ผู้ดำเนินรายการสวัสดีค่ะ/ครับ คุณอภิสิทธิ์คะ / ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ
ผู้ดำเนินรายการคุณอภิสิทธิ์คงเกาะติดเรื่องของรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานี้นะคะ มีการทำงานของกรรมาธิการด้วย ไม่ทราบว่าเป็นยังไงบ้างคะ
คุณอภิสิทธิ์ ก็อยู่ในช่วงเริ่มต้นนะครับ แล้วก็คงจะมีการนำเสนอความคิดต่างๆที่หลากหลายพอสมควรนะครับ เอ่อ แต่ว่าสิ่งที่ผมได้พยายามนำเสนอในขณะนี้ก็คือ อยากจะให้ภาพรวมของเป้าหมายของรัฐธรรมนูญที่มีความชัดเจนมากขึ้นนะครับ ซึ่งดูแล้วบางเรื่องก็สอดคล้องกับสิ่งที่ทำอยู่นะครับ เช่น เมื่อวานนี้ก็ มีการพูดกันชัดเจนแล้วว่า ยังคงระบบสองสภาไว้
ผู้ดำเนินรายการครับ
คุณอภิสิทธิ์ ซึ่งผมเห็นด้วยนะครับ เพราะว่าเห็นว่าวุฒิสภา น่าจะเป็นสภาที่มีอยู่เพื่อกลั่นกรองยับยั้งและก็ถ่วงดุลนะครับ สภาร่าง แต่ว่าหลักสำคัญ ก็คือว่า ไม่ทำงานในลักษณะที่ซ้ำซ้อนกัน แล้วก็สัปดาห์ที่แล้วก็ได้พูดถึงเรื่องของการที่จะให้วุฒิสภาเป็นสภาของนักการเมืองที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง แล้วก็อยากให้หาทางที่จะเปิดพื้นที่ตรงนี้ให้กับนักการเมืองภาคประชาชนเข้ามา ทั้งริเริ่มกฎหมาย ทั้งในแง่ของการที่จะมาติดตามตรวจสอบในเชิงนโยบายได้อีกด้วยนะครับ ทีนี้สิ่งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากตอนหลังก็วกกลับไปที่เรื่องสภาผู้แทนราษฎร เพราะว่าเป็นหัวใจ ทีนี้ก็มีข้อเสนอกันเยอะนะครับ ทั้งลดจำนวน ทั้งจะถกเถียงกันเรื่องมาตรการ 90 วัน หรืออะไรต่างๆ
ซึ่งผมเห็นว่าตรงนี้คงจะต้องทำความเข้าใจและระมัดระวัง ผมมีความรู้สึกว่าประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวข้องกับห้าหกปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องของรัฐบาลของคุณทักษิณหรือว่าพรรคไทยรักไทย ทำให้หลายคนคิดในเชิงเป็นปฎิกิริยามากเกินไป คือ เช่นเห็นปรากฎการณ์ของไทยรักไทยแล้วก็ไปตั้งเป้าว่าจะต้องทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ซึ่งจริงๆ แล้วปัญหา คงจะไม่ใช่อย่างนั้น และสิ่งสำคัญที่สุดที่อยากจะเน้นก็คือว่าระบบรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรเป็นหัวใจ ของการที่จะสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนไปสู่การบริหารประเทศ เราใช้ระบบรัฐสภา เพราะว่าบ้านเมืองของเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์นะครับ เราไม่ใช่ระบอบประธานาธิบดี ซึ่งจะไปมีจุดศูนย์รวมของอำนาจ และก็เป็นแกนของระบบอยู่ที่ประธานาธิบดี เราต้องมีระบบที่สอดคล้องกับการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ก็คือมีระบบรัฐสภา ก็แปลว่ารัฐบาลหรือนายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่มาจากกระบวนการที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ทีนี้ในระบบอย่างนี้ทั่วโลก พรรคการเมืองจะต้องเป็นแกนหลักในการทำให้ระบบนี้เดินได้ นั่นหมายความว่านายกฯ มาจากสภา คือมาจาก สส. นายกฯ รับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร และก็นายกฯ และรัฐบาลก็ต้องกุมเสียงข้างมากในการบริหารประเทศได้ในสภาผู้แทนราษฎร เราหนีตรงนี้ไปไม่ได้นะครับ
ฉะนั้นการที่เราจะมาพูดถึงว่าพรรคการเมืองเข้มแข็งเกินไปนั้น จริง ๆ แล้ว พรรคการเมืองต้องเข้มแข็ง คือเราลองนึกภาพนะครับว่า ถ้าสมมติว่าคุณเติมศักดิ์ คุณอวัสดา หรือผมไปเลือกตั้งแล้วไปเลือก สส. แล้ว สส. ก็ คือหมายความว่าเราอาจจะบอกคนนี้ดี คนนั้นไม่ดี แต่เราไม่รู้เลยว่า คน ๆ นั้นจะไปสนับสนุนใครเป็นนายกฯ จะไปผลักดันนโยบายในเรื่องไหน แล้วก็จะทำงานกันเป็นระบบได้ ลงมติในเรื่องต่าง ๆ มีกรอบความคิดหรือมีตัวกำกับอย่างไร ผมว่านอกจากจะโกลาหลแล้ว มันก็เท่ากับว่าเราเองไม่ได้ทำอะไรเลยนะครับในฐานะผู้เลือกตั้ง นอกจากว่า มอบอำนาจนั้นไปให้คน ๆ นั้น ทำโดยไม่มีกรอบ ซึ่งมันไม่ใช่วิธีการที่สามารถสะท้อนเจตนารมย์ของประชาชนไปสู่การบริหารประเทศได้ เพราะฉะนั้นระบบพรรคการเมืองต้องมาทำหน้าที่ตรงนี้ ส่วนถ้าพรรคการเมืองไม่ดีนั้นก็ต้องไปแก้ว่า พรรคการเมืองที่ไม่ดีที่ผ่านมานั้นเป็นเพราะอะไร เช่นถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องการที่ทุนเข้ามาครอบงำ ไม่ต้องการให้ไปควบรวมพรรค หรือว่าปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วที่ผมไม่เห็นด้วยก็คือที่บอกว่า รัฐมนตรีลาออก เป็น สส. จะเป็นรัฐมนตรีต้องลาออก แล้วก็เลยเกิดปัญหาขึ้น ต้องไปแก้ตรงนั้น แต่อย่าไปคิดว่าจงใจทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอนะครับ เพราะฉะนั้นที่พูดกันว่า สส. ไม่สังกัดพรรคก็ดี หรือว่าจะย้อนไปสู่ยุคที่ย้ายพรรคกันได้ตามใจชอบก็ดี ผมคิดว่าอันนี้จะอันตราย อันนี้คือสิ่งที่ผมคิดว่า อยากจะให้ระมัดระวังตอนนี้เพราะว่า ไม่ใช่เฉพาะเรื่องประเด็นแบบนี้ อย่างพรรคการเมืองในรัฐธรรมนูญเท่านั้นเอง
แม้กระทั่งเรื่องปัญหาเกี่ยวกับข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจตอนนี้ ผมคิดว่าต้องระมัดระวังอย่างยิ่งนะครับว่าจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดและอันตราย เช่นพูดถึงทุนนิยมเฉพาะในด้านลบของมัน ใช่ไม๊ครับ ก็เลยเกิดปัญหากันว่าคนก็เข้าใจผิด ต่างชาติหรือว่ามีคนจงใจไปทำให้เข้าใจผิดด้วย ว่าเอ๊ะ ตกลงตอนนี้หลังจากปฏิวัติรัฐประหารแล้ว ประเทศไทยก็เลยคิดจะปิดประเทศหรือเปล่า ว่าไปทำความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง แล้วก็ล่าสุดก็มามีการมาโต้แย้งกันเรื่องทักษิโณมิกส์ หรืออะไรด้วย อันนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งน่าเป็นห่วง ผมเองตรงนี้เคยติงมาตรการหรือการตัดสินใจของรัฐบาล 2 เรื่องที่ผมคิดว่าเป็นตัวส่งสัญญาณที่ผิดมาก ๆ แล้วก็ไม่คุมนะครับ นั่นก็คือเรื่องของมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วก็เรื่องของกฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าว
ตอนนี้ก็จะมีปัญหาที่ตามมานิดหน่อยเรื่องของสิทธิบัตรด้วยนะครับ เกี่ยวกับยา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ว่าผมไม่เข้าใจเจตนาของผู้ขับเคลื่อนนโยบายนะครับ แต่ว่าจังหวะเวลาก็ดี วิธีการสื่อสารหรือวิธีการดำเนินการก็ดีหรือการพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ให้รอบคอบก่อนก็ดี มันไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และมันเลยกลายเป็นการไปซ้ำเติมภาพลักษณ์ต่าง ๆ เราต้องแยกครับ อะไรที่เป็นปัญหาของทุนนิยมหรือกลไกตลาด เราก็ต้องมีมาตรการที่ตอบความล้มเหลวตรงนั้น โดยไม่ไปกระทบกระเทือนกับหลักใหญ่ของมัน ซึ่งผมก็เคยเสนอไปแล้วนะฮะ อย่างเช่นมาตรการธนาคารแห่งประเทศไทย ความจริงนั้นมันไม่ใช่นะครับ จริง ๆ แล้วสถานการณ์ก็คือเราต้องใช้นโยบายการเงินหรือการลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อจะแก้ปัญหาได้ กฎหมายธุรกิจต่างด้าว เราเข้าไปเข้าใจผิดว่ากรณีกุหลาบแก้ว เป็นเรื่องของกฎหมายไม่ไปเขียนเกี่ยวกับสิทธิการออกเสียงลงคะแนนหรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งมันไม่ใช่ นะครับ มันจะต้องมีวีธีการในการที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ
แม้กระทั่งเมื่อพูดไปแล้ว ไปจนถึงเรื่องคอร์รัปชั่น ตอนนี้ก็เรื่องสนามบินก็จะเป็นข่าวทุกวันนะครับว่า รอยร้าว รอยแตกกี่ตารางเมตร แล้วก็หน้าที่ของรัฐบาลก็คือว่า จะต้องสอบสวนเอาผิดกับผู้ทุจริตแล้วก็เป็นสาเหตุของสิ่งเหล่านี้แน่นอน ในขณะเดียวกันสิ่งสำคัญก็คือว่าจะต้องให้ความมั่นใจนะครับว่าจะเร่งแก้ไขปัญหา ซึ่งการแก้ไขปัญหานั้น สิ่งที่ต้องยึดถือเป็นลำดับแรกก็คือความปลอดภัย และก็ถัดมาก็คือความสะดวกของผู้โดยสาร แต่ว่าถ้าหากว่าเราเพียงแต่ประโคมข่าวเฉพาะเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้น อันนี้ก็คงส่งผลกระทบต่อประเทศเราแน่นอน เพราะว่าคนก็จะตกใจไม่มั่นใจใครจะเดินทางมาประเทศไทยก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นผมค่อนข้างเป็นห่วงขณะนี้ว่า บางทีการกระทำอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ผิด และก็อาจจะมีความตั้งใจที่ดี แต่ว่าวิธีการในการบริหารจัดการการส่งสัญญาณอะไรต่าง ๆ มีปัญหามาก แล้วก็จะตกเป็นเหยื่อของอำนาจเก่าได้ง่าย ๆ ในการที่จะบิดเบือนเรื่องเหล่านี้ นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าจำเป็นต้องมีการปรับปรุงอย่างรวดเร็ว ก่อนที่สถานการณ์จะถูกซ้ำเติมไปด้วยเรื่องอื่น ๆ อีก
ผู้ดำเนินรายการฟังเหมือนคุณอภิสิทธิ์เห็นเหมือนกับอาจารย์ธีรยุทธ ว่าเป็นขมิ้นอ่อนหรือคะ
คุณอภิสิทธิ์ผมคงไม่ไปตั้งฉายาหรืออะไร (หัวเราะ)
ผู้ดำเนินรายการกลัวเสียทีคุณทักษิณ
คุณอภิสิทธิ์ แต่ว่าผมคิดว่า สิ่งซึ่งจะช่วยได้ก็คือว่า การที่รัฐบาลและ คมช. จะต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า ขณะนี้เหลือเวลาไม่กี่เดือนนะครับ แหม บางสถานีเดี๋ยวนี้เขาจะนับเลยใช่ไม๊
ผู้ดำเนินรายการมีนับถอยหลัง
คุณอภิสิทธิ์เหลืออีก 230 กว่าวันอะไรอย่างนี้นะฮะ (หัวเราะ) หมดเวลาของการปฏิรูป ตามที่ขอเอาไว้ คือเวลาเหลือน้อย และภารกิจหลักก็คือการสร้างรากฐานให้ประเทศไทย กลับไปเป็นประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่เข้มแข็งกว่าเดิมนะครับ อันนี้คือภารกิจที่สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามซึ่งจะทำให้เกิดความหวั่นไหว ระแวง ลังเล ตรงนี้ก็จะขัดกับภารกิจหลักนะครับ แล้วก็ความทุ่มเททรัพยากร การทุ่มเทเวลา การสร้างความรู้สึกร่วมกันในหมู่รัฐมนตรีนะครับ ว่านี่คือสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำ อันนี้จะต้องมีความชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่นะครับ ไม่อย่างนั้นแล้วผมคิดว่า ความกังวลของประชาชนทั่วไปว่า ความไม่แน่นอนความขัดแย้งจะปะทุขึ้นมาเมื่อไหร่ สายตาของชาวโลกที่มองเข้ามาก็นับวันก็จะมีปัญหามากขึ้น
ผู้ดำเนินรายการค่ะ ถ้าพูดถึงเฉพาะในส่วนของรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็จะต้องเกี่ยวพันกับสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถือเป็นหัวใจหลักเหมือนกันนะคะ คุณอภิสิทธิ์มั่นใจว่าทางกรรมาธิการแต่ละคณะที่เกี่ยวข้องนี่จะฟังเสียงสะท้อนจากพรรคการเมืองอย่างคุณอภิสิทธิ์มาสะท้อนอย่างนี้ว่าไม่อยากเห็นว่ามีเหมือนกับเป้าหมายจะทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ คุณอภิสิทธิ์คิดว่าเขาจะรับฟังมากน้อยแค่ไหนคะ
คุณอภิสิทธิ์ผมคงไปตอบแทนไม่ได้นะครับ แต่ว่าก็คาดหวังว่าบุคลากรที่เข้ามาทำงานตรงนี้คงจะรับฟัง และก็ผมอยากให้แยกนะครับ คือแยกก็ได้ครับ คือเราก็ต้องยอมรับว่าเวลาใครเสนอความคิดอะไร โดยเฉพาะคนที่มีส่วนได้เสียก็อาจจะต้องถูกดุ ถูกมองด้วยความหวาดระแวง ทีนี้ผมก็บอกได้ว่าถ้าประเด็นไหนมันเป็นเรื่องประโยชน์ของนักการเมืองก็ไม่ต้องฟังมาก (หัวเราะ) ดีไม๊ครับ อย่างเช่น สมมติว่า เราพูดเรื่องจำนวน สส. ลดเหลือ 400, 300 เนี่ย ถ้าเถียงกันว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร เถียงกันได้ รับฟังกันได้ แต่ถ้านักการเมืองเช่นบ่นว่า อย่างนี้แย่เลย เพราะว่าต้องไปแย่งเขตกันลง อันนี้ก็ไม่ต้องไปฟังหรอกครับ ใช่ไม๊ครับ เพราะว่าเป็นประโยชน์ของนักการเมืองก็ไม่ต้องฟังนะครับ แต่ว่าถ้าบอกว่าตกลงมีสส. 300 คนหรือ 400 คน นี่เหตุและผลของการที่จะทำให้บ้านเมือง หรือประชาธิปไตยเข้มแข็ง ควรจะเป็นอย่างไร อันนี้ถกเถียงกันได้ดีไม๊ครับ
อย่างนี้ผมก็คาดหวังว่าข้อเสนอนี้ท่านก็รับพิจารณาดูก็แล้วกันว่าเป็นการเสนอเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองหรือเป็นการเสนอเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ผมอยากจะยกตัวอย่างให้เห็นว่า บางทีถ้าคิดไม่ตลอดทางแล้วอาจจะได้ผลตรงกันข้าม เช่นบางคนที่มาบอกว่า นักการเมืองถ้าเกิดต้องสังกัดพรรคก็ดี ติดเรื่อง 90 วันก็ดี อะไรต่าง ๆ ไม่เป็นอิสระใช่ไม๊ครับ เหมือนกับคล้าย ๆ เราบอกว่าเราไปยกอำนาจให้พรรคการเมือง ผมก็กำลังจะบอกย้ำอีกครั้งหนึ่งนะครับ ยิ่งไปทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ อำนาจยิ่งหลุดลอยไปจากประชาชน เพราะการเลือกตั้งจะไม่มีความหมายนะครับ แต่ว่าเลือกเสร็จแล้ว อำนาจอยู่ในมือสส. และพรรคการเมืองเยอะ ๆ ไปต่อรองกันเต็ม ๆ เลย กลายเป็นว่าประชาชนได้ตัดสินว่า 4 ปีข้างหน้า รัฐบาลจะหน้าตาเป็นอย่างไร เดินไปในทางไหน กลายเป็นว่าเลือกตั้งเสร็จก็ปล่อยให้พรรคการเมืองเขาต่อรองกันเอง นักการเมืองหรือ สส. อิสระเขาไปต่อรองกันว่าใครจะเอาอย่างไร ใครนึกไม่ออก โดยเฉพาะถ้าอยู่ต่างจังหวัดถ้านึกไม่ออกให้นึกถึงสมัยที่เขาเลือก สจ. กันนะครับ แล้วก็เข้าไปต่อรองกันนะครับ ในต่างจังหวัดนี่จะเห็นภาพชัด
ผู้ดำเนินรายการคือไม่ใช่ว่าอะไรที่นักการเมืองค้านนี่ดีแน่ ๆ ก็บางคนคิดอย่างนั้นนะฮะ ถ้านักการเมืองเขาค้าน โดยเฉพาะถ้าค้านกันทั้งหมด เอ๊ะ แสดงว่าอันนั้นต้องสงสัยว่ามันจะดี
คุณอภิสิทธิ์ ขอให้ไปดูก็แล้วกัน ว่าเป็นเรื่องประโยชน์นักการเมืองหรือเป็นประโยชน์ของส่วนรวม
ผู้ดำเนินรายการก็มีคนพูดบอกรัฐธรรมนูญคือการประนีประนอมของผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ นะคะ คุณอภิสิทธิ์คิดว่าควรจะให้น้ำหนักกันมากน้อยแค่ไหนคะตอนนี้
คุณอภิสิทธิ์ คือ เวลาเราพูดถึงคำว่าผลประโยชน์ คงจะต้องพิจารณากันให้ถ่องแท้นะครับว่ามันในแง่ไหน แน่นอนที่สุด กติกาบ้านเมืองก็คือต้องมีการประสานประโยชน์ ใช้คำนี้ดีกว่า ใช่ไม๊ครับ คือทุกกลุ่มในสังคมนี้ต้องมีสิทธิ มีเสรีภาพ มีตัวแทนและก็แน่นอนคนคิดไม่เหมือนกันนะครับ ไม่งั้นไม่ต้องมีประชาธิปไตยตั้งแต่แรก ถูกไม๊ครับ ถ้าคนคิดเหมือนกันก็ใครจะใช้ระบบไหน ใครจะบริหารก็ได้เพราะว่ามันคิดเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นในระดับหนึ่งกติกาก็จะต้องมีการประสานประโยชน์ แต่ว่าประสานประโยชน์นั้นผมคิดว่าคงไม่ค่อยเหมือนกับประนีประนอมผลประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าเป็นผลประโยชน์ที่ขัดกับผลประโยชน์ส่วนรวม นะครับอันนี้ก็คงจะต้องดูตามความเหมาะสมกันไป
ผู้ดำเนินรายการเรื่องปาร์ตี้ลิสต์ นะครับ ทั้งกรรมาธิการเอง ทั้งเสียงจากภายนอกดูเหมือนว่าจะไปในทิศทางเดียวกันนะครับ คุณอภิสิทธิ์ครับคือน่าจะยกเลิกระบบนี้ ไม่ทราบคุณอภิสิทธิ์มองยังไง
คุณอภิสิทธิ์ ไม่มีปัญหาครับ ผมคิดว่าไม่ได้มีปัญหาอะไรนะครับ เพราะว่าถ้าไม่มีก็ไปลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบเขต นะครับ เพียงแต่ว่าก็ให้ย้อนกลับไปดูนิดหนึ่งว่า ตอนปี 40 เขาคิดเรื่องระบบนี้ขึ้นมามันเพราะอะไร นะครับ แล้วถ้าเราคิดว่าเหตุผลมัน น้ำหนักมันน้อยลงไปแล้ว ก็ยกเลิกได้ทางพรรคเองก็ไม่ติดใจนะครับ เลิกได้เลยครับ
ผู้ดำเนินรายการครับ มีอันหนึ่งที่ผมได้ยินนักวิชาการพูดแล้ว เอะใจขึ้นมาเหมือนกันนะครับ คือเขามองว่า ระบบการเลือกตั้งทุกวันนี้ กับระบบการคิดคะแนนทุกวันนี้ มันทำให้คะแนนดิบกับสัดส่วน สส. ในสภานี่มันไม่ค่อยสอดคล้องกันอย่างเช่นพรรค ๆ หนึ่งได้คะแนนดิบในระบบเขตซัก 50 เปอร์เซนต์ แต่ว่ากลับได้ที่นั่งในสภาตั้ง 70 เปอร์เซนต์ ตรงนี้เปอร์เซนต์ระหว่างคะแนนดิบกับสัดส่วนที่นั่งในสภาจริง ๆ มันต่างกันนะฮะ ตรงนี้ควรจะแก้ไม๊ครับ คุณอภิสิทธิ์ครับหรือว่ามันเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
คุณอภิสิทธิ์ ที่จริงเนี่ย ประเทศที่เอาระบบแบบปาร์ตี้ลิสต์เข้ามา เพื่อแก้ปัญหานี้ เพราะว่าสัดส่วนของสส. มันจะตามสัดส่วนของคะแนนที่ได้รับ นะครับ ยกเว้นเฉพาะในส่วนของพรรคเล็กที่ได้ไม่ถึงร้อยละ 5 หรืออะไรที่มักจะมีกำหนดเอาไว้ เพราะว่าระบบสส. คือผมลองยกตัวอย่างง่าย ๆ นะฮะ คือถ้าเกิดเราเลือกเขตแบบเดียวเนี่ย 400 เขต เรายกตัวอย่างแบบสุดโต่งเลย คือพรรค ก. ได้ 51 เปอร์เซนต์ ทุกเขต พรรค ข. ได้ 49 เปอร์เซนต์ทุกเขต สส. ก็จะเป็นของ พรรค ก. 100 เปอร์เซนต์ ใช่ไม๊ครับ
ผู้ดำเนินรายการใช่
คุณอภิสิทธิ์ อันนี้ก็เป็นของระบบที่เรียกว่า ใครได้คะแนนมากสุด ได้เป็น สส. มันก็จะไม่ค่อยตรง แต่ว่ามันก็เป็นกติกา ซึ่งเป็นที่ยอมรับนะครับ แต่ว่าโดยทั่ว ๆ ไป กรณีสุดโต่งนี้นาน ๆ จะเกิดที แทบจะไม่เคยเกิด สัดส่วนไม่ได้หนีมากขนาดที่ผมคิดว่าเป็นปัญหาที่เราจะบอกว่า การเลือกตั้งไม่สะท้อนเจตนารมย์ของประชาชน
ผู้ดำเนินรายการเอาละครับ ขอบคุณมากครับคุณอภิสิทธิ์ครับ สวัสดีค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ก.พ. 2550--จบ--
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ
ผู้ดำเนินรายการคุณอภิสิทธิ์คงเกาะติดเรื่องของรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานี้นะคะ มีการทำงานของกรรมาธิการด้วย ไม่ทราบว่าเป็นยังไงบ้างคะ
คุณอภิสิทธิ์ ก็อยู่ในช่วงเริ่มต้นนะครับ แล้วก็คงจะมีการนำเสนอความคิดต่างๆที่หลากหลายพอสมควรนะครับ เอ่อ แต่ว่าสิ่งที่ผมได้พยายามนำเสนอในขณะนี้ก็คือ อยากจะให้ภาพรวมของเป้าหมายของรัฐธรรมนูญที่มีความชัดเจนมากขึ้นนะครับ ซึ่งดูแล้วบางเรื่องก็สอดคล้องกับสิ่งที่ทำอยู่นะครับ เช่น เมื่อวานนี้ก็ มีการพูดกันชัดเจนแล้วว่า ยังคงระบบสองสภาไว้
ผู้ดำเนินรายการครับ
คุณอภิสิทธิ์ ซึ่งผมเห็นด้วยนะครับ เพราะว่าเห็นว่าวุฒิสภา น่าจะเป็นสภาที่มีอยู่เพื่อกลั่นกรองยับยั้งและก็ถ่วงดุลนะครับ สภาร่าง แต่ว่าหลักสำคัญ ก็คือว่า ไม่ทำงานในลักษณะที่ซ้ำซ้อนกัน แล้วก็สัปดาห์ที่แล้วก็ได้พูดถึงเรื่องของการที่จะให้วุฒิสภาเป็นสภาของนักการเมืองที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง แล้วก็อยากให้หาทางที่จะเปิดพื้นที่ตรงนี้ให้กับนักการเมืองภาคประชาชนเข้ามา ทั้งริเริ่มกฎหมาย ทั้งในแง่ของการที่จะมาติดตามตรวจสอบในเชิงนโยบายได้อีกด้วยนะครับ ทีนี้สิ่งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากตอนหลังก็วกกลับไปที่เรื่องสภาผู้แทนราษฎร เพราะว่าเป็นหัวใจ ทีนี้ก็มีข้อเสนอกันเยอะนะครับ ทั้งลดจำนวน ทั้งจะถกเถียงกันเรื่องมาตรการ 90 วัน หรืออะไรต่างๆ
ซึ่งผมเห็นว่าตรงนี้คงจะต้องทำความเข้าใจและระมัดระวัง ผมมีความรู้สึกว่าประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวข้องกับห้าหกปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องของรัฐบาลของคุณทักษิณหรือว่าพรรคไทยรักไทย ทำให้หลายคนคิดในเชิงเป็นปฎิกิริยามากเกินไป คือ เช่นเห็นปรากฎการณ์ของไทยรักไทยแล้วก็ไปตั้งเป้าว่าจะต้องทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ซึ่งจริงๆ แล้วปัญหา คงจะไม่ใช่อย่างนั้น และสิ่งสำคัญที่สุดที่อยากจะเน้นก็คือว่าระบบรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรเป็นหัวใจ ของการที่จะสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนไปสู่การบริหารประเทศ เราใช้ระบบรัฐสภา เพราะว่าบ้านเมืองของเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์นะครับ เราไม่ใช่ระบอบประธานาธิบดี ซึ่งจะไปมีจุดศูนย์รวมของอำนาจ และก็เป็นแกนของระบบอยู่ที่ประธานาธิบดี เราต้องมีระบบที่สอดคล้องกับการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ก็คือมีระบบรัฐสภา ก็แปลว่ารัฐบาลหรือนายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่มาจากกระบวนการที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ทีนี้ในระบบอย่างนี้ทั่วโลก พรรคการเมืองจะต้องเป็นแกนหลักในการทำให้ระบบนี้เดินได้ นั่นหมายความว่านายกฯ มาจากสภา คือมาจาก สส. นายกฯ รับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร และก็นายกฯ และรัฐบาลก็ต้องกุมเสียงข้างมากในการบริหารประเทศได้ในสภาผู้แทนราษฎร เราหนีตรงนี้ไปไม่ได้นะครับ
ฉะนั้นการที่เราจะมาพูดถึงว่าพรรคการเมืองเข้มแข็งเกินไปนั้น จริง ๆ แล้ว พรรคการเมืองต้องเข้มแข็ง คือเราลองนึกภาพนะครับว่า ถ้าสมมติว่าคุณเติมศักดิ์ คุณอวัสดา หรือผมไปเลือกตั้งแล้วไปเลือก สส. แล้ว สส. ก็ คือหมายความว่าเราอาจจะบอกคนนี้ดี คนนั้นไม่ดี แต่เราไม่รู้เลยว่า คน ๆ นั้นจะไปสนับสนุนใครเป็นนายกฯ จะไปผลักดันนโยบายในเรื่องไหน แล้วก็จะทำงานกันเป็นระบบได้ ลงมติในเรื่องต่าง ๆ มีกรอบความคิดหรือมีตัวกำกับอย่างไร ผมว่านอกจากจะโกลาหลแล้ว มันก็เท่ากับว่าเราเองไม่ได้ทำอะไรเลยนะครับในฐานะผู้เลือกตั้ง นอกจากว่า มอบอำนาจนั้นไปให้คน ๆ นั้น ทำโดยไม่มีกรอบ ซึ่งมันไม่ใช่วิธีการที่สามารถสะท้อนเจตนารมย์ของประชาชนไปสู่การบริหารประเทศได้ เพราะฉะนั้นระบบพรรคการเมืองต้องมาทำหน้าที่ตรงนี้ ส่วนถ้าพรรคการเมืองไม่ดีนั้นก็ต้องไปแก้ว่า พรรคการเมืองที่ไม่ดีที่ผ่านมานั้นเป็นเพราะอะไร เช่นถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องการที่ทุนเข้ามาครอบงำ ไม่ต้องการให้ไปควบรวมพรรค หรือว่าปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วที่ผมไม่เห็นด้วยก็คือที่บอกว่า รัฐมนตรีลาออก เป็น สส. จะเป็นรัฐมนตรีต้องลาออก แล้วก็เลยเกิดปัญหาขึ้น ต้องไปแก้ตรงนั้น แต่อย่าไปคิดว่าจงใจทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอนะครับ เพราะฉะนั้นที่พูดกันว่า สส. ไม่สังกัดพรรคก็ดี หรือว่าจะย้อนไปสู่ยุคที่ย้ายพรรคกันได้ตามใจชอบก็ดี ผมคิดว่าอันนี้จะอันตราย อันนี้คือสิ่งที่ผมคิดว่า อยากจะให้ระมัดระวังตอนนี้เพราะว่า ไม่ใช่เฉพาะเรื่องประเด็นแบบนี้ อย่างพรรคการเมืองในรัฐธรรมนูญเท่านั้นเอง
แม้กระทั่งเรื่องปัญหาเกี่ยวกับข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจตอนนี้ ผมคิดว่าต้องระมัดระวังอย่างยิ่งนะครับว่าจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดและอันตราย เช่นพูดถึงทุนนิยมเฉพาะในด้านลบของมัน ใช่ไม๊ครับ ก็เลยเกิดปัญหากันว่าคนก็เข้าใจผิด ต่างชาติหรือว่ามีคนจงใจไปทำให้เข้าใจผิดด้วย ว่าเอ๊ะ ตกลงตอนนี้หลังจากปฏิวัติรัฐประหารแล้ว ประเทศไทยก็เลยคิดจะปิดประเทศหรือเปล่า ว่าไปทำความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง แล้วก็ล่าสุดก็มามีการมาโต้แย้งกันเรื่องทักษิโณมิกส์ หรืออะไรด้วย อันนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งน่าเป็นห่วง ผมเองตรงนี้เคยติงมาตรการหรือการตัดสินใจของรัฐบาล 2 เรื่องที่ผมคิดว่าเป็นตัวส่งสัญญาณที่ผิดมาก ๆ แล้วก็ไม่คุมนะครับ นั่นก็คือเรื่องของมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วก็เรื่องของกฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าว
ตอนนี้ก็จะมีปัญหาที่ตามมานิดหน่อยเรื่องของสิทธิบัตรด้วยนะครับ เกี่ยวกับยา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ว่าผมไม่เข้าใจเจตนาของผู้ขับเคลื่อนนโยบายนะครับ แต่ว่าจังหวะเวลาก็ดี วิธีการสื่อสารหรือวิธีการดำเนินการก็ดีหรือการพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ให้รอบคอบก่อนก็ดี มันไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และมันเลยกลายเป็นการไปซ้ำเติมภาพลักษณ์ต่าง ๆ เราต้องแยกครับ อะไรที่เป็นปัญหาของทุนนิยมหรือกลไกตลาด เราก็ต้องมีมาตรการที่ตอบความล้มเหลวตรงนั้น โดยไม่ไปกระทบกระเทือนกับหลักใหญ่ของมัน ซึ่งผมก็เคยเสนอไปแล้วนะฮะ อย่างเช่นมาตรการธนาคารแห่งประเทศไทย ความจริงนั้นมันไม่ใช่นะครับ จริง ๆ แล้วสถานการณ์ก็คือเราต้องใช้นโยบายการเงินหรือการลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อจะแก้ปัญหาได้ กฎหมายธุรกิจต่างด้าว เราเข้าไปเข้าใจผิดว่ากรณีกุหลาบแก้ว เป็นเรื่องของกฎหมายไม่ไปเขียนเกี่ยวกับสิทธิการออกเสียงลงคะแนนหรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งมันไม่ใช่ นะครับ มันจะต้องมีวีธีการในการที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ
แม้กระทั่งเมื่อพูดไปแล้ว ไปจนถึงเรื่องคอร์รัปชั่น ตอนนี้ก็เรื่องสนามบินก็จะเป็นข่าวทุกวันนะครับว่า รอยร้าว รอยแตกกี่ตารางเมตร แล้วก็หน้าที่ของรัฐบาลก็คือว่า จะต้องสอบสวนเอาผิดกับผู้ทุจริตแล้วก็เป็นสาเหตุของสิ่งเหล่านี้แน่นอน ในขณะเดียวกันสิ่งสำคัญก็คือว่าจะต้องให้ความมั่นใจนะครับว่าจะเร่งแก้ไขปัญหา ซึ่งการแก้ไขปัญหานั้น สิ่งที่ต้องยึดถือเป็นลำดับแรกก็คือความปลอดภัย และก็ถัดมาก็คือความสะดวกของผู้โดยสาร แต่ว่าถ้าหากว่าเราเพียงแต่ประโคมข่าวเฉพาะเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้น อันนี้ก็คงส่งผลกระทบต่อประเทศเราแน่นอน เพราะว่าคนก็จะตกใจไม่มั่นใจใครจะเดินทางมาประเทศไทยก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นผมค่อนข้างเป็นห่วงขณะนี้ว่า บางทีการกระทำอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ผิด และก็อาจจะมีความตั้งใจที่ดี แต่ว่าวิธีการในการบริหารจัดการการส่งสัญญาณอะไรต่าง ๆ มีปัญหามาก แล้วก็จะตกเป็นเหยื่อของอำนาจเก่าได้ง่าย ๆ ในการที่จะบิดเบือนเรื่องเหล่านี้ นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าจำเป็นต้องมีการปรับปรุงอย่างรวดเร็ว ก่อนที่สถานการณ์จะถูกซ้ำเติมไปด้วยเรื่องอื่น ๆ อีก
ผู้ดำเนินรายการฟังเหมือนคุณอภิสิทธิ์เห็นเหมือนกับอาจารย์ธีรยุทธ ว่าเป็นขมิ้นอ่อนหรือคะ
คุณอภิสิทธิ์ผมคงไม่ไปตั้งฉายาหรืออะไร (หัวเราะ)
ผู้ดำเนินรายการกลัวเสียทีคุณทักษิณ
คุณอภิสิทธิ์ แต่ว่าผมคิดว่า สิ่งซึ่งจะช่วยได้ก็คือว่า การที่รัฐบาลและ คมช. จะต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า ขณะนี้เหลือเวลาไม่กี่เดือนนะครับ แหม บางสถานีเดี๋ยวนี้เขาจะนับเลยใช่ไม๊
ผู้ดำเนินรายการมีนับถอยหลัง
คุณอภิสิทธิ์เหลืออีก 230 กว่าวันอะไรอย่างนี้นะฮะ (หัวเราะ) หมดเวลาของการปฏิรูป ตามที่ขอเอาไว้ คือเวลาเหลือน้อย และภารกิจหลักก็คือการสร้างรากฐานให้ประเทศไทย กลับไปเป็นประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่เข้มแข็งกว่าเดิมนะครับ อันนี้คือภารกิจที่สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามซึ่งจะทำให้เกิดความหวั่นไหว ระแวง ลังเล ตรงนี้ก็จะขัดกับภารกิจหลักนะครับ แล้วก็ความทุ่มเททรัพยากร การทุ่มเทเวลา การสร้างความรู้สึกร่วมกันในหมู่รัฐมนตรีนะครับ ว่านี่คือสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำ อันนี้จะต้องมีความชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่นะครับ ไม่อย่างนั้นแล้วผมคิดว่า ความกังวลของประชาชนทั่วไปว่า ความไม่แน่นอนความขัดแย้งจะปะทุขึ้นมาเมื่อไหร่ สายตาของชาวโลกที่มองเข้ามาก็นับวันก็จะมีปัญหามากขึ้น
ผู้ดำเนินรายการค่ะ ถ้าพูดถึงเฉพาะในส่วนของรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็จะต้องเกี่ยวพันกับสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถือเป็นหัวใจหลักเหมือนกันนะคะ คุณอภิสิทธิ์มั่นใจว่าทางกรรมาธิการแต่ละคณะที่เกี่ยวข้องนี่จะฟังเสียงสะท้อนจากพรรคการเมืองอย่างคุณอภิสิทธิ์มาสะท้อนอย่างนี้ว่าไม่อยากเห็นว่ามีเหมือนกับเป้าหมายจะทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ คุณอภิสิทธิ์คิดว่าเขาจะรับฟังมากน้อยแค่ไหนคะ
คุณอภิสิทธิ์ผมคงไปตอบแทนไม่ได้นะครับ แต่ว่าก็คาดหวังว่าบุคลากรที่เข้ามาทำงานตรงนี้คงจะรับฟัง และก็ผมอยากให้แยกนะครับ คือแยกก็ได้ครับ คือเราก็ต้องยอมรับว่าเวลาใครเสนอความคิดอะไร โดยเฉพาะคนที่มีส่วนได้เสียก็อาจจะต้องถูกดุ ถูกมองด้วยความหวาดระแวง ทีนี้ผมก็บอกได้ว่าถ้าประเด็นไหนมันเป็นเรื่องประโยชน์ของนักการเมืองก็ไม่ต้องฟังมาก (หัวเราะ) ดีไม๊ครับ อย่างเช่น สมมติว่า เราพูดเรื่องจำนวน สส. ลดเหลือ 400, 300 เนี่ย ถ้าเถียงกันว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร เถียงกันได้ รับฟังกันได้ แต่ถ้านักการเมืองเช่นบ่นว่า อย่างนี้แย่เลย เพราะว่าต้องไปแย่งเขตกันลง อันนี้ก็ไม่ต้องไปฟังหรอกครับ ใช่ไม๊ครับ เพราะว่าเป็นประโยชน์ของนักการเมืองก็ไม่ต้องฟังนะครับ แต่ว่าถ้าบอกว่าตกลงมีสส. 300 คนหรือ 400 คน นี่เหตุและผลของการที่จะทำให้บ้านเมือง หรือประชาธิปไตยเข้มแข็ง ควรจะเป็นอย่างไร อันนี้ถกเถียงกันได้ดีไม๊ครับ
อย่างนี้ผมก็คาดหวังว่าข้อเสนอนี้ท่านก็รับพิจารณาดูก็แล้วกันว่าเป็นการเสนอเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองหรือเป็นการเสนอเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ผมอยากจะยกตัวอย่างให้เห็นว่า บางทีถ้าคิดไม่ตลอดทางแล้วอาจจะได้ผลตรงกันข้าม เช่นบางคนที่มาบอกว่า นักการเมืองถ้าเกิดต้องสังกัดพรรคก็ดี ติดเรื่อง 90 วันก็ดี อะไรต่าง ๆ ไม่เป็นอิสระใช่ไม๊ครับ เหมือนกับคล้าย ๆ เราบอกว่าเราไปยกอำนาจให้พรรคการเมือง ผมก็กำลังจะบอกย้ำอีกครั้งหนึ่งนะครับ ยิ่งไปทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ อำนาจยิ่งหลุดลอยไปจากประชาชน เพราะการเลือกตั้งจะไม่มีความหมายนะครับ แต่ว่าเลือกเสร็จแล้ว อำนาจอยู่ในมือสส. และพรรคการเมืองเยอะ ๆ ไปต่อรองกันเต็ม ๆ เลย กลายเป็นว่าประชาชนได้ตัดสินว่า 4 ปีข้างหน้า รัฐบาลจะหน้าตาเป็นอย่างไร เดินไปในทางไหน กลายเป็นว่าเลือกตั้งเสร็จก็ปล่อยให้พรรคการเมืองเขาต่อรองกันเอง นักการเมืองหรือ สส. อิสระเขาไปต่อรองกันว่าใครจะเอาอย่างไร ใครนึกไม่ออก โดยเฉพาะถ้าอยู่ต่างจังหวัดถ้านึกไม่ออกให้นึกถึงสมัยที่เขาเลือก สจ. กันนะครับ แล้วก็เข้าไปต่อรองกันนะครับ ในต่างจังหวัดนี่จะเห็นภาพชัด
ผู้ดำเนินรายการคือไม่ใช่ว่าอะไรที่นักการเมืองค้านนี่ดีแน่ ๆ ก็บางคนคิดอย่างนั้นนะฮะ ถ้านักการเมืองเขาค้าน โดยเฉพาะถ้าค้านกันทั้งหมด เอ๊ะ แสดงว่าอันนั้นต้องสงสัยว่ามันจะดี
คุณอภิสิทธิ์ ขอให้ไปดูก็แล้วกัน ว่าเป็นเรื่องประโยชน์นักการเมืองหรือเป็นประโยชน์ของส่วนรวม
ผู้ดำเนินรายการก็มีคนพูดบอกรัฐธรรมนูญคือการประนีประนอมของผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ นะคะ คุณอภิสิทธิ์คิดว่าควรจะให้น้ำหนักกันมากน้อยแค่ไหนคะตอนนี้
คุณอภิสิทธิ์ คือ เวลาเราพูดถึงคำว่าผลประโยชน์ คงจะต้องพิจารณากันให้ถ่องแท้นะครับว่ามันในแง่ไหน แน่นอนที่สุด กติกาบ้านเมืองก็คือต้องมีการประสานประโยชน์ ใช้คำนี้ดีกว่า ใช่ไม๊ครับ คือทุกกลุ่มในสังคมนี้ต้องมีสิทธิ มีเสรีภาพ มีตัวแทนและก็แน่นอนคนคิดไม่เหมือนกันนะครับ ไม่งั้นไม่ต้องมีประชาธิปไตยตั้งแต่แรก ถูกไม๊ครับ ถ้าคนคิดเหมือนกันก็ใครจะใช้ระบบไหน ใครจะบริหารก็ได้เพราะว่ามันคิดเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นในระดับหนึ่งกติกาก็จะต้องมีการประสานประโยชน์ แต่ว่าประสานประโยชน์นั้นผมคิดว่าคงไม่ค่อยเหมือนกับประนีประนอมผลประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าเป็นผลประโยชน์ที่ขัดกับผลประโยชน์ส่วนรวม นะครับอันนี้ก็คงจะต้องดูตามความเหมาะสมกันไป
ผู้ดำเนินรายการเรื่องปาร์ตี้ลิสต์ นะครับ ทั้งกรรมาธิการเอง ทั้งเสียงจากภายนอกดูเหมือนว่าจะไปในทิศทางเดียวกันนะครับ คุณอภิสิทธิ์ครับคือน่าจะยกเลิกระบบนี้ ไม่ทราบคุณอภิสิทธิ์มองยังไง
คุณอภิสิทธิ์ ไม่มีปัญหาครับ ผมคิดว่าไม่ได้มีปัญหาอะไรนะครับ เพราะว่าถ้าไม่มีก็ไปลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบเขต นะครับ เพียงแต่ว่าก็ให้ย้อนกลับไปดูนิดหนึ่งว่า ตอนปี 40 เขาคิดเรื่องระบบนี้ขึ้นมามันเพราะอะไร นะครับ แล้วถ้าเราคิดว่าเหตุผลมัน น้ำหนักมันน้อยลงไปแล้ว ก็ยกเลิกได้ทางพรรคเองก็ไม่ติดใจนะครับ เลิกได้เลยครับ
ผู้ดำเนินรายการครับ มีอันหนึ่งที่ผมได้ยินนักวิชาการพูดแล้ว เอะใจขึ้นมาเหมือนกันนะครับ คือเขามองว่า ระบบการเลือกตั้งทุกวันนี้ กับระบบการคิดคะแนนทุกวันนี้ มันทำให้คะแนนดิบกับสัดส่วน สส. ในสภานี่มันไม่ค่อยสอดคล้องกันอย่างเช่นพรรค ๆ หนึ่งได้คะแนนดิบในระบบเขตซัก 50 เปอร์เซนต์ แต่ว่ากลับได้ที่นั่งในสภาตั้ง 70 เปอร์เซนต์ ตรงนี้เปอร์เซนต์ระหว่างคะแนนดิบกับสัดส่วนที่นั่งในสภาจริง ๆ มันต่างกันนะฮะ ตรงนี้ควรจะแก้ไม๊ครับ คุณอภิสิทธิ์ครับหรือว่ามันเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
คุณอภิสิทธิ์ ที่จริงเนี่ย ประเทศที่เอาระบบแบบปาร์ตี้ลิสต์เข้ามา เพื่อแก้ปัญหานี้ เพราะว่าสัดส่วนของสส. มันจะตามสัดส่วนของคะแนนที่ได้รับ นะครับ ยกเว้นเฉพาะในส่วนของพรรคเล็กที่ได้ไม่ถึงร้อยละ 5 หรืออะไรที่มักจะมีกำหนดเอาไว้ เพราะว่าระบบสส. คือผมลองยกตัวอย่างง่าย ๆ นะฮะ คือถ้าเกิดเราเลือกเขตแบบเดียวเนี่ย 400 เขต เรายกตัวอย่างแบบสุดโต่งเลย คือพรรค ก. ได้ 51 เปอร์เซนต์ ทุกเขต พรรค ข. ได้ 49 เปอร์เซนต์ทุกเขต สส. ก็จะเป็นของ พรรค ก. 100 เปอร์เซนต์ ใช่ไม๊ครับ
ผู้ดำเนินรายการใช่
คุณอภิสิทธิ์ อันนี้ก็เป็นของระบบที่เรียกว่า ใครได้คะแนนมากสุด ได้เป็น สส. มันก็จะไม่ค่อยตรง แต่ว่ามันก็เป็นกติกา ซึ่งเป็นที่ยอมรับนะครับ แต่ว่าโดยทั่ว ๆ ไป กรณีสุดโต่งนี้นาน ๆ จะเกิดที แทบจะไม่เคยเกิด สัดส่วนไม่ได้หนีมากขนาดที่ผมคิดว่าเป็นปัญหาที่เราจะบอกว่า การเลือกตั้งไม่สะท้อนเจตนารมย์ของประชาชน
ผู้ดำเนินรายการเอาละครับ ขอบคุณมากครับคุณอภิสิทธิ์ครับ สวัสดีค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ก.พ. 2550--จบ--