ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ชี้จีดีพีขยายตัวร้อยละ 4-5 และอัตราดอกเบี้ยต่ำเอื้อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวในการอภิปรายทิศทางตลาดเงิน ตลาดทุน ปี 2007 ในงานสัมมนา “อสังหาริมทรัพย์ ดัชนีหลักชี้เศรษฐกิจปี 2007” จัดโดยสมาคม
อสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรและสมาคมอาคารชุดไทย วานนี้ (1 ก.พ.49) ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้ แม้จะขยายตัว
ชะลอลงจากปีก่อน แต่จากที่คาดการณ์เศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ 4-5 ยังเป็นระดับที่เอื้อต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ รวมทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
และเงินเฟ้อที่ชะลอลง ล้วนส่งผลดีต่ออสังหาริมทรัพย์ สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจไม่มีสิ่งที่น่ากังวล เพราะราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยปรับลดลง
ขณะที่ฐานะการเงินของภาคธุรกิจและสถาบันการเงินยังแข็งแกร่ง สามารถขยายการลงทุนได้ ส่วนเอ็นพีแอลก็เริ่มลดลง คาดว่าจะลดลงตาม
เป้าหมายร้อยละ 2 ในปลายปีนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยเสี่ยงแม้จะลดลงแล้ว แต่ก็มีความไม่แน่นอนสูง ส่วนการลงทุนที่ชะลอตัวลงจาก
ความเชื่อมั่นที่ลดลง เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ธปท.เผยผลประเมินการกำกับภาคการเงินไทยของ FSAP อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการเข้ามาประเมินการกำกับภาคการเงินของไทยตามมาตรฐานสากลของกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และ ธนาคารโลก หรือที่เรียกว่า FSAP ซึ่งได้เข้ามาประเมินข้อมูลจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่
17-31 ม.ค.ทีผ่านมา ผลเบื้องต้นปรากฏว่าในด้านการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินค่อนข้างน่าพอใจ โดยผู้ประเมินเห็นว่า มาตรฐานการกำกับ
สถาบันการเงินของไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากลค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายประเด็นที่ผู้ประเมินขอสงวนความเห็น แต่เรื่องที่ต้อง
ปรับปรุงมาก คือ เรื่องของกฎหมายในการทำหน้าที่กำกับดูแลของ ธปท.ที่ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นหัวข้อเดียวที่ยังไม่ผ่านใน 25 หัวข้อที่นำมาประเมิน
โดยผู้ประเมินเห็นว่า ต้องปรับปรุงใน 3 เรื่อง คือ 1) โครงสร้างทางกฎหมายของไทยไม่เพียงพอที่จะรองรับพัฒนาการภาคธนาคารที่ได้ปรับปรุง
คืบหน้าไปมาก 2) กฎหมายที่เกี่ยวกับการทำงานด้านการกำกับสถาบันการเงินแบบรวมกลุ่ม ธปท.ยังไม่มีอำนาจอย่างเต็มรูปแบบ และ 3)
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตรวจสอบภาคการเงินไทยที่เกี่ยวกับการปล่อยกู้ต่างประเทศ แม้จะมีสัดส่วนร้อยละ 2.0 ของสินเชื่อรวม แต่มีอัตราการ
เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ธปท.ต้องเข้าไปดูแลสาขา ธพ.ไทยในต่างประเทศอย่างเข้มงวดมากขึ้นแทนการเข้าไปดูแลเป็นครั้งคราว (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, สยามรัฐ)
3. ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 49 ขยายตัวจากปี 48 เพียงเล็กน้อย ผอส.ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 49 และแนวโน้มปี 50 ว่า เศรษฐกิจใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมปีที่ผ่านมา ขยายตัวจากปีก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้มาจากการขยายตัวของภาคเกษตรเป็นสำคัญ ส่วนการลงทุนของภาค
เอกชนปี 49 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน แม้ว่าจะมีการลงทุนขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส
สุดท้ายของปี เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่วนแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในปี 50 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4-4.5
โดยมีปัจจัย คือ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่มีความชัดเจนขึ้น ทั้งการจัดทำ งปม.แบบขาดดุลและการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม
มีปัจจัยเสี่ยง คือ การเพาะปลูกฤดูกาลผลิต 2550/2551 ที่อาจจะประสบภัยแล้วจากปรากฎการณ์เอลนีโญ การระบาดของโรคไข้หวัดนก ความ
ล่าช้าในการเบิกจ่าย งปม.การลงทุนในภูมิภาค และความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศเกิดความไม่เชื่อมั่น
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดากรรายวัน)
4. ก.พาณิชย์ปรับประมาณการเงินเฟ้อทั้งปี 50 ขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.5-2.5 ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้
บริโภคหรืออัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.50 อยู่ที่ระดับ 115.0 ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยสาเหตุที่เงินเฟ้อเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 3.0 มาจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 6.3 เนื่องจากราคาผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 ขณะ
ที่ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 แม้ว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลงร้อยละ 4.4 แต่ราคาค่าโดยสาร
สาธารณะได้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.6 ส่วนกรณีดัชนีเงินเฟ้อที่ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือนนั้น ถือว่าเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง
3 เดือนที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญมาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ลดลงร้อยละ 0.3 เป็นการลดลงของราคาเนื้อสุกรร้อยละ 7.1 จาก
วัฎจักรการเลี้ยงที่มีมากในระยะนี้ ผักสดลดลงร้อยละ 2.1 จากสภาพอากาศที่เย็นลง ทำให้ผลผลิตของผักสดมีมากขึ้น ส่วนดัชนีราคาไก่สดลดลง
ร้อยละ 1.1 นอกจากนี้ ดัชนีหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.2 ซึ่งมาจากการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงใน
ประเทศตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลง 3 ครั้ง น้ำมันดีเซลลดลง 2 ครั้ง ทำให้ดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิง
ลดลงร้อยละ 2.3 ส่วนดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ม.ค.50 เท่ากับ 105.1 เทียบกับเดือน ธ.ค.49 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 และเมื่อเทียบกับเดือน
ม.ค.ปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 อนึ่ง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ ก.พาณิชย์คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 50
จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5-2.5 ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5-3.5 ซึ่งประมาณการใหม่นี้ สอดคล้องกับที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของสรอ. ระยะ 30 ปี และระยะ 15 ปีเพิ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่
1 ก.พ. 50 บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยผลการสำรวจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี และระยะ
15 ปีเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ธ.กลางสรอ.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีกในการประชุมนโยบายการเงินครั้งล่าสุด โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จำนองระยะ 30 ปีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.34 จากร้อยละ 6.25 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปี
เพิ่มขึ้นอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.06 จากร้อยละ 5.98 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้าและสูงกว่าร้อยละ 6.0 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนวันที่ 9 พ.ย. ปีที่แล้ว
ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ (one-year Adjustable-Rate Mortgages - ARM) อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.54
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.49 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปีและ ARM อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ
6.23 5.81 และร้อยละ 5.33 ตามลำดับ ส่วนค่าธรรมเนียมเงินกู้ยืมสำหรับสินเชื่อจำนองระยะเวลา 30 ปี และ 15 ปีอยู่ที่ร้อยละ 0.4
ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เปลี่ยนแปลงเฉพาะค่าธรรมเนียมของสินเชื่อจำนอง ARM ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากร้อยละ 0.5 (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตโรงงานของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 ขยายตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย.49 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
1 ก.พ.50 ดัชนีชี้วัดผลผลิตโรงงานของอังกฤษจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อหรือที่เรียกว่า PMI เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.8
ในเดือน ม.ค.50 จากระดับ 52.0 ในเดือน ธ.ค.49 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 51.7 โดยดัชนีในส่วนที่ชี้วัดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่ม
ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 54.1 จากระดับ 53.2 ในเดือน ธ.ค.49 และดัชนีในส่วนที่ชี้วัดการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย.49 มาอยู่ที่ระดับ
53.6 จากระดับ 52.2 ในเดือน ธ.ค.49 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประสิทธิภาพในการผลิตดีขึ้น ทั้งนี้ตัวเลขดัชนีที่สูงกว่า 50 แสดงว่าผลผลิต
ขยายตัว และหากต่ำกว่า 50 แสดงว่าผลผลิตหดตัว ทั้งนี้ผลผลิตโรงงานขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีความวิตกกันว่าค่าเงินปอนด์ที่อยู่ใน
ระดับสูงสุดในรอบ 14 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไปยังตลาด สรอ. นอกจากนี้ตัวเลขผลผลิตที่ดีเกินคาดยังทำให้
นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างไม่คาดมาก่อนร้อยละ 0.25
เป็นร้อยละ 5.25 เมื่อเดือน ม.ค.50 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 เดือนเพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ
ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.0 ต่อปีในเดือน ธ.ค.49 สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปปีนี้จะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 49 ที่เติบโตมากกว่าร้อยละ 2.5 รายงานจากกรุงมาดริด
ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 1 ก.พ.50 ธ.กลางสเปน คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้จะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อ
เนื่องจากปี 49 ที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 2.5 แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส 3 ปีก่อน ซึ่งถ้าพิจารณาแยกจากผลกระทบของอัตรา
เงินเฟ้อในช่วงเดือนต้น ๆ ของปีที่มีสาเหตุจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดของเขตเศรษฐกิจยุโรป
แล้ว ปัจจัยเสี่ยงหลักต่อความมีเสถียรภาพของอัตราเงินเฟ้อจะมาจากผลกระทบของรูปแบบอัตราค่าจ้างในปัจจุบันที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไร
ก็ตาม การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบในระยะหลังและเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อได้
(รอยเตอร์)
4. PMI ของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.50 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 1 ก.พ.50
The Singapore Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า The Purchasing Managers’ Index (PMI)
ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการผลิตสิงคโปร์ ในเดือน ม.ค.50 อยู่ที่ระดับ 52.6 ลดลงจากระดับ 53.4 ในเดือนก่อนหน้า
แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัว ทั้งนี้ การที่ PMI ขยายตัวชะลอลง เป็นผลจากดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ PMI ลดลงอย่างมากที่ระดับ 52.1 จากระดับ 55.4 ในเดือนก่อนหน้า รวมถึงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งลดลงที่ระดับ 55.1 จากระดับ 56.6 นอกจากนี้ จากการสำรวจของรัฐบาลสิงคโปร์ซึ่งเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการ
ภาคการผลิตสิงคโปร์ลดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยมีสาเหตุจากแนวโน้มการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ อนึ่ง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญ เนื่องจากผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนเป็นกว่า 1 ใน 3 ของ
ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตทั้งประเทศ และการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 ก.พ. 50 1 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.857 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.6273/35.9593 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87438 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 657.00/10.44 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,000/11,100 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.56 54.59 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.19*/22.54** 25.19*/22.54** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 19 ม.ค. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 ม.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ชี้จีดีพีขยายตัวร้อยละ 4-5 และอัตราดอกเบี้ยต่ำเอื้อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวในการอภิปรายทิศทางตลาดเงิน ตลาดทุน ปี 2007 ในงานสัมมนา “อสังหาริมทรัพย์ ดัชนีหลักชี้เศรษฐกิจปี 2007” จัดโดยสมาคม
อสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรและสมาคมอาคารชุดไทย วานนี้ (1 ก.พ.49) ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้ แม้จะขยายตัว
ชะลอลงจากปีก่อน แต่จากที่คาดการณ์เศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ 4-5 ยังเป็นระดับที่เอื้อต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ รวมทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
และเงินเฟ้อที่ชะลอลง ล้วนส่งผลดีต่ออสังหาริมทรัพย์ สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจไม่มีสิ่งที่น่ากังวล เพราะราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยปรับลดลง
ขณะที่ฐานะการเงินของภาคธุรกิจและสถาบันการเงินยังแข็งแกร่ง สามารถขยายการลงทุนได้ ส่วนเอ็นพีแอลก็เริ่มลดลง คาดว่าจะลดลงตาม
เป้าหมายร้อยละ 2 ในปลายปีนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยเสี่ยงแม้จะลดลงแล้ว แต่ก็มีความไม่แน่นอนสูง ส่วนการลงทุนที่ชะลอตัวลงจาก
ความเชื่อมั่นที่ลดลง เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ธปท.เผยผลประเมินการกำกับภาคการเงินไทยของ FSAP อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการเข้ามาประเมินการกำกับภาคการเงินของไทยตามมาตรฐานสากลของกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และ ธนาคารโลก หรือที่เรียกว่า FSAP ซึ่งได้เข้ามาประเมินข้อมูลจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่
17-31 ม.ค.ทีผ่านมา ผลเบื้องต้นปรากฏว่าในด้านการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินค่อนข้างน่าพอใจ โดยผู้ประเมินเห็นว่า มาตรฐานการกำกับ
สถาบันการเงินของไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากลค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายประเด็นที่ผู้ประเมินขอสงวนความเห็น แต่เรื่องที่ต้อง
ปรับปรุงมาก คือ เรื่องของกฎหมายในการทำหน้าที่กำกับดูแลของ ธปท.ที่ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นหัวข้อเดียวที่ยังไม่ผ่านใน 25 หัวข้อที่นำมาประเมิน
โดยผู้ประเมินเห็นว่า ต้องปรับปรุงใน 3 เรื่อง คือ 1) โครงสร้างทางกฎหมายของไทยไม่เพียงพอที่จะรองรับพัฒนาการภาคธนาคารที่ได้ปรับปรุง
คืบหน้าไปมาก 2) กฎหมายที่เกี่ยวกับการทำงานด้านการกำกับสถาบันการเงินแบบรวมกลุ่ม ธปท.ยังไม่มีอำนาจอย่างเต็มรูปแบบ และ 3)
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตรวจสอบภาคการเงินไทยที่เกี่ยวกับการปล่อยกู้ต่างประเทศ แม้จะมีสัดส่วนร้อยละ 2.0 ของสินเชื่อรวม แต่มีอัตราการ
เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ธปท.ต้องเข้าไปดูแลสาขา ธพ.ไทยในต่างประเทศอย่างเข้มงวดมากขึ้นแทนการเข้าไปดูแลเป็นครั้งคราว (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, สยามรัฐ)
3. ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 49 ขยายตัวจากปี 48 เพียงเล็กน้อย ผอส.ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 49 และแนวโน้มปี 50 ว่า เศรษฐกิจใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมปีที่ผ่านมา ขยายตัวจากปีก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้มาจากการขยายตัวของภาคเกษตรเป็นสำคัญ ส่วนการลงทุนของภาค
เอกชนปี 49 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน แม้ว่าจะมีการลงทุนขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส
สุดท้ายของปี เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่วนแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในปี 50 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4-4.5
โดยมีปัจจัย คือ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่มีความชัดเจนขึ้น ทั้งการจัดทำ งปม.แบบขาดดุลและการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม
มีปัจจัยเสี่ยง คือ การเพาะปลูกฤดูกาลผลิต 2550/2551 ที่อาจจะประสบภัยแล้วจากปรากฎการณ์เอลนีโญ การระบาดของโรคไข้หวัดนก ความ
ล่าช้าในการเบิกจ่าย งปม.การลงทุนในภูมิภาค และความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศเกิดความไม่เชื่อมั่น
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดากรรายวัน)
4. ก.พาณิชย์ปรับประมาณการเงินเฟ้อทั้งปี 50 ขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.5-2.5 ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้
บริโภคหรืออัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.50 อยู่ที่ระดับ 115.0 ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยสาเหตุที่เงินเฟ้อเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 3.0 มาจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 6.3 เนื่องจากราคาผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 ขณะ
ที่ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 แม้ว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลงร้อยละ 4.4 แต่ราคาค่าโดยสาร
สาธารณะได้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.6 ส่วนกรณีดัชนีเงินเฟ้อที่ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือนนั้น ถือว่าเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง
3 เดือนที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญมาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ลดลงร้อยละ 0.3 เป็นการลดลงของราคาเนื้อสุกรร้อยละ 7.1 จาก
วัฎจักรการเลี้ยงที่มีมากในระยะนี้ ผักสดลดลงร้อยละ 2.1 จากสภาพอากาศที่เย็นลง ทำให้ผลผลิตของผักสดมีมากขึ้น ส่วนดัชนีราคาไก่สดลดลง
ร้อยละ 1.1 นอกจากนี้ ดัชนีหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.2 ซึ่งมาจากการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงใน
ประเทศตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลง 3 ครั้ง น้ำมันดีเซลลดลง 2 ครั้ง ทำให้ดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิง
ลดลงร้อยละ 2.3 ส่วนดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ม.ค.50 เท่ากับ 105.1 เทียบกับเดือน ธ.ค.49 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 และเมื่อเทียบกับเดือน
ม.ค.ปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 อนึ่ง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ ก.พาณิชย์คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 50
จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5-2.5 ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5-3.5 ซึ่งประมาณการใหม่นี้ สอดคล้องกับที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของสรอ. ระยะ 30 ปี และระยะ 15 ปีเพิ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่
1 ก.พ. 50 บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยผลการสำรวจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี และระยะ
15 ปีเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ธ.กลางสรอ.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีกในการประชุมนโยบายการเงินครั้งล่าสุด โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จำนองระยะ 30 ปีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.34 จากร้อยละ 6.25 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปี
เพิ่มขึ้นอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.06 จากร้อยละ 5.98 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้าและสูงกว่าร้อยละ 6.0 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนวันที่ 9 พ.ย. ปีที่แล้ว
ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ (one-year Adjustable-Rate Mortgages - ARM) อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.54
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.49 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปีและ ARM อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ
6.23 5.81 และร้อยละ 5.33 ตามลำดับ ส่วนค่าธรรมเนียมเงินกู้ยืมสำหรับสินเชื่อจำนองระยะเวลา 30 ปี และ 15 ปีอยู่ที่ร้อยละ 0.4
ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เปลี่ยนแปลงเฉพาะค่าธรรมเนียมของสินเชื่อจำนอง ARM ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากร้อยละ 0.5 (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตโรงงานของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 ขยายตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย.49 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
1 ก.พ.50 ดัชนีชี้วัดผลผลิตโรงงานของอังกฤษจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อหรือที่เรียกว่า PMI เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.8
ในเดือน ม.ค.50 จากระดับ 52.0 ในเดือน ธ.ค.49 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 51.7 โดยดัชนีในส่วนที่ชี้วัดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่ม
ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 54.1 จากระดับ 53.2 ในเดือน ธ.ค.49 และดัชนีในส่วนที่ชี้วัดการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย.49 มาอยู่ที่ระดับ
53.6 จากระดับ 52.2 ในเดือน ธ.ค.49 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประสิทธิภาพในการผลิตดีขึ้น ทั้งนี้ตัวเลขดัชนีที่สูงกว่า 50 แสดงว่าผลผลิต
ขยายตัว และหากต่ำกว่า 50 แสดงว่าผลผลิตหดตัว ทั้งนี้ผลผลิตโรงงานขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีความวิตกกันว่าค่าเงินปอนด์ที่อยู่ใน
ระดับสูงสุดในรอบ 14 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไปยังตลาด สรอ. นอกจากนี้ตัวเลขผลผลิตที่ดีเกินคาดยังทำให้
นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างไม่คาดมาก่อนร้อยละ 0.25
เป็นร้อยละ 5.25 เมื่อเดือน ม.ค.50 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 เดือนเพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ
ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.0 ต่อปีในเดือน ธ.ค.49 สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปปีนี้จะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 49 ที่เติบโตมากกว่าร้อยละ 2.5 รายงานจากกรุงมาดริด
ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 1 ก.พ.50 ธ.กลางสเปน คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้จะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อ
เนื่องจากปี 49 ที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 2.5 แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส 3 ปีก่อน ซึ่งถ้าพิจารณาแยกจากผลกระทบของอัตรา
เงินเฟ้อในช่วงเดือนต้น ๆ ของปีที่มีสาเหตุจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดของเขตเศรษฐกิจยุโรป
แล้ว ปัจจัยเสี่ยงหลักต่อความมีเสถียรภาพของอัตราเงินเฟ้อจะมาจากผลกระทบของรูปแบบอัตราค่าจ้างในปัจจุบันที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไร
ก็ตาม การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบในระยะหลังและเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อได้
(รอยเตอร์)
4. PMI ของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.50 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 1 ก.พ.50
The Singapore Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า The Purchasing Managers’ Index (PMI)
ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการผลิตสิงคโปร์ ในเดือน ม.ค.50 อยู่ที่ระดับ 52.6 ลดลงจากระดับ 53.4 ในเดือนก่อนหน้า
แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัว ทั้งนี้ การที่ PMI ขยายตัวชะลอลง เป็นผลจากดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ PMI ลดลงอย่างมากที่ระดับ 52.1 จากระดับ 55.4 ในเดือนก่อนหน้า รวมถึงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งลดลงที่ระดับ 55.1 จากระดับ 56.6 นอกจากนี้ จากการสำรวจของรัฐบาลสิงคโปร์ซึ่งเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการ
ภาคการผลิตสิงคโปร์ลดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยมีสาเหตุจากแนวโน้มการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ อนึ่ง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญ เนื่องจากผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนเป็นกว่า 1 ใน 3 ของ
ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตทั้งประเทศ และการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 ก.พ. 50 1 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.857 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.6273/35.9593 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87438 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 657.00/10.44 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,000/11,100 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.56 54.59 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.19*/22.54** 25.19*/22.54** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 19 ม.ค. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 ม.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--