กรุงเทพ--27 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่มีรายงานข่าวในสื่อมวลชนไทยเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 โดยอ้างถึงคำกล่าวของนายสมิทธ ธรรมสโรช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในเรื่องความเป็นไปได้ของการเตือนภัยคลื่นยักษ์ กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้
1. รายงานข่าวดังกล่าวอ้างอิงคำกล่าวของนายสมิทธฯ อย่างไม่ตรงข้อเท็จจริงและไม่ได้สะท้อนท่าทีของรัฐบาลไทยหรือจุดมุ่งหมายของนายสมิทธฯ แต่อย่างใด
2. ในความเป็นจริง การแสดงความเห็นของนายสมิทธฯ ที่มีการพาดพิงถึงนั้นมีขึ้นในเวทีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการ ซึ่งนายสมิทธฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องทำงานร่วมกันในการจัดการวิบัติภัยระหว่างประเทศ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนด้านข้อมูลมากขึ้นอีก ทั้งนี้ นายสมิทธฯ ได้เสนอแนะให้มีการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างศูนย์เตรียมพร้อมในการรับมือวิบัติภัย ที่ตั้งอยู่ในไทยกับศูนย์ฯ ที่ปฏิบัติการทั้งในญี่ปุ่น
และที่ฮาวาย ซึ่งมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว
3. กระทรวงการต่างประเทศตระหนักดีว่า ความร่วมมือและการสนับสนุนของประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ฯลฯ ทั้งในเรื่องความรู้ และความสามารถในการป้องกันแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถของศูนย์เตรียมพร้อมข้างต้น ในเรื่องนี้ ประเทศไทยจึงเฝ้ารอที่จะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และบรรลุถึงข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมในอันที่จะให้บังเกิดความร่วมมือจากหลายฝ่ายในการ จัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงการประชุมระดับรัฐมนตรีที่จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 28-29 มกราคม 2548
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่มีรายงานข่าวในสื่อมวลชนไทยเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 โดยอ้างถึงคำกล่าวของนายสมิทธ ธรรมสโรช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในเรื่องความเป็นไปได้ของการเตือนภัยคลื่นยักษ์ กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้
1. รายงานข่าวดังกล่าวอ้างอิงคำกล่าวของนายสมิทธฯ อย่างไม่ตรงข้อเท็จจริงและไม่ได้สะท้อนท่าทีของรัฐบาลไทยหรือจุดมุ่งหมายของนายสมิทธฯ แต่อย่างใด
2. ในความเป็นจริง การแสดงความเห็นของนายสมิทธฯ ที่มีการพาดพิงถึงนั้นมีขึ้นในเวทีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการ ซึ่งนายสมิทธฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องทำงานร่วมกันในการจัดการวิบัติภัยระหว่างประเทศ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนด้านข้อมูลมากขึ้นอีก ทั้งนี้ นายสมิทธฯ ได้เสนอแนะให้มีการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างศูนย์เตรียมพร้อมในการรับมือวิบัติภัย ที่ตั้งอยู่ในไทยกับศูนย์ฯ ที่ปฏิบัติการทั้งในญี่ปุ่น
และที่ฮาวาย ซึ่งมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว
3. กระทรวงการต่างประเทศตระหนักดีว่า ความร่วมมือและการสนับสนุนของประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ฯลฯ ทั้งในเรื่องความรู้ และความสามารถในการป้องกันแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถของศูนย์เตรียมพร้อมข้างต้น ในเรื่องนี้ ประเทศไทยจึงเฝ้ารอที่จะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และบรรลุถึงข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมในอันที่จะให้บังเกิดความร่วมมือจากหลายฝ่ายในการ จัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงการประชุมระดับรัฐมนตรีที่จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 28-29 มกราคม 2548
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-