1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (21—27 มิ.ย.2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น
1,286.27 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 671.59 ตัน สัตว์น้ำจืด 614.68 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.51 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.57 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 140.33 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 24.31 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.09 ตัน
การตลาด
ญี่ปุ่นจำนนข้อมูลกรมประมงไทยประกาศเลิกตรวจสารตกค้างกุ้ง
นางจิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศยกเลิกการ ควบคุมยาปฏิชีวนะออกซิเตตตระ
ไซคลิน และออกโซลินิค แอซิค ตามระบบ Positive List หรือการกักกันสินค้าเพื่อสุ่มตรวจสินค้าแช่แข็งนำเข้าจากทุกประเทศแล้ว ดังนั้น เป็น
โอกาสดีสำหรับผู้ส่งออกไทยในการขยายตลาดส่งออกกุ้งไปยังญี่ปุ่น ในเบื้องต้นกรมประมงได้เตรียมจัดคณะทำงานเดินทางไปยังญี่ปุ่น เพื่อเจรจากับ
กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่น ขอยกเลิกการสั่งกักกันกุ้งแช่แข็งไทย ระหว่างวันที่ 18—20 กรกฎาคมนี้เข้าร่วมงาน The 9th Japan
International Seafood & Technology Expo เพื่อประชาสัมพันธ์คุณภาพสินค้าสัตว์น้ำของไทยให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น การ
เจรจาครั้งนี้ คาดว่าจะประสบผลสำเร็จ เพราะหลังจากกรมประมงได้จัดระบบการตรวจสอบคุณภาพสินค้ากุ้ง รวมถึงการควบคุมสารปฏิชีวนะตกค้างตาม
แผนการควบคุมสารเคมีและยาปฏิชีวนะในสัตว์น้ำ จากการเพาะเลี้ยงของไทยตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กุ้งแช่แข็งของไทยที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นตรวจไม่
พบสารตกค้างใดๆ ประกอบกับการที่ไทยได้ลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย — ญี่ปุ่น (JIEPA) ไปแล้ว น่าจะส่งผลดีต่อการเจรจา เพื่อขยายตลาด
ส่งออกสินค้าประมงของไทยมากยิ่งขึ้น สำหรับการนำเข้ากุ้งแช่แข็งของญี่ปุ่นจากไทยมีการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเป็นอันดับ 5 รองจากเวียดนาม
อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน โดยปี 2549 มีปริมาณการส่งออกทั้งสิ้น 20,106.6 ตัน คิดเป็นร้อยละ 8.7 ของการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นทั้งหมด
มูลค่า 6,000 ล้านบาท นายไพบูลย์ คุ้มสมุทร กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนไพบูลย์ กุ้งทอง จำกัด กล่าวว่า การที่ญี่ปุ่นประกาศยกเลิกการควบคุมยา
ปฏิชีวนะ ดังกล่าว จะเป็นผลดีกับการส่งออกกุ้งของไทยมาก เพราะจะช่วยลดขั้นตอนการสุ่มตรวจ คาดว่าในเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ ราคากุ้งน่าจะ
สูงขึ้น เนื่องจากปริมาณกุ้งลดลง ประกอบกับการที่ญี่ปุ่นยกเลิกการตรวจสอบสารบางชนิด จะส่งผลให้ขยายตลาดได้มากขึ้นด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา0.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.31บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
134.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัม
ละ 82.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.90 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์
ก่อน 0.71 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.56 บาท ของสัปดาห์ที่
ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 7—13 ก.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.93 บาท ลดลงจาก
กิโลกรัมละ 19.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9-15 ก.ค. 2550--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (21—27 มิ.ย.2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น
1,286.27 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 671.59 ตัน สัตว์น้ำจืด 614.68 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.51 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.57 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 140.33 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 24.31 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.09 ตัน
การตลาด
ญี่ปุ่นจำนนข้อมูลกรมประมงไทยประกาศเลิกตรวจสารตกค้างกุ้ง
นางจิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศยกเลิกการ ควบคุมยาปฏิชีวนะออกซิเตตตระ
ไซคลิน และออกโซลินิค แอซิค ตามระบบ Positive List หรือการกักกันสินค้าเพื่อสุ่มตรวจสินค้าแช่แข็งนำเข้าจากทุกประเทศแล้ว ดังนั้น เป็น
โอกาสดีสำหรับผู้ส่งออกไทยในการขยายตลาดส่งออกกุ้งไปยังญี่ปุ่น ในเบื้องต้นกรมประมงได้เตรียมจัดคณะทำงานเดินทางไปยังญี่ปุ่น เพื่อเจรจากับ
กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่น ขอยกเลิกการสั่งกักกันกุ้งแช่แข็งไทย ระหว่างวันที่ 18—20 กรกฎาคมนี้เข้าร่วมงาน The 9th Japan
International Seafood & Technology Expo เพื่อประชาสัมพันธ์คุณภาพสินค้าสัตว์น้ำของไทยให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น การ
เจรจาครั้งนี้ คาดว่าจะประสบผลสำเร็จ เพราะหลังจากกรมประมงได้จัดระบบการตรวจสอบคุณภาพสินค้ากุ้ง รวมถึงการควบคุมสารปฏิชีวนะตกค้างตาม
แผนการควบคุมสารเคมีและยาปฏิชีวนะในสัตว์น้ำ จากการเพาะเลี้ยงของไทยตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กุ้งแช่แข็งของไทยที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นตรวจไม่
พบสารตกค้างใดๆ ประกอบกับการที่ไทยได้ลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย — ญี่ปุ่น (JIEPA) ไปแล้ว น่าจะส่งผลดีต่อการเจรจา เพื่อขยายตลาด
ส่งออกสินค้าประมงของไทยมากยิ่งขึ้น สำหรับการนำเข้ากุ้งแช่แข็งของญี่ปุ่นจากไทยมีการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเป็นอันดับ 5 รองจากเวียดนาม
อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน โดยปี 2549 มีปริมาณการส่งออกทั้งสิ้น 20,106.6 ตัน คิดเป็นร้อยละ 8.7 ของการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นทั้งหมด
มูลค่า 6,000 ล้านบาท นายไพบูลย์ คุ้มสมุทร กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนไพบูลย์ กุ้งทอง จำกัด กล่าวว่า การที่ญี่ปุ่นประกาศยกเลิกการควบคุมยา
ปฏิชีวนะ ดังกล่าว จะเป็นผลดีกับการส่งออกกุ้งของไทยมาก เพราะจะช่วยลดขั้นตอนการสุ่มตรวจ คาดว่าในเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ ราคากุ้งน่าจะ
สูงขึ้น เนื่องจากปริมาณกุ้งลดลง ประกอบกับการที่ญี่ปุ่นยกเลิกการตรวจสอบสารบางชนิด จะส่งผลให้ขยายตลาดได้มากขึ้นด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา0.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.31บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
134.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัม
ละ 82.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.90 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์
ก่อน 0.71 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.56 บาท ของสัปดาห์ที่
ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 7—13 ก.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.93 บาท ลดลงจาก
กิโลกรัมละ 19.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9-15 ก.ค. 2550--
-พห-