปลงนามกันนั้นเขียนว่าอย่างไรบ้าง ได้แต่คาดเดา ได้แต่พยายามไปสืบเสาะกันเอง วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ได้สร้างความไว้วางใจ งานวิจัยศึกษาของหลายกลุ่ม นักวิชาการหลายกลุ่ม ชี้ชัดเจนว่ายังมีปัญหาอยู่มากในบางเรื่องที่สำคัญ ๆ ทั้งกรณีไทย — ญี่ปุ่น แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีแนวทางในการเข้ามาช่วยแก้ไข ภาคเกษตรในกรณีของญี่ปุ่นเช่นกันโดยเฉพาะเรื่องข้าว และกรณีของอาหาร ก็มีปัญหาอยู่มากไม่ได้มารวมเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะลดกำแพงภาษี หรือกำแพงที่ไม่ใช่ภาษี มีกรณีกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบชัดเจน กรณีของกลุ่มเหล็ก ก็ยังไม่มีคำตอบว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำอย่างไร กรณีกลุ่มยานยนต์ก็มีปัญหาว่าโครงสร้างภาษีเขย่งกันอยู่ระหว่างรถประกอบนอกกับรถผลิตในไทย ก็ไม่มีคำตอบ” นายเกียรติ กล่าว
นอกจากนี้นายเกียรติ ยังชี้ว่า มีเรื่องที่สำคัญ 2 เรื่องที่กลุ่มภาคประชาชนให้ความสำคัญมากและให้ความสนใจอย่างยิ่งที่ยังไม่มีคำตอบ เรื่องแรกคือเรื่องการจดสิทธิบัตรจุลินทรีย์ อยู่ในร่างของมาตรา 130 (3) ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องทางเทคนิคที่ค่อนข้างมีความยุ่งยาก แต่มีความเสี่ยงต่อเกษตรกรไทยที่จะต้องเสียค่าสิทธิบัตร ต่อผู้ประกอบการที่มาฉวยโอกาส จดทะเบียนลิขสิทธิ์ในจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติในไทยอยู่แล้ว ถ้ามีความเสี่ยงอย่างนั้น เหตุใดจึงปล่อยให้มีการดำเนินการต่อไป ประการที่ 2 ในเรื่องนี้ เห็นได้ชัดว่า กรณีของข้อตกลงที่ญี่ปุ่นทำกับมาเลเซีย มีข้อความที่แตกต่างจากที่ระบุในเอกสารที่จะลงนามกับไทย ทั้งมาเลเซีย และกรณีของฟิลิปปินส์ด้วย ข้อความในเรื่องจุลินทรีย์ เรื่องสิทธิบัตรนี้แตกต่างจากของไทย ของไทยเป็นข้อความที่เปิดกว้างและสุ่มเสี่ยง และเกินมาตรฐานขององค์กรการค้าโลก ตรงนี้เห็นได้ชัดว่า ความถี่ถ้วนในเรื่องนี้ต้องปรับปรุงแก้ไข เรื่องอีกเรื่องที่สำคัญและเป็นที่พูดกันมากคือเรื่องขยะเทศบาล ตอนแรกที่ผมได้ยินก็แปลกใจ แต่ก็ได้ยินไม่ผิด คือได้ระบุชัดเจนว่าขยะเทศบาล สามารถนำมาที่ประเทศไทยในอัตราภาษีที่ลดลงไปได้ กลุ่มสิ่งแวดล้อมก็มีความเป็นห่วงว่า ขยะเหล่านั้นเหตุใดจึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องระบุในข้อตกลง คำว่าขยะนั้นจะต้องมีพิกัดศุลกากรที่ชัดเจน แต่ในข้อตกลงไม่ได้ระบุชัดเจน
“ผมคิดว่า จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องนี้ ขยะบางประเภท สามารถใช้เป็นวัตถุดิบได้ แต่ไม่ใช่ทุกประเภท ฉะนั้นตรงนี้เองเมื่อกลุ่มต่าง ๆ แสดงความเป็นห่วงแล้ว น่าจะกลับไปสร้างความชัดเจนให้เราหมดห่วงเสีย ผมเชื่อว่าไม่ใช่เจตนารมณ์ของประเทศไทย ที่จะไปรับขยะจากประเทศอื่น อันนี้คงยอมไม่ได้ แต่ถ้าเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตบางประเภท อันนี้ก็ว่ากันไป ตรงนี้มีคนแสดงความเป็นห่วงหลายกลุ่ม แต่คำชี้แจงจนถึงวันนี้ยังไม่เป็นที่พอใจ ยังรับไม่ได้” นายเกียรติ กล่าว
สำหรับเรื่องปัญหาข้อตกลง ที่จะเปิดให้มีการรักษาพยาบาลในไทยได้โดยชาวญี่ปุ่นนั้น ที่ผ่านมาการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพมีทั้งบวกและลบ ข้อที่บวกคือผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโรงพยาบาลชั้นนำนั้นได้ประโยชน์ ค่าบริการเพิ่มขึ้น ถ้าบริการนั้นเพิ่มขึ้น ค่ายาเพิ่มขึ้น กำไรมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน หมอในประเทศไทยนั้นขาดแคลน หมอที่มีคุณภาพที่อยู่ในชนบท ในพื้นที่ต่าง ๆ ก็มีปัญหาย้ายเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลชั้นนำ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นเรื่องนโยบายที่ต้องตอบให้ชัดก่อนที่จะไปลงนามในเอกสารเหล่านี้ และอีกประการหนึ่งที่สำคัญในเรื่องของไทย — ญี่ปุ่นเอง ได้มีการเข้าสภาจริง แต่ไม่ได้เป็นการขอมติเห็นชอบ เป็นการรับฟังความเห็น
“คนอภิปรายก็อภิปรายไม่จบในวันนั้น และก็มีการปิดประชุมไป ซึ่งอันนี้เจตนารมณ์ของการทำข้อตกลงระหว่างประเทศเช่นนี้ควรจะมีการผ่านสภาเป็นมติของสภาเห็นชอบ จึงจะถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าสภานั้นเป็นสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ก็จะมีความชอบธรรม” นายเกียรติกล่าว
ประการสุดท้ายในปัญหาของไทย — ญี่ปุ่น เนื่องจากว่าขณะนี้การทำข้อตกลงไทย - ญี่ปุ่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการทำข้อตกลงอาเซียน กับญี่ปุ่น แต่แทนที่จะมีการกำหนดกรอบระหว่างประเทศอาเซียนกันเองก่อน ว่าจะเจรจากับญี่ปุ่นอย่างไร กลับไม่ได้มีการกำหนดกรอบก่อน แล้วไปเดินหน้าเจรจากับญี่ปุ่น นี่คือสิ่งที่ได้เริ่มในรัฐบาลทักษิณ ซึ่งผิดทาง นายเกียรติกล่าวว่า ควรจะมีการกำหนดกรอบกันระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนก่อน ว่าจะเจรจากับญี่ปุ่นอย่างไร แล้วจึงจะเดินเรื่องเจรจาเป็นรายประเทศ แต่ไทยกลับดึงข้อตกลงที่ทำไว้แล้ว ผลที่เกิดขึ้นทำให้เราได้ข้อตกลงซึ่งในที่สุดจะเป็นปัญหากับกรอบของอาเซียน — ญี่ปุ่น
ตรงนี้นายเกียรติ มีความเป็นห่วงและขอเสนอแนะรัฐบาลว่า แทนที่จะเดินหน้าอย่างเร่งรีบในกรณีของญี่ปุ่นนั้น ควรจะหันกลับมาแก้ปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันจาก เอฟทีเอ อื่น ๆ เสียก่อน เพื่อที่จะสร้างความไว้วางใจระหว่างประชาชนกับรัฐให้ดีกว่านี้ หากเดินหน้าไปโดยไม่มีความไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชนแล้ว จะนำไปสู่ความขัดแย้งบานปลายได้ อีกประการหนึ่งตนไม่อยากเห็นรัฐบาลใช้แนวทางในการดำเนินการในเรื่องเอฟทีเอ เหมือนกับรัฐบาลทักษิณ เพราะกระบวนการของรัฐบาลทักษิณนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรง ให้รัฐบาลควรทบทวนมติครม. วานนี้ (20 กพ.50) ที่ให้ลงนามในข้อตกลงในเดือนเมษายน ด้วยการรับฟัง และพูดคุยกับกลุ่มต่าง ๆ ให้มากขึ้น แม้กระทั่งจะต้องกลับไปนั่งโต๊ะเจรจา เพื่อเจรจาบางเรื่องให้ชัดเจนมากกว่านี้ก็ยังไม่สาย
นอกจากนี้รัฐบาลควรจะเข้าไปช่วยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบแล้ว อาทิ กลุ่มเกษตรกรผัก ผลไม้ โคเนื้อ โคนมเป็นต้น รัฐบาลต้องมีแผนงานและงบประมาณ ในการที่จะปรับโครงสร้างภายในด้วย อีกทั้งในโอกาสนี้รัฐบาลควรกลับไปทบทวนยุทธศาสตร์การทำเอฟทีเอ กับทุกประเทศ และวางยุทธศาสตร์ที่มีเหตุมีผลและเป็นประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย และชี้แจงกับสังคมให้ชัดว่าจะเดินเรื่องเอฟทีเออย่างไร มีลำดับการเจรจาประเทศใดก่อนหลัง สิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้างความมั่นใจว่า รัฐบาลดำเนินนโยบายอย่างถูกทางและถูกวิธี
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 ก.พ. 2550--จบ--