สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันจันทร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็น ประธานในการประชุม เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุม ประธานดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุมดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานฯ แจ้งต่อที่ประชุมว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดโครงการรับบริจาคโลหิตและอวัยวะขึ้น ในวันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๐๘.๓๐-๑๕.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ จึงขอเชิญชวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกท่านเข้าร่วมเป็นเกียรติและ ร่วมบริจาคโลหิตและอวัยวะในครั้งนี้ พร้อมกันนี้ขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปเข้าร่วมบริจาคได้ในวัน เวลา ดังกล่าว
๒. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา (ไม่มี)
๔. เรื่องเสนอใหม่
รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๐ ได้มีการส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว
นายปกรณ์ ปรียากร คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ชี้แจงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญโดยสรุปว่า คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้วางกรอบไว้ดังนี้
กรอบที่ ๑ บทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรอบที่ ๒ บทบัญญัติที่เกี่ยวกับสถาบันการเมือง
กรอบที่ ๓ องค์กรตรวจสอบอิสระและศาล และการใช้อำนาจรัฐ
จากกรอบของการยกร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้นำไปสู่การยกร่างมาตราต่าง ๆ ของ รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสาระคัญดังนี้
- มุ่งเน้นการคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
- มุ่งเน้นการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
- ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม
- ทำให้การตรวจสอบมีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ประกอบด้วย ๑๕ หมวด ไม่รวมบทเฉพาะกาล มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๙๙ มาตรา ซึ่งแก้ไขต่างจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ประมาณ ๑๖๐ มาตรา และคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้จัดทำตารางเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ปี ๒๕๔๙ มาตรา ๒๖ ไว้
- มีการคุ้มครองส่งเสริมและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างเต็มที่
- ได้กำหนดให้เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดตนเองได้
- กำหนดประเภทสิทธิและเสรีภาพมากกว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ คือ ให้สิทธิเสรีภาพ
ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกละเมิด โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
- มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และเสียค่าใช้จ่ายตามสมควร
- เด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ และทุพพลภาพ ได้รับการคุ้มครองในกระบวนการดำเนินการพิจารณาคดีได้อย่างเหมาะสม และมีสิทธิในการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญด้วยตนเองได้
- ด้านแรงงาน ได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้ง หลักประกันในการดำรงชีพในขณะทำงานและพ้นจากการทำงานแล้ว
- สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ ห้ามปิดกิจการ
สื่อมวลชนและห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารและหากมีการดำเนินการดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
- ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการของ สื่อมวลชนเพื่อป้องกันการใช้สื่อสารมวลชน เพื่อประโยชน์ของตนเอง
- ด้านการศึกษา ประชาชนได้รับการศึกษาฟรี ๑๒ ปี โดยให้ผู้ยากไร้ ผู้พิการ
ทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพ องค์กรศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้รับการคุ้มครองส่งเสริมจากรัฐเช่นเดียวกัน
- เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว กฎหมายได้กำหนดให้ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ตามศักยภาพและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
- สิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ให้ครอบคลุมถึงการรวมตัวกันของบุคคลเป็นชุมชน โดยไม่จำเป็นต้องรวมตัวมาเป็นเวลานาน
- การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อนมีโครงการ
- ชุมชนมีสิทธิฟ้องร้องหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการ
ส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิชุมชนไว้
- ประชาชนมีสิทธิติดตาม ร้องขอ ให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการมีสิทธิเข้าถึงรายละเอียดร่างพระราชบัญญัติ ที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการด้วย
- การทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประชาชน รัฐธรรมนูญ
ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน และหลังจากมีการลงนามแล้วต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของสนธิสัญญา รวมทั้งแก้ไขหรือดูแลให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการลงนามในสนธิสัญญาอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม
- การให้สิทธิแก่ประชาชน ๑๐๐,๐๐๐ คน เข้าชื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิเสรีภาพได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ
๑. แยกหมวดหมู่สิทธิเสรีภาพไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ประชาชนอ่านและเข้าถึง
รัฐธรรมนูญได้โดยง่าย โดยแบ่งสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยออกเป็นส่วน ๆ คือ
- สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
- สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน
- สิทธิในชุมชน
- สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
๒. สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้รับรองและคุ้มครองไว้ คือ ประชาชนสามารถใช้
สิทธิและเสรีภาพได้ทันทีโดยการร้องขอต่อศาล แม้ยังไม่มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ตาม
๓. กำหนดให้รัฐดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนในการใช้สิทธิ
และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
๔. การลดจำนวนประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือจาก ๕๐,๐๐๐ ชื่อ เป็น ๒๐,๐๐๐ ชื่อ
๕. ทำให้การใช้สิทธิเสรีภาพมีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน
โดยได้บัญญัติให้ตัดคำว่า ทั้งนี้ที่กฎหมายบัญญัติออกจากฝ่ายนิติบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ ทั้งหลาย เพื่อให้ทราบว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกิดขึ้นทันทีตามรัฐธรรมนูญไม่ใช่ตามกฎหมาย
๖. ได้กำหนดระยะเวลาในการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับสิทธิ
เสรีภาพของประชาชนไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้มีอำนาจถ่วงเวลาในการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อันเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
๗. ให้ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงในกรณีมีการละเมิดสิทธิและ
เสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและให้ชุมชนมีสิทธิฟ้องศาลได้
๘. ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟ้องศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้
ในกรณีกฎหมาย กฎ คำสั่ง หรือการกระทำใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้เสียหายแทนประชาชน เพื่อฟ้องศาลได้ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
๙. ทำให้แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐมีความชัดเจน ครอบคลุมรอบด้าน และ
ผูกพันรัฐ โดยได้บัญญัติให้แยกหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้ครอบคลุมทุกด้านอย่างชัดเจน ทั้งด้านความมั่นคง ศาสนา สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม กฎหมาย และการยุติธรรม การต่างประเทศ การศึกษา ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา พลังงานและด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
- การกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ คือ รัฐต้องพัฒนาระบบงานภาครัฐ
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ
- จัดให้มีการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- กำหนดให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม
- มุ่งเน้นการคุ้มครองและระบบผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและตลาด สินค้าเกษตร เพื่อให้ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคที่ยั่งยืนต่อไป
- จัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและ รัฐต้องระวังในการกระทำใด ๆ อันทำให้สาธารณูปโภคตกไปอยู่ในการผูกขาดของภาคเอกชน
- กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินตามหลักวิชาให้ครอบคลุมทั้งผืนดิน ผืนน้ำ
ทั่วประเทศ รวมทั้งการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ และดำเนินการให้เกษตรกรมีสิทธิในที่ดินอย่างทั่วถึง
- กำหนดให้รัฐบาลที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้
สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยระบุให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการใด ในระยะเวลาเท่าใด โดยกำหนดแผนบริหารราชการแผ่นดินและจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการว่ามีปัญหาและอุปสรรคใดเสนอต่อรัฐสภาปีละ ๑ ครั้ง
- ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่นและกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อเป็นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระดับประเทศในอนาคต โดยร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระอย่างเต็มที่ในการบริหารงานของตนเองใน
ทุกด้าน
- การจัดทำบริการสถานะ รวมถึงการจัดโครงสร้างอย่างคล่องตัว
- ปฏิรูปการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยผลักดันให้
บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสถานะเป็นข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนระดับประเทศ มีคณะกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นของตนเอง และมีอิสระจากส่วนกลาง สามารถ โอนย้ายข้าราชการระหว่างองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นได้ รวมทั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมระดับท้องถิ่นด้วย
- เพิ่มการมีส่วนร่วมในท้องถิ่น โดยสามารถลงประชามติในเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่นของ
ตนเองได้
- ลดจำนวนประชาชนที่จะเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่นและการเสนอร่าง
ข้อบัญญัติท้องถิ่น รวมทั้งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานการดำเนินงานต่อประชาชน การจัดทำงบประมาณ การใช้จ่ายและผลการดำเนินงานในรอบปี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกำกับการบริหารจัดการได้
- ให้มีการดำเนินการปรับปรุงระบบการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มี
ประสิทธิภาพ เช่น การบริการสาธารณะที่จำเป็นให้มีมาตรฐานในการดำเนินการเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมารถปฏิบัติได้เอง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความแตกต่างของการพัฒนาและ การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดให้มีกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยประชาชน
- ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และสร้างดุลยภาพของอำนาจในทางการเมือง เช่น
เสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน
- จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมของรัฐบาล โดยมีมาตรการ ตั้งแต่การให้นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่เกิน ๒ สมัย หรือ ๘ ปี
- การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลต้องตรวจสอบโดยเคร่งครัดจากศาลรัฐธรรมนูญ
- รัฐบาลสามารถตราพระราชบัญญัติได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเท่านั้น
- บัญญัติให้มีหมวดการเงิน การคลัง และงบประมาณ เพื่อมิให้รัฐบาลใช้จ่ายเงิน
อย่างไม่มีวินัยทางการเงินและงบประมาณ อันจะก่อให้เกิดภาวะทางการเงิน การคลัง ของประเทศ ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม แผนงาน โครงการอย่างชัดเจน
- ให้รัฐสภา ศาล และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สามารถขอแปรญัตติต่อ
คณะกรรมาธิการของสภาได้โดยตรง ในการของบประมาณเพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลใช้การจัดสรร งบประมาณเป็นเครื่องมือในการต่อรอง
- องค์กรตามรัฐธรรมนูญสามารถเสนอแก้ไขข้อกฎหมายของตนเองไปยังรัฐสภาได้
โดยไม่ถูกรัฐบาลขัดขวาง
- ให้องค์กรอัยการเป็นอิสระจากรัฐบาลเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการไว้อย่างชัดเจน เพื่อไมให้รัฐบาล
รักษาการแทรกแซงการทำงานของฝ่ายประจำและใช้กลไกของรัฐไปสนับสนุนพรรคการเมืองและ ผู้สมัครฝ่ายตนในการเลือกตั้ง
- ห้ามการควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาระหว่างอายุของสภา เพื่อป้องกันการเกิดเสียงข้างมากอย่างผิดปกติในสภา
คณะกรรมาธิการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาและบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญโดย
- ปรับปรุงระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ โดยให้สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรที่มาจากเขตเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรในเขตการเลือกตั้งที่ใหญ่ขึ้น และให้คนดีมีความสามารถลงแข่งกับคนที่ใช้เงินได้
- ปรับปรุงระบบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ไปสู่ระบบการ
เลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัดเพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวผู้แทนราษฎรประเภทนี้ ในส่วนกลางและยกเลิกสัดส่วน ๕% เพื่อให้มีพรรคเล็กสามารถมาทำงานในสภาได้ และเพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดทางการเมือง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติของพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม
อภิปรายและการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเสนอร่างกฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านพรรค
การเมือง กำหนดให้การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาเป็นระบบสรรหามาจากจังหวัดและกลุ่มวิชาชีพ
- ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแทรกแซงข้าราชการประจำ
และให้ข้าราชการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
- ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อ
ประโยชน์ของตนและพรรคการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการปฏิบัติราชการหรือดำเนินงานในหน้าที่ประจำ
- ห้ามแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง หรือพิจารณาเงินเดือน
ของข้าราชการประจำ
- ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีมาตรฐานชัดเจน โดยมี
กลไกและระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และ จริยธรรม
- กำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการละเมิด การฝ่าฝืนมาตรฐาน
จริยธรรมที่ร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถนำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
- กำหนดมาตรการไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง คือ ห้ามไม่ให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใด ๆ ในหน่วยราชการหรือ หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ
- ห้ามมิให้รัฐแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐหรือเข้าเป็นคู่สัญญา
อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
- ห้ามมิให้รับเงินใด ๆ จากหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐเป็นพิเศษ
นอกเหนือจากหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานราชการปฏิบัติกับบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานตามปกติ
- ห้ามมิให้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ที่ดำเนินการเกี่ยวกับ
การสื่อสารมวลชนหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว
- นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องไม่เป็นหุ้นส่วน
หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือให้คงไว้ในหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป
- กรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าว
ต่อไป ให้ผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับการแต่งตั้ง และให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นให้นิติบุคคลจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นตามกฎหมายบัญญัติ รวมทั้งห้ามมิให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีผู้นั้นกระทำ
การใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นส่วนหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเหล่านั้น
- ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พ้นจาก
ตำแหน่งใดกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาได้ง่ายขึ้น
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
แม้จะรอการลงโทษก็พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- กรณีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีจะยังไม่ถึง
ที่สุด หรือมีการรอการลงโทษก็พ้นจากตำแหน่งเว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ความผิดฐานหมิ่นประมาท
- ห้ามประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี ดำเนินการในลักษณะที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
- กำหนดให้องค์กรตรวจสอบมีความเป็นอิสระ เข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
- กำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นคณะบุคคลในการสรรหาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
- มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น
- ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับฟ้องเรื่องที่ประชาชนถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพได้
โดยตรง
- ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณาคดีที่ฟ้อง
ว่านักการเมืองไม่แสดงบัญชีทรัพย์สินหรือหนี้สิน หรือแสดงหนี้สินหรือทรัพย์สินอันเป็นเท็จ
- ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดูแลเฉพาะผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการประจำระดับสูงเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาสามารถหยิบยกเรื่องที่เกิดความเสียหายต่อ
ประชาชนโดยรวม หรือคุ้มครองประโยชน์สาธารณะขึ้นได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีการร้องเรียน
- เพิ่มอำนาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยให้คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ได้ในกรณีที่กฎหมาย กฎ คำสั่ง หรือการกระทำใดขัด ต่อรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้เสียหายแทนประชาชนเพื่อฟ้องศาลในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีอำนาจเพิ่มขึ้นในการออก
ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม
- ให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐสภา และศาล สามารถแปรญัตติงบประมาณได้
- ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถอภิปรายรัฐมนตรีได้ง่ายขึ้นโดยใช้เสียง ๑ ใน ๔
- สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่หลบการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยไปดำรง
ตำแหน่งรัฐมนตรีอื่นได้
- กำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ต้องมาตอบกระทู้ถามและชี้แจงต่อสภา
ผู้แทนราษฎรด้วยตนเอง
ประเด็นในการจัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระ
- การให้ใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง สามารถอุทธรณ์ต่อ
ศาลฎีกาได้ ส่วนทางเลือกตั้งระดับท้องถิ่นสามารถอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคได้
- กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอันใดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญอันเนื่องมาจากการใช้
อำนาจตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางการปกครองสามารถถูกตรวจสอบโดยศาลปกครองได้
- ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือ
การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรม
จากนั้นนายวิชา มหาคุณ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ กรรมาธิการยกร่างฯ ไม่ได้ร่างภายใต้ความกดดัน ไม่ได้เป็นนอมินีใคร กรรมาธิการยกร่างฯ และ สสร. ยึดหลักธรรมาธิปไตย รับฟังด้วยเหตุผลไม่ใช่อัตตาธิปไตยหรือโลกาธิปไตย ที่คล้อยตามกระแสสังคม ฟังความเห็นที่ไม่ชอบธรรมแล้วคล้อยตาม เพื่อมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เพราะเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากรอบด้าน หลังจากนั้นจะนำมาคิดและวิเคราะห์นำส่วนที่ดีเข้ามาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนประเด็นตุลาการภิวัฒน์นั้นเป็นการเข้าใจผิด เพราะตุลาการภิวัฒน์เป็นเรื่องของการเป็นตัวแทนของประชาชน เพื่อทำการชี้ขาดความเป็นธรรมและทำหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างแท้จริง เป็นองค์กรที่แก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุวิบัติทางการเมืองขึ้น
จากเหตุการณ์ที่ผ่านได้มีการแทรกแซงอำนาจทางการเมืองเป็นอย่างมากเกี่ยวกับ การสรรหาองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดังนั้นเหตุที่ได้นำเรื่องศาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับด้านการเมือง เพราะได้มีการศึกษาและวิเคราะห์แล้ว และขณะนี้เรื่องศาลถือว่าไม่ใช่ข้อยุติ แต่สามารถแสดงความคิดเห็นและแปรญัตติได้
สำหรับการเปลี่ยนที่มาของสมาชิกวุฒิสภามาเป็นการสรรหานั้น ที่ผ่านมามีการแทรกแซงวุฒิสภาอย่างชัดเจนมาก เกิดการบล็อกโหวตจนกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองของสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่มาของสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งมาเป็นการแต่งตั้ง ถือเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ส่วนเรื่องการบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่นั้น กรรมาธิการยกร่างฯ ยังไม่มีข้อสรุป เพราะอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นว่าดีหรือไม่ โดยได้นำรัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ มาศึกษาและพบว่ามี ๒ ประเภทคือ แยกศาสนาออกจากอาณาจักรอย่างเด็ดขาด และศาสนาเป็นหนึ่งเดียวกับอาณาจักร
จากนั้น นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ตอบชี้แจงว่า การเลือกตั้งอาจจะมีขึ้นในปี ๒๕๕๐ เพื่อเป็นทางออกของประเทศและนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญ ๒๙๙ มาตรานี้ เกิดจากการได้นำเอกสารการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกคนและทุกองค์กรมาใช้ และความคิดเห็นยังไม่มีข้อยุติ ต้องรับฟังไปเรื่อย ๆ และขอยืนยันว่า จะร่างรัฐธรรมนูญบนผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก บนสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ซึ่งประเด็นที่เด่นและสำคัญที่สุดคือ เรื่องสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และจะทำให้เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดของประเทศไทย โดยไม่มีการ ต่อท่ออำนาจให้ใครและไม่เป็นอำมาตยาธิปไตย มีเนื้อหาหลากหลาย และไม่มีการสืบทอดอำนาจ
หลังจากที่สมาชิกฯ ได้อภิปราย นายปกรณ์ ปรียากร กรรมาธิการยกร่าง ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้แสดงความคิดเห็น และกรรมาธิการยกร่างฯ พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย รวมทั้งช่วยผลักดันร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ด้วย
จากนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้อภิปรายว่า ตนเห็นด้วยกับมาตรา ๖๘ ที่ให้มีองค์คณะในการแก้วิกฤติบ้านเมือง เพราะวิกฤติมักเกิดทุก ๑๐-๑๕ ปี และเมื่อเกิดวิกฤติแล้วไม่มีใครขยับออกมา ดังนั้นการตั้งคณะบุคคล ที่มีตำแหน่งน่าเชื่อถือทางสังคมมาช่วยแก้ไขจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล และถ้ามีการครอบงำก็จะรู้ว่าเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อยมีใคร อย่างไรบ้าง ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนพบว่า หากจะให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการสรรหาส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งนั้นควรจะ เปิดช่องให้สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการสรรหามากลุ่มหนึ่ง จำนวนประมาณ ๔-๕ คน และนำมาให้ประชาชนเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเลือกให้เหลือคนเดียว
นายกล้านรงค์ จันทิก ตั้งข้อสังเกตมาตรา ๒๖๗ ที่ยึดตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ว่า อาจทำให้เกิดปัญหาการตีความ โดยเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐๙ พบว่าต้องมี ผู้เสียหายมาร้องเรียนถึงสามารถตรวจสอบได้ แต่ที่ผ่านมาต้องแก้ไขกฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังนั้นจึงควรเขียนให้สอดคล้องกัน เพื่อไม่เกิดปัญหาในการตีความ โดยเฉพาะกรณีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ควรให้เจ้าพนักงานอื่นของรัฐ หรือกรรมการ ป.ป.ช. สามารถร้องเรียนได้
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ
ประธานฯ ได้นัดให้มีการประชุมนอกรอบเพื่อหารือแนวทางการแปรญัตติ ในวันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา
--------------------------------------------------
วันจันทร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็น ประธานในการประชุม เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุม ประธานดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุมดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานฯ แจ้งต่อที่ประชุมว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดโครงการรับบริจาคโลหิตและอวัยวะขึ้น ในวันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๐๘.๓๐-๑๕.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ จึงขอเชิญชวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกท่านเข้าร่วมเป็นเกียรติและ ร่วมบริจาคโลหิตและอวัยวะในครั้งนี้ พร้อมกันนี้ขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปเข้าร่วมบริจาคได้ในวัน เวลา ดังกล่าว
๒. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา (ไม่มี)
๔. เรื่องเสนอใหม่
รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๐ ได้มีการส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว
นายปกรณ์ ปรียากร คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ชี้แจงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญโดยสรุปว่า คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้วางกรอบไว้ดังนี้
กรอบที่ ๑ บทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรอบที่ ๒ บทบัญญัติที่เกี่ยวกับสถาบันการเมือง
กรอบที่ ๓ องค์กรตรวจสอบอิสระและศาล และการใช้อำนาจรัฐ
จากกรอบของการยกร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้นำไปสู่การยกร่างมาตราต่าง ๆ ของ รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสาระคัญดังนี้
- มุ่งเน้นการคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
- มุ่งเน้นการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
- ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม
- ทำให้การตรวจสอบมีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ประกอบด้วย ๑๕ หมวด ไม่รวมบทเฉพาะกาล มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๙๙ มาตรา ซึ่งแก้ไขต่างจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ประมาณ ๑๖๐ มาตรา และคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้จัดทำตารางเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ปี ๒๕๔๙ มาตรา ๒๖ ไว้
- มีการคุ้มครองส่งเสริมและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างเต็มที่
- ได้กำหนดให้เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดตนเองได้
- กำหนดประเภทสิทธิและเสรีภาพมากกว่ารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ คือ ให้สิทธิเสรีภาพ
ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกละเมิด โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
- มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และเสียค่าใช้จ่ายตามสมควร
- เด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ และทุพพลภาพ ได้รับการคุ้มครองในกระบวนการดำเนินการพิจารณาคดีได้อย่างเหมาะสม และมีสิทธิในการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญด้วยตนเองได้
- ด้านแรงงาน ได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้ง หลักประกันในการดำรงชีพในขณะทำงานและพ้นจากการทำงานแล้ว
- สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ ห้ามปิดกิจการ
สื่อมวลชนและห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารและหากมีการดำเนินการดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
- ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการของ สื่อมวลชนเพื่อป้องกันการใช้สื่อสารมวลชน เพื่อประโยชน์ของตนเอง
- ด้านการศึกษา ประชาชนได้รับการศึกษาฟรี ๑๒ ปี โดยให้ผู้ยากไร้ ผู้พิการ
ทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพ องค์กรศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้รับการคุ้มครองส่งเสริมจากรัฐเช่นเดียวกัน
- เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว กฎหมายได้กำหนดให้ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ตามศักยภาพและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
- สิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ให้ครอบคลุมถึงการรวมตัวกันของบุคคลเป็นชุมชน โดยไม่จำเป็นต้องรวมตัวมาเป็นเวลานาน
- การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อนมีโครงการ
- ชุมชนมีสิทธิฟ้องร้องหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการ
ส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิชุมชนไว้
- ประชาชนมีสิทธิติดตาม ร้องขอ ให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการมีสิทธิเข้าถึงรายละเอียดร่างพระราชบัญญัติ ที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการด้วย
- การทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประชาชน รัฐธรรมนูญ
ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน และหลังจากมีการลงนามแล้วต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของสนธิสัญญา รวมทั้งแก้ไขหรือดูแลให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการลงนามในสนธิสัญญาอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม
- การให้สิทธิแก่ประชาชน ๑๐๐,๐๐๐ คน เข้าชื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิเสรีภาพได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ
๑. แยกหมวดหมู่สิทธิเสรีภาพไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ประชาชนอ่านและเข้าถึง
รัฐธรรมนูญได้โดยง่าย โดยแบ่งสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยออกเป็นส่วน ๆ คือ
- สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
- สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน
- สิทธิในชุมชน
- สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
๒. สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้รับรองและคุ้มครองไว้ คือ ประชาชนสามารถใช้
สิทธิและเสรีภาพได้ทันทีโดยการร้องขอต่อศาล แม้ยังไม่มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ตาม
๓. กำหนดให้รัฐดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนในการใช้สิทธิ
และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
๔. การลดจำนวนประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือจาก ๕๐,๐๐๐ ชื่อ เป็น ๒๐,๐๐๐ ชื่อ
๕. ทำให้การใช้สิทธิเสรีภาพมีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน
โดยได้บัญญัติให้ตัดคำว่า ทั้งนี้ที่กฎหมายบัญญัติออกจากฝ่ายนิติบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ ทั้งหลาย เพื่อให้ทราบว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกิดขึ้นทันทีตามรัฐธรรมนูญไม่ใช่ตามกฎหมาย
๖. ได้กำหนดระยะเวลาในการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับสิทธิ
เสรีภาพของประชาชนไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้มีอำนาจถ่วงเวลาในการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อันเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
๗. ให้ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงในกรณีมีการละเมิดสิทธิและ
เสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและให้ชุมชนมีสิทธิฟ้องศาลได้
๘. ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟ้องศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้
ในกรณีกฎหมาย กฎ คำสั่ง หรือการกระทำใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้เสียหายแทนประชาชน เพื่อฟ้องศาลได้ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
๙. ทำให้แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐมีความชัดเจน ครอบคลุมรอบด้าน และ
ผูกพันรัฐ โดยได้บัญญัติให้แยกหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้ครอบคลุมทุกด้านอย่างชัดเจน ทั้งด้านความมั่นคง ศาสนา สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม กฎหมาย และการยุติธรรม การต่างประเทศ การศึกษา ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา พลังงานและด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
- การกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ คือ รัฐต้องพัฒนาระบบงานภาครัฐ
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ
- จัดให้มีการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- กำหนดให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม
- มุ่งเน้นการคุ้มครองและระบบผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและตลาด สินค้าเกษตร เพื่อให้ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคที่ยั่งยืนต่อไป
- จัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและ รัฐต้องระวังในการกระทำใด ๆ อันทำให้สาธารณูปโภคตกไปอยู่ในการผูกขาดของภาคเอกชน
- กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินตามหลักวิชาให้ครอบคลุมทั้งผืนดิน ผืนน้ำ
ทั่วประเทศ รวมทั้งการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ และดำเนินการให้เกษตรกรมีสิทธิในที่ดินอย่างทั่วถึง
- กำหนดให้รัฐบาลที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้
สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยระบุให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการใด ในระยะเวลาเท่าใด โดยกำหนดแผนบริหารราชการแผ่นดินและจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการว่ามีปัญหาและอุปสรรคใดเสนอต่อรัฐสภาปีละ ๑ ครั้ง
- ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่นและกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อเป็นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระดับประเทศในอนาคต โดยร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระอย่างเต็มที่ในการบริหารงานของตนเองใน
ทุกด้าน
- การจัดทำบริการสถานะ รวมถึงการจัดโครงสร้างอย่างคล่องตัว
- ปฏิรูปการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยผลักดันให้
บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสถานะเป็นข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนระดับประเทศ มีคณะกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นของตนเอง และมีอิสระจากส่วนกลาง สามารถ โอนย้ายข้าราชการระหว่างองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นได้ รวมทั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมระดับท้องถิ่นด้วย
- เพิ่มการมีส่วนร่วมในท้องถิ่น โดยสามารถลงประชามติในเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่นของ
ตนเองได้
- ลดจำนวนประชาชนที่จะเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่นและการเสนอร่าง
ข้อบัญญัติท้องถิ่น รวมทั้งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานการดำเนินงานต่อประชาชน การจัดทำงบประมาณ การใช้จ่ายและผลการดำเนินงานในรอบปี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกำกับการบริหารจัดการได้
- ให้มีการดำเนินการปรับปรุงระบบการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มี
ประสิทธิภาพ เช่น การบริการสาธารณะที่จำเป็นให้มีมาตรฐานในการดำเนินการเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมารถปฏิบัติได้เอง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความแตกต่างของการพัฒนาและ การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดให้มีกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยประชาชน
- ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และสร้างดุลยภาพของอำนาจในทางการเมือง เช่น
เสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน
- จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมของรัฐบาล โดยมีมาตรการ ตั้งแต่การให้นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่เกิน ๒ สมัย หรือ ๘ ปี
- การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลต้องตรวจสอบโดยเคร่งครัดจากศาลรัฐธรรมนูญ
- รัฐบาลสามารถตราพระราชบัญญัติได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเท่านั้น
- บัญญัติให้มีหมวดการเงิน การคลัง และงบประมาณ เพื่อมิให้รัฐบาลใช้จ่ายเงิน
อย่างไม่มีวินัยทางการเงินและงบประมาณ อันจะก่อให้เกิดภาวะทางการเงิน การคลัง ของประเทศ ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม แผนงาน โครงการอย่างชัดเจน
- ให้รัฐสภา ศาล และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สามารถขอแปรญัตติต่อ
คณะกรรมาธิการของสภาได้โดยตรง ในการของบประมาณเพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลใช้การจัดสรร งบประมาณเป็นเครื่องมือในการต่อรอง
- องค์กรตามรัฐธรรมนูญสามารถเสนอแก้ไขข้อกฎหมายของตนเองไปยังรัฐสภาได้
โดยไม่ถูกรัฐบาลขัดขวาง
- ให้องค์กรอัยการเป็นอิสระจากรัฐบาลเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการไว้อย่างชัดเจน เพื่อไมให้รัฐบาล
รักษาการแทรกแซงการทำงานของฝ่ายประจำและใช้กลไกของรัฐไปสนับสนุนพรรคการเมืองและ ผู้สมัครฝ่ายตนในการเลือกตั้ง
- ห้ามการควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาระหว่างอายุของสภา เพื่อป้องกันการเกิดเสียงข้างมากอย่างผิดปกติในสภา
คณะกรรมาธิการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาและบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญโดย
- ปรับปรุงระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ โดยให้สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรที่มาจากเขตเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรในเขตการเลือกตั้งที่ใหญ่ขึ้น และให้คนดีมีความสามารถลงแข่งกับคนที่ใช้เงินได้
- ปรับปรุงระบบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ไปสู่ระบบการ
เลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัดเพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวผู้แทนราษฎรประเภทนี้ ในส่วนกลางและยกเลิกสัดส่วน ๕% เพื่อให้มีพรรคเล็กสามารถมาทำงานในสภาได้ และเพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดทางการเมือง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติของพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม
อภิปรายและการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเสนอร่างกฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านพรรค
การเมือง กำหนดให้การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาเป็นระบบสรรหามาจากจังหวัดและกลุ่มวิชาชีพ
- ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแทรกแซงข้าราชการประจำ
และให้ข้าราชการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
- ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อ
ประโยชน์ของตนและพรรคการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการปฏิบัติราชการหรือดำเนินงานในหน้าที่ประจำ
- ห้ามแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง หรือพิจารณาเงินเดือน
ของข้าราชการประจำ
- ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีมาตรฐานชัดเจน โดยมี
กลไกและระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และ จริยธรรม
- กำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการละเมิด การฝ่าฝืนมาตรฐาน
จริยธรรมที่ร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถนำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
- กำหนดมาตรการไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง คือ ห้ามไม่ให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใด ๆ ในหน่วยราชการหรือ หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ
- ห้ามมิให้รัฐแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐหรือเข้าเป็นคู่สัญญา
อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
- ห้ามมิให้รับเงินใด ๆ จากหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐเป็นพิเศษ
นอกเหนือจากหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานราชการปฏิบัติกับบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานตามปกติ
- ห้ามมิให้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ที่ดำเนินการเกี่ยวกับ
การสื่อสารมวลชนหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว
- นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องไม่เป็นหุ้นส่วน
หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือให้คงไว้ในหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป
- กรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าว
ต่อไป ให้ผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับการแต่งตั้ง และให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นให้นิติบุคคลจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นตามกฎหมายบัญญัติ รวมทั้งห้ามมิให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีผู้นั้นกระทำ
การใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นส่วนหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเหล่านั้น
- ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พ้นจาก
ตำแหน่งใดกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาได้ง่ายขึ้น
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
แม้จะรอการลงโทษก็พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- กรณีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีจะยังไม่ถึง
ที่สุด หรือมีการรอการลงโทษก็พ้นจากตำแหน่งเว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ความผิดฐานหมิ่นประมาท
- ห้ามประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี ดำเนินการในลักษณะที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
- กำหนดให้องค์กรตรวจสอบมีความเป็นอิสระ เข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
- กำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นคณะบุคคลในการสรรหาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
- มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น
- ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับฟ้องเรื่องที่ประชาชนถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพได้
โดยตรง
- ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณาคดีที่ฟ้อง
ว่านักการเมืองไม่แสดงบัญชีทรัพย์สินหรือหนี้สิน หรือแสดงหนี้สินหรือทรัพย์สินอันเป็นเท็จ
- ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดูแลเฉพาะผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการประจำระดับสูงเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาสามารถหยิบยกเรื่องที่เกิดความเสียหายต่อ
ประชาชนโดยรวม หรือคุ้มครองประโยชน์สาธารณะขึ้นได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีการร้องเรียน
- เพิ่มอำนาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยให้คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ได้ในกรณีที่กฎหมาย กฎ คำสั่ง หรือการกระทำใดขัด ต่อรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้เสียหายแทนประชาชนเพื่อฟ้องศาลในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีอำนาจเพิ่มขึ้นในการออก
ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม
- ให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐสภา และศาล สามารถแปรญัตติงบประมาณได้
- ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถอภิปรายรัฐมนตรีได้ง่ายขึ้นโดยใช้เสียง ๑ ใน ๔
- สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่หลบการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยไปดำรง
ตำแหน่งรัฐมนตรีอื่นได้
- กำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ต้องมาตอบกระทู้ถามและชี้แจงต่อสภา
ผู้แทนราษฎรด้วยตนเอง
ประเด็นในการจัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระ
- การให้ใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง สามารถอุทธรณ์ต่อ
ศาลฎีกาได้ ส่วนทางเลือกตั้งระดับท้องถิ่นสามารถอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคได้
- กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอันใดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญอันเนื่องมาจากการใช้
อำนาจตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางการปกครองสามารถถูกตรวจสอบโดยศาลปกครองได้
- ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือ
การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรม
จากนั้นนายวิชา มหาคุณ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ กรรมาธิการยกร่างฯ ไม่ได้ร่างภายใต้ความกดดัน ไม่ได้เป็นนอมินีใคร กรรมาธิการยกร่างฯ และ สสร. ยึดหลักธรรมาธิปไตย รับฟังด้วยเหตุผลไม่ใช่อัตตาธิปไตยหรือโลกาธิปไตย ที่คล้อยตามกระแสสังคม ฟังความเห็นที่ไม่ชอบธรรมแล้วคล้อยตาม เพื่อมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เพราะเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากรอบด้าน หลังจากนั้นจะนำมาคิดและวิเคราะห์นำส่วนที่ดีเข้ามาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนประเด็นตุลาการภิวัฒน์นั้นเป็นการเข้าใจผิด เพราะตุลาการภิวัฒน์เป็นเรื่องของการเป็นตัวแทนของประชาชน เพื่อทำการชี้ขาดความเป็นธรรมและทำหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างแท้จริง เป็นองค์กรที่แก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุวิบัติทางการเมืองขึ้น
จากเหตุการณ์ที่ผ่านได้มีการแทรกแซงอำนาจทางการเมืองเป็นอย่างมากเกี่ยวกับ การสรรหาองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดังนั้นเหตุที่ได้นำเรื่องศาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับด้านการเมือง เพราะได้มีการศึกษาและวิเคราะห์แล้ว และขณะนี้เรื่องศาลถือว่าไม่ใช่ข้อยุติ แต่สามารถแสดงความคิดเห็นและแปรญัตติได้
สำหรับการเปลี่ยนที่มาของสมาชิกวุฒิสภามาเป็นการสรรหานั้น ที่ผ่านมามีการแทรกแซงวุฒิสภาอย่างชัดเจนมาก เกิดการบล็อกโหวตจนกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองของสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่มาของสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งมาเป็นการแต่งตั้ง ถือเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ส่วนเรื่องการบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่นั้น กรรมาธิการยกร่างฯ ยังไม่มีข้อสรุป เพราะอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นว่าดีหรือไม่ โดยได้นำรัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ มาศึกษาและพบว่ามี ๒ ประเภทคือ แยกศาสนาออกจากอาณาจักรอย่างเด็ดขาด และศาสนาเป็นหนึ่งเดียวกับอาณาจักร
จากนั้น นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ตอบชี้แจงว่า การเลือกตั้งอาจจะมีขึ้นในปี ๒๕๕๐ เพื่อเป็นทางออกของประเทศและนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญ ๒๙๙ มาตรานี้ เกิดจากการได้นำเอกสารการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกคนและทุกองค์กรมาใช้ และความคิดเห็นยังไม่มีข้อยุติ ต้องรับฟังไปเรื่อย ๆ และขอยืนยันว่า จะร่างรัฐธรรมนูญบนผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก บนสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ซึ่งประเด็นที่เด่นและสำคัญที่สุดคือ เรื่องสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และจะทำให้เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดของประเทศไทย โดยไม่มีการ ต่อท่ออำนาจให้ใครและไม่เป็นอำมาตยาธิปไตย มีเนื้อหาหลากหลาย และไม่มีการสืบทอดอำนาจ
หลังจากที่สมาชิกฯ ได้อภิปราย นายปกรณ์ ปรียากร กรรมาธิการยกร่าง ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้แสดงความคิดเห็น และกรรมาธิการยกร่างฯ พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย รวมทั้งช่วยผลักดันร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ด้วย
จากนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้อภิปรายว่า ตนเห็นด้วยกับมาตรา ๖๘ ที่ให้มีองค์คณะในการแก้วิกฤติบ้านเมือง เพราะวิกฤติมักเกิดทุก ๑๐-๑๕ ปี และเมื่อเกิดวิกฤติแล้วไม่มีใครขยับออกมา ดังนั้นการตั้งคณะบุคคล ที่มีตำแหน่งน่าเชื่อถือทางสังคมมาช่วยแก้ไขจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล และถ้ามีการครอบงำก็จะรู้ว่าเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อยมีใคร อย่างไรบ้าง ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนพบว่า หากจะให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการสรรหาส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งนั้นควรจะ เปิดช่องให้สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการสรรหามากลุ่มหนึ่ง จำนวนประมาณ ๔-๕ คน และนำมาให้ประชาชนเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเลือกให้เหลือคนเดียว
นายกล้านรงค์ จันทิก ตั้งข้อสังเกตมาตรา ๒๖๗ ที่ยึดตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ว่า อาจทำให้เกิดปัญหาการตีความ โดยเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐๙ พบว่าต้องมี ผู้เสียหายมาร้องเรียนถึงสามารถตรวจสอบได้ แต่ที่ผ่านมาต้องแก้ไขกฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังนั้นจึงควรเขียนให้สอดคล้องกัน เพื่อไม่เกิดปัญหาในการตีความ โดยเฉพาะกรณีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ควรให้เจ้าพนักงานอื่นของรัฐ หรือกรรมการ ป.ป.ช. สามารถร้องเรียนได้
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ
ประธานฯ ได้นัดให้มีการประชุมนอกรอบเพื่อหารือแนวทางการแปรญัตติ ในวันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา
--------------------------------------------------