ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (13 กุมภาพันธ์ 2550) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการทางด้านภาษีศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประกอบรถยนต์โดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในประเทศ และ 2. การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการผลิตสินค้าในประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากความ ลักลั่นของโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าในปัจจุบัน
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการทางด้านภาษีศุลกากรทั้ง 2 ส่วนข้างต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประกอบรถยนต์โดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในประเทศ
รถยนต์โดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (รถโดยสาร NGV) จะครอบคลุมเฉพาะยานยนต์ที่ขนส่งบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (รวมคนขับ) ที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงระบบเดียวตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 87.02 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
ปรับลดอัตราอากรขาเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ ซึ่งนำเข้ามาในลักษณะชิ้นส่วนสมบูรณ์เพื่อประกอบหรือผลิตเป็นแชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง (CKD Chassis with engine) ตามประเภท 87.06 จากร้อยละ 10 ลงเหลือร้อยละ 0
ปรับลดอัตราอากรขาเข้าแชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งตามประเภทย่อย 8706.00.20 จากร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 0 เป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบรถยนต์โดยสารชนิดดังกล่าวในประเทศในระยะแรกและในวันที่ 1 มกราคม 2552 จะปรับอัตราอากรขาเข้ากลับไปที่อัตราเดิม คือ ร้อยละ 30
ปรับลดอัตราอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด อุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ทั้งชนิดที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซินโดยอัตโนมัติ และเครื่องยนต์ดีเซลโดยอัตโนมัติลงเหลือร้อยละ 0 สำหรับกรณีที่นำเข้ามาในลักษณะของชิ้นส่วนสมบูรณ์ (CKD) เพื่อใช้ประกอบหรือผลิตเป็นรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในประเทศเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และในวันที่ 1 มกราคม 2552 ปรับอัตราอากรขาเข้าเป็นร้อยละ 10 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลังกำหนด
ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องยนต์ใหม่ชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงระบบเดียวที่นำเข้าในลักษณะของชิ้นส่วนสมบูรณ์ (CKD) เพื่อนำมาประกอบหรือผลิตเป็นยานยนต์ในประเทศ
2. การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการผลิตในประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากความลักลั่นของโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าในปัจจุบัน จำนวน 20 ประเภทย่อย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ยกเว้นอัตราอากรขาเข้าสำหรับของที่สภากาชาดไทยนำเข้ามาเพื่อผลิตถุงบรรจุโลหิตหรือชุดถุงบรรจุโลหิต โดยให้การยกเว้นอากรขาเข้าดังกล่าวครอบคลุมถึงชุดกรองเม็ดโลหิตขาว
ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของตามประเภทย่อย 3815.90.00 และ 6909.19.00 ที่นำเข้ามาผลิตคะตะไลติกคอนเวอร์เตอร์ เพื่อแก้ไขปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าระหว่างวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป
ปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 1, 5 ลงเหลือร้อยละ 0 จำนวน 7 ประเภทย่อย เช่น สินแร่ ไข่มุกที่นำมาร้อยเข้าด้วยกัน และเหล็กแผ่นเคลือบพลาสติก เป็นต้น
ปรับลดอัตราอากรขาเข้าเอ็นเย็บแผล จากร้อยละ 20 ลงเหลือร้อยละ 10
ปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 5 จำนวน 6 ประเภทย่อย เช่น กลาสฟริต ลวดทองแดง แผ่นทองแดง และฟอล์ยทองแดง เป็นต้น
ปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะสำหรับฟิล์มที่ใช้ทำแม่พิมพ์จากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ10
ปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าหินแกรนิตเฉพาะก้อนเหลี่ยมที่มีความกว้าง ยาว และสูง ด้านใดด้านหนึ่งน้อยกว่าด้านละ 10 เซนติเมตร และหินแกรนิตชนิดแผ่น จากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 30
ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราอากรขาเข้าเหล็กแผ่นชนิด TMBP ในอัตราร้อยละ 1 ต่อไปอีกจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
3. ผลกระทบทางด้านรายได้จากการดำเนินมาตรการทางด้านภาษีศุลกากรทั้ง 2 ส่วนข้างต้น ถึงแม้ว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรไปบางส่วน แต่ในระยะยาว ผลของการดำเนินมาตรการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้กับสินค้านำเข้า ซึ่งประเทศไทยมีกำลังการผลิต และมีศักยภาพในการผลิตอย่างเพียงพอ จะทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลประโยชน์สุทธิจากมาตรการทางด้านภาษีศุลกากรข้างต้น
คุณลาวัลย์ ภูวรรณ์
รักษาการผู้อำนวยการสำนักนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 02-2739020 ต่อ 3514
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11/2550 13 กุมภาพันธ์ 50--
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการทางด้านภาษีศุลกากรทั้ง 2 ส่วนข้างต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประกอบรถยนต์โดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในประเทศ
รถยนต์โดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (รถโดยสาร NGV) จะครอบคลุมเฉพาะยานยนต์ที่ขนส่งบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (รวมคนขับ) ที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงระบบเดียวตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 87.02 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
ปรับลดอัตราอากรขาเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ ซึ่งนำเข้ามาในลักษณะชิ้นส่วนสมบูรณ์เพื่อประกอบหรือผลิตเป็นแชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง (CKD Chassis with engine) ตามประเภท 87.06 จากร้อยละ 10 ลงเหลือร้อยละ 0
ปรับลดอัตราอากรขาเข้าแชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งตามประเภทย่อย 8706.00.20 จากร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 0 เป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบรถยนต์โดยสารชนิดดังกล่าวในประเทศในระยะแรกและในวันที่ 1 มกราคม 2552 จะปรับอัตราอากรขาเข้ากลับไปที่อัตราเดิม คือ ร้อยละ 30
ปรับลดอัตราอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด อุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ทั้งชนิดที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซินโดยอัตโนมัติ และเครื่องยนต์ดีเซลโดยอัตโนมัติลงเหลือร้อยละ 0 สำหรับกรณีที่นำเข้ามาในลักษณะของชิ้นส่วนสมบูรณ์ (CKD) เพื่อใช้ประกอบหรือผลิตเป็นรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในประเทศเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และในวันที่ 1 มกราคม 2552 ปรับอัตราอากรขาเข้าเป็นร้อยละ 10 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลังกำหนด
ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องยนต์ใหม่ชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงระบบเดียวที่นำเข้าในลักษณะของชิ้นส่วนสมบูรณ์ (CKD) เพื่อนำมาประกอบหรือผลิตเป็นยานยนต์ในประเทศ
2. การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการผลิตในประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากความลักลั่นของโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าในปัจจุบัน จำนวน 20 ประเภทย่อย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ยกเว้นอัตราอากรขาเข้าสำหรับของที่สภากาชาดไทยนำเข้ามาเพื่อผลิตถุงบรรจุโลหิตหรือชุดถุงบรรจุโลหิต โดยให้การยกเว้นอากรขาเข้าดังกล่าวครอบคลุมถึงชุดกรองเม็ดโลหิตขาว
ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของตามประเภทย่อย 3815.90.00 และ 6909.19.00 ที่นำเข้ามาผลิตคะตะไลติกคอนเวอร์เตอร์ เพื่อแก้ไขปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าระหว่างวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป
ปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 1, 5 ลงเหลือร้อยละ 0 จำนวน 7 ประเภทย่อย เช่น สินแร่ ไข่มุกที่นำมาร้อยเข้าด้วยกัน และเหล็กแผ่นเคลือบพลาสติก เป็นต้น
ปรับลดอัตราอากรขาเข้าเอ็นเย็บแผล จากร้อยละ 20 ลงเหลือร้อยละ 10
ปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 5 จำนวน 6 ประเภทย่อย เช่น กลาสฟริต ลวดทองแดง แผ่นทองแดง และฟอล์ยทองแดง เป็นต้น
ปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะสำหรับฟิล์มที่ใช้ทำแม่พิมพ์จากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ10
ปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าหินแกรนิตเฉพาะก้อนเหลี่ยมที่มีความกว้าง ยาว และสูง ด้านใดด้านหนึ่งน้อยกว่าด้านละ 10 เซนติเมตร และหินแกรนิตชนิดแผ่น จากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 30
ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราอากรขาเข้าเหล็กแผ่นชนิด TMBP ในอัตราร้อยละ 1 ต่อไปอีกจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
3. ผลกระทบทางด้านรายได้จากการดำเนินมาตรการทางด้านภาษีศุลกากรทั้ง 2 ส่วนข้างต้น ถึงแม้ว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรไปบางส่วน แต่ในระยะยาว ผลของการดำเนินมาตรการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้กับสินค้านำเข้า ซึ่งประเทศไทยมีกำลังการผลิต และมีศักยภาพในการผลิตอย่างเพียงพอ จะทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลประโยชน์สุทธิจากมาตรการทางด้านภาษีศุลกากรข้างต้น
คุณลาวัลย์ ภูวรรณ์
รักษาการผู้อำนวยการสำนักนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 02-2739020 ต่อ 3514
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11/2550 13 กุมภาพันธ์ 50--