แท็ก
รัฐประหาร
เมื่อครั้งที่ผมส่งต้นฉบับหนังสือ “การเมืองไทยหลังรัฐประหาร” ไปให้สำนักพิมพ์ตอนปลายปีที่แล้ว สำนักพิมพ์ได้ส่งคำนำพิมพ์กลับมาโดยใช้ชื่อว่า “ก่อนแผ่นดินจะกลายเป็นสีเลือด”
ผมได้ทักท้วงกลับไปว่า ถ้อยคำที่ใช้รุนแรงไป และแม้ผมจะชี้ประเด็นความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงในบ้านเมืองไว้ในหนังสือ แต่ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น ทุกฝ่ายช่วยกันป้องกันได้ ผมจึงปรับถ้อยคำเป็น “อย่าให้แผ่นดินกลายเป็นสีเลือด” เพราะผมไม่เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างกำหนดไว้ล่วงหน้า แต่อยู่ที่การกระทำของมนุษย์เรามากกว่า
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันก็มีหมอดูหลายคน ออกมาทำนายทายทักว่าบ้านเมืองจะเกิดความวุ่นวายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ — มีนาคม นี้ ซึ่งบังเอิญมาสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของนักสังเกตการณ์ทางการเมืองอีกหลายคน
วันนี้ความวิตกกังวลดังกล่าวยังไม่หมดไป หรือลดลงแม้แต่น้อย
ผมยังยืนยันเช่นเดิมว่า เหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา ป้องกันได้ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องใส่ใจในปัญหา ข้อท้วงติง และข้อเสนอแนะจากฝ่ายต่างๆ
ผมคงไม่สามารถเรียกร้องให้คนที่ปรารถนาจะให้เกิดความรุนแรง เช่น ผู้ก่อการร้าย คลื่นใต้น้ำ ให้หยุดการกระทำของเขาได้
แต่ผมต้องเรียกร้องจากรัฐบาล คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( สสร.) และผู้เกี่ยวข้องที่มีอำนาจ ให้ตระหนักถึงสภาพความเสี่ยงในปัจจุบัน เพราะเหตุการณ์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังบ่งบอกว่า ปัจจัยพื้นฐานที่อาจนำไปสู่วิกฤตินั้น ยังมีอยู่อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ปัจจัยด้านบวกจะไม่มี ความยอมรับ ความเชื่อถือในตัวนายกรัฐมนตรี และ ประธานคมช. ยังมีอยู่สูง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ก็เป็นที่ยอมรับในความรู้ความสามารถ ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า ทุนที่มีอยู่สูงนี้ จะถูกนำมาบริหารให้เกิดดอกผลอย่างไร มิใช่ปล่อยให้เกิดการเสื่อมราคาไปเรื่อยๆ
ผมจึงอยากเสนอแนะแนวทางคลี่คลายบรรยากาศที่อึมครึมอยู่ในขณะนี้ ดังนี้
๑. ทำความเข้าใจกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในสังคมไทยและสังคมโลก และ ยอมรับความคาดหวังที่เปลี่ยนไป ผมเข้าใจดีว่าค่านิยมในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลงหลายด้าน และควรแก้ไขด้วยการรื้อฟื้นการยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม แต่กระแสหลักของโลกในเรื่องประชาธิปไตยก็ดี เศรษฐกิจเสรีก็ดี ไม่ได้ขัดกับเป้าหมายนี้ คนไทยและสังคมไทยควรจะได้ประโยชน์จากการมีสิทธิเสรีภาพ มีรัฐบาลที่ตอบสนองความต้องการ มีโอกาสจากการค้าขาย แลกเปลี่ยน ลงทุนที่ข้ามพรมแดน เรียนรู้ที่จะยอมรับความหลากหลายทางความคิด และวัฒนธรรม
ปัญหาวิกฤติที่ผ่านมา ไม่ใช่เพราะเรามีประชาธิปไตยมากไป แต่เพราะประชาธิปไตยของเราถูกบิดเบือนทำลายจากผู้นำที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเชิงนโยบาย ไม่ได้เกิดเพราะเราอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่เน้นการแข่งขัน แต่เกิดจาก การที่ผู้นำยึดถือ “ทุนนิยมสามานย์” แทนการนำเอาระบบทุนมารับใช้ประชาชน
คำตอบของปัญหา หรือ เป้าหมายของการบริหารประเทศวันนี้ จึงไม่ใช่การเพ้อฝันว่าจะใช้วิธีการ หรือ ยึดถือเป้าหมายของการบริหารที่เคยใช้ได้เมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้ว
นี่คือเหตุผลที่ผมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีใช้โอกาสของการปรับคณะรัฐมนตรีปรับแนวทางการทำงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถึงวันนี้ ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนอกรอบ สร้างเจตนารมณ์ร่วมกันในเรื่องการแก้ปัญหาหลักๆ เช่น ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจของชาวบ้านทั่วไป ปัญหาภัยแล้ง การสะสางคดีทุจริต
นี่คือเหตุผลที่ผมต้องย้ำเตือนว่า อะไรที่เป็นการส่งสัญญาณการสืบทอดอำนาจ อะไรที่จะทำให้บ้านเมืองถอยหลัง อย่ากระทำโดยเด็ดขาด เช่น การร่างรัฐธรรมนูญให้นายกฯไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง การแสดงอำนาจในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพโดยขาดเหตุผลที่ชอบธรรม รัฐบาลและ คมช. จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การมีที่มาจากการรัฐประหาร เป็นจุดอ่อนในสายตาของชาวโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเมืองของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่ผมเรียกร้องให้รัฐบาล และ คมช. ประกาศจุดยืนในการจะเลือกใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ก็เพื่อให้รัฐบาล และ คมช. สลัดตัวให้พ้นจากความหวาดระแวงทั้งหลาย ยิ่งเวลาผ่านไป ความอึมครึม มีแต่จะเพิ่มพูนความหวาดระแวงเหล่านั้น
๒. ต้องรู้เท่าทันเครือข่ายกลุ่มอำนาจเก่า ความตั้งใจดีของนายกรัฐมนตรีที่จะ “สมานฉันท์” ในหลายโอกาส ถูกเครือข่ายในกลุ่มอำนาจเก่าฉกฉวยประโยชน์ใช้อยู่เป็นระยะๆ ตั้งแต่การตั้งบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจเก่า จนถึงความลังเลที่จะจัดการปัญหาการกระทำผิดต่างๆอย่างเด็ดขาด ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ การสะสางความผิดของรัฐบาลในอดีต จะต้องรู้จักแยกแยะเป้าหมายให้ถูก บ่อยครั้งการตัดสินใจ และการดำเนินการที่ผ่านมา กลับไป “เข้าทาง” ฝ่ายที่ต้องการลดความเชื่อถือของรัฐบาล เช่น การคงคำสั่งของคปค. เรื่องพรรคการเมืองอย่างเหวี่ยงแหและปฏิบัติไม่ได้ บ่อยครั้งก็ไปกระทบต่อความรู้สึกของคนที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้องมานานนับปี แต่บางครั้งก็ดูจะไปจำนนต่อกระแสอย่างง่ายๆ
ที่สำคัญที่สุด การสร้างความเข้าใจกับประชาชนในข้อเท็จจริงในเรื่องต่างๆ ก็ไม่ได้ทำ
กรณี ITV เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด แทนที่จะปูพื้นให้สังคมรับทราบว่าปัญหาเกิดจากการที่บริษัทผิดสัญญาไม่จ่ายค่าสัมปทาน (ไม่ใช่ค่าปรับแสนล้านที่ยังโต้แย้งกันอยู่) โดยฝ่ายผู้บริหารและเจ้าของไม่แสดงท่าทีทุกข์ร้อน กระตือรือร้น หรือ ความรับผิดชอบใดๆ ทั้งๆที่เจ้าของมีเงินมากพอที่จะจ่ายได้
แทนที่จะชี้ให้เห็นว่าสภาพของโทรทัศน์เสรี แทบจะไม่เหลืออยู่ตั้งแต่เจ้าของเข้ามาแทรกแซงการนำเสนอข่าวสารและใช้อำนาจรัฐเปลี่ยนน้ำหนักการจัดทำผังรายการเพื่อเอื้อให้แสวงหากำไรเพิ่มขึ้นแล้ว
แทนที่จะวางแผนศึกษาข้อกฎหมาย เตรียมความพร้อมรับมือกับเส้นตายที่กำหนดเอง กลับกลายเป็นเหยื่อของเจ้าของที่โหดร้ายใช้ความเห็นใจของประชาชนที่มีต่อการตกงานของพนักงาน เป็นเครื่องมือ ฟาดฟันรัฐบาลให้ถูกเกลียดชังเป็นเวลากว่า ๑ วันเต็มๆ
ซ้ำร้ายเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาและศาลปกครองเปิดช่องให้ออกอากาศได้ต่อเนื่อง ผู้บริหารและเจ้าของยังทำตัวขัดขวางเป็นอุปสรรคโดยการยกเลิกสัญญาต่างๆ ทำให้รัฐมีปัญหาภาระมากขึ้น แต่ตัวเองกลับลอยนวล ไม่ถูกตำหนิสักคำจากพนักงานที่ประกาศตัวว่ามี จิตวิญญาณของสื่อเสรี
คดีที่มีการตรวจสอบกลุ่มอำนาจเก่าก็ไม่มีการนำเสนอข้อเท็จจริงให้สังคมเข้าใจเนื้อหาสาระ เพื่อจะได้ไม่ถูกมองว่าเป็นเพียง “ธงที่กำหนดไว้” หรือ “การกลั่นแกล้ง”
หากปล่อยสภาพเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะถูกรุกมากขึ้นๆ
ต่อจากนี้ไปการยุแหย่ ท้าทาย จะมีอีกหลายเรื่องที่ตามมา เช่น กรณี PTV ฯลฯ
ขณะเดียวกัน รัฐบาล ละ คมช. ก็ต้องวางตัวให้รัดกุม
บุคคลที่แสดงความตั้งใจในการต่อสู้อย่างมั่นคงมาโดยตลอด อย่างพลเอกสพรั่งฯก็จะต้องตกเป็นเป้าของการตรวจสอบอย่างไม่ต้องสงสัย
พลเอกสพรั่งฯและบุคคลอื่นๆในรัฐบาล และ คมช. ต้องแสดงความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริง อย่าหลงไปทะเลาะเบาะแว้งกับฝ่ายต่างๆ และต้องไม่ทำอะไรที่เหมือนกับกลุ่มคนที่ตนเคยกล่าวหาไว้อย่างเด็ดขาด
ที่เขียนมานี้ ก็ด้วยความห่วงใย
อย่างไรเสีย รัฐบาลนี้ก็มีอายุจำกัด เหลืออยู่เพียงไม่กี่เดือน
แต่บ้านเมือง ประเทศชาติ สถาบันหลัก ความสงบสุข ต้องรักษาไว้ตลอดไป
เมื่อไม่ถอดใจแล้ว ก็รวบรวมกำลังใจของทุกฝ่ายที่ปรารถนาดีต่อบ้านเมือง หยุดยั้งสภาพความเสื่อมถอยในปัจจุบัน และคลี่คลายปัญหาความเสี่ยงต่างๆโดยเร็ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 มี.ค. 2550--จบ--
ผมได้ทักท้วงกลับไปว่า ถ้อยคำที่ใช้รุนแรงไป และแม้ผมจะชี้ประเด็นความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงในบ้านเมืองไว้ในหนังสือ แต่ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น ทุกฝ่ายช่วยกันป้องกันได้ ผมจึงปรับถ้อยคำเป็น “อย่าให้แผ่นดินกลายเป็นสีเลือด” เพราะผมไม่เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างกำหนดไว้ล่วงหน้า แต่อยู่ที่การกระทำของมนุษย์เรามากกว่า
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันก็มีหมอดูหลายคน ออกมาทำนายทายทักว่าบ้านเมืองจะเกิดความวุ่นวายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ — มีนาคม นี้ ซึ่งบังเอิญมาสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของนักสังเกตการณ์ทางการเมืองอีกหลายคน
วันนี้ความวิตกกังวลดังกล่าวยังไม่หมดไป หรือลดลงแม้แต่น้อย
ผมยังยืนยันเช่นเดิมว่า เหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา ป้องกันได้ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องใส่ใจในปัญหา ข้อท้วงติง และข้อเสนอแนะจากฝ่ายต่างๆ
ผมคงไม่สามารถเรียกร้องให้คนที่ปรารถนาจะให้เกิดความรุนแรง เช่น ผู้ก่อการร้าย คลื่นใต้น้ำ ให้หยุดการกระทำของเขาได้
แต่ผมต้องเรียกร้องจากรัฐบาล คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช.) สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( สสร.) และผู้เกี่ยวข้องที่มีอำนาจ ให้ตระหนักถึงสภาพความเสี่ยงในปัจจุบัน เพราะเหตุการณ์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังบ่งบอกว่า ปัจจัยพื้นฐานที่อาจนำไปสู่วิกฤตินั้น ยังมีอยู่อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ปัจจัยด้านบวกจะไม่มี ความยอมรับ ความเชื่อถือในตัวนายกรัฐมนตรี และ ประธานคมช. ยังมีอยู่สูง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ก็เป็นที่ยอมรับในความรู้ความสามารถ ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า ทุนที่มีอยู่สูงนี้ จะถูกนำมาบริหารให้เกิดดอกผลอย่างไร มิใช่ปล่อยให้เกิดการเสื่อมราคาไปเรื่อยๆ
ผมจึงอยากเสนอแนะแนวทางคลี่คลายบรรยากาศที่อึมครึมอยู่ในขณะนี้ ดังนี้
๑. ทำความเข้าใจกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในสังคมไทยและสังคมโลก และ ยอมรับความคาดหวังที่เปลี่ยนไป ผมเข้าใจดีว่าค่านิยมในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลงหลายด้าน และควรแก้ไขด้วยการรื้อฟื้นการยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม แต่กระแสหลักของโลกในเรื่องประชาธิปไตยก็ดี เศรษฐกิจเสรีก็ดี ไม่ได้ขัดกับเป้าหมายนี้ คนไทยและสังคมไทยควรจะได้ประโยชน์จากการมีสิทธิเสรีภาพ มีรัฐบาลที่ตอบสนองความต้องการ มีโอกาสจากการค้าขาย แลกเปลี่ยน ลงทุนที่ข้ามพรมแดน เรียนรู้ที่จะยอมรับความหลากหลายทางความคิด และวัฒนธรรม
ปัญหาวิกฤติที่ผ่านมา ไม่ใช่เพราะเรามีประชาธิปไตยมากไป แต่เพราะประชาธิปไตยของเราถูกบิดเบือนทำลายจากผู้นำที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเชิงนโยบาย ไม่ได้เกิดเพราะเราอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่เน้นการแข่งขัน แต่เกิดจาก การที่ผู้นำยึดถือ “ทุนนิยมสามานย์” แทนการนำเอาระบบทุนมารับใช้ประชาชน
คำตอบของปัญหา หรือ เป้าหมายของการบริหารประเทศวันนี้ จึงไม่ใช่การเพ้อฝันว่าจะใช้วิธีการ หรือ ยึดถือเป้าหมายของการบริหารที่เคยใช้ได้เมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้ว
นี่คือเหตุผลที่ผมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีใช้โอกาสของการปรับคณะรัฐมนตรีปรับแนวทางการทำงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถึงวันนี้ ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนอกรอบ สร้างเจตนารมณ์ร่วมกันในเรื่องการแก้ปัญหาหลักๆ เช่น ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจของชาวบ้านทั่วไป ปัญหาภัยแล้ง การสะสางคดีทุจริต
นี่คือเหตุผลที่ผมต้องย้ำเตือนว่า อะไรที่เป็นการส่งสัญญาณการสืบทอดอำนาจ อะไรที่จะทำให้บ้านเมืองถอยหลัง อย่ากระทำโดยเด็ดขาด เช่น การร่างรัฐธรรมนูญให้นายกฯไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง การแสดงอำนาจในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพโดยขาดเหตุผลที่ชอบธรรม รัฐบาลและ คมช. จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การมีที่มาจากการรัฐประหาร เป็นจุดอ่อนในสายตาของชาวโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเมืองของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่ผมเรียกร้องให้รัฐบาล และ คมช. ประกาศจุดยืนในการจะเลือกใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ก็เพื่อให้รัฐบาล และ คมช. สลัดตัวให้พ้นจากความหวาดระแวงทั้งหลาย ยิ่งเวลาผ่านไป ความอึมครึม มีแต่จะเพิ่มพูนความหวาดระแวงเหล่านั้น
๒. ต้องรู้เท่าทันเครือข่ายกลุ่มอำนาจเก่า ความตั้งใจดีของนายกรัฐมนตรีที่จะ “สมานฉันท์” ในหลายโอกาส ถูกเครือข่ายในกลุ่มอำนาจเก่าฉกฉวยประโยชน์ใช้อยู่เป็นระยะๆ ตั้งแต่การตั้งบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจเก่า จนถึงความลังเลที่จะจัดการปัญหาการกระทำผิดต่างๆอย่างเด็ดขาด ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ การสะสางความผิดของรัฐบาลในอดีต จะต้องรู้จักแยกแยะเป้าหมายให้ถูก บ่อยครั้งการตัดสินใจ และการดำเนินการที่ผ่านมา กลับไป “เข้าทาง” ฝ่ายที่ต้องการลดความเชื่อถือของรัฐบาล เช่น การคงคำสั่งของคปค. เรื่องพรรคการเมืองอย่างเหวี่ยงแหและปฏิบัติไม่ได้ บ่อยครั้งก็ไปกระทบต่อความรู้สึกของคนที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้องมานานนับปี แต่บางครั้งก็ดูจะไปจำนนต่อกระแสอย่างง่ายๆ
ที่สำคัญที่สุด การสร้างความเข้าใจกับประชาชนในข้อเท็จจริงในเรื่องต่างๆ ก็ไม่ได้ทำ
กรณี ITV เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด แทนที่จะปูพื้นให้สังคมรับทราบว่าปัญหาเกิดจากการที่บริษัทผิดสัญญาไม่จ่ายค่าสัมปทาน (ไม่ใช่ค่าปรับแสนล้านที่ยังโต้แย้งกันอยู่) โดยฝ่ายผู้บริหารและเจ้าของไม่แสดงท่าทีทุกข์ร้อน กระตือรือร้น หรือ ความรับผิดชอบใดๆ ทั้งๆที่เจ้าของมีเงินมากพอที่จะจ่ายได้
แทนที่จะชี้ให้เห็นว่าสภาพของโทรทัศน์เสรี แทบจะไม่เหลืออยู่ตั้งแต่เจ้าของเข้ามาแทรกแซงการนำเสนอข่าวสารและใช้อำนาจรัฐเปลี่ยนน้ำหนักการจัดทำผังรายการเพื่อเอื้อให้แสวงหากำไรเพิ่มขึ้นแล้ว
แทนที่จะวางแผนศึกษาข้อกฎหมาย เตรียมความพร้อมรับมือกับเส้นตายที่กำหนดเอง กลับกลายเป็นเหยื่อของเจ้าของที่โหดร้ายใช้ความเห็นใจของประชาชนที่มีต่อการตกงานของพนักงาน เป็นเครื่องมือ ฟาดฟันรัฐบาลให้ถูกเกลียดชังเป็นเวลากว่า ๑ วันเต็มๆ
ซ้ำร้ายเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาและศาลปกครองเปิดช่องให้ออกอากาศได้ต่อเนื่อง ผู้บริหารและเจ้าของยังทำตัวขัดขวางเป็นอุปสรรคโดยการยกเลิกสัญญาต่างๆ ทำให้รัฐมีปัญหาภาระมากขึ้น แต่ตัวเองกลับลอยนวล ไม่ถูกตำหนิสักคำจากพนักงานที่ประกาศตัวว่ามี จิตวิญญาณของสื่อเสรี
คดีที่มีการตรวจสอบกลุ่มอำนาจเก่าก็ไม่มีการนำเสนอข้อเท็จจริงให้สังคมเข้าใจเนื้อหาสาระ เพื่อจะได้ไม่ถูกมองว่าเป็นเพียง “ธงที่กำหนดไว้” หรือ “การกลั่นแกล้ง”
หากปล่อยสภาพเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะถูกรุกมากขึ้นๆ
ต่อจากนี้ไปการยุแหย่ ท้าทาย จะมีอีกหลายเรื่องที่ตามมา เช่น กรณี PTV ฯลฯ
ขณะเดียวกัน รัฐบาล ละ คมช. ก็ต้องวางตัวให้รัดกุม
บุคคลที่แสดงความตั้งใจในการต่อสู้อย่างมั่นคงมาโดยตลอด อย่างพลเอกสพรั่งฯก็จะต้องตกเป็นเป้าของการตรวจสอบอย่างไม่ต้องสงสัย
พลเอกสพรั่งฯและบุคคลอื่นๆในรัฐบาล และ คมช. ต้องแสดงความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริง อย่าหลงไปทะเลาะเบาะแว้งกับฝ่ายต่างๆ และต้องไม่ทำอะไรที่เหมือนกับกลุ่มคนที่ตนเคยกล่าวหาไว้อย่างเด็ดขาด
ที่เขียนมานี้ ก็ด้วยความห่วงใย
อย่างไรเสีย รัฐบาลนี้ก็มีอายุจำกัด เหลืออยู่เพียงไม่กี่เดือน
แต่บ้านเมือง ประเทศชาติ สถาบันหลัก ความสงบสุข ต้องรักษาไว้ตลอดไป
เมื่อไม่ถอดใจแล้ว ก็รวบรวมกำลังใจของทุกฝ่ายที่ปรารถนาดีต่อบ้านเมือง หยุดยั้งสภาพความเสื่อมถอยในปัจจุบัน และคลี่คลายปัญหาความเสี่ยงต่างๆโดยเร็ว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 มี.ค. 2550--จบ--