กรุงเทพ--21 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย จัดโครงการขยายผลกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย — อินเดีย ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน — 3 กรกฎาคม 2550 ณ เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของอินเดีย 4 แห่ง ได้แก่ นิวเดลี มุมไบ เจนไน และกัลกัตตา
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งกำหนดจะเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 25 — 27 มิถุนายน 2550 จะเป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าวในวันที่ 26 มิถุนายน 2550 ณ กรุงนิวเดลี หลังจากนั้น นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะฯ นำผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยไปร่วมโครงการฯ ณ เมืองมุมไบ เมืองเจนไนและเมืองกัลกัตตา ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน — 3 กรกฎาคม 2550
กรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย — อินเดีย ที่ได้มีการลงนามไปเมื่อเดือนตุลาคม 2546 ได้ก่อให้เกิดการลดภาษีรายการสินค้าล่วงหน้าระหว่างกันแล้วจำนวน 82 รายการ (Early Harvest Scheme - EHS) และลดภาษีเป็น 0% ตั้งแต่ปี 2549 และทั้งสองประเทศตั้งใจจะบรรลุการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ มูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างไทยและอินเดียภายหลังจากการลงนามความตกลง EHS แล้ว เพิ่มขึ้นจาก 1,184 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 3,406 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2545-2549) และทำให้ไทยได้ดุลการค้ากับอินเดียเป็นครั้งแรกในปี 2548 (มูลค่าการค้าประมาณ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการนำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยไปร่วมโครงการที่ประเทศอินเดียในครั้งนี้ ได้แก่ 1) เพื่อเป็นการตอกย้ำโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่จะเกิดจากความตกลง FTA ไทย — อินเดีย และเพื่อเป็นการเบิกทางและขยายโอกาสจากความตกลงแก่ภาคเอกชนไทย โดยมุ่งเน้นสาขาธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพในตลาดอินเดีย 2) เพื่อให้ภาครัฐและเอกชนไทยได้ทำคามรู้จักกับ key players ทั้งภาครัฐและเอกชนของอินเดียในแต่ละเมืองเพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ 3) เพื่อเปิดโอกาสให้ภาครัฐและเอกชนไทยได้ศึกษา/เรียนรู้ตลาดอินเดีย ระบบและกฎระเบียบด้านการค้าการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนของอินเดียโดยตรง
กำหนดการดำเนินโครงการดังกล่าวในแต่ละเมืองของอินเดีย จะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจต่าง ๆ มากมาย อาทิ (1) การสัมมนาซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ จัดร่วมกับกับองค์กรภาคเอกชนอินเดียในหัวข้อ “Emerging Opportunities Post FTA” (2) การจับคู่ภาคธุรกิจ (Business Matching) ของภาคเอกชนไทยและอินเดีย (3) การพบปะผู้แทนระดับสูงของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนของรัฐหรือเมืองนั้น ๆ (4) การศึกษาดูงานด้านการค้าและอุตสาหกรรมสำคัญของแต่ละเมือง (5) การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ประเทศไทย (Thai Night Reception) เป็นต้น
ทางด้านความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย — อินเดีย นั้น ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอินเดียเป็นเวลาเกือบ 60 ปี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2490 ในขณะนี้ ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตตั้งอยู่ที่กรุงนิวเดลี และมีสถานกงสุลใหญ่อีก 3 แห่ง ที่เมืองกัลกัตตา เมืองมุมไบ และเมืองเจนไน ส่วนอินเดียมีสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงเทพฯ และมีสถานกงสุลใหญ่ที่เชียงใหม่ และกำลังจะเปิดที่สงขลา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย จัดโครงการขยายผลกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย — อินเดีย ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน — 3 กรกฎาคม 2550 ณ เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของอินเดีย 4 แห่ง ได้แก่ นิวเดลี มุมไบ เจนไน และกัลกัตตา
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งกำหนดจะเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 25 — 27 มิถุนายน 2550 จะเป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าวในวันที่ 26 มิถุนายน 2550 ณ กรุงนิวเดลี หลังจากนั้น นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะฯ นำผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยไปร่วมโครงการฯ ณ เมืองมุมไบ เมืองเจนไนและเมืองกัลกัตตา ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน — 3 กรกฎาคม 2550
กรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย — อินเดีย ที่ได้มีการลงนามไปเมื่อเดือนตุลาคม 2546 ได้ก่อให้เกิดการลดภาษีรายการสินค้าล่วงหน้าระหว่างกันแล้วจำนวน 82 รายการ (Early Harvest Scheme - EHS) และลดภาษีเป็น 0% ตั้งแต่ปี 2549 และทั้งสองประเทศตั้งใจจะบรรลุการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ มูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างไทยและอินเดียภายหลังจากการลงนามความตกลง EHS แล้ว เพิ่มขึ้นจาก 1,184 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 3,406 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2545-2549) และทำให้ไทยได้ดุลการค้ากับอินเดียเป็นครั้งแรกในปี 2548 (มูลค่าการค้าประมาณ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการนำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยไปร่วมโครงการที่ประเทศอินเดียในครั้งนี้ ได้แก่ 1) เพื่อเป็นการตอกย้ำโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่จะเกิดจากความตกลง FTA ไทย — อินเดีย และเพื่อเป็นการเบิกทางและขยายโอกาสจากความตกลงแก่ภาคเอกชนไทย โดยมุ่งเน้นสาขาธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพในตลาดอินเดีย 2) เพื่อให้ภาครัฐและเอกชนไทยได้ทำคามรู้จักกับ key players ทั้งภาครัฐและเอกชนของอินเดียในแต่ละเมืองเพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ 3) เพื่อเปิดโอกาสให้ภาครัฐและเอกชนไทยได้ศึกษา/เรียนรู้ตลาดอินเดีย ระบบและกฎระเบียบด้านการค้าการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนของอินเดียโดยตรง
กำหนดการดำเนินโครงการดังกล่าวในแต่ละเมืองของอินเดีย จะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจต่าง ๆ มากมาย อาทิ (1) การสัมมนาซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ จัดร่วมกับกับองค์กรภาคเอกชนอินเดียในหัวข้อ “Emerging Opportunities Post FTA” (2) การจับคู่ภาคธุรกิจ (Business Matching) ของภาคเอกชนไทยและอินเดีย (3) การพบปะผู้แทนระดับสูงของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนของรัฐหรือเมืองนั้น ๆ (4) การศึกษาดูงานด้านการค้าและอุตสาหกรรมสำคัญของแต่ละเมือง (5) การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ประเทศไทย (Thai Night Reception) เป็นต้น
ทางด้านความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย — อินเดีย นั้น ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอินเดียเป็นเวลาเกือบ 60 ปี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2490 ในขณะนี้ ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตตั้งอยู่ที่กรุงนิวเดลี และมีสถานกงสุลใหญ่อีก 3 แห่ง ที่เมืองกัลกัตตา เมืองมุมไบ และเมืองเจนไน ส่วนอินเดียมีสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงเทพฯ และมีสถานกงสุลใหญ่ที่เชียงใหม่ และกำลังจะเปิดที่สงขลา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-