สศอ. ลุยต่อหาช่องใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอให้คุ้ม ล้วงลึกกรอบ AFTA ปูทางสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่แข็งแกร่งภายในปี 2015
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ลงมือศึกษาแนวทางการแสวงหาผลประโยชน์จากข้อตกลงการเปิดเสรีการค้า หรือ FTAs ระยะที่ 2 โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ หรือ TDRI เป็นผู้ศึกษาโดยจะใช้เวลา 10 เดือน หรือแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2551 เพื่อทำการศึกษาว่าจะใช้ประโยชน์จากความตกลง AFTA รวมถึง ACFTA (อาเซียน-จีน) ได้อย่างไร โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมหลัก 4 สาขา ได้แก่ ยานยนต์ สิ่งทอ เหล็ก และ ปิโตรเคมี เพื่อจะได้กำหนดนโยบาย เตรียมกรอบยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนได้ตรงเป้าหมาย และใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AFTA และ ACFTA ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมต่อไป
“การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นโครงการศึกษาต่อเนื่องจากงบประมาณปีที่ผ่านมา ที่ สศอ.ได้ทำการศึกษาการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่ได้ลงนามไปแล้ว ได้แก่ ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-อินเดีย และไทย-จีน ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้อุตสาหกรรมต่างๆสามารถปรับตัว และใช้ประโยชน์จากความตกลงได้อย่างเหมาะสม สำหรับครั้งนี้ สศอ.จะทำการศึกษาเจาะลึกความตกลง AFTA และ ACFTA เพื่อเตรียมความพร้อมให้ภาคอุตสาหกรรมไทย สามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงดังกล่าวให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะ 4 สาขาอุตสาหกรรมหลักข้างต้น”
ดร.อรรชกา เปิดเผยอีกว่า หลังจากที่มีการลงนาม AFTA และดำเนินการตามข้อตกลงมา กว่า 15 ปี สมาชิกในอาเซียนที่รวมกลุ่มกันมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งได้ตั้งปณิธานของกลุ่มและได้ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ให้เกิดขึ้นภายในปี 2015 และในขณะนี้อาเซียนกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นแกนหลักในการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ทั้ง จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี และสหภาพยุโรปในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมของไทยยังไม่มีความชัดเจน สศอ. จึงเล็งเห็นความสำคัญของกรอบ AFTA และ ACFTA ว่าจะเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างประโยชน์ให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทย จึงได้ดำเนินการลงมือศึกษาอย่างจริงจังเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนก้าวสู่จุดนั้น สศอ. จึงได้เร่งทำการศึกษาร่วมกับ TDRI ในครั้งนี้ โดยผลการศึกษาที่ได้ออกมาจะทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับทราบผลกระทบของ FTA ภายใต้กรอบ AFTA และ ACFTA และ เตรียมแผนงานรองรับการใช้ประโยชน์ รวมทั้งมีการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ในการชี้แนะภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ สศอ. ยังได้เตรียมแผนการศึกษา ผลกระทบและการใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ที่รัฐบาลไทยจะลงนามกับรัฐบาลญี่ปุ่นในระยะต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ลงมือศึกษาแนวทางการแสวงหาผลประโยชน์จากข้อตกลงการเปิดเสรีการค้า หรือ FTAs ระยะที่ 2 โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ หรือ TDRI เป็นผู้ศึกษาโดยจะใช้เวลา 10 เดือน หรือแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2551 เพื่อทำการศึกษาว่าจะใช้ประโยชน์จากความตกลง AFTA รวมถึง ACFTA (อาเซียน-จีน) ได้อย่างไร โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมหลัก 4 สาขา ได้แก่ ยานยนต์ สิ่งทอ เหล็ก และ ปิโตรเคมี เพื่อจะได้กำหนดนโยบาย เตรียมกรอบยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนได้ตรงเป้าหมาย และใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AFTA และ ACFTA ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมต่อไป
“การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นโครงการศึกษาต่อเนื่องจากงบประมาณปีที่ผ่านมา ที่ สศอ.ได้ทำการศึกษาการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่ได้ลงนามไปแล้ว ได้แก่ ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-อินเดีย และไทย-จีน ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้อุตสาหกรรมต่างๆสามารถปรับตัว และใช้ประโยชน์จากความตกลงได้อย่างเหมาะสม สำหรับครั้งนี้ สศอ.จะทำการศึกษาเจาะลึกความตกลง AFTA และ ACFTA เพื่อเตรียมความพร้อมให้ภาคอุตสาหกรรมไทย สามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงดังกล่าวให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะ 4 สาขาอุตสาหกรรมหลักข้างต้น”
ดร.อรรชกา เปิดเผยอีกว่า หลังจากที่มีการลงนาม AFTA และดำเนินการตามข้อตกลงมา กว่า 15 ปี สมาชิกในอาเซียนที่รวมกลุ่มกันมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งได้ตั้งปณิธานของกลุ่มและได้ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ให้เกิดขึ้นภายในปี 2015 และในขณะนี้อาเซียนกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นแกนหลักในการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ทั้ง จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี และสหภาพยุโรปในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมของไทยยังไม่มีความชัดเจน สศอ. จึงเล็งเห็นความสำคัญของกรอบ AFTA และ ACFTA ว่าจะเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างประโยชน์ให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทย จึงได้ดำเนินการลงมือศึกษาอย่างจริงจังเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนก้าวสู่จุดนั้น สศอ. จึงได้เร่งทำการศึกษาร่วมกับ TDRI ในครั้งนี้ โดยผลการศึกษาที่ได้ออกมาจะทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับทราบผลกระทบของ FTA ภายใต้กรอบ AFTA และ ACFTA และ เตรียมแผนงานรองรับการใช้ประโยชน์ รวมทั้งมีการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ในการชี้แนะภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ สศอ. ยังได้เตรียมแผนการศึกษา ผลกระทบและการใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ที่รัฐบาลไทยจะลงนามกับรัฐบาลญี่ปุ่นในระยะต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-