กรุงเทพ--28 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เริ่มภารกิจการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ โดยในช่วงเช้า ได้หารือกับนางซาดาโกะ โอคาตะ ประธานองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และได้ใช้โอกาสดังกล่าวชี้แจงบทบาทและภาระหน้าที่ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยเฉพาะภารกิจในการนำประชาธิปไตยกลับคืนมาโดยเร็ว ซึ่งนางโอคาตะ แสดงความเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยอย่างดี นอกจากนี้ นายนิตย์ฯ ยังได้กล่าวถึงนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นความโปร่งใสและกฎหมายที่เป็นธรรม รวมทั้งชี้แจงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ในระหว่างการหารือ รัฐมนตรีต่างประเทศได้ชักชวนให้ JICA เพิ่มบทบาทในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยได้เน้นว่าไทยมีประสบการณ์ในการให้ความร่วมมือเพื่อช่วยพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคมานาน ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงสามารถเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นร่วมกับไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังได้ชักชวนให้ญี่ปุ่นเพิ่มความร่วมมือในโครงการต่างๆ ในกรอบ ACMECS และโครงการดอยตุง ซึ่งเข้าไปช่วยประเทศที่สาม เช่น พม่า และอัฟกานิสถาน
ภายหลังการหารือกับนางโอคาตะ นายนิตย์ฯ ได้รับเชิญให้ไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับกลุ่มนักธุรกิจซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทชั้นนำที่มีการลงทุนในประเทศไทยประมาณ 30 บริษัท ที่สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจญี่ปุ่น โดยเน้นว่าไทยยึดมั่นการเป็นตลาดเปิด และยินดีต้อนรับนักลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลจะยึดมั่นต่อการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยจะเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปกฎระเบียบให้โปร่งใสและยึดหลักธรรมาภิล นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศได้ใช้โอกาสดังกล่าวชี้แจงถึงแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งไม่ใช่เป็นการแยกตัวออกจากโลกภายนอก รวมทั้งได้ชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการกันเงินสำรองสำหรับเงินทุนไหลเข้า และการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว โดยย้ำว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของชาวญี่ปุ่นในไทย ซึ่งมีประมาณ 6,000 บริษัท ซึ่งนักธุรกิจที่เข้าร่วมฟังการกล่าวสุนทรพจน์ดังกล่าวต่างแสดงความเข้าใจและเชื่อมั่นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยจะดำเนินต่อไปด้วยดี
สำหรับเรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) นายนิตย์ฯ ได้กล่าวว่าฝ่ายไทยพร้อมจะลงนามหาก ฝ่ายญี่ปุ่นสามารถขจัดความห่วงกังวลของไทยเรื่องขยะพิษและสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับจุลชีพ ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายภาคส่วนของไทยมีความห่วงใยอย่างจริงจัง และรัฐมนตรีต่างประเทศย้ำว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากในประเทศไทย ในการนี้ ภาคเอกชนญี่ปุ่นได้แสดงความเข้าใจและย้ำว่าฝ่ายญี่ปุ่นมีความเข้าใจเรื่องนี้เช่นเดียวกับฝ่ายไทย จึงหวังว่าภาคราชการทั้งสองจะสามารถร่วมกันหาทางขจัด
ข้อกังวลของภาคส่วนต่างๆ ภายในไทยได้
ในช่วงบ่าย รัฐมนตรีต่างประเทศได้เข้าเยี่ยมคารวะนายยาสุฮิสา ชิโอซากิ (Chief Cabinet Secretary) ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองนายกรัฐมนตรี โดยทั้งสองฝ่ายได้สนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปี เรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น และการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี โดยนายชิโอซากิได้ขอบคุณไทยที่ถวายการต้อนรับสมเด็จพระจักรพรรดิ และพระจักรพรรดินีที่เสด็จฯ เยือนไทยช่วงพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
ภายหลังจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศได้เป็นประธานในพิธีอัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยดิเรกคุณาภรณ์มอบให้แก่นาย Hisaki Yamaguchi และนาย Isamu Yamaguchi และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยดิเรกคุณาภรณ์ แก่นาย Masakazu Okamoto ในฐานะที่ได้ช่วยเหลือและพัฒนาสังคมไทยท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติ ที่โรงแรมอิมพีเรียลด้วย
ในช่วงเย็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าเยี่ยมคารวะนายทาโร อะโซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่ Ikura House โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคี กิจกรรมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปี และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เน้นถึงความสำคัญของข้อห่วงกังวลของฝ่ายไทยใน 2 ประเด็นข้างต้น ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แสดงความหวังว่าจะสามารถแก้ไขข้อห่วงกังวลและลงนามความตกลงได้ต่อไป หลังจากนั้น นายอะโซ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่รัฐมนตรีต่างประเทศและภริยาด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เริ่มภารกิจการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ โดยในช่วงเช้า ได้หารือกับนางซาดาโกะ โอคาตะ ประธานองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และได้ใช้โอกาสดังกล่าวชี้แจงบทบาทและภาระหน้าที่ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยเฉพาะภารกิจในการนำประชาธิปไตยกลับคืนมาโดยเร็ว ซึ่งนางโอคาตะ แสดงความเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยอย่างดี นอกจากนี้ นายนิตย์ฯ ยังได้กล่าวถึงนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นความโปร่งใสและกฎหมายที่เป็นธรรม รวมทั้งชี้แจงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ในระหว่างการหารือ รัฐมนตรีต่างประเทศได้ชักชวนให้ JICA เพิ่มบทบาทในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยได้เน้นว่าไทยมีประสบการณ์ในการให้ความร่วมมือเพื่อช่วยพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคมานาน ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงสามารถเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นร่วมกับไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังได้ชักชวนให้ญี่ปุ่นเพิ่มความร่วมมือในโครงการต่างๆ ในกรอบ ACMECS และโครงการดอยตุง ซึ่งเข้าไปช่วยประเทศที่สาม เช่น พม่า และอัฟกานิสถาน
ภายหลังการหารือกับนางโอคาตะ นายนิตย์ฯ ได้รับเชิญให้ไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับกลุ่มนักธุรกิจซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทชั้นนำที่มีการลงทุนในประเทศไทยประมาณ 30 บริษัท ที่สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจญี่ปุ่น โดยเน้นว่าไทยยึดมั่นการเป็นตลาดเปิด และยินดีต้อนรับนักลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลจะยึดมั่นต่อการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยจะเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปกฎระเบียบให้โปร่งใสและยึดหลักธรรมาภิล นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศได้ใช้โอกาสดังกล่าวชี้แจงถึงแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งไม่ใช่เป็นการแยกตัวออกจากโลกภายนอก รวมทั้งได้ชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการกันเงินสำรองสำหรับเงินทุนไหลเข้า และการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว โดยย้ำว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของชาวญี่ปุ่นในไทย ซึ่งมีประมาณ 6,000 บริษัท ซึ่งนักธุรกิจที่เข้าร่วมฟังการกล่าวสุนทรพจน์ดังกล่าวต่างแสดงความเข้าใจและเชื่อมั่นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยจะดำเนินต่อไปด้วยดี
สำหรับเรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) นายนิตย์ฯ ได้กล่าวว่าฝ่ายไทยพร้อมจะลงนามหาก ฝ่ายญี่ปุ่นสามารถขจัดความห่วงกังวลของไทยเรื่องขยะพิษและสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับจุลชีพ ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายภาคส่วนของไทยมีความห่วงใยอย่างจริงจัง และรัฐมนตรีต่างประเทศย้ำว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากในประเทศไทย ในการนี้ ภาคเอกชนญี่ปุ่นได้แสดงความเข้าใจและย้ำว่าฝ่ายญี่ปุ่นมีความเข้าใจเรื่องนี้เช่นเดียวกับฝ่ายไทย จึงหวังว่าภาคราชการทั้งสองจะสามารถร่วมกันหาทางขจัด
ข้อกังวลของภาคส่วนต่างๆ ภายในไทยได้
ในช่วงบ่าย รัฐมนตรีต่างประเทศได้เข้าเยี่ยมคารวะนายยาสุฮิสา ชิโอซากิ (Chief Cabinet Secretary) ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองนายกรัฐมนตรี โดยทั้งสองฝ่ายได้สนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปี เรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น และการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี โดยนายชิโอซากิได้ขอบคุณไทยที่ถวายการต้อนรับสมเด็จพระจักรพรรดิ และพระจักรพรรดินีที่เสด็จฯ เยือนไทยช่วงพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
ภายหลังจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศได้เป็นประธานในพิธีอัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยดิเรกคุณาภรณ์มอบให้แก่นาย Hisaki Yamaguchi และนาย Isamu Yamaguchi และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยดิเรกคุณาภรณ์ แก่นาย Masakazu Okamoto ในฐานะที่ได้ช่วยเหลือและพัฒนาสังคมไทยท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติ ที่โรงแรมอิมพีเรียลด้วย
ในช่วงเย็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าเยี่ยมคารวะนายทาโร อะโซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่ Ikura House โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคี กิจกรรมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปี และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เน้นถึงความสำคัญของข้อห่วงกังวลของฝ่ายไทยใน 2 ประเด็นข้างต้น ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แสดงความหวังว่าจะสามารถแก้ไขข้อห่วงกังวลและลงนามความตกลงได้ต่อไป หลังจากนั้น นายอะโซ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่รัฐมนตรีต่างประเทศและภริยาด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-