กรุงเทพ--15 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกาเผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี ค.ศ. 2007 (Trafficking in Persons Report : TIP Report) ในช่วงเช้าวันที่ 12 มิ.ย. 2550 (เวลาท้องถิ่นกรุงวอชิงตัน) ซึ่งเป็นรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศต่างๆ รวม 150 ประเทศ ระยะเวลาครอบคลุมช่วงเดือน เม.ย.49 — มี.ค.2550 โดยในรายงาน TIP Report สหรัฐฯ จะจัดระดับประเทศต่างๆ ออกเป็น 3 ระดับได้แก่ Tier 1 ประเทศที่มีการคุ้มครอง ป้องกันเหยื่อการค้ามนุษย์ และปฏิบัติตามกฎหมายตามมาตรฐานสากล Tier 2 ประเทศที่ปฏิบัติตามกฎหมายยังไม่ถึงระดับมาตรฐานสากล แต่มีความพยายามปรับปรุงแก้ไข Tier 2 Watch List คล้ายกับ Tier 2 แต่มีจำนวนเหยื่อเพิ่มขึ้น หรือไม่มีหลักฐานชัดเจนในการต่อต้านการค้ามนุษย์ และ Tier 3 ประเทศที่ปฏิบัติตามกฎหมายการค้ามนุษย์ไม่ถึงระดับสากลและไม่มีความพยายามแก้ไข
ในส่วนของประเทศไทยถูกจัดระดับที่ Tier 2 เช่นเดียวกับปีที่แล้ว และว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยยังดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ไม่ถึงระดับตามมาตรฐานสากล แต่ได้มีความพยายามอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้ชมเชยรัฐบาลไทยว่ายังคงมีความพยายามที่น่าประทับใจ (impressive efforts) ในการแก้ไขปัญหา sex trafficking โดยเฉพาะด้านการคุ้มครองเหยื่อที่น่าประทับใจ (impressive protection)
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า รัฐบาลและประชาชนไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะมีการจัดทำรายงานของสหรัฐฯ หรือไม่ก็ตาม ไทยได้จัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแห่งชาติในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2546 และได้มีบทบาทนำในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในภูมิภาคผ่านกรอบความร่วมมือของ 6 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง (Coordinated Mekong Ministerial Initiative against Trafficking : COMMIT ระหว่างพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน (ยูนนาน) และไทย) และได้มี MOUs เพื่อความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว และกัมพูชา โดยกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำข้อตกลงกับเวียดนามในเรื่องนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ อาทิ International Organization for Migration (IOM) และสหประชาชาติ อย่างแข็งขันในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตลอดจนการช่วยเหลือเหยื่อ โดยล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไทยได้เป็น
เจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศในเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้แทนรัฐบาลจาก 25 ประเทศ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศและ NGOs เข้าร่วมด้วย และเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เสนอ ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ พ.ร.บ. ดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการดำเนินการของไทยในการต่อต้านการค้ามนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
สหรัฐอเมริกาเผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี ค.ศ. 2007 (Trafficking in Persons Report : TIP Report) ในช่วงเช้าวันที่ 12 มิ.ย. 2550 (เวลาท้องถิ่นกรุงวอชิงตัน) ซึ่งเป็นรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศต่างๆ รวม 150 ประเทศ ระยะเวลาครอบคลุมช่วงเดือน เม.ย.49 — มี.ค.2550 โดยในรายงาน TIP Report สหรัฐฯ จะจัดระดับประเทศต่างๆ ออกเป็น 3 ระดับได้แก่ Tier 1 ประเทศที่มีการคุ้มครอง ป้องกันเหยื่อการค้ามนุษย์ และปฏิบัติตามกฎหมายตามมาตรฐานสากล Tier 2 ประเทศที่ปฏิบัติตามกฎหมายยังไม่ถึงระดับมาตรฐานสากล แต่มีความพยายามปรับปรุงแก้ไข Tier 2 Watch List คล้ายกับ Tier 2 แต่มีจำนวนเหยื่อเพิ่มขึ้น หรือไม่มีหลักฐานชัดเจนในการต่อต้านการค้ามนุษย์ และ Tier 3 ประเทศที่ปฏิบัติตามกฎหมายการค้ามนุษย์ไม่ถึงระดับสากลและไม่มีความพยายามแก้ไข
ในส่วนของประเทศไทยถูกจัดระดับที่ Tier 2 เช่นเดียวกับปีที่แล้ว และว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยยังดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ไม่ถึงระดับตามมาตรฐานสากล แต่ได้มีความพยายามอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้ชมเชยรัฐบาลไทยว่ายังคงมีความพยายามที่น่าประทับใจ (impressive efforts) ในการแก้ไขปัญหา sex trafficking โดยเฉพาะด้านการคุ้มครองเหยื่อที่น่าประทับใจ (impressive protection)
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า รัฐบาลและประชาชนไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะมีการจัดทำรายงานของสหรัฐฯ หรือไม่ก็ตาม ไทยได้จัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแห่งชาติในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2546 และได้มีบทบาทนำในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในภูมิภาคผ่านกรอบความร่วมมือของ 6 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง (Coordinated Mekong Ministerial Initiative against Trafficking : COMMIT ระหว่างพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน (ยูนนาน) และไทย) และได้มี MOUs เพื่อความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว และกัมพูชา โดยกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำข้อตกลงกับเวียดนามในเรื่องนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ อาทิ International Organization for Migration (IOM) และสหประชาชาติ อย่างแข็งขันในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตลอดจนการช่วยเหลือเหยื่อ โดยล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไทยได้เป็น
เจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศในเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้แทนรัฐบาลจาก 25 ประเทศ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศและ NGOs เข้าร่วมด้วย และเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เสนอ ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ พ.ร.บ. ดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการดำเนินการของไทยในการต่อต้านการค้ามนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-