กรุงเทพ--3 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2550 ที่ประชุมคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council — ECOSOC) ได้จัดการเลือกตั้งการดำรงตำแหน่งสมาชิกในองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ ECOSOC ซึ่งมีทั้งสิ้นมากกว่า 30 องค์กร (subsidiary bodies) โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประเทศไทยได้ลงสมัครแข่งขันใน 2 องค์กร ได้แก่ (1) สมาชิกคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (Commission on the Narcotic Drugs — CND) เพื่อดำรงตำแหน่งในวาระปี ค.ศ. 2008-2011 และ (2) สมาชิกคณะกรรมการบริหาร (executive board) ของโครงการอาหารโลก (World Food Programme — WFP) และจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของทั้งสององค์กรดังกล่าว
สำหรับตำแหน่งสมาชิก CND ที่ไทยได้รับนั้น ในช่วงแรก มีประเทศจากกลุ่มภูมิภาคเอเชียลงสมัครถึง 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย เยเมน จีน ปากีสถาน พม่า สหรัฐ-อาหรับเอมิเรสต์ คาซักสถาน และอิหร่าน ในขณะที่ตำแหน่งว่างของกลุ่มประเทศในเอเชียมีเพียง 7 ตำแหน่ง แต่ต่อมา พม่าถอนตัว จึงทำให้ไทยได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการ (acclamation) จากที่ประชุมฯ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิก CND
สำหรับตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการบริหารของ WFP นั้น มีจำนวนประเทศผู้ลงสมัครเท่ากับตำแหน่งว่าง ประเทศไทยจึงได้รับเลือกตั้งโดย acclamation ให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการดังกล่าว
การดำรงตำแหน่งสมาชิก CND ในวาระนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยสามารถรักษาการดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลาติดต่อกันถึง 34 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ประชาคมโลกตระหนักถึงความพยายามและบทบาทสำคัญของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในระดับระหว่างประเทศเพื่อร่วมกันต่อสู้กับปัญหาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการบริหารของ WFP จะช่วยส่งเสริมบทบาทของไทยในการกำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณของ WFP ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร (food aid) กับผู้ประสบภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากมนุษย์ (natural and man-made disasters) ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการต่าง ๆ ได้แก่ เกษตรกรรม ปศุสัตว์ การประมง โภชนาการ Food Safety และ Food Security รวมทั้งการให้การสนับสนุนทุนศึกษาแก่เด็ก การให้ความช่วยเหลือกับผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทซึ่งเป็นที่อาศัยของประชากรส่วนใหญ่ที่ยากจนและหิวโหย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2550 ที่ประชุมคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council — ECOSOC) ได้จัดการเลือกตั้งการดำรงตำแหน่งสมาชิกในองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ ECOSOC ซึ่งมีทั้งสิ้นมากกว่า 30 องค์กร (subsidiary bodies) โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประเทศไทยได้ลงสมัครแข่งขันใน 2 องค์กร ได้แก่ (1) สมาชิกคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (Commission on the Narcotic Drugs — CND) เพื่อดำรงตำแหน่งในวาระปี ค.ศ. 2008-2011 และ (2) สมาชิกคณะกรรมการบริหาร (executive board) ของโครงการอาหารโลก (World Food Programme — WFP) และจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของทั้งสององค์กรดังกล่าว
สำหรับตำแหน่งสมาชิก CND ที่ไทยได้รับนั้น ในช่วงแรก มีประเทศจากกลุ่มภูมิภาคเอเชียลงสมัครถึง 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย เยเมน จีน ปากีสถาน พม่า สหรัฐ-อาหรับเอมิเรสต์ คาซักสถาน และอิหร่าน ในขณะที่ตำแหน่งว่างของกลุ่มประเทศในเอเชียมีเพียง 7 ตำแหน่ง แต่ต่อมา พม่าถอนตัว จึงทำให้ไทยได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการ (acclamation) จากที่ประชุมฯ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิก CND
สำหรับตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการบริหารของ WFP นั้น มีจำนวนประเทศผู้ลงสมัครเท่ากับตำแหน่งว่าง ประเทศไทยจึงได้รับเลือกตั้งโดย acclamation ให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการดังกล่าว
การดำรงตำแหน่งสมาชิก CND ในวาระนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยสามารถรักษาการดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลาติดต่อกันถึง 34 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ประชาคมโลกตระหนักถึงความพยายามและบทบาทสำคัญของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในระดับระหว่างประเทศเพื่อร่วมกันต่อสู้กับปัญหาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการบริหารของ WFP จะช่วยส่งเสริมบทบาทของไทยในการกำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณของ WFP ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร (food aid) กับผู้ประสบภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากมนุษย์ (natural and man-made disasters) ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการต่าง ๆ ได้แก่ เกษตรกรรม ปศุสัตว์ การประมง โภชนาการ Food Safety และ Food Security รวมทั้งการให้การสนับสนุนทุนศึกษาแก่เด็ก การให้ความช่วยเหลือกับผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทซึ่งเป็นที่อาศัยของประชากรส่วนใหญ่ที่ยากจนและหิวโหย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-